หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Schmallenberg และเชื้อ Campylobacter ในฟาร์มปศุสัตว์อียู


ปัจจุบันฟาร์มปศุสัตว์ทางตอนเหนือของยุโรปกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Schmallenberg (SBV) ทั้งในฟาร์มเลี้ยงวัว แกะ และแพะ ในประเทศอิตาลี ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร และปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อ Campylobacter ในสัตว์ปีก อียูกำลังเร่งติดตามพัฒนาการการแพร่ระบาดของโรคและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้สามารถประเมินสถานการณ์

ปัจจุบันฟาร์มปศุสัตว์ทางตอนเหนือของยุโรปกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เชื้อไวรัส Schmall! enberg ถูกตรวจพบครั้งแรกในประเทศเยอรมนีเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ และได้แพร่กระจายสู่ฟาร์มในหลายประเทศ โดยมีแมลงตัวเล็กๆ (เช่น ยุง) เป็นพาหะนำโรค สัตว์ที่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการของโรค คือ มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในสัตว์ตัวเต็มวัย (ปริมาณนมลดลง เป็นไข้หรือเกิดภาวะท้องร่วง) แต่สำหรับแม่วัว แพะและแกะที่ตั้งท้องจะเกิดภาวะแท้งคุกคาม และลูกสัตว์ที่ เกิดใหม่จะมีลักษณะผิดปกติ ปัจจุบันมีการตรวจพบเชื้อไวรัส SBV ในปศุสัตว์กว่า ๑,๐๐๐ ตัวและ ยังไม่มีวัคซีนรักษาสัตว์ที่ติดเชื้อ รวมทั้งยังไม่มีการทดสอบใดๆที่จะสามารถบ่งชี้ว่าสัตว์ได้รับเชื้อแล้ว

อย่างไรก็ดี ทางศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหภาพยุโรป (European Centre of Disease Prevention and Control : ECDC) ได้ทำการประเมินความเสี่ยงของโรคและให้ข้อสรุปว่า “ความเสี่ยงที่เชื้อไวรัส SBV จะมีผลต่อสุขภาพมนุษย์ไม่น่าจะเกิดขึ้น” ส่วนองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ก็ได้ออกมายืนยันว่า “เชื้อไวรัส SBV ไม่น่ามีอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์” อีกทั้งยังชี้แจงเพ! ิ่มเติมว่าเชื้อไวรัส SBV จะหมุนเวียนอยู่ในกระแสเลือดของสัตว์เพ! ียงระยะเ วลาสั้นๆ และจะมีการส่งผ่านโรคไปยังสัตว์ตัวอื่นๆผ่านยุง เห็บหรือแมลงตัวเล็กๆที่กัดสัตว์เท่านั้น (เช่นเดียวกับการแพร่กระจายโรค bluetongue)

สำหรับสิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการเกี่ยวกับในเรื่องนี้ คือ มุ่งทำการวิจัยและเก็บข้อมูล ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะช่วยพัฒนาหาวิธีที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคระบาดดังกล่าว ส่วนเกษตรกรต้องรีบแจ้งรายงานต่อเจ้าหน้าที่หรือสัตว์แพทย์ทันทีหากพบการตายหรือความผิดปกติในสัตว์ เกิดใหม่ นอกจากนี้ ต้องระมัดระวังการค้าน้ำเชื้อ ตัวอ่อนและสัตว์ที่มีชีวิต ซึ่งอาจทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสขยายวงกว้างขึ้น แต่สำหรับการค้าเนื้อสัตว์และนม องค์การสุขภาพสัตว์โลก ประเมินว่าไม่น่ามีความเสี่ยง

ปัจจุบัน สหภาพยุโรปประสบปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อ Campylobacter ในสัตว์ปีก หากผู้บริโภครับประทานเนื้อไก่ที่ไม่สุกเพียงพออาจได้รับเชื้อดังกล่าวผ่านทางการบริโภคได้ โดยจะก่อ ให้เกิดอาหารท้อง! ร่วงและอาเจียน โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร มีสินค้าอาหารที่ติดเชื้อ Campylobacter ส่งผลกระทบให้แก่เศรษฐกิจของ UK เป็นมูลค่าถึง ๗๒๓ ล้านยูโรต่อปี

