หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

อานิสงส์ส่งออกไก่

เหตุแผ่นดินไหวและการเกิดคลื่นสึนามิในญี่ปุนมีผลกระทบต่อโรงงานอาหารสัตว์ และพื้นที่การเพาะเลี้ยงปศุสัตว์หลายแห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น โดยเฉพาะในจังหวัดมิยางิ ฟูกูชิมะ และอิวาเตะ ที่ได้รับความเสียหายอย่างมาก ซึ่งใน 3 จังหวัดดังกล่าวเป็นพื้นที่ผลผลิตไก่เนื้อประมาณ 20% หากผลผลิตได้รับความเสียหายทั้งหมด จะทำให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าเนื้อไก่เพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ

ผนวกกับอานิสงส์จากที่ญี่ปุ่นเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในช่วงต้น ปี 2554 ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องกำจัดไก่เนื้อประมาณ 2 แสนตัว บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่าจากปัจจัยข้างต้นจะช่วยส่งผลให้ผู้ส่งออกไก่ของไทยได้รับอานิสงส์จาก การเพิ่มการนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปของญี่ปุ่น เนื่องจากความต้องการนำเข้าเนื้อไก่ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากใน ปี 2554 ประมาณ 2.01 ล้านตัน แบ่งเป็นการผลิตเอง 1.275 ล้านตัน หรือ 63.4% ของปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อไก่ทั้งหมด และนำเข้า 7.35 แสนตัน ปริมาณการผลิตไก่เนื้อในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 30% ของปริมาณการผลิตไก่เนื้อทั้งหมด หรือประมาณ 0.38 ล้านตัน

ทั้งนี้ จากการบริโภคเนื้อไก่ในครัวเรือนของญี่ปุ่นมีสัดส่วนถึง 60% ของการบริโภคเนื้อไก่ทั้งหมด กลุ่มธุรกิจบริการอาหาร 30% และอุตสาหกรรมแปรรูป 10% อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ การแข่งขันกับคู่แข่งสำคัญอย่างจีนที่ราคานำเข้าไก่แปรรูปถูกกว่าไทยมากใน ระดับเฉลี่ย 4,070.40 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ขณะที่นำเข้าไก่แปรรูปจากไทยในระดับเฉลี่ย 4,522.79 ดอลลาร์สหรัฐ

&! nbsp; แต่ไทยยังมีความได้เปรียบใน! เรื่องคว ามหลากหลายของสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคญี่ปุ่นได้ อย่างครบถ้วน รวมทั้งยังมีภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องความปลอดภัยของสินค้า ไม่เคยมีประวัติในเรื่องสารปนเปื้อนและสารตกค้าง ศูนย์วิจัยฯ คาดว่ามูลค่าส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปญี่ปุ่นในปี 2554 จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 15.0% เทียบกับ 11.5% ในปี 2553

ดังนั้น ไทยต้องเร่งเพิ่มปริมาณการผลิตไก่เนื้อจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทั้ง ญี่ปุ่น และความต้องการนำเข้าเนื้อไก่จากสหภาพยุโรป ที่ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อไก่แทนเนื้อสุกรในเยอรมนี หลังตรวจพบสารไดออกซินปนเปื้อนในอาหารสัตว์ และแรงกดดันด้านการต่อรองราคาผ่อนคลายลง

ที่มา : ข่าวสด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น