หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

จีนออกข้อกำหนดอาหารสัตว์เลี้ยงนำเข้า

สำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) ออกข้อกำหนดกักกันโรคและสุขลักษณะของอาหารสัตว์นำเข้า (The Quarantine and Hygiene Requirements of the People’s Republic of China for Imports of Pet Food) มีผลให้ผู้ส่งออกอาหารสัตว์ไปยังจีน (ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยงกระป๋อง อาหารสัตว์เลี้ยงที่แปรรูปด้วยวิธีอื่น ของขบเคี้ยวสุนัข อาหารสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป เครื่องในที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

&n! bsp; ทั้งนี้ ผู้ส่งออกที่ต้องการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงไปจีนทุกรายจะต้องได้รับการประเมินและขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งต้องดำเนินการเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนภายใน 31 ธันวาคม 2554 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จีนจะระงับอาหารสัตว์เลี้ยงนำเข้าที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้รับการประเมินและขึ้นทะเบียนจากฝ่ายจีน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มกอช.และกรมปศุสัตว์




ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง ( 26 กันยายน 2554

มะกันเรียกคืนเนื้อหมูบด

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554 สำนักงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารสหรัฐฯ (FSIS) เปิดเผยว่า บริษัท K. Heeps รัฐเพนซิลเวเนีย เรียกคืนผลิตภัณฑ์เนื้อหมูบดละเอียด (pureed) จำนวน 5,550 ปอนด์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจปนเปื้อนชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็ก

บริษัทเรียกคืนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหลังจากผู้บริโภค 2 รายแจ้งว่าพบชิ้นส่วนโลหะขนาดเล็กปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ คาดการณ์ว่าชิ้นส่วนโลหะอาจหลุดออกมาจากเครื่องปั่นระหว่างการทำความสะอาดและการประกอบที่โรงงาน

ผลิตภัณฑ์ที่ถูกเรียกคืนคือ ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Imperial Sysco : Puree Shaped Meats Country Style Pork and Binder Product บรรจุในกล่องขนาด 4.5 ปอนด์ ผลิตเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 และส่งไปยังรัฐ แคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา อิลลินอยส์ เคนทักกี แมริแลนด์ มิสซูรี นิวยอร์ก โอไฮโอ เพนซิลเวเนีย เทกซัส ยูทาห์ เวอร์จิเนีย สำหรับใช้ในสถาบันต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานการเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว



ที่มา : Food Safety News (27 กันยายน 2554

จีนระบุเนื้อหมูปลอดภัยไร้สารเร่งเนื้อแดงเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรจีนระบุว่า เนื้อสัตว์ที่ปลอดสารเร่งเนื้อแดง Clenbuterol มีเพิ่มมากขึ้น หลังจากจีนปราบปรามการผลิตและการใช้สารดังกล่าวเป็นเวลากว่าสี่เดือน และจับกุมผู้เกี่ยวข้องได้กว่า 980ราย โดยสาร Clenbuterol เป็นสารปรุงแต่งอาหารต้องห้ามที่ใช้เผาผลาญไขมันซึ่งบางครั้งมีการใส่ในอาหารสุกรและเป็นสารพิษ

กระทรวงเกษตรจีนอ้างว่า 99.3% ของผลิตภัณฑ์จากสัตว์ผ่านการทดสอบของกระทรวงฯเพื่อตรวจสาร clenbuterol ในรอบที่สอง และผลปรากฎว่ามีระดับดีที่สุดเหนือกว่าปี 2544



ที่มา : All About Feed ( 29 กันยายน 2554 )

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

กำจัดหมู่สัตว์ปีกเบงกอลหลังไข้หวัดนกระบาด

หนังสือพิมพ์เดอะ ไทมส์ ออฟ อินเดีย รายงานว่า การระบาดของไข้หวัดนกในพื้นที่ของรัฐเบงกอลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอนุทวีปอินเดีย (ประกอบด้วยอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ) ส่งผลให้เกิดการกำจัดสัตว์ปีกใน 13 หมู่บ้าน

A K Agarwar รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเปิดเผยว่ามีการกำจัดแม่ไก่และเป็ดประมาณ 51,000 ตัวในรัศมี 3 กิโลเมตรจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก นอกจากนี้ยังคงจะดำเนินการตรวจติดตามไข้หวัดนกในรัศมี 10 กิโลเมตรอีกด้วย

ศูนย์พัฒนาทร! ัพยากรสัตว์ในรัฐเบงกอลได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 เกิดการตายหมู่ของสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ 849 ตัวในวันเดียว และมีการส่งตัวอย่างไปทดสอบหาเชื้อไข้หวัดนกในห้องปฏิบัติการ Belgachhia และห้องปฏิบัติการ HSADL ในเมือง Bhopal ต่างก็ได้รับการยืนยันจากทั้งสองแห่งว่าพบเชื้อไข้หวัดน



ที่มา : World Poultry

เชื้อ anthrax ระบาดในอิตาลี

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์อิตาลีรายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของเชื้อ anthrax ในอิตาลี รายงานระบุว่า มีการระบาดของเชื้อดังกล่าว 10 ครั้ง

ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่เขต Basilicata ทางตอนใต้ของอิตาลี การระบาดเริ่มตั้งแต่วันที่ 6- 18 กันยายน 2554 สัตว์ที่ติดเชื้อดังกล่าวได้แก่ วัว แกะ แพะ และม้า โดยวัวจำนวน 12 ตัวจาก 213 ตัวที่ติดเชื้อล้มตาย
ทั้งนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุของการแพร่ระบาด



ที่มา : The Dairy Site

อินโดปฏิเสธไข่มาเลย์

กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียเพิ่งปฏิเสธคำขอของหอการค้าจังหวัดหมู่เกาะRiauที่จะขอนำเข้าไข่จากมาเลเซียเนื่องจากตามกฎระเบียบที่18/2009ปศุสัตว์และสาธารณสุขสัตว์ของอินโดนีเซีย รัฐบาลจะนำเข้าสินค้าอาหารที่ได้จากสัตว์ก็ต่อเมื่อผลผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคเท่านั้น แต่ผลผลิตไข่ในจังหวัดดังกล่าวและที่มีเพิ่มเติมจากเกาะสุมาตรานั้นอาจเพียงพอต่อการบริโภค ทั้งนี้ความต้องการบริโภคไข่ของหมู่เกาะ Riau อยู่ที่ประมาณ42.5ตันต่อวัน ขณะที่กำลังผลิตในพื้นที่อยู่วันละ7.5ตัน โดยส่วนที่ต่างกันอยู่จะสามารถหาไข่เสริมจากเกาะสุมาตราได้

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จากหอการค้าจังหวัดหมู่เกาะ Riau ระบุว่าเหตุที่หอการค้าฯขออนุญาตนำเข้าไข่จากมาเลเซียก็เนื่องจากต้องการไม่ให้ไข่ขึ้นราคาในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ เพราะไข่ที่นำเข้าจากมาเลเซียราคาถูกกว่า(ฟองละ 680รูเปียห์)ไข่ที่มาจากเกาะสุมาตรา(ฟองละ 825รูเปียห์)นอกจากนี้ถ้าสั่งซื้อไข่จากเกาะสุมาตราเหนือต้องใช้เวลาขนส่งถึง 2วัน ขณะที่ใช้เวลาขนส่งไข่จากมาเลเซียเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ไข่สดใหม่กว่า ถือเป็นประการหนึ่งที่ทางหอการค้าฯใช้ในการพิจารณาเพื่อขอนำเข้าไข่จากมาเลเซีย

จนถึงปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯ เพิ่งจะอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปเช่น ผงไข่ ผงไข่ขาว และถาดใส่ไข่ซึ่งยังไม่มีการผลิตในอินโดนีเซีย






ที่มา : World Poultry

สิงคโปร์ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวจากไอร์แลนด์อีกครั้ง

นาย Simon Coveney รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรอาหารและทะเลไอร์แลนด์รายงานว่าสิงคโปร์อนุญาตการนำเข้าเนื้อวัวจากไอร์แลนด์ที่ผลิตจากวัวอายุต่ำกว่า30เดือน หลังจากที่ได้ระงับการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน

นาย Simon Coveney ระบุว่าสิงคโปร์อนุญาตการนำเข้าเนื้อวัวจากไอร์แลนด์หลังจากทีมสัตวแพทย์สิงคโปร์เข้าไปตรวจสอบระบบการควบคุมคุณภาพเนื้อวัวที่ไอร์แลนด์ในเดือนกรกฎาคม 2554 ประกอบกับ
การที่ไอร์แลนด์ติดต่อกับสิงคโปร์เป็นระยะเวลานาน

นอกจากนี้ นาย Simon Coveney กล่าวว่าแม้ว่าขณะนี้การส่งออกเนื้อวัวได้รับอนุญาตเฉพาะเนื้อวัวที่มาจากวัวอายุต่ำกว่า 30 เดือน และเป็นเนื้อวัวที่มาจากโรงงานที่ได้รับอนุญาต แต่คาดการณ์ว่าในอนาคต มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเจราจาเพื่อเพิ่มอายุวัวและเพิ่มจำนวนโรงงานผลิตที่ได้รับอนุญาต





ที่มา : The Meat Site

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ออสซี่เสนอเปลี่ยนมาตรฐานกำหนดค่า MRLs

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2554 ออสเตรเลียแจ้งเวียนต่อสมาชิกองค์การการค้าโลกเสนอแก้ไขข้อกำหนดมาตรฐาน Australia New Zealand Food Standards Code เพื่อกำหนดค่า MRLs สำหรับสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรและสุขภาพสัตว์เพื่อให้สอดคล้องกับกฏระเบียบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและใช้สารเคมีทางการเกษตร เปิดรับข้อคิดเห็นถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2554


ที่มา : มกอช. ( 20 กันยายน 2554

จีนออกมาตรฐานสินค้าไข่

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 จีนแจ้งเวียนต่อสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เรื่องมาตรฐานอาหารปลอดภัยแห่งชาติเกี่ยวกับไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่โดยกำหนดในผลิตภัณฑ์ไข่สัตว์ปีกทุกชนิด รวมทั้ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีวิธีการเก็บรักษา เช่น การแช่เย็น การแช่ การเคลือบ การฆ่าเชื้อโรค การควบคุมอากาศ และการเก็บรักษาแบบแห้ง เพื่อสร้างความมั่นใจว่ารักษาคุณภาพไข่ให้สด และใช้กับผลิตภัณฑ์ไข่ที่เป็นน้ำ ผลิตภัณฑ์ไข่แห้ง ผลิตภัณฑ์ไข่ที่เป็นน้ำแข็ง และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ที่ใช้ไข่ไก่สดเป็นวัตถุดิบหลักหรือปราศจากสารเสริม เปิดรับข้อคิดเห็นถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2554


ที่มา : มกอช. ( 20 กันยายน 2554 )

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

นักวิจัยเมืองผู้ดีชี้กินเนื้อสัตว์ไม่สุกเสี่ยงติดเชื้อ Campylobacter

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Leicester และมหาวิทยาลัย Nottingham ในอังกฤษกำลังวิจัยเชื้อ Campylobacter jejuni ที่เกิดในสัตว์ปีก ซึ่งเป็นงานวิจัย 1 ใน 12 โครงการสหสาขาวิชา มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่เชื้อ Campylobacter สามารถอยู่รอดได้ในห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ในแหล่งเลี้ยงสัตว์ปีกไปจนถึงการจำหน่ายในร้านอาหาร และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวต่อไป

งานวิจัยข้างต้น ระบุว่าเนื้อสัตว์ปีกที่ปรุงไม่สุกหรือผ่านกรรมวิธีที่ไม่ถูกสุขลักษณะมีโอกาสสูงที่จะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter jejuni ซึ่งสัตว์ปีกส่วนใหญ่จะทนต่อแบคทีเรียชนิดนี้และไม่แสดงอาการเจ็บป่วย โดยแบคทีเรียดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในล้ำไส้ แต่หากมนุษย์บริโภคเนื้อสัตว์ปีกที่ปนเปื้อนก็จะล้มป่วยแม้จะปนเปื้อนในปริมาณน้อยก็ตาม

ทั้งนี้ เชื้อแบคทีเรีย Campylobacter jejuni นับว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มนุษย์ล้มป่วยจากการบริโภคเนื้อสัตว์ปีก




ที่มา : World Poultry ( 16 กันยายน 2554

โรคบลูทังก์อาจระบาดเพิ่มเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Liverpool สหราชอาณาจักร คาดการณ์ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นในยุโรปเหนืออาจทำให้โรคบลูทังก์แพร่ระบาดเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2542 ถึง 2553 มีการระบาดของโรคบลูทังก์ในยุโรป กว่า 80,000 ครั้ง และมีสัตว์ล้มตายนับล้านเนื่องจากการระบาดดังกล่าว โดยเชื่อว่าการระบาดในยุโรปมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น เพราะทำให้แมลงซึ่งเป็นพาหะของไวรัสสามารถแพร่เชื้อสู่ภูมิภาคได้สะดวกยิ่งขึ้น

ทีมนักวิจัยได้สร้างโมเดลคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคบลู! ทังก์ในยุโรปภายใต้สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน โดยตรวจสอบผลกระทบของภูมิอากาศในอดีตในช่วง 50 ปีก่อนเพื่อทำความเข้าใจปัจจัยเฉพาะที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งและทั่วเขตภูมิศาสตร์ และเพิ่มช่วงระยะเวลาขึ้นเรื่อยๆจนถึงปี 2593 โดยสร้างโมเดลการทำนาย ซึ่งคาดการณ์ว่าในยุโรปเหนือจะมีการแพร่ระบาดของโรคบลูทังก์เพิ่มขึ้น 17 % ส่วนยุโรปใต้จะมีการระบาด 7 % เนื่องจากในอนาคต ยุโรปเหนือจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก

แม้ว่า การศึกษาพบว่าภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนแปลงการกระจายของโรค และจากความรู้ที่ว่าภูมิอากาศมีผลต่อการเกิดโรคบางชนิด แต่ยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวิจัยดังกล่าว




ที่มา : The Cattle Site ( 16 กันยายน 2554 )

ยูเออีไฟเขียวนำเข้าไก่สดจากไทยแล้ว

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2554 กระทรวงสิ่งแวดล้อมและน้ำของรัฐบาลยูเออีได้ออกคำสั่งเลขที่ 200/2011 ว่าด้วยการนำเข้าสัตว์จากราชอาณาจักรไทยตามกฎกระทรวงเลขที่ 354/2011 ว่าด้วยเงื่อนไขการนำเข้าสัตว์ปีกที่มีชีวิตทุกประเภท เนื้อสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก ไข่ฟักและลูกสัตว์ปีกที่มีอายุ 1 วันจากประเทศในทวีปเอเชีย และตามคำขอจากหน่วยงานของไทย ขอให้ยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่จากราชอาณาจักรไทย

ตามมาตรา 1-3 ของคำสั่งดังกล่าว อนุญาตให้นำเข้าสัตว์ปีกจากประเทศไทยได้ โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฯ เลขที่ 354/2011 โดยให้กรมกักกันโรคสัตว์และกรมความปลอดภัยด้านอาหารของกระทรวงฯ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อถือปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ออกคำสั่งฉบับนี้ (5 กันยายน 2554)



ที่มา : กรมปศุสัตว์ ( 16 กันยายน 2554 )

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคไข้หวัดสุกรแอฟริกันคร่าชีวิตหมูอูกันดานับร้อย

โรคไข้หวัดสุกรแอฟริกา (ASF) กำลังระบาดในอูกันดา ถึงขณะนี้มีสุกรตายด้วยโรคดังกล่าวตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 เป็นจำนวนกว่า 600 ตัว โดยพบการระบาดใน 14 พื้นที่ในเขต Gulu และมีเพียง 2 พื้นที่เท่านั้นที่ไม่มีการระบาด

ก่อนหน้านี้ทางการได้เตือนและให้คำแนะนำเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกรไว้ในที่ปลอดภัย และไม่ให้สุกรสัมผัสกับสัตว์ที่ตายแล้ว อย่างไรก็ตาม Dr. Tony Aliro เจ้าหน้าที่สัตว์แพทย์ระบุว่าเนื่องจากมีการเลี้ยงสุกรแบบเปิด จึงทำให้สุกรส่วนมากตาย

Dr. Aliro ยังพูดเสริมว่าโรค ASF อาจะระบาดต่อไปยังเขตอื่นๆในภูมิภาค จากข้อมูลของกรมสัตวแพทย์ โรค ASF ได้คร่าชีวิตสุกรสัปดาห์ละ 40 ตัวในเขต Gulu



ที่มา : Pig Progress ( 12 กันยายน 2554

ฟิลิปปินส์ตั้งเป้าส่งออกสัตว์ปีกเพิ่มจากวิกฤติไข้หวัดนกในเอเชีย

ฟิลิปปินส์เล็งเห็นโอกาสที่จะส่งออกสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นในจีนและเวียดนาม หลังมีรายงานว่าการระบาดไข้หวัดนกของทั้งสองประเทศกระทบอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศเหล่านี้

Salvador Salacup ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกล่าวในการเปิดงาน Foods & Drinks Asia 2011 ที่จัดขึ้นในฟิลิปปินส์ว่า ฟิลิปินส์สามารถเจาะตลาดทั้งสองประเทศเพื่อส่งออกไก่ได้ เพราะว่าจีนและเวียดนามไม่สามารถพึ่งพาสัตว์ปีกในประเทศได้แล้วในขณะนี้

ปัจจุบันฟิลิปินส์ผลิตสัตว์ปีกให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ 93% ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระหว่างจับตาสถานการณ์ไข้หวัดนกในจีนและเวียดนาม และประกาศว่าไม่ได้นำเข้าไก่จากจีนและเวียดนาม นอกจากนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ได้ระงับการนำเข้าสัตว์ปีกเวียดนามอีกด้วย

Salacup ยังกล่าวว่าฟิลิปปินส์ยังคงปลอดไข้หวัดนก และจะไม่ยอมให้อุตสาหกรรมสัตว์ปีกและประชาชนต้องเสี่ยงกับโรคไข้หวัดนกด้วยการนำเข้าสัตว์ปีกที่เป็นโรคเข้ามาในประเทศ ฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ประเทศพื้นบ้านยังคงสามารถนำเข้าไก่ได้



ที่มา : World Poultry (12 กันยายน 2554)

ครึ่งปีแรก สวีเดนผลิตเนื้อหมูลดลงเล็กน้อย

ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2554 สวีเดนผลิตเนื้อหมูลดลงเล็กน้อยกว่าปี 2553 0.7% คิดเป็นปริมาณผลิตรวม 125,000 ตัน โดยในช่วงนี้มีการนำสุกรเข้าโรงเชือด 1.4 ล้านตัวขณะที่ปี 2553 เข้าโรงเชือด 1.41 ล้านตัว จากสถิติของสำนักงานบริการเกษตรของสวีเดน ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554 สุกรถูกเชือดลดลง 4.2% เทียบกับตัวเลขที่สูงขึ้น 2.2% ของมกราคม-มีนาคม 2554

การที่ตัวเลขไตรมาสที่ 2 ลดลงคาดว่าเป็นเพราะผลิตภัณฑ์สุกรในสวีเดนจำหน่ายไม่ได้กำไร ก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมสุกรเรียกร้องให้มีการช่วยเหลือเพราะไม่สามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมสุกรของปร! ะเทศอื่นๆในสหภาพยุโรปได้




ที่มา : Pig Progress (13 กันยายน 2554)

มะกันเรียกคืนเนื้อไก่งวงบด

บริษัท Cargill เรียกคืนผลิตภัณฑ์เนื้อไก่งวงบดไขมันต่ำ85% ปริมาณ 185,000 ปอนด์ ซึ่งผลิตที่โรงงานเมืองSpringdale รัฐ Arkansas โดยสมัครใจเนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจปนเปื้อนเชื้อ Salmonella Heidelberg

บริษัท Cargill เรียกคืนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหลังจากกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) ตรวจพบเชื้อsalmonella Heidelbergในหนึ่งตัวอย่างระหว่างตรวจสอบโรงงานหลังจากที่มีการเรียกคืนสินค้าในเดือนสิงหาคม 2554 โดยพบเชื้อดังกล่าวในระดับต่ำและเป็นเชื้อเดียวกันกับที่ตรวจพบครั้งก่อนซึ่งทำให้มีผู้เจ็บป่วยจากการติดเชื้อ



บริษัท Cargill ระงับการผลิตเนื้อไก่งวงบดที่โรงงานในเมือง Springdale โดยสมัครใจจนกว่าจะมีมาตรการแก้ไขเพิ่มขึ้นประกอบกับได้รับการทบทวนและอนุมัติจาก USDA แต่ไม่มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ไก่งวงอื่นๆซึ่งผลิตที่โรงงานเมือง Springdale ทั้งนี้ Cargil lมีโรงงานแปรรูปไก่งวง4แห่งในสหรัฐ และไม่มีผลิตภัณฑ์จากโรงงานทั้ง3แห่งถูกเรียกคืนในครั้งนี้














ที่มา : World Poultry ( 14 กันยายน 2554 )

อียูไฟเขียวนำเข้าสุกรจากลิธัวเนียและนกกระจอกเทศจากแอฟริกาใต้

สหภาพยุโรปอนุญาตให้สามารถนำเข้าสุกรมีชีวิต เนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์จากสุกรจากลิธัวเนีย เนื่องจากลิธัวเนียได้ยืนยันว่าการตรวจสอบที่จำเป็นทั้งหมดก่อนส่งออกผลิตภัณฑ์สุกรไปสหภาพยุโรปนั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคอหิวาต์สุกร (Classical Swine Fever) ในประเทศยุโรปตะวันออกในช่วงฤดูร้อน 2554

นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังอนุญาตให้นำเข้านกกระจอกเทศมีชีวิต ไข่ เนื้อ และผลิตภัณฑ์เนื้อนกกระจอเทศจาก8มลรัฐในแอฟริกาใต้ยกเว้นเพียงรัฐ Western Cape เพียงรัฐเดียวที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N2ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปห้ามนำเข้าจากทั้งประเทศแต่หลังจากแอฟริกาสามารถจำกัดการระบาดไว้เพียงรัฐเดียว สหภาพยุโรปจึงผ่อนปรนอนุญาตให้นำเข้าจาก 8 มลรัฐที่เหลือ






ที่มา : Food Production Daily ( 14 กันยายน 2554

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ไข้หวัดหมูป่วน ทำเด็กมะกันป่วย 2 ราย

                ศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) รายงานว่าเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เด็กชายจากรัฐอินเดียน่า และเด็กหญิงจากรัฐเพนซิลวาเนียซึ่งทั้งคู่อายุน้อยกว่า 5 ปี ติดโรคไข้หวัดใหญ่จากสุกร (H3N2) ในเดือนกรกฎาคม และ สิงหาคม 2554 โดยแสดงอาการในกลุ่มอาการไข้ (fabrille illness)

                ตามรายงาน เด็กหญิงจากรัฐเพนซิลวาเนียไปร่วมงานนิทรรศการเกษตร ซึ่งเธอได้สัมผัสโดยตรงกับสุกรและสัตว์อื่นๆขณะที่พี่เลี้ยงเด็กของเด็กชายจากรัฐอินเดียน่าตามรายงานระบุว่าเขาสัมผัสโดยตรงกับสุกรที่ไม่แสดงอาการของโรค กรณีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไวรัสดังกล่าวอาจแพร่จากจากคนสู่คนได้
               จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการระบาดที่เกิดจากผู้ป่วยทั้งสองราย และยังไม่พบคนติดไข้หวัดสุกรสายพันธุ์นี้เพิ่มเติม โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza A) เป็นโรคระบาดที่พบในสัตว์หลายชนิดได้แก่ คน สุกร นกป่า มักจะแพร่ระบาดระหว่างมนุษย์และสัตว์เป็นช่วงๆ เช่นไข้หวัดใหญ่ H5N1 และ H7N1ที่แพร่จากสัตว์ปีกสู่มนุษย์ และไข้หวัดใหญ่ H1N1, H1N2 และ H3N2 ที่แพร่จากสุกรเป็นต้น


 
 
ที่มา : Pig Progress ( 9 กันยายน 2554 )

มะกันเรียกคืนผลิตภัณฑ์นม

 
                บริษัท Ludwig Dairy Products, Inc. ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐฯ เรียกคืนนม ชีสและผลิตภัณฑ์นม หลังจากกระทรวงสาธารณสุขของรัฐพบว่า อุปกรณ์พาสเจอร์ไรส์ทำงานผิดพลาดทำให้น้ำนมดิบมีโอกาสปนเปื้อนน้ำนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบระบุว่าปั๊มที่มีระบบควบคุมซึ่งออกแบบมาเพื่อหยุดกระบวนการผลิตถ้าความดันน้ำนมดิบเกินกว่าความดันน้ำนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ ไม่ทำงานและมีการเปลี่ยนปั๊มดังกล่าวด้วยปั๊มที่ไม่ได้ต่อเข้ากับระบบควบคุม ดังนั้นบริษัทจึงเรียกคืนผลิตภัณฑ์ของซึ่งมีวางจำหน่ายในรัฐอิลลินอยส์ อินเดียนนา นิวเจอร์ซีและนิวยอร์ก

               &! nbsp;อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ของบริษัท และกระทรวงสาธารณสุขของรัฐได้เตือนประชาชนไม่ให้บริโภคผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวจนกว่าอุปกรณ์การพาสเจอร์ไรส์จะทำงานได้ตามปกติ
 
 
 
ที่มา : Food Safety News ( 9 กันยายน 2554 )

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ฟิลิปินส์ยึดเนื้อหมูกลิ่นเหม็น 400 โล

เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขสัตว์ในกรุงมะนิลายึดเนื้อหมูกลิ่นไม่ดี400กิโลกรัมในรถสามล้อที่อยู่ระหว่างนำส่งให้ตลาด Divisoriaในเขต Divisoriaคาดว่าอาจเป็นเพราะความละเลยของเจ้าหน้าที่และเกรงว่าอาจมีการจำหน่ายให้ผู้บริโภคแล้ว

ตามรายงานเนื้อหมูดังกล่าวจะนำมาผสมกับเนื้อสดเพื่อนำออกไปจำหน่ายและยังไม่มีรายละเอียดว่าใครเกี่ยวของกับเหตุการณ์ในครั้งนี้

Dr. Hector! Dimaculanganเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานสาธารณสุขสัตว์ของกรุงมะนิลาเปิดเผยว่ากรณีนำเนื้อกลิ่นไม่ดีมาจำหน่ายอาจมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส





ที่มา : Pig Progress ( 7 กันยายน 2554 )

จีนไฟเขียวปลาป่นจากปากีส

เจ้าหน้าที่จากกระทรวงประมงทางทะเลปากีสถานรายงานว่าจีนอนุญาตให้นำเข้าปลาป่นจากปากีสถานหลังจากสำนักควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน(AQSIQ)เริ่มส่งทีมงานตรวจสอบตั้งแต่ปี 2554 เข้ามาตรวจสอบคุณภาพโรงงานในปากีสถานและในหลายๆประเทศที่ส่งออกปลาป่นไปยังจีน

นอกจากนี้โรงงานปลาป่น5แห่งในปากีสถานยังได้รับอนุญาตจากหน่วยงานดังกล่าว โดยปากีสถานมีกำลังการผลิตปลาป่น52,000ตันต่อปี นอกจากจีนแล้วปากีสถานยังส่งออกปลาป่นไปศรีลังกา อียิปต์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย รัสเสีย และเวียดนาม

ปากีสถานส่งออกปลาป่น42,500ตันในเดือนกันยายนปี2551ขณะที่การส่งออกลดลงเหลือ35,200 ตันในเดือนพฤศจิกายน2552 เหลือ35,200 ตัน เนื่องจากการจับปลาและการผลิตที่ลดลง

อย่างไรก็ตามปากีสถานยังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปเนื่องจากสหภาพยุโรปถอดรายชื่อผู้ส่งออกอาหารทะเลปากีสถานในเดือนเมษายน 2550โดยมีผู้ส่งออกจำนวน11รายจาก 28รายเท่านั้นที่ได้รับอนุญาต แต่ในปัจจุบันสหภาพยุโรประงับการนำเข้าปลาป่นจากปากีสถานทั้งหมด โดยสหภาพยุโรปให้เหตุผลว่า ปากีสถานขาดระบบการตรวจสอบย้อนกลับและขาดระบบลูกโซ่ความเย็นที่ดี ซึ่งระบบลูกโซ่ความเย็นต้องสามารถรักษาอุณหภูมิที่6°C สำหรับปลาสดและ-12°C สำหรับปลาแช่แข็ง





ที่มา : All About Feed ( 7 กันยายน 2554

พบไวรัสพารามิกโซในนกพิราบออสเตรเลีย

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 กระทรวงเกษตรออสเตรเลีย รายงานว่า นกพิราบในรัฐวิคตอเรียจำนวนมากล้มตายเนื่องจากติดเชื้อไวรัสตระกูลพารามิกโซเป็นครั้งแรกในออสเตรเลียซึ่งไวรัสดังกล่าวสามารถแพร่เชื้อมาสู่มนุษย์ได้

ดร. Mark Schipp หัวหน้าเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ ระบุว่านกที่เลี้ยงไว้เป็นงานอดิเรกล้มตายจากไวรัสดังกล่าวและไวรัสอาจแพร่ระบาดในฝูงไก่ในรัฐวิกตอเรีย โดยนกที่ติดเชื้อล้มตายทันทีมีอาการเหนื่อยหรือแสดงอาการทางประสาทเช่น เดินเป็นวง หัวฟาด นอกจากนี้ ไวรัสดังกล่าวยังสามารถทำให้เกิดโรคตาแดงหรืออาการคล้ายเป็นไข้หวัดในมนุษย์ อย่างไรก็ตามโอกาสที่มนุษย์จะติดเชื้อดังกล่าวน้อยมากและมักเกิดขึ้นกับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดโดยตรงกับนกที่ติดเชื้อ

ในขณะนี้ ยังไม่มีรายงานว่ามีนกป่าล้มตายจากไวรัสดังกล่าว




ที่มา : Xinhua ( 7 กันยายน 2554

วุฒิสภาออสซี่เรียกร้องติดฉลากเนื้อสัตว์

Corey Bernadi วุฒิสภาจากรัฐ South Australia เรียกร้องให้มีการติดฉลากเนื้อสัตว์บอกวิธีการเชือด เช่นการใช้ปืนสลบก่อนเชือด รวมถึงบอกการเชือดตามหลักศาสนาเช่นเนื้อฮาลาลหรือเนื้อโคเชอร์ การเคลื่อนไหวดังเกิดขึ้นหลังมีการเปิดเผยภาพเคลื่อนไหวที่วัวออสเตรเลียถูกทารุณในโรงเชือดอินโดนีเซียหลายแห่ง อีกทั้งประชาชนบางคนมีความรู้สึกด้านจริยธรรมที่ไม่ต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกเชือดตามหลักศาสนา เช่นเนื้อฮาลาลและเนื้อโคเชอร์(ซึ่งไม่มีการทำให้สลบก่อนเชือด) แต่เนื่องจากไม่ติดฉลากบอกวิธีการเชือดที่ชัดเจน จึงทำให้ผู้บริโภคไม่ทราบวิธีการเชือดเนื้อสัตว์ ทำให้ผู้บริโภคอาจบริโภคเนื้อสัตว์ที่เชือดตามหลักศาสนาโดยไม่รู้ตัว




ที่มา : Halal Focus ( 8 กันยายน 2554 )

เกษตรกรเลี้ยงหมูนิวซีแลนด์ประท้วงกระทรวงเกษตร

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2554 เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจากทั่วเกาะ North Island และสมาชิกรัฐสภารวมตัวกันหน้ารัฐสภาเพื่อประท้วงข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ (MAF) ในการลดมาตรฐานเนื้อสุกรสดนำเข้า โดย MAFต้องการลดมาตรฐานนำเข้าเพื่อให้เนื้อสุกรสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการที่ทำให้ปลอดโรคกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจ (PRRS)

นาย Ted Gane ประธานผู้ผลิตสุกรเขต Taranaki และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรกล่าวว่า MAF ต้องการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเนื่องจากความกดดันทางการค้าจากต่างประเทศ แต่ถ้า MAF นำมาตรฐานดังกล่าวมาใช้ ! เชื้อPRRS จะแพร่ระบาดทั่วนิวซีแลนด์และอุตสาหกรรมสุกรในประเทศอาจล้ม และไม่สามารถฟื้นตัวได้ และมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบันนี้เป็นมาตรฐานที่ดีทำให้โรค PRRS ไม่แพร่เข้าสู่นิวซีแลนด์ดังนั้น จึงต้องการให้ใช้มาตรฐานเดิม นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานจะเป็นการเพิ่มความกดดันให้แก่เกษตรกรที่ก่อนหน้านี้สามารถปรับตัวให้เข้ากับกฎหมายสวัสดิภาพสุกรใหม่ไปแล้ว




ที่มา : The Pig Site ( 8 กันยายน 2554 )

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

จีนเตรียมรับมือไข้หวัดนกช่วงเปลี่ยนฤดู

นาย Yu kangzhen เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์สูงสุดของจีนกล่าวว่า จีนกำลังเผชิญความท้าทายที่สำคัญในการควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว อย่างไรก็ตามโอกาสที่จะเกิดการระบาดไข้หวัดนกในวงกว้างยังคงน้อยอยู่

Yu เปิดเผยหลังสหประชาชาติเตือนว่าไข้หวัดนกอาจกลับมาระบาดอีกครั้งเนื่องจากไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ที่กลายพันธุ์และดื้อวัคซีนกำลังแพร่ระบาดในจีนและเวียดนาม
เชื้อไข้หวัดนกพบในสัตว์ปีกในฟาร์มและในธรรมชาติในพื้นที่ต่างๆ เป็นระยะๆ และไวรัสที่กลายพันธุ์ก็พบในสัตว์ปีกอีกด้วย

&n! bsp; เพื่อรับมือกับการระบาดครั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรได้สั่งให้ยกระดับการควบคุมไวรัสและออกแผนการสำหรับการเกิดไข้หวัดนกระบาด จากสถิติเปิดเผยว่าตั้งแต่ปี 2547 จีนเกิดการระบาดไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในจีนแผ่นดินใหญ่ 50 ครั้ง และเกิดในปี 2548 ปีเดียว 31 ครั้ง

ในปี 2554 จีนมีการทดสอบตัวอย่างสัตว์ปีกเกือบ 2.5 ล้านตัวกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดนก และกำลังจะมีการฉีดยาสัตว์ปีกป้องกันไข้หวัดนกครั้งใหญ่ทั่วประเทศเร็วๆ นี้ การดำเนินการเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการการควบคุมและป้องกันไข้หวัดนกอย่างจริงจัง



ที่มา : World Poultry ( 5 กันยายน 2554

หญ้าหวานบูมในสหรัฐฯ

รายงานจาก Packaged Facts ซึ่งบริษัทให้บริการข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดอาหารและเครื่องดื่ม ระบุว่า การใช้หญ้าหวาน (Stevia) ในสหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2554 โดยได้รับส่วนแบ่งในตลาดน้ำตาลและสารให้ความหวานเพิ่มขึ้นจาก 1.8 % ในปี 2553 เป็น 9.1 % ในปี 2554

คาดว่ามูลค่าการจำหน่ายหญ้าหวานในตลาดน้ำตาลและสารให้ความหวานจะเพิ่มขึ้นจาก 210.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2253 เป็น 1.192 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2554 ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของน้ำตาลคาดว่าจะลดลงจาก 63.8 %ในปี 2553 เหลือ 58.9 % ในปี 2554 ส่วนสารให้ความหวานจากข้าวโพด และ กากน้ำตาลคาดว่าจะมีส่วนแบ่งลดลงจาก 16.! 8% เหลือ 15.3 %

นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าจะมีการใช้หญ้าหวานมากที่สุดในภาคการค้าปลีกและหญ้าหวานจะผลักดันการเติบโตของภาคการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆหลังจากหญ้าหวานได้รับรองว่าเป็นสารที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย (GRAS) ในเดือนธันวาคม 2551 โดยมีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวาน 46 รายการ ในปี 2552 และ 76 รายการในปี 2553 วางจำหน่ายในตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ใช้หญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานหลักเพิ่มขึ้น 918% ในเดือนเมษายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2553 และในปีหน้า หญ้าหวานอาจได้รับความนิยมในอีกด้านหนึ่งของมหาแอตแลนติก เนื่องจากคาดการณ์ว่าหญ้าหวานจะได้รับการเห็นชอบตามระเบียบข้อบังคับจากสหภาพยุโรปในเดือนพฤศจิกายน



ที่มา : Food Navigator ( 5 กันยายน 2554

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ปี 54 เนื้อหมูอียูส่งออกเพิ่มขึ้น


 
                หนังสือพิมพ์ Agrarisch Dagblad ของเนเธอร์แลนด์รายงานว่า ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2554 ยอดรวมส่งออกเนื้อหมูของ 27 ประเทศสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น18.8% เมื่อเทียบกับปี 2553 มีปริมาณส่งออก 412,000 ตัน มีส่วนแบ่งตลาด 27.8%

                ฮ่องกงและจีนนำเข้าเนื้อหมูสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น โดยฮ่องกงนำเข้าเพิ่มขึ้น 17% มีปริมาณส่งออก 245,000 ตัน ขณะจีนนำเข้าเพิ่มขึ้น 60% มีปริมาณส่งออก 136,000 ตัน
 การส่งออกเนื้อหมูไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 4% มีปริมาณส่งออก 117,000 ตัน แต่ส่งออกไปเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า มีปริมาณส่งออก 112,000 ตัน

 &nb! sp;             การส่งออกเนื้อหมูของสหภาพยุโรปของเดือนมิถุนายน 2554 เพียงเดือนเดียวมีปริมาณ 255,000 ตันเพิ่มขึ้น 15.4 เดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งส่งออกเท่ากับเดือนพฤษภาคม 2554
 
 
 
ที่มา : Pig Progress  (2 กันยายน 2554) 

แคนาดาระงับการขายยา roxarsone

                กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา ตัดสินใจระงับการจำหน่ายยา 3-Nitro-20 และ Super Nitro-12 หรือ roxarsone หลังจากผลการทดสอบพบว่า ไก่ที่ได้รับอาหารที่มีส่วนประกอบของยาดังกล่าวมีสารหนูอนินทรีย์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในปริมาณเล็กน้อย โดยการระงับการจำหน่ายยาดังกล่าวมีผลวันที่ 8 สิงหาคม 2554 และก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ ระงับการจำหน่ายยา roxarsone ในช่วงฤดูร้อนของปี 2554                ได้มีการนำยา 3-Nitro-20  และ Super Nitro-12 ผสมในอาหารสัตว์เป็นเวลาหลายปีเพื่อใช้กำจัดพยาธิและทำให้สัตว์โตเร็ว แต่เดิมเชื่อว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ได้รับยาดังกล่าวจะไม่ก่ออันตรายต่อสุข! ภาพของมนุษย์ เนื่องจากยาดังกล่าวมีสารหนูอินทรีย์ซึ่งมีความเป็นพิษน้อยกว่าสารหนูอนินทรีย์ แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีหลักฐานเพิ่มขึ้นซึ่งแสดงว่า สารหนูอินทรีย์สามารถเปลี่ยนเป็นสารหนูอนินทรีย์ได้ ซึ่งได้เพิ่มความกังวลว่าสารดังกล่าวจะตกค้างในเนื้อสัตว์และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่การทดลองมีข้อจำกัดทางเทคนิคซึ่งหมายความว่านักวิจัยไม่สามารถวัดสารหนูอนินทรีย์ที่ตกค้างในกล้ามเนื้อไก่ได้ แต่สามารถวัดได้เพียงสารหนูทั้งหมดในกล้ามเนื้อ และพบว่ามีปริมาณสารหนูทั้งหมดในกล้ามเนื้อน้อยกว่าสารหนูทั้งหมดในตับไก่                การระงับการจำหน่ายยาดังกล่าวจัดเป็นมาตรการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารหนูอนินทรีย์ที่ปนเปื้อนในเนื้อไก่แม้จะมีสารดังกล่าวปนเปื้อนน้อยมาก   ที่มา : All about Feed (2 กันยายน 2554)