หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จีนไฟแดงการผลิตและขาย Ractopamine

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีนประกาศว่าจีนห้ามผลิตและจำหน่ายสาร ractopamine หรือสารเร่งเนื้อแดงโดยมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวัน 5 ธันวาคม 2554 ตามประกาศหน้าเวปไซต์ของกระทรวงฯ

คำสั่งห้ามผลิตและจำหน่าย ractopamine เป็นผลมากเหตุการณ์อื้อฉาวกรณีเนื้อสุกรปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงในช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อมีการพบว่า Shuanghui Group บริษัทแปรรูปเนื้อสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนซื้อสุกรที่ได้รับอาหารปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงเพื่อนำมาแปรรูป จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้จีนดำเนินการจับกุมการใช้สารเร่งเนื้อแดงทั่! วประเทศ

นาย Yu Kangzhen หัวหน้าสัตว์แพทย์จีนกล่าวว่าสารเร่งเนื้อแดงมีประมาณ 10 ชนิด เช่น clenbuterol และractopamine โดยมีการค้นพบสาร clenbuterol ในสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2523 แต่ในปลายปี 2523 หลายๆประเทศ เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรปห้ามใช้สารดังกล่าวเนื่องจากอันตรายจากผลข้างเคียง เช่น อาเจียน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ และเมื่อต้นปี 2543 บริษัทแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ คิดค้นและพัฒนา ractopamine ซึ่งเป็นอันตรายน้อยกว่า ปัจจุบัน ประมาณ 20 ประเทศเท่านั้น เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโกที่อนุญาตให้ใช้สารเร่งเนื้อแดงชนิดนี้

จีนเริ่มใช้สารเร่งเนื้อแดงในต้นปี 2543 จนกระทั่งปี 2551 จีนเริ่มแสดงความกังวลต่ออันตรายจากสารเคมีเนื่องจากมีรายงานปอดติดเชื้อในมนุษย์เป็นครั้งแรกในมลฑลกวางตุ้ง ซึ่งสาเหตุเกิดจากการบริโภคเนื้อสุกรปนเปื้อน clenbuterol หลังจากนั้นในปี 2548 จีนจึงออกคำสั่งห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง เช่! น ractopamine, clenbuterol และ salbutamol ในอาหารสัตว์แล! ะน้ำดื่ม ของสัตว์




ที่มา : The Pig Site ( 30 ธันวาคม 2554

USFDA จัดพิมพ์คู่มือกฎระเบียบมาตรฐานความปลอดภัยไข่

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) จัดพิมพ์คู่มือสำหรับผู้ประกอบการ: การป้องกันเชื้อ Salmonella Enteritidis ปนเปื้อนไข่ระหว่างการผลิต การเก็บและการขนส่ง สำหรับผู้ผลิตไข่เพื่อช่วยในการปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตรฐานความปลอดภัยของไข่ ซึ่งคู่มือนี้เป็นคำแนะนำสุดท้าย ส่วนในขั้นต้นได้มีการประกาศร่างคำแนะนำเพื่อเปิดรับข้อคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2553

คู่มือดังกล่าวให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎระเบียบมาตรฐานความปลอดภัยของไข่ เช่น มาตรการป้องกัน Salmonella Enteritidis (SE), การทดสอบสภาพแวดล้อมสำหรับ SE, วิธีการทดส! อบไข่สำหรับ SE, วิธีการสุ่มตัวอย่างตรวจ SE และการเก็บสถิติสำหรับจัดทำแผนการป้องกัน SE ซึ่งคำแนะนำสุดท้ายนี้ให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงและมีทางเลือกสำหรับปฏิบัติตามมาตรการต่างๆที่ระบุไว้ในกฎระเบียบ นอกจากนี้ คำแนะนำสุดท้ายนี้ต่างจากฉบับร่างเพราะมีแผนการสุ่มตรวจตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับฟาร์มสัตว์ปีกที่มีหลากหลายรูปแบบตามที่มีผู้เสนอเข้ามา

อนึ่ง USFDA ได้ประกาศกฎระเบียบความปลอดภัยไข่ในเดือนกรกฎาคม 2552 โดยร้องขอให้ผู้ผลิตมีมาตรการป้องกันในฟาร์มระหว่างช่วงการผลิต การแช่เย็นในระหว่างการเก็บและการขนส่ง ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 กฎระเบียบความปลอดภัยอาหารฉบับใหม่มีผลบังคับใช้กับผู้ผลิตไข่ที่มีไก่ไข่ตั้งแต่ 50,000 ตัว คิดเป็นประมาณ 80 %ของการผลิตไข่ทั้งหมด ส่วนผู้ผลิตไข่ไก่ที่มีไก่ไข่ตั้งแต่ 3,000 ตัวแต่น้อยกว่า 50,000 ตัว จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยอาหารฉบับใหม่ในเดือนกรกฎาคม ปี 2555

&nb! sp; สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.fda.gov/Food/FoodSafety/Product-SpecificInformation/EggSafety/EggSafetyActionPlan/ucm170615.htm




ที่มา : USFDA ( 30 ธันวาคม 2554

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กาน่าอาจไฟแดงนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกปีใน 2556

 
                ดร. Alfred Sugri Tia รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและอาหารกาน่ากล่าวว่า กาน่าอาจระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกภายในปี 2556 เพื่อปกป้องเกษตรกรในประเทศ 

                ดร. Alfred Sugri Tia ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเกษตรกรในประเทศจะได้รับการสนับสนุนและจำหน่ายอาหารสัตว์ให้ในราคาถูกเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการผลิต นอกจากนี้ จะมีการดำเนินมาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษีเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกกาน่ามีความสามารถในการแข่งขันในตลาดในประเทศได้

     &nb! sp;          ในกาน่า มีการปรับการผลิตไก่เนื้อที่เลี้ยงแบบปล่อยให้เข้ากับวิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม โดยพบเห็นการใช้วิธีการเลี้ยงที่สามารถใช้ได้กับทั้งไก่เลี้ยงแบบปล่อยและการเลี้ยงแบบดั้งเดิมได้ทั่วไปในชุมชนต่างๆ
 
 
 
ที่มา : World Poultry (29/12/54)

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ญี่ปุ่นผ่อนปรนกฎระเบียบเนื้อโคนำเข้า

 
                คณะกรรมาธิการความปลอดภัยอาหารญี่ปุ่นจะจัดทำประชาพิจารณ์และประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับนโยบายนำเข้าเนื้อโคของญี่ปุ่น ด้านรัฐมนตรีเกษตรฯแคนาดา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกเนื้อโคได้ออกมาให้ความเห็นว่า การปรับปรุงนโยบายสำหรับการนำเข้าเนื้อโคมายังญี่ปุ่นจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากเนื้อโคแคนาดาที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง อีกทั้งแคนาดาจะได้รับประโยชน์จากการสร้างงาน เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการค้าและการลงทุนระหว่างญี่ปุ่นและแคนาดาในปี 2553 แคนาดาส่งออกเนื้อโคอายุต่ำกว่า 21 เดือน มายังญี่ปุ่น รวมมูลค่า 81.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
 
 
 
 

จีนเลื่อนส่งสัตว์ปีกไปฮ่องกง หลังไข้หวัดนกระบาดในฮ่องกง

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2554 กระทรวงควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกันโรค (AQSIQ) ของจีนรายงานว่ากระทรวงฯ ตัดสินใจชะลอการส่งสัตว์ปีกมีชีวิตไปยังฮ่องกงออกไปเป็นเวลา 21 วัน หลังจากที่ตรวจพบว่าซากไก่ติดเชื้อไข้หวัดนกชนิดสายพันธุ์รุนแรงสูง หรือ H5N1 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 

                อย่างไรก็ตาม AQSIQ ได้ดำเนินมาตรการสำหรับจัดการปัญหาดังกล่าวโดยติดตามสถานการณ์และทำงานร่วมกับรัฐบาลฮ่องกงอย่างใกล้ชิดเพื่อควบคุมโรคไข้หวัดนก โดยสั่งให้หน่วยงานควบคุมคุณภาพใน
มลฑลกวางตุ้งและไห่หนานคุมเข้มการตรวจและกักกัน ณ ท่าเรื่อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด นอกจากนี้ได้สั่งให้หน่วยงานควบควบคุมคุณภาพทั้งขาเข้าและออกในท้องถิ่นส่งเสริมการป้องกัน ควบคุมและติดตามโรค การทำให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกที่จดทะเบียนปลอดเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรในฟาร์ม

                ด้านรัฐบาลฮ่องกงได้เพิ่มระดับการเฝ้าระวังไข้หวัดนกเป็นระดับจากระดับเตือนภัยเป็นระดับรุนแรงหลังจากตรวจพบไวรัสดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้มีการกำจัดสัตว์ปีกกว่า 17,000 ตัว ในตลาดค้าสัตว์ปีกแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554
 
 
 
 
ที่มา : The Poultry Site  (27 ธันวาคม 2554)

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ยอดขายเนื้อวัวในเกาหลีใต้มากกว่าเนื้อหมูเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี

หนังสือพิมพ์ Chosun Ilbo รายงานว่า ยอดจำหน่ายเนื้อวัวในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเกาหลีใต้มากกว่ายอดจำหน่ายเนื้อสุกรเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี เนื่องจากโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ระบาดทำให้เกาหลีใต้ต้องกำจัดสุกรถึง 3.31 ล้านตัว ส่งผลให้จำนวนสุกรลดลง 30% เกษตรกรจึงหันมาเลี้ยงวัวแทนทำให้จำนวนวัวเพิ่มขึ้นเกือบ 20% โดยปกติ ยอดจำหน่ายเนื้อสุกรมีสัดส่วนเท่ากับครึ่งหนึ่งของยอดจำหน่ายเนื้อสัตว์ทั้งหมดในเกาหลีใต้



ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (26 ธันวาคม 2554

หวัดนกระบาด ญี่ปุ่นหันมานำเข้าไข่แปรรูปชนิดแห้งแทนไข่สด

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ไข้หวัดนกระบาดเมื่อปี 2547 เกิด ส่งผลให้ผู้บริโภคญี่ปุ่นหันไปบริโภคผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปชนิดแห้ง แทนไข่สด เนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยอาหาร ญี่ปุ่นนำเข้าไข่ 3 ลักษณะ คือ ไข่สด ผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปชนิดไม่แห้ง และผลิตภัณฑ์ไข่แปรรูปชนิดแห้ง ซึ่งไข่สดเป็นตัวนำเชื้อไวรัสได้ดีที่สุดในบรรดาผลิตภัณฑ์ไข่ทั้ง 3 ลักษณะข้างต้น

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นนำเข้าไข่สดจากอเมริกามากเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีส่วนแบ่งตลาด 38 %



ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว (26 ธันวาคม 2554

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไต้หวันฆ่าหมูเกือบ 1,000 ตัวหลังพบ FMD ระบาด

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2554 สำนักงานกักกันและตรวจสอบสุขภาพพืชและสัตว์ไต้หวันรายงานว่า เจ้าหน้าที่ได้ฆ่าสุกรเกือบ 1,000 ตัว หลังเกิดเหตุการณ์โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ระบาดครั้งรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 14 ปี

เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เจ้าหน้าที่ได้ฆ่าสุกร 983 ตัวจากสุกรทั้งหมด 2,667 ตัว และได้ฉีดวัคซีนสุกรที่เหลือในฟาร์มแห่งหนึ่งในทางใต้ของเมือง Tainan หลังจากสุกรแสดงอาการของโรค


ที่มา : The Pig Site (23/12/54

EU เตรียมดำเนินคดีกับสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายห้ามผลิตไข่ไก่จากไก่เลี้ยงในกรงตับ

นาย John Dalli คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปด้านสุขภาพและผู้บริโภคกล่าวว่าได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยัง 13 ประเทศสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามหรือแสดงความพยายามเพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติตามกฎหมายห้ามผลิตไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงไก่ในกรงตับ โดยในหนังสือแจ้งเตือนระบุว่าประเทศเหล่านั้นจะถูกดำเนินคดีในชั้นศาล

โดยมีการส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังประเทศดังต่อไปนี้
ฮังการี อิตาลี ลัดเว! ีย สเปน กรีซ เบลเยี่ยม บัลแกเลีย ไซปรัส โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวาเกีย และเนเธอร์แลนด์

นาย John Dalli ยืนยันว่าทีมคณะกรรมาธิการตรวจสอบพร้อมที่จะดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม โดยจะรวบรวมหลักฐานจากประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อใช้เป็นหลักฐานสนับสนุนเมื่อคดีขึ้นสู่ชั้นศาล

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกฎหมายและป้องกันการผลิตไข่ไก่ผิดกฎหมายในประเทศสมาชิกได้ โดยกฎหมายห้ามผลิตไข่ไก่ที่ได้จากไก่เลี้ยงในกรงตับจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2554


ที่มา : World Poultry (23/12/54)

FSA สหราชอาณาจักรให้คำแนะนำบริโภคไข่ไก่หลังวันหมดอายุ

สำนักงานด้านความปลอดภัยอาหาร (FSA) แห่งสหราชอาณาจักร ปรับปรุงคำแนะนำการบริโภคไข่ไก่หลังวันหมดอายุ เนื่องจากต้องการลดปัญหาด้านอาหารเหลือโดยแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานไข่ไก่หลังวันหมดอายุได้ภายใน 1-2 วัน แต่ต้องปรุงไข่ไก่ให้สุกดีจนกระทั่งไข่แดงและไข่ขาวสุกจนแข็ง หรือใช้ไข่ไก่เป็นส่วนประกอบในอาหารต่างๆที่ต้องปรุงให้สุกดี เช่น ขนมเค้ก

ก่อนหน้านี้ FSA แนะนำให้ผู้บริโภคไม่ควรรับประทานไข่ไก่หลังวันหมดอายุเนื่องจากไข่อาจปนเปื้อนเชื้อ salmonella ซึ่งอาจแบ่งตัวจนถึงระดับที่เป็นอันตรายจนทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการเป็นพิษ! ได้ อย่างไรก็ตาม ระดับเชื้อ salmonella ที่ปนเปื้อนไข่ไก่ที่ผลิตในสหราชอาณาจักรมีปริมาณต่ำ และถูกทำลายได้โดยการปรุงให้สุกดี

