หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

มาเลย์ยันไม่มีนโยบายตรวจรับรองฮาลาลให้บริษัทข้ามประเทศ



ระหว่างวันที่ 19-23 มีนาคม 2555 JAKIM ซึ่งเป็นหน่วยตรวจรับรองฮาลาลของประเทศมาเลเซียได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยได้เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมระบบรับรองฮาลาลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพร้อมเข้าเยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

JAKIM ยืนยันว่าไม่มีนโยบายจะให้การรับรองสถานประกอบการที่ตั้งอยู่นอกประเทศมาเลเซีย เนื่องจากใช้วิธีการรับรองระบบรับรองฮาลาลขององค์กรนั้นๆ บนเว็บไซต์ของ JAKIM ต่อไป เช่น JAKIM ได้ให้การรับรองสำนักงานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ดังนั้น สินค้าที่เครื่องหมายฮาลาลของไทยสามารถวางจำหน่ายในมาเลเซียในฐานะอาหารฮาลาลได้ หลังจากนั้น JAKIM จะเดินทางไปเยี่ยมชมองค์กรและระบบรับรองฮาลาลที่ JAKIM ให้การรับรองทุกแห่ง



ที่มา : มกอช.(30/03/55)

ยูเครนกวดขันนโยบาย GMO



นาย Vladimir Semenovich ผู้อำนวยการศูนย์ทดลองวิจัยอาหารยูเครน (Ukrainian experimental food research center) กล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมายูเครนมุ่งมั่นในการลดจำนวนผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) ผลรับที่ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยในปี 2007 ร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ในตลาดยูเครนประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรม ในขณะที่ปี 2008 ได้ลดลงจำนวนลงเหลือร้อยละ 8 และในปีปัจจุบัน เหลือเพียงร้อยละ 5 ของสินค้าทั้งหมดที่มี GMOs

เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการติดฉลากสินค้า ยูเครนการวางแผนที่จะแก้ไขคำจำกัดความของผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธ! ุกรรม ที่ปัจจุบันกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนของจีเอ็มโอเกิน 0.9% ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรม โดยจะพิจารณาผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีส่วนผสมดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นผลิตภัณฑ์ตัดแต่งพันธุกรรมทั้งหมด คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ประมาณต้นฤดูร้อนนี้ ร่างมติได้รับการรับรองแล้วในเว็บไซต์องค์การการค้าโลกและดำเนินการให้สอดคล้องกับสมาชิกของ WTO ว่าด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับอุปสรรคทางเทคนิคในการค้า (WTO the Agreement on Technical Barriers to Trade)

สหรัฐอเมริกาและแคนาดาไม่เห็นด้วยกับคำจำกัดความใหม่นี้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบกับการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนของร้อยละของจีเอ็มโอน้อยกว่า 0.9 ของทั้งสองประเทศมายังยูเครน ซึ่งส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 90



ที่มา : All About Feed (30/03/55)

สหภาพยุโรปปรับปรุงเงื่อนไขการใช้สารเสริมเอนไซม์จากอาหาร สารปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร


เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555 สหภาพยุโรปได้ออกร่างแก้ไขกฎระเบียบการใช้สารเสริม (food Additives) ในสินค้าอาหารเพื่อการบริโภค โดยปรับปรุงกฎระเบียบรายชื่อสารเสริมเอนไซม์อาหาร สารปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร และเงื่อนไขการใช้สารดังกล่าว เพื่อให้ให้มีความสอดคล้องเป็นปัจจุบันกับข้อกำหนดของ Codex Alimentarius-Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives

กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2555 ยกเว้น เงื่อนไขใ! หม่ในการใช้สาร Steviol glycosides (E 960) และสาร Basic methacrylate copolymer (E 1205) ในอาหาร ให้ถือใช้ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2555

ทั้งนี้ EU จะอนุโลมให้เวลาเปลี่ยนผ่านกับสินค้าอาหารที่มีส่วนผสมของสารเสริมที่ปรากฏในกฎระเบียบใหม่นี้ ที่ได้วางจำหน่ายก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2555 ให้สามารถวางจำหน่ายได้ต่อไปจนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า



ที่มา : มกอช. (30/03/55)

สหภาพยุโรปออกร่างแก้ไขวิธีการสุ่มตรวจและวิธีการวิเคราะห์สาร Dioxins, Dioxin-like PCBs และ Non-Dioxin-like PCBs



เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 EU ได้ออกร่างแก้ไขกฎระเบียบว่าด้วยการกำหนดวิธีการสุ่มตรวจและวิธีการตรวจวิเคราะห์ในการตรวจการปนเปื้อนของสาร Dioxins, Dioxin-like PCBs และ Non-Dioxin-like PCBs ที่ตกค้างในสินค้าอาหารเพื่อการบริโภค ทั้งนี้ กฎระเบียบใหม่นี้ได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขวิธีการสุ่มตรวจ (sampling) และกำหนดวิธีการเตรียมตัวอย่างและวิธีตรวจวิเคราะห์ (sample preparation and methods of analysis) ของสารดังกล่าวข้างต้น

กฎระเบียบด! ังกล่าวจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2555

รายละเอียดเพิ่มเติมของกฎระเบียบดังกล่าว
http://eurlex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.douri=OJ:L:2012:084:0001:0022:EN:PDF



ที่มา : มกอช. (30/03/55)

มาเลเซียออกมาตรการฉุกเฉินอาหารสัตว์และวัตถุเจือปนอาหารสัตว์



เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 มาเลเซียได้ออกมาตรการฉุกเฉินข้อกำหนดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.อาหารสัตว์ 2009 และกฎระเบียบอาหารสัตว์ 2011 โดยพัฒนาให้กำหนดข้อมูล และคำอธิบาย ดังนี้

1) ใบอนุญาตการนำเข้า
2) การติดฉลาก
3) สารเคมีที่ห้ามใช้
&! nbsp; 4) การผลิต และจำหน่าย
5) วิธีวิเคราะห์ในการรับรอง

เพื่อกำหนดคุณภาพอาหารสัตว์ด้วยวิธีการควบคุมการนำเข้า การผลิต การจำหน่าย และการใช้อาหารสัตว์ และวัตถุเจือปนอาหารสัตว์ เพื่อความแน่ใจว่าอาหารสัตว์เหล่านี้มีสารอาหารที่ตรงตามความต้องการตามข้อกำหนดสำหรับสัตว์ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ ไม่ก่อให้เกิดสิ่งเจือปนในสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และปลอดภัยในการบริโภคของมนุษย์ และการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น

รายละเอียดเพิ่มเติม http://members.wto.org/crnattachments/2012/tbt/MYS/12_0854_00_e.pdf



ที่มา : มกอช. (29/03/55)

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

การบริโภคเนื้อแดงเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง


การศึกษาล่าสุดจากมหาวิทยาลัย Harvard School of Public Health (HSPH) นักวิจัยได้พบว่าการบริโภคเนื้อแดงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง และยังพบอีกว่าการบริโภคแหล่งโปรตีนเพื่อสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปลา ไก่ ถั่ว และพืชตระกูลถั่ว มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต การศึกษาจะมีการเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ของวารสาร Internal Medicine วันที่ 12 มีนาคม 2555

นาย Au Pan หัวหน้านักวิจัย ภาควิชาโภชนาการของ HSPH กล่าวว่า! การศึกษาดังกล่าวเพิ่มเติมหลักฐานความเสี่ยงจากการรับประทานเนื้อแดงปริมาณสูง ซึ่งเชื่อมโยงกับการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งบางชนิดในการศึกษาอื่น

คณะนักวิจัยรวมทั้งนักวิจัยอาวุโส Frank Hu อาจารย์ฝ่ายโภชนาการและระบาดวิทยาของ HSPH และเพื่อนร่วมงาน ได้เฝ้าสังเกตผู้เชี่ยวชาญชายจำนวน 37,698 คน เป็นเวลา 22 ปี จากการศึกษาติดตามผลสุขภาพผู้เชี่ยวชาญ และพยาบาลหญิงจำนวน 83,644 คน เป็นเวลา 28 ปี จากการศึกษาติดตามผลสุขภาพพยาบาล ที่ไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ (CVD) และโรคมะเร็ง โดยประเมินผลโภชนการผ่านแบบสอบถามทุกสี่ปี
จากการศึกษาติดตาม มีจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 23,926 ราย โดยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 5,910 ราย และจากโรคมะเร็ง 9,464 ราย การบริโภคเนื้อแดง โดยเฉพาะเนื้อแดงที่ผ่านการแปรรูปมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิต ปริมาณเนื้อแดงที่ไม่ผ่านการแปรรูปที่บริโภคต่อวันเพิ่มอัตราความเสี่ยงของการเสียชีวิตคิดเป็! นร้อยละ 13 และเนื้อแดงแปรรูปคิดเป็นร้อยละ 20

&nbs! p; ในบรรดาสาเหตุที่ระบุ ความเสี่ยงของการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และ ร้อยละ 21 และโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น ร้อยละ10 และร้อยละ 16 การวิเคราะห์เหล่านี้คำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น อายุ ดัชนีมวลกายการ การออกกำลังกาย ประวัติโรคหัวใจของคนในครอบครัว หรือโรคมะเร็ง

การบริโภคแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพแทนการบริโภคเนื้อแดงช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 7 สำหรับปลา ร้อยละ 14 สำหรับสัตว์ปีก ร้อยละ 19 สําหรับถั่ว ร้อยละ 10 สำหรับพืชตระกูลถั่ว ร้อยละ 10 สำหรับผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และร้อยละ 14 สำหรับเมล็ดธัญพืช นักวิจัยคาดว่าร้อยละ 9.3 ของการเสียชีวิตในผู้ชายและร้อยละ 7.6 ในผู้หญิงสามารถป้องกันได้จากการศึกษาติดตามหากผู้เข้าร่วมโครงการศึกษาทั้งหมดบริโภคเนื้อแดงน้อยกว่า 0.5 ปริมาณบริโภคต่อวัน


ที่มา : Science Daily (27/03/55)

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

แนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจกจากการเลี้ยงปศุสัตว์

Contributed by สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ถึงแม้ว่าสัดส่วนของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศจะไม่สูงเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ร้อยละ ๑๘ เทียบกับร้อยละ ๔๙) แต่ก๊าซมีเทนนั้นมีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพราะสามารถดูดกลืนรังสีความร้อนได้ดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ๒๕ เท่า สำหรับภาคเกษตร (ทั้งการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์) มีส่วนก่อให้เกิดก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศประมาณร้อยละ ๑๘ ส่วนใหญ่เกิดจากการทำนาข้าวและการเลี้ยงปศุสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องจำพวกโค กระบือ แพะและแกะ ซึ่งมีการปล่อยก๊าซมีเทนออกมามากกว่าการเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร เนื่องจากสัตว์เคี้ยวเอื้องมีระบบการย่อยอาหารโดยการหมักในกระเพาะอาหารหรือที่เรียกว่า “Enteric fermentation” ส่งผลให้มีก๊าซมีเทนถูกปล่อยออกมาราวร้อยละ ๑๕ จากปริมาณก๊าซมีเทนทั้งหมดในชั้นบรรยากาศ จากข้อมูลของ FAO ที่คาดการณ์ไว้ว่าจำนวนประชากรโลกอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น ๙ พันล้านคน ภายในปี ค.ศ.๒๐๕๐ ซึ่งจะทำให้ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๗๐ โดยความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกอาจเพิ่มขึ้นถึง ๓ เท่าตัว (จาก ๑๓๓ ล้านตัน/ปี ในปี ๑๙๘๐ เพิ่มขึ้นเป็น ๔๕๒ ล้านตัน/ปี ภายในปี ๒๐๕๐) ส่วนความต้องการบริโภคนมอาจเพิ่มขึ้นกว่า ๒ เท่าตัว (จาก ๓๔๒ ล้านตัน/ปี ในปี ๑๙๘๐ เพิ่มขึ้นเป็น ๘๘๐ ล้านตัน/ปีภายในปี ๒๐๕๐) นั่นหมายถึง ผลกระทบที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในระดับท้องถิ่นต่อแหล่งน้ำ อากาศและดิน รวมไปถึงผลกระทบในระดับโลกต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ การหาทางบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ จึงนับเป็นความท้าทายที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับภาคเกษตรที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการหาทางเพิ่มระดับผลผลิตเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร สำหรับหนทางที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเลี้ยงสัตว์ (โดยเฉพาะก๊าซมีเทนจากการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง) สามารถทำได้ผ่านการปรับปรุงการจัดการฟาร์มให้ดีขึ้น รวมทั้งสายพันธุ์สัตว์และคุณภาพอาหารสัตว์, การนำเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้พัฒนาหรือปรับปรุงจุลินทรีย์ที่ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนในระบบลำไส้ของสัตว์ให้ดีขึ้น, การใช้อาหารสัตว์หรือสายพันธุ์สัตว์ที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม (GM) นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนอาหารสัตว์โดยหันมาใช้อาหารสัตว์หรือพืชอาหารสัตว์แบบใหม่ (novel forages and feeds) และการเติมสารเพิ่มประสิทธิภาพลงในอาหารสัตว์จำพวกโปรไบโอติก จุลินทรีย์หรือสารสกัดจากพืช เพื่อปรับปรุงการทำงานของกระเพาะหมัก ก็มีส่วนทำให้ก๊าซเรือนกระจกจากการเลี้ยงสัตว์ลดลงด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ๑. การทดลองของมหาวิทยาลัย Aberystwyth ในแคว้นเวลส์ ที่แสดงว่า “อาหารสำหรับโคที่อุดมด้วยสารสกัดจากกระเทียม มีส่วนช่วยลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้” โดยทางบริษัท Neem Biotech ได้ทำการสกัดสารอัลลิซิน (Allicin) จากกระเทียมเพื่อนำมาใช้ผสมกับอาหารสัตว์ให้โคและแกะได้กิน โดยพบว่าสารสกัดจากกระเทียมนี้สามารถลดก๊าซมีเทนที่เกิดจากการผลิตของแบคทีเรียที่อยู่ ในระบบการย่อยอาหารของสัตว์ดังกล่าวได้ถึงร้อยละ ๒๐ โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการหมักในกระเพาะอาหารของสัตว์ อีกทั้งยังพบว่ามีส่วนทำให้การใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ลดลงอีกด้วย อย่างไรก็ดี อุปสรรคสำคัญที่อาจทำให้เกษตรกรลังเลใจในการนำแนวทางดังกล่าวมาใช้คือ สารสกัดจากกระเทียมมีผลต่อรสชาติของนมและผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยการหยุดให้สารสกัดจากกระเทียมในช่วงสั้นๆก่อนที่จะมีการรีดนม หรือพัฒนาวิธีสกัด สารอัลลิซิลจากกระเทียมให้ดีขึ้น โดยไม่ทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนไป ๒. ผลการทดลองวิจัยของ Reading University และ the Institute of Biological Environmental and Rural Sciences (IBERS) ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้การอุดหนุนของกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหารและกิจการชนบท (Defra) แห่งสหราชอาณาจักร ระบุว่า “การเปลี่ยนแปลงอาหารสัตว์มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนและการขับถ่ายไนโตรเจนของวัวควายและแกะได้” เช่น - การเพิ่มสัดส่วนของข้าวโพดหมัก (maize silage) แทนหญ้า (grass silage) จากร้อยละ ๒๕ เป็นร้อยละ ๗๕ มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ร้อยละ ๖ ต่อนม ๑ ก.ก. - การให้หญ้าที่มีน้ำตาลสูง (high sugar grasses) ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ร้อยละ ๒๐ ต่อน้ำหนักของสัตว์ที่เพิ่มขึ้น ๑ ก.ก. - Naked oats ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนของแกะได้ร้อยละ ๓๓ ส่วน Rapeseed ทำให้การปล่อยก๊าซมีเทนของโคนมลดลงร้อยละ ๒๐ ต่อนม ๑ ลิตร ผลการทดลองจากทั้ง ๒ มหาวิทยาลัยนี้ทำให้สามารถยืนยันได้ว่า ในระยะสั้นการปรับปรุงอาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงปศุสัตว์หรือการเติมสารเสริมในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระเพาะหมักของสัตว์ มีส่วนช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี ในอนาคตควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบในระยะยาวจากการปรับปรุงอาหารสัตว์ต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำมาใช้และภาระด้านต้นทุนต่อภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ก) ในอนาคตภาคเกษตรกรรมต้องเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ๒ ด้าน นั่นคือ ต้องเร่งการผลิตอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศควบคู่ไปด้วย สำหรับการเลี้ยงสัตว์จะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อภาคเกษตรต่อไป เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตของคนมากกว่า ๑.๓ พันล้านคนทั่วโลกและยังสร้างผลผลิตให้กับภาคเกษตรคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๔๐ จากทั้งหมด แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเลี้ยงสัตว์ก็เป็นสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซมีเทนเนื่องจากการหมักในกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องทำให้มีก๊าซมีเทนถูกปลดปล่อยออกมา และมีแนวโน้มว่าระดับความเข้มข้นของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ตามความต้องการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพราะฉะนั้น การวิจัยและพัฒนาของภาคเกษตรควรมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืน โดยจะต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด (ดิน, น้ำ, อากาศ) ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงปศุสัตว์ในทุ่งหญ้ากว้างจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ดีกว่าการเลี้ยงแบบหนาแน่น อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสภาพภูมิทัศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ, การเพิ่มผลผลิตสัตว์ต่อหน่วยให้สูงขึ้น , การคัดเลือกพันธุ์สัตว์ที่มีสมรรถนะในการผลิตสูงขึ้น เติบโตเร็วและใช้อาหารสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น, การจัดการกับมูลสัตว์ และที่สำคัญ คือ การปรับปรุงโภชนาการอาหารสัตว์เพราะส่วนประกอบในอาหารมีผลอย่างมากต่อการหมักในกระเพาะอาหารสัตว์ และสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซมีเทนและแอมโมเนียที่ถูกปล่อยออกมาได้ ข) การปรับปรุงโภชนาการอาหารสัตว์สามารถทำได้โดยการเติมสารเสริมลงในอาหารสัตว์ เพื่อปรับปรุงการทำงานของจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะสัตว์, การเสริมไขมันในอาหารโค ซึ่งจะทำให้โคได้รับพลังงานสูงขึ้นและมีผลต่อการปล่อยก๊าซมีเทน เนื่องจากไขมันมีคุณสมบัติยับยั้งการผลิตมีเทนในกระเพาะหมักของโค, การใช้อาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดี (forages) ที่สามารถย่อยได้มากและเร็ว ซึ่งจะทำให้ปริมาณก๊าซมีเทนที่ผลิตและขับออกมาระหว่างการย่อยอาหารของสัตว์ลดลง นอกจากนี้ การใช้ระบบให้อาหารสัตว์ด้วยความแม่นยำสูง (precision feeding) โดยให้สารอาหารให้ตรงกับความต้องการของโคนมเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและการผลิตนม จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากมูลของโคได้ แต่ว่าการให้อาหารสัตว์ด้วยความแม่นยำสูงจะต้องอาศัยโมเดลทางโภชนาการที่มีความถูกต้องเพียงพอตรงกับความต้องการของสัตว์และการจัดการที่จะช่วยลดความผันผวนในการให้อาหารสัตว์ รวมทั้งการตรวจสอบองค์ประกอบแห้งและสารอาหารที่อยู่ในอาหารสัตว์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนที่เกิดจากการให้อาหารสัตว์มากจนเกินไป (over-feeding) อันจะมีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมูลสัตว์แล้ว ยังเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสัตว์เนื่องจากจากภาวะทุพโภชนาการอีกด้วย ค) สำหรับการเติมสารอัลลิซิน (allicin) ที่สกัดจากกระเทียมลงในอาหารสัตว์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขบวนการหมักในกระเพาะอาหารสัตว์ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยและมีราคาไม่แพง อีกทั้งไทยก็สามารถปลูกกระเทียมได้มาก แต่ผลผลิตส่วนใหญ่กลับมุ่งเน้นไปที่การบริโภคของมนุษย์มากกว่า การนำกระเทียมมาผลิตเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการผลิตกระเทียมของประเทศและช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า แต่อย่างไรก็ดี จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบในระยะยาวจากการเติมสารสกัดจากกระเทียมในอาหารสัตว์ทั้งต่อสุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาวิธีสกัดสารอัลลิซินที่จะไม่ส่งผลต่อรสชาติและกลิ่นของผลผลิตที่ได้จากสัตว์ ง) ทั้งนี้ หน่วยงานของไทยอาจพิจารณาแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีความชำนาญการหรือความสนใจในเรื่องการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อทำการวิจัยร่วมกัน ในการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตอาหารสัตว์ที่มีประสิทธิผลสูงสุด และเหมาะสมสำหรับสภาพการเลี้ยงปศุสัตว์ของไทยและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ที่มา : Thaieurope.net

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาอาจจะปรับลดมาตรฐานการตรวจสอบสัตว์ปีก


หน่วยงานตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารสหรัฐอเมริกา (FSIS) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 ได้เสนอระบบการตรวจสอบใหม่สำหรับโรงเชือดสัตว์ปีก กฏระเบียบใหม่นี้จะมอบให้โรงงานเอกชนเป็นผู้ดำเนินการตรวจ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปรับลดตำแหน่งลงประมาณ 1,000 ตำแหน่ง หลายคนเชื่อว่ากระบวนการของการแปรรูปการตรวจสอบอาหารจะลดคุณภาพของอาหารที่มีให้กับผู้บริโภค

AlterNet เห็นว่ากฎระเบียบที่นำเสนอให้ความสำคัญกับปริมาณและความรวดเร็วมากกว่าคุณภาพ กระบวนการตรวจสอบสัตว์ปีกในปัจจุบันกำหนดปริมาณงานที่ 35 ตัว/ นาที่ แต่ระเบียบใหม่จะกำหน! ดที่ 175 ตัว/ นาที่ นอกจากนี้กฎระเบียบใหม่จะลดจำนวนผู้ตรวจซากสัตว์ของ FSIS เหลือ 1 คน/ หน่วย ซึ่งจะลดเวลาการตรวจสอบลงเช่นเดียวกับลดตำแหน่งงานในหมู่บุคลากรของรัฐบาลกลาง

ในอุตสาหกรรมการตรวจสอบอาหารปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงานในการตรวจสอบจะต้องมีประสบการณ์ผ่านการฝึกอบรม การศึกษา หรือทั้งสอง อย่างน้อยสามปี แต่การแปรรูปที่เสนอไม่รวมถึงกฎระเบียบที่จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์ นายสแตน เพ้นเตอร์ ประธานสภา the National Joint Council of Food Inspection Locals แสดงความคิดเห็น อีกทั้งบริษัทจะทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งปัญหาความไม่โปรงใส และความปลอดภัยผู้บริโภค เช่นเดียวกับ นาง Wenonah Hauter กรรมการบริหาร Food and Water Watch ที่เห็นว่า จนกว่าข้อเท็จจริงทั้งหมดจะถูกเก็บรวบรวมเพื่อสนับสนุนว่าผู้บริโภคจะได้การคุ้มครองในระดับเดียวกับการตรวจแบบดั้งเดิม กฎระเบียบใหม่ที่เสนอยังไม่ควรนำไปปฏิบัติ

&n! bsp; วันสุดท้ายของการแสดงความคิดเห็นต่อ วันที่ 26 ! เมษายน 2 012



ที่มา : The Poultry Site (16/03/55)


สหภาพยุโรปและนอร์เวย์ตกลงร่วมกันบริหารจัดการปลาแมคเคอเรล


สอดคล้องกับข้อตกลงฉบับก่อน สหภาพยุโรปและนอร์เวย์ได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงทวิภาคีเกี่ยวกับการบริหารจัดการปลาแมคเคอเรล ปี 2555

เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองความต้องการของหมู่เกาะแฟโร (Faroe Islands) และ ไอซ์แลนด์ ในการหารือครั้งล่าสุด เพื่อหาข้อตกลงร่วมของรัฐชายฝั่งเกี่ยวกับสต๊อกปลาแมคเคอเรล ดังนั้น สหภาพยุโรปและนอร์เวย์จึงได้จัดทำข้อตกลงทวิภาคี ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว นอร์เวย์ได้รับการจัดสรรโควต้าปลาแมคเคอเรล จำนวน 181,085 ตัน และสหภาพยุโรป จำนวน 396,468 ตัน ซึ่งการจัดสรรโควต้าเป็นไปตามแผนการจัดการร่วมตามคำแนะนำของส! ภาการสำรวจทะเลระหว่างประเทศ (International Council for Exploration of the Sea – ICES) และรูปแบบการจัดสรรโควต้าแบบดั้งเดิมระหว่างสหภาพยุโรปและนอร์เวย์


ที่มา : The Fish Site News (16/03/55)

สภาพอากาศแห้งแล้งส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์



แนวโน้มการเพาะปลูกธัญพืช ปี 2555-2556 ของสเปน อยู่ในขั้นวิกฤต เนื่องมาจากฤดูหนาวที่แห้งแล้งที่สุดเป็นประวัติการ ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนของเดือนเมษายนและพฤษภาคมจะเป็นตัวกำหนดปริมาณการเพาะปลูก แต่สภาพอากาศแห้งแล้งปีนี้อาจจะส่งผลกระทบกับผลผลิตเมล็ดพันธุ์ฤดูหนาว

จากรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) จะยังคงไม่มีฝนตกในสเปน ปริมาณการกักเก็บน้ำของเขื่อนทั้งหมดในสเปนจะอยู่ที่ 62.5% หมายถึงจะมีปริมาณน้ำใช้จ่าย จำนวน 34,764 ลูกบาศก์เมตร3
สภาพอากาศดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อการผลิตปศุสัตว์ ทำให้ปศุสัตว์อ! ยู่ในสภาพเสี่ยง ทุ่งเลี้ยงปศุสัตว์ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และการที่พื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์ลดลงจะผลักดันให้เกษตรกรต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตโดยการเพิ่มจำนวนศุสัตว์ที่มากกว่าระดับปกติ



ที่มา : The Poultry Site (16/03/55)

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

อัฟริกาใต้เรียกเก็บภาษีการทุ่มตลาดไก่และไก่ไร้กระดูกจากบราซิล


คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Administration Comission – ITAC) ของอัฟริกาใต้ได้รายงานผลการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ว่าบราซิลได้ทุ่มตลาดไก่และไก่ไร้กระดูกที่ส่งออกไปยังกลุ่มอุตสาหกรรม South African Custom Union (SACU) และเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการงบประมาณ (Commissioner for South African Revenue Service – SARS) กำหนดเรียกเก็บค่าชดเชยการทุ่มตลาด

สมาคมไก่ของอัฟริกาใต้ (South African Poultry Association – SAPA) ในฐานะตัวแทนของกลุ่มอุตสาหกรรม SACU ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนเมื! ่อปี 2554 ว่าสินค้าภายใต้หมวดภาษี 0207.12.90 (ไก่แช่แข็ง) และ 0207.14.10 (ไก่ไร้กระดูก) ถูกส่งเข้ามายัง SACU ในราคาที่ต่ำกว่าราคาภายในประเทศผู้ผลิต ก่อให้เกิดความเสียหายต่อกลุ่มอุตสาหกรรม SACU

ความแตกต่างของราคาการทุ่มตลาด คิดเป็น 62.93% สำหรับไก่ และ 46.59% สำหรับไก่ไร้กระดูก โดยบริษัทที่ทำการทุ่มตลาดจะถูกเรียกเก็บภาษีป้องกันการทุ่มตลาด (Anti-dumping duties) เป็นระยะเวลา 6 เดือน

อุตสาหกรรมไก่บราซิลได้โต้แย้งผลการพิจารณาของรัฐบาลอัฟริกาใต้ ว่าไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบของ WTO ว่าด้วยการทุ่มตลาดสินค้า และเรียกร้องให้รัฐบาลบราซิลยื่นเรื่องต่อ WTO โดยอ้างเหตุผลว่า อัฟริกาใต้ไม่ได้คำนึงถึงภาษี (16.5%) สินค้าภายในประเทศเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความแตกต่างของราคา ซึ่งสินค้าส่งออกจะไม่ถูกเก็บภาษี




ที่มา : World Poultry – News (15/03/55)

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

ออสเตรเลียกังวลเกี่ยวกับการนำเข้าเนื้อสุกร



ABC ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตระยะกลางของการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร เนื่องจากเกษตกรส่วนใหญ่ภายในประเทศได้เน้นไปที่การผลิตเนื้อสดแทน โดยราคาเฉลี่ยต่อน้ำหนักสุกรออสเตรเลีย คาดว่าจะตกลงร้อยละ 2 ใน ปี 2555-2556 ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 275 เซ็นต์ ต่อ กิโลกรัม อีกทั้ง การลดลงของราคาเมล็ดภัณฑ์อาหารสัตว์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของต้นทุนการผลิตรวม จะสนับสนุนการผลิตภายในประเทศที่จะสูงขึ้น ในปี 2555 – 2556 ที่จะเน้นการผลิตเนื้อสุกรสด ดังนั้น ส่วนแบ่งของตลาดสินค้าแปรรูปสำหรับผู้ประกอบการออสเตรเลียจะลดลงอย่างรวดเร็วเป็นระยะเวลาหลายปีต่อจากนี้

ABA! RES กล่าวว่าการมุ่งเน้นขยายตลาดเนื้อสุกรสด ทำให้สัดส่วนของการผลิตเนื้อสุกรแปรรูปภายในประเทศเทียบกับการผลิตเนื้อสุกรรวม ลดลงจากร้อยละ 37 ในปี 2546=2547 เหลือร้อยละ 20 ในปี 2553-2554 ส่วนแบ่งการตลาดดังกล่าวถูกคาดการณ์ว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจะเหลือร้อยละ 15 ในปี 2559 – 2560 เป็นผลจากการแข่งขันนำเข้าอย่างรุงแรง ซึ่งจะหมายถึงการลดลงร้อยละ 20 ของการผลิตเนื้อสุกรแปรรูปในระยะกลางของออสเตรเลีย




ที่มา : Meat Trade News Daily (14/03/55)

การระบาดของโรคไวรัสนิวแคสเซิลในอิตาลี




หน่วยงานสัตวแพทย์ของอิตาลีได้รายงานเกี่ยวกับการระบาดของโรคไวรัสนิวแคสเซิลในเมืองทัสคานี OIE ได้รับประกาศแจ้งเตือนเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ซึ่งสัตว์ที่ได้รับผลกระทบได้แก่ นกพิราบที่เลี้ยงไว้หลังฟาร์ม นกต้องสงสัยมีทั้งหมด 101 ตัว จากการรายงาน 18 ครั้ง พบนกตาย 8 ตัว ส่วนที่เหลือ 93 ตัวถูกทำลาย

จากการอ้างอิง OIE ประกาศแจ้งเตือนนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะการปลอดโรคไวรัสนิวแคสเซิลของอิตาลี และจะไม่มีผลต่อการค้าสัตว์ปีกและผลิตภํณฑ์ เนื่องจากนกที่ติดโรคระบาดไม่ถูกจัดอยู่ภายใต้คำจำกัดความว่าสัตว์ปีกของ OIE ทั้งนี้ สาเหตุของการระบาดยังไม่! ระบุแน่ชัด



ที่มา : Meat Trade News Daily (14/03/55)

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

สหภาพยุโรป – ฉลากแสดงแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์



ภายใต้กฎระเบียบใหม่ว่าด้วยการแจ้งข้อมูลอาหารแก่ผู้บริโภคของสหภาพยุโรป ข้อมูลแสดงแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์เนื้อหมู สัตว์ปีก เนื้อแกะ และเนื้อแพะ ที่ไม่ผ่านการแปรรูป จะถูกบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557

ดังนั้น DG AGRI จึงมอบหมายให้มีการศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบวิธีการต่างๆ สำหรับการแสดงฉลากแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่แปรรูปในหมวดดังกล่าว ทั้งนี้ การศึกษาจะวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของวิธีการต่างๆ และผลกระทบต่อผู้ผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และการค้า รวมทั้งความเห็นและความเข้าใจของผู้บ! ริโภคเกี่ยวกับฉลากแหล่งกำเนิดสินค้าเนื้อสัตว์

วันสุดท้ายของการส่งข้อเสนอโครงการ คือ วันที่ 16 เมษายน 2555



ที่มา : Meat Trade News Daily (13/03/55)

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

อินโดนีเซีย – โรคไข้หวัดนกเดือนมีนาคม



หน่วยงานควบคุมโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza Disease Controlling Unit - UPPAI) ของกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ได้รายงานการตรวจพบไข้หวัดนกในสัตว์ปีกระหว่างวันที่1 – 4 มีนาคม 2555 จำนวน 7 ครั้งใน 7 หมู่บ้าน 5 ชุมชน และ 5 จังหวัดของอินโดนีเซีย

5 จังหวัดดังกล่าว ได้แก่ Nusa Tenggara Barat (ใน Bima), West Java (ใน Bandung), Banten (ใน Lebak), Central Java (ใน Semarang) and West Sumatera (ใน Tebing Tinggi) โดยพบสัตว์ปีกตายมากที่สุดที่จังหวัด Bima เมือง Nusa Tenggara Barat แบ่งออกเป็นไก่บ้าน (kampong chicken) จำนวน 5,837 ตัว และไก่ฟาร์ม ! (commercial broilers) จำนวน 1,200 ตัว ซึ่งถ้านับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ จำนวนสัตว์ปีกตายสูงถึง 8,500 ตัว

ในขณะที่เมือง West Java ตั้งแต่วันที่ 1 – 3 มีนาคม 2555 พบไก่บ้าน (kampong chicken) ตายเป็นจำนวน 314 ตัว ทั้งนี้ผลของ Rapid tests แสดงว่าสาเหตุการตายทั้งหมดของไก่บ้าน (kampong chicken) มาจากเชื้อไข้หวัดนก แต่ผลของ PCR test แสดงว่ามีเพียง 4 ตัวเท่านั้นที่ตายด้วยเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งหัวหน้าหน่วยสัตวบาลกล่าวว่าการตายของไก่บ้าน (kampong chicken) อื่นๆ อาจเกิดจากเชื้อไวรัสในสัตว์ปีก
UPPAI แจ้งว่าการแยก การเฝ้าระวัง การฆ่าเชื้อโรค การให้คำแนะนำ และควบคุมการกระจายของสัตว์ปีกถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมไข้หวัดนกในพื้นที่เกิดการระบาด




ที่มา : WorldPoultry.Net (08/03/55)



วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐอเมริกาฟ้องร้องอินเดียกรณีกีดกันเปิดตลาดสินค้า



ประเทศอินเดียไม่ยอมรับกรณีประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวหาอินเดียกีดกันการนำเข้าสัตว์ปีกจากสหรัฐอเมริกา โดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐกล่าวว่าการกำหนดภาษีนำเข้าในอัตราสูงแก่สินค้าน่องไก่ราคาถูก ก็เพื่อเป็นการป้องกันการทุ่มตลาดสินค้าดังกล่าว อุตสาหกรรมสัตว์ปีกของสหรัฐอเมริกาได้ทุ่มตลาดน่องไก่ราคาถูกในประเทศอินเดีย (25 cents/กิโลกรัม คิดเป็น 18 รูปี/กิโลกรัม) และเพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกร รัฐบาลได้กำหนดภาษีนำเข้าที่ 104% สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากสหรัฐอเมริกา

ได้มีการรายงานว่าสหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาฟ้องร้องอินเดียในเวที WTO ในประเด็นกีดกันการเปิดตลาดส! ินค้าสัตว์ปีก ซึ่งสหรัฐอเมริกาเคยได้ฟ้องร้องจีนมาแล้วในกรณีเดียวกัน




ที่มา : The MeatSite.com (06/03/55)

ยูเครนห้ามนำเข้าหมูและผลิตภัณฑ์นมจากเบลารุสชั่วคราว




เจ้าหน้าที่ยูเครนแถลงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมา เรื่องการห้ามนำเข้าหมูและผลิตภัณฑ์นมจากประเทศเบลารุสเป็นการชั่วคราว หน่วยงานสัตวแพทย์และสุขอนามัยพืชแห่งรัฐ (The State Veterinary and Phytosanitary Service) ได้ออกแถลงการณ์ ห้ามนำเข้าหมูเนื่องจากกลัวการแพร่กระจายของโรคอหิวาต์สุกรอัฟริกัน (African swine fever - ASF)

โรคอหิวาต์สุกรอัฟริกัน (ASF) เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายร้ายแรงในหมู แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ กำลังแพร่กระจายไปในประเทศเบลารุสจากประเทศรัสเซีย สถานกา! รณ์ในรัสเซียและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานะการณ์ของโรค ASF ในเบลารุส ก่อให้เกิดการคุกคามความปลอดภัยด้านชีวภาพในประเทศยูเครน อีกทั้ง ยังได้มีการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากประเทศเบลารุสเป็นการชั่วคราวด้วย เนื่องจากมีการตรวจพบยาสัตว์ตกค้าง ในปริมาณที่สูงกว่าที่กำหนดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์




ที่มา : The MeatSite.com(06/03/55)

โควต้านำเข้าสัตว์ปีก ไทย – สหภาพยุโรป




กระทรวงพาณิชย์ของไทยได้ยืนยันผลลัพธ์ของการเจรจากับสหภาพยุโรปในการจัดสรรโควต้าการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก โดยไทยได้รับโควต้านำเข้าสัตว์ปีกจำนวน 30,810 ตัน หรือ 31.5% ของจำนวนโควต้าทั้งหมดของสินค้าสัตว์ปีก 6 ประเภท ได้แก่ ไก่สำเร็จรูป เป็ดสดและสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ปรุงสุกพร้อมรับประทานที่มีส่วนผสมของไก่และเป็ด

ทั้งนี้ คณะรัฐบาลได้เห็นชอบในข้อตกลงและจะยื่นเสนอต่อรัฐสภาต่อไป โดยทางสหภาพยุโรปคาดว่าจะนำระบบโควต้าใหม่มาใช้ได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 นี้ ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ไทยจะได้รับโควต้านำเข้าไก่สำเร็จรูปจำนวน 16,000 ตัน แล! ะภาษีนำเข้าจะอยู่ที่ 10.9% ส่วนนอกโควต้า ภาษีนำเข้าจะอยู่ที่ 2,765/ ตัน (112,000 บาท/ ตัน) ในส่วนของเป็ดโควต้าจะอยู่ที่ 14,000 ตัน และภาษีนำเข้าจะอยู่ที่ 10.9% สำหรับเป็ดสดโควต้าจะอยู่ที่ 10 ตัน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 อัตราภาษีภายใต้โควต้าจะอยู่ที่ 630/ตัน ส่วนนอกโควต้าจะอยู่ที่ 2,765/ตัน โดยไทยได้ส่งออกเต็มจำนวนโควต้าที่ 160,033 ตันในส่วนของเนื้อไก่ปรุงสุก ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกไปสหภาพยุโรปเป็นจำนวน 200,000 ตัน แต่ไทยไม่ได้ส่งออกเนื้อไก่ดิบเต็มจำนวนโควต้าที่ 92,610 ตัน




ที่มา : Meat Trade News Daily (08/03/55)

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

จีนซื้อข้าวโพดและถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 จีนสั่งซื้อข้าวโพดและถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกา เป็นจำนวน 110,000 และ 285,000 เมตริกตัน ตามลำดับ ทำให้เกิดข่าวตามมาว่า จีนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสภาพภูมิอากาศและผลผลิตในประเทศอเมริกาใต้ และหันมาสั่งซื้อเมล็ดพันธ์พืชจากประเทศสหรัฐอเมริกาแทน ตั้งแต่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ราคาถั่วเหลืองได้สูงขึ้นเกือบ 15% เนื่องมาจากข่าวอุณหภูมิที่สูงขี้นและ ความแห้งแล้งในประเทศบราซิล และการขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ของสหรัฐอเมริกา &n! bsp; จีนได้กลายเป็นผู้ซื้อข้าวโพดรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ด้วยปริมาณการสั่งซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา อยู่ที่ 2.6 ล้านเมตริกตัน เปรียบเทียบกับช่วงสัปดาห์นี้ของปีที่แล้วที่ปริมาณ 313,000 เมตริกตัน รวมทั้งขยับอันดับการสั่งซื้อถั่วเหลืองเป็น 16.2 ล้านเมตริกตัน เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้วที่ 19.5 ล้านเมตริกตัน ที่มา : Farms.com (6/03/55)

อเมริกาสั่งเพิ่มข้อมูลโภชนาการบนฉลากสำหรับเนื้อสัตว์

ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2555 ผู้บริโภคจะสามารถทราบข้อมูลทางโภชนาการ (Nutrition Facts) ของสินค้าประเภทเนื้อดิบ เนื้อสับ/บด เนื้อหั่น จากฉลากสินค้าได้แล้ว ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงาน Food Safety and Inspector Service (FSIS) ที่กำหนดให้ผู้ผลิตจะต้องมีการติดข้อมูลทางโภชนาการ (Nutrition Facts) ไว้บนฉลากของตัวผลิตภัณฑ์ หรือบนชั้นวางสินค้า ซึ่งทำให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลและช่วยในการตัดสินใจในการซื้อสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค โดยข้อมูลที่ต้องระบุบนฉลาก ได้แก่ จำนวนแคลอร! ี่ จำนวนกรัมของไขมันและไขมันอิ่มตัว ของผลิตภัณฑ์นั้น ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบจำนวนแคลอรี่ และปริมาณไขมัน เช่น จำนวนแคลอรี่ และปริมาณไขมัน ของเนื้อไก่งวงบด เนื้อสับ หรือเนื้อหมูหั่นเป็นชิ้น ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบสินค้าและเลือกสินค้าให้ตรงกับความต้องการในการบริโภค กฎระเบียบนี้ได้ออกบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2554 ทั้งนี้ผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://federalregister.gov/a/2010-32485 และดูตัวอย่างฉลากได้ที่ &nb! sp; http://www.fsis.usda.gov/PDF/Nutrition_Panel_Format.pdf ทั้งนี้ถ้าต้องการแสดงฉลากเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษร่วมด้วย (Bilingual Nutrition Facts Label) บนฉลาก ให้แสดงภาษาที่สองตามหลังภาษาอังกฤษ เช่น Calories/Calorías 260 Calories from Fat/ Calorías de Grasa 120 ที่มา : U.S. Department of Agriculture's Food Safety and Inspection Service (FSIS)(06/03/55)

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

ซื้อยามาฉีดเอง ต้องดู!

ที่มา http://amnuaycowtech.blogspot.com/ ได้ดูโฆษณา เครื่องดื่มบำรุงกำลังยี่ห้อหนึ่งที่มีคำในโฆษณาว่ามีวิตามิน บี 12 ล่าสุดมีโฆษณาตัวใหม่ออกมาที่พี่แอ็ด คาราบาวร้องเพลงท่อนหนึ่งว่า “ให้ดูที่ฉลาก ๆ “ ซึ่งประกอบกับการที่ผมได้ไปเห็นตู้ยาประจำฟาร์มหลายๆฟาร์มครับ มีขวดยาอยู่เยอะมากบ้างก็ใช้หมด บ้างก็ไม่หมด เหลือขวดละนิดอย่างละหน่อยแม้จะเป็นยาตัวเดียวกัน ยาบางขวดซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้เลยแต่ว่ายาเปลี่ยนสีแล้วครับหมดอายุแล้วก็มี น่าเสียดาย บทความฉบับนี้ผมจึงอยากนำเสนอการอ่านฉลากยาและเลือกใช้ยาอย่างถูกต้องตามคำแนะนำบนฉลาก และใช้เท่าที่จำเป็น ให้คุ้มค่ากับเงินที่ซื้อมามากที่สุดครับ ขั้นตอนแรก อ่านควรดูข้อมูลยาจากกล่องยา ยาบางอย่างฉลากจะอยู่ในกล่องอย่างมิดชิด เจ้าของร้านคงไม่ให้เราเปิดกล่องยานำฉลากออกมาอ่านก่อนซื้อหรอกใช่มั้ยครับ ข้อมูลเบื้องต้นในกล่องยาซึ่งจะคล้ายๆกับสติกเกอร์ที่ติดในขวดยาคือข้อมูลทั่วไปที่มีอย่างละเอียดในฉลากยา แต่สิ่งแรกที่อยากให้ดูคือดูว่ายามีทะเบียนหรือไม่ ดูวันหมดอายุของยาซี่งจะเขียนอย่างชัดเจนว่า ยาสิ้นอายุ : , วันสิ้นอายุ , หรือ ExP. Date จะได้ทราบว่ายานี้หมดอายุหรือยังหรือว่าใกล้หมดอายุแล้ว เราจะใช้ทันจนหมดหรือไม่ สำหรับยาบางชนิดที่เป็นขวดไม่มีกล่องหุ้มให้สังเกตุสีของยาว่ามีการเปลี่ยนสีหรือไม่ หากยาเปลี่ยนสีแสดงว่ายาหมดอายุ หรือโดนแสงแดดการเก็บรักษาไม่ถูกต้อง ยาบางชนิดจะมีการตกตะกอนเช่น ยาอม็อกซี่ ยาเพ็นสเตร็ป ให้ลองเขย่าแรงๆสัก4-5 รอบแล้วดูว่ายาละลายเป็นเนื้อเดียวกันหรือไม่ นี้เป็นข้อพิจาณาก่อนซื้อยาเบื้องต้นครับ ขั้นตอนต่อมาเมื่อซื้อยามาแล้วให้แกะฉลากยาออกมาอ่านให้เข้าใจก่อนใช้ยาครับ ซึ่งฉลากยาจะประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ 1. ชื่อยา ซึ่งมีทั้งชื่อทางการค้า หรือชื่อยี่ห้อ เป็นชื่อที่ทางบริษัทผู้ผลิตเป็นคนตั้งชื่อ และชื่อสามัญทางยา ยกตัวอย่างยาในคน ชื่อทางการค้าว่าซาร่า ,ซีมอล.. ชื่อสามัญทางยาคือ พาราเซตามอล นั่นเองเพียงแต่ว่าเจ้ายาพารามันมีหลายบริษัทหรือหลายยี่ห้อเท่านั้นเองครับ แต่โดยส่วนมากแล้วคนมักจะจำชื่อทางการค้าได้เนื่องจากได้ยินในโฆษณาและในฉลากยาก็มักจะมีขนาดตัวอักษรใหญ่กว่าชื่อสามัญทางยาด้วย 2. เลขทะเบียนยา เรามักจะได้ยินกันว่า ยามีทะเบียน กับยาไม่มีทะเบียน สำหรับยามีทะเบียนนั้นมักจะมีข้อเสียคือมันแพง จึงมียาลอกเลียนแบบ หรือยาปลอมคือยาที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง ไม่ได้มีการตรวจพิสูจน์คุณภาพ ความเป็นอันตรายใดๆ บางอย่างทำกันง่ายมากเขย่าๆหลังบ้านก็นำมาขายได้แล้วจึงมีราคาถูกมากแต่ไม่รับรองผลการใช้นะครับ วกมาเข้าเรื่องครับ คำว่า Reg.No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา เขาจะเขียนด้วยเลขทะเบียน เช่น 2F 35/50 ซึ่งมีความหมายดังนี้ตัวเลขหน้าตัวอักษร แสดงถึงจำนวนตัวยาสำคัญในยานั้น เลข 1 จะมีตัวยาออกฤทธิ์เพียงตัวเดียวส่วนเลข 2 จะมีตัวยาออกฤทธิ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ตัวอักษรภาษาอังกฤษจะมีตั้งแต่ A-K , ยาสำหรับสัตว์จะนำหน้าด้วยอักษร D ,E หรือF ที่เหลือจะเป็นยาสำหรับคน หากเป็นอักษร D จะเป็นยาผลิตในประเทศ E เป็นยานำหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศแล้วนำมาทำการแบ่งบรรจุ (repack)ในประเทศ F เช่นยาในตัวอย่างนี้จะเป็นยานำเข้าหรือสั่งเข้าจากต่างประเทศ ส่วนตัวเลขต่อจากภาษาอังกฤษจะเป็นลำดับที่ที่ได้รับอนุญาติให้ขึ้นทะเบียนตำรับยา และทับเลขท้ายด้วย ปี พ.ศ.ที่ขึ้นทะเบียนยา 3. ส่วนประกอบของยา จะบอกส่วนประกอบที่เป็นตัวยาออกฤทธิ์คือยาอะไร ซึ่งชื่อจะคล้ายกับชื่อสามัญทางยานั้นละครับ เช่นบอกว่าส่วนประกอบใน 1 ซีซี ประกอบด้วยยา 1.2 3. อะไรบ้าง ยาบางยี่ห้ออาจบอกส่วนประกอบใน 100 ซีซีก็ได้ครับตรงนี้อาจจะปวดหัวนิดหน่อยเพราะเป็นชื่อยาภาษาอังกฤษซะเป็นส่วนใหญ่ 4. สรรพคุณ ข้อบ่งใช้ของยา จะบอกอย่างกว้างๆว่ายาตัวนี้เหมาะสำหรับการรักษาหรือป้องกันโรคอะไร ใช้ในกรณีไหนได้บ้าง เหมาะกับเชื้อโรคตัวไหนได้ผลดี รักษาโรคในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร หรือทางเดินปัสสาวะได้ผลดี 5. ขนาดและวิธีใช้ จะบอกว่าในสัตว์แต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็น หมู หมา ไก่ วัว ควาย จะต้องใช้ยามากน้อยขนาดไหน คือฉีดกี่ซีซีต่อน้ำหนักตัวกี่กิโลกรัม ฉีดวันละกี่ครั้ง กี่วัน วิธีการใช้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เข้าเส้นเลือด หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือได้หลายวิธีก็ต้องปฎิบัติตามนะครับ 6. การหยุดยา จะบอกว่าต้องต้องหยุดใช้ยานี้กี่วันก่อนส่งโรงฆ่าสำหรับบริโภคเนื้อ หรือหยุดใช้ยากี่วันกี่มื้อรีดนมสำหรับโคนมหรือแพะนม อันนี้เราต้องคิดถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วยนะครับ 7. คำเตือน หรือข้อห้าม เช่นให้เขย่าขวดก่อนใช้ยา หรือห้ามใช้กับสัตว์ที่เป็นโรคใต หรือห้ามใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาอีกชนิดหนึ่ง หรือห้ามผสมในไซริงค์เดียวกัน ห้ามใช้กับสัตว์ท้อง เป็นต้น ส่วนคำว่า“ยาอันตราย” นั้นหมายถึงว่าหากใช้ไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและระยะเวลา อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เพราะฉะนั้นควรใช้ภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์ ซึ่งประเภทของยานี้จะเขียนด้วยตัวอักษรสีแดงอ่านได้ชัดเจน 8. เลขที่ หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ ซึ่งมักใช้คำย่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Lot No., Cont.No., Batch No. หรือ L,C,L/C,B/C แล้วตามด้วยเลขแสดงครั้งที่ผลิต 9. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ยาที่ผลิตในประเทศต้องมีชื่อผู้ผลิตจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยาด้วย ในกรณที่เป็นยาผลิตในประเทศนำหรือสั่งเข้ามาต้องมีชื่อเมืองและประเทศที่ตั้งสถานที่ผลิตยา พร้อมทั้งชื่อของผู้นำหรือสั่งเข้ามาและจังหวัดที่ตั้งสถานที่นำ/สั่งยานั้น ๆ 10. การเก็บรักษา เช่นเก็บในที่เย็นหรืออุณหภูมิไม่มากกว่ากี่องศา ควรเก็บในที่พ้นแสง เก็บให้พ้นมือเด็ก เป็นต้น ซึ่งตรงนี้สำคัญมากเพราะหากเก็บรักษายาไม่ดีแล้วจะทำให้ยาเสื่อมคุณภาพเร็ว การรักษาไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง 11. วันหมดอายุ วันเดือนปีที่ผลิตยา มักมีคำย่อภาษาอังกฤษ Mfd. หรือ Mfg date. แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ผลิต ยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะจะมีการระบุวันที่หมดอายุ โดยมีคำย่อว่า Exp.Date ซึ่งย่อมากจาก Expiration Data แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ยานั้นหมดอายุ โดยมากแล้วยาที่นำเข้าจากต่างประเทศมักจะมีอายุการใช้ภายใน 2 ปีนับจากวันผลิต ส่วนยาที่ผลิตในประเทศไทยจะมีอายุการใช้งานก่อนหมดอายุนานกว่าครับ ถึงตอนนี้ทุกท่านคงจะทราบกันแล้วว่าฉลากหรือเอกสารกำกับยานั้น มีความสำคัญอย่างไร และให้ประโยชน์กับเรามากน้อยแค่ไหน อย่าลืมนะครับอ่านซักนิดก่อนซื้อ ดูให้ดีก่อนใช้ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเองครับ สวัสดี