เชื้อ Campylobacter พบมากในสัตว์ปีก หากสัตว์อาจไม่แสดงอาการป่วยใดๆ เชื้อสามารถถ่ายทอดสู่สัตว์ปีกด้วยกันทางน้ำและอาหาร ขณะนี้ Biotechnology and Biological Sciences Research Council ร่วมกับบริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์ปีก Aviagen UK ได้อนุมัติวงเงิน ๑.๖ ล้านยูโร ให้กับ Roslin Institute, Edinburgh เพื่อทำการวิจัยคิดค้นสัตว์ปีกที่สามารถทนต่อเชื้อ Campylobacter (Campylobacter-resistant chicken) เพื่อจำกัดวงระบาดของเชื้อมิให้ติดต่อกันได้ระหว่างสัตว์ปีก

ปัจจุบันใน EU เชื้อไวรัส Schmallenberg ยังเป็นโรคที่ยังไม่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทางการ เมื่อมีการตรวจพบเชื้อนี้เกิดขึ้น (not a notifiable disease) อย่างไรก็ดี เกษตรกรเพียงต้องรายงานไปยังสัตวแทพย์ของตนเมื่อพบว่ามีปัญห! าเกิดขึ้น อาทิ สัตว์ตายหรือพิการเมื่อแรกเกิด ซึ่งหลังจากนั้น ท! างสัตวแพ ทย์ก็จะติดต่อห้องปฎิบัติการท้องถิ่นของตนอีกทีหนึ่ง

ดังนั้น จากปัญหาการระบาดที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ ส่งผลให้ประเด็นดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกัน ภายใน EU ว่า ควรให้มีการขึ้นบัญชีเชื้อไวรัส Schmallenberg ให้เป็นโรคที่ต้องมีการแจ้งต่อทางการ (notifiable disease) อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร UK ยังคงไม่เห็นด้วยที่จะต้อง ให้มีความจำเป็นในการขึ้นบัญชีไวรัส Schmallenberg นี้ตามที่กลุ่มเกษตรกรเรียกร้องอยู่ในขณะนี้ หากกลับเสนอให้มีการมุ่งเน้นการวิจัยและการคิดค้นวัคซีนเพื่อต่อสู้กับไวรัสดังกล่าวแทน

สิ่งที่อียูกำลังเร่งดำเนินการในปัจจุบัน คือ ติดตามพัฒนาการการแพร่ระบาดของโรค และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้สามารถประเมินสถานการณ์ ทำความเข้าใจโรคและ จัดการกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น, ทำการศึกษาวิจั! ยการระบาดของโรค, กำหนดมาตรการป้องกัน และควบคุมโรค รวมทั้งพัฒนาหาวัคซีนป้องกันโรคซึ่งอาจต้องใช้เวลานานถึง ๑๘ เดือนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ ในระหว่าง นี้เกษตรกรก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลจัดการฟาร์ม (โดยเฉพาะช่วงที่สัตว์ตั้งท้อง และในฤดูร้อน ที่แมลงพาหะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว) รวมไปถึงควรนำมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (bio- security measures) มาใช้เพื่อป้องกันโรคเช่นเดียวกับเมื่อเกิดโรคระบาดสัตว์ประเภทอื่นๆ

ปัญหาโรคสัตว์ที่อุบัติขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจะเป็นโรค Bluetongue และเชื้อไวรัส Schmellenberg และเชื้อ Campylobacter ในทวีปยุโรป, โรคไข้หวัดนกในทวีปเอเชีย แสดงให้เห็น ว่านานาประเทศควรเตรียมพร้อมรับมือกับโรคภัยใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเพิ่มการลงทุนในมาตรการป้องกันและควบคุมโรค, เสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยเกี่ยวกับโรคระบาดให้ดีขึ้น, เพิ่มความแข็งแกร่งของมาตรการติดตามและควบคุมโรค, จัดตั้งหรือเสริมสร้างบทบาทของหน่วยงาน Veterinary Public Hea! lth (VPH) ซึ่งจะทำหน้าที่ประสานการทำงานระหว่าง ๒ ภาค ได้แก่ ภา! คเกษตรกร รมและภาคสาธารณสุข รวมไปถึงการอบรมบุคคลากรเพื่อทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพคนและสุขภาพสัตว์ในยามที่มีปัญหาโรคระบาดสัตว์เกิดขึ้น



ที่มา : ThaiEurope (ต้นฉบับภาษาไทย)
(02/04/55)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น