ที่มา : World Poultry (22/12/54)

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยได้รับความนิยมในออสเตรเลีย

อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในออสเตรเลีย โดยไข่ที่ได้จากสัตว์ปีกที่เลี้ยงแบบปล่อยคิดเป็น 28. 4 % ของไข่ทั้งหมดที่มีวางจำหน่าย และมีสัดส่วนเนื้อสัตว์ปีกราว 15 % ของเนื้อสัตว์ปีกที่ผลิตได้ในปี 2553

คาดว่าอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยจะสามารถเติบโตอีกในอนาคตเนื่องจากผู้บริโภคบางราย นิยมผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยมากกว่า

ทั้งนี้ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยสัตว์ปีก ออสเตร! เลีย (The Poultry CRC) กำลังส่งเสริมให้มีการวิจัยด้านสวัสดิภาพ พฤติกรรม และ อาหารของสัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยเพิ่มเติม


ที่มา : The Poultry Site (21/12/54)

บังกลาเทศฆ่าไก่เกือบ 14,000 ตัว และทำลายไข่ไก่กว่า 50,000 ฟองหลังไข้หวัดนกระบาด

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 เจ้าหน้าที่ควบคุมการระบาดโรคไข้หวัดนกรายงานว่า บังกลาเทศฆ่าไก่จำนวน 13,727 ตัวและทำลายไข่ไก่ราว 50,000 ฟอง นับตั้งแต่ไข้หวัดนกชนิด H5N1 ระบาดเมื่อสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งถือเป็นการระบาดครั้งแรกฤดูหนาว

Ataur Rahman ผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องควบคุมของกระทรวงประมงและปศุสัตว์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ฆ่าไก่ประมาณ 12,762 ตัวในฟาร์มเลี้ยงเพื่อการค้าในเขต Manikganj และ Rajbarbi

! ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงขณะนี้ ไข้หวัดนกได้ระบาดไปยัง 4 เขตของบังกลาเทศ และอุณหภูมิที่ลดลงในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการระบาดมากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไข้หวัดนกมีโอกาสระบาดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ได้เพิ่มการติดตามเพื่อควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกแล้ว โดยสั่งเจ้าหน้าที่ให้กระตุ้นเกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันทุกข้อนับตั้งแต่ไข้หวัดนกระบาด นอกจากนี้ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามดำเนินการฆ่า ทำลาย กำจัดและลดการติดเชื้อในไก่อย่างเหมาะสมเมื่อตรวจพบการระบาด

ทั้งนี้ พบไข้หวัดนกระบาดในบังกลาเทศเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับกรุง Dhaka ในปี 2550 – 2551 ไวรัสได้แพร่กระจายไปยัง 47 เขตทั่วประเทศ นอกจากนี้ มีการตรวจพบการติดเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1ในมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551โดยผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 1 ปี 4 เดือน



ที่มา : Xinhua News (21/12/54

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บังกลาเทศฆ่าไก่เกือบ 14,000 ตัว และทำลายไข่ไก่กว่า 50,000 ฟองหลังไข้หวัดนกระบาด

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 เจ้าหน้าที่ควบคุมการระบาดโรคไข้หวัดนกรายงานว่า บังกลาเทศฆ่าไก่จำนวน 13,727 ตัวและทำลายไข่ไก่ราว 50,000 ฟอง นับตั้งแต่ไข้หวัดนกชนิด H5N1 ระบาดเมื่อสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งถือเป็นการระบาดครั้งแรกฤดูหนาว

Ataur Rahman ผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องควบคุมของกระทรวงประมงและปศุสัตว์กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ฆ่าไก่ประมาณ 12,762 ตัวในฟาร์มเลี้ยงเพื่อการค้าในเขต Manikganj และ Rajbarbi

! ; ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงขณะนี้ ไข้หวัดนกได้ระบาดไปยัง 4 เขตของบังกลาเทศ และอุณหภูมิที่ลดลงในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการระบาดมากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไข้หวัดนกมีโอกาสระบาดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ได้เพิ่มการติดตามเพื่อควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกแล้ว โดยสั่งเจ้าหน้าที่ให้กระตุ้นเกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันทุกข้อนับตั้งแต่ไข้หวัดนกระบาด นอกจากนี้ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามดำเนินการฆ่า ทำลาย กำจัดและลดการติดเชื้อในไก่อย่างเหมาะสมเมื่อตรวจพบการระบาด

ทั้งนี้ พบไข้หวัดนกระบาดในบังกลาเทศเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับกรุง Dhaka ในปี 2550 – 2551 ไวรัสได้แพร่กระจายไปยัง 47 เขตทั่วประเทศ นอกจากนี้ มีการตรวจพบการติดเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1ในมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551โดยผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 1 ปี 4 เดือน



ที่มา : Xinhua News (21/12/54

สัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยได้รับความนิยมในออสเตรเลีย

อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในออสเตรเลีย โดยไข่ที่ได้จากสัตว์ปีกที่เลี้ยงแบบปล่อยคิดเป็น 28. 4 % ของไข่ทั้งหมดที่มีวางจำหน่าย และมีสัดส่วนเนื้อสัตว์ปีกราว 15 % ของเนื้อสัตว์ปีกที่ผลิตได้ในปี 2553

คาดว่าอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อยจะสามารถเติบโตอีกในอนาคตเนื่องจากผู้บริโภคบางราย นิยมผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เลี้ยงแบบปล่อยมากกว่า

ทั้งนี้ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยสัตว์ปีก ออสเตร! เลีย (The Poultry CRC) กำลังส่งเสริมให้มีการวิจัยด้านสวัสดิภาพ พฤติกรรม และ อาหารของสัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยเพิ่มเติม


ที่มา : The Poultry Site (21/12/54)

กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นอาจห้ามร้านอาหารจำหน่ายตับวัวดิบในญี่ปุ่น

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น กำลังพิจารณาว่าจะห้ามร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์และภัตตาคารในญี่ปุ่นจำหน่ายตับวัวดิบหรือไม่ หลังจากพบเชื้อ E. coli O157 ปนเปื้อนตับวัวดิบซึ่งถือว่าเป็นอาหารที่มีราคาแพงในญี่ปุ่น

ตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนศูนย์ตรวจสอบคุณภาพเนื้อตรวจพบเชื้อดังกล่าวบนผิวของตับวัว 2 ตัว จาก 150 ตัว และตั้งแต่ ปี 2551 – 2553 ญี่ปุ่นมีผู้เจ็บป่วยจากอาการอาหารเป็นพิษเนื่องจากบริโภคตับวัวดิบจำนวน 116 ราย โดย 20 รายจากจำนวนทั้งหมดเจ็บป่วยจากกา! รติดเชื้อ E. coli และเมื่อต้นปีนี้ มีรายงานการว่าประชาชนในญี่ปุ่นจำนวนมากล้มป่วยจากอาการอาหารเป็นพิษเนื่องจากติดเชื้อ E coli O111

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะหารือเพิ่มเติมเรื่องการห้ามจำหน่ายตับวัวดิบในวันที่ 27 ธันวาคม 2554


ที่มา : Food Safety News (21/12/54

พม่าเตือนเกษตรกรให้ระวังวัตถุดิบอาหารปลาปลอมจากอินเดีย

สมาคมอาหารสัตว์น้ำพม่าแจ้งเตือนให้สมาชิกตรวจสอบวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นอาหารปลาซึ่งนำเข้าจากอินเดียทุกหีบห่อหลังจากตรวจพบว่าวัตถุดิบบางหีบห่อปนเปื้อนของเหลือ ซึ่งไม่มีคุณค่าทางอาหารใดๆ

Dr. That Mhoo เลขาธิการสมาคมกล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัท 6 แห่งนำเข้าอาหารถั่วเหลืองจากอินเดีย แต่ละหีบห่อมีน้ำหนัก 48 กิโลกรัม แต่บางหีบห่อปนเปื้อนของเหลือถึง 10 % เช่น เปลือกถั่ว หรือลำต้นพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งหมายความว่า วัตถุดิบเหล่านี้มีโปรตีนและไฟเบอร์น้อย ทำให้เกษตรกรต้องหาวัตถุดิบที่มีโปรตีนเพิ่มเติม

&nbs! p; ในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน พม่านำเข้าวัตถุดิบอาหารปลาจากอินเดียราว 4,000 ตัน
พม่าจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเนื่องจากผู้ผลิตอาหารสัตว์ในประเทศมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ และอาหารสัตว์นำเข้ามีราคาถูกกว่าราว 12 %

Dr. That Mhoo เพิ่มเติมว่าผู้นำเข้าเช่าคลังสินค้าเพื่อเก็บวัตถุดิบ โดยไม่ได้ทำสัญญากับผู้ซื้อ ดังนั้น ทันทีที่วัตถุดิบนำเข้ามาถึง ผู้นำเข้าจึงสามารถจำหน่ายวัตถุดิบได้อย่างรวดเร็ว เจ้าของโรงงานแห่งหนึ่งให้ข้อมูลว่า ตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผู้นำเข้าส่งมาให้ตรวจสอบแทบจะไม่พบของเหลือปนเปื้อน แต่วัตถุดิบที่จำหน่ายกลับปนเปื้อนของเหลือจำนวน 5 – 10 % และมีการกระจายวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ไปยังที่ต่างๆก่อนที่สมาคมเจ้าของโรงงานจะสามารถตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากมีเพียงโรงงานบางแห่งเท่านั้นที่มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เช่น ในเมืองย่างกุ้ง มีเพียงห้องปฏิบัติก! ารของกระทรวงปรับปรุงพันธุ์ปศุสัตว์และสัตวแพทย์ที่ Thaketa ซึ่ง! สามารถออ กใบควบคุมคุณภาพได้ แต่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการห้องปฏิบัติการที่สูงเกินไปสำหรับผู้นำเข้าส่วนมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดค่าบริการเพื่อกระตุ้นให้ผู้นำเข้าทุกรายสามารถนำสินค้ามาตรวจสอบคุณภาพได้


ที่มา : All About Feed (21/12/54

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ออสเตรเลียและอินโดนีเซียประกาศความร่วมมือต่อสู้โรคสัตว์ติดต่อ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 สถานทูตออสเตรเลียประจำอินโดนีเซียประกาศความร่วมมือระหว่างอินโดนีเซียและออสเตรเลียในการควบคุมโรคสัตว์ติดต่อในจังหวัดซูลาเวสีเหนือและใต้ เพื่อยกระดับระบบสุขภาพสัตว์

โครงการความร่วมมือควบคุมการระบาดของโรคสัตว์ระหว่างออสเตรเลียและอินโดนีเซียมีมูลค่าถึง 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผู้ให้เงินทุนสนับสนุนคือ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (AusAID) ผ่านทางกระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ออสเตรเลีย (DAFF) โดยร่วมมือกับหน่วยงานสุขภาพสัตว์และกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย โครงการดังกล่าวจ! ะเน้นการควบคุมโรคสัตว์ติดต่อในเกาะซูลาเวสี ซึ่งเป็นบริเวณหลักของการผลิตปศุสัตว์ในอินโดนีเซียตะวันออกและตั้งอยู่ค่อนข้างใกล้กับพรมแดนทางเหนือของออสเตรเลีย

โครงการดังกล่าวเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ทั้งสองประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน มีการใช้เทคโนโลยีและกิจกรรมภาคสนามซึ่งจะเป็นส่งเสริมระบบสุขภาพสัตว์ในระยะยาวในทั้งสองจังหวัด กิจกรรมทุกอย่างมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หวัดนก นอกจากนี้ ระบบสุขภาพสัตว์ที่แข็งแกร่งในอินโดนีเซียจะปกป้องสุขภาพทั้งของมนุษย์และสัตว์ เพิ่มผลผลิตปศุสัตว์ ลดปัญหาความยากจน ตลอดจนควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ที่อาจแพร่ระบาดระหว่างเมือง เกาะ หรือแม้กระทั่งพรมแดนระหว่างประเทศ



ที่มา : Xinhua News (19/12/54)

ราคาไข่ในจีนร่วง 11 สัปดาห์ติดต่อกัน

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2554 กระทรวงพาณิชย์จีนรายงานว่า ราคาไข่ในจีนลดลงติดต่อกัน 11 สัปดาห์ ขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆราคาสูงขึ้น

ราคาไข่ลดลง 0.6% ต่อสัปดาห์และลดลง 6.2 % ตั้งแต่สิ้นเดือนกันยายน 2554 และตั้งแต่วันที่ 5 – 11 ธันวาคม 2554 ราคาขายส่งของผักที่อยู่ทน เพิ่มขึ้น 7.9 % จากสัปดาห์ก่อนหน้า และเพิ่ม 18.4 % จากต้นเดือนพฤศจิกายน

ราคาแตงกวา มะระจีน และ ฟักเขียว เพิ่มขึ้น 20.6 % 12.2 % และ 7.8 % ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดล! ง ส่วนราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยราคาเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น 0.2 % เนื้อแกะเพิ่มขึ้น 0.2 % และเนื้อวัวเพิ่มขึ้น 0.4 %

และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาปลีกของข้าวและแป้งลดลง 0.2 % เนื่องจากมีผลผลิตมีปริมาณมาก




ที่มา : The Poultry Site News (19/12/54

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การส่งออกเนื้อวัวของสหรัฐอเมริกาและปัญหาโรควัณโรคของอังกฤษและรัฐมินิโซตา

 
               • เพียง 10 เดือนแรกของปี 2554 สหรัฐฯ ส่งออกเนื้อวัวซึ่งมีมูลค่ากว่า 4.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ถือเป็นการทำสถิติใหม่ในปีนี้ โดยมีเม็กซิโกเป็นตลาดอันดับแรกด้านปริมาณการส่งออกเนื้อวัวของสหรัฐฯ โดยมีปริมาณการส่งออกที่ 470 ล้านปอนด์ ส่วนแคนาดาเป็นตลาดอันดับแรกด้านมูลค่าการส่งออกเนื้อวัว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกที่ 861.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

               • ในฤดูใบไม้ร่วงหน้า อังกฤษจะดำเนินโครงการกำจัด badger (สัตว์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีลายดำขาว อาศัยอยู่ใต้ดินหากินตอนกลางคืน) 2 แห่งเพื่อแก้ปัญหาโรควัณโรควัว

      &nbs! p;        • ในสหรัฐฯ รัฐมินนิโซตาได้ถูกประกาศให้เป็นเขตปลอดโรควัณโรค หลังจากเกษตรกรผู้เลี้ยง
ปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ต่อสู้กับโรคดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 ปี
 
 
ที่มา : The Dairy Site (16/12/54)

ฝูงไก่ตายปริศนาในเนปาล หวั่นไข้หวัดนก

 
                ประชาชนใน Ghurmi Bazaar, Udayapur เนปาล หวั่นเกรงว่าเกิดการระบาดของไข้หวัดนกในท้องถิ่น เนื่องจากเมื่อ 2 – 3 วันที่ผ่านมาฝูงไก่กว่า 1,000 ตัวจากฟาร์มเลี้ยงต่างๆในหมู่บ้าน ล้มลายโดยไม่ทราบสาเหตุ

                Tilak Shrestha ประชาชนในท้องถิ่นให้ข้อมูลว่า เมื่อ 3 วันที่ผ่านมา  ฝูงไก่ที่ฟาร์มแห่งหนึ่งใน  Lekhani VDC-2, Ghurmi เริ่มล้มตาย หลังจากนั้นฝูงไก่ในฟาร์มอื่นๆในหมู่บ้านก็ล้มตายตาม ในหมู่บ้าน ไม่เคยมีฝูงไก่ล้มตายเป็นจำนานมากขนาดนี้มาก่อน และเกรงว่าสาเหตุเกิดจากไข้หวัดนก  ขณะนี้ ประชาชนในหมู่บ้านหยุดการจำหน่ายและบริโภคไก่เรีย! บร้อยแล้ว แต่สำนักงานสุขภาพปศุสัตว์ประจำอำเภอคาดว่าสาเหตุของการล้มตายของฝูงไก่จำนวนมากน่าจะเกิดจากการเป็นโรค Ranikhet หรือนิวคาสเซิล แต่ยังต้องมีการตรวจพิสูจน์เพื่อยืนยันสาเหตุอีกครั้ง เนื่องจากไม่สามารถตรวจพิสูจน์ซากไก่ในสำนักงานสุขภาพปศุสัตว์ที่ Biratnagar จึงได้ส่งตัวอย่างไปยังกรุงกาตมันดุ

                อนึ่ง ใน Udayapur มีเกษตรกรเลี้ยงไก่ประมาณ 1,000 ราย หลังจากเหตุการณ์ฝูงไก่ล้มตายเป็นจำนวนมากครั้งนี้ จึงมีการระงับการส่งไก่ไปจำหน่ายยัง  Khotang, Okhaldhunga และ Solukhumbu

 
 
ที่มา : Himalayan Times (15/12/54

มะกันเรียกคืนเนื้ออกไก่ หวั่นอาจปนเปื้อน Listeria

 
                เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 หน่วยงานบริการตรวจสอบและความปลอดภัยอาหาร สหรัฐฯ (FSIS) รายงานว่า บริษัท House of Raeford Farms รัฐนอร์ทแคโรไลนา เรียกคืนเนื้ออกไก่สุกจำนวน 4,140 ปอนด์ เนื่องจากอาจปนเปื้อนเชื้อ Listeria monocytogenes

                โดยลูกค้าของบริษัทได้ส่งตัวอย่างเนื้ออกไก่จากบริษัทไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ผลการตรวจสอบพบว่า ตัวอย่างดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ Listeria monocytogenes  อย่างไรก็ตาม FSIS ระบุว่าไม่มีรายงานว่ามีผู้เจ็บป่วยจากการบริโภคสินค้าดังกล่าว

      !           สินค้าที่เรียกคืนบรรจุอยู่ในกล่องขนาด 18 – 22 ปอนด์ หมายเลขสินค้า 94268 และวันที่บรรจุคือวันที่ 27 กันยายน 2554  และได้ถูกส่งไปยังรัฐฟลอริดา จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนาและเซาท์แคโรไลนาเพื่อแปรรูปในขั้นต่อไป
 
ที่มา : Food Safety News (15/12/54

จีนยืนยันพบไข้หวัดนกระบาดในทิเบต

 
                เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2554 กระทรวงเกษตรจีนออกมายืนยันว่าพบไข้หวัดนกระบาดในหมู่บ้าน Sangda เทศมลฑล Doilungdeqen ในทิเบต

                ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 นกจำนวน 290 ตัวล้มตายจากการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูงชนิด H5N1 อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้แล้ว และไม่มีรายงานว่าประชาชนซึ่งสัมผัสใกล้ชิดกับนกดังกล่าวมีอาการผิดปกติทางร่างกาย

                เจ้าหน้าที่ได้ปิดล้อม ฆ่าเชื้อบริเวณดังกล่าว ฆ่านกจ! ำนวน 1,575 ตัวและกำจัดซากเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ H5N1 เรียบร้อยแล้ว
 
 
ที่มา : Xinhua News (14/12/54

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เม็กซิโกคุมเข้มชายแดนทางใต้ ป้องกันโรคไข้หวัดหมูจากกัวเตมาลา

 
                หน่วยงานบริการด้านความความปลอดภัยและคุณภาพอาหารแห่งชาติ เม็กซิโก (SENASICA) ได้เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังชายแดนทางตอนใต้เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดสุกร (CSF) เข้ามาในประเทศ หลังจากมีการระบาดของโรคดังกล่าวในกัวเตมาลา

                กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ การพัฒนาชนบท ประมงและอาหาร (SAGARPA) เน้นย้ำว่าจัดทำมาตรการนี้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสุกรของประเทศ ซึ่งคาดว่ามีการเลี้ยงสุกรกว่า 15 ล้านตัว

                SENASIC! A เพิ่มเติมว่า เม็กซิโกได้เพิ่มระดับการตรวจและสนับสนุนไม่ให้นำเข้าสุกรมีชีวิตและเนื้อสุกรจากชายแดน และกำลังป้องกันการขนส่งผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรทางอากาศจากกัวเตมาลา
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้มีการรายงานในกรณีที่สงสัยว่าสัตว์เป็นโรคดังกล่าวโดยการแจกใบปลิวและติดโปสเตอร์

                ทั้งนี้ SENASICA ระบุว่า เม็กซิโกปลอดโรคไข้หวัดสุกรตั้งแต่ปี 2552

 
 
ที่มา : The Pig Site (9/12/54)

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกในอียิปต์อีก 1 ราย

 
                กระทรวงสาธารณสุขและประชากรอียิปต์แจ้งเตือนองค์การอนามัยโลก (WHO) เรื่องชาวอียิปต์ 1 รายติดเชื้อไข้หวัดนก (H5N1) โดยผู้ติดเชื้อดังกล่าวเป็นหญิงอายุ 31 ปี จากเขต Meet Salseel เขตปกครอง Dakahlia ผู้ป่วยมีอาการเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ขณะนี้ ยังไม่พ้นขีดอันตรายและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

                ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกลางของอียิปต์ ซึ่งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังไข้หวัดทั่วโลกของ WHO ยืนยันการติดเชื้อดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 และจากการสืบหาสาเหตุของการติดเชื้อพบว่า ผู้ป่วยสัมผัสไก่ที่ติดเชื้อและล้มตายในบริเวณบ้าน

                ทั้งนี้ จนถึงปัจจุบัน ในอียิปต์ มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดนก 153 ราย และในจำนวนนี้เสียชีวิต 52 ราย
 
 
 
ที่มา : WHO  ( 6 ธันวาคม

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เนเธอร์แลนด์อาจจำกัดขนาดฟาร์มปศุสัตว์ในอนาคต

รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ประกาศว่า ในอนาคต อาจมีการจำกัดขนาดโครงการสร้างฟาร์มปศุสัตว์ในเนเธอร์แลนด์

นาย Henk Bleker รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรเนเธอร์แลนด์ กำลังพยายามออกกฎหมายการจำกัดขนาดฟาร์มปศุสัตว์ในพื้นที่เฉพาะแห่ง ส่วนการจำกัดขนาดฟาร์มนั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลทางจริยธรรม สาธารณสุขหรือผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม และเน้นย้ำว่าจะจำกัดขนาดเฉพาะกับฟาร์มที่มีขนาดใหญ่มากเท่านั้น ส่วนฟาร์มระดับครอบครัวจะยังสามารถขยายขนาดเพื่อเลี้ยงวัว 300 – 400 ตัว แม่สุกร 900 ตัว สุกรก่อนขาย 6,000 ตัว ไก่เนื้อ 200,! 000 ตัว หรือ ไก่ไข่ 100,000 ตัว โดยเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าขนาดฟาร์มเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นหรือไม่

การสร้างอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่จำเป็นในอนาคต ในปี 2563 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องการให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์มีความปลอดภัย มีสุขอนามัย คุณภาพสูง และสังคมให้การยอมรับ ด้วยการให้ความใส่ใจในด้านสวัสดิภาพสัตว์ การดูแลสัตว์ ประกอบกับการลดความเสี่ยงด้านสาธารณสุขให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากนี้ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ระบุว่าความยั่งยืนขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม รัฐบาลเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เท่านั้น แต่เกิดความวิตกกังวลเรื่องผู้ผลิตปศุสัตว์ไม่ให้ความสนในเรื่องนี้ และการขาดความกระตือรือร้นในดำเนินแผนการ

ส่วนนักสวัสดิภาพสัตว์และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ย้ำเตือนว่าควรห้ามการสร้างฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ในทันที


ที่มา : World Poultry (2/12/54)