หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

กัมพูชาพบผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนก H5N1

 
                 กระทรวงสาธารณสุขกัมพูชารายงานผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดสายพันธุ์ H5N1 ในกรุงพนมเปญ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา (21-25 มกราคม 2556) โดยผู้เสียชีวิตคาดว่าได้รับเชื้อจากการสัมผัสไก่ที่เป็นโรคเพื่อปรุงอาหาร ซึ่งก่อนหน้านี้ในวันที่ 9 มกราคม 2556 มีผู้ป่วยจากเชื้อ H5N1 เป็นเด็กอายุ 8 เดือน แต่รอดชีวิต
 
                ปัจจุบันเชื้อไข้หวัดนกสามารถติดต่อจากสัตว์ปีกสู่คนได้จากการสัมผัสโดยตรง เช่น การสัมผัสสัตว์ป่วย หรือการประกอบอาหาร แต่ทว่าผู้เชี่ยวชาญมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสซึ่งอาจทำให้เชื้อ H5N1 สามารถติด! ต่อจากคนสู่คนได้ ซึ่งจะทำให้เกิดภัยโรคระบาดที่ร้ายแรงตามมา
 
 
 
ที่มา : ChannelNewsAsia (30 ม.ค.56

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

เม็กซิโกพบไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงระบาดระลอกใหม่





หน่วยงานด้านสัตวแพทย์ของเม็กซิโก รายงานการระบาดระลอกใหม่ของไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง (HPAI) ซีโรไทป์ H7N3 จำนวน 2 ครั้ง ในฟาร์มไก่ไข่ของรัฐ Aguascalientes ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2556 โดยพบว่ามีสัตว์ปีกในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 284,755 ตัว ติดโรค 2,990 ตัว และตาย 740 ตัว ซึ่งสัตว์ปีกที่เหลือถูกนำไปทำลาย

การระบาดของไวรัสไข้หวัดนก H7N3 ในเม็กซิโก มีรายงานครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2555 ทางตอนเหนือของรัฐ Jalisco ทำให้เม็กซิโกได้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดทั้งเชิงรุกและเชิงรับ นอกเหนื! อไปจากมาตรการควบคุมและกำจัด



ที่มา : ThePoultrySite (15 ม.ค.56)

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

EU ประกาศค่าอนุโลมตกค้างสูงสุดของยาสัตว์ในอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์



สหภาพยุโรปประกาศกฎระเบียบว่าด้วยการอนุโลมค่าตกค้างสูงสุดของยารักษาโรคสัตว์บางรายการในอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ จำนวน 3 ฉบับ มีสาระสำคัญดังนี้

1. Commission Implementing Regulation (EU) No 1161/2012 ประกาศใน EU Official Journal เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2555 กำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (MRL) ของยาป้องกันปรสิต fenbendazole ในสัตว์ทุกชนิดที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ยกเว้นในปลา โดยกำหนดค่า MRL ที่เกี่ยวข้องดังนี้
!
- 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในกล้ามเนื้อ
- 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในไขมัน
- 500 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในตับ
- 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในไต
- 10 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในนม
- 1,300 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในไข่

&nb! sp; ศึกษ! ากฎระเบี ยบเพิ่มเติมได้ที่ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:336:0014:0016:EN:PDF

2. Commission Implementing Regulation (EU) No 1186/2012 ประกาศใน EU Official Journal เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2555 กำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (MRL) ของยาป้องกันปรสิต phoxim ในสัตว์ทุกชนิดที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ยกเว้นในปลา โดยกำหนดค่า MRL ที่เกี่ยวข้องดังนี้

- 25 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในกล้ามเนื้อ
- 550 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในไขมัน
&nb! sp; - 50 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในตับ
- 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในไต
- 60 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในไข่

ศึกษากฎระเบียบเพิ่มเติมได้ที่ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:338:0020:0022:EN:PDF

3. Com! mission Implementing Regulation (EU) No 1191/2012 ประกาศใน EU ! Official Journal เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 กำหนดค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (MRL) ของยาแก้อักเสบ/ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ Sodium Salicylate (Salicylic Acid) ในไก่งวง โดยกำหนดค่า MRL ที่เกี่ยวข้องดังนี้

- 400 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในกล้ามเนื้อ
- 2,500 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในผิวหนังและไขมันในสัดส่วนธรรมชาติ
- 200 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในตับ
- 150 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ในไต

โดนไม่ม! ีการกำหนดค่า MRL สำหรับสัตว์ชนิดอื่น ไม่ครอบคลุมปลา โค-กระบือ และสุกร

ศึกษากฎระเบียบเพิ่มเติมได้ที่ http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:338:0020:0022:EN:PDF




ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
ณ กรุงบรัสเซลส์ (11 ม.ค.56)



วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

EU ประกาศรายการสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP



คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศกฎระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 เพื่อประกาศรายการสินค้าตาม Section ที่จะถูกตัดสิทธิประโยชน์ภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ซึ่งประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิในสินค้าภายใต้ Section S-4a, S-4b และ S14 ตามรายละเอียดดังนี้

- สินค้าใน Section S-4a ได้แก่ ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา หรือสัตว์จำพวกครัสเตเซีย มอลลัสก์ หรือสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลั! งอื่นๆ ซึ่งสินค้าที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากคือ สินค้าประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูป ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง และกุ้งแปรรูป

- สินค้าใน Section S-4b ได้แก่ น้ำตาล ขนมที่ทำจากน้ำตาล โกโก้และของปรุงแต่งที่ทำจากโกโก้ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง สตาร์ช หรือนม ผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกเพสทรี ของปรุงแต่งทำจากพืชผัก ผลไม้ ลูกนัต หรือจากส่วนอื่นของพืช ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู กากและเศษที่เหลือจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร อาหารที่จัดทำไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสินค้าที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากคือ อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์

- สินค้าใน Section S-14 ได้แก่ ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ โลหะมีค่า โลหะที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า และของที่ทำด้วยของดังกล่าว เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียม เหรียญกษาปณ์ ซึ! ่งสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงได้แก่ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดั! บ แต่เนื ่องจากเป็นสินค้าที่ถูกตัด GSP อยู่แล้ว จึงไม่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย คอสตาริกา เอกวาดอร์ ไนจีเรีย และยูเครน โดยสามารถ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://trade.ec.europa.eu/doclib/docs/2012/december/tradoc_150166.pdf




ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
ณ กรุงบรัสเซลส์ (4/01/56)

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ครม. อนุุมัตินำเข้าถั่วเหลืองไม่จำกัดโควต้า-กำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองปี 2555-2556 แบบไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลานำเข้า โดยคิดอัตราภาษีในโควต้า 0% ตามกรอบองค์การการค้าโลก (WTO), กรอบการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และกรอบการค้าเสรี (FTA)

ทั้งนี้ที่ประชุมได้กำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองต้องรับซื้อผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตภายในประเทศในราคาตามกลไกตลาด โดยกำหนดราคาขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพดังนี้

! ; 1. เมล็ดถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน กำหนดราคาที่ไร่นา กิโลกรัมละ 14 บาท หน้าโรงงาน กทม. กิโลกรัมละ 14.75 บาท

2. เมล็ดถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์ กำหนดราคาที่ไร่นา กิโลกรัมละ 14.25 บาท หน้าโรงงาน กทม. กิโลกรัมละ 15 บาท

3. เมล็ดถั่วเหลืองสำหรับแปรรูปอาหาร กำหนดราคาที่ไร่นา กิโลกรัมละ 16.25 บาท หน้าโรงงาน กทม. กิโลกรัมละ 17 บาท
ที่มา : เดลินิวส์ (02/01/56)

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมอาหารสัตว์เพิ่ม 3 ชนิด



คณะกรรมาธิการยุโรป ได้ประกาศอนุญาตการใช้สารเสริมในอาหารสัตว์ (Feed Additive) เพิ่มเติม 3 ชนิด ได้แก่

- Propionibacterium acidipropionici (CNCM MA 26/4U) และ Zinc Chloride Hydroxide Monohydrate สามารถใช้เป็น Feed Additive สำหรับอาหารสัตว์ทุกชนิด ได้จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565

- Lactobacillus plantarum สายพันธุ์ที่กำหนด สามารถใช้เป็น Feed Additive สำหรับอาหารสัตว์ทุกชนิด ได้จนถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2565

&! nbsp; โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ข้อกำหนด และปริมาณการใช้แต่สัตว์แต่ละชนิดได้ที่

- Propionibacterium acidipropionici :
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:297:0015:0017:EN:PDF

- Zinc Chloride Hydroxide Monohydrate :
! ; http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:297:0018:0019:EN:PDF

- Lactobacillus plantarum :
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:314:0015:0022:EN:PDF



ที่มา : มกอช./สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ( 6 ธันวาคม 2555 )

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เตือนส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารมีไข่ไปอียู


รายงานจากระบบการแจ้งเตือนสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ (Rapid Alert for Food and Feed System: RASFF) ของสหภาพยุโรป แจ้งว่ามีการตรวจพบผลิตภัณฑ์อาหารจากไทยที่มีส่วนผสมของไข่ แต่ไม่ได้ระบุลงในฉลากส่วนผสม รวมทั้งแสดงคำเตือนสารก่อภูมิแพ้ตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ทำให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและดำเนินการ Re-export สินค้า

เพื่อเป็นการลดความสูญเสียทั้งโอกาสทางการค้าและค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงการติดฉลากระบุส่วนประกอบให้ชัดเจน โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ 14 ชนิดของสหภาพยุโรป ได้แก่

&! nbsp; 1. ธัญพืชที่มีกลูเตน (ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต spelt kamut และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งพืชลูกผสม)
2. ครัสเตเชียน (กุ้ง ปู และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในกลุ่มดังกล่าว) และผลิตภัณฑ์
3. ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไข่
4. ปลา และผลิตภัณฑ์จากปลา รวมทั้งเจลาติน
5. ถั่วลิสง และผลิตภัณฑ์
6. ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์
7. นม และผลิตภัณฑ์ยกเว้นเวย์โปรตีนที่ใช้ผลิตแอลกอ! ฮอล์ และแลคติทอล
! &n bsp; 8. นัท (ให้ระบุชนิดของนัทที่ใช้ในส่วนประกอบ) เช่น อัลมอนด์ ฮาเซลนัท วอลนัท พีแคน บราซิลนัท พิสตาชิโอ มะคาเดเมีย ยกเว้นนัทที่ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ และเอทิลแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากพืชอื่นๆ
9. เซเลรี และผลิตภัณฑ์
10. มัสตาร์ด และผลิตภัณฑ์ (รวมทั้งเมล็ด)
11. เมล็ดงา และผลิตภัณฑ์
12. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และซัลไฟต์ ที่มีความเข้มข้นเทียบเท่าซัลไฟต์มากกว่า 10 ppm
13. พืชตระกูล ลูพิน (Lupin) และผลิตภัณฑ์
&nbs! p; 14. มอลลัสก์ (ปลาหมึก หอย และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในกลุ่มดังกล่าว) และผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อยู่ในรายชื่อผู้ผลิตหรือแปรรูปไข่ที่สามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ หากผู้ประกอบการต้องการใช้ส่วนผสมของไข่ในผลิตภัณฑ์ จะต้องใช้วัตถุดิบหรือไข่แปรรูปจากประเทศตามรายชื่อที่สหภาพยุโรปกำหนด และต้องดำเนินการขอใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) ที่ระบุไว้ใน Commission Implementing Regulation (EU) No 468/2012 ก่อนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ตามแบบฟอร์มในเอกสาร
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:144:0001:0014:EN:PDF


ที่มา : มกอช./สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ (4 ธันวาคม 2555)