หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมอาหารสัตว์เพิ่ม 3 ชนิด



คณะกรรมาธิการยุโรป ได้ประกาศอนุญาตการใช้สารเสริมในอาหารสัตว์ (Feed Additive) เพิ่มเติม 3 ชนิด ได้แก่

- Propionibacterium acidipropionici (CNCM MA 26/4U) และ Zinc Chloride Hydroxide Monohydrate สามารถใช้เป็น Feed Additive สำหรับอาหารสัตว์ทุกชนิด ได้จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565

- Lactobacillus plantarum สายพันธุ์ที่กำหนด สามารถใช้เป็น Feed Additive สำหรับอาหารสัตว์ทุกชนิด ได้จนถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2565

&! nbsp; โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ข้อกำหนด และปริมาณการใช้แต่สัตว์แต่ละชนิดได้ที่

- Propionibacterium acidipropionici :
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:297:0015:0017:EN:PDF

- Zinc Chloride Hydroxide Monohydrate :
! ; http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:297:0018:0019:EN:PDF

- Lactobacillus plantarum :
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:314:0015:0022:EN:PDF



ที่มา : มกอช./สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ( 6 ธันวาคม 2555 )

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เตือนส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารมีไข่ไปอียู


รายงานจากระบบการแจ้งเตือนสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ (Rapid Alert for Food and Feed System: RASFF) ของสหภาพยุโรป แจ้งว่ามีการตรวจพบผลิตภัณฑ์อาหารจากไทยที่มีส่วนผสมของไข่ แต่ไม่ได้ระบุลงในฉลากส่วนผสม รวมทั้งแสดงคำเตือนสารก่อภูมิแพ้ตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ทำให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและดำเนินการ Re-export สินค้า

เพื่อเป็นการลดความสูญเสียทั้งโอกาสทางการค้าและค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงการติดฉลากระบุส่วนประกอบให้ชัดเจน โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ 14 ชนิดของสหภาพยุโรป ได้แก่

&! nbsp; 1. ธัญพืชที่มีกลูเตน (ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต spelt kamut และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งพืชลูกผสม)
2. ครัสเตเชียน (กุ้ง ปู และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในกลุ่มดังกล่าว) และผลิตภัณฑ์
3. ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไข่
4. ปลา และผลิตภัณฑ์จากปลา รวมทั้งเจลาติน
5. ถั่วลิสง และผลิตภัณฑ์
6. ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์
7. นม และผลิตภัณฑ์ยกเว้นเวย์โปรตีนที่ใช้ผลิตแอลกอ! ฮอล์ และแลคติทอล
! &n bsp; 8. นัท (ให้ระบุชนิดของนัทที่ใช้ในส่วนประกอบ) เช่น อัลมอนด์ ฮาเซลนัท วอลนัท พีแคน บราซิลนัท พิสตาชิโอ มะคาเดเมีย ยกเว้นนัทที่ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ และเอทิลแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากพืชอื่นๆ
9. เซเลรี และผลิตภัณฑ์
10. มัสตาร์ด และผลิตภัณฑ์ (รวมทั้งเมล็ด)
11. เมล็ดงา และผลิตภัณฑ์
12. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และซัลไฟต์ ที่มีความเข้มข้นเทียบเท่าซัลไฟต์มากกว่า 10 ppm
13. พืชตระกูล ลูพิน (Lupin) และผลิตภัณฑ์
&nbs! p; 14. มอลลัสก์ (ปลาหมึก หอย และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในกลุ่มดังกล่าว) และผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อยู่ในรายชื่อผู้ผลิตหรือแปรรูปไข่ที่สามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ หากผู้ประกอบการต้องการใช้ส่วนผสมของไข่ในผลิตภัณฑ์ จะต้องใช้วัตถุดิบหรือไข่แปรรูปจากประเทศตามรายชื่อที่สหภาพยุโรปกำหนด และต้องดำเนินการขอใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) ที่ระบุไว้ใน Commission Implementing Regulation (EU) No 468/2012 ก่อนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ตามแบบฟอร์มในเอกสาร
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:144:0001:0014:EN:PDF


ที่มา : มกอช./สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ (4 ธันวาคม 2555)

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เดนมาร์กปรับปรุงระเบียบการใช้สารปฏิชีวนะและสวัสดิภาพสัตว์


เดนมาร์กกำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการใช้สารปฏิชีวนะในปศุสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์เพื่อเตรียมบังคับใช้ โดยเพิ่มเติมรายละเอียดขั้นตอนการตรวจสอบยืนยันว่ามีการใช้สารปฏิชีวนะเฉพาะในสัตว์ที่ป่วย ซึ่งจะช่วยป้องกันการใช้สารกลุ่มดังกล่าวในขั้นตอนการเลี้ยงปศุสัตว์ได้ สำหรับกฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ ยังได้แก้ไขปรับปรุงเนื้อหาการพิทักษ์สวัสดิภาพสัตว์ทั้งในขั้นตอนการเลี้ยงและขนส่งด้วย

ปัจจุบันเดนมาร์กเป็นผู้นำด้านการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสวัสดิภาพสัตว์ รวมไปถึงความตระหนักถึง! ภัยอันตรายจากการใช้สารปฏิชีวนะที่มีต่อมนุษย์
ที่มา : AllAboutFeed (30พ.ย.55)

ฟิลิปปินส์สั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของนิวเซาท์เวลส์ชั่วคราว


หลังจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้ประกาศว่าพบไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง H7 ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้ออกประกาศหมายเลข 33 เพื่อห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกที่มาจากรัฐนิวเซาท์เวลส์เป็นการชั่วคราว ซึ่งได้แก่ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีก ลูกไก่อายุ 1 วัน ไข่ และน้ำเชื้อสัตว์ปีก

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดแบบฟอร์มใบรับรองกักกันสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของออสเตรเลีย และระงับสินค้าที่กำลังจัดส่งทั้งหมดยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน! การปรุงสุกและผ่านเกณฑ์การฆ่าเชื้อโดยความร้อนเท่านั้น


ข่าวย้อนหลังเรื่องประกาศพบไข้หวัดนก H7 ในออสเตรเลีย
ที่มา : ThePoultrySite (30พ.ย.55)

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พบโรคปากเท้าเปื่อยในสุกรเขตต้าเหลียนของจีน

สถาบันสัตวแพทย์แห่งหลานโจว ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ว่ามีการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) ในสุกรที่เลี้ยงในเขตต้าเหลียน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทำให้สุกรตายทั้งหมด 43 ตัว แต่ยังไม่พบต้นเหตุของการระบาดในขณะนี้

จากสาเหตุดังกล่าว ทางการของจีนได้ใช้มาตรการกักกันและควบคุมการเคลื่อนย้ายของปศุสัตว์ภายในประเทศเพื่อควบคุมโรค รวมทั้งให้วัคซีนกับแพะ-แกะ 8,060 ตัว โคนม 6,141 ตัว และสุกร 305 ตัวเพื่อป้องกันการระบาดต่อเนื่องแล้ว
ที่มา : ThePigSite (29พ.ย.55)

เร่งขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนแปรรูปจากพืชไปจีน


กระทรวงควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) เตรียมจัดระเบียบการค้าอาหารสัตว์ประเภทธัญพืช เปลือกข้าวสาลี และประเภทโปรตีนแปรรูปจากพืช ที่ส่งออกไปยังจีน ตามข้อบัญญัติการจัดการดูแลด้านการตรวจสอบและกักกันอาหารสัตว์และวัตถุเจือปนในอาหารสัตว์นำเข้าและส่งออก ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2556

ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะส่งออกสินค้าอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนแปรรูปจากพืชไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ดำเนินการติดต่อเพื่อขอขึ้นทะเบียนกับสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้า! ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2555 โทร. 02-653-4444 โทรสาร. 02-653-4917 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มเอเชีย 2 กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มกอช. โทร. 02-561-2277 ต่อ 1304
ที่มา : มกอช. (29พ.ย.55)

ออสเตรเลียพบไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีก


องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) รายงานการพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ก่อโรครุนแรงกลุ่ม H7 ในฟาร์มสัตว์ปีกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นรายงานครั้งแรกของออสเตรเลียในรอบ 15 ปี ทำให้ไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระตายกว่า 5,000 ตัว และมีสัตว์ปีกที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกว่า 50,000 ตัว โดยฟาร์มดังกล่าวพบว่ามีแหล่งน้ำจำนวนมากที่สามารถเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรคไข้หวัดนก

ขณะนี้ กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ (MAFF) ได้วางมาตรการกักกันต่อฟาร์มสัตว์ปีกดังกล่าวแล้ว โดยกำหนดพื้นที่ในรัศมี 3 กิโลเมตร เป็นเขตกักกัน ! และรัศมี 7 กิโลเมตร เป็นเขตควบคุม ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทางการออสเตรเลียได้กล่าวว่า การระบาดของโรคจะไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภคสัตว์ปีกและไข่แต่อย่างใด
ที่มา : MeatPoultry (29พ.ย.55)

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยอดส่งออกปศุสัตว์มีชีวิตของออสเตรเลียลดลง



ปริมาณการส่งออกปศุสัตว์มีชีวิตของออสเตรเลียลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 โดยมีรายงานปริมาณการส่งออกช่วงเดือนกันยายน 2555 ดังนี้

- โคมีชีวิตส่งออก 66,531 ตัว ลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2554 ถึง 21% ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ได้แก่ อินโดนีเซีย ตุรกี รัสเซีย และจีน

- แกะมีชีวิตส่งออก 130,660 ตัว ลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2554 ถึง 53% ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ได้แก่ กาตาร์ จอร์แดน และตุรกี

- แพะมีชีวิตส่งออกได้เพียง 891 ตัว ซึ่งต่ำสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549 มีประเทศผู้นำเข้าคือ บรูไน และมาเลเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้มาเลเซียเคยเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด



ที่มา : MeatTradeDaily (27พ.ย.55)

องค์กรความปลอดภัยอาหารสัตว์สหรัฐฯ เรียกร้องห้างค้าปลีกเลิกจำหน่ายขนมไก่อบแห้งจากจีนสำหรับสุนัข



องค์กรด้านความปลอดภัยอาหารสัตว์ของสหรัฐฯ รวมตัวเรียกร้องให้วอลมาร์ท ที่เป็นเครือข่ายค้าปลีกขนาดใหญ่ เลิกวางจำหน่ายขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงจากจีน หลังพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของสัตว์เลี้ยงกว่า 360 ตัว และป่วยกว่า 2,200 ตัว ตั้งแต่ปี 2550 ที่พบว่ามีการปนเปื้อนของเมลามีนโดยตั้งใจให้ผลการตรวจปริมาณโปรตีนเพิ่มสูงขึ้น

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ออกประกาศเตือนสำหรับผลิตภัณฑ์ขนมที่ผลิตจากเนื้อไก่อบแห้งจากจีนสำหรับสุนัข และพบว่ามีผลิตภัณฑ์ 3 ยี่ห้อ ที่เป็นสาเหตุของอาการป่วยของสัตว์เลี้ยง แต่ก็ไม่ได้สั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแม้จะพบว่ามีการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการในจีนที่ไม่ได้รับอนุญาต องค์กรด้านความปลอดภัยอาหารสัตว์จึงได้ขอความสมัครใจจากห้างค้าปลีกให้ยกเลิกจำหน่ายสินค้าดังกล่าวแทน

อ่านข่าวย้อนหลังเรื่องประกาศของ FDA ได้ที่นี่
http://www.acfs.go.th/warning/viewEarly.php?id=4035



ที่มา : FoodPoisoningBulletin (24 พ.ย.55)

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พบผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในรัสเซียไขมันสูง-เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


ปัจจุบันชาวรัสเซียเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากที่สุดในโลก ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในประเทศที่ถูกพบว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากมีปริมาณไขมันที่สูง การบริโภคอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการสะสมปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดอย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและภาวะหัวใจวาย

แม้คำแนะนำของแพทย์ทั่วไป จะแนะนำให้บริโภคอาหารให้ได้สัดส่วนพลังงานจากโปรตีนและไขมันที่ 1:1 แต่พบว่าในรัสเซียสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 1:2.5 หรืออาจถึง 1:3 ทั้งมีการระ! บุไว้ในกฎระเบียบแห่งชาติที่ 1:4 และยังพบว่าอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์ของรัสเซียยังยึดถือวิธีการผลิตเดิมของสหภาพโซเวียตที่ไม่มีการจำกัดปริมาณไขมัน แม้จะถูกเตือนถึงอันตรายต่อผู้บริโภคจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในช่วงทศวรรษ 1970-1980 แล้วก็ตาม

อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ในรัสเซียนั้นพยายามลดต้นทุนโดยใช้ส่วนผสมไขมันในปริมาณที่สูง และให้มีอัตราส่วนโปรตีนต่ำที่สุดที่เป็นไปตามข้อกำหนด ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกจากผู้ผลิตบางรายในรัสเซีย มีปริมาณไขมันสูงถึง 25% ในขณะที่มีโปรตีนเพียง 11% ทั้งมีการเติมวัตถุเจือปนอาหารประเภทอิมัลซิฟายเออร์ สีผสมอาหาร และสารแต่งกลิ่นรสในปริมาณที่สูง ล่าสุดพบว่าในรัสเซียมีปริมาณการบริโภคไขมันสุกรเทียบเท่าจากสุกร 25 ล้านตัว ซึ่งมากกว่าจำนวนการผลิตภายในประเทศ
ที่มา : GlobalMeatNews (21 พ.ย.55)

เตือนสุกรในอังกฤษอาจขาดตลาดเหตุผู้เลี้ยงขาดทุน-ส่งราคาเนื้อสุกรปลีกก้าวกระโดด


หน่วยงานดูแลด้านเนื้อสุกรในสหราชอาณาจักร (BPEX) รายงานว่า กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในประเทศกำลังประสบปัญหาราคารับซื้อสุกร ที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตถึงตัวละประมาณ 14 ปอนด์ (ประมาณ 700 บาท) ทำให้มีการประเมินว่าอุตสาหกรรมเลี้ยงสุกรของอังกฤษจะสูญเสียรายได้ถึง 100 ล้านปอนด์ (ประมาณ 4,900 ล้านบาท) ภายใน 6 เดือนข้างหน้า

BPEX ให้ข้อมูลว่า หากผลผลิตสุกรมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในปีหน้าเนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรตัดสินใจเลิกเลี้ยงเพราะปัญหาขา! ดทุนนั้น จะทำให้ราคาจำหน่ายปลีกเนื้อสุกรและเนื้อสุกรแปรรูปเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างในเยอรมนี กรณีมีการผลิตน้อยลงเพียง 4% ต้นทุนรับซื้อต่อกิโลกรัมจะสูงขึ้นถึง 26 เพนนี (ประมาณ 13 บาท) และถ้าปริมาณการผลิตลดลงถึง 8% ราคารับซื้อจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50 เพนนีต่อกิโลกรัม (ประมาณ 25 บาท) ส่งผลต่อราคาผลิตภัณฑ์สำหรับจำหน่ายปลีก เช่น พอร์คชอปขนาดบรรจุ 4 ชิ้น จะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.40 ปอนด์ (ประมาณ 70 บาท) ต่อแพ็ค และขาหมูขนาดบรรจุ 1 ชิ้น เพิ่มขึ้น 2.50 ปอนด์ (ประมาณ 125 บาท) ต่อแพ็ค การเพิ่มราคารับซื้อสุกรเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เลี้ยงในขณะนี้ จะช่วยแก้ปัญหาราคาเนื้อสุกรในระยะยาว ซึ่งมีการประเมินว่า หากมีปริมาณการผลิตในสหราชอาณาจักรลดลงเพียง 2% จะทำให้ราคาจำหน่ายเนื้อสุกรเพิ่มสูงถึง 10%

ทั้งนี้หลายประเทศในยุโรปกำลังประสบปัญหาในการผลิตสุกรจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้เลี้ยงลดปริมาณการเลี้ยงลงเพื่อจำกัดปัญหาการขาดทุน เช่น ในอิตาลี ที่ลดลงถึง 13% และโปแลน! ด์ที่ลดลง 9.6%
ที่มา : GlobalMeatNews (21พ.ย.55)

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จีนก้าวเป็นผู้นำของโลกในการบริโภคถั่วเหลือง


จีนก้าวสู่การเป็นผู้นำการใช้ประโยชน์ถั่วเหลืองของโลกแทนสหภาพยุโรป เนื่องด้วยการเพิ่มประชากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งเป็นผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อ ก่อให้เกิดการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกและสุกรที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้ง GDP ที่บ่งชี้การขยายขนาดเศรษฐกิจของจีนที่ปีนี้ คาดว่าจะสูงถึง 7.8% ทำให้จีนต้องเพิ่มการใช้ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 30% ของปริมาณการใช้ทั่วโลก โดยคาดว่าอินเดีย ซึ่งในขณะนี้มีทิศทางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับจีน จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้ใช้ประโยชน์ถั่วเหลืองรายสำคัญอีกประเทศหนึ่งในอนาคต

&! nbsp; ในปี 2556 คาดว่าจีนจะมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองถึง 64.2 ล้านตัน และมีการใช้ประโยชน์กากถั่วเหลืองกว่า 50 ล้านตัน โดยเฉพาะการนำเข้าจากสหรัฐฯ นั้น จีนนำเข้าถั่วเหลืองถึงกว่า 50% ของผลผลิตในประเทศดังกล่าว
ที่มา : TheFishSite (19 พ.ย.55)

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์ไวรัส Schmallenberg ในสหภาพยุโรป


เชื้อไวรัส Schmallenberg (SBV) ที่ก่อให้เกิดอาการไข้ ท้องร่วง หรือปริมาณนมลดลงในปศุสัตว์เต็มวัย และภาวะแท้งคุกคามในวัว แพะ และแกะที่ตั้งท้อง ถูกพบเป็นครั้งแรกในเยอรมนีเมื่อปลายปี 2554 โดยมีแมลงตัวเล็กๆ เช่น ยุง เป็นพาหะนำโรค และมีการตรวจพบเชื้อ SBV ในปศุสัตว์กว่า 1,000 ตัว ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันและรักษา และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยการระบาด กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรค และพัฒนาวัคซีน

ล่าสุด ฟาร์มปศุสัตว์ทางตอนเหนือของแคว้นสกอตแลนด์ของสหราชอาณาจักร มีการตรวจพบเชื้อ ! SBV ในแกะตัวผู้ ซึ่งทำให้มีการสั่งตรวจสัตว์ชนิดอื่นในฟาร์มเดียวกันเพื่อหาเชื้อดังกล่าว แม้ทางการสกอตแลนด์จะคาดการณ์ว่าการระบาดจะไม่รุนแรงเหมือนช่วงฤดูใบไม้ผลิ (เมษายน-มิถุนายน 2555) เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงอากาศหนาว ทำให้เชื้อไม่สามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็ว รวมทั้งการที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) และองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ให้ข้อคิดเห็นว่าโรคดังกล่าวจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ แต่ก็ต้องมีการระมัดระวังการค้าน้ำเชื้อ ตัวอ่อนและสัตว์ที่มีชีวิต ที่อาจทำให้มีการแพร่กระจายของไวรัสในวงกว้าง
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป (15 พฤศจิกายน 2555)

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มาเลเซียเตรียมเปิดดำเนินการ "สวนเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรครบวงจร"



มาเลเซียเตรียมเปิดดำเนินการ "สวนเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรครบวงจร" แห่งแรกของโลก เพื่อผลิตกุ้งมังกรในเชิงพาณิชย์ ที่เมือง Semporna ของรัฐซาบาห์ เกาะบอร์เนียว ในปี 2557 โดยตั้งเป้าผลิตกุ้งมังกร spiny lobster พันธุ์ท้องถิ่น ให้ได้ 40 ล้านปอนด์ (ประมาณ 18,000 ตัน) ในปี 2572

สวนอุตสาหกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือของรัฐบาลมาเลเซีย กับบริษัทที่ดำเนินกิจการด้านอาหารทะเล และเครือข่ายร้านอาหารขนาดใหญ่ จะทำให้เกิดการจ้างงานรายได้สูงมากกว่า 14,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2565 โดยใช้งบประมาณกว่า 2 พันล้านริงกิต (ประมาณ 20,000 ล้านบาท) ในการก่อสร้าง



ที่มา : TheFishSite (7พ.ย.55)

เตือน! ทูน่ากระป๋องจากไทยไม่ผ่านมาตรฐานนำเข้ายุโรป




ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น นอร์เวย์ โปแลนด์ ฟินแลนด์ และสหราชอาณาจักร ได้แจ้งผ่านระบบการแจ้งเตือนสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป (Rapid Alert for Food and Feed System: RASFF) กว่า 17 ครั้ง ในรอบ 8 เดือนของปี 2555 ว่าผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องจากไทยไม่ผ่านมาตรฐานการนำเข้า ทั้งจากปัญหาการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไม่เพียงพอ และปัญหาปนเปื้อนฮิสตามีน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ถูกตีกลับหรือทำลายเป็นจำนวนมาก

ล่าสุด สมาคมอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ Anfaco-Cecopesca ของสเปน ได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปดำเนินการตรวจสอบโรงงานในประเทศไทย และถอดถอนรายชื่อโรงงานที่ผลิตสินค้าไม่ผ่านมาตรฐานดังกล่าว รวมทั้งให้ความเห็นว่า การควบคุมมาตรฐานการผลิตตามหลักการ HACCP ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้

ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกทูน่ากระป๋องอันดับหนึ่ง โดยครอบครองส่วนแบ่งถึง 30% ของการผลิตทั่วโลก มีปริมาณการผลิตถึงปีละกว่า 400,000 เมตริกตัน



ที่มา : SeafoodSource (7พ.ย.55)

EU เตรียมบังคับใช้ระเบียบห้ามขังเดี่ยวแม่สุกรรับปีใหม่ 2556



กฎระเบียบห้ามการเลี้ยงแม่สุกรในคอกขังเดี่ยวของสหภาพยุโรป Directive 2008/120/EC จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป โดยในขณะนี้มีรายงานว่าประเทศสมาชิกได้ตอบรับพร้อมปฏิบัติตามแล้ว 18 ประเทศ เช่น เดนมาร์ก ที่รายงานมีผู้เลี้ยงประมาณ 85% ที่เลี้ยงแม่สุกรตั้งท้องแบบกลุ่ม และผู้เลี้ยงสุกรทั้งหมดจะพร้อมปรับระบบการเลี้ยงได้ทันกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ทั้งนี้ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรของเดนมาร์กได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปไม่ผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมายสำหรับประเทศที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าวได้

&nb! sp; ศึกษากฎระเบียบ Directive 2008/120/EC ได้ที่

http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2009:047:0005:0013:EN:PDF


ที่มา : ThePigSite (7พ.ย.55)

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

EU รับรองข้าวโพด GM MIR162


คณะกรรมาธิการยุโรปได้รับรองข้าวโพดตัดต่อพันธุกรรมสายพันธ์ MIR162 จากบริษัท Syngenta ให้สามารถใช้เป็นอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ รวมทั้งสามารถนำเข้าและแปรรูปได้ในพื้นที่ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2555 หลังจากที่บริษัท Syngenta เจ้าของสายพันธุ์ได้ยื่นเอกสารต่อหน่วยงานกำกับดูแลของเยอรมนีตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553
การอนุญาตดังกล่าวจะเป็นการเปิดช่องทางให้สหรัฐฯ สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด เช่น กากข้าวโพดที่เหลือจากการผลิตเอทานอล (DDGS) และโปรตีนข้าวโพดสำหรับผลิตอาหารสัตว์ (CGF) เข้าไปยังสหภาพยุโรปได้ โดยเฉพาะในประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่เช่น ไอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์
วัตถุดิบโปรตีนสูงเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งในช่วงที่ราคาซื้อขายเพิ่มขึ้นสูง และเกิดวิกฤติขาดแคลนผลผลิตพืชไร่ โดยคาดว่าข้าวโพดที่จะเริ่มปลูกในสหรัฐฯ ประมาณเดือนมีนาคมปี 2556 จะพร้อมเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้ในช่วงเดือนกันยายนของปีเดียวกัน
ที่มา : AllAboutFeed (6พ.ย.55)

ญี่่ปุ่นอาจผ่อนปรนข้อบังคับตรวจสอบเนื้อโคสำหรับควบคุมโรควัวบ้า


กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) อยู่ระหว่างการพิจารณาผ่อนปรนกฎระเบียบข้อบังคับสำหรับการตรวจสอบเนื้อโคในประเทศเพื่อควบคุมมิให้เกิดโรควัวบ้า (BSE) เนื่องจากญี่ปุ่นมีระดับความปลอดภัยของการระบาดโรคดังกล่าวสูง จากการที่รัฐบาลไม่อนุญาตให้ใช้อาหารสัตว์ที่ผลิตจากเนื้อและกระดูกสัตว์ตั้งแต่ปี 2543 และยังไม่พบการระบาดในประเทศนับตั้งแต่ปี 2552 ทั้งการตรวจสอบที่เข้มงวดของหน่วยงานในท้องถิ่นยังต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง MHLW จึงได้ให้ Food Safety Commission ประเมินความเสี่ยงกรณีมีการผ่อนปรนกฎระเบียบดังกล่าว

&! nbsp; ก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายน 2555 MHLW ได้ขอให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ปรับสถานะความเสี่ยง BSE ของญี่ปุ่จากระดับ Controlled Risk เป็น Negligible Risk และล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 MHLW ได้ผ่อนปรนการตรวจสอบ BSE ในเนื้อโคอายุมากกว่า 31 เดือน จากเดิมกำหนดที่ 21 เดือน และเตรียมพิจารณาผ่อนปรนสำหรับการตรวจสอบเนื้อจากสหภาพยุโรปที่มาจากโคอายุมากกว่า 72 เดือน
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว
(6พ.ย.55)

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รัสเซียอาจผลิตอาหารสัตว์ถึง 40 ล้านตัน ในปี 2563





สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ของรัสเซีย ได้กล่าวถึงทิศทางอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ว่า ปัจจุบันรัสเซียมีอัตราการเพิ่มปริมาณการผลิตอาหารสัตว์ถึงปีละ 1.2-1.3 ล้านตัน หรือประมาณ 9-10% ของปริมาณการผลิตรายปีที่ 17.8 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ต่อเนื่องจนถึง 30 ล้านตันในปี 2558 และ 40 ล้านตันในปี 2563 โดยในขณะนี้รัสเซียมีความต้องการอาหารสัตว์ที่ประมาณ 22-23 ล้านตันต่อปี

อนึ่ง ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุประเทศไทยมีความต้องการใช้อาหารสัตว์ในปี 2555 ที่ 15.0-15.5 ล้านตัน ขยายตัวประมาณ 6.0-8.0% ต่อปี โดยใช้วัตถุดิบหลักคือข้าวโพด ซึ่งปัจจุบันราคาซื้อขายยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤติภัยแล้ง โดยมีราคาสูงกว่าช่วงต้นปีประมาณ 20%



ที่มา : AllAboutFeed/KasikornResearch
(2 พ.ย.55)

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฟาร์มสุกรออสเตรเลีย นำร่อง carbon credit



ฟาร์มสุกรในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ที่มีจำนวนปศุสัตว์ถึงประมาณ 22,000 ตัว เป็นฟาร์มสุกรรายแรกในออสเตรเลียได้รับทั้ง "คาร์บอนเครดิต" และประกาศนียบัตรรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยฟาร์มดังกล่าวสามารถจัดการก๊าซมีเทนที่เกิดจากการเลี้ยงสุกรโดยนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานในฟาร์ม ทำให้สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซได้ถึง 15,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 480,000 บาท) ต่อเดือน และยังสามารถขายกระแสไฟฟ้าได้ถึง 5,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 160,000 บาท) ต่อเดือน ถือเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติตามโครงการ Carbon Farming Initiative (CF) ของรัฐบาลกลางออสเตรเลีย

&! nbsp; ระบบการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซมีเทนในโรงเลี้ยงสุกรของ CFI ใช้บ่อหมักชนิดพลาสติกคลุม (Covered Lagoon) และกำจัดก๊าซโดยใช้ผลิตไฟฟ้าและมีการเผาก๊าซส่วนเกินทิ้งเช่นเดียวกับหอกลั่นปิโตรเลียม


ที่มา : PigProgress (31 ต.ค.55)

เสียงเรียกร้องให้แบนการผลิต "ฟัวกราส์" (Foie gra)



เสียงเรียกร้องให้แบนการผลิต "ฟัวกราส์" (Foie gras) หรือตับเป็ดและตับห่านขุนที่เลี้ยงแบบกักขังจนเกิดภาวะไขมันสะสมผิดปกติ กำลังทวีความชัดเจนขึ้นในประเทศผู้ผลิตฟัวกราส์รายใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรปอย่างบัลแกเรีย โดยกลุ่มผู้เรียกร้องทั้งเอ็นจีโอ และสมาชิกสภายุโรป เห็นควรให้หยุดการผลิตฟัวกราส์ที่ถือเป็นการทารุณปศุสัตว์ ทำให้สมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกของบัลแกเรีย แสดงความวิตกกังวลต่ออุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ที่มีแรงงานประมาณ 5,000 คน โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันการเลี้ยงเป็ดและห่านเพื่อผลิตฟัวกราส์ไม่ได้ใช้วิธีการกักขังแล้ว ทั้งยังคาดหวังว่าจะไม่มีประกาศห้ามเลี้ยงเพื่อผลิตฟัวกราส์ภายในประเทศ

&n! bsp; ปัจจุบันประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ยังมีการเลี้ยงเป็ดและห่านเพื่อผลิตฟัวกราส์ มีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ฮังการี และสเปน



ที่มา : MeatTradeNewsDaily (31 ต.ค.55)

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ISO เตรียมออกมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์


องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) เตรียมร่างมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2556 โดยหน่วยงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ Eurogroup ให้ความเห็นเกี่ยวกับการร่างมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ของ ISO ว่า มาตรฐานดังกล่าวจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ทั่วโลก

ทั้งนี้ องค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์ ได้แก่ Eurogroup, RSPCA, HSI และองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (WSPA) ได้ประชุมหารือเพื่อเตรียมการนำเสนอมุมมองในการกำหนดทางเทคนิคสำหรับมาตรฐานของ ISO โดยหวังว่ามาตรฐานนี้จะช่วยให้มี! ความประสานกันในการปฏิบัติงาน และแสดงเจตจำนงที่จะทำให้ขั้นตอนการตรวจสอบการผลิตและพัฒนามาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างต่อเนื่องนั้น เป็นสื่อกลางเพื่อชักนำให้มาตรฐานและกฎระเบียบทั่วโลกสามารถดำเนินร่วมกันไปได้ด้วยดี รวมทั้งเป็นมาตรฐานสำหรับถือปฏิบัติและใช้เปรียบเทียบสากล
ที่มา : ThePoultrySite (30 ต.ค.55

EFSA ชี้ ไนอะซินปลอดภัยสำหรับใช้ในอาหารสัตว์


คณะกรรมการพิจารณาสารเจือปน ผลิตภัณฑ์ และสารเคมีที่ใช้ในอาหารสัตว์ (FEEDAP) ของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้พิจารณาข้อคิดเห็นด้านความปลอดภัยและการใช้สารกลุ่มไนอะซิน ได้แก่ nicotinic acid และ nicotinamide เพื่อใช้เป็นสารเจือปนอาหารสำหรับสัตว์ทุกชนิด

สารกลุ่มดังกล่าวเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ NAD และ NADP รวมทั้งมีความสำคัญต่อการทำงานของไมโตคอนเดรีย และการย่อยสลายสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และกรดอะมิโน และเห็นว่าสารกลุ่มดังกล่าวมีความปลอดภัยในการใช้กับอาหารสัตว์ โดยพบว่า! สามารถในปริมาณกว่า 10 เท่า ของที่ใช้ผสมอาหารสัตว์ แต่ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ยังไม่มีผลยืนยันความปลอดภัยในการใช้กับอาหารมนุษย์
ที่มา : AllAboutFeed (30ต.ค.55)

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผู้เลี้ยงสุกร-ไก่ไข่ขอนำเข้าข้าวโพดลาว 5 หมื่นตันผู้เลี้ยงสุกร-ไก่ไข่ขอนำเข้าข้าวโพดลาว 5 หมื่นตัน




กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดนครปฐม และราชบุรี ร่วมกับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทำหนังสือถึงองค์การคลังสินค้า (อคส.) ขอให้นำเข้าข้าวโพดจากลาว ในช่วงเดือนธันวาคม 2555 ถึงมกราคม 2556 ซึ่งมีราคาต่ำกว่าในประเทศประมาณ 20-30% จำนวน 5 หมื่นตัน มาจำหน่ายกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์ดังกล่าว เนื่องจากปัญหาวิกฤติราคาอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดราคาเพิ่มสูงถึง 40% และวัตถุดิบยังใกล้หมดเนื่องจากอยู่ในช่วงหมดฤดูกาลผลิต ทำให้ผู้ผลิตประสบภาวะขาดทุนอย่างรุนแรงจนต้องเทขายสุกร ส่งผลให้ราคาสุกรเป็นในนครปฐม และราชบุรี ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตถึงกิโลกรัมละ 10 บาท




ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ (24 ต.ค.55)



ภาคเอกชนอินโดนีเซียเล็งเห็นความสำคัญด้านสวัสดิภาพสัตว์ในโรงเชือด




องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (WSPA ได้ลงนามในความร่วมมือกับสัตวแพทยสมาคมแห่งอินโดนีเซีย (IVMA) ด้านการยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในโรงเชือด เป็นระยะเวลา 3 ปี ณ นครยอกจาการ์ตา (Yogyakarta) โดยเตรียมจัดตั้งโครงการอบรมการพัฒนาระบบเชือดสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมในปี 2556

WSPA ได้เริ่มดำเนินงานร่วมกับ IVMA เมื่อปี 2554 ภายหลังจากมีบันทึกวีดิโอการเชือดโคที่นำเข้าจากออสเตรเลียด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม ทั้งขั้นตอนการขนย้ายและรอเชือดก็เป็นไปอย่างทารุณต่อปศุสัตว์ และเมื่อลงพื้นที่ตรวจสอบก็พบว่าการเชือดโคที่เลี้ยงในประเทศก็มีลักษณะไม่แตกต่างกัน ประธาน IVMA กล่าวว่า สวัสดิภาพสัตว์จัดเป็นหนึ่งในจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ และการปฏิบัติงานร่วมกับ WSPA นี้ จะช่วยให้ IVMA มีช่องทางเรียกร้องให้ปรับปรุงกฎหมายและมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ภายในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น




ที่มา : GlobalMeatNews (24 ต.ค.55)

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ ขยายอนุญาตเพิ่มเติม 5 รัฐ ผสมข้าวโพดปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน


ตามที่ มกอช. ได้นำเสนอข่าวการอนุญาตให้ผสมข้าวโพดปนเปื้อนอะฟลาทอกซินเกินมาตรฐานในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ขยายเขตพื้นที่การอนุญาตให้สามารถผสมข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ppb (ส่วนในพันล้านส่วน) แต่ไม่เกิน 500 ppb กับวัตถุดิบข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินต่ำเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เพิ่มเติมใน 5 รัฐ ได้แก่รัฐอิลลินอยส์ อินเดียนา แคนซัส เนบราสกา และโอกลาโฮมา จากเดิมที่อนุญาตเฉพาะในพื้นที่รัฐไอโอวา

ทั้งนี้ อ! าหารสัตว์ที่ผสมภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวห้ามใช้ในการเลี้ยงโคนม และต้องผ่านการตรวจสอบให้ค่าปนเปื้อนอะฟลาทอกซินเป็นไปตามมาตรฐานของ Compliance Policy Guides (CPG) Sec. 683.100 ว่าด้วยปริมาณอะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์ ในทุกขั้นตอนการผลิต ทั้งต้องมีใบรับรองประกอบการเคลื่อนย้ายที่แสดงว่ามีการผสมข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินสูงกว่า 20 ppb ปริมาณอะฟลาทอกซินในผลผลิตแต่ละขั้นตอน และระบุชนิดของปศุสัตว์ที่สามารถเลี้ยงด้วยอาหารผสมดังกล่าวได้

ศึกษา Compliance Policy Guide (CPG) Sec 683.100 http://www.fda.gov/ICECI/ComplianceManuals/CompliancePolicyGuidanceManual/ucm074703.htm




ที่มา : มกอช. (22 ต.ค.55)

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แคนาดาจะบังคับใช้ระเบียบการนำเข้าสัตว์น้ำจากสหรัฐฯ ที่ปรับปรุงใหม่ธันวาคมนี้



หน่วยงานตรวจสอบอาหารแคนาดา (CFIA) เตรียมพร้อมดำเนินการตามระเบียบด้านสุขภาพสัตว์ (Health of Animal Regulations; C.R.C., c.296) ที่ปรับปรุงใหม่ สำหรับการออกเอกสารรับรองการนำเข้าสัตว์น้ำจากสหรัฐฯ เข้าสู่แคนาดา ในวันที่ 10 ธันวาคม 2555 โดยต้องมีใบอนุญาตประกอบการนำเข้าสินค้าจากหน่วยงาน CFIA และใบรับรองสุขภาพสัตว์จากหน่วยงาน APHIS ของสหรัฐฯ ทุกครั้ง ทั้งนี้ ใบรับรองสุขภาพสัตว์ 2 ฉบับ จะจัดทำแล้วเสร็จประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2555 โดย CFIA จะประกาศอีกครั้งบนเว็บไซต์


&! nbsp; สำหรับรายชื่อสัตว์น้ำและโรคสัตว์น้ำควบคุมของแคนาดา สามารถศึกษาได้ที่
http://www.inspection.gc.ca/animals/aquatic-animals/diseases/susceptiblespecies/eng/1327162574928/1327162766981

ศึกษากฎระเบียบ Health of Animal Regulations c.296 ได้ที่นี่
http://laws-lois.justice.gc.ca/PDF/C.R.C.,_c._! 296.pdf



ที่มา : มกอช. (22 ต.ค.55)

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ เตือนยาสัตว์น้ำที่จำหน่ายในท้องตลาดอาจไม่ได้ผ่านการรับรอง


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้แจ้งเวียนต่ออุตสาหกรรมสัตว์น้ำให้ตระหนักถึงการใช้ยาสัตว์น้ำที่วางจำหน่ายในท้องตลาด เนื่องจาก USFDA ต้องทดสอบคุณสมบัติของยาสัตว์ "ทุกผลิตภัณฑ์" อย่างละเอียด ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อสารออกฤทธิ์ตรงกับชื่อสามัญของยาที่ผ่านการรับรอง อาจยังไม่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่าย เช่น ยาสัตว์น้ำที่มีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มฟอร์มาลิน มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจาก USFDA เพียง 4 ผลิตภัณฑ์ คือ Formalin-F, Formacide-B, Paracide-F และ Parasite-S เป็นต้น

กา! รตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์ยาสัตว์ของ USFDA ต้องมีข้อมูลประกอบการขออนุญาตจากทางผู้ผลิตยาดังนี้
- ระบุรับรองความปลอดภัยและชนิดของสัตว์ที่ใช้ได้ และสำหรับผลิตภัณฑ์จากปลาสำหรับมนุษย์บริโภค ต้องมีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยในการบริโภคอาหารซึ่งผลิตจากปลาที่ใช้ยาชนิดดังกล่าว
- ขั้นตอนการผลิตยาต้องสามารถรักษาลักษณะจำเพาะ ฤทธิ์ยา คุณภาพ และความบริสุทธิ์ของตัวยาดังกล่าว
- ฉลากกำกับผลิตภัณฑ์ยาต้องมีข้อมูลที่เป็นจริงและสมบูรณ์

ทั้งนี้ ยาที่ผ่านการอนุญาตให้วางจำหน่าย จะยังมีการติดตามตรวจสอบจากทาง USFDA ในด้านต่อไปนี้
&! nbsp; - ความปลอดภัยและประสิ! ทธิภาพขอ งยา หากมีข้อทักท้วงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าวหลังจากการอนุญาต
- กระบวนการผลิต เพื่อยืนยันคุณภาพและการรักษาความสม่ำเสมอในขั้นตอนการผลิต
- การติดฉลาก เพื่อยืนยันความเป็นจริงและความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ระบุอย่างต่อเนื่อง

การยื่นขอตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์ยาสัตว์ ปัจจุบันมีการขออนุญาต 2 ประเภท คือ
1. NADA (New Animal Drug Application)
2. ANADA (Abbreviated New Animal Drug Application) สำหรับยาสัตว์สามัญ




ที่มา : มกอช. (19 ต.ค.55)

พบไข้หวัดนกระบาดในเนปาล-นิวคาสเซิลในโรมาเนีย



องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รายงานสถานการณ์โรคระบาดในสัตว์ปีกตามรายละเอียดดังนี้

- 14 ตุลาคม 2555: รายงานยืนยันการพบโรคไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีกเขต Sanepa-2 ของเนปาล เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 ทำให้มีสัตว์ปีกที่ป่วย 2,500 ตัว และตายทั้งหมด โดย OIE Reference Laboratory ยืนยันผลการตรวจว่าเป็นสายพันธุ์รุนแรง H5N1

- 12 ตุลาคม 2555: รายงานยืนยันการพบโรคนิวคาสเซิลใน! เขต Zarnesti ของโรมาเนีย โดยมีจำนวนสัตว์ปีกที่เสี่ยงต่อการติดต่อของโรค 533 ตัว พบอาการป่วย 216 ตัว ตาย 212 ตัว และถูกทำลายจำนวน 105 ตัว



ที่มา : ThePoultrySite (18 ต.ค.55)

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ออสซี่เตรียมขยายตลาดค้าเนื้อจิงโจ้



รัฐควีนสแลนด์และวิคตอเรียของออสเตรเลีย ตั้งเป้าผลิตเนื้อจิงโจ้เพิ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในและนอกประเทศ โดยผู้ผลิตรายหนึ่งในรัฐควีนสแลนด์เตรียมเปิดโรงงานแปรรูปเนื้อจิงโจ้อีกครั้ง หลังปิดโรงงานไปเมื่อปี 2548 เนื่องจากมีปัญหาการส่งออก และตั้งเป้าวางจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ เช่น รัสเซีย ที่เคยเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าสำคัญ

สำหรับรัฐวิคตอเรีย เป็นรัฐเดียวที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ผลิตหรือแปรรูปเนื้อจิงโจ้ ด้วยเหตุผลความปลอดภัยอาหาร เนื่องจากมีรายงานการล่าจิงโจ้และเชือดนอกโรงงานที่ถูกสุขอนามัย ทำให้ปัจจุบันเนื้อจิงโจ้ที่จำ! หน่ายมาจากการผลิตของรัฐอื่น ซึ่งทางการกล่าวว่า หากมีการแก้ไขกฎหมายของรัฐจะไม่ส่งผลต่อจำนวนจิงโจ้ในธรรมชาติ แต่จะทำให้เนื้อจิงโจ้ที่มาจากฟาร์มเลี้ยงและเชือดอย่างถูกสุขอนามัยเท่านั้นที่สามารถวางจำหน่ายได้




ที่มา : AusFoodNews (16 ต.ค.55)

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เม็กซิโกประกาศปลอดโรคหัวเหลืองในกุ้ง


สำนักงานเลขานุการด้านการเกษตร ปศุสัตว์ พัฒนาชนบท ประมง และอาหาร (Sagarpa) ได้ประกาศใน Official Gazette of the Federation ว่าเม็กซิโกเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้งปลอดโรคหัวเหลือง (Yellowhead Disease) ซึ่งจะทำให้เม็กซิโกมีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้นทั้งตลาดกุ้งภายในประเทศและต่างประเทศ

โรคหัวเหลืองในกุ้งเกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้กุ้งตายอย่างรวดเร็ว โดยกุ้งที่เป็นโรคจะมีส่วนอกเป็นสีเหลือง และลำตัวซีดกว่าปกติ
ที่มา : FIS (12 ต.ค.55)

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ไต้หวันพบ Ractopamine ในผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรนำเข้าจากสหรัฐฯ


ไต้หวันตรวจพบผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ปนเปื้อนสาร Ractopamine โดยพบในลูกชิ้นหมูที่ปริมาณ 0.4 ppb และยังพบสารปฏิชีวนะคลอแรมเฟนิคอลในเบอร์เกอร์หมูที่ 9.3 ppb ซึ่งสารทั้งสองชนิดนั้นไต้หวันไม่อนุญาตให้ใช้ในการเลี้ยงสุกร แม้จะอนุญาตให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เนื้อโคนำเข้าจากสหรัฐฯ ก็ตาม

ที่มา : PigProgress (9 ต.ค.55)

สหรัฐฯ เตรียมขยายการตรวจสอบ E. coli ที่ผลิต Shiga-toxin ในเนื้อบด


หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) วางแผนที่จะขยายการตรวจสอบเชื้อ E. coli สายพันธุ์ที่ผลิตสารพิษ Shiga toxin (STEC) อีก 6 สายพันธุ์ นอกเหนือไปจากสายพันธุ์ O157:H7 ในผลิตภัณฑ์เนื้อโคบด เพิ่มเติมจากที่ตรวจสอบในเนื้อโคตัดแต่งจากโรงเชือดเท่านั้น

ทั้งนี้ ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งแมรีแลนด์ชี้ว่า อัตราการปนเปื้อน E. coli สายพันธุ์ STEC ที่ไม่ใช่ O157:H7 อยู่ระหว่าง 2.4-30% ซึ่งทาง FSIS อาจขยายการตรวจสอบไปยังเนื้อที่ตัดแต่งด้วยมีด และเนื้อจากส่วนกะโ! หลกและแก้มของโคในอนาคต


อ่านข่าวย้อนหลังการตรวจสอบ STEC เพิ่มเติม 6 ซีโรไทป์ได้ ที่นี่
http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=07&id=10435
ที่มา : FoodSafetyNews (9 ต.ค.55)

เนื้อสุกรติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกัน เขย่าขวัญตลาดซื้อขายรัสเซีย

!
หน่วยงานตรวจสอบทางสัตวแพทย์และสุขอนามัยรัสเซีย (Rosselkhoznadzor) ตรวจพบเบคอนที่จำหน่ายในงานแสดงสินค้าเกษตร เมืองทอสโน เขตเลนินกราดของรัสเซีย ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2555 ปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์สุกรแอฟริกัน (African Swine Fever - ASF) ซึ่ง Rosselkhoznadzor ได้แจ้งเตือนผู้บริโภคไม่ควรนำเบคอนดิบไปใช้เป็นอาหารสัตว์ รวมทั้งเตือนให้ทำการฆ่าเชื้อก่อนทิ้งเศษอาหารดังกล่าว

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อ ASF Rosselkhoznadzor แนะนำให้เจ้าของฟาร์มในเขตเลนินกราดติดต่อหน่วย! งานบริการทางสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพสุกรในฟาร์ม และป้องกันสุกรจากการสัมผัสกับสัตว์อื่น ซึ่งโรค ASF แม้จะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่มนุษย์อาจเป็นพาหะนำโรคเมื่อสัมผัสสัตว์ที่ป่วยได้ พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ฆ่าเชื้อในคอก เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ชุดทำงาน และพื้นที่ภายในฟาร์ม


อ่านข่าวย้อนหลังเรื่องการระบาดของโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน ได้ที่นี่
http://www.acfs.go.th/news_detaiphp?ntype=07&id=10637
ที่มา : PigProgress (9 ต.ค.55)

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ร่างปรับปรุงระเบียบสวัสดิภาพสัตว์ใหม่เมืองผู้ดี อาจขัดฮาลาล-โคเชอร์


กระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหารและกิจการชนบท (DEFRA) ของสหราชอาณาจักร ได้ออกรายงานของที่ปรึกษาเกี่ยวกับร่างปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อคุ้มครองกระบวนการผลิตอาหารตามวิธีการของฮาลาลและโคเชอร์ โดยจะมีการปรับปรุงข้อกำหนดเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ในการเชือด ซึ่งเปิดรับข้อคิดเห็นจนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2555

เนื้อหาส่วนที่กำลังเป็นประเด็นในกลุ่มสังคมมุสลิมและยิวคือ DEFRA จะปรับเปลี่ยนนิยามการ "เชือดโดยวิธีการทางศาสนา" ให้มีความหมายครอบคลุมการทำให้สลบโดยสัตว์ยังสามารถฟื้นได้ อีกทั้งมีโอ! กาสสูงที่จะห้ามการเชือดโดยไม่ทำให้สลบ โดยองค์กร ANSA และ MUSE กำลังร่วมหาจุดยืนในการแสดงข้อคิดเห็นเพื่อปกป้องสิทธิของชาวมุสลิมและยิว


ผู้สนใจสามารถศึกษารายงานดังกล่าวได้ที่
http://www.defra.gov.uk/consult/files/animal-welfare-killing-condoc-120912.pdf



ที่มา : MeatTradeNewsDaily/HalalFocus
(5 ต.ค.55)

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ เพิ่มค่าปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์ชั่วคราว


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้อนุญาตเป็นการชั่วคราวให้สามารถนำข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ppb (ส่วนในพันล้านส่วน) มาผสมกับข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินต่ำหรือตรวจไม่พบ ในการผลิตอาหารสัตว์ โดยต้องตรวจสอบปริมาณอะฟลาทอกซินหลังจากผสมก่อนการวางจำหน่าย

ทั้งนี้ ปริมาณอะฟลาทอกซินที่อนุญาตในข้าวโพดที่ใช้เป็นส่วนผสมนั้น ต้องไม่เกิน 300 ppb และใช้ได้เฉพาะกับสัตว์ปีกขุน สุกรพ่อแม่พันธุ์ สุกรขุนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์ โคพ่อแม่พันธุ์ และโคขุน เท่านั้น



ที่มา : ThePoultrySite (4 ต.ค.55)

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหภาพยุโรปส่งออกเนื้อโคลดลง 41%



ปริมาณการส่งออกเนื้อโคของสหภาพยุโรประหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2555 มีปริมาณ 113,856 ตัน ลดลงถึง 41% เมื่อเปรียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 โดยพบว่าปริมาณการส่งออกไปยังรัสเซียลดลงถึง 34% และตุรกีลดลง 71% เหลือเพียง 28,006 และ 25,683 ตัน ตามลำดับ จากก่อนหน้านี้ในปี 2554 สามารถส่งออกเนื้อโคได้ปริมาณมาก เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินยูโร และต่างประเทศที่มีความต้องการเนื้อโคจากสหภาพยุโรป

แนวโน้มการผลิตเนื้อโคในสหภาพยุโรปตลอดปี 2555 จะลดลงถึง 4% และจากผลของปริมาณการนำเข้าที่ลดลงด้วยนั้น จะทำให้ไม่สามารถรองรับปริมาณการบริโภคภายในภูมิภาค แม้ปริมาณส่งออกจะลดลงแล้วก็ตาม



ที่มา : MeatTradeNewsDaily (4 ต.ค.55)

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เยอรมนีออกกฎระเบียบใหม่ด้านสารปฏิชีวนะในสัตว์


เยอรมนีประกาศกฎระเบียบใหม่ด้านการใช้สารปฏิชีวนะในสัตว์ โดยมีเป้าหมายลดการใช้ยาสัตว์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ภายใต้ความร่วมมือของทั้งหน่วยงานกำกับดูแลส่วนกลางและหน่วยงานของแต่ละรัฐ ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลเมื่อใช้สารปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ และข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังฐานข้อมูลแห่งชาติที่เข้าถึงได้จากหน่วยงานกำกับดูแลทุกระดับ เพื่อประเมินความถี่การใช้สารปฏิชีวนะระหว่างผู้ประกอบการกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงสัตว์จะต้องพร้อมเข้ารับการตรวจสอบและปฏิบัติตามมาตรการควบคุมทั้งจากสัตวแพทย์และหน่วยงานกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง



ที่มา : ThePigSite (3 ก.ย.55)

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กระทรวงพาณิชย์กร้าว สั่งชะลอขึ้นราคาอาหารสัตว์

 


กรมการค้าภายใน ดิ􀃊นแก้ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์แพง หลังผลผลิตสหรัฐฯ เสียหายหนักจากภัย

แล้ง พร้อมสั􀃉งชะลอปรับขึ􀃊นราคาอาหารสัตว์

นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิ ดเผยว่า ได้หารือกับผู้ผลิตอาหารสัตว์

เพื􀃉อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต้นทุนอาหารสัตว์ปรับขึ􀃊นราคา โดยเฉพาะข้าวโพดเลี􀃊ยงสัตว์ และถั􀃉วเหลือง

ในตลาดโลกที􀃉ราคาสูงขึ􀃊นมาก เพราะผลผลิตส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ แหล่งผลิตสำคัญเสียหายจากภาวะภัย

แล้ง เบื􀃊องต้นได้ให้เอกชนไปรวบรวมความต้องการใช้ข้าวโพดเลี􀃊ยงสัตว์เสนอมา เพื􀃉อนำเข้าจากประเทศ

เพื􀃉อนบ้านในราคาตํ􀃉า มาใช้ในอุตสาหกรรม ชดเชยต้นทุนกากถั􀃉วเหลืองที􀃉ปรับตัวสูงขึ􀃊น เชื􀃉อว่าจะช่วยลด

ต้นทุน และชะลอการปรับขึ􀃊นราคาอาหารสัตว์ได้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ขณะนี􀃊ยังไม่มีการปรับขึ􀃊นราคา

อาหารสัตว์ในประเทศแน่นอน

รัฐบาลปล่อยราคาไข่ไก่ตกตํ􀃉านานกว่า 9 เดือน เกษตรกรเตรียมบุกทำเนียบ 2 ต.ค.นี􀃊

รัฐบาลปล่อยราคาไข่ไก่ตกตํ่านานกว่า

9 เดือน เกษตรกรเตรียมบุกทำเนียบ 2 ..นี􀃊

เกษตรกรเลี􀃊ยงไก่

1,000 คน เตรียมบุกทำเนียบยื􀃉นหนังสือถึงนายกฯ 2 ..นี􀃊 แก้ปัญหาราคาไข่

ตกตํ􀃉านานกว่า

9 เดือนแล้ว พร้อมวอนช่วยพยุงราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มฟองละ 2.80 บาท

นายชัยพร สีถัน ตัวแทนชมรมผู้เลีย􀃊 งไก่ไข่รายย่อย


เปิ ดเผยว่า ในวันอังคารที􀃉 2 ตุลาคม 2555 นี􀃊

ทางกลุ่มตัวแทนเกษตรกรประมาณ

1,000 คน จะเดินทางมายื􀃉นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ที􀃉ทำเนียบ

รัฐบาล เพื􀃉อเรียกร้องให้ช่วยแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกตํ􀃉า ซึ􀃉งในขณะนี􀃊 ขายขาดทุนและได้รับผลกระทบมา

เป็นเวลานานกว่า

9 เดือนแล้ว โดยในเบื􀃊องต้น ต้องการให้รัฐบาลพยุงราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มไว้ที􀃉ฟองละ

2.80

บาท ซึ􀃉งเป็นราคาที􀃉สูงกว่าต้นทุนของเกษตรกรเพียงเล็กน้อย ฟองละ 20 สตางค์ (ต้นทุน 2.60 บาท)

และต้องการให้ช่วยเหลือด้านต้นทุนอาหารสัตว์ เพราะยังไม่สามารถแก้ไขด้วยการปลดแม่พันธุ์ไก่ได้

เพราะยังเป็นไก่สาว

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ พบเชื้อก่อโรคดื้อยาในสุกรปลอดปฏิชีวนะ



นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา พบเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter coli (C. coli) ที่เป็นเชื้อก่อโรคในอาหาร ทั้งในสุกรที่เลี้ยงแบบไม่ใช้สารปฏิชีวนะ และสุกรที่เลี้ยงแบบปกติ โดยพบว่าเชื้อที่อยู่ในสุกรทั้งสองกลุ่มมีลักษณะดื้อยา ทั้งที่เกษตรกรหลายรายหันมาเลี้ยงแบบปลอดปฏิชีวนะเพื่อลดโอกาสที่เชื้อจะเกิดการดื้อยามาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

ทั้งนี้ นักวิจัยกลุ่มดังกล่าวให้ความเห็นว่า หากมีการเลี้ยงแบบปลอดสารปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง ก็มีแนวโน้มจะช่วยลดปัจจัยการคัดเลือกโดยลดสัดส่วนประชากรแบคทีเรียที่มีความต้านทานลง และหวังว่าก! ารเลี้ยงจะทำให้ประชากรที่ดื้อยาค่อยๆ ลดจำนวนลงตามไปด้วย จากเดิมที่การเลี้ยงด้วยสารปฏิชีวนะจะมีเฉพาะเชื้อดื้อยาเท่านั้นที่สามารถอยู่รอดได้



ที่มา : ThePigSite (20 กันยายน 2555)

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รายงานสถานการณ์ไข้หวัดนกระบาดในเวียดนาม



รายงานเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 ผลจากไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 มีการระบาดเพิ่มในพื้นที่ 2 จังหวัดทางตอนเหนือของเวียดนาม รวมเป็น 7 จังหวัดทั้งในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ โดยที่จังหวัดเตวียนกวง (Tuyen Quang) มีการทำลายสัตว์ปีกที่เป็นโรคแล้วกว่า 17,600 ตัว หลังจากมีการรายงานการระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555 ที่คอมมูนในเขตการปกครองซองเดวื่อง (Son Duong) และเพิ่มเป็น 9 คอมมูนในเขตดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2555

หน่วยงานสุขภาพสัตว์ท้องที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเรื่องดังกล่าว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดทั้งในระดับเขตการปกครองและคอมมูน รวมทั้งส่งหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกอย่างผิดกฎหมาย ทำลายสัตว์ที่เป็นโรค และระงับการเชือด จำหน่าย หรือขนส่งสัตว์ปีกในพื้นที่ทั้งหมดที่มีการระบาดของไข้หวัดนก

อนึ่ง เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ที่ระบาดในเวียดนามขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ต่างจากสายพันธุ์ A และ B ที่มีการระบาดเมื่อปี 2554 โดยพบว่ามีความสามารถในการก่อโรครุนแรงยิ่งขึ้น




ที่มา : XinhuaNet (17 ก.ย.55)

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ รายงานการค้นพบเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรชนิดใหม่สายพันธุ์ H1N2



นักวิจัยสหรัฐฯ พบว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรสายพันธุ์ H1N2 ที่เก็บจากตัวอย่างสุกรในเกาหลีใต้เมื่อปี 2552 มีลักษณะเป็นเชื้อก่อโรครุนแรง โดยตัวอย่าง Sw/1204/2009 ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะก่อโรคในเยื่อหุ้มปอดและแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในสภาพทั่วไปของทางเดินหายใจมนุษย์ และการศึกษาในสัตว์ทดลองจำพวกเฟเร็ต พบว่าทำให้สัตว์ทดลองตาย

เชื้อไข้หวัดสุกรที่ระบาดในปี 2552 ที่เม็กซิโก ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ H1N1 ที่พบความเกี่ยวข้องทางวิวัฒนาการย้อนหลังไปถึงเชื้อไข้หวัดที่ระบาดเมื่อ 91 ปีก่อน! หน้านั้น (พ.ศ.2461) ซึ่งเป็นการเผยข้อมูลครั้งแรกว่าไข้หวัดสุกรอาจสามารถติดต่อระหว่างมนุษย์และสุกรได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีแนวโน้มของการติดต่อลักษณะดังกล่าวในเชื้อสายพันธุ์ H3N2 และ H2N2 ที่ล้วนเป็นสายพันธุ์ก่อโรครุนแรงด้วย แม้จะยังไม่พบการติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยกันก็ตาม



ที่มา : AusFoodNews (13ก.ย.55)


รายงานสถานการณ์ไข้หวัดนกในเม็กซิโก



หลังจากมีรายงานการระบาดของไข้หวัดนกในเม็กซิโก และมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมานั้น หน่วยงานควบคุมด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และสุขอนามัยอาหาร (Senasica) ของเม็กซิโกได้รายงานว่า มีการทำลายสัตว์ปีกกลุ่มเสี่ยงกว่า 22.3 ล้านตัว ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2555 เพื่อสกัดกั้นการระบาดของไข้หวัดนก และมีการฉีดวัคซีนให้ปศุสัตว์สัตว์ปีกกว่า 140 ล้านตัว นอกจากนี้มีรายงานจากฟาร์มผลิตปศุสัตว์ว่ากำลังเพิ่มปริมาณสัตว์ปีกที่เลี้ยงในอัตรา 4.5 - 5 ล้านตัวต่อเดือน ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตไข่ได้ถึง 2,700 ตันต่อวัน

ไข! ้หวัดนกที่มีรายงานการระบาดในเม็กซิโกปีนี้ เป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ก่อโรครุนแรง H7N3 โดยพบระบาดในฟาร์ม 33 แห่ง เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน และรายงานล่าสุดจาก Senasica ยังไม่พบว่ามีการระบาดของโรคในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้

อ่านข่าวย้อนหลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไข้หวัดนกได้ ที่นี่
http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=07&id=10538



ที่มา : MeatPoultry (13ก.ย.55)

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ฟิลิปปินส์ยกเลิกแบนไก่-เป็ดไทย



กรมการค้าต่างประเทศเผย กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ได้ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกจากไทย ตั้งแต่ช่วงปี 2547 ที่มีการระบาดของไข้หวัดนก โดยคำสั่งยกเลิกการห้ามนำเข้ามีผลตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2555 ซึ่งทางฟิลิปปินส์ได้ให้กรมปศุสัตว์ยื่นหนังสือขอรับการรับรองสถานที่ผลิตแก่กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ก่อนการเริ่มส่งออกอีกครั้ง



ที่มา : ไทยโพสต์ (11ก.ย.55)

โปแลนด์อนุญาตการใช้ถั่วเหลือง GMO เป็นอาหารสัตว์ ในปี 2559




ประธานาธิบดีโปแลนด์ได้ลงนามในกฎหมายอาหารสัตว์ฉบับปรับปรุงที่มีเนื้อหาอนุญาตการใช้ถั่วเหลืองที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ในอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป โดยให้ความเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคม ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของโปแลนด์ให้ความเห็นคัดค้านว่า ผลิตภัณฑ์จากโปแลนด์ควรจะปลอด GMO เนื่องจากมีข้อเท็จจริงที่ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ GMO อาจส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นควรจะมีการติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่ปลอด GMO เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตนเอง

! กระนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของโปแลนด์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์ GMO ว่า หากมีการห้ามใช้วัตถุดิบที่เป็น GMO การผลิตหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ทันที จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่ออุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ และส่งผลต่อการจ้างงานในประเทศด้วย ส่วนประเด็นการปลูกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปัจจุบันยังไม่มีระเบียบควบคุมอย่างเหมาะสมในโปแลนด์นั้น คณะกรรมาธิการยุโรปได้เตือนกระทรวงเกษตรโปแลนด์ให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอย่างเร่งด่วน ก่อนจะมีมาตรการลงโทษจากทางสหภาพฯ




ที่มา : AllAboutFeed (19 ก.ย.55)

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

Ongoing HPAI in Vietnam, 2152 birds destroyed

Ongoing HPAI in Vietnam, 2152 birds destroyed

 

//10 Sep 2012
Three new outbreaks in Vietnam of the highly pathogenic avian influenza H5N1 were reported to the World Organisation for Animal Health. Two outbreaks took place in villages in the north of the country and one outbreak was in the south.
The three outbreaks were all localised to villages, and the source of the epidemic is as yet unknown.
The HPAI epidemic in Vietnam was first reported to the OIE in 2006, and the country’s struggle to eradicate the disease is now in its 6th year.
Dr Nam Hoang Van, Director General of Vietnam’s Department of Animal Health, of the Ministry of Agriculture and Rural Development, reported that in total 2152 birds were destroyed, and that standard quarantine measures were being carried out.
Source: OIE

ออสเตรเลียเตรียมยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตเนื้อสุกร



ออสเตรเลียเตรียมยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสุกร โดยหน่วยงานความร่วมมือในการวิจัยด้านการผลิตสุกรของออสเตรเลีย และหน่วยงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ RSPCA ของออสเตรเลีย ได้เตรียมใช้ดัชนีชี้วัดสวัสดิภาพสัตว์ในโครงการวิจัยของหน่วยงานฯ ตามรายละเอียดต่อไปนี้

- แผลของซาก ซึ่งสามารถใช้ประเมินลักษณะการเลี้ยงที่อาจเป็นการทรมานสุกร
- ปริมาณคอร์ติซอลในน้ำลาย ที่สามารถใช้ประเมิน! ภาวะเครียดของสุกรได้ดีกว่าในพลาสมาของเลือด
- สมรรถภาพของร่างกาย สำหรับใช้ประเมินสุขภาพและลักษณะทางกายภาพของสุกร
- ความถี่ของพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ประเมินความเข้ากันได้ภายในฝูง และการปรับตัวของสุกร

ทั้งนี้จะมีการบันทึกพฤติกรรมของสัตว์โดยใช้วีดิโอ และข้อมูลดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาการเลี้ยงและต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรของออสเตรเลีย โดยเริ่มใช้ใน 2 โครงการนำร่อง ได้แก่ โครงการเลี้ยงแม่สุกรแบบไม่ขังกรงรวมทั้งการจัดการลูกสุกร และโครงการจัดการสุขภาพในฝูงสุกร




ที่มา : MeatTradeNewsDaily (10 ก.ย.55)


วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

จีนเปิดไฟเขียวท่าเรือเทียนจินพร้อมนำเข้ามันสำปะหลังจากไทย





ตลาดการค้าสินค้าเกษตรกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ปินไห่ของจีน กับสำนักงานการค้ามันสำปะหลังแห้งล่วงหน้าของไทย ได้เซ็นสัญญาว่าด้วยการนำเข้ามันสำปะหลังแห้งจากไทย โดยจีนพร้อมเปิดช่องทางนำเข้ามันสำปะหลังแห้งจากไทยผ่านด่านตงเจียง นครเทียนจิน จากก่อนหน้านี้ที่มันสำปะหลังจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนเข้าสู่จีนผ่านด่านชิงเต่า ฉินฮ๋วงต่าว เซี่ยงไฮ้ ซึ่งนครเทียนจินเป็นท่าเรือสำคัญในทางตอนเหนือ รวมทั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้าหลักสู่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงปักกิ่ง และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแป้งและการผลิตบะหมี่ของมณฑลหูเป่ย ที่ล่าสุดมียอดการใช้มั! นสำปะหลังถึงราว 8 แสนตัน ในขณะที่นำเข้าจากไทยได้เพียง 5-6 หมื่นตันต่อปี จึงถือเป็นช่องทางการค้าที่สำคัญแห่งใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตมันสำปะหลังของไทย

ทั้งนี้ แผนการพัฒนาประจำปี 2554-2559 ของจีนได้กำหนดมันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอันดับแรก และเป็นสินค้าสำคัญในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนของจีน จากการที่มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเอทานอล ความต้องการมันสำปะหลังของตลาดจีนจึงมีแนวโน้มขยายตัวมากในอนาคต




ที่มา : ThaiBizChina (7 ก.ย.55)

ออสเตรเลียพัฒนาวัคซีน โรคไข้สามวันในโค


บริษัทเอกชนในออสเตรเลียกำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาโรคไข้สามวันในโคให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถรักษาได้โดยให้วัคซีนเพียงครั้งเดียว โดยก่อนหน้านี้เคยมีการทดลองใช้ตั้งแต่ปี 2523 และค่อนข้างได้ผลดี ซึ่งปัจจุบันโรคดังกล่าวมีรายงานการระบาดที่เพิ่มขึ้นทั้งในออสเตรเลียและทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

โรคไข้สามวัน ไข้ขาแข็ง หรือ Bovine Ephemeral Fever มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Arbovirus พบติดต่อในโคทุกช่วงอายุ ยกเว้นลูกโคอายุต่ำกว่า 6 เดือน มักไม่แสดงอาการ และพบมากในโคนมที่เลี้ยงในเขตร้อน-กึ่งร้อน โดยมีพาหะคือแมลง โคที่เป็นโรคจะเกิดอาการผิดปกติในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข! ้อต่อ ทำให้มีอาการเฉื่อยชา เคลื่อนไหวลำบาก และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนอื่นจนเสียชีวิตได้



ที่มา : TheCattleSite (7ก.ย.55)


วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

นักวิจัยสหรัฐฯ คิดค้นตัวตรวจจับเอทิลีนใช้งานร่วมกับ RFID หวังลดขยะวัตถุดิบอาหาร


นักวิจัยสหรัฐฯ คิดค้นตัวตรวจจับก๊าซเอทิลีนที่สามารถส่งข้อมูลไปยังชิพ RFID ที่สามารถรายงานปริมาณก๊าซเอทิลีน ซึ่งก๊าซดังกล่าวผลิตจากผักและผลไม้ที่กำลังสุกในปริมาณ 0.1-1 ppm และสามารถตรวจพบแม้มีเพียง 0.5 ppm ให้แก่อุปกรณ์อ่านค่าแบบมือถือ ทั้งยังมีต้นทุนเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ชุดของตัวตรวจจับที่ผลิตจากท่อคาร์บอนนาโนที่มีส่วนผสมของทองแดงและชิพ RFID และมีการเติมเม็ดโพลีสไตรีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจับก๊าซเอทิลีนอีกด้วย

หลักการตรว! จวัดปริมาณก๊าซเอทิลีนของอุปกรณ์ดังกล่าวทำได้โดย เมื่อมีก๊าซเอทิลีน ก๊าซดังกล่าวจะไปจับกับทองแดงที่ผสมในท่อคาร์บอนนาโน และทำให้กระแสอิเล็กตรอนภายในเคลื่อนตัวได้ช้าลง ทำให้สามารถคำนวณปริมาณก๊าซเอทิลีนที่เกิดจากผลิตผลได้ ซึ่งจะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมและผู้ผลิตขั้นทุติยภูมิสามารถทราบได้ว่าวัตถุดิบของตนสุกเกินไป หรือยังไม่สุกเพียงพอสำหรับขั้นตอนการผลิต และต้องมีกระบวนการรักษาสภาพ เช่น การแช่เย็น หรือการบ่มผลผลิตเป็นพิเศษหรือไม่ ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวจะผลิตตัวต้นแบบเพื่อให้ผู้ประกอบการทดลองใช้ในช่วงปี 2556 และคาดว่าจะสามารถเดินสายการผลิตจริงได้ภายใน 6 เดือน เพื่อประเมินช่วงอุณหภูมิ และความชื้นที่ทำงานได้ รวมทั้งทดสอบความสามารถในการตรวจจับของอุปกรณ์



ที่มา : FoodProductionDaily (6 ก.ย.55)

ญี่ปุ่นเตรียมผ่อนปรนมาตรการนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯญี่ปุ่นเตรียมผ่อนปรนมาตรการนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ




ญี่ปุ่นเตรียมผ่อนปรนมาตรการนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ โดยผู้เชี่ยวชาญได้เห็นด้วยกับการที่จะอนุญาตให้นำเข้าเนื้อที่ผลิตจากโคอายุ 30 เดือนขึ้นไป ซึ่งนอกจากสหรัฐฯ ก็จะผ่อนปรนให้แก่แคนาดา ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ด้วย และจะประกาศร่างเพื่อรับข้อคิดเห็นจากสาธารณชนประมาณปลายปี 2555 หรือต้นปี 2556

ญี่ปุ่นห้ามนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2546 จากสาเหตุของโรควัวบ้า (BSE) และเริ่มผ่อนปรนให้นำเข้าเนื้อถอดกระดูกที่ผลิตจากโคอายุต่ำกว่า 21 เดือนเมื่อเดือนธันวาคมปี 2548 ก่อนสั่งห้ามนำเข้าอีกครั้งใน 6 สัปดาห์! ถัดมา หลังพบชิ้นส่วนกระดูกปนเปื้อนในเนื้อลูกวัวที่มาจากมลรัฐนิวยอร์ก



ที่มา : MeatPoultry (6 ก.ย.55)

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กฎระเบียบการกล่าวอ้างทางสุขภาพฉบับใหม่ของออสเตรเลียใกล้แล้วเสร็จ


หน่วยงานมาตรฐานอาหารออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (FSANZ) เตรียมพร้อมประกาศใช้กฎระเบียบการอ้างทางสุขภาพฉบับใหม่ หลังจากผ่านการร่างหลายครั้ง เพื่อให้มีความสมดุลของมาตรฐานการกล่าวอ้างทางสุขภาพสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเนื้อหาที่ปรับปรุงหรือมีการเพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้

- การกล่าวอ้างทางสุขภาพสำหรับปริมาณสารอาหาร
- การกล่าวอ้างทางสุขภาพระด! ับสูง ที่ต้องมีการตรวจสอบยืนยันผลต่อโรคหรือดัชนีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ (biomarker) ก่อนรับรอง
- การระบุความน่าเชื่อถือของวิธีการวิเคราะห์สารอาหาร
- การยืนยันตนเองสำหรับการอ้างทางสุขภาพ เพื่อเปิดโอกาสให้แก่อาหารนวัตกรรม
- การระบุข้อมูลยืนยันทางวิทยาศาสตร์สำหรับประกอบการใช้คำกล่าวอ้างทางสุขภาพ
- การกล่าวอ้างทางสุขภาพว่าอาหารมีคุณสมบัติในการบำบัดโรค เช่น อาหารในกลุ่มโพรไบโอติก หรือมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ

ทั้งนี้ กฎระเบียบการกล่าวอ้างทางสุขภาพฉบับใหม่ที่! มาจากร่าง P293 ดังกล่าว จะประกาศใช้ภายใต้ชื่อ Food Standard 1.! 2.7 - Nu trition, Health and Related Claims และ FSANZ จะประกาศใน Gazettal เมื่อเสร็จสิ้นการแก้ไขประเด็นต่างๆ ข้างต้นเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ในรัฐและอาณาเขตปกครองของออสเตรเลีย
ที่มา : AusFoodNews (4 ก.ย.55)

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฝรั่งเศสยืนยันการระบาดของโรค Brucellosis


ฝรั่งเศสยืนยันการระบาดของโรค Brucellosis ในโคสู่มนุษย์ เนื่องจากการบริโภคชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2555 ซึ่งก่อนหน้านี้ฝรั่งเศสได้ประกาศเป็นเขตปลอดโรคตั้งแต่ปี 2548 ทำให้หน่วยงานรับผิดชอบต้องดำเนินการต้นตอการระบาดสำหรับเชื้อสาเหตุของโรค ซึ่งอาจเกิดจากการระบาดระหว่างฝูง หรือจากสัตว์ป่า

โรค Brucellosis ทำให้เกิดการแท้งติดต่อในโค และสำหรับในมนุษย์นั้น เชื้อสาเหตุ Brucella melitensis อาจมีปฏิกิริยาร่วมกับเชื้ออื่นและให้ผลการวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติของภาวะภูมิ! คุ้มกัน เนื่องจากเชื้อดังกล่าวมีความจำเพาะทางซีรัมวิทยาในระดับต่ำ

ที่มา : TheBeefSite (30 ส.ค.55)

ไต้หวันอาจเปิดโอกาสนำเข้าเนื้อโคที่ใช้ Ractopamine จากแคนาดา-สหรัฐฯ


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไต้หวัน (FDA) เปิดรับข้อคิดเห็นจากภาคเอกชนสำหรับร่างระเบียบการกำหนดค่า MRL ของสาร Ractopamine ในเนื้อโคที่นำเข้าจากสหรัฐฯ และแคนาดา โดยระบุไว้ที่ 10 ppb เท่ากับมาตรฐานของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ พร้อมทั้งระเบียบการติดฉลากแหล่งที่มาของวัตถุดิบบนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเนื้อโค เช่น บะหมี่สำเร็จรูป หรือเนื้อตากแห้ง ส่วนสถานที่ประกอบอาหารจากเนื้อโค เช่น แผงจำหน่ายและร้านอาหาร ให้มีการระบุที่มาของเนื้อที่ใช้เป็นวัตถุดิบอย่างชัดเจน ซึ่ง FDA ได้กำหนดมาตรการลงโทษปรับเป็นเงิน 1000-7000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 31,500-220,500 บาท) สำหรับร้านค้าที่ฝ่! าฝืนระเบียบดังกล่าว

ร่างระเบียบข้างต้นวางแผนประกาศใช้ในช่วงกลางเดือนกันยายน 2555 หากได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน
ที่มา : MeatTradeNewsDaily (30 ส.ค.55)

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทางการสหรัฐฯ เตรียมพิจารณาการติดฉลากเนื้อสัตว์ที่ผ่านการทุบให้นุ่ม



กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้รับหนังสือเสนอการติดฉลากเนื้อที่ผ่านการทุบให้นุ่มจากกลุ่มรณรงค์ด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้ติดฉลากแสดงการปรุงเนื้อสัตว์ดังกล่าวให้ปลอดภัย โดยให้ระบุว่าต้องทำให้สุกที่อุณหภูมิสูงกว่า 160 ฟาเรนไฮต์ (71 องศาเซลเซียส) ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิที่ใช้ในการปรุงเนื้อบด เนื่องจากแบคทีเรียสามารถเข้าแทรกไปยังรอยตัดของชิ้นเนื้อประเภทดังกล่าวได้ง่ายกว่าชิ้นเนื้อปกติ

ทั้งนี้ เนื้อสัตว์ที่ผ่านการทุบให้นุ่ม เป็นสาเหตุหนึ่งของการระบาดของเชื! ้อก่อโรคในอาหาร E. coli สายพันธุ์ O157:H7 ระหว่างช่วงปี 2546-2552



ที่มา : FoodSafetyNews (28 ส.ค.55)

จีนกดดันไทยเปิดตลาดไก่สุก


จากการที่จีนพยายามผลักดันให้ไทยเปิดตลาดไก่ปรุงสุกและไก่แปรรูป นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไก่เนื้อของไทยเกรงว่าสินค้าที่จีนต้องการให้ไทยเปิดตลาดจะถูกสวมสิทธิ์เพื่อนำไปส่งออกสู่ตลาดสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของมาตรฐานสินค้าไก่ของไทย และในขณะนี้ 5 สมาคมด้านไก่เนื้อได้ส่งหนังสือคัดค้านไปยังกรมปศุสัตว์แล้ว

การตัดสินใจของภาครัฐต่อการเปิดตลาดดังกล่าว จะมีผลต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยหลายรายการ เช่นชมพู่ทับทิมจันทร์ที่เคยมีการพิจารณาสั่งห้ามน! ำเข้าก่อนหน้านี้ ทั้งล่าสุดยังมีการอ้างว่าพบสารตะกั่วตกค้างในมันสำปะหลังของไทยเกิน 0.2 ppm และจีนอาจจะนำเรื่องนี้มาใช้เป็นเหตุผลต่อรองและกดดันไทยให้เปิดตลาดไก่ดังกล่าว ซึ่งไทยคงไม่สามารถเปิดตลาดได้เพราะจะส่งผลเสียต่อเกษตรกร ที่ปัจจุบันกำลังได้รับผลกระทบจากผลผลิตล้นตลาด และต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น



ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (28 ส.ค.55)

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อินโดนีเซียยกเลิกห้ามนำเข้าเนื้อกระดูกป่นจากสหรัฐ




ภายหลังจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสัตว์ และทบทวนความปลอดภัยจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านโรควัวบ้า (BSE) อินโดนีเซียได้ประกาศมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

G/SPS/N/IDN/50/Add.1 ยกเลิกห้ามนำเข้าเนื้อกระดูกป่นจากสหรัฐฯ แต่ยังคงให้มีการประเมินความเสี่ยงเชิงลึกในส่วนของการนำเข้าซาก กระดูก และเจลาตินในกระดูก เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2555


ที่มา : มกอช. (27 ส.ค.55)


วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข้าวฟ่าง: เป้าหมายใหม่พืชพลังงานผลิตเอธานอล


รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังเตรียมพิจารณาให้ข้าวฟ่างที่ปัจจุบันใช้เป็นอาหารสัตว์ ระบุเป็นพืชพลังงานสำหรับผลิตเอธานอล ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพมีทางเลือกวัตถุดิบเพิ่มเติม ทั้งยังรักษาสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนถึงเมื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงยานพาหนะที่ลดลงกว่าการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอื่นๆ และจะทำให้สหรัฐฯ บรรลุเป้าหมายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากแหล่งพลังงานที่ปลูกทดแทนได้ 36,000 ล้านแกลลอน (ประมาณ 140,000 ล้านลิตร) ต่อปี ภายในปี 2565

ปัจจุบันสหรัฐฯ ใช้เชื้อเ! พลิงชีวภาพจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ เอธานอลซึ่งผลิตจากอ้อยทั้งที่นำเข้าจากบราซิล เชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ น้ำมันดีเซลผสมน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น แต่จากปัญหาภัยแล้งทั่วสหรัฐที่ส่งผลให้ราคาข้าวโพดและพืชอาหารอื่นเพิ่มสูงขึ้น ข้าวฟ่างที่ไม่ได้ใช้ในการผลิตอาหารและอาหารสัตว์เป็นหลักจึงถูกจับตามองว่าจะเข้ามาแทนที่ กระนั้นหลายฝ่ายก็ยังตั้งคำถามถึงแรงจูงใจที่ผู้ประกอบการจะดำเนินการผลิตเอธานอลจากข้าวฟ่างว่าจะมีมากน้อยเพียงใด



ที่มา : AllAboutFeed (23 ส.ค.55)

เวียดนาม-พม่า คุมเข้มนำเข้าอาหาร


เวียดนามเตรียมตรวจเข้มสินค้านำเข้าประเภทผลไม้สด พืช และผลิตภัณฑ์จากพืช ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2555 โดยผลิตภัณฑ์พืชที่มีแหล่งกำเนิดสินค้าใหม่ซึ่งนำเข้าเวียดนามเป็นครั้งแรก หรือมีความเสี่ยงของโรคหรือปนเปื้อนสารเคมี จะต้องถูกตรวจสอบก่อนนำเข้า เนื่องจากก่อนหน้านี้พบว่าสินค้าผักและผลไม้สดจากจีน 3 ตัวอย่าง มีปริมาณสารตกค้างเกินค่ากำหนด โดย 2 ใน 3 มีสารไดฟีโนโคนาโซลตกค้างสูงกว่ามาตรฐานถึง 3-5 เท่า ทั้งใบตรวจกักกันโรคของเวียดนามที่ใช้อยู่เดิมก็ไม่ได้ระบุครอบคลุมการตรวจสารตกค้างหรือสารเคมีอื่นๆ

ในขณะเดียวกัน จากปัญหาการพบน้ำมันประกอบ! อาหารที่เป็นอันตรายเข้าทางชายแดนพม่า ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของพม่า (FDA) ได้เตรียมควบคุมคุณภาพสินค้าอาหารในการนำเข้าบริเวณชายแดน โดยมาตรการใหม่จะครอบคลุมสินค้าอาหารที่หมดอายุ สินค้าอาหารคุณภาพต่ำ และสีเคมีผสมอาหารที่เป็นอันตราย ทั้งนี้ FDA ได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อตั้งศูนย์ตรวจสอบสินค้าบริเวณชายแดนจีน-พม่า จนถึงเขตแดนไทย-จีน จำนวน 11 จุด



ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ (23 ส.ค.55)

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยร้องคงภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง


กระทรวงพาณิชย์เตรียมพิจารณาต่อเวลาการคงภาษีนำเข้าถั่วเหลืองที่ 2% เป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังตลาดโลกประสบปัญหาราคาธัญพืชเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเหตุภัยแล้งในปีนี้ ซึ่งมีแนวโน้มส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับราคาอาหารสัตว์ และเนื้อสัตว์ ทำให้ราคาข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้น 20% และถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้นถึง 25% โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองนั้นถือเป็นต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ถึง 50%

ทั้งนี้ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้เรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาคงภาษีนำเข้าถั่วเหลื! องอย่างถาวร เนื่องจากไทยไม่สามารถผลิตถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองได้เพียงพอต่อความต้องการในการผลิตอาหารสัตว์



ที่มา : AllAboutFeed (23 ส.ค.55)

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ เผยแพร่แนวทางปฏิบัติเพื่อผลิตไข่ปลอดภัย


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ได้เผยแพร่แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตไข่ไก่ เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง และส่งเสริมการใช้กฎระเบียบการผลิตไข่ไก่ของสหรัฐฯ ที่ประกาศเมื่อปี 2552 โดยกฎระเบียบดังกล่าวริเริ่มบังคับใช้ในผู้ผลิตที่มีจำนวนไก่ไข่มากกว่า 50,000 ตัว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 และเพิ่งมีผลบังคับใช้ครอบคลุมถึงผู้ผลิตขนาดกลางที่มีไก่ไข่ 3,000-50,000 ตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา

เป้าหมายของ FDA ที่ออกแนวทางปฏิบัติดังกล่าว เพื่อหยุดยั้งการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella ent! eritidis (SE) ตั้งแต่เพิ่มคำแนะนำในการปฏิบัติตามระเบียบที่ถูกต้อง ในการเก็บรักษาและขนส่งไข่ไก่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 45 ฟาเรนไฮต์ (ต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส) รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ผลิตไข่ไก่หันมาผลิตในโรงเรือนระบบปิดเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนเชื้อ ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตไข่ไก่ให้ความเห็นว่า มาตรการหยุดยั้ง SE ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตที่เลี้ยงไก่แบบปล่อยอิสระ

ขณะนี้ FDA กำลังอยู่ในขั้นตอนการประเมินประสิทธิภาพวิธีการใหม่สำหรับตรวจเชื้อ SE และเตรียมให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้การตรวจพบเชื้อทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถแจ้งผู้ผลิตเพื่อจัดการหรือเรียกคืนสินค้าอย่างทันท่วงที



ที่มา : FoodSafetyNews (21 ส.ค.55)

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

น้ำตาลโลกพุ่งดันรายได้ปีนี้ 1.9 แสนล้าน



สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เผยประมาณการรายได้ฤดูกาลผลิต 2554/2555 เพิ่มเป็น 193,000 ล้านบาท สูงกว่าฤดูกาลก่อนถึง 13,000 ล้านบาท ด้วยเหตุราคาน้ำตาลจำหน่ายล่วงหน้า และปริมาณการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น

สำหรับเกษตรกร ราคาอ้อยขั้นปลายฤดูกาลผลิตจะอยู่ที่ตันละ 1,065 บาท ที่ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. และคาดว่าชาวไร่จะได้ราคาอ้อยขั้นปลายสูงกว่าตันละ 1,200 บาท เนื่องจากมีความหวานสูงกว่า 12 ซี.ซี.เอส ทั้งจะได้เงินค่าอ้อยอีกตันละ 154 บาท จากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายอีกด้วย

! ; ตลาดส่งออกน้ำตาลไทย 90% เป็นการส่งออกภายในทวีปเอเชีย โดยขายในอาเซียนถึง 40% ทั้งไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติยูโรโซน และปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ต่างจำกัดการนำเข้าอยู่แล้ว ทำให้มีสัดส่วนส่งออกเพียงภูมิภาคละ 0.5% โดย สอน. เตรียมขยายการส่งออกในอาเซียนเพื่อรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเตรียมติดตามให้อินโดนีเซียลดภาษีนำเข้าจาก 38% เหลือ 5% ตามข้อตกลงกับอาเซียน รวมทั้งขยายตลาดแอฟริกาที่มีแนวโน้มขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ และตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อในประเทศสูง



ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (20 ส.ค.55)


สหราชอาณาจักรเตรียมพิจารณารับรอง “สารต้านความหิว”สหราชอาณาจักรเตรียมพิจารณารับรอง “สารต้านความหิว”




“สารต้านความหิว” กำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณารับรองจากสำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (FSA) ให้สามารถเติมในผลิตภัณฑ์นม รวมไปถึงโยเกิร์ตได้ โดย “สารต้านความหิว” หรือสารกลุ่มเมธิลเซลลูโลส เคยมีการรับรองให้ใช้เป็นสารลดแรงตึงผิว สารเพิ่มความหนืด และสารให้ความคงตัว โดยพบว่าเมื่อเติมเมธิลเซลลูโลสจะทำให้สารละลายมีความเหนียวข้นเช่นเดียวกับการเติมเจลาติน แต่ยังไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มใยอาหาร

ขณะนี้คณะกรรมการที่ปรึกษาอาหารนวัตกรรมและกระบวนการ (ACNFP) ของ FSA ได้รับรองความปลอดภัยของเมธิลเซลลูโลส ในการผส! มผลิตภัณฑ์ประเภท ไอศกรีม เครื่องดื่มนมปรุงแต่ง ขนมที่มีส่วนผสมของนม โยเกิร์ต และโยเกิร์ตพร้อมดื่ม แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและทารก และเตรียมศึกษาต่อเนื่องสำหรับกระบวนการย่อยเมธิลเซลลูโลส รวมทั้งคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความอิ่มเพิ่มเติม

ACNFP กำลังเปิดรับความคิดเห็นต่อร่างผลการพิจารณาสารเมธิลเซลลูโลส และจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการพร้อมผลวิเคราะห์การใช้เมธิลเซลลูโลสในอาหาร




ที่มา : FoodNavigator (20 ส.ค.55)



วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กสิกรไทยแนะจับตาธุรกิจอาหารสัตว์ครึ่งหลังปี 55 เผชิญปัจจัยเสี่ยงราคาวัตถุดิบ

 


altบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ธุรกิจอาหารสัตว์ครึ่งหลังปี 2555 บริโภคและส่งออกอาเซียนยังเติบโต แต่ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงด้านราคาวัตถุดิบ" ระบุว่า

ปัจจุบันธุรกิจอาหารสัตว์ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศและการขยายของภาคปศุสัตว์ขนาดใหญ่แบบเข้มข้นขึ้น ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ การเติบโตอย่างรวดเร็วของสาขา Fast Food/Food Chain รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่ขยายช่องทางไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น นอกจากนี้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ตลอดจนความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ในกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวและพำนักในประเทศไทย ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการบริโภคเนื้อสัตว์ให้เพิ่มขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ตลาดอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนนับเป็นอีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญในปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา เวียดนาม นอกจากนี้ธุรกิจอาหารสัตว์ของไทยยังขยายฐานการลงทุนไปยังประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจก็มีปัจจัยเสี่ยงในหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาด้านปริมาณและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่บางปีผลผลิตข้าวโพดลดลง เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ทนแล้งและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน ส่งผลให้ผลผลิตในบางปีไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านราคาต้นทุนวัตถุดิบที่มีความผันผวนซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ

ธุรกิจอาหารสัตว์ของไทยเป็นการผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศเป็นหลักถึงร้อยละ 94 โดยสัดส่วนปริมาณอาหารสัตว์ใช้ไปในไก่เนื้อและไก่ไข่เป็นหลักถึงร้อยละ 53 และสัดส่วนวัตถุดิบหลักได้แก่ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ข้าวและมันสำปะหลังถึงร้อยละ 60 โดยวัตถุดิบได้มาจากทั้งผลผลิตภายในประเทศและบางส่วนได้จากการทำการเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract farming) เนื่องจากบางปีไทยผลิตวัตถุดิบได้ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ซึ่งสถานการณ์อาหารสัตว์ของไทยในช่วงต้นปี 2555 พบว่าปริมาณความต้องการอาหารสัตว์สำเร็จรูปช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 18.3 เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปรับระบบเลี้ยงสัตว์ที่ดีขึ้น ลดความสูญเสียจากปัญหาโรคระบาดในสัตว์ ทำให้ประชากรสัตว์เพิ่มขึ้น และแนวโน้มความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งในและต่างประเทศที่ขยายตัว ส่งผลต่อการเติบโตของความต้องการอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความต้องการใช้อาหารสัตว์ขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยความต้องการอาหารสัตว์มีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีรองรับอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งออกสินค้าปศุสัตว์สำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์ไก่ ยังมีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามอาจได้รับแรงกดดันด้านราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบรายใหญ่ ซึ่งถ้าทิศทางราคาวัตถุดิบสูงขึ้นไม่ยาวนาน และหากไม่มีปัจจัยใดที่มากระทบต่อภาพรวมของธุรกิจอาหารสัตว์อย่างรุนแรง ก็คาดว่าธุรกิจอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลังยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงประมาณการว่าความต้องการใช้อาหารสัตว์ในปี 2555 อาจมีปริมาณ 15.0-15.5 ล้านตัน ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.0-8.0 และมากกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2548-2554 ที่ร้อยละ 5.4 โดยเป็นการใช้วัตถุดิบหลักคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอาหารสัตว์ที่ใช้เป็นการใช้ไปในไก่เนื้อและไก่ไข่เป็นหลัก โดยมีปัจจัยหนุนที่สำคัญในช่วงครึ่งปีหลัง ดังนี้
 การขยายตัวเพิ่มขึ้นของภาคปศุสัตว์ จากการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน มีกระบวนการควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งราคาเนื้อสัตว์ที่อยู่ในเกณฑ์ดี เพื่อรองรับความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นจากทุกกลุ่มอายุ (โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ทั้งหญิงและชายบริโภคเนื้อสัตว์มากกว่าคนในต่างจังหวัด) และความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ในกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวและพำนักในประเทศไทย
 จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการเพิ่มขึ้นของรายได้ เนื่องจากอาหารเป็นสิ่งจำเป็นของผู้บริโภคทุกคน ดังนั้น จำนวนประชากรจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงโอกาสของปริมาณผู้บริโภค ตลอดจนรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคยังแสดงถึงความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าบริโภคที่เพิ่มขึ้นด้วย
 การเติบโตอย่างรวดเร็วของสาขา Fast Food/Food Chain รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่ขยายช่องทางไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น จากไลฟสไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ และการขยายของวิถีชีวิตความเป็นเมืองมากขึ้นเน้นความสะดวกสบาย ทันสมัย โดยมีการนำเนื้อสัตว์มาขายในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น แต่อาจมีราคาแพงกว่าตลาดสดเล็กน้อย แต่เน้นเนื้อสัตว์อนามัยมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพอาหารสัตว์มากขึ้น เช่น อาหารสัตว์ premium เพื่อให้ได้สุขภาพสัตว์เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล
 การชะลอการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูป โดยรัฐบาลได้ออกประกาศราคาจำหน่ายปลีกแนะนำอาหารปรุงสำเร็จ ในร้านอาหารธงฟ้า/ร้านอาหารทั่วไป/ศูนย์อาหารในอาคารสำนักงาน/ศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้า เพื่อดูแลค่าครองชีพของผู้บริโภค (เนื่องจากเนื้อสัตว์และอาหารสัตว์เป็นสินค้าควบคุมจากกระทรวงพาณิชย์) ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลัง ที่คาดว่าจะทำให้ผู้บริโภคยังคงมีความสามารถในการบริโภคเนื้อสัตว์อย่างต่อเนื่อง
 เทศกาลสำคัญๆในช่วงครึ่งปีหลัง จะกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ เช่น เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่จะมีการบริโภคอาหารเพื่อเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก ส่งผลต่อผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ต้องเร่งการผลิตเนื้อสัตว์เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวด้วย
 แนวโน้มการส่งออกเนื้อสัตว์ที่ขยายตัว จากการที่สหภาพยุโรป หรือ EU ยกเลิกห้ามนำเข้าไก่สดของไทย และเนื้อไก่มีแนวโน้มเติบโตตามการรุกขยายตลาดส่งออกของผู้ประกอบการรายใหญ่ ตลอดจนไทยยังมีโอกาสส่งออกเนื้อไก่ในเม็กซิโกเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกทางตอนใต้ของเม็กซิโก ทางการจึงสั่งฆ่าไก่แล้วกว่า 8 ล้านตัว และรัสเซียมีแนวโน้มการนำเข้าไก่จากไทยมากขึ้น จากการที่รัสเซียรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตภัณฑ์ไก่จากไทยในช่วงเดือนเมษายน 2555 อาจส่งผลต่อความต้องการใช้อาหารสัตว์ไทยที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ในไทยเน้นผลิตและจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากไทยมีโรงงานอาหารสัตว์เอง แต่ระยะหลังมีการส่งออกมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายการเพาะเลี้ยง ที่ทั้งป้อนตลาดบริโภคในประเทศที่ประชาชนมีรายได้ดีขึ้น และการทำการเกษตรแบบพันธสัญญา (contract farming) ที่นักลงทุนต่างชาติรวมทั้งไทย มีแนวโน้มเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกอาหารสัตว์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของการผลิตทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนค่อนข้างน้อย โดยตลาดการส่งออกอาหารสัตว์ของไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์รายย่อย ในขณะที่ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ในอาเซียนส่วนใหญ่ จะมีธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ของตนเองควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่ออกไปลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอาเซียนส่วนใหญ่ก็มีธุรกิจผลิตอาหารสัตว์นี้ด้วยเช่นกัน โดยรายได้ในต่างประเทศของธุรกิจอาหารสัตว์ไทย ส่วนใหญ่มาจากการออกไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตในต่างประเทศ ซึ่งโดยมากแล้วมักเป็นการผลิตเพื่อป้อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องของกลุ่มบริษัทตนเองในลักษณะธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร (โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงงานแปรรูป)
ปัจจุบันการส่งออกอาหารสัตว์เน้นตลาดส่งออกในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งตลาดอาเซียนคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 74.7 ของมูลค่าตลาดอาหารสัตว์ทั้งหมดของไทยในปี 2554 โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 พบว่า มีมูลค่าส่งออกอาหารสัตว์ไปยังกลุ่มอาเซียนสูงถึง 93.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 จากช่วงเดียวกันในปี 2554 ที่มีมูลค่า 72.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลที่ผ่านมาในช่วงปี 2545-2554 มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์ไปยังอาเซียนมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 13.9 ต่อปี โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV อันประกอบด้วยประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 18.8 ต่อปี โดยมีปัจจัยบวกคือ กลุ่มประเทศในอาเซียนมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น ตลอดจนมีการขยายการเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ ทำให้ความต้องการอาหารสัตว์ขยายตัว และส่งผลต่อการค้าและการลงทุนในธุรกิจอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ตลาดอาเซียนจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกอาหารสัตว์ในปัจจุบัน


อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาหารสัตว์มีวัตถุดิบที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรเป็นสำคัญ และผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสัตว์ในประเทศไทยขยายฐานการผลิตโดยหันไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ตลอดจนการเพาะเลี้ยงภาคปศุสัตว์แบบครบวงจรในแถบอาเซียนมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเหล่านั้น และเป็นการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อรองรับอุปสงค์อาหารสัตว์ที่จะเกิดเพิ่มขึ้นจากการเปิดเสรีการค้า-การลงทุนในอาเซียนในปี 2558 และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัจจัยลบต่างๆ ภายในประเทศที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ของไทย ซึ่งประเทศไทยยังมีศักยภาพในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตธุรกิจอาหารสัตว์ไทยจะเน้นเข้าไปลงทุนในต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงขึ้น ปัจจุบันจากการวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสัตว์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พบว่า โครงสร้างรายได้มาจากรายได้จากบริษัทลูกในต่างประเทศประมาณร้อยละ 25
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าประเทศในอาเซียนที่มีความน่าสนใจในการลงทุนโดดเด่นที่สุด คือ กัมพูชา เพราะมีการขยายการเลี้ยงสัตว์อย่างมากเนื่องจากนโยบายต้องการลดการนำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ และเป็นโอกาสที่ไทยสามารถทำตลาดปศุสัตว์จากความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ เนื่องจากฟาร์มปศุสัตว์ในกัมพูชาเป็นแบบครัวเรือนไม่ใช่ฟาร์มขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รองมาคือเวียดนาม เนื่องจากอุปสงค์เนื้อสัตว์สูงโดยเฉพาะในเนื้อสุกร และขณะเดียวกันลาวก็มีแหล่งวัตถุดิบจำนวนมาก
สำหรับทิศทางการส่งออกอาหารสัตว์ในตลาดอาเซียน ยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยบวกในแต่ละประเทศของกลุ่มอาเซียน เช่น
 พม่า : แรงจูงใจด้านค่าจ้างแรงงาน และความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นตลาดที่ไทยมีโอกาสลงทุนสร้างโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจร เนื่องจากมีแรงงานและวัตถุดิบรองรับ และการพัฒนาภาคปศุสัตว์ยังไม่ดีเท่าที่ควร
 มาเลเซีย : แนวโน้มความเป็นเมืองสูง พฤติกรรมการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น
 อินโดนีเซีย : จำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และเศรษฐกิจมีการเติบโตสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 การส่งออกอาหารสัตว์ยังคงขยายตัว โดยเน้นไปทางตลาดอาเซียนเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้มีอุปสงค์เนื้อสัตว์รองรับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ธุรกิจอาหารสัตว์เติบโตค่อนข้างดี แม้เผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โรคระบาดในสัตว์ ตลอดจนวิกฤติพลังงาน ทั้งนี้ คาดว่าตลอดทั้งปี 2555 มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์จะขยายตัวร้อยละ 15-20 หรือคิดเป็นมูลค่า 250-270 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในด้านการลงทุน คาดว่าผู้ประกอบการไทยรายใหญ่มีแผนที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น เช่น แผนในการตั้งโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ในประเทศกัมพูชา พม่า ลาว อินโดนีเซีย เป็นต้น
แม้ว่าสัญญาณการเติบโตของธุรกิจอาหารสัตว์ยังคงมีแนวโน้มที่ดี และมีแผนการลงทุนของผู้ประกอบการในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการควรระวังปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อความต้องการใช้อาหารสัตว์ และจะส่งผลต่อภาพรวมในการเติบโตของธุรกิจอาหารสัตว์ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวัง และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ มีดังนี้

ไทยยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์บางประเภท เนื่องจากไทยผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง ซึ่งถ้าหากไทยประสบปัญหาด้านการส่งมอบผลผลิตทางการเกษตรจากการทำการเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract Farming) กับประเทศคู่ค้าแล้ว อาจส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกอาหารสัตว์ไทย
ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีความผันผวนขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ อันจะส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการอาหารสัตว์และราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้น เช่น การเกิดวิกฤติภัยแล้งในสหรัฐฯ อาจส่งผลต่อราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักของอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 โดยปัจจุบันราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 และราคาถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกถั่วเหลืองและข้าวโพดรายใหญ่ของโลก

แนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้น จากการที่มีบริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เช่น เวียดนาม มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ของจีนอยู่มาก และการเกิดกลุ่มชนใหม่จากการย้ายถิ่นของแรงงานในอาเซียน เช่น การเพิ่มขึ้นของผู้บริหารสัญชาติสิงคโปร์ในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
การแย่งชิงทรัพยากรวัตถุดิบ มีการแย่งชิงพื้นที่และผลผลิตระหว่างภาคอาหารและพลังงาน จากแนวโน้มการนำมันสำปะหลังไปผลิตเอทาทอลมากขึ้น
โรคระบาดสัตว์ เช่น ไข้หวัดนก (Bird Flu) ,โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD), โรคไข้หวัดสุกร(PRRS) โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (PED) เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องอาศัยเทคโนโลยีในการทำฟาร์มให้มีมาตรฐานมากขึ้น เช่น ระบบปิด
กฎหมายในแต่ละประเทศ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การปฎิบัติต่อคนต่างชาติ และนโยบายในแต่ละประเทศ เช่น พม่า ไม่ต้องการให้ผลิตสินค้าแล้วส่งออก แต่ให้ผลิตแล้วขายในประเทศ ตลอดจนความไม่พร้อมด้านสาธารณูปโภค เช่น ระบบโลจิสติกส์ ไฟฟ้า-น้ำประปา
กล่าวโดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากไม่มีปัจจัยใดที่มากระทบต่อภาพรวมของธุรกิจอาหารสัตว์อย่างรุนแรง หรืออยู่ภายใต้ความสามารถในการบริหารจัดการทางด้านราคาวัตถุดิบของผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ ก็เชื่อว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลังยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยหนุนทางด้านความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่จะช่วยหนุนความต้องการใช้อาหารสัตว์ในปี 2555 คาดว่าปริมาณ 15.0-15.5 ล้านตัน ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.0-8.0 และมากกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2548-2554 ที่ร้อยละ 5.4 โดยเป็นการใช้วัตถุดิบหลักคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอาหารสัตว์ที่ใช้เป็นการใช้ไปในไก่เนื้อและไก่ไข่เป็นหลัก
สำหรับด้านการส่งออกอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์ยังคงขยายตัว โดยเน้นไปทางตลาดอาเซียนเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้มีอุปสงค์เนื้อสัตว์รองรับอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าตลอดทั้งปี 2555 มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์จะขยายตัวร้อยละ 15-20 หรือคิดเป็นมูลค่า 250-270 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในด้านการลงทุน คาดว่าผู้ประกอบการไทยรายใหญ่มีแผนที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น
ประเด็นที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์ในระยะต่อไป
 ความต้องการบริโภคอาหารที่หลากหลาย ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ เน้นความสะดวก ทันสมัย จะหนุนการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น  ตลอดจนประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การขยายความเป็นเมือง
 ในระยะยาววัตถุดิบมีแนวโน้มตึงตัวและราคาสูงขึ้น
 การแย่งชิงพื้นที่และผลผลิตระหว่างภาคอาหารและพลังงาน
 ปัญหาโลกร้อนและความแปรปรวนของสภาพอาหาร จะส่งผลให้อุปทานผลผลิตมีความผันผวน
 R&D และการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรและการผลิต มีผลต่อการแข่งขันในธุรกิจ
 ยังต้องติดตามประเด็น EU GSP และ NTMs ต่างๆ เช่น สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และแรงงาน

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อูกันดาคิดสูตรอาหารเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่โค


อาหารสูตรเพิ่มน้ำนมแม่โค คิดค้นจากมหาวิทยาลัย Makerere ในอูกันดา โดยได้รับเงินทุนในการวิจัยจากกองทุนสนับสนุนของธนาคารโลก ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งอูกันดา ในสูตรอาหารมีการใช้วัตถุดิบหลักได้แก่ กากน้ำตาล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล ผลการทดลองใช้อาหารดังกล่าวพบว่า เมื่อให้แม่โคบริโภคอย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ถึง 30% โดยมีการยืนยันรับรองผลเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ในขณะนี้อาหารสูตรเพิ่มน้ำนมดังกล่าวที่มีต้นทุนเพียง 4 ดอลลาร์สหรัฐ (125 บาท) ต่อปริมาณ 5 กิโลกรัม ได้กระจายสู่เกษตรกร! ทั่วประเทศอูกันดาแล้ว
ที่มา : AllAboutFeed (15 สิงหาคม 2555 )

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ยูเครนประกาศห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจาก 7 เขตการปกครองของจีน


หน่วยงานบริการทางสัตวแพทย์และความปลอดภัยทางชีวภาพของยูเครน แถลงเกี่ยวกับประกาศห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจาก 7 เขตการปกครองของจีน ได้แก่ มณฑลกานซู มณฑลเหลียวหนิง มณฑลยูนนาน เขตปกครองตนเองธิเบต เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และเกาะไต้หวัน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง (HPAI - Highly Pathogenic Avian Influenza) ในพื้นที่ดังกล่าว



ที่มา : Kyivpost/ThePoultrySite
(18 ก.ค.55