หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ญี่ปุ่นแก้ไขค่า MRL สารเคมีทางการเกษตร และยาที่ใช้กับสัตว์

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) ได้จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร ครั้งที่ 150 สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. แก้ไขค่า MRL สารเคมีทางการเกษตรและยาที่ใช้กับสัตว์ 5 ชนิด ได้แก่

1.1 Ethychlozate (สารเร่งการเจริญเติบโต) มีความเข้มงวดต่อสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของไทยหลายชนิด ได้แก่ ข้าว หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว กล้วย ม! ะม่วง รายละเอียดดังตารางหน้า 5-7

1.2 Oxyflurfen (สารกำจัดวัชพืช) สินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องของไทย ได้แก่ ข้าวและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ รายละเอียดดังตารางหน้า 8-9

1.3 Pymetrozine (สารกำจัดแมลง) สินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องของไทย ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว กล้วย มะม่วง รายละเอียดดังตารางหน้า 10-12

1.4 Clavulanic acid (สารยับยั้งเอนไซม์ beta-lactamase) เป็นสารที่ห้ามใช้ในญี่ปุ่น ห้ามตกค้างในอาหารทุกรายการ ยกเว้นรายการอาหารที่ปรากฎในตารางหน้า 13

1.5 Prifinium (anticonvulsant for the bovine gastrointestinal a! nd urinary tracts) รายละเอียดดังตารางหน้า 14

&nb! sp; ; กรณีไม่ได้ระบุ MRL Draft ให้ใช้ระดับ 0.01 ppm. (uniform limit) ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถแสดงความเห็นต่อร่างดังกล่าวไปยัง MHLW ได้จนถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 หากพ้นกำหนดให้ส่งความเห็นไปทาง enquiry point in accordance with the WTO/SPS agreement ต่อไป หรือส่งมาทาง spsthailand@gmail.com หรือ sps@acfs.go.th

2. พิจารณากำหนดมาตรฐานเนื้อสัตว์สำหรับบริโภคดิบ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน 2554 มีชาวญี่ปุ่นป่วยเป็นจ! ำนวน 169 ราย และเสียชีวิต 4 ราย จากอาหารเป็นพิษ เนื่องจากบริโภคเนื้อโคดิบที่ไม่ได้แปรรูปอย่างถูกสุขอนามัย ดังนั้น MHLW จึงพิจารณากำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรฐานเนื้อโคสำหรับการบริโภคดิบ มาตรฐานการแปรรูป การเก็บรักษา ข้อกำหนดด้านสถานที่ปรุงอาหาร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ คุณสมบัติของผู้ปรุงอาหาร โดยกำหนดที่จะประกาศบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งข้อคิดเห็นไปยัง MHLW โดยตรง จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 หากพ้นกำหนดนี้สามารถแสดงความเห็นผ่านทาง enquiry point in accordance with the WTO/SPS agreement ต่อไป หรือส่งมาทาง spsthailand@gmail.com หรือ sps@acfs.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น