หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เกาหลีใต้จะเริ่มใช้ระบบติดตามเนื้อหมูภายในปี 2557

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554 รัฐบาลเกาหลีใต้กล่าว ว่าเกาหลีใต้มีเป้าหมายจะนำระบบติดตามมาใช้กับเนื้อสุกรทั้งหมดที่จำหน่ายในตลาดภายในประเทศ โดยจะเริ่มใช้ระบบติดตามเนื้อสุกรดังกล่าวในปี 2557 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

กระทรวงอาหาร เกษตร ป่าไม้ และประมงเกาหลีใต้ (MAFF) กล่าวว่าขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนหารือด้านรายละเอียดในการจัดทำระบบติดตามดังกล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์

&! nbsp; เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯกล่าวว่า เนื่องจากสุกรถูกเชือดในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกันโค ดังนั้นระบบดังกล่าวอาจจะติดตามเนื้อสุกรได้ยาก แต่การใช้ระบบติดตามเนื้อสุกรจะเป็นการเพิ่มสิทธิผู้บริโภคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตเนื้อสุกรภายในประเทศและผู้นำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ

เจ้าหน้าที่กระทรวงฯกล่าวว่า เมื่อนำระบบดังกล่าวมาใช้ ผู้บริโภคจะสามารถตรวจสอบสถานที่เลี้ยงสุกร สถานที่เชือด วิธีการบรรจุหีบห่อเนื้อสุกร และการกระจายสินค้าก่อนนำมาวางจำหน่าย

กระทรวงกล่าวว่า การใช้ระบบติดตามเนื้อสุกรเป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์การระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยที่ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องกำจัดและฝังปศุสัตว์จำนวนกว่า 3.47 ล้านตัว ซึ่งปศุสัตว์ส่วนใหญ่เป็นสุกร

&! nbsp; นอกจากนี้ ระบบติดตามอาจช่วยให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการร! ะบาดของโ รคปากและเท้าเปื่อยซึ่งคาดว่าทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องสูญเงินกว่า 3 แสนล้านวอน (2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)




ที่มา : The Pig Site

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พบไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำระบาดในเนเธอร์แลนด์

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์เนเธอร์แลนด์รายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำ (LPAI) 1 แห่งในฝูงไก่เลี้ยงแบบปล่อยที่หมู่บ้าน Creil จังหวัด Flevoland ในตอนกลางของเนเธอร์แลนด์

มีการทำลายไก่จำนวนทั้งหมด 47,000 ตัวในฝูง รวมทั้งตรวจสัตว์ปีกทั้งหมดภายในรัศมี 3 กิโลเมตรจากฟาร์มที่ได้รับผลกระทบ และยืนยันว่ามีการระบาดของไข้หวัดนกชนิด H7N7

ทั้งนี้การระบา! ดของไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำครั้งล่าสุดของเนเธอร์แลนด์เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2554





ที่มา : The Poultry Site

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

FAO ชี้ราคาสินค้าเกษตรยังแพงอีกยาว

รายงาน OECD-FAO ชี้ ราคาอาหารที่แพงขึ้นและความผันผวนของตลาดสินค้าเกษตรจะยังคงอยู่ในระยะยาว

รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ของปี 2554-2563 ระบุว่าผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้มากในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะดึงราคาสินค้าเกษตรให้ถูกลงจากที่เคยพุ่งสูงสุดในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามรายงานดังกล่าวระบุว่าราคาที่แท้จริงของเมล็ดธัญพืชจะสูงขึ้น 20% ไปอีก 10 ปี ขณะที่เนื้อสัตว์ก็คาดว่าจะสูงขึ้น 30% เทียบกับราคาของปี 2544-2553 อย่างไรก็ดี ราคาอาหารที่คาดการ! ณ์จะต่ำกว่าระดับราคาสูงสุดที่เกิดขึ้นในปี 2550-2551 เมื่อเทียบกับปี 2554

รายงานยังระบุด้วยว่า ราคาสินค้าเกษตรแพงเริ่มเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ทำให้ราคาผู้บริโภคพุ่งสูงขึ้นในหลายประเทศ ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสเถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงด้านอาหารของประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศที่มีผู้บริโภคที่ยากจนซึ่งเสี่ยงที่จะขาดสารอาหาร

ทั้งนี้ นอกเหนือจากเรื่องอื่นแล้ว ในรายงานยังระบุให้ประเทศในกลุ่ม G20 ใช้มาตรการกระตุ้นการเพิ่มผลผลิตเกษตรในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการลดหรือขจัดนโยบายที่บิดเบือนการค้า และจัดตั้งกลไกใหม่ๆเพื่อปรับปรุงข้อมูลข่าวสารและความโปร่งใสของการผลิต การบริโภค เก็บสำรอง และการค้าสินค้าเกษตร

อนึ่ง รายงานระบุว่าการบริโภคอาหารต่อหัวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในยุโรปตะวันออก เอเชีย! และ ละตินอเมริกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รายได้ของคนในประเทศกำลังเพ! ิ่มสูงขึ ้น ขณะที่จำนวนประชากรขยายตัวช้าลง โดยความต้องการเนื้อสัตว์ นม น้ำมันพืช และน้ำตาลจะพุ่งขึ้นสูงสุด




ที่มา : World Poultry

จับตา...มาตรฐานความปลอดภัยนมจีน

นาย Wang Dingmian ประธานสมาคมผู้ผลิตนมกวางเจา กล่าวว่า มาตรฐานความปลอดภัยนมจีนฉบับปัจจุบันต่ำที่สุดในโลกและเป็นมาตรฐานที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตนมรายใหญ่ เนื่องจากมาตรฐานดังกล่าวกำหนดจำนวนแบคทีเรียสูงสุดที่อนุญาตในน้ำนมดิบหรือ การวิเคราะห์จุลินทรีย์ทั้งหมด (aerobic plate count) ไว้ที่ 2 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่อนุญาตในมาตรฐานความปลอดภัยนมก่อนหน้านี้ถึง 4 เท่า

นาย Wang กล่าวว่ามาตรฐานดังกล่าวล้าหลังเทียบเท่ามาตรฐานที่เลิกใช้แล้วเป็นเวลา 25 ปี และมาตรฐานดังกล่าวถือว่ามีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานประเภทเดียวกันทั่วโลกโดยเชื่อว่าเป! ็นผลมาจากแรงกดดันจากผู้ผลิตนมซึ่งต้องการลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น

นอกจากนี้ในเดือนเมษายน 2554 หน่วยงานควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกันโรคของจีน (AQSIQ) กล่าวว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ผลิตนมจำนวน 1,176 รายไม่ได้รับใบอนุญาตการผลิตนมฉบับใหม่

ด้านนาย Nadamude เลขาธิการสมาคมการผลิตนมเขตการปกครองตนเองมองโกเลียในกล่าวว่า 70% ของเกษตรกรผู้ผลิตนมในจีนจะต้องทิ้งนมที่ผลิตหรือจำหน่ายวัวถ้ากำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดยิ่งขึ้น และสาเหตุที่มาตรฐานความปลอดภัยนมต่ำเนื่องจากฟาร์มส่วนใหญ่ในจีนเป็นฟาร์มขนาดเล็กและต่ำกว่า 30 % มีวัวมากกว่า 100 ตัว ฟาร์มขนาดเล็กมักมีมาตรฐานสุขอนามัยที่ต่ำและวิธีการเก็บรักษานมที่จำกัด ดังนั้นจำนวนจุลินทรีย์ในน้ำนมดิบจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยนมอาจทำให้นมขาดแคลนและอาจต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

! ; อย่างไรก็ตาม นาย Wang กล่าวว่ามาตรฐานที่ต่ำไม่ได! ้เอื้อปร ะโยชน์ต่อเกษตรกรฟาร์มโคนมขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่มาตรฐานดังกล่าวช่วยรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรทางอ้อม เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคนิยมซื้อผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศ เนื่องจากขาดความมั่นใจในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ภายในประเทศทำให้อุปสงค์ภายในประเทศลดลง เกษตรกรจึงไม่สามารถจำหน่วยผลิตภัณฑ์นมในราคาสูงได้และราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลง เกษตรกรจึงแทบไม่ได้ต้นทุนด้านอาหารและแรงงานคืน แต่อย่างไรก็ตามการยกระดับมาตรฐานประกอบกับการขึ้นราคาน้ำนมดิบเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยเหลืออุตสาหกรรมนมได้ เพราะราคาที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้เกษตรกรผลิตน้ำนมดิบที่ได้มาตรฐาน





ที่มา : Xinhua News

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรคหมูหูสีน้ำเงินระบาดในพม่า

โรคสุกรหูสีน้ำเงิน (PRRS) ยังคงระบาดในพม่า โดยขณะนี้ไวรัสดังกล่าวได้ระบาดไปยังเขตอิรวดีตะวันตกและรัฐมอญทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า

กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ของพม่าระบุว่า ขณะนี้ มีรายงานการระบาดของโรคใน 6 เขต โดยพบการระบาดครั้งแรกในแถบมันดาเลย์ ในเดือนกุมภาพันธ์ และโรคดังกล่าวได้แพร่ระบาดไปยัง เนบิดอว์ มาเกว พะโค ย่างกุ้ง อิรวดีและรัฐมอญ สาเหตุที่เกิดการระบาดเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากการห้ามขนส่งสุกรที่ไร้ประสิทธิภาพ
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2554 พยาธิแพทย์จากประเทศไทยซึ่งกำลังวิจัยเชื้อโรคดังกล่าว ได้เข้าไปสังเกตการณ์ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบในพม่าและได้ให้คำแนะนำเพื่อป้องกันและควบคุมโรค

โรคสุกรหูสีน้ำเงินได้แพร่ระบาดไปยังเขตอิรวดีและรัฐมอญแม้ว่ารัฐบาลพม่าได้พยายามควบคุมโรค ในต้นเดือนพฤษภาคม แม้ว่าเขตย่างกุ้งห้ามการขนส่งสุกรและเนื้อสุกรจากเขตพะโค แต่การขนส่งสุกรและเนื้อสุกรในเขตอิรวดีกลับได้รับอนุญาต

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2254 กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ของพม่าได้ห้ามขนส่งสุกรและเนื้อสุกรในเขตย่างกุ้ง และเจ้าหน้าที่ในเขตย่างกุ้งได้ออกคำสั่งห้ามร้านขายเนื้อในเขตดังกล่าวจำหน่ายเนื้อสุกรที่ติดเชื้อและกล่าวว่า ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ในขณะที่ราคาเนื้อสุกรลดลงครึ่งหนึ่ง

รัสเซียอาจไฟแดงเนื้อสัตว์เมืองเบียร์

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2554 Nikolai Vlasove หัวหน้าสัตวแพทย์รัสเซียระบุว่าอาจออกข้อกำหนดห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์จากเยอรมนีจากเหตุการณ์เชื้อ E.coli ระบาดในเยอรมนี ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาดของเชื้อดังกล่าว หากเชื้อดังกล่าวสร้างความเสียหายในวงกว้าง ก็ห้ามนำเข้าได้

ทั้งนี้ทางการสัตวแพทย์ของรัสเซียระบุว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในเยอรมนีเป็นต้นเหตุของการระบาดของเชื้อ E.coli ในสหภาพยุโรป

สถานการณ์การระบาดเชื้อ E.coli ล่าสุด มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 38 ราย ขณะที่สหภาพยุโรปก็เรียกร้องให้รัสเซียยกเลิกการห้ามนำเข้าผักจากสหภาพยุโรปเนื่องจากการระบาดของเชื้อ E. coli อย่างไรก็ตามรัสเซียยังยืนยันที่จะห้ามนำเข้าต่อไปหลังทราบรายละเอียดเกี่ยวกับที่มาของการเกิดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สัตว์ปีกปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา มะกันเจ็บ 39 ราย

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2554 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยจากเชื้อ Salmonella altona 39 ราย ใน 15 รัฐ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลูกไก่และลูกเป็ดที่เลี้ยงไว้หลังบ้าน

รายงานล่าสุดระบุว่า มีการรายงานการเจ็บป่วยตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์-23 พฤษภาคม 2554 เป็นจำนวนมาก เข้าโรงพยาบาล 9 ราย โดย 44% ของผู้ป่วยเป็นเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ




ที่มา : Food Safety News

USFDA ประกาศให้ระงับการขายยาสัตว์ 3-nitro อย่างสมัครใจ

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2554 USFDA เปิดเผยว่า บริษัทยาแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ยินดีระงับการจำหน่ายยาสัตว์ 3-nitro (Roxarsone) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการผลิตสัตว์ปีกตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1940 หรือ พ.ศ. 2483

ผลการศึกษาของ FDA พบว่า ไก่เนื้อจำนวน 100 ตัว ที่ได้รับยา 3-nitro มีสารหนูอนินทรีย์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งสะสมอยู่ที่ตับในปริมาณสูงกว่าไก่ที่ไม่ได้รับยาดังกล่าว อย่างไรก็ดี ปริมาณสารหนูที่พบถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการได้รับสารดังกล่าว เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง

! สารหนูเป็นสารที่พบได้ตามธรรมชาติ อาทิ น้ำ อากาศ ดิน และอาหาร จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า สารหนูอินทรีย์ (organic arsenic) เป็นพิษน้อยกว่ารูปแบบของสารหนู (form of arsenic) และรูปที่ปรากฎใน 3-nitro เนื่องจากรูปแบบของสารหนูและรูปที่ปรากฎใน 3-nitro สามารถเปลี่ยนเป็นสารหนูอนินทรีย์

บริษัทยาดังกล่าวระงับการจำหน่ายยา 3-nitro เพื่อชะลอการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในสหรัฐฯ โดยวางแผนว่าจะจำหน่ายอีกแค่เพียง 30 วันนับจากวันที่ 8 มิถุนายน 2554 เพื่อให้ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ได้ปรับตัว และหันไปใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นแทน

ทั้งนี้ เมื่อปี 2488 สาร 3-nitro เป็นยาสัตว์ตัวแรกที่มีสารหนูเป็นส่วนประกอบและได้รับการรับรองจาก USFDA เพื่อใช้ในการผลิตไก่เนื้อ โดยใช้ร่วมกับยาสัตว์อื่นๆ เพื่อป้องกันโรค coccidiosis ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากปรสิต ที่จะทำให้เกิดความผิดปกติในทางเดินอา! หารของสัตว์ นอกจากนี้ ยังใช้เพื่อเพิ่มน้ำหนัก และประสิทธิภาพกา! รให้อาหา ร และปรับปรุง pigmentation





ที่มา : FDA

กานาพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์ปีก

รองประธานาธิบดีประเทศกานา John Dramani Mahamaเปิดเผยว่า รัฐบาลกานาจะจัดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์ปีก เพื่อเพิ่มโอกาสทางการงานให้ชาวกานาและทำให้ประชาชนหันมาบริโภคสัตว์ปีกภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการประชุมระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรและอาหาร (MoFA) เพื่อหารือการแก้ปัญหาราคาอาหารและวัคซีนสำหรับสัตว์ปีกแพง และการแย่งส่วนแบ่งตลาดกับไก่แช่แข็งนำเข้า โดยจะมีการนำข้าวโพดที่เป็นสินค้าคงคลังสำรองมาใช้ เพื่อลดการนำเข้าอาหารเลี้ยงสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสาเหตุของวิกฤตทางการเงินในช่วงหลายปีที่ผ่านมา




ที่มา : Ghana News Agency

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อียูเพิ่มการวิเคราะห์เชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อสัตว์ปีก

เมื่อปลายปี 2553 สหภาพยุโรปออกกฎระเบียบ EC No.2160/2003 ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับเนื้อสัตว์ปีกสด อาทิ ไก่ป่า (Gallus gallus), ไก่ไข่, ไก่เนื้อ, ไก่งวง โดยห้ามจำหน่ายเนื้อสัตว์ปีกสด หากพบว่าไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการห้ามพบเชื้อซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์ 25 กรัม

กฎระเบียบดังกล่าวได้กำหนดให้มีการสุ่มตัวอย่างและวิธีวิเคราะห์ด้วย ร่างข้อกำหนดใหม่นี้จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม EC No.2073/2005 ในภาคผนวก 1 โดยเกี่ยวข้องกับเชื้อ Salmonella Enteritidis และ Salmonella Typhimurium ตามวิธีวิเคราะห์แบบ Horizontal ของ ISO 6579 ในการอ้างอิง โดยท! ุก 5 ตัวอย่างที่มีน้ำหนัก 25 กรัม จะต้องไม่พบเชื้อ salmonella ในผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด

ทั้งนี้ เปิดรับฟังความคิดเห็นถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2554 และมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ธันวาคม 2554





ที่มา : มกอช.

ผู้เลี้ยงหมูมะกันป่วน ราคาอาหารสัตว์พุ่ง

Dr. Steve Meyer นักเศรษฐศาสตร์เกษตรกล่าวในงาน World Pork Expo ว่าแม้ว่าราคาสุกรที่โรงเชือดมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น แต่ก็คาดว่าราคาอาหารสัตว์ก็จะสูงขึ้นตาม โดยมีปัญหาสภาพอากาศเป็นปัจจัยหลัก คือความแห้งแล้งที่ยาวนานผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของพืชผลในปัจจุบัน และการเกิดน้ำท่วมที่ยาวนานเช่นที่ในรัฐ Louisiana, Mississippi, Missouri และ North Dakota ทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังและไม่สามารถปลูกพืชได้ชั่วคราว

ด้วยปัจจัยทางสภาวะอากาศผนวกกับปัจจัยทางตลาดอื่นๆ ส่งผลให้ผู้ประกอบการสุกรได้รับความเสียหายในระยะสั้นค่อนไปถึงระยะยาว โดยคาดว่าในป! ี 2554 ความขาดทุนของผู้ประกอบการจะลดลงอยู่ที่ตัวละ 4.76 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ความขาดทุนสำหรับหนึ่งปีเต็ม จะเพิ่มขึ้นเป็นตัวละ 11.82 ดอลลาร์สหรัฐจนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2555 โดยกำไรจากสุกรต่อหัวคือ 10.25 ดอลลาร์สหรัฐ

Meyer ยังพูดถึงความหวังที่พอมีอยู่บ้างสำหรับภาคอุตสาหกรรมสุกรในสหรัฐฯ เนื่องจากภาพรวมอุตสาหกรรมเนื้อวัวมีการชะลอตัวลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งยังเป็นผลกระทบมาจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง โดยผลกระทบดังกล่าวมีแนวโน้มจะเกิดจนกระทั่งปี 2556 และจะทำให้ราคาเนื้อวัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเนื้อสุกรซึ่งราคาถูกกว่า




ที่มา : Pig Progress

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

FMD ระบาดอีกระลอกในบอตสวานา

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์บอตสวานารายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมือง Francistown รายงานระบุว่า โคจำนวน 222 ตัวเสี่ยงต่อการติดโรค โคจำนวน 19 ตัวซึ่งอยู่ในเขตควบคุมโรคจากจำนวนทั้งหมดติดโรค จำนวนโคซึ่งติดโรคเพิ่มขึ้นเกิดจากการเคลื่อนย้ายสัตว์เป็นกลุ่มและการแพร่ระบาดซึ่งเกิดจากการกระทำของแพทย์ด้านวัคซีน ไม่มีการทำลายสัตว์และไม่มีบันทึกการตายของสัตว์

การเฝ้าระวังในเขต 6 ยังคงดำเนินต่อไป โดยการเฝ้าระวังอาการทางคลินิกและทางซีรั่มวิทยารอบแรกเริ่มเมื่อว! ันที่ 17 พฤษภาคม 2554 จนถึง วันที่ 5 มิถุนายน 2554

ทั้งนี้ บอตสวานาไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายสัตว์เท้ากีบในเขต 6 และห้ามนำผลิตภัณฑ์สดที่ได้เข้าหรือออกนอกเขต 6 โคจำนวน 11,882 ตัวได้รับวัคซีนแบบปฐมภูมิ และการมาตรฐานความมั่นคงทางชีวภาพยังดำเนินต่อไปในเขต 6 ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุของการระบาดที่แน่ชัด



ที่มา : The Cattle Site

แบคทีเรียฆ่าหมูนับร้อยที่พม่า

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 สุกรหลายร้อยตัวล้มตาย ในเมือง Insein Hlaingthayar และ Hlegu เบื้องต้นสันนิษฐานว่าสาเหตุมาจากโรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome, PRRS) เนื่องจากโรคดังกล่าวได้ระบาดในพม่าตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 แต่ผลจากการทดลองระบุว่าเป็นเพราะเชื้อแบคทีเรียและยังไม่ทราบต้นเหตุ

การระบาดครั้งนี้ส่งผลกระทบให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรฆ่าสุกรเพื่อขายทันทีที่พบว่าสุกรมีอาการติดเชื้อ และขณะนี้ราคาสุกรในพม่าขณะนี้ปรับลดลงกว่าปกติแล้วเนื่องจากการระบาดของโรคพีอาร์อาร์เอส





ที่มา : Democratic Voice of Burma, Mazzima

ญี่ปุ่นชี้เนื้อวัวออสซี่อาจเป็นสาเหตุการติดเชื้อ E.Coli

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 มีผู้ป่วย 20 ราย หลังจากรับประทานอาหารเย็นที่ร้านบาบีคิวสไตล์เกาหลีในจังหวัดโตยาม่าของญี่ปุ่น ขณะที่ผู้ป่วย 15 ราย ยืนยันว่าติดเชื้อ E.Coli สายพันธุ์ O157

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขญี่ปุ่นระบุว่า สาเหตุการระบาดของเชื้อ E.Coli ในญี่ปุ่นอาจมาจากเนื้อวัวนำเข้าจากออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม Melanie Brock ผู้จัดการฝ่ายภูมิภาคด้านเนื้อสัตว์และปศุสัตว์ออสเตรเลีย กล่าวว่า การตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขญี่ปุ่น ปรากฎว่า ไม่มีมูลเหตุการปนเปื้อนเชื้อจากเนื้อวัวออสเตรเลีย ทั้งนี้ อยู่ระหว่างสืบสวนห! าสาเหตุการปนเปื้อน




ที่มา : Food Magazine

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พบไข้หวัดหมูแอฟริกันระบาดในแทนซาเนีย

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์แทนซาเนียได้รายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของโรคไข้หวัดสุกรแอฟริกันอีกครั้งในเขต Mbeya

รายงานระบุว่า สุกรที่ได้รับผลกระทบเป็นสุกรเลี้ยงแบบปล่อย สุกรจำนวนทั้งหมด 900 ตัวเสี่ยงต่อการติดโรคดังกล่าว สุกร 75 ตัวติดโรค และตายจำนวน 65 ตัว จากจำนวนทั้งหมด แต่ยังไม่มีการทำลายสัตว์ และรายงานระบุว่าการเลี้ยงสุกรด้วยเศษอาหารเป็นสาเหตุหลักของโรคระบาดครั้งนี้




ที่มา : The Pig Site

เกาหลีใต้เตรียมห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 รัฐบาลเกาหลีใต้กล่าวว่า เกาหลีใต้วางแผนห้ามใช้ยาปฎิชีวนะผสมในอาหารสัตว์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สำนักข่าว Yonhap รายงานว่าเกาหลีใต้อนุญาตให้ใช้ยาปฎิชีวนะ 44 ชนิดผสมในอาหารสัตว์จนกระทั่งปี 2548 แต่ได้ค่อยๆลดชนิดยาที่อนุญาตลงตั้งแต่ปีนั้น เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ได้ออกมา! เตือนเรื่องผลข้างเคียงที่รุนแรงหากปศุสัตว์ได้รับยาปฎิชีวนะมากเกินไป





ที่มา : The Pig Site

ไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำระบาดในเมืองเบียร์

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ในเยอรมนีรายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำ (LPAI) รายงานระบุว่ามีการระบาดของ LPAI ในนก 20,000 ตัวที่เมือง Gütersloh ในรัฐ North Rhine-Westphalia ซึ่งการระเบิดเริ่มเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม นกจำนวน 4,000 ตัวจากนกทั้งหมด 20,000 ตัว แสดงอาการของโรค และนกจำนวนทั้งหมดได้ถูกทำลายแล้ว และมีการยืนยันว่าเกิดการระบาดของ ไข้หวัดนกชนิด H7

ทั้งนี้การระบาดของโรคไข้หวัดนกในเยอรมนี้ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553



ที่มา : The Poultry Site

FMD ระบาดในคาซัคสถาน

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ของคาซัคสถานรายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ในวัว แกะและแพะ โดยพบการระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม และ มีการยืนยันว่ามีการระบาดของโรค FMD เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ในหมู่บ้าน Akzhaik เมือง Uralsk

รายงานระบุว่า วัวทั้งหมดจำนวน 550 ตัวมีความเสี่ยงต่อการติดโรคFMD ซึ่งวัว 53 ตัวจากจำนวนทั้งหมดเป็นโรค แต่ไม่มีบันทึกการตาย อย่างไรก็ตาม วัวทั้งหมด 550 ตัวถูกทำลาย
การนำสัตว์มีชีวิตใหม่เข้ามาเป็นสาเหตุหลักของโรคระบาดครั้งนี้

ผลการทดสอบด้วยวิธีเอนไซม์ลิงค์อิมมูโนซอบเบนแอสเสย์ (ELISA) ยืนยันว่ามีการระบาดของโรคFMD ในคาซัคสถาน



ที่มา : The Pig Site

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ออสเตรเลียสั่งห้ามส่งออกสัตว์มีชีวิตไปยังอินโดนีเซีย

นายโจ ลุดวิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของออสเตรเลียมีคำสั่