หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จีนไฟแดงการผลิตและขาย Ractopamine

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีนประกาศว่าจีนห้ามผลิตและจำหน่ายสาร ractopamine หรือสารเร่งเนื้อแดงโดยมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวัน 5 ธันวาคม 2554 ตามประกาศหน้าเวปไซต์ของกระทรวงฯ

คำสั่งห้ามผลิตและจำหน่าย ractopamine เป็นผลมากเหตุการณ์อื้อฉาวกรณีเนื้อสุกรปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงในช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อมีการพบว่า Shuanghui Group บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนซื้อสุกรที่ได้รับอาหารปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงเพื่อนำมาแปรรูป จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้จีนดำเนินการจับกุมการใช้สารเร่งเนื้อแดงทั่! วประเทศ

นาย Yu Kangzhen หัวหน้าสัตว์แพทย์จีนกล่าวว่าสารเร่งเนื้อแดงมีประมาณ 10 ชนิด เช่น clenbuterol และractopamine โดยมีการค้นพบสาร clenbuterol ในสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2523 แต่ในปลายปี 2523 หลายๆประเทศ เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรปห้ามใช้สารดังกล่าวเนื่องจากอันตรายจากผลข้างเคียง เช่น อาเจียน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ และเมื่อต้นปี 2543 บริษัทแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ คิดค้นและพัฒนา ractopamine ซึ่งเป็นอันตรายน้อยกว่า ปัจจุบัน ประมาณ 20 ประเทศเท่านั้น เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโกที่อนุญาตให้ใช้สารเร่งเนื้อแดงชนิดนี้

จีนเริ่มใช้สารเร่งเนื้อแดงในต้นปี 2543 จนกระทั่งปี 2551 จีนเริ่มแสดงความกังวลต่ออันตรายจากสารเคมีเนื่องจากมีรายงานปอดติดเชื้อในมนุษย์เป็นครั้งแรกในมลฑลกวางตุ้ง ซึ่งสาเหตุเกิดจากการบริโภคเนื้อสุกรปนเปื้อน clenbuterol หลังจากนั้นในปี 2548 จีนจึงออกคำสั่งห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง เช่! น ractopamine, clenbuterol และ salbutamol ในอาหารสัตว์แล! ะน้ำดื่ม ของสัตว์




ที่มา : The Pig Site ( 30 ธันวาคม 2554

USFDA จัดพิมพ์คู่มือกฎระเบียบมาตรฐานความปลอดภัยไข่

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) จัดพิมพ์คู่มือสำหรับผู้ประกอบการ: การป้องกันเชื้อ Salmonella Enteritidis ปนเปื้อนไข่ระหว่างการผลิต การเก็บและการขนส่ง สำหรับผู้ผลิตไข่เพื่อช่วยในการปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตรฐานความปลอดภัยของไข่ ซึ่งคู่มือนี้เป็นคำแนะนำสุดท้าย ส่วนในขั้นต้นได้มีการประกาศร่างคำแนะนำเพื่อเปิดรับข้อคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2553

คู่มือดังกล่าวให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎระเบียบมาตรฐานความปลอดภัยของไข่ เช่น มาตรการป้องกัน Salmonella Enteritidis (SE), การทดสอบสภาพแวดล้อมสำหรับ SE, วิธีการทดส! อบไข่สำหรับ SE, วิธีการสุ่มตัวอย่างตรวจ SE และการเก็บสถิติสำหรับจัดทำแผนการป้องกัน SE ซึ่งคำแนะนำสุดท้ายนี้ให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงและมีทางเลือกสำหรับปฏิบัติตามมาตรการต่างๆที่ระบุไว้ในกฎระเบียบ นอกจากนี้ คำแนะนำสุดท้ายนี้ต่างจากฉบับร่างเพราะมีแผนการสุ่มตรวจตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับฟาร์มสัตว์ปีกที่มีหลากหลายรูปแบบตามที่มีผู้เสนอเข้ามา

อนึ่ง USFDA ได้ประกาศกฎระเบียบความปลอดภัยไข่ในเดือนกรกฎาคม 2552 โดยร้องขอให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันในฟาร์มระหว่างช่วงการผลิต การแช่เย็นในระหว่างการเก็บและการขนส่ง ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 กฎระเบียบความปลอดภัยอาหารฉบับใหม่มีผลบังคับใช้กับผู้ผลิตไข่ที่มีไก่ไข่ตั้งแต่ 50,000 ตัว คิดเป็นประมาณ 80 %ของการผลิตไข่ทั้งหมด ส่วนผู้ผลิตไข่ไก่ที่มีไก่ไข่ตั้งแต่ 3,000 ตัวแต่น้อยกว่า 50,000 ตัว จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยอาหารฉบับใหม่ในเดือนกรกฎาคม ปี 2555

&nb! sp; สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.fda.gov/Food/FoodSafety/Product-SpecificInformation/EggSafety/EggSafetyActionPlan/ucm170615.htm




ที่มา : USFDA ( 30 ธันวาคม 2554

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กาน่าอาจไฟแดงนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกปีใน 2556

 
                ดร. Alfred Sugri Tia รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและอาหารกาน่ากล่าวว่า กาน่าอาจระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกภายในปี 2556 เพื่อปกป้องเกษตรกรในประเทศ 

                ดร. Alfred Sugri Tia ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเกษตรกรในประเทศจะได้รับการสนับสนุนและจำหน่ายอาหารสัตว์ให้ในราคาถูกเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการผลิต นอกจากนี้ จะมีการดำเนินมาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษีเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกกาน่ามีความสามารถในการแข่งขันในตลาดในประเทศได้

     &nb! sp;          ในกาน่า มีการปรับการผลิตไก่เนื้อที่เลี้ยงแบบปล่อยให้เข้ากับวิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม โดยพบเห็นการใช้วิธีการเลี้ยงที่สามารถใช้ได้กับทั้งไก่เลี้ยงแบบปล่อยและการเลี้ยงแบบดั้งเดิมได้ทั่วไปในชุมชนต่างๆ
 
 
 
ที่มา : World Poultry (29/12/54)

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ญี่ปุ่นผ่อนปรนกฎระเบียบเนื้อโคนำเข้า

 
                คณะกรรมาธิการความปลอดภัยอาหารญี่ปุ่นจะจัดทำประชาพิจารณ์และประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับนโยบายนำเข้าเนื้อโคของญี่ปุ่น ด้านรัฐมนตรีเกษตรฯแคนาดา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกเนื้อโคได้ออกมาให้ความเห็นว่า การปรับปรุงนโยบายสำหรับการนำเข้าเนื้อโคมายังญี่ปุ่นจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากเนื้อโคแคนาดาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง อีกทั้งแคนาดาจะได้รับประโยชน์จากการสร้างงาน เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการค้าและการลงทุนระหว่างญี่ปุ่นและแคนาดาในปี 2553 แคนาดาส่งออกเนื้อโคอายุต่ำกว่า 21 เดือน มายังญี่ปุ่น รวมมูลค่า 81.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
 
 
 
 

จีนเลื่อนส่งสัตว์ปีกไปฮ่องกง หลังไข้หวัดนกระบาดในฮ่องกง

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2554 กระทรวงควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกันโรค (AQSIQ) ของจีนรายงานว่ากระทรวงฯ ตัดสินใจชะลอการส่งสัตว์ปีกมีชีวิตไปยังฮ่องกงออกไปเป็นเวลา 21 วัน หลังจากที่ตรวจพบว่าซากไก่ติดเชื้อไข้หวัดนกชนิดสายพันธุ์รุนแรงสูง หรือ H5N1 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 

                อย่างไรก็ตาม AQSIQ ได้ดำเนินมาตรการสำหรับจัดการปัญหาดังกล่าวโดยติดตามสถานการณ์และทำงานร่วมกับรัฐบาลฮ่องกงอย่างใกล้ชิดเพื่อควบคุมโรคไข้หวัดนก โดยสั่งให้หน่วยงานควบคุมคุณภาพใน
มลฑลกวางตุ้งและไห่หนานคุมเข้มการตรวจและกักกัน ณ ท่าเรื่อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด นอกจากนี้ได้สั่งให้หน่วยงานควบควบคุมคุณภาพทั้งขาเข้าและออกในท้องถิ่นส่งเสริมการป้องกัน ควบคุมและติดตามโรค การทำให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกที่จดทะเบียนปลอดเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรในฟาร์ม

                ด้านรัฐบาลฮ่องกงได้เพิ่มระดับการเฝ้าระวังไข้หวัดนกเป็นระดับจากระดับเตือนภัยเป็นระดับรุนแรงหลังจากตรวจพบไวรัสดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้มีการกำจัดสัตว์ปีกกว่า 17,000 ตัว ในตลาดค้าสัตว์ปีกแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554
 
 
 
 
ที่มา : The Poultry Site  (27 ธันวาคม 2554)

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ยอดขายเนื้อวัวในเกาหลีใต้มากกว่าเนื้อหมูเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี

หนังสือพิมพ์ Chosun Ilbo รายงานว่า ยอดจำหน่ายเนื้อวัวในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเกาหลีใต้มากกว่ายอดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี เนื่องจากโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ระบาดทำให้เกาหลีใต้ต้องกำจัดสุกรถึง 3.31 ล้านตัว ส่งผลให้จำนวนสุกรลดลง 30% เกษตรกรจึงหันมาเลี้ยงวัวแทนทำให้จำนวนวัวเพิ่มขึ้นเกือบ 20% โดยปกติ ยอดจำหน่ายเนื้อสุกรมีสัดส่วนเท่ากับครึ่งหนึ่งของยอดจำหน่ายเนื้อสัตว์ทั้งหมดในเกาหลีใต้



ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (26 ธันวาคม 2554

หวัดนกระบาด ญี่ปุ่นหันมานำเข้าไข่แปรรูปชนิดแห้งแทนไข่สด

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไข้หวัดนกระบาดเมื่อปี 2547 เกิด ส่งผลให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นหันไปบริโภคผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปชนิดแห้ง แทนไข่สด เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยอาหาร ญี่ปุ่นนำเข้าไข่ 3 ลักษณะ คือ ไข่สด ผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปชนิดไม่แห้ง และผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปชนิดแห้ง ซึ่งไข่สดเป็นตัวนำเชื้อไวรัสได้ดีที่สุดในบรรดาผลิตภัณฑ์ไข่ทั้ง 3 ลักษณะข้างต้น

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นนำเข้าไข่สดจากอเมริกามากเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีส่วนแบ่งตลาด 38 %



ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (26 ธันวาคม 2554

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไต้หวันฆ่าหมูเกือบ 1,000 ตัวหลังพบ FMD ระบาด

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 สำนักงานกักกันและตรวจสอบสุขภาพพืชและสัตว์ไต้หวันรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้ฆ่าสุกรเกือบ 1,000 ตัว หลังเกิดเหตุการณ์โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ระบาดครั้งรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 14 ปี

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เจ้าหน้าที่ได้ฆ่าสุกร 983 ตัวจากสุกรทั้งหมด 2,667 ตัว และได้ฉีดวัคซีนสุกรที่เหลือในฟาร์มแห่งหนึ่งในทางใต้ของเมือง Tainan หลังจากสุกรแสดงอาการของโรค


ที่มา : The Pig Site (23/12/54

EU เตรียมดำเนินคดีกับสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายห้ามผลิตไข่ไก่จากไก่เลี้ยงในกรงตับ

นาย John Dalli คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปด้านสุขภาพและผู้บริโภคกล่าวว่าได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยัง 13 ประเทศสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามหรือแสดงความพยายามเพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติตามกฎหมายห้ามผลิตไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงไก่ในกรงตับ โดยในหนังสือแจ้งเตือนระบุว่าประเทศเหล่านั้นจะถูกดำเนินคดีในชั้นศาล

โดยมีการส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังประเทศดังต่อไปนี้
ฮังการี อิตาลี ลัดเว! ีย สเปน กรีซ เบลเยี่ยม บัลแกเลีย ไซปรัส โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย และเนเธอร์แลนด์

นาย John Dalli ยืนยันว่าทีมคณะกรรมาธิการตรวจสอบพร้อมที่จะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม โดยจะรวบรวมหลักฐานจากประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนเมื่อคดีขึ้นสู่ชั้นศาล

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกฎหมายและป้องกันการผลิตไข่ไก่ผิดกฎหมายในประเทศสมาชิกได้ โดยกฎหมายห้ามผลิตไข่ไก่ที่ได้จากไก่เลี้ยงในกรงตับจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2554


ที่มา : World Poultry (23/12/54)

FSA สหราชอาณาจักรให้คำแนะนำบริโภคไข่ไก่หลังวันหมดอายุ

สำนักงานด้านความปลอดภัยอาหาร (FSA) แห่งสหราชอาณาจักร ปรับปรุงคำแนะนำการบริโภคไข่ไก่หลังวันหมดอายุ เนื่องจากต้องการลดปัญหาด้านอาหารเหลือโดยแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานไข่ไก่หลังวันหมดอายุได้ภายใน 1-2 วัน แต่ต้องปรุงไข่ไก่ให้สุกดีจนกระทั่งไข่แดงและไข่ขาวสุกจนแข็ง หรือใช้ไข่ไก่เป็นส่วนประกอบในอาหารต่างๆที่ต้องปรุงให้สุกดี เช่น ขนมเค้ก

ก่อนหน้านี้ FSA แนะนำให้ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานไข่ไก่หลังวันหมดอายุเนื่องจากไข่อาจปนเปื้อนเชื้อ salmonella ซึ่งอาจแบ่งตัวจนถึงระดับที่เป็นอันตรายจนทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการเป็นพิษ! ได้ อย่างไรก็ตาม ระดับเชื้อ salmonella ที่ปนเปื้อนไข่ไก่ที่ผลิตในสหราชอาณาจักรมีปริมาณต่ำ และถูกทำลายได้โดยการปรุงให้สุกดี

ที่มา : World Poultry (22/12/54)

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยได้รับความนิยมในออสเตรเลีย

อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในออสเตรเลีย โดยไข่ที่ได้จากสัตว์ปีกที่เลี้ยงแบบปล่อยคิดเป็น 28. 4 % ของไข่ทั้งหมดที่มีวางจำหน่าย และมีสัดส่วนเนื้อสัตว์ปีกราว 15 % ของเนื้อสัตว์ปีกที่ผลิตได้ในปี 2553

คาดว่าอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยจะสามารถเติบโตอีกในอนาคตเนื่องจากผู้บริโภคบางราย นิยมผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยมากกว่า

ทั้งนี้ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยสัตว์ปีก ออสเตร! เลีย (The Poultry CRC) กำลังส่งเสริมให้มีการวิจัยด้านสวัสดิภาพ พฤติกรรม และ อาหารของสัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยเพิ่มเติม


ที่มา : The Poultry Site (21/12/54)

บังกลาเทศฆ่าไก่เกือบ 14,000 ตัว และทำลายไข่ไก่กว่า 50,000 ฟองหลังไข้หวัดนกระบาด

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 เจ้าหน้าที่ควบคุมการระบาดโรคไข้หวัดนกรายงานว่า บังกลาเทศฆ่าไก่จำนวน 13,727 ตัวและทำลายไข่ไก่ราว 50,000 ฟอง นับตั้งแต่ไข้หวัดนกชนิด H5N1 ระบาดเมื่อสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งถือเป็นการระบาดครั้งแรกฤดูหนาว

Ataur Rahman ผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องควบคุมของกระทรวงประมงและปศุสัตว์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ฆ่าไก่ประมาณ 12,762 ตัวในฟาร์มเลี้ยงเพื่อการค้าในเขต Manikganj และ Rajbarbi

! ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงขณะนี้ ไข้หวัดนกได้ระบาดไปยัง 4 เขตของบังกลาเทศ และอุณหภูมิที่ลดลงในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการระบาดมากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไข้หวัดนกมีโอกาสระบาดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ได้เพิ่มการติดตามเพื่อควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกแล้ว โดยสั่งเจ้าหน้าที่ให้กระตุ้นเกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันทุกข้อนับตั้งแต่ไข้หวัดนกระบาด นอกจากนี้ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามดำเนินการฆ่า ทำลาย กำจัดและลดการติดเชื้อในไก่อย่างเหมาะสมเมื่อตรวจพบการระบาด

ทั้งนี้ พบไข้หวัดนกระบาดในบังกลาเทศเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับกรุง Dhaka ในปี 2550 – 2551 ไวรัสได้แพร่กระจายไปยัง 47 เขตทั่วประเทศ นอกจากนี้ มีการตรวจพบการติดเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1ในมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551โดยผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 1 ปี 4 เดือน



ที่มา : Xinhua News (21/12/54

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บังกลาเทศฆ่าไก่เกือบ 14,000 ตัว และทำลายไข่ไก่กว่า 50,000 ฟองหลังไข้หวัดนกระบาด

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 เจ้าหน้าที่ควบคุมการระบาดโรคไข้หวัดนกรายงานว่า บังกลาเทศฆ่าไก่จำนวน 13,727 ตัวและทำลายไข่ไก่ราว 50,000 ฟอง นับตั้งแต่ไข้หวัดนกชนิด H5N1 ระบาดเมื่อสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งถือเป็นการระบาดครั้งแรกฤดูหนาว

Ataur Rahman ผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องควบคุมของกระทรวงประมงและปศุสัตว์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ฆ่าไก่ประมาณ 12,762 ตัวในฟาร์มเลี้ยงเพื่อการค้าในเขต Manikganj และ Rajbarbi

! ; ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงขณะนี้ ไข้หวัดนกได้ระบาดไปยัง 4 เขตของบังกลาเทศ และอุณหภูมิที่ลดลงในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการระบาดมากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไข้หวัดนกมีโอกาสระบาดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ได้เพิ่มการติดตามเพื่อควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกแล้ว โดยสั่งเจ้าหน้าที่ให้กระตุ้นเกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันทุกข้อนับตั้งแต่ไข้หวัดนกระบาด นอกจากนี้ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามดำเนินการฆ่า ทำลาย กำจัดและลดการติดเชื้อในไก่อย่างเหมาะสมเมื่อตรวจพบการระบาด

ทั้งนี้ พบไข้หวัดนกระบาดในบังกลาเทศเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับกรุง Dhaka ในปี 2550 – 2551 ไวรัสได้แพร่กระจายไปยัง 47 เขตทั่วประเทศ นอกจากนี้ มีการตรวจพบการติดเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1ในมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551โดยผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 1 ปี 4 เดือน



ที่มา : Xinhua News (21/12/54

สัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยได้รับความนิยมในออสเตรเลีย

อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในออสเตรเลีย โดยไข่ที่ได้จากสัตว์ปีกที่เลี้ยงแบบปล่อยคิดเป็น 28. 4 % ของไข่ทั้งหมดที่มีวางจำหน่าย และมีสัดส่วนเนื้อสัตว์ปีกราว 15 % ของเนื้อสัตว์ปีกที่ผลิตได้ในปี 2553

คาดว่าอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยจะสามารถเติบโตอีกในอนาคตเนื่องจากผู้บริโภคบางราย นิยมผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยมากกว่า

ทั้งนี้ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยสัตว์ปีก ออสเตร! เลีย (The Poultry CRC) กำลังส่งเสริมให้มีการวิจัยด้านสวัสดิภาพ พฤติกรรม และ อาหารของสัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยเพิ่มเติม


ที่มา : The Poultry Site (21/12/54)

กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นอาจห้ามร้านอาหารจำหน่ายตับวัวดิบในญี่ปุ่น

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น กำลังพิจารณาว่าจะห้ามร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์และภัตตาคารในญี่ปุ่นจำหน่ายตับวัวดิบหรือไม่ หลังจากพบเชื้อ E. coli O157 ปนเปื้อนตับวัวดิบซึ่งถือว่าเป็นอาหารที่มีราคาแพงในญี่ปุ่น

ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนศูนย์ตรวจสอบคุณภาพเนื้อตรวจพบเชื้อดังกล่าวบนผิวของตับวัว 2 ตัว จาก 150 ตัว และตั้งแต่ ปี 2551 – 2553 ญี่ปุ่นมีผู้เจ็บป่วยจากอาการอาหารเป็นพิษเนื่องจากบริโภคตับวัวดิบจำนวน 116 ราย โดย 20 รายจากจำนวนทั้งหมดเจ็บป่วยจากกา! รติดเชื้อ E. coli และเมื่อต้นปีนี้ มีรายงานการว่าประชาชนในญี่ปุ่นจำนวนมากล้มป่วยจากอาการอาหารเป็นพิษเนื่องจากติดเชื้อ E coli O111

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะหารือเพิ่มเติมเรื่องการห้ามจำหน่ายตับวัวดิบในวันที่ 27 ธันวาคม 2554


ที่มา : Food Safety News (21/12/54

พม่าเตือนเกษตรกรให้ระวังวัตถุดิบอาหารปลาปลอมจากอินเดีย

สมาคมอาหารสัตว์น้ำพม่าแจ้งเตือนให้สมาชิกตรวจสอบวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นอาหารปลาซึ่งนำเข้าจากอินเดียทุกหีบห่อหลังจากตรวจพบว่าวัตถุดิบบางหีบห่อปนเปื้อนของเหลือ ซึ่งไม่มีคุณค่าทางอาหารใดๆ

Dr. That Mhoo เลขาธิการสมาคมกล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัท 6 แห่งนำเข้าอาหารถั่วเหลืองจากอินเดีย แต่ละหีบห่อมีน้ำหนัก 48 กิโลกรัม แต่บางหีบห่อปนเปื้อนของเหลือถึง 10 % เช่น เปลือกถั่ว หรือลำต้นพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งหมายความว่า วัตถุดิบเหล่านี้มีโปรตีนและไฟเบอร์น้อย ทำให้เกษตรกรต้องหาวัตถุดิบที่มีโปรตีนเพิ่มเติม

&nbs! p; ในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน พม่านำเข้าวัตถุดิบอาหารปลาจากอินเดียราว 4,000 ตัน
พม่าจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเนื่องจากผู้ผลิตอาหารสัตว์ในประเทศมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ และอาหารสัตว์นำเข้ามีราคาถูกกว่าราว 12 %

Dr. That Mhoo เพิ่มเติมว่าผู้นำเข้าเช่าคลังสินค้าเพื่อเก็บวัตถุดิบ โดยไม่ได้ทำสัญญากับผู้ซื้อ ดังนั้น ทันทีที่วัตถุดิบนำเข้ามาถึง ผู้นำเข้าจึงสามารถจำหน่ายวัตถุดิบได้อย่างรวดเร็ว เจ้าของโรงงานแห่งหนึ่งให้ข้อมูลว่า ตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผู้นำเข้าส่งมาให้ตรวจสอบแทบจะไม่พบของเหลือปนเปื้อน แต่วัตถุดิบที่จำหน่ายกลับปนเปื้อนของเหลือจำนวน 5 – 10 % และมีการกระจายวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ไปยังที่ต่างๆก่อนที่สมาคมเจ้าของโรงงานจะสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากมีเพียงโรงงานบางแห่งเท่านั้นที่มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ในเมืองย่างกุ้ง มีเพียงห้องปฏิบัติก! ารของกระทรวงปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์และสัตวแพทย์ที่ Thaketa ซึ่ง! สามารถออ กใบควบคุมคุณภาพได้ แต่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการห้องปฏิบัติการที่สูงเกินไปสำหรับผู้นำเข้าส่วนมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดค่าบริการเพื่อกระตุ้นให้ผู้นำเข้าทุกรายสามารถนำสินค้ามาตรวจสอบคุณภาพได้


ที่มา : All About Feed (21/12/54

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ออสเตรเลียและอินโดนีเซียประกาศความร่วมมือต่อสู้โรคสัตว์ติดต่อ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 สถานทูตออสเตรเลียประจำอินโดนีเซียประกาศความร่วมมือระหว่างอินโดนีเซียและออสเตรเลียในการควบคุมโรคสัตว์ติดต่อในจังหวัดซูลาเวสีเหนือและใต้ เพื่อยกระดับระบบสุขภาพสัตว์

โครงการความร่วมมือควบคุมการระบาดของโรคสัตว์ระหว่างออสเตรเลียและอินโดนีเซียมีมูลค่าถึง 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผู้ให้เงินทุนสนับสนุนคือ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (AusAID) ผ่านทางกระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ออสเตรเลีย (DAFF) โดยร่วมมือกับหน่วยงานสุขภาพสัตว์และกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย โครงการดังกล่าวจ! ะเน้นการควบคุมโรคสัตว์ติดต่อในเกาะซูลาเวสี ซึ่งเป็นบริเวณหลักของการผลิตปศุสัตว์ในอินโดนีเซียตะวันออกและตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับพรมแดนทางเหนือของออสเตรเลีย

โครงการดังกล่าวเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ทั้งสองประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน มีการใช้เทคโนโลยีและกิจกรรมภาคสนามซึ่งจะเป็นส่งเสริมระบบสุขภาพสัตว์ในระยะยาวในทั้งสองจังหวัด กิจกรรมทุกอย่างมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หวัดนก นอกจากนี้ ระบบสุขภาพสัตว์ที่แข็งแกร่งในอินโดนีเซียจะปกป้องสุขภาพทั้งของมนุษย์และสัตว์ เพิ่มผลผลิตปศุสัตว์ ลดปัญหาความยากจน ตลอดจนควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ที่อาจแพร่ระบาดระหว่างเมือง เกาะ หรือแม้กระทั่งพรมแดนระหว่างประเทศ



ที่มา : Xinhua News (19/12/54)

ราคาไข่ในจีนร่วง 11 สัปดาห์ติดต่อกัน

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 กระทรวงพาณิชย์จีนรายงานว่า ราคาไข่ในจีนลดลงติดต่อกัน 11 สัปดาห์ ขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆราคาสูงขึ้น

ราคาไข่ลดลง 0.6% ต่อสัปดาห์และลดลง 6.2 % ตั้งแต่สิ้นเดือนกันยายน 2554 และตั้งแต่วันที่ 5 – 11 ธันวาคม 2554 ราคาขายส่งของผักที่อยู่ทน เพิ่มขึ้น 7.9 % จากสัปดาห์ก่อนหน้า และเพิ่ม 18.4 % จากต้นเดือนพฤศจิกายน

ราคาแตงกวา มะระจีน และ ฟักเขียว เพิ่มขึ้น 20.6 % 12.2 % และ 7.8 % ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดล! ง ส่วนราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น 0.2 % เนื้อแกะเพิ่มขึ้น 0.2 % และเนื้อวัวเพิ่มขึ้น 0.4 %

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาปลีกของข้าวและแป้งลดลง 0.2 % เนื่องจากมีผลผลิตมีปริมาณมาก




ที่มา : The Poultry Site News (19/12/54

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การส่งออกเนื้อวัวของสหรัฐอเมริกาและปัญหาโรควัณโรคของอังกฤษและรัฐมินิโซตา

 
               • เพียง 10 เดือนแรกของปี 2554 สหรัฐฯ ส่งออกเนื้อวัวซึ่งมีมูลค่ากว่า 4.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ถือเป็นการทำสถิติใหม่ในปีนี้ โดยมีเม็กซิโกเป็นตลาดอันดับแรกด้านปริมาณการส่งออกเนื้อวัวของสหรัฐฯ โดยมีปริมาณการส่งออกที่ 470 ล้านปอนด์ ส่วนแคนาดาเป็นตลาดอันดับแรกด้านมูลค่าการส่งออกเนื้อวัว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกที่ 861.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

               • ในฤดูใบไม้ร่วงหน้า อังกฤษจะดำเนินโครงการกำจัด badger (สัตว์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีลายดำขาว อาศัยอยู่ใต้ดินหากินตอนกลางคืน) 2 แห่งเพื่อแก้ปัญหาโรควัณโรควัว

      &nbs! p;        • ในสหรัฐฯ รัฐมินนิโซตาได้ถูกประกาศให้เป็นเขตปลอดโรควัณโรค หลังจากเกษตรกรผู้เลี้ยง
ปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ต่อสู้กับโรคดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 ปี
 
 
ที่มา : The Dairy Site (16/12/54)

ฝูงไก่ตายปริศนาในเนปาล หวั่นไข้หวัดนก

 
                ประชาชนใน Ghurmi Bazaar, Udayapur เนปาล หวั่นเกรงว่าเกิดการระบาดของไข้หวัดนกในท้องถิ่น เนื่องจากเมื่อ 2 – 3 วันที่ผ่านมาฝูงไก่กว่า 1,000 ตัวจากฟาร์มเลี้ยงต่างๆในหมู่บ้าน ล้มลายโดยไม่ทราบสาเหตุ

                Tilak Shrestha ประชาชนในท้องถิ่นให้ข้อมูลว่า เมื่อ 3 วันที่ผ่านมา  ฝูงไก่ที่ฟาร์มแห่งหนึ่งใน  Lekhani VDC-2, Ghurmi เริ่มล้มตาย หลังจากนั้นฝูงไก่ในฟาร์มอื่นๆในหมู่บ้านก็ล้มตายตาม ในหมู่บ้าน ไม่เคยมีฝูงไก่ล้มตายเป็นจำนานมากขนาดนี้มาก่อน และเกรงว่าสาเหตุเกิดจากไข้หวัดนก  ขณะนี้ ประชาชนในหมู่บ้านหยุดการจำหน่ายและบริโภคไก่เรีย! บร้อยแล้ว แต่สำนักงานสุขภาพปศุสัตว์ประจำอำเภอคาดว่าสาเหตุของการล้มตายของฝูงไก่จำนวนมากน่าจะเกิดจากการเป็นโรค Ranikhet หรือนิวคาสเซิล แต่ยังต้องมีการตรวจพิสูจน์เพื่อยืนยันสาเหตุอีกครั้ง เนื่องจากไม่สามารถตรวจพิสูจน์ซากไก่ในสำนักงานสุขภาพปศุสัตว์ที่ Biratnagar จึงได้ส่งตัวอย่างไปยังกรุงกาตมันดุ

                อนึ่ง ใน Udayapur มีเกษตรกรเลี้ยงไก่ประมาณ 1,000 ราย หลังจากเหตุการณ์ฝูงไก่ล้มตายเป็นจำนวนมากครั้งนี้ จึงมีการระงับการส่งไก่ไปจำหน่ายยัง  Khotang, Okhaldhunga และ Solukhumbu

 
 
ที่มา : Himalayan Times (15/12/54

มะกันเรียกคืนเนื้ออกไก่ หวั่นอาจปนเปื้อน Listeria

 
                เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 หน่วยงานบริการตรวจสอบและความปลอดภัยอาหาร สหรัฐฯ (FSIS) รายงานว่า บริษัท House of Raeford Farms รัฐนอร์ทแคโรไลนา เรียกคืนเนื้ออกไก่สุกจำนวน 4,140 ปอนด์ เนื่องจากอาจปนเปื้อนเชื้อ Listeria monocytogenes

                โดยลูกค้าของบริษัทได้ส่งตัวอย่างเนื้ออกไก่จากบริษัทไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ผลการตรวจสอบพบว่า ตัวอย่างดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ Listeria monocytogenes  อย่างไรก็ตาม FSIS ระบุว่าไม่มีรายงานว่ามีผู้เจ็บป่วยจากการบริโภคสินค้าดังกล่าว

      !           สินค้าที่เรียกคืนบรรจุอยู่ในกล่องขนาด 18 – 22 ปอนด์ หมายเลขสินค้า 94268 และวันที่บรรจุคือวันที่ 27 กันยายน 2554  และได้ถูกส่งไปยังรัฐฟลอริดา จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนาและเซาท์แคโรไลนาเพื่อแปรรูปในขั้นต่อไป
 
ที่มา : Food Safety News (15/12/54

จีนยืนยันพบไข้หวัดนกระบาดในทิเบต

 
                เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2554 กระทรวงเกษตรจีนออกมายืนยันว่าพบไข้หวัดนกระบาดในหมู่บ้าน Sangda เทศมลฑล Doilungdeqen ในทิเบต

                ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 นกจำนวน 290 ตัวล้มตายจากการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูงชนิด H5N1 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้แล้ว และไม่มีรายงานว่าประชาชนซึ่งสัมผัสใกล้ชิดกับนกดังกล่าวมีอาการผิดปกติทางร่างกาย

                เจ้าหน้าที่ได้ปิดล้อม ฆ่าเชื้อบริเวณดังกล่าว ฆ่านกจ! ำนวน 1,575 ตัวและกำจัดซากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ H5N1 เรียบร้อยแล้ว
 
 
ที่มา : Xinhua News (14/12/54

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เม็กซิโกคุมเข้มชายแดนทางใต้ ป้องกันโรคไข้หวัดหมูจากกัวเตมาลา

 
                หน่วยงานบริการด้านความความปลอดภัยและคุณภาพอาหารแห่งชาติ เม็กซิโก (SENASICA) ได้เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังชายแดนทางตอนใต้เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดสุกร (CSF) เข้ามาในประเทศ หลังจากมีการระบาดของโรคดังกล่าวในกัวเตมาลา

                กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ การพัฒนาชนบท ประมงและอาหาร (SAGARPA) เน้นย้ำว่าจัดทำมาตรการนี้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสุกรของประเทศ ซึ่งคาดว่ามีการเลี้ยงสุกรกว่า 15 ล้านตัว

                SENASIC! A เพิ่มเติมว่า เม็กซิโกได้เพิ่มระดับการตรวจและสนับสนุนไม่ให้นำเข้าสุกรมีชีวิตและเนื้อสุกรจากชายแดน และกำลังป้องกันการขนส่งผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรทางอากาศจากกัวเตมาลา
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้มีการรายงานในกรณีที่สงสัยว่าสัตว์เป็นโรคดังกล่าวโดยการแจกใบปลิวและติดโปสเตอร์

                ทั้งนี้ SENASICA ระบุว่า เม็กซิโกปลอดโรคไข้หวัดสุกรตั้งแต่ปี 2552

 
 
ที่มา : The Pig Site (9/12/54)

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกในอียิปต์อีก 1 ราย

 
                กระทรวงสาธารณสุขและประชากรอียิปต์แจ้งเตือนองค์การอนามัยโลก (WHO) เรื่องชาวอียิปต์ 1 รายติดเชื้อไข้หวัดนก (H5N1) โดยผู้ติดเชื้อดังกล่าวเป็นหญิงอายุ 31 ปี จากเขต Meet Salseel เขตปกครอง Dakahlia ผู้ป่วยมีอาการเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ขณะนี้ ยังไม่พ้นขีดอันตรายและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

                ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกลางของอียิปต์ ซึ่งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังไข้หวัดทั่วโลกของ WHO ยืนยันการติดเชื้อดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 และจากการสืบหาสาเหตุของการติดเชื้อพบว่า ผู้ป่วยสัมผัสไก่ที่ติดเชื้อและล้มตายในบริเวณบ้าน

                ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบัน ในอียิปต์ มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 153 ราย และในจำนวนนี้เสียชีวิต 52 ราย
 
 
 
ที่มา : WHO  ( 6 ธันวาคม

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เนเธอร์แลนด์อาจจำกัดขนาดฟาร์มปศุสัตว์ในอนาคต

รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ประกาศว่า ในอนาคต อาจมีการจำกัดขนาดโครงการสร้างฟาร์มปศุสัตว์ในเนเธอร์แลนด์

นาย Henk Bleker รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรเนเธอร์แลนด์ กำลังพยายามออกกฎหมายการจำกัดขนาดฟาร์มปศุสัตว์ในพื้นที่เฉพาะแห่ง ส่วนการจำกัดขนาดฟาร์มนั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลทางจริยธรรม สาธารณสุขหรือผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม และเน้นย้ำว่าจะจำกัดขนาดเฉพาะกับฟาร์มที่มีขนาดใหญ่มากเท่านั้น ส่วนฟาร์มระดับครอบครัวจะยังสามารถขยายขนาดเพื่อเลี้ยงวัว 300 – 400 ตัว แม่สุกร 900 ตัว สุกรก่อนขาย 6,000 ตัว ไก่เนื้อ 200,! 000 ตัว หรือ ไก่ไข่ 100,000 ตัว โดยเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าขนาดฟาร์มเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นหรือไม่

การสร้างอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่จำเป็นในอนาคต ในปี 2563 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องการให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์มีความปลอดภัย มีสุขอนามัย คุณภาพสูง และสังคมให้การยอมรับ ด้วยการให้ความใส่ใจในด้านสวัสดิภาพสัตว์ การดูแลสัตว์ ประกอบกับการลดความเสี่ยงด้านสาธารณสุขให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากนี้ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ระบุว่าความยั่งยืนขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม รัฐบาลเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เท่านั้น แต่เกิดความวิตกกังวลเรื่องผู้ผลิตปศุสัตว์ไม่ให้ความสนในเรื่องนี้ และการขาดความกระตือรือร้นในดำเนินแผนการ

ส่วนนักสวัสดิภาพสัตว์และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ย้ำเตือนว่าควรห้ามการสร้างฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ในทันที


ที่มา : World Poultry (2/12/54)

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คาดจีนนำเข้าเนื้อสุกรกว่า 1 ล้านตันปี 55

การนำเข้าสัตว์ปีกไปยังจีนปี 2555 คาดการณ์กันว่าจะมีปริมาณใกล้เคียงกับปี 2554 ที่ปริมาณ 1 – 1.1 ล้านตัน

Ma Chaung รองประธานสมาคมเกษตรสัตว์จีน (CAAA) เปิดเผยว่าภาคเนื้อสุกรของจีนมีกำลังผลิตลดลง โดยปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในครัวเรือนลดลงมากกว่าการทำฟาร์มสุกรเป็นอาชีพ อย่างไรก็ตามผลผลิตทั้งหมดไม่ได้ลดลงมากนัก โดยปริมาณนำเข้าในไตรมาส 4 ของปี 2554 มากกว่าในปี 2553
ในเรื่องของโรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ (PRRS) และโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) Ma Chaung กล่าวว่าไม่กังวลและคาดว่าจะไม่ระบาดเหมือนที่ Rabobank ระบุในรายงานล่าสุด อ! ีกทั้งจีนยังได้เริ่มโครงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคทั้งสองชนิดแล้ว


ที่มา : Pig Progress (30/11/54

การผลิตเนื้อสัตว์ปีกรัสเซียโตเพิ่ม 8.6 %  

                กระทรวงเกษตรรัสเซียคาดการณ์ว่าการผลิตสัตว์ปีกในรัสเซียเพิ่มขึ้นเกือบ 50 % ในช่วงปี 2551 – 2554

                สำนักงานสถิติแห่งชาติรัสเซีย (Rosstat) รายงานว่า ในเดือนมกราคม – ตุลาคม 2554 รัสเซียผลิตเนื้อสัตว์ปีก 2.8 ล้านตัน  หรือมากกว่า ผลผลิตปี 2553 ในช่วงเดียวกัน ซึ่งมีผลการผลิตที่ 2.4 ล้านตัน ที่ 8.4 % และขณะนี้ผลผลิตเนื้อสัตว์ปีกเพียงพอต่อความต้องการในประเทศที่ 85 % และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกมายังตลาดรัสเซียลดลงอย่างต่อเนื่องที่ 4 – 5 % ต่อปี ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าอัตราการเติบโตของการผลิตสัตว์ปีกในช่วงเดียวกันน่! าจะเพิ่มจาก 4 % เป็น 6 %

                เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย Viktor Zubkov รองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งกล่าวว่า จากการเติบโตของอุตสาหกรรมสัตว์ปีก รัสเซียจะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในด้านเนื้อสัตว์ปีก โดยผลผลิตสัตว์ปีกภายในประเทศจะเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศในปี 2557

                นอกจากนี้ สมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกแห่งชาติ (Rosptitsesoyuz) คาดการณ์ว่า การส่งออกสัตว์ปีกรัสเซียอาจเพิ่มขึ้น 6 เท่าเมื่อสิ้นปี 2554 เป็น 90,000 ตัน
 
 
 
ที่มา : World Poultry (29/11/54

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฟิลิปปินส์เตรียมตัวส่งออกเนื้อหมูไปเกาหลีใต้

หลังจากการเจรจาส่งออกสัตว์ปีกไปยังเกาหลีใต้ซึ่งจะเริ่มในไตรมาสแรกของปี 2555 ประสบความสำเร็จ รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังเตรียมพร้อมเพื่อขอส่งออกเนื้อสุกรไปยังเกาหลีใต้

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ต้องการให้กระทรวงเกษตรเกาหลีใต้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบคุณภาพเนื้อสุกรในฟิลิปปินส์ โดยฟิลิปปินส์ได้พยายามเข้าถึงตลาดเนื้อสัตว์สดเกาหลีใต้ตั้งแต่ก่อนที่ฟิลิปปินส์จะได้รับการรับรองว่าปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยโดยไม่ต้องให้วัคซีน

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ GMA News ระบุว่ากระทรว! งเกษตรฟิลิปปินส์อนุญาตให้เกาหลีใต้ส่งออกปาปิก้าหรือพริกหวานบดมายังฟิลิปปินส์ในไตรมาสแรกของปี 2555

เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์และเนื้อไก่ไปยังต่างประเทศ รัฐบาลจึงต้องทำให้มั่นใจว่ามีการปรับปรุงโรงเชือดให้ได้คุณภาพระดับ AAA นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ต้องการส่งออกเนื้อสุกรไปยังสิงคโปร์ มาเลเซียและตะวันออกกลาง


ที่มา : The Pig Site (28/11/54

เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อหมูกว่า 2 เท่าในปี 2554

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 กระทรวงอาหาร เกษตร ป่าไม้ และประมง เกาหลีใต้รายงานว่า เมื่อถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อสุกรกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553

เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อสุกร 329,743 เมื่อถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 เพิ่มขึ้น 117 % จาก 151,889 ต้น ในช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่า จาก 41,888 ตัน เป็น 129,975 ในช่วงเดียวกัน ซึ่งคิดเป็น 39.4 % ของการนำเข้าเนื้อสุกรทั้งหมด นอกจากนี้ ในช่วงเดียวกัน เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อวัวเพิ่มขึ้น 253,132 ต้น หรื! อเพิ่มขึ้น 20.3 % จากช่วงเดียวกันของปี 2553

เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อสุกรและเนื้อเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากผลผลิตภายในประเทศลดลงโดยมีสาเหตุจากการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย เพื่อควบคุมการระบาดของโรคในเดือนพฤศจิกายน ปี 2553 เกาหลีใต้จึงต้องกำจัดปศุสัตว์กว่า 3 ล้านตัว ซึ่งปศุสัตว์ส่วนใหญ่ที่ถูกกำจัดเป็นสุกรและวัว



ที่มา : Xinhua News (28/11/54

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สถานการณ์ไข้หวัดนกในอียิปต์และอินโดนีเซีย

สถานการณ์ไข้หวัดนกในอียิปต์เกิดขึ้น 5 ครั้งใน 4 เขตผู้ว่าราชการได้แก่ เบเฮรา ฟายุม การ์เบียและกิซา โดยในเมืองเบเฮราเกิดการระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกซึ่งมีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 แล้ว ขณะที่การระบาดอีก 4 ครั้งพบในสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ในสวนหลังบ้านหรือบนหลังคาและยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

ขณะที่สถานการณ์ไข้หวัดนกในอินโดนีเซีย หน่วยงานผู้ดูแลด้านไข้หวัดนกระบุว่าเดือนกันยายน 2554 จังหวัดบาหลีเป็นเมืองที่เกิดการระบาดของไข้หวัดนกในหลายหมู่บ้านมากที่สุด ตามมาด้วยซูลา! เวซีกลาง ซูลาเวซีตะวันตก กาลีมันตันตะวันตก และซูลาเวซีใต้ โดยในเดือนตุลาคม 2554 ไข้หวัดนกทำให้มีผู้เสียชีวิตในบาหลี 3 ราย อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ประกอบด้วยหญิงวัย 29 ปีผู้เป็นแม่ และเด็กหญิงวัย 9 ปี และเด็กชายวัย 10 ปี โดยพบสัตว์ปีกที่เลี้ยงในครัวเรือนเสียชีวิตก่อนที่ผู้หญิงและเด็กล้มป่วย

นอกจากนี้ยังมีการรายงานการระบาดของไข้หวัดนกในหมู่บ้าน 2 แห่งในจังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 มีการรายงานว่าพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกใน 3 แขวงของจังหวัดซูลาเวซีใต้ ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 14,000 ตัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลสรุปสถานการณ์ไข้หวัดนกล่าสุดของ FAO ยังระบุการพบการระบาดของไข้หวัดนกในเวียดนามและอิหร่านซึ่งก่อนหน้านี้มีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลก (W! TO) ด้านสุขอนามัยสัตว์และ และจากข้อมูลในตารางในรายงานของ FAO ร! ะบุว่าใน ปี 2554 มีการระบาดไข้หวัดนกใน 14 ประเทศ

ไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย บังกลาเทศ อินเดีย และอียิปต์




ที่มา : World Poultry ( 23 พฤศจิกายน 2554

ช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ เนื้อหมูและไก่อาจขาดแคลนและราคาสูงในฟิลิปปินส์

ผู้แปรรูปเนื้อสัตว์ออกมาแจ้งเตือนว่า ฟิลิปปินส์อาจขาดแคลนเนื้อสุกรและเนื้อไก่ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส และราคาสินค้าดังกล่าวอาจมีราคาสูงในช่วงเทศกาลปีใหม่ และกล่าวโทษกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ว่าไม่ออกใบอนุญาตนำเข้าให้เพียงพอ

นาย Francisco Buencamino ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้แปรรูปเนื้อสัตว์ และนาย Jesus Cham ประธานสมาคมผู้นำเข้าและผู้ค้าเนื้อสัตว์ระบุว่ากระทรวงฯ ไม่ได้ออกใบอนุญาตนำเข้าเนื้อสุกรและไก่ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 แม้ว่าการกระทำของกร! ะทรวงฯ จะช่วยเพิ่มราคาของสินค้าในประเทศ แต่จะส่งผลกระทบต่อผู้แปรรูปเนื้อสัตว์ เช่น แฮม ไส้กรอก ซึ่งมักได้รับความนิยมบริโภคในช่วงกาลเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าว

นอกจากนี้ นาย Jesus กล่าวว่าหากต้องแย่งซื้อสินค้าเนื้อหมูและไก่จากเกษตรกรในท้องถิ่นกับผู้บริโภค จะทำให้ราคาเนื้อหมูและไก่พุ่งสูงขึ้น นาย Francisco จึงเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรทบทวนการตัดสินใจอีกครั้งและเรียกร้องให้รัฐบาลไม่ควรคุ้มครองเกษตรกรเพียงฝ่ายเดียว หากแต่ต้องคุ้มครองผู้บริโภคด้วย




ที่มา : The Pig Site (23 พฤศจิกายน 2554

จับตา...ข้อพิพาทฉลาก Cool สหรัฐฯ

องค์การการค้าโลก (WTO) ตัดสินว่า ฉลาก Cool ไม่สอดคล้องกับข้อบังคับทางการค้าของ WTO

WTO ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนจากแคนาดาเรื่องข้อกำหนดของฉลาก Cool ของสหรัฐ ซึ่งบังคับให้ระบุแหล่งกำเนิดที่มาของสินค้า โดยพระราชบัญญัติ Food Conservation and Energy สหรัฐฯ บังคับให้ติดฉลาก Cool บน เนื้อวัว เนื้อสุกร เนื้อไก่ เนื้อแกะ เนื้อแพะ และสินค้าที่เน่าเสียได้ที่จำหน่ายโดยผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ

WTO ระบุว่าข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการแบ่งแยกสินค้าปศุสัตว์จากต่างประเทศ WTO พบว่า มีการเลือกปฏิบัติต่อสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโกต่างจากสินค้าจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังพบว่าข้อกำหนดดังกล่าวยังสร้างอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ผู้แปรรูปสินค้าปศุสัตว์แคนาดาต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

สหรัฐฯ ออกกฎหมายฉลาก Cool เป็นการชั่วคราวเมื่อเดือนกันยายน 2551 และบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2552

ขณะนี้ สหรัฐฯ จะต้องเปลี่ยนแปลงมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับข้อบังคับทางการค้าของ WTO แต่อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐฯได้รับการอุทธรณ์ สหรัฐฯจะสามารถขยายเวลาการเปลี่ยนแปลงได้





ที่มา : Australian Food News ( 24 พฤศจิกายน 2554

ผู้ผลิตไก่ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กังวลต่อการนำเข้าไก่จากบราซิล

ผู้ผลิตไก่ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้แสดงความวิตกต่อการนำเข้าไก่จำนวนมากจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากบราซิล เนื่องจากธุรกิจของผู้ผลิตในประเทศได้รับผลกระทบ

การนำเข้าไก่จากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อผลกำไรของผู้ผลิตภายในประเทศ ทำให้กลุ่มผู้ผลิตและอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งรวมตัวกันเพื่อฟ้องผู้นำเข้าบราซิลในคดีทุ่มตลาด โดยกล่าวหาว่าบราซิลจำหน่ายไก่ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในราคาที่ต่ำว่าในบราซิล ส่วนบราซิลเชื่อว่าฝ่ายตนทำถูกต้องและเตรียมนำเรื่องนี้เข้าสู่องค์การการค้าโลก (WTO) สมาพันธ์สัตว์ปีกบราซิล (Ubabef) อ้างว่าการกล่าวว่าบราซิลทุ่มตลาดเป็นเรื่องการเมืองและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กำลังปกป้องผู้ผลิตในประเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพและจะทำให้ประชาชนนับล้านเสียประโยชน์ในการบริโภคโปรตีนที่มีราคาถูก

ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ระบุว่า ในปี 2543 การนำเข้าไก่จากบราซิลอยู่ที่ 11,198 ตัน ส่วนปี 2553 นำเข้าที่ 193,896 ตัน โดยเป็นการนำเข้าจากบราซิล 73 % รองลงมาคืออาร์เจนตินา 10.3% และแคนาดา 7.1 %

ด้าน Ubabef ระบุว่า การนำเข้าไก่ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในทศวรรษที่ผ่านมาไม่เคยเกิน 20 % ของไก่ที่ผลิตได้ทั้งหมดในประเทศ นาย Adriano Zerbini ผู้จัดการฝ่ายการตลาดความสัมพันธ์กล่าวว่า ส่วนแบ่งการตลาดของบราซิลในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ไม่สูงมาก และบราซิลไม่ต้องการให้ผู้ผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบแต่อย่างใด และถ้ามีการจำหน่ายไก่ที่นำเข้าจากบราซิลในราคาถูกมากแล้วเหตุใดบราซิลจึงไม่มีส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่านี้

ขณะนี้ คณะกรรมการบริหารการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กำลังตรวจสอบว่าบราซิลทุ่มตลาดหรือไม่ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบนานนับปี แต่อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายสามารถยื่นเรื่องต่อ WTO ได้ในกรณีที่ไม่พอใจการตรวจสอบดังกล่าว




ที่มา : World Poultry ( 24 พฤศจิกายน 2554 )

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นักวิทย์ยูเอ็นเตือน โรค CBSDอาจกลายเป็นโรคระบาดในอัฟริกา

 
                นักวิทยาศาสตร์องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แจ้งเตือนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Cassava Brown Streak Disease : CBSD ในอัฟริกาตะวันออกเป็นบริเวณกว้างเป็นเรื่องเร่งด่วนและเรียกร้องให้จัดหากองทุนสำหรับการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากโรค CBSD อาจกลายเป็นโรคระบาดได้

               มันสำปะหลังเป็นพืชที่สำคัญในอัฟริกาเนื่องจากเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีคุณภาพต่ำและต้องการน้ำน้อย อย่างไรก็ตาม มันสำปะหลังสายพันธุ์ที่แจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในอัฟริกาไม่สามารถต้านทานโรคนี้ได้

     &n! bsp;          นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โรค CBSD กำลังจะกลายเป็นโรคระบาด โรคดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรกใน
อูกานดาในปี 2549 หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็พบโรคนี้ใน สาธารณรัฐบุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นครั้งแรก

               นาย Mike Robson เจ้าหน้าที่ผลิตและปกป้องพืชจาก FAO กล่าวว่า ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าไวรัสแพร่ระบาดไปยังที่ใดบ้างเนื่องจากระบบติดตามคุณภาพต่ำ และปัญหาสำคัญคือเกษตรกรอาจคิดว่าพืชมีสุขภาพดีจนกระทั่งการเก็บเกี่ยว เนื่องจากโรคจะแสดงอาการที่รากพืชเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีที่จะช่วยลดผลกระทบจากโรคดังกล่าวได้ โดยควบคุมการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของมันสำปะหลังที่ติดเชื้อเพื่อไม่ให้ไวรัสแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆได้ และหากเกษตรกรคาดว่ามันสำปะหลังติดเชื้อ ให้รีบเก็บเกี่ยวแต่เนิ่นๆ แม้ว่ารากมันสำปะหลังจะมีขนาดเล็กแต่จะได้รับผลกระทบจากไวรัสดังกล่าวน้อยกว่า

            &nb! sp;  ขณะนี้ สถาบันการเกษตรเขตร้อนนานาชาติกำลังพัฒนาม! ันสำปะหล ัง 8 สายพันธุ์ให้สามารถต้านทานโรค CBSD และคาดหวังว่ามันสำปะหลังสายพันธุ์เหล่านี้จะแพร่หลายได้ภายใน 2 ปี
 
 
 
ที่มา : BBC (22/11/54

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เวียดนามเริ่มโครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตฯปศุสัตว์ในประเทศ

 
                เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามเปิดเผยโครงการเพิ่มขีดความสามารถและความปลอดภัยอาหารของอุตสาหกรรมปศุสัตว์

                โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านปศุสัตว์และความปลอดภัยอาหารแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ผลิตปศุสัตว์ระดับครัวเรือน

                ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการผลิตปศุสัตว์ การแปรรูปและการตลาด ตลอดจนปรับปรุงความปล! อดภัยอาหารในห่วงโซ่อุปทานปศุสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อสัตว์ ในเขตที่ได้รับการคัดเลือก

                โครงการดังกล่าวซึ่งมีระยะเวลาจนถึงเดือนธันวาคม 2558 ประกอบด้วย 2  ส่วน ดังนี้
                   • ส่วนแรก เน้นการยกระดับการผลิตปศุสัตว์ในระดับครัวเรือนและการบูรณาการตลาด
                   • ส่วนที่สอง เน้นการบริหาร ติดตาม และประเมินโครงการ

               โครงการนี้จะนำการจัดการทางสุขาภิบาลและสุขภาพสัตว์ที่ดี (GAHP) มาปรับใช้ในฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์ ในเขตที่มีการเพาะพันธุ์สัตว์มาก จัดตั้งโรงงานกำจัดของเสียเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงตลาดอาหารสด 40 แห่ง โรงเชือด 10 แห่งในเขตที่ได้รับการคัดเลือกในเมืองโฮจิมินห์เ! พื่อปรับปรุงความปลอดภัยอาหาร นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งระบบติดตา! มสินค้าอ าหารและควบคุมคุณภาพตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มเพาะพันธุ์ โรงเชือด จนถึงการบริโภค
 
 
ที่มา : VN Agency (21/11/54)

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฝรั่งเศสวางแผนลดใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ 25 % ภายใน 5 ปี

กระทรวงเกษตรฝรั่งเศสประกาศแผนลดความเสี่ยงการดื้อยาปฏิชีวนะในสัตว์ โดยมีเป้าหมายลดการใช้

ยาปฏิชีวนะให้ได้ 25 % ภายใน 5 ปี ผ่านการเน้นพัฒนาการแพทย์ทางเลือก
ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2542 กระทรวงเกษตรฝรั่งเศสเริ่มติดตามการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ และปี 2549 สหภาพยุโรปห้ามการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับใช้เป็นสารเร่งโตในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังระบุให้สัตวแพทย์ต้องใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างเหมาะสม และระหว่างปี 2550 – 2553 ตัวเลขจากฝรั่งเศสชี้ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะลดลง 12.1 %

&! nbsp; แผนการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาสัตว์และรักษาประสิทธิภาพการรักษา ในระยาว เนื่องจากยาปฏิชีวนะเป็นยาเฉพาะ และมีความสำคัญต่อสุขภาพสัตว์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเริ่มคิดว่าเหตุใดต้องใช้และมีวิธีใช้ยาอย่างไร

กระทรวงเกษตรได้ตั้งเป้าหมายไว้ 5 ประการ ดังนี้
• ส่งเสริมการปฏิบัติที่ดีและเพิ่มความตระหนักเรื่องความเสี่ยงด้านการดื้อยาปฏิชีวนะ และรักษาประสิทธิภาพการใช้ยาปฏิชีวนะ
• พัฒนาทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ
• เพิ่มระดับการบริหารในทางปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยง
&nb! sp; ! ; & nbsp; • เพิ่มระดับการติดตามการใช้และการดื้อยาปฏิชีวนะ
• ส่งเสริมการวิจัยในสหภาพยุโรปและโครงการระดับนานาชาติ


ที่มา : The Fish Site (21/11/54)

พบซากนกในสลัดเมืองผู้ดี

นาย Paul Streeter ชาวเมือง Somerset ในหมู่บ้าน Weare สหราชอาณาจักรซื้อสลัดร็อกเกตจากห้าง Tesco สาขา Burnham-on-Sea เมื่อวันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2554 และแฟนสาวของนาย Streeter เป็นผู้พบซากนกเน่าเปื่อยเป็นโครงกระดูกในสลัดดังกล่าวขณะที่กำลังเตรียมอาหาร ขณะที่ทาง Tesco กล่าวว่าจะทำการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยทางห้างกำลังติดต่อกับลูกค้ารายดังกล่าวและทำการขอโทษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ที่มา : BBC(21/11/54)

อินโดยึดไก่ลักลอบนำเข้าจากมาเลย์

เมื่อเร็วๆนี้ หน่วยงานด้านปศุสัตว์และสุขภาพสัตว์ประจำจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกของอินโดนีเซียได้เข้ายึดซากไก่แช่แข็ง 290 ตันที่ลักลอบนำเข้าจากมาเลเซียไปยังเมืองปนตีอานักซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกและเมืองกุบุรายา โดยซากไก่ดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างทดสอบให้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซากไก่เหล่านี้ไม่มีใบรับรองสุขภาพสัตว์จึงทำให้ความปลอดภัยยังเป็นข้อกังขาอยู่

Bambang Mulyantono ประธานของสมาคมธุรกิจการเกษตรสัตว์ปีกประจำจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก กล่าวว่าซากไก่ที่ลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมายจากมาเลเซีย! สร้างความเสียหายให้แก่การค้าสัตว์ปีกในจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก และเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นอกจากนี้ก็มีการลักลอบนำเข้าไข่และซากเป็ดจากมาเลเซียอีกด้วย โดยการลักลอบขนเข้ามาส่วนใหญ่มาจากประตูชายแดนระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย



ที่มา : World Poultry (21/11/54)

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พบเชื้อไข้หวัดนกระบาดในฟาร์มไก่ที่บังกลาเทศ

 
                หนังสือพิมพ์ Daily Star รายงานว่าพบเชื้อไข้หวัดนกระบาดที่ฟาร์มเลี้ยงไก่แห่งหนึ่งในจังหวัด Rajbari บังกลาเทศ โดยได้ทำลายไก่กว่า 11,000 ตัวและไข่กว่า 43,000 ฟองหลังจากตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในฟาร์ม ปฏิบัติการป้องกันการแพร่ระบาดนี้เริ่มเมื่อวันที่ 14 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 

                เจ้าของฟาร์มรายงานว่าว่าพบไก่หลายตัวล้มตายจึงรายงานให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ท้องถิ่นทราบ หลังจากนั้นได้ส่งซากไก่ไปยังห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่เมืองดากาเพื่อตรวจสอบ ผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าพบเชื้อไข้หวัดนก 

  ! ;              เจ้าหน้าที่กล่าวว่า โอกาสที่เชื้อไข้หวัดนกจะแพร่ระบาดไปยังฟาร์มใกล้เคียงมีน้อยมากเนื่องจากได้มีการใช้มาตรการป้องกันที่จำเป็นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแล้ว
 
ที่มา : Newkerala(17/11/54

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไทยส่งออกไก่ไม่หวั่นน้ำท่วม

สมาคมผู้ส่งผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยระบุว่า การเกิดอุทกภัยในไทยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไก่ โดยมีคำสั่งซื้อไก่ล่วงหน้าไปจนถึงไตรมาส 3 ของปี 2555 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจากต่างประเทศกังวลถึงความล่าช้าของระบบโลจิสติกส์และการขนส่ง โดยคำสั่งซื้อไก่ส่วนมากมาจากญี่ปุ่นและประเทศในสหภาพยุโรปซึ่งทั้งสองเป็นผู้นำเข้าไก่รายใหญ่ที่สุดของไทย
ทั้งนี้คาดว่ายอดส่งออกไก่ไทยจะไม่ลดลง โดยไทยเตรียมจะส่งออกเนื้อไก่ไม่ต่ำกว่า 450,000 ตัน เพิ่มขึ้น 6.3% เมื่อเทียบกับปี 2553



ที่มา : World Poultry (15/11/54

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ออสเตรเลียแจ้งค่า MRLsสารเคมีทางสัตวศาสตร์และทางการเกษตร

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 ออสเตรเลียแจ้งเวียนต่อประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เรื่องร่าง Australia New Zealand Food Standards Code โดยกำหนดค่า MRLs สำหรับสารเคมีที่ใช้ทางสัตวศาสตร์แลทางการเกษตรต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบแห่งชาติที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพในการใช้สารเคมีต่างๆ เปิดรับฟังข้อคิดเห็นถึงวนที่ 17 พฤศจิกายน 2554 และคาดว่ามีผลบังคับใช้ก่อนธันวาคม 2554

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.apvma.gov.au/publications/gazette/2011/18/gazette_2011_09_13_page_22.pdf


ที่มา : มกอช.

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ซาอุไฟแดงเนื้อสัตว์บังกลาเทศ

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 ซาอุดิอาระเบียแจ้งเวียนต่อประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เรื่องมาตรการฉุกเฉินห้ามนำเข้าชั่วคราวเนื้อสัตว์และผลพลอยได้ (แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป) จากโคกระบือ แพะ แกะ และอูฐจากบังกลาเทศ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2554



ที่มา : มกอช. ( 25 ตุลาคม 2554

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไข้คิวระบาดใน รัฐมอนตานา และวอชิงตัน

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2554 ศูนย์ควบคุมโรคของรัฐบาลกลาง สหรัฐฯ รายงานว่า มีการระบาดของโรคไข้คิว (Q Fever) ทำให้มีผู้ติดเชื้อ 20 รายในรัฐมอนตานา และวอชิงตัน เมื่อฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา โดยการระบาดครั้งนี้มีแพะเป็นพาหะ ประชาชน 4 รายถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ไม่มีรายงานการเสียชีวิต และผู้ติดเชื้อบางรายแสดงอาการของโรค

ในเดือนเมษายน 2554 เจ้าหน้าที่ตรวจพบแบคทีเรีย Coxiella burnetii ในรกของแพะซึ่งมาจากฟาร์มแห่งหนึ่งในรัฐวอชิงตันและมีรายง! านว่ามีอัตราการแท้งของแพะสูงมาก นอกจากนี้ ฟาร์มดังกล่าวยังได้จำหน่ายแพะไปทั่วเขตแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจพบแบคทีเรียดังกล่าวในแพะที่ฟาร์ม 21 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มในรัฐวอชิงตันและมอนตานา

มีการรายงานการระบาดของโรคไข้คิวทุกๆปี ซึ่งรวมถึงการระบาดของโรคดังกล่าว 3 ครั้งในเขตแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ แบคทีเรีย Coxiella burnetii มีความทนต่อสภาพแวดล้อมและสามารถเดินทางได้หลายไมล์เมื่อถูกลมพัด โดยมีวัว แกะ และ แพะ เป็นพาหะหลักของเชื้อ เชื้อแบคทีเรียอยู่ในนม ปัสสาวะ อุจจาระของสัตว์ที่ติดเชื้อส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนมีโอกาสน้อย

ทั้งนี้ สตรีมีครรภ์ และ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีโอกาสติดเชื้อสูง และแบคทีเรียเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้




ที่มา : Food Safety News (18 ตุลาคม 2554)

โรคหูหมูสีน้ำเงินระบาดในภาคใต้เวียดนามอีกระลอก

โรคหูสุกรสีน้ำเงินระบาดในเขตจังหวัดภาคใต้เวียดนาม ซึ่งสร้างความกังวลว่าโรคดังกล่าวจะระบาดไปยังเขตจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่ออากาศเย็นลง

นาย Diep Kinh Tan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท กล่าวว่า โรคดังกล่าวระบาดในจังหวัด Long An, Tien Giang, Soc Trang, Tay Ninh และ Quang Nam และให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่าเจ้าหน้าท้องถิ่นควรใช้มาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมการระบาดเพื่อให้มั่นใจว่ามีปริมาณเนื้อสุกรเพียงพอสำหรับการบริโภคในช่วงปีนี้

นาย Diep Kinh Tan ยังให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีนและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการเชือด การค้า การขนส่งสุกรที่ติดโรคเข้าและออกนอกจากเขตพื้นที่ควบคุม และควรทำลายสุกรที่ติดเชื้อ

นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังได้ตกลงที่จะจัดหาวัคซีนโรคหูสุกรสีน้ำเงินจำนวน 500,000 โดสให้แก่จังหวัดต่างๆ

นับตั้งแต่ 13 ตุลาคม สุกรกว่า 18,900 ตัวติดเชื้อ ในจังหวัด Long An สุกรจำนวน 13,518 ตัวติดเชื้อ โดย 4,258 ตัวถูกทำลาย และในจังหวัด Tay Ninh มีสุกรติดเชื้อ 2,694 ตัว ซึ่งได้ถูกทำลายแล้ว 756 ตัว




ที่มา : Vietnam News (19 ตุลาคม 2554

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ยูเครนส่งออกสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น

ปริมาณการส่งออกสัตว์ปีกยูเครนในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2554 เพิ่มขึ้น 1.5 เท่าเป็น 35,100 ตัน เกือบเท่ากับการนำเข้าสัตว์ปีกซึ่งลดลงถึง 70% คิดเป็นจำนวน 37,100 ตัน ผู้เชี่ยวชาญตั้งของสังเกตว่าเหตุที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาสัตว์ปีกส่งออกส่งออกสูงขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปี 2553

อย่างไรก็ตาม ปริมาณส่งออกดังกล่าวน้อยกว่าที่เดิมเคยคาดการณ์ไว้ เมื่อต้นปี 2554 กระทรวงเกษตรยูเครนประมาณการเบื้องต้นว่าช่วง 7 เดือนแรกของปี 2554 การนำเข้าสัตว์ปีกจะอยู่ที่ 45,000 ตัน ขณะที่การส่งออกจะอยู่ที่ 70,000 ตัน ซึ่งมากกว่าปี 2553 ถึง 2 เท่า
จากสถิติของทางการ จำนวนสัตว์ปีกในยูเครนเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2553 เพิ่มขึ้น 12% จากการประมาณการเบื้องต้น ภายในสิ้นปี 2554 จำนวนสัตว์ปีกยูเครนจะมีทั้หงมด 210 ล้านตัว ขณะที่ต้นปี 2553 ประมาณการไว้ที่ 181 ตัว นอกจากนี้ในปี 2554 การบริโภคสัตว์ปีกในยูเครนจะเพิ่มขึ้น โดยจะบริโภคสัตว์ปีกปีละ 25.4 กิโลกรัมต่อคน จากเดิมปีละ 24.2 กิโลกรัมต่อคนในปี 2553



ที่มา : World Poultry(18/10/54)

CEO จีนวอลมาร์ทลาออก

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554 วอลมาร์ทจีน แถลงข่าวการลาออกของนาย Ed Chan ประธานและประธานกรรมการบริหารห้างค้าปลีกวอลมาร์ทประจำประเทศจีน และได้มอบหมายให้ นาย Scott Price ประธานและประธานกรรมการบริหารห้างค้าปลีกวอลมาร์ท ประจำภูมิภาคเอเชียทำหน้าที่ชั่วคราวแทนนาย Ed Chan

วอลมาร์ท แถลงว่า นาย Ed Chan ได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเหตุผลส่วนตัว พร้อมกันนี้ ผู้บริหารอาวุโสวอลมาร์ทอีกคนคือ Clara Wong ได้ลาออกไปด้วย

การลาออกของนายใหญ่วอลมาร์ท! จีน เกิดขึ้นหลังจากกรณีอื้อฉาวปิดฉลากผิดบนเนื้อหมูวางจำหน่ายในห้างวอลมาร์ท นครฉงชิ่ง โดยปิดฉลากกำกับสินค้าเนื้อหมูชนิดทั่วไปเป็นเนื้อหมูอินทรีย์ และจำหน่ายในราคาแพงเท่ากับเนื้อหมูเกรดดี

หลังมีรายงานข่าวอื้อฉาวการปิดฉลากเนื้อหมูผิดดังกล่าว เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำนักงานดูแลอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งนครฉงชิ่งได้สั่งปิดห้างวอลมาร์ทในนครฉงชิ่ง 13 แห่ง เป็นเวลา 15 วัน และสั่งปรับมากกว่า 420,000 เหรียญสหรัฐ อีกทั้งควบคุมตัวพนักงานของวอลมาร์ท

นาย Scott Priceได้แถลงเมื่อเข้ารับหน้าที่แทนนาย Ed Chan ว่า ห้างวอลมาร์ทเพิ่งฉลองครบรอบ 15 ปี ในการเข้าสู่ตลาดจีน จีนเป็นตลาดที่สำคัญมาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับล่าสุด ระบุเปิดโอกาสยิ่งใหญ่ให้แก่การพัฒนาธุรกิจค้าปลีก ที่ผ่านมาวอลมาร์ทประสบความสำเร็จในการวางรากฐานในจีน มีพนักงานเกือบ 100,000 คน และร้านสาขา 353 แห่ง

! &n! bsp;&nbs p; ทั้งนี้ วอลมาร์ท ยักษ์ค้าปลีกสัญชาติอเมริกัน ได้เปิดร้านค้าปลีกแห่งแรกในฉงชิ่งเมื่อปี 2549 โดยเปิดร้านแรกที่เซินเจิ้น จนถึง ณ วันที่ 1 ก.ย. 2554 วอลมาร์ทมีร้านสาขา 353 แห่งใน 130 เมืองทั่วประเทศจีน



ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์(18/10/54)

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เด็กบาหลีดับ 2 ราย เหตุติดเชื้อไข้หวัดนก

 
                 Elzarita Arbain ผู้อำนวยการโรงพยาบาล Sanglah จังหวัดบาหลี อินโดนีเซียรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 2 ราย จากการติดเชื้อไข้หวัดนก โดยผู้เสียชีวิตเป็นเด็กอายุ 5 และ 10 ปี จากหมู่บ้าน Jehem เมือง Bangli จังหวัดบาหลี

                จากผลการวิเคราะห์เลือดและการตรวจด้วยไม้พันสำลีป้ายที่คอ (Throat swab) โดยโรงพยาบาล Sanglah ห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Udayana และหน่วยงานวิจัยและพัฒนาสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขพบว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 2 รายติดเชื้อไข้หวัดนก

               ! มีรายงานว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย สัมผัสนกที่ตายแล้วโดยตรง ตั้งแต่ปี 2546 อินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนก 148 ราย และองค์การอนามัยโลก (WTO) ระบุว่า อินโดนีเซียมีผู้เสียชีวิตเกือบครึ่งหนึ่งของยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกจำนวน 333 ราย
 
 
ที่มา : World Poultry(14/10/54)

คลองเมืองผู้ดีปนเปื้อน ปลาตายหลายพัน

 
                สารพิษรั่วไหลในคลองต่างๆ ในพื้นที่ภาคกลางของสหราชอาณาจักร หลังเกิดการลอบวางเพลิงพื้นที่อุตสาหกรรมในภาคกลางทำให้คลังสินค้าได้รับความเสียคิดเป็นมูลค่ากว่า 800,000 ล้านปอนด์ เมื่อปลายเดือนกันยายน 2554 เป็นเหตุให้ปลาหลายพันตัวตายจากสารพิษ ขณะที่เจ้าหน้าที่ทางน้ำก็ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการป้องกันคลองในเครือข่ายไม่ให้ปนเปื้อนเพิ่มเติม
 
ที่มา : FIS (14/10/54)

ปากเท้าเปื่อยระบาดเพิ่มเติมในธิเบต  

               เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554 เกิดการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยเพิ่มเติมในธิเบตในหมู่บ้าน Duixu ในเมือง Zhongda แคว้น Linzhi ปศุสัตว์จำนวน 108 ตัวสุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีปศุสัตว์อีก 7 ตัวที่ได้รับการรายงานว่าเป็นโรคปากเท้าเปื่อย ยังไม่มีการรายงานการตาย และยังไม่มีการทำลายปศุสัตว์เหล่านี้ ขณะที่มีสุกรที่สุ่มเสี่ยงติดโรคจำนวน 22 ตัว แต่ยังไม่มีรายงานว่าเป็นโรคปากเท้าเปื่อยกี่ตัว และสุกรในจำนวนนี้ทั้งหมดถูกทำลายแล้ว ทั้งนี้ยังไม่ทราบสาเหตุของการระบาดของโรคดังกล่าว
 
 
ที่มา : The Pig Site (14/10/54)
 

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เบลเยี่ยมประกาศสถานะปลอดโรคพิษสุนัขบ้าเทียม

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศอย่างเป็นทางการว่าขณะนี้เบลเยี่ยมได้รับสถานะปลอดโรคพิษสุนัขบ้าเทียม (Aujeszky’s Disease) โดยคณะกรรมธิการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เบลเยี่ยมได้รับสถานะดังกล่าว ก่อนหน้านี้สำนักงานห่วงโซ่อาหารของเบลเยี่ยม (FAVV) ร้องขอให้ทางการสหภาพยุโรปมอบสถานะดังกล่าวในเดือนพฤษภาคม 2554

จากข้อมูลของ Wikipeidia โรคพิษสุนัขบ้าเทียมเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในสุกรซึ่งมีการระบาดในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก เชื้อดังกล่าวจะถูกปล่อยผ่านน้ำลายและน้ำมูกของสุกรที่ติดเชื้อและระบาดผ่านการสัมผัสทางปากและทางจมูก การเกิดละอองของไวรัส และการแ! พร่เชื้อผ่านวัตถุที่เป็นพาหะโรคอาจเกิดขึ้นได้ ไวรัสสามารถอยู่ได้ถึง 7 ชั่วโมงในอากาศชื้นและกระจายได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถอยู่ในน้ำขังถึง7 ชั่วโมง ในหญ้า ดิน และอุจจาระ 2 ชั่วโมง ในอาหารสัตว์อยู่ได้ถึง 3 วัน ที่นอนฟางอยู่ได้ถึง 4 วัน

เมื่อสุกรได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวอาจไม่แสดงอาการ แต่สามารถทำให้สุกรแท้งลูก และทำให้ลูกสุกรมีโอกาสสูงที่ตายได้ โรคดังกล่าวจะทำให้ลูกสุกรและสุกรโตเต็มวัยมีอาการไอ จาม เป็นไข้ ท้องผูก ซึม ลมชัก กล้ามเนื้อกระตุก เดินวนเป็นวงกลม และหลั่งน้ำลายมากเกินไป ลูกสุกรมีโอกาสตายเกือบถึง 100% หากติดเชื้อไวรัสดังกล่าว ขณะที่สุกรอายุ 1 ถึง 6 เดือนมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคนี้น้อยกว่า 10 % สุกรตั้งครรภ์สามารถดูดซึมกลับไวรัสไปยังครอกลูกสุกร ทำให้ลูกสุกรที่คลอดออกมามีโอกาสเป็นศพแห้ง ตายตอนคลอด หรืออ่อนแอได้


ที่มา : World Poultry(12/10/54)

จีนปิดร้าน Wal-Mart 10 สาขา

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2554 นาย Haung Bo ผู้อำนวยการหน่วยงานบริหารด้านอุตสาหกรรมและการค้าเมืองฉงชิ่ง จีน กล่าวว่า เทศบาลเมืองฉงชิ่ง ได้ปิดร้าน Wal-Mart 10 สาขา และร้านค้าอื่นในเครืออีก 2 สาขาเนื่องจากจำหน่ายเนื้อสุกรธรรมดาแต่ปิดฉลากว่าเป็นเนื้อสุกรอินทรีย์ จำนวน 63,547 กิโลกรัมเมื่อปี 2552 และจากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวทำให้ร้าน Wal-Mart มีรายได้ 730,000 หยวน (114, 501 ดอลลาร์สหรัฐ)

ทั้งนี้ เทศบาลเมืองฉงชิ่งได้ปรับเงินร้านดังกล่าวเป็นจำนวน 2.69 ล้านหยวน และนาย Haung Bo
ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ปี 2549 รัฐบาลท้องถิ่นลงโทษร้านWal-Mart เป็นจำนวน 21 ครั! ้ง เนื่องจากโฆษณาเกินจริง จำหน่ายอาหารที่หมดอายุและไม่ได้มาตรฐาน



ที่มา : The Pig Site (12/10/54

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เนเธอร์แลนด์ปลูกถั่วเหลืองอย่างยั่งยืน

องค์กร Dutch feed cooperative Agrifirm มีโครงการวิจัยเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองทางเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปจำนวน 2 โครงการ โดยเป็นการดำเนินการศึกษาแหล่งโปรตีนทางเลือกสำหรับอาหารสัตว์ที่มีการคัดเลือกถั่วเหลืองไม่กี่สายพันธุ์จากโปแลนด์ที่น่าจะมีการเจริญเติบโตได้ดีในเนเธอร์แลนด์เข้ามาทดลองปลูก

นับว่า Agrifirm มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของชาวดัตช์ เพื่อเป็นการผลิตถั่วเหลืองอย่างยั่งยืนของประเทศ นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ที่เรียกว่าโครงการ Triple- E ซึ่งมีการเริ่มต้นวิจัยแหล่งโปรตีนทางเลือกอื่นๆ สำหรับผลิต! อาหารสัตว์ ซึ่งถั่ว Faba ได้รับการทดสอบและการศึกษาสำหรับใช้ในอาหารอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นข้อจำกัดสำคัญในการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองทางเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป ความพยายามในการพัฒนาปรับปรุงผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศเนเธอแลนด์ ดำเนินการภายใต้นักปรับปรุงชาวดัตช์ ซึ่งพบว่ามีไม่กี่สายพันธุ์ที่ได้รับเลือกมาทดลองปลูกแล้วได้ผลดีในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งในการวิจัย Agrifirm มุ่งเน้นไปที่พันธุ์ถั่วเหลืองที่ให้ผลผลิตสูง Agrifirm มีความมุ่งมั่นทำการศึกษาวิจัยที่นี่เป็นครั้งแรกด้วยพื้นที่ขนาด 50 ไร่



ที่มา : Agri-business Weekly (6-10-54)

ค้าเฮ! ส่งออก-ขนย้าย ‘หมู’ ได้แล้ว

กระทรวงพาณิชย์ยกเลิก ประกาศมาตรการห้ามขนย้ายสุกรข้ามจังหวัดและมาตรการห้ามส่งออกสุกร
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามเห็นชอบยกเลิกประกาศมาตรการห้ามขนย้ายสุกรมีชีวิตและซากสุกรตั้งแต่ 10 ตัวขึ้นไปข้ามจังหวัด และห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตและซากสุกร เนื่องจากสถานการณ์ราคาและปริมาณสุกรออกสู่ตลาดปกติแล้ว และเห็นว่าไม่เป็นการกระทบต่อการบริโภคสุกรในพื้นที่น้ำท่วม และไม่กระทบต่อการส่งออก
นายยรรยง พวงราช เผยอีกว่า หากสถานการณ์ป! ริมาณสุกรเกิดการขาดแคลนและราคามีแนวโน้มสูงขึ้นอีก ก็จะพิจารณากำหนดมาตรการกำกับดูแลตามความเหมาะสมต่อไป



ที่มา : Voice TV (6-10-54)

หวั่นราคาอาหารพุ่ง พื้นที่เพาะปลูกเอเชียจมน้ำ

อู่ข้าวอู่น้ำส่วนใหญ่ของเอเชีย กำลังเผชิญภาวะน้ำท่วม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าสภาพการณ์เช่นนี้อาจทำให้ราคาอาหาร สูงขึ้นไปอีกและเป็นการเพิ่มภาระแก่เกษตรกรที่มีฐานะติดอันดับยากจนที่สุดในภูมิภาคเอเชียอยู่แล้ว
ข้าวในนาประมาณ 9.3 ล้านไรในไทย เวียดนาม กัมพูชา และลาวได้รับความเสียหาย หรือเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม ท่ามกลางภาวะที่ภูมิภาคเอเชียกำลังเผชิญอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหลายปี
ไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นหนึ่งในชาติที่เจออุทกภัยร้ายแรง จนมีผู้เสียชีวิต 237 ราย และนาข้าวประมาณ 6.25 ล้านไร่ หรือ 10% ข! องพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดได้รับความเสียหาย
ส่วนเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับสอง ก็ได้ผลกระทบจากน้ำท่วม โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนครึ่งหนึ่งในการผลิตข้าวของเวียดนาม ในบริเวณนี้มีจังหวัดดองธับและอันเกียงเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ยูเอ็นเปิดเผยว่าจากเหตุการณ์น้ำท่วมในเวียดนาม มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บ้านเรือนกว่า 20,000 หลังถูกน้ำท่วม และนาข้าวกว่า 6 แสนไร่เสี่ยงน้ำท่วม
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในกัมพูชา เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรเผยว่านาข้าวกว่า 2 ล้านไร่มีน้ำท่วมขัง และนาข้าวเสียหายกว่า 6 แสนไร่เสียหายยับเยิน
ขณะที่ลาวก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจากพายุโซนร้อนซึ่งพัดเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย นาได้รับค! วามเสียหาย 3 แสนไร่ และเมื่อเดือนปลายเดือนกันยายน พืชผลได้รับค! วามเสียห ายเป็นจำนวนมาก หลังจากเขื่อนแห่งหนึ่งที่กั้นแม่น้ำสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ระบายน้ำออกมากเพราะปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาทำให้น้ำล้นเขื่อน
ขณะที่ปากีสถาน กำลังได้รับผลกระทบจากน้ำปริมาณมากที่ท่วมนาข้าวแล้วพื้นที่การเกษตรอื่นๆ ในย่านที่ทำการเพาะปลูก คาดว่าสภาพการณ์นี้สร้างความเสียหายแก่ประเทศมูลค่าเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มาร์กาเรตา วาห์สทรอม หัวหน้าฝ่ายลดภัยพิบัติ ประจำสหประชาชาติ (UN) ระบุในแถลงการณ์ว่า ทั้งภูมิภาคจะได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่สูงขึ้น เพราะเก็บเกี่ยวพืชผลไม่ได้ ความเสียหายปีนี้ถือว่าร้านแรงมาก และจะต้องอาศัยระยะเวลาอีกพักหนึ่งก่อนผู้คนจะกลับมาดำเนินชีวิตตามเดิม ขณะที่โวน ทัง ซวน ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าวของเวียดนาม กล่าวว่าสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำท่วมหนักปีนี้ คือปริมาณฝนที่ตกลงมาหนักผิดปกติในไทยและลาว ก่อนที่จะไหลสู่แม่น้ำโขง

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ(7-10-54)

เวียดนามจะพัฒนาระบบความมั่นคงอาหารใหม่

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามอนุมัติโครงการพัฒนาระบบข้อมูลความมั่นคงด้านอาหารระบบใหม่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับจัดตั้งนโยบายด้านความมั่นคงด้านอาหารเวียดนาม
โครงการดังกล่าวจะเริ่มในปี 2555 ซึ่งต้องใช้งบประมาณราว 1.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยโครงการดังกล่าวจะให้ ข้อมูลด้านอุปสงค์ อุปทาน และ นโยบายด้านอาหาร
หนังสือพิมพ์ Vietnam News Agency รายงานว่า โครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้
• ระบบแรกจะรวบรวมข้อ! มูลเกี่ยวกับ สภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ โรคพืช โรคสัตว์ และการผลิตอาหาร
• ระบบที่สองจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุปสงค์ด้านอาหารทั่วโลก โดยเฉพาะอาหารที่เวียดนามส่งออกเป็นปริมาณมาก
• ระบบที่สามจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับราคาขายส่งและขายปลีกอาหารที่จำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายความมั่นคงด้านอาหารในต่างประเทศอีกด้วย

ที่มา : Bernama(7-10-54)

ไต้หวันนำเข้าเนื้อวัวเพิ่มขึ้น 4 %

หน่วยงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์เนื้อออสเตรเลีย (MLA) รายงานว่า ในช่วงปี 2553 – 2554 ไต้หวันนำเข้าเนื้อวัวประมาณ 85,033 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 4 %จากช่วงปี 2552-2553
อุปสงค์เนื้อวัวในไต้หวันเพิ่มขึ้นเนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไต้หวันเป็นบวก เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาวะว่างงานที่ลดลง ความมั่นใจของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นและความแข็งแกร่งของภาคการค้าปลีกและการบริการด้านอาหาร
ไต้หวันนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯเพิ่มขึ้นแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขไต้หวันจะห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากส! หรัฐฯในเดือนมกราคม 2554 โดยการนำเข้าเนื้อวัวเพิ่มขึ้น 31 % เป็น 29,653 ตัน การนำเข้าเนื้อวัวแช่เย็นเพิ่มขึ้น 60 % ส่วนการนำเข้าเนื้อวัวแช่แข็งเพิ่มขึ้น 24 %
ในช่วงปี 2553 – 2554 ไต้หวันนำเข้าเนื้อวัวจากออสเตรเลีย 31,566 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 1 % จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการนำเข้าเนื้อวัวแช่เย็นจากออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในปีนี้ เนื่องจากเป็นการสั่งเข้ามาทดแทนเนื้อวัวจากสหรัฐฯ ซึ่งขาดตลาด โดยออสเตรเลียมีส่วนแบ่งเนื้อวัวในตลาด 37 % ในปี 2553 – 2554
ส่วนการนำเข้าเนื้อวัวจากนิวซีแลนด์ลดลง 18 % เหลือ 17,380 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว


ที่มา : The Beef Site(7-10-54)

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สหราชอาณาจักรออกกฎบันทึกการเคลื่อนย้ายหมูแบบออนไลน์

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายให้บันทึกการเคลื่อนย้ายสุกรด้วยระบบออนไลน์ โดย Dorothea Schiemann จาก British Pig Executive (BPEX) กล่าวว่าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 จะมีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านเป็นเวลา 6 เดือนสำหรับการเลิกใช้ฟอร์มกระดาษ AML2 และระหว่างเดือนตุลาคม 2554 จนถึงเดือนเมษายน 2555 ทั้งฟอร์มกระดาษ AML2 และฟอร์ม eAML2 ซึ่งเป็นระบบการบันทึกการเคลื่อนย้ายออนไลน์จะสามารถใช้งานได้ เพื่อเป็นการให้โอกาสแต่ผู้ผลิตในการปรับตัวต่อวิธีการใหม่

&nb! sp; ตั้งแต่เดือนเมษายน 2555 ฟอร์ม AML2 จะไม่สามารถใช้งานในการรายงานการเคลื่อนย้ายสุกรได้อีกต่อไป การเคลื่อนย้ายจะต้องใช้บริการฟอร์ม eAMLs ออนไลน์ หรือ eMAL2 จากบริการสำนักงาน และจะมีบริการจากบุคคลที่สามเช่น กลุ่มการตลาดหรือ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรสหราชอาณาจักร ขณะนี้สามารถบันทึกการเคลื่อนย้ายสุกรทุกรูปแบบโดยใช้ eAML2 ยกเว้นการเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปและกลับจากการแสดง ซึ่งจะเริ่มบันทึกได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555

ทั้งนี้ การเปลี่ยนการบันทึกการเคลื่อนย้ายสุกรมาเป็นระบบออนไลน์ดังกล่าวจะส่งผลให้อุตสาหกรรมมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย ส่งผลให้มีการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อได้ดียิ่งขึ้น และเป็นการประหยัดเวลาอีกด้วย

ที่มา : The Pig Site(5/10/54)

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

จีนออกข้อกำหนดอาหารสัตว์เลี้ยงนำเข้า

สำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) ออกข้อกำหนดกักกันโรคและสุขลักษณะของอาหารสัตว์นำเข้า (The Quarantine and Hygiene Requirements of the People’s Republic of China for Imports of Pet Food) มีผลให้ผู้ส่งออกอาหารสัตว์ไปยังจีน (ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยงกระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยงที่แปรรูปด้วยวิธีอื่น ของขบเคี้ยวสุนัข อาหารสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป เครื่องในที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

&n! bsp; ทั้งนี้ ผู้ส่งออกที่ต้องการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงไปจีนทุกรายจะต้องได้รับการประเมินและขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งต้องดำเนินการเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนภายใน 31 ธันวาคม 2554 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จีนจะระงับอาหารสัตว์เลี้ยงนำเข้าที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้รับการประเมินและขึ้นทะเบียนจากฝ่ายจีน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มกอช.และกรมปศุสัตว์




ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง ( 26 กันยายน 2554

มะกันเรียกคืนเนื้อหมูบด

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554 สำนักงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารสหรัฐฯ (FSIS) เปิดเผยว่า บริษัท K. Heeps รัฐเพนซิลเวเนีย เรียกคืนผลิตภัณฑ์เนื้อหมูบดละเอียด (pureed) จำนวน 5,550 ปอนด์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจปนเปื้อนชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็ก

บริษัทเรียกคืนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหลังจากผู้บริโภค 2 รายแจ้งว่าพบชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็กปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ คาดการณ์ว่าชิ้นส่วนโลหะอาจหลุดออกมาจากเครื่องปั่นระหว่างการทำความสะอาดและการประกอบที่โรงงาน

ผลิตภัณฑ์ที่ถูกเรียกคืนคือ ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Imperial Sysco : Puree Shaped Meats Country Style Pork and Binder Product บรรจุในกล่องขนาด 4.5 ปอนด์ ผลิตเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 และส่งไปยังรัฐ แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา อิลลินอยส์ เคนทักกี แมริแลนด์ มิสซูรี นิวยอร์ก โอไฮโอ เพนซิลเวเนีย เทกซัส ยูทาห์ เวอร์จิเนีย สำหรับใช้ในสถาบันต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานการเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว



ที่มา : Food Safety News (27 กันยายน 2554

จีนระบุเนื้อหมูปลอดภัยไร้สารเร่งเนื้อแดงเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรจีนระบุว่า เนื้อสัตว์ที่ปลอดสารเร่งเนื้อแดง Clenbuterol มีเพิ่มมากขึ้น หลังจากจีนปราบปรามการผลิตและการใช้สารดังกล่าวเป็นเวลากว่าสี่เดือน และจับกุมผู้เกี่ยวข้องได้กว่า 980ราย โดยสาร Clenbuterol เป็นสารปรุงแต่งอาหารต้องห้ามที่ใช้เผาผลาญไขมันซึ่งบางครั้งมีการใส่ในอาหารสุกรและเป็นสารพิษ

กระทรวงเกษตรจีนอ้างว่า 99.3% ของผลิตภัณฑ์จากสัตว์ผ่านการทดสอบของกระทรวงฯเพื่อตรวจสาร clenbuterol ในรอบที่สอง และผลปรากฎว่ามีระดับดีที่สุดเหนือกว่าปี 2544



ที่มา : All About Feed ( 29 กันยายน 2554 )

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

กำจัดหมู่สัตว์ปีกเบงกอลหลังไข้หวัดนกระบาด

หนังสือพิมพ์เดอะ ไทมส์ ออฟ อินเดีย รายงานว่า การระบาดของไข้หวัดนกในพื้นที่ของรัฐเบงกอลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอนุทวีปอินเดีย (ประกอบด้วยอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ) ส่งผลให้เกิดการกำจัดสัตว์ปีกใน 13 หมู่บ้าน

A K Agarwar รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเปิดเผยว่ามีการกำจัดแม่ไก่และเป็ดประมาณ 51,000 ตัวในรัศมี 3 กิโลเมตรจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก นอกจากนี้ยังคงจะดำเนินการตรวจติดตามไข้หวัดนกในรัศมี 10 กิโลเมตรอีกด้วย

ศูนย์พัฒนาทร! ัพยากรสัตว์ในรัฐเบงกอลได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 เกิดการตายหมู่ของสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ 849 ตัวในวันเดียว และมีการส่งตัวอย่างไปทดสอบหาเชื้อไข้หวัดนกในห้องปฏิบัติการ Belgachhia และห้องปฏิบัติการ HSADL ในเมือง Bhopal ต่างก็ได้รับการยืนยันจากทั้งสองแห่งว่าพบเชื้อไข้หวัดน



ที่มา : World Poultry

เชื้อ anthrax ระบาดในอิตาลี

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์อิตาลีรายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของเชื้อ anthrax ในอิตาลี รายงานระบุว่า มีการระบาดของเชื้อดังกล่าว 10 ครั้ง

ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่เขต Basilicata ทางตอนใต้ของอิตาลี การระบาดเริ่มตั้งแต่วันที่ 6- 18 กันยายน 2554 สัตว์ที่ติดเชื้อดังกล่าวได้แก่ วัว แกะ แพะ และม้า โดยวัวจำนวน 12 ตัวจาก 213 ตัวที่ติดเชื้อล้มตาย
ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุของการแพร่ระบาด



ที่มา : The Dairy Site

อินโดปฏิเสธไข่มาเลย์

กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียเพิ่งปฏิเสธคำขอของหอการค้าจังหวัดหมู่เกาะRiauที่จะขอนำเข้าไข่จากมาเลเซียเนื่องจากตามกฎระเบียบที่18/2009ปศุสัตว์และสาธารณสุขสัตว์ของอินโดนีเซีย รัฐบาลจะนำเข้าสินค้าอาหารที่ได้จากสัตว์ก็ต่อเมื่อผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคเท่านั้น แต่ผลผลิตไข่ในจังหวัดดังกล่าวและที่มีเพิ่มเติมจากเกาะสุมาตรานั้นอาจเพียงพอต่อการบริโภค ทั้งนี้ความต้องการบริโภคไข่ของหมู่เกาะ Riau อยู่ที่ประมาณ42.5ตันต่อวัน ขณะที่กำลังผลิตในพื้นที่อยู่วันละ7.5ตัน โดยส่วนที่ต่างกันอยู่จะสามารถหาไข่เสริมจากเกาะสุมาตราได้

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จากหอการค้าจังหวัดหมู่เกาะ Riau ระบุว่าเหตุที่หอการค้าฯขออนุญาตนำเข้าไข่จากมาเลเซียก็เนื่องจากต้องการไม่ให้ไข่ขึ้นราคาในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ เพราะไข่ที่นำเข้าจากมาเลเซียราคาถูกกว่า(ฟองละ 680รูเปียห์)ไข่ที่มาจากเกาะสุมาตรา(ฟองละ 825รูเปียห์)นอกจากนี้ถ้าสั่งซื้อไข่จากเกาะสุมาตราเหนือต้องใช้เวลาขนส่งถึง 2วัน ขณะที่ใช้เวลาขนส่งไข่จากมาเลเซียเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ไข่สดใหม่กว่า ถือเป็นประการหนึ่งที่ทางหอการค้าฯใช้ในการพิจารณาเพื่อขอนำเข้าไข่จากมาเลเซีย

จนถึงปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ เพิ่งจะอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปเช่น ผงไข่ ผงไข่ขาว และถาดใส่ไข่ซึ่งยังไม่มีการผลิตในอินโดนีเซีย






ที่มา : World Poultry

สิงคโปร์ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวจากไอร์แลนด์อีกครั้ง

นาย Simon Coveney รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรอาหารและทะเลไอร์แลนด์รายงานว่าสิงคโปร์อนุญาตการนำเข้าเนื้อวัวจากไอร์แลนด์ที่ผลิตจากวัวอายุต่ำกว่า30เดือน หลังจากที่ได้ระงับการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน

นาย Simon Coveney ระบุว่าสิงคโปร์อนุญาตการนำเข้าเนื้อวัวจากไอร์แลนด์หลังจากทีมสัตวแพทย์สิงคโปร์เข้าไปตรวจสอบระบบการควบคุมคุณภาพเนื้อวัวที่ไอร์แลนด์ในเดือนกรกฎาคม 2554 ประกอบกับ
การที่ไอร์แลนด์ติดต่อกับสิงคโปร์เป็นระยะเวลานาน

นอกจากนี้ นาย Simon Coveney กล่าวว่าแม้ว่าขณะนี้การส่งออกเนื้อวัวได้รับอนุญาตเฉพาะเนื้อวัวที่มาจากวัวอายุต่ำกว่า 30 เดือน และเป็นเนื้อวัวที่มาจากโรงงานที่ได้รับอนุญาต แต่คาดการณ์ว่าในอนาคต มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเจราจาเพื่อเพิ่มอายุวัวและเพิ่มจำนวนโรงงานผลิตที่ได้รับอนุญาต





ที่มา : The Meat Site

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ออสซี่เสนอเปลี่ยนมาตรฐานกำหนดค่า MRLs

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2554 ออสเตรเลียแจ้งเวียนต่อสมาชิกองค์การการค้าโลกเสนอแก้ไขข้อกำหนดมาตรฐาน Australia New Zealand Food Standards Code เพื่อกำหนดค่า MRLs สำหรับสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรและสุขภาพสัตว์เพื่อให้สอดคล้องกับกฏระเบียบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและใช้สารเคมีทางการเกษตร เปิดรับข้อคิดเห็นถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2554


ที่มา : มกอช. ( 20 กันยายน 2554

จีนออกมาตรฐานสินค้าไข่

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 จีนแจ้งเวียนต่อสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เรื่องมาตรฐานอาหารปลอดภัยแห่งชาติเกี่ยวกับไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่โดยกำหนดในผลิตภัณฑ์ไข่สัตว์ปีกทุกชนิด รวมทั้ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีวิธีการเก็บรักษา เช่น การแช่เย็น การแช่ การเคลือบ การฆ่าเชื้อโรค การควบคุมอากาศ และการเก็บรักษาแบบแห้ง เพื่อสร้างความมั่นใจว่ารักษาคุณภาพไข่ให้สด และใช้กับผลิตภัณฑ์ไข่ที่เป็นน้ำ ผลิตภัณฑ์ไข่แห้ง ผลิตภัณฑ์ไข่ที่เป็นน้ำแข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ที่ใช้ไข่ไก่สดเป็นวัตถุดิบหลักหรือปราศจากสารเสริม เปิดรับข้อคิดเห็นถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2554


ที่มา : มกอช. ( 20 กันยายน 2554 )

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

นักวิจัยเมืองผู้ดีชี้กินเนื้อสัตว์ไม่สุกเสี่ยงติดเชื้อ Campylobacter

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Leicester และมหาวิทยาลัย Nottingham ในอังกฤษกำลังวิจัยเชื้อ Campylobacter jejuni ที่เกิดในสัตว์ปีก ซึ่งเป็นงานวิจัย 1 ใน 12 โครงการสหสาขาวิชา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่เชื้อ Campylobacter สามารถอยู่รอดได้ในห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ในแหล่งเลี้ยงสัตว์ปีกไปจนถึงการจำหน่ายในร้านอาหาร และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวต่อไป

งานวิจัยข้างต้น ระบุว่าเนื้อสัตว์ปีกที่ปรุงไม่สุกหรือผ่านกรรมวิธีที่ไม่ถูกสุขลักษณะมีโอกาสสูงที่จะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter jejuni ซึ่งสัตว์ปีกส่วนใหญ่จะทนต่อแบคทีเรียชนิดนี้และไม่แสดงอาการเจ็บป่วย โดยแบคทีเรียดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในล้ำไส้ แต่หากมนุษย์บริโภคเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อนก็จะล้มป่วยแม้จะปนเปื้อนในปริมาณน้อยก็ตาม

ทั้งนี้ เชื้อแบคทีเรีย Campylobacter jejuni นับว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มนุษย์ล้มป่วยจากการบริโภคเนื้อสัตว์ปีก




ที่มา : World Poultry ( 16 กันยายน 2554

โรคบลูทังก์อาจระบาดเพิ่มเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Liverpool สหราชอาณาจักร คาดการณ์ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นในยุโรปเหนืออาจทำให้โรคบลูทังก์แพร่ระบาดเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2542 ถึง 2553 มีการระบาดของโรคบลูทังก์ในยุโรป กว่า 80,000 ครั้ง และมีสัตว์ล้มตายนับล้านเนื่องจากการระบาดดังกล่าว โดยเชื่อว่าการระบาดในยุโรปมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น เพราะทำให้แมลงซึ่งเป็นพาหะของไวรัสสามารถแพร่เชื้อสู่ภูมิภาคได้สะดวกยิ่งขึ้น

ทีมนักวิจัยได้สร้างโมเดลคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคบลู! ทังก์ในยุโรปภายใต้สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน โดยตรวจสอบผลกระทบของภูมิอากาศในอดีตในช่วง 50 ปีก่อนเพื่อทำความเข้าใจปัจจัยเฉพาะที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งและทั่วเขตภูมิศาสตร์ และเพิ่มช่วงระยะเวลาขึ้นเรื่อยๆจนถึงปี 2593 โดยสร้างโมเดลการทำนาย ซึ่งคาดการณ์ว่าในยุโรปเหนือจะมีการแพร่ระบาดของโรคบลูทังก์เพิ่มขึ้น 17 % ส่วนยุโรปใต้จะมีการระบาด 7 % เนื่องจากในอนาคต ยุโรปเหนือจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก

แม้ว่า การศึกษาพบว่าภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนแปลงการกระจายของโรค และจากความรู้ที่ว่าภูมิอากาศมีผลต่อการเกิดโรคบางชนิด แต่ยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวิจัยดังกล่าว




ที่มา : The Cattle Site ( 16 กันยายน 2554 )

ยูเออีไฟเขียวนำเข้าไก่สดจากไทยแล้ว

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 กระทรวงสิ่งแวดล้อมและน้ำของรัฐบาลยูเออีได้ออกคำสั่งเลขที่ 200/2011 ว่าด้วยการนำเข้าสัตว์จากราชอาณาจักรไทยตามกฎกระทรวงเลขที่ 354/2011 ว่าด้วยเงื่อนไขการนำเข้าสัตว์ปีกที่มีชีวิตทุกประเภท เนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก ไข่ฟักและลูกสัตว์ปีกที่มีอายุ 1 วันจากประเทศในทวีปเอเชีย และตามคำขอจากหน่วยงานของไทย ขอให้ยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่จากราชอาณาจักรไทย

ตามมาตรา 1-3 ของคำสั่งดังกล่าว อนุญาตให้นำเข้าสัตว์ปีกจากประเทศไทยได้ โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฯ เลขที่ 354/2011 โดยให้กรมกักกันโรคสัตว์และกรมความปลอดภัยด้านอาหารของกระทรวงฯ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อถือปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ออกคำสั่งฉบับนี้ (5 กันยายน 2554)



ที่มา : กรมปศุสัตว์ ( 16 กันยายน 2554 )

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคไข้หวัดสุกรแอฟริกันคร่าชีวิตหมูอูกันดานับร้อย

โรคไข้หวัดสุกรแอฟริกา (ASF) กำลังระบาดในอูกันดา ถึงขณะนี้มีสุกรตายด้วยโรคดังกล่าวตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เป็นจำนวนกว่า 600 ตัว โดยพบการระบาดใน 14 พื้นที่ในเขต Gulu และมีเพียง 2 พื้นที่เท่านั้นที่ไม่มีการระบาด

ก่อนหน้านี้ทางการได้เตือนและให้คำแนะนำเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกรไว้ในที่ปลอดภัย และไม่ให้สุกรสัมผัสกับสัตว์ที่ตายแล้ว อย่างไรก็ตาม Dr. Tony Aliro เจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ระบุว่าเนื่องจากมีการเลี้ยงสุกรแบบเปิด จึงทำให้สุกรส่วนมากตาย

Dr. Aliro ยังพูดเสริมว่าโรค ASF อาจะระบาดต่อไปยังเขตอื่นๆในภูมิภาค จากข้อมูลของกรมสัตวแพทย์ โรค ASF ได้คร่าชีวิตสุกรสัปดาห์ละ 40 ตัวในเขต Gulu



ที่มา : Pig Progress ( 12 กันยายน 2554

ฟิลิปปินส์ตั้งเป้าส่งออกสัตว์ปีกเพิ่มจากวิกฤติไข้หวัดนกในเอเชีย

ฟิลิปปินส์เล็งเห็นโอกาสที่จะส่งออกสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นในจีนและเวียดนาม หลังมีรายงานว่าการระบาดไข้หวัดนกของทั้งสองประเทศกระทบอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศเหล่านี้

Salvador Salacup ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกล่าวในการเปิดงาน Foods & Drinks Asia 2011 ที่จัดขึ้นในฟิลิปปินส์ว่า ฟิลิปินส์สามารถเจาะตลาดทั้งสองประเทศเพื่อส่งออกไก่ได้ เพราะว่าจีนและเวียดนามไม่สามารถพึ่งพาสัตว์ปีกในประเทศได้แล้วในขณะนี้

ปัจจุบันฟิลิปินส์ผลิตสัตว์ปีกให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ 93% ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระหว่างจับตาสถานการณ์ไข้หวัดนกในจีนและเวียดนาม และประกาศว่าไม่ได้นำเข้าไก่จากจีนและเวียดนาม นอกจากนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ได้ระงับการนำเข้าสัตว์ปีกเวียดนามอีกด้วย

Salacup ยังกล่าวว่าฟิลิปปินส์ยังคงปลอดไข้หวัดนก และจะไม่ยอมให้อุตสาหกรรมสัตว์ปีกและประชาชนต้องเสี่ยงกับโรคไข้หวัดนกด้วยการนำเข้าสัตว์ปีกที่เป็นโรคเข้ามาในประเทศ ฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ประเทศพื้นบ้านยังคงสามารถนำเข้าไก่ได้



ที่มา : World Poultry (12 กันยายน 2554)

ครึ่งปีแรก สวีเดนผลิตเนื้อหมูลดลงเล็กน้อย

ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2554 สวีเดนผลิตเนื้อหมูลดลงเล็กน้อยกว่าปี 2553 0.7% คิดเป็นปริมาณผลิตรวม 125,000 ตัน โดยในช่วงนี้มีการนำสุกรเข้าโรงเชือด 1.4 ล้านตัวขณะที่ปี 2553 เข้าโรงเชือด 1.41 ล้านตัว จากสถิติของสำนักงานบริการเกษตรของสวีเดน ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554 สุกรถูกเชือดลดลง 4.2% เทียบกับตัวเลขที่สูงขึ้น 2.2% ของมกราคม-มีนาคม 2554

การที่ตัวเลขไตรมาสที่ 2 ลดลงคาดว่าเป็นเพราะผลิตภัณฑ์สุกรในสวีเดนจำหน่ายไม่ได้กำไร ก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมสุกรเรียกร้องให้มีการช่วยเหลือเพราะไม่สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมสุกรของปร! ะเทศอื่นๆในสหภาพยุโรปได้




ที่มา : Pig Progress (13 กันยายน 2554)

มะกันเรียกคืนเนื้อไก่งวงบด

บริษัท Cargill เรียกคืนผลิตภัณฑ์เนื้อไก่งวงบดไขมันต่ำ85% ปริมาณ 185,000 ปอนด์ ซึ่งผลิตที่โรงงานเมืองSpringdale รัฐ Arkansas โดยสมัครใจเนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจปนเปื้อนเชื้อ Salmonella Heidelberg

บริษัท Cargill เรียกคืนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหลังจากกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ตรวจพบเชื้อsalmonella Heidelbergในหนึ่งตัวอย่างระหว่างตรวจสอบโรงงานหลังจากที่มีการเรียกคืนสินค้าในเดือนสิงหาคม 2554 โดยพบเชื้อดังกล่าวในระดับต่ำและเป็นเชื้อเดียวกันกับที่ตรวจพบครั้งก่อนซึ่งทำให้มีผู้เจ็บป่วยจากการติดเชื้อ



บริษัท Cargill ระงับการผลิตเนื้อไก่งวงบดที่โรงงานในเมือง Springdale โดยสมัครใจจนกว่าจะมีมาตรการแก้ไขเพิ่มขึ้นประกอบกับได้รับการทบทวนและอนุมัติจาก USDA แต่ไม่มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ไก่งวงอื่นๆซึ่งผลิตที่โรงงานเมือง Springdale ทั้งนี้ Cargil lมีโรงงานแปรรูปไก่งวง4แห่งในสหรัฐ และไม่มีผลิตภัณฑ์จากโรงงานทั้ง3แห่งถูกเรียกคืนในครั้งนี้














ที่มา : World Poultry ( 14 กันยายน 2554 )

อียูไฟเขียวนำเข้าสุกรจากลิธัวเนียและนกกระจอกเทศจากแอฟริกาใต้

สหภาพยุโรปอนุญาตให้สามารถนำเข้าสุกรมีชีวิต เนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์จากสุกรจากลิธัวเนีย เนื่องจากลิธัวเนียได้ยืนยันว่าการตรวจสอบที่จำเป็นทั้งหมดก่อนส่งออกผลิตภัณฑ์สุกรไปสหภาพยุโรปนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคอหิวาต์สุกร (Classical Swine Fever) ในประเทศยุโรปตะวันออกในช่วงฤดูร้อน 2554

นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังอนุญาตให้นำเข้านกกระจอกเทศมีชีวิต ไข่ เนื้อ และผลิตภัณฑ์เนื้อนกกระจอเทศจาก8มลรัฐในแอฟริกาใต้ยกเว้นเพียงรัฐ Western Cape เพียงรัฐเดียวที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N2ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าจากทั้งประเทศแต่หลังจากแอฟริกาสามารถจำกัดการระบาดไว้เพียงรัฐเดียว สหภาพยุโรปจึงผ่อนปรนอนุญาตให้นำเข้าจาก 8 มลรัฐที่เหลือ






ที่มา : Food Production Daily ( 14 กันยายน 2554

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ไข้หวัดหมูป่วน ทำเด็กมะกันป่วย 2 ราย

                ศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) รายงานว่าเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เด็กชายจากรัฐอินเดียน่า และเด็กหญิงจากรัฐเพนซิลวาเนียซึ่งทั้งคู่อายุน้อยกว่า 5 ปี ติดโรคไข้หวัดใหญ่จากสุกร (H3N2) ในเดือนกรกฎาคม และ สิงหาคม 2554 โดยแสดงอาการในกลุ่มอาการไข้ (fabrille illness)

                ตามรายงาน เด็กหญิงจากรัฐเพนซิลวาเนียไปร่วมงานนิทรรศการเกษตร ซึ่งเธอได้สัมผัสโดยตรงกับสุกรและสัตว์อื่นๆขณะที่พี่เลี้ยงเด็กของเด็กชายจากรัฐอินเดียน่าตามรายงานระบุว่าเขาสัมผัสโดยตรงกับสุกรที่ไม่แสดงอาการของโรค กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไวรัสดังกล่าวอาจแพร่จากจากคนสู่คนได้
               จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการระบาดที่เกิดจากผู้ป่วยทั้งสองราย และยังไม่พบคนติดไข้หวัดสุกรสายพันธุ์นี้เพิ่มเติม โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza A) เป็นโรคระบาดที่พบในสัตว์หลายชนิดได้แก่ คน สุกร นกป่า มักจะแพร่ระบาดระหว่างมนุษย์และสัตว์เป็นช่วงๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ H5N1 และ H7N1ที่แพร่จากสัตว์ปีกสู่มนุษย์ และไข้หวัดใหญ่ H1N1, H1N2 และ H3N2 ที่แพร่จากสุกรเป็นต้น


 
 
ที่มา : Pig Progress ( 9 กันยายน 2554 )

มะกันเรียกคืนผลิตภัณฑ์นม

 
                บริษัท Ludwig Dairy Products, Inc. ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐฯ เรียกคืนนม ชีสและผลิตภัณฑ์นม หลังจากกระทรวงสาธารณสุขของรัฐพบว่า อุปกรณ์พาสเจอร์ไรส์ทำงานผิดพลาดทำให้น้ำนมดิบมีโอกาสปนเปื้อนน้ำนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบระบุว่าปั๊มที่มีระบบควบคุมซึ่งออกแบบมาเพื่อหยุดกระบวนการผลิตถ้าความดันน้ำนมดิบเกินกว่าความดันน้ำนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ ไม่ทำงานและมีการเปลี่ยนปั๊มดังกล่าวด้วยปั๊มที่ไม่ได้ต่อเข้ากับระบบควบคุม ดังนั้นบริษัทจึงเรียกคืนผลิตภัณฑ์ของซึ่งมีวางจำหน่ายในรัฐอิลลินอยส์ อินเดียนนา นิวเจอร์ซีและนิวยอร์ก

               &! nbsp;อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ของบริษัท และกระทรวงสาธารณสุขของรัฐได้เตือนประชาชนไม่ให้บริโภคผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวจนกว่าอุปกรณ์การพาสเจอร์ไรส์จะทำงานได้ตามปกติ
 
 
 
ที่มา : Food Safety News ( 9 กันยายน 2554 )

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ฟิลิปินส์ยึดเนื้อหมูกลิ่นเหม็น 400 โล

เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขสัตว์ในกรุงมะนิลายึดเนื้อหมูกลิ่นไม่ดี400กิโลกรัมในรถสามล้อที่อยู่ระหว่างนำส่งให้ตลาด Divisoriaในเขต Divisoriaคาดว่าอาจเป็นเพราะความละเลยของเจ้าหน้าที่และเกรงว่าอาจมีการจำหน่ายให้ผู้บริโภคแล้ว

ตามรายงานเนื้อหมูดังกล่าวจะนำมาผสมกับเนื้อสดเพื่อนำออกไปจำหน่ายและยังไม่มีรายละเอียดว่าใครเกี่ยวของกับเหตุการณ์ในครั้งนี้

Dr. Hector! Dimaculanganเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานสาธารณสุขสัตว์ของกรุงมะนิลาเปิดเผยว่ากรณีนำเนื้อกลิ่นไม่ดีมาจำหน่ายอาจมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส





ที่มา : Pig Progress ( 7 กันยายน 2554 )

จีนไฟเขียวปลาป่นจากปากีส

เจ้าหน้าที่จากกระทรวงประมงทางทะเลปากีสถานรายงานว่าจีนอนุญาตให้นำเข้าปลาป่นจากปากีสถานหลังจากสำนักควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน(AQSIQ)เริ่มส่งทีมงานตรวจสอบตั้งแต่ปี 2554 เข้ามาตรวจสอบคุณภาพโรงงานในปากีสถานและในหลายๆประเทศที่ส่งออกปลาป่นไปยังจีน

นอกจากนี้โรงงานปลาป่น5แห่งในปากีสถานยังได้รับอนุญาตจากหน่วยงานดังกล่าว โดยปากีสถานมีกำลังการผลิตปลาป่น52,000ตันต่อปี นอกจากจีนแล้วปากีสถานยังส่งออกปลาป่นไปศรีลังกา อียิปต์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย รัสเสีย และเวียดนาม

ปากีสถานส่งออกปลาป่น42,500ตันในเดือนกันยายนปี2551ขณะที่การส่งออกลดลงเหลือ35,200 ตันในเดือนพฤศจิกายน2552 เหลือ35,200 ตัน เนื่องจากการจับปลาและการผลิตที่ลดลง

อย่างไรก็ตามปากีสถานยังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปเนื่องจากสหภาพยุโรปถอดรายชื่อผู้ส่งออกอาหารทะเลปากีสถานในเดือนเมษายน 2550โดยมีผู้ส่งออกจำนวน11รายจาก 28รายเท่านั้นที่ได้รับอนุญาต แต่ในปัจจุบันสหภาพยุโรประงับการนำเข้าปลาป่นจากปากีสถานทั้งหมด โดยสหภาพยุโรปให้เหตุผลว่า ปากีสถานขาดระบบการตรวจสอบย้อนกลับและขาดระบบลูกโซ่ความเย็นที่ดี ซึ่งระบบลูกโซ่ความเย็นต้องสามารถรักษาอุณหภูมิที่6°C สำหรับปลาสดและ-12°C สำหรับปลาแช่แข็ง





ที่มา : All About Feed ( 7 กันยายน 2554

พบไวรัสพารามิกโซในนกพิราบออสเตรเลีย

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 กระทรวงเกษตรออสเตรเลีย รายงานว่า นกพิราบในรัฐวิคตอเรียจำนวนมากล้มตายเนื่องจากติดเชื้อไวรัสตระกูลพารามิกโซเป็นครั้งแรกในออสเตรเลียซึ่งไวรัสดังกล่าวสามารถแพร่เชื้อมาสู่มนุษย์ได้

ดร. Mark Schipp หัวหน้าเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ระบุว่านกที่เลี้ยงไว้เป็นงานอดิเรกล้มตายจากไวรัสดังกล่าวและไวรัสอาจแพร่ระบาดในฝูงไก่ในรัฐวิกตอเรีย โดยนกที่ติดเชื้อล้มตายทันทีมีอาการเหนื่อยหรือแสดงอาการทางประสาทเช่น เดินเป็นวง หัวฟาด นอกจากนี้ ไวรัสดังกล่าวยังสามารถทำให้เกิดโรคตาแดงหรืออาการคล้ายเป็นไข้หวัดในมนุษย์ อย่างไรก็ตามโอกาสที่มนุษย์จะติดเชื้อดังกล่าวน้อยมากและมักเกิดขึ้นกับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดโดยตรงกับนกที่ติดเชื้อ

ในขณะนี้ ยังไม่มีรายงานว่ามีนกป่าล้มตายจากไวรัสดังกล่าว




ที่มา : Xinhua ( 7 กันยายน 2554

วุฒิสภาออสซี่เรียกร้องติดฉลากเนื้อสัตว์

Corey Bernadi วุฒิสภาจากรัฐ South Australia เรียกร้องให้มีการติดฉลากเนื้อสัตว์บอกวิธีการเชือด เช่นการใช้ปืนสลบก่อนเชือด รวมถึงบอกการเชือดตามหลักศาสนาเช่นเนื้อฮาลาลหรือเนื้อโคเชอร์ การเคลื่อนไหวดังเกิดขึ้นหลังมีการเปิดเผยภาพเคลื่อนไหวที่วัวออสเตรเลียถูกทารุณในโรงเชือดอินโดนีเซียหลายแห่ง อีกทั้งประชาชนบางคนมีความรู้สึกด้านจริยธรรมที่ไม่ต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกเชือดตามหลักศาสนา เช่นเนื้อฮาลาลและเนื้อโคเชอร์(ซึ่งไม่มีการทำให้สลบก่อนเชือด) แต่เนื่องจากไม่ติดฉลากบอกวิธีการเชือดที่ชัดเจน จึงทำให้ผู้บริโภคไม่ทราบวิธีการเชือดเนื้อสัตว์ ทำให้ผู้บริโภคอาจบริโภคเนื้อสัตว์ที่เชือดตามหลักศาสนาโดยไม่รู้ตัว




ที่มา : Halal Focus ( 8 กันยายน 2554 )

เกษตรกรเลี้ยงหมูนิวซีแลนด์ประท้วงกระทรวงเกษตร

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจากทั่วเกาะ North Island และสมาชิกรัฐสภารวมตัวกันหน้ารัฐสภาเพื่อประท้วงข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ (MAF) ในการลดมาตรฐานเนื้อสุกรสดนำเข้า โดย MAFต้องการลดมาตรฐานนำเข้าเพื่อให้เนื้อสุกรสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการที่ทำให้ปลอดโรคกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจ (PRRS)

นาย Ted Gane ประธานผู้ผลิตสุกรเขต Taranaki และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรกล่าวว่า MAF ต้องการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเนื่องจากความกดดันทางการค้าจากต่างประเทศ แต่ถ้า MAF นำมาตรฐานดังกล่าวมาใช้ ! เชื้อPRRS จะแพร่ระบาดทั่วนิวซีแลนด์และอุตสาหกรรมสุกรในประเทศอาจล้ม และไม่สามารถฟื้นตัวได้ และมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบันนี้เป็นมาตรฐานที่ดีทำให้โรค PRRS ไม่แพร่เข้าสู่นิวซีแลนด์ดังนั้น จึงต้องการให้ใช้มาตรฐานเดิม นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานจะเป็นการเพิ่มความกดดันให้แก่เกษตรกรที่ก่อนหน้านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับกฎหมายสวัสดิภาพสุกรใหม่ไปแล้ว




ที่มา : The Pig Site ( 8 กันยายน 2554 )

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

จีนเตรียมรับมือไข้หวัดนกช่วงเปลี่ยนฤดู

นาย Yu kangzhen เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์สูงสุดของจีนกล่าวว่า จีนกำลังเผชิญความท้าทายที่สำคัญในการควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว อย่างไรก็ตามโอกาสที่จะเกิดการระบาดไข้หวัดนกในวงกว้างยังคงน้อยอยู่

Yu เปิดเผยหลังสหประชาชาติเตือนว่าไข้หวัดนกอาจกลับมาระบาดอีกครั้งเนื่องจากไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ที่กลายพันธุ์และดื้อวัคซีนกำลังแพร่ระบาดในจีนและเวียดนาม
เชื้อไข้หวัดนกพบในสัตว์ปีกในฟาร์มและในธรรมชาติในพื้นที่ต่างๆ เป็นระยะๆ และไวรัสที่กลายพันธุ์ก็พบในสัตว์ปีกอีกด้วย

&n! bsp; เพื่อรับมือกับการระบาดครั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรได้สั่งให้ยกระดับการควบคุมไวรัสและออกแผนการสำหรับการเกิดไข้หวัดนกระบาด จากสถิติเปิดเผยว่าตั้งแต่ปี 2547 จีนเกิดการระบาดไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในจีนแผ่นดินใหญ่ 50 ครั้ง และเกิดในปี 2548 ปีเดียว 31 ครั้ง

ในปี 2554 จีนมีการทดสอบตัวอย่างสัตว์ปีกเกือบ 2.5 ล้านตัวกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดนก และกำลังจะมีการฉีดยาสัตว์ปีกป้องกันไข้หวัดนกครั้งใหญ่ทั่วประเทศเร็วๆ นี้ การดำเนินการเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการการควบคุมและป้องกันไข้หวัดนกอย่างจริงจัง



ที่มา : World Poultry ( 5 กันยายน 2554

หญ้าหวานบูมในสหรัฐฯ

รายงานจาก Packaged Facts ซึ่งบริษัทให้บริการข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดอาหารและเครื่องดื่ม ระบุว่า การใช้หญ้าหวาน (Stevia) ในสหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2554 โดยได้รับส่วนแบ่งในตลาดน้ำตาลและสารให้ความหวานเพิ่มขึ้นจาก 1.8 % ในปี 2553 เป็น 9.1 % ในปี 2554

คาดว่ามูลค่าการจำหน่ายหญ้าหวานในตลาดน้ำตาลและสารให้ความหวานจะเพิ่มขึ้นจาก 210.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2253 เป็น 1.192 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2554 ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของน้ำตาลคาดว่าจะลดลงจาก 63.8 %ในปี 2553 เหลือ 58.9 % ในปี 2554 ส่วนสารให้ความหวานจากข้าวโพด และ กากน้ำตาลคาดว่าจะมีส่วนแบ่งลดลงจาก 16.! 8% เหลือ 15.3 %

นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าจะมีการใช้หญ้าหวานมากที่สุดในภาคการค้าปลีกและหญ้าหวานจะผลักดันการเติบโตของภาคการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆหลังจากหญ้าหวานได้รับรองว่าเป็นสารที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย (GRAS) ในเดือนธันวาคม 2551 โดยมีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวาน 46 รายการ ในปี 2552 และ 76 รายการในปี 2553 วางจำหน่ายในตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานหลักเพิ่มขึ้น 918% ในเดือนเมษายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2553 และในปีหน้า หญ้าหวานอาจได้รับความนิยมในอีกด้านหนึ่งของมหาแอตแลนติก เนื่องจากคาดการณ์ว่าหญ้าหวานจะได้รับการเห็นชอบตามระเบียบข้อบังคับจากสหภาพยุโรปในเดือนพฤศจิกายน



ที่มา : Food Navigator ( 5 กันยายน 2554

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ปี 54 เนื้อหมูอียูส่งออกเพิ่มขึ้น


 
                หนังสือพิมพ์ Agrarisch Dagblad ของเนเธอร์แลนด์รายงานว่า ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2554 ยอดรวมส่งออกเนื้อหมูของ 27 ประเทศสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น18.8% เมื่อเทียบกับปี 2553 มีปริมาณส่งออก 412,000 ตัน มีส่วนแบ่งตลาด 27.8%

                ฮ่องกงและจีนนำเข้าเนื้อหมูสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น โดยฮ่องกงนำเข้าเพิ่มขึ้น 17% มีปริมาณส่งออก 245,000 ตัน ขณะจีนนำเข้าเพิ่มขึ้น 60% มีปริมาณส่งออก 136,000 ตัน
 การส่งออกเนื้อหมูไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 4% มีปริมาณส่งออก 117,000 ตัน แต่ส่งออกไปเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า มีปริมาณส่งออก 112,000 ตัน

 &nb! sp;             การส่งออกเนื้อหมูของสหภาพยุโรปของเดือนมิถุนายน 2554 เพียงเดือนเดียวมีปริมาณ 255,000 ตันเพิ่มขึ้น 15.4 เดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งส่งออกเท่ากับเดือนพฤษภาคม 2554
 
 
 
ที่มา : Pig Progress  (2 กันยายน 2554) 

แคนาดาระงับการขายยา roxarsone

                กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา ตัดสินใจระงับการจำหน่ายยา 3-Nitro-20 และ Super Nitro-12 หรือ roxarsone หลังจากผลการทดสอบพบว่า ไก่ที่ได้รับอาหารที่มีส่วนประกอบของยาดังกล่าวมีสารหนูอนินทรีย์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในปริมาณเล็กน้อย โดยการระงับการจำหน่ายยาดังกล่าวมีผลวันที่ 8 สิงหาคม 2554 และก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ระงับการจำหน่ายยา roxarsone ในช่วงฤดูร้อนของปี 2554                ได้มีการนำยา 3-Nitro-20  และ Super Nitro-12 ผสมในอาหารสัตว์เป็นเวลาหลายปีเพื่อใช้กำจัดพยาธิและทำให้สัตว์โตเร็ว แต่เดิมเชื่อว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ได้รับยาดังกล่าวจะไม่ก่ออันตรายต่อสุข! ภาพของมนุษย์ เนื่องจากยาดังกล่าวมีสารหนูอินทรีย์ซึ่งมีความเป็นพิษน้อยกว่าสารหนูอนินทรีย์ แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีหลักฐานเพิ่มขึ้นซึ่งแสดงว่า สารหนูอินทรีย์สามารถเปลี่ยนเป็นสารหนูอนินทรีย์ได้ ซึ่งได้เพิ่มความกังวลว่าสารดังกล่าวจะตกค้างในเนื้อสัตว์และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่การทดลองมีข้อจำกัดทางเทคนิคซึ่งหมายความว่านักวิจัยไม่สามารถวัดสารหนูอนินทรีย์ที่ตกค้างในกล้ามเนื้อไก่ได้ แต่สามารถวัดได้เพียงสารหนูทั้งหมดในกล้ามเนื้อ และพบว่ามีปริมาณสารหนูทั้งหมดในกล้ามเนื้อน้อยกว่าสารหนูทั้งหมดในตับไก่                การระงับการจำหน่ายยาดังกล่าวจัดเป็นมาตรการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารหนูอนินทรีย์ที่ปนเปื้อนในเนื้อไก่แม้จะมีสารดังกล่าวปนเปื้อนน้อยมาก   ที่มา : All about Feed (2 กันยายน 2554) 

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

UN เตือน ไข้หวัดนกอาจกลับมาระบาดอีกระลอก


 
                เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2554 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ (FAO) แจ้งเตือนว่าไข้หวัดนกอาจกลับมาระบาดอีกครั้ง เนื่องจากในขณะนี้มีเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิด H5N1 ซึ่งกลายพันธุ์กำลังระบาดในประเทศต่างๆในเอเชีย และมีความเป็นไปได้ที่จะแพร่เชื้อมาสู่มนุษย์

               ขณะนี้ เชื้อไวรัส H5N1 ซึ่งกลายพันธุ์กำลังแพร่ระบาดในจีนและเวียดนาม วัคซีนชนิดต่างๆ ที่ใช้กับไวรัส H5N1 ในปัจจุบันไม่สามารถใช้ป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์ได้ และ UN กังวลว่าเชื้อไข้หวัดนกที่กลายพันธุ์นี้อาจแพร่ระบาดมายังกัมพูชา ไทย มาเลเซีย คาบสมุทรเกาหลีและญี่ปุ่น

  ! ;             นาย Juan Lubroth หัวหน้าเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ของ FAO กล่าวว่า นกป่าอาจเป็นตัวนำเชื้อไวรัสเข้ามาก็จริง แต่การกระทำของมนุษย์ด้านการผลิตและการซื้อขายสัตว์ปีกนั้นทำให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาด

               อนึ่ง มีการระบาดของไข้หวัดนกมากที่สุดในปี 2549 ก่อนที่จะถูกกำจัดไปจนหมดสิ้นในหลายๆประเทศ
 
 
 
 
ที่มา : Xinhua 

เสฉวนส่งออกเนื้อหมูลดฮวบ 30% แต่ราคาขายพุ่งเป็นประวัติการณ์


 
                ศุลกากรนครเฉิงตู รายงานปริมาณการส่งออกเนื้อหมูของมณฑลเสฉวนตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง กรกฎาคม 2554 อยู่ที่ 9,000 ตัน ลดลงถึง 29.8% แต่ราคาปรับตัวเพิ่มสวนทางสร้างสถิติแพงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงตันละ 3,337 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันกับปี2553ถึง 31.9%

                เจ้าหน้าที่ศุลกากรกล่าวว่า ปริมาณการส่งเนื้อสุกรออกนอกของมณฑลเสฉวนมีปริมาณลดลงนั้น สาเหตุหนึ่งมาจากตลาดต่างประเทศต้องการเนื้อหมูลดลง อาทิ ตลาดฮ่องกงมีความต้องการเนื้อหมูนำเข้าจากมณฑลเสฉวนเหลือเพียง 4,322 ตัน เท่านั้น ซึ่งลดลงกว่า 31.2% ขณะเดียวกันการส่! งออกเนื้อหมูสู่ประเทศคีร์กิซสถานยังลดลงถึง 48.3% เพราะราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวสูง 

                เจ้าหน้าที่ฯยังกล่าวต่ออีกว่า เมื่อครึ่งแรกของปี 2553 เนื้อหมูยังมีราคาต่ำ ส่งผลให้ผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อยขาดทุนหนักและลดการผลิตลงในที่สุด นอกจากนี้ ระยะเวลาการเลี้ยงหมูต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 เดือน ยิ่งส่งผลให้หมูโตไม่ทันบริโภคอีกทั้งมีจำนวนลดลงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดภายประเทศ ส่งผลให้เนื้อหมูขาดตลาด กระทบต่อราคาที่ต้องแพงขึ้นในปี2554 โดยเห็นชัดเจนสุดตั้งแต่เดือนมิถุนายนและ กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา

               ศุลกากร นครเฉิงตู เผยกำไรจากสุกรเป็นต่อตัวที่หน้าด่านในเดือนมิถุนายน 2554 ทะลุตัวละ 600 หยวน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันจากปีก่อนตัวละ 200 หยวน เนื่องจากกระบวนการผลิตเนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป และอื่นๆ มีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่โรงฆ่าสัตว์มีจำนวนลดลง อีกทั้งผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้! ายที่ได้จากสุกรมีราคาที่สูง ล้วนส่งผลต่อราคาบริโภคสุกรที่สูงขึ! ้นในขณะน ี้

 
 
 
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู 
 

จีนจับผู้ลักลอบผลิต-ขายเนื้อใส่สาร Clenbuterol เฉียดพัน


 
                เมื่อไม่นานนี้จีนเกิดกรณีอื้อฉาวเนื้อสุกรปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง clenbuterol ซึ่งเป็นสารปรุงต้องห้ามที่ใส่ในอาหารสุกรเพื่อทำให้ราคาเนื้อสุกรแพงขึ้นสูงขึ้น สืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางการจีนจึงได้จับผู้ต้องหา 989 คนในข้อหาผลิตและจำหน่ายสารดังกล่าว 

                Xu Hu เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงความปลอดภัยของจีนเปิดเผยถึงการจับกุมแก๊งใต้ดินจำหน่ายและและผลิตสารดังกล่าว โดยแก็งค์นี้เกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายสาร clenbuterol ใน 63 เมืองของจีน และเมื่อไม่นานนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดสารดังกล่าว 2.75 ตัน พร้อมทั้งปิดห้อง! ปฏิบัติการผิดกฎหมาย 6 แห่ง โรงผลิต 12 แห่ง โรงงานแปรรูป 19 แห่ง คลังเก็บสินค้า และโรงงานใต้ดินอีก 32 แห่ง

                เนื้อสุกรเป็นเนื้อสัตว์คนจีนนิยมบริโภคมากที่สุด อย่างไรก็ตามกรณีอื้อฉาวเนื้อสุกรปนเปื้อนสาร Clenbuterol ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ได้สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคและรัฐบาลจีน
 



ที่มา : Pig Progress 

จีนจับผู้ลักลอบผลิต-ขายเนื้อใส่สาร Clenbuterol เฉียดพัน


 
                เมื่อไม่นานนี้จีนเกิดกรณีอื้อฉาวเนื้อสุกรปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง clenbuterol ซึ่งเป็นสารปรุงต้องห้ามที่ใส่ในอาหารสุกรเพื่อทำให้ราคาเนื้อสุกรแพงขึ้นสูงขึ้น สืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางการจีนจึงได้จับผู้ต้องหา 989 คนในข้อหาผลิตและจำหน่ายสารดังกล่าว 

                Xu Hu เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงความปลอดภัยของจีนเปิดเผยถึงการจับกุมแก๊งใต้ดินจำหน่ายและและผลิตสารดังกล่าว โดยแก็งค์นี้เกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายสาร clenbuterol ใน 63 เมืองของจีน และเมื่อไม่นานนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดสารดังกล่าว 2.75 ตัน พร้อมทั้งปิดห้อง! ปฏิบัติการผิดกฎหมาย 6 แห่ง โรงผลิต 12 แห่ง โรงงานแปรรูป 19 แห่ง คลังเก็บสินค้า และโรงงานใต้ดินอีก 32 แห่ง

                เนื้อสุกรเป็นเนื้อสัตว์คนจีนนิยมบริโภคมากที่สุด อย่างไรก็ตามกรณีอื้อฉาวเนื้อสุกรปนเปื้อนสาร Clenbuterol ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ได้สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคและรัฐบาลจีน
 



ที่มา : Pig Progress 

คาซัคสถานลดพึ่งพานำเข้าสัตว์ปีก


 
                นาย Rabiga Tokseitova อธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรคาซัคสถานกล่าวว่า รัฐบาลคาซัคสถานกำลังเตรียมขั้นตอนการสนับสนุนอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศ โดยคาดว่า คาซัคสถานจะสามารถลดปริมาณนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า ทุกปี อุตสาหกรรมสัตว์ปีกคาซัคสถานสามารถเพิ่มผลผลิต และปัจจุบันนี้ สัดส่วนการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกลดลงอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าโดยเนื้อสัตว์ปีกในตลาดประมาณ 56 % เป็นสินค้านำเข้า

                รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมสัตว์ปีกโดยการตั้งกองทุนเมล็ดพืชอาหารสัตว์ประมาณ  300000 ตัน และทุกปีๆได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินก! ู้จากธนาคารสำหรับการซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการทำฟาร์มสัตว์ปีก ซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดหาทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ผลิต

                นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ปฏิบัติตามนโยบายลดโควตานำเข้าเนื้อสัตว์ปีกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่มายังคาซัคสถาน เมื่อปี 2552 คาซัคสถานนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ ที่ 147,000 ตัน และเมื่อปี 2553 คาซัคสถานได้ลดโควตานำเข้าเหลือ 110,000 ตัน
 
 
 
ที่มา : World Poultry 

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไข่ไก่จากเนเธอร์แลนด์ปนเปื้อนไดออกซิน



หน่วยงานความปลอดภัยอาหารและผู้บริโภคแห่งใหม่ของเนเธอร์แลนด์ (nVWA) รายงานว่า ไข่ไก่ซึ่งปนเปื้อนไดออกซิน ผลิตในเนเธอร์แลนด์ถูกส่งออกไปยังเบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก โดยไข่เหล่านี้ฟาร์มอินทรีย์แห่งหนึ่งในประเทศ ถูกส่งไปบรรจุหีบห่อในเบลเยี่ยมและส่งต่อไปยังห้างสรรพสินค้าในเบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และโรงงานผลิตไข่ในเบลเยี่ยม

เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนว่าไข่ไก่ปนเปื้อนไดออกซินดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไข่ และได้แจ้งเตือนผู้ประกอบการไม่ให้ใช้ไข่ดังกล่าวจนกว่าการวิเคราะห์จะเสร็จสิ้! น แต่ขณะนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุการปนเปื้อน และยังไม่สามารถระบุได้ว่าการตรวจสอบจะเสร็จสิ้นเมื่อใด แม้ว่าหน่วยงานคาดว่า มีไข่ไก่ที่ปนเปื้อนจากฟาร์มเพียงแห่งเดียวเท่านั้นก็ตาม และนอกจากนี้ ยังไม่สามารถยืนยันจำนวนไข่ไก่ปนเปื้อนสารดังกล่าวที่แน่นอนได้

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เนเธอร์แลนด์ได้แจ้งเตือนผ่านระบบ RASFF ว่าไข่ไก่ปนเปื้อนไดออกซินที่ระดับ 2.07 pg WHO TEQ/กรัม และ polychlorobifenyls ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายไดออกซินปนเปื้อนที่ระดับ 12.31 pg WHO TEQ/กรัม

อนึ่ง ขณะนี้ มีการนำไข่ไก่ที่ปนเปื้อนออกจากตลาดและบริษัทที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ไข่ที่ผลิตจากไข่ไก่ดังกล่าวได้รับแจ้งเตือนไม่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจนกว่าผลการตรวจสอบจะยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ดังกล่าวไม่มีปริมาณได! ออกซินปนเปื้อนเกินมาตรฐาน




ที่มา : Food Production Daily

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รัสเซียไฟแดงเนื้อสัตว์ปีกจากบริษัทบราซิล 2 แห่ง



หน่วยงานเฝ้าระวังด้านสัตวแพทย์และสุขอนามัยพืชรัสเซีย (Rosselkhoznadzor) ระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากบริษัทบราซิล 2 แห่ง คือ บริษัท Libra Terminais SA และ Diplomata S/A Industrial e Comercial เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวไม่ปลอดภัย โดยเจ้าหน้าที่ตรวจพบการเชื้อ listeria ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ปีกของบริษัท Libra Terminais SA และพบเชื้อ Salmonella ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ปีกของบริษัท Diplomata S/A Industrial e Comercial

ก่อนหน้านี้ Rosselkhoznadzor ได้แจ้งเตือนบริษัทบราซิลหลายแห่งให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในตลาดรัสเซีย และยังแจ้งเตือนว่าจะระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกชั่วคราวจากบริษัทบราซิลแห่งอื่นๆอีก ถ้าผู้ผลิตยังละเลยในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสหภาพศุลกากร (Customs Union)

จนถึงปัจจุบัน รัสเซียระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อจากบริษัทบราซิลจำนวนทั้งหมด 129 บริษัท



ที่มา : World Poultry


วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ออสเตรเลียเตือนเกษตรกรให้ระวังโรคหวัดหน้าบวมในสัตว์ปีก



ดร. James Harris สัตวแพทย์เกาะแทสมาเนีย ออสเตรเลีย และประธานสมาคมสัตวแพทย์สัตว์ปีก เตือนผู้เลี้ยงสัตว์ปีก เช่น เกษตรกร และผู้เลี้ยงสัตว์ปีกไว้ดูเล่น ให้ระวังโรคหวัดหน้าบวม (infectious coryza) ซึ่งในขณะนี้กำลังแพร่ระบาดในไก่ในเกาะแทสมาเนียมากผิดปกติ

Dr James Harris ได้ให้คำแนะนำว่า ถ้านำสัตว์ปีกมาเลี้ยง ควรขังเดี่ยวเพื่อกักกันโรคและสังเกตอาการ เป็นเวลา
30 วัน หรือในกรณีที่นำสัตว์ปีกไปแสดง ให้กักกันโรคสัตว์ปีกนั้นเป็นเวลา 30 วัน เช่นเดียวกัน

โรคหวัดหน้าบวมซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจมักพบในสัตว์ปีกภายในประเทศ เป็นโรคที่มีอันตรายถึงตายและสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว



ที่มา : The Poultry Site

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไต้หวันพบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯ


 
                เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุขไต้หวัน (DOH) แจ้งว่า ตรวจพบยา ractopamine ซี่งเป็นสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯอีกครั้ง จากสถิติข้อมูลของ DOH ระบุว่า จนถึงปัจจุบันมีการพบเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐ 1.9 % ปนเปื้อน ractompamine ซึ่งเป็นยาที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตอาหารที่ได้จากสัตว์ใน 24 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และบราซิล แต่มีการห้ามใช้ยาดังกล่าวในสหภาพยุโรป จีน และไต้หวัน

               Focus Taiwan รายงานว่าตรวจพบยา ractompamine ซึ่งลดการสังเคราะห์ไขมันและเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน ในสามตัวอย่างของผ! ลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการพิธีศุลกากร (customs clearance) ในไต้หวัน เจ้าหน้าที่องค์การอาหารและยาไต้หวันจึงสั่งให้ส่งสินค้าดังกล่าวกลับคืนสหรัฐฯหรือนำไปทำลาย

                กระทรวงการคลังกล่าวว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 มีเนื้อวัวถอดกระดูกกว่า 5 ล้านปอนด์และเนื้อวัวติดกระดูก กว่า 250,000 ปอนด์จากสหรัฐฯ ผ่านการตรวจสอบของศุลกากร แต่ไต้หวันได้ระงับการนำเข้าเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯกว่า 100,000 ปอนด์ เนื่องจากพบยา ractopamine ตกค้างในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
 


 
ที่มา : Food Safety News 

ไต้หวันพบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯ


 
                เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุขไต้หวัน (DOH) แจ้งว่า ตรวจพบยา ractopamine ซี่งเป็นสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯอีกครั้ง จากสถิติข้อมูลของ DOH ระบุว่า จนถึงปัจจุบันมีการพบเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐ 1.9 % ปนเปื้อน ractompamine ซึ่งเป็นยาที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตอาหารที่ได้จากสัตว์ใน 24 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และบราซิล แต่มีการห้ามใช้ยาดังกล่าวในสหภาพยุโรป จีน และไต้หวัน

               Focus Taiwan รายงานว่าตรวจพบยา ractompamine ซึ่งลดการสังเคราะห์ไขมันและเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน ในสามตัวอย่างของผ! ลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการพิธีศุลกากร (customs clearance) ในไต้หวัน เจ้าหน้าที่องค์การอาหารและยาไต้หวันจึงสั่งให้ส่งสินค้าดังกล่าวกลับคืนสหรัฐฯหรือนำไปทำลาย

                กระทรวงการคลังกล่าวว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 มีเนื้อวัวถอดกระดูกกว่า 5 ล้านปอนด์และเนื้อวัวติดกระดูก กว่า 250,000 ปอนด์จากสหรัฐฯ ผ่านการตรวจสอบของศุลกากร แต่ไต้หวันได้ระงับการนำเข้าเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯกว่า 100,000 ปอนด์ เนื่องจากพบยา ractopamine ตกค้างในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
 


 
ที่มา : Food Safety News 
 

พบอีกแล้ว โรค ASF ระบาดในรัสเซีย


 
                เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2554 พบสุกร 30 ตัวตายในฟาร์มสุกรแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน Darivka Rodionovo ในเขต Rostov จากการนำอวัยวะส่วนที่มีพยาธิของสุกรเสียชีวิตไปวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ของภูมิภาค Rostov ปรากฎผลว่าพบโรคไข้สุกรแอฟริกัน (ASF) ในอวัยวะเหล่านั้น โดยฟาร์มดังกล่าวมีสุกร 6,500 ตัว ซึ่งหน่วยงานสัตวแพทย์ท้องถิ่นอยู่ในระหว่างป้องกันไม่ให้โรคดังกล่าวแพร่ระบาดไปมากกว่านี้

               ทั้งนี้เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2554 รองนายกรัฐมนตรี Viktor Zubkov กล่าวว่าโรค ASF ได้ระบาดในพื้นที่ตอนใต้ของรัสเซียและแพร่วงกว้างไปยังพื้นที่ตอนกลางและตะวันตกเฉีย! งเหนือ ขณะที่ก่อนหน้านี้รัสเซียก็เกิดการระบาดของโรค ASF ในภูมิภาค Krasnodar ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยพบการระบาดของโรคดังกล่าว 5 ครั้งนับตั้งแต่ต้นปี 2554 เป็นต้นมา
 


 
ที่มา : Pig Progress 
 

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จีนพบไนไตรท์ปนเปื้อนmรังนกนำเข้าจากมาเลย์


 
                เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2554 หน่วยงานบริหารด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์จังหวัดซีเจียงแจ้งว่า จากการตรวจสอบรังนกสีแดง (blood-red cubilose) นำเข้าจากมาเลเซียของผู้ค้าจำนวน 491 รายในจังหวัดซีเจียงพบว่า มีไนไตรท์ปนเปื้อนรังนกสีแดงโดยเฉลี่ยที่ 4,400 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัม เกินกว่ามาตรฐานซึ่งกำหนดไว้ที่ 70 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัม และระดับการปนเปื้อนไนไตรท์ที่มากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น เป็นสารก่อมะเร็ง

               รังนกสีแดงเป็นอาหารประเภทหายาก เป็นที่นิยมบริโภคในจีนและมีราคาแพงเนื่องจากความเชื่อว่าดีต่อสุขภาพ โดยรังนกสีแดงส่วนใหญ่ซึ่งมีจำหน่ายในตลาดท้! องถิ่นของซีเจียงนำเข้าจากมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกรังนกรายใหญ่

                อนึ่ง ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น Sin Chew Daily ระบุว่ารังนกสีแดงที่จำหน่ายในตลาดท้องถิ่นเป็นของปลอม


 
 
ที่มา : Xinhua  
 

จีนป้องกันหมูที่กินเศษอาหารเข้าสู่ตลาด


 
                สถาบันตรวจสอบสุขภาพสัตว์ปักกิ่งรายงานว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2554 สถาบันฯสามารถสกัดสุกรที่กินเศษอาหารไม่ให้เข้าสู่ตลาดได้กว่า 15,000 ตัว ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของรัฐบาลเพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนโรงเชือดสัตว์ผิดกฎหมาย

                สถาบันตรวจสอบสุขภาพสัตว์ปักกิ่ง กล่าวเพิ่มเติมว่าพบการฟาร์มสัตว์เลี้ยงสุกรจำนวน 157 แห่งในเขตชานเมืองของกรุงปักกิ่งได้แก่เขต Tongzhou, Shunyi และ Fangshan ที่นำเศษอาหารเปียกและแห้งนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับสุกรเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเกษตรกรจะรวบรวมเศษอาหารจากโรงแรม ภัตตาคาร โรงอาหา! ร อย่างไรก็ตามฝ่ายกักกันสัตว์จะฆ่าและฝังกลบสุกรติดเชื่อที่พบระหว่างการตรวจการกักกันโรค เนื่องจากสุกรที่กินเศษอาหารมีแนวโร้มที่จะเป็นพาหะของโรคต่างๆ เช่นโรคปากและเท้าเปื่อย


 
 
ที่มา : All About Feed  
 

เวียดนามไฟเขียวปศุสัตว์แคนาดา  


                เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2554 รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและเกษตรแคนาดา เปิดเผยว่า เวียดนามยกเลิกการห้ามนำเข้าแม่พันธุ์วัว ควาย แกะ แพะมีชีวิตจากแคนาดา  หลังห้ามนำเข้าจากแคนาดามาเป็นระยะเวลา 8 ปี หรือตั้งแต่ปี 2546 เนื่องจากการระบาดของโรควัวบ้าในแคนาดา

               ทั้งนี้เมื่อปลายปี 2553  เวียดนามอนุญาตนำเข้าเนื้อวัวแคนาดา ในขณะที่จีนอนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวจากแคนาดาเมื่อปลายปี 53 เช่นกัน แต่ยังไม่ได้เริ่มมีการขนส่งเพื่อการค้า และเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เกาหลีใต้ ระบุว่า จะนำเข้าเนื้อวัวแคนาดาอีกครั้งก่อนปลายปี 54
 
 


ที่มา : Reuters Canada  
 
 

ไทยกำลังจะได้รับสถานะปลอดโรคนิวคาสเซิล


 
                ไทยกำลังจะแจ้งองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เพื่อขอให้ปรับสถานะให้ไทยปลอดโรคนิวคาสเซิลในสัตว์ปีก

                เจ้าหน้าจากกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า ในปี 2554 ไทยเคยได้รับการรับรองจาก OIE ว่าปลอดโรคดังกล่าว แต่มีการรายงานข่าวในช่วงนี้ถึงการเกิดโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคนิวคาสเซิล อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่าไก่บางส่วนมีอาการหลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจไม่ได้เกิดจากโรคนิวคาสเซิล

                ปัจจุบันไทยสามารถควบคุมโรคนิวคาสเซิลได้แล้ว อย่างไรก็ดีได้กระตุ้นให้ให้เกษตรกรรี! บฉีดวัคซีนให้ไก่ทุก 1-7 วัน 21 วัน และทุก 3 เดือนตาม และสามารถฉีดวัคซีนติดต่อกัน 2 ปีได้อีกทางเลือกหนึ่ง และทาง OIE จะรับรองสถานะปลอดโรคดังกล่าวก็ต่อเมื่อไม่พบการระบาดเป็นเวลา 5 ปี
 
 
 
 
 
ที่มา : World Poultry 

งานวิจัยเมืองทิวลิปชี้ การทำลายสัตว์ปีกป้องกันไข้นกดีกว่าฉีดวัคซีน


 
                สถาบัน LEI และ Central Veterinary Institute ของศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัย Wageningen ในเนเธอร์แลนด์ ออกผลวิจัยเกี่ยวกับการทำลายและฉีดวัคซีนในสัตว์ปีกเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนกในรัศมี 1-3 กิโลเมตรจากจุดที่ระบาด ได้ข้อสรุปว่าการทำลายสัตว์ปีกสามารถป้องกันไข้หวัดนกได้ดีกว่าการฉีดวัคซีน โดยการทำลายสัตว์ในฟาร์มที่มีสัตว์ปีกติดเชื้อเป็นไข้หวัดนกจะมีระยะเวลาระบาดที่สั้นกว่า ขณะที่การฉีดวัคซีนสัตว์ปีกถึงแม้ว่าจะช่วยลดจำนวนฟาร์มสัตว์ปีกที่แพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกได้จริงและต้นทุนต่ำกว่า แต่มีระยะเวลาระบาดนานกว่า

                อย่าง! ไรก็ดี ยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปที่ทำลายสัตว์ปีกในฟาร์มติดเชื้ออาจไม่เพียงพอต่อการควบคุมการระยาดในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของสัตว์ปีกน้อย

                ทั้งนี้ สาธารณชนยอมรับการป้องกันด้วยการทำลายด้วยการทำลายน้อยลงและเรียกร้องมาตรการป้องกันแบบอื่นเช่นการฉีดวัคซีน
 




ที่มา : LEI 

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นสพ.อลงกรณ์ มหรรณพ ฝากประชาสัมพันธุ์ช่วยสุนัข จังหวัดนครพนม

นสพ.อลงกรณ์ มหรรณพ ฝากประชาสัมพันธ์ขอเชิญชวนผู้ที่รักสัตว์ทั้งหลาย ร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือสุนัขที่รอดพ้นจากการถูกนำไปขายต่างประเทศที่จังหวัดนครพนม ได้ที่บัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาโลตัสนครพนม บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 666-009-7947 ชื่อบัญชีกองทุนช่วยเหลือสุนัขนครพนม ถ้ายังไงรบกวนฝาก share ต่อๆกันไปเยอะๆนะคะ เพื่อจะได้ช่วยให้สุนัขที่น่าสงสารเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาได้บ้างค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หมูไต้หวันได้รับสารเร่งเนื้อแดงมีจำนวนเกินกว่าที่คาดไว้ถึง 5 เท่า



สภาการเกษตร (COA) ในไทเป เกาะไต้หวัน กล่าวว่า ในขณะนี้ COA เชื่อว่าสุกรที่ได้รับสารเร่งเนื้อแดงซึ่งเป็นยาต้องห้ามมีจำนวนมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

นาย Hsu Tien-lai อธิบดีสำนักงานกักกันและตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (BAPHIQ) เปิดเผยข้อมูลการจับกุมกลุ่มอาชญากรกลุ่มหนึ่งซึ่งจำหน่ายสารเร่งเนื้อแดง โดยคาดการณ์ว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ถึงเดือนมิถุนายน 2554 จะมีสุกรที่ได้รับสารเร่งเนื้อแดงจำนวน 750,000 ตัว ซึ่งมากกว่าจำนวนที่ COA ได้สุ่มตรวจในช่วงเดียวกันถึง 5 เท่า เมื่อคำนวณจากผลกำไรที่กลุ่มอาชญากรได้! รับพบว่ามีจำนวนถึง 50 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (1.22 ล้านยูโร)

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมกลุ่มอาชญากรซึ่งมีสมาชิกจำนวน 5 ราย ซึ่งได้ลักลอบนำเข้าสารกลุ่ม beta-agonist เพื่อผลิตยา ractopamine และได้จำหน่ายยาดังกล่าวให้แก่ฟาร์มเลี้ยงสุกรบนเกาะไต้หวัน

เมื่อคำนวณจากผลกำไรที่กลุ่มอาชญากรได้รับ BAPHIQ คาดการณ์ว่าจะมีการจำหน่ายอาหารสัตว์ซึ่งปนเปื้อนยาดังกล่าวจำนวน 75,000 ตัน และถ้าสุกร 1 ตัวได้รับอาหารปริมาณ 100 กิโลกรัมเป็นเวลา 1 เดือนก่อนถูกเชือด ต้องมีสุกรจำนวน 750, 000 ตัวได้รับยาดังกล่าว

แต่เดิม BAPHIQ ตรวจพบสารตกค้างของยา ractopamine ในสุกรเพียง 147,500 ตัวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม นาย Hsu กล่าวว่า BAPHIQ จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้! กระทำผิดดังกล่าวต่อไป





ที่มา : All About Feed (9สิงหาคม2554)

ไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูงระบาดในฟาร์มนกกระจอกเทศ 9 แห่งในแอฟริกาใต้



เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ได้รายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง (HPAI) H5N2 ในฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศอีก 9 แห่ง ซึ่งฟาร์มทั้งหมดตั้งอยู่ในจังหวัด Western Cape

รายงานระบุว่า การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูงเริ่มเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ถึง 6 กรกฎาคม 2554 มีนกกระจอกเทศทั้งหมดจำนวน 4, 238 ตัวได้รับผลกระทบ นกกระจอกเทศจำนวน 1,706 แสดงอาการของโรค ขณะที่นกกระจอกเทศ 14 ตัวถูกทำลายและ 1,186 ตัวถูกเชือด



ที่มา : The Poultry Site (9สิงหาคม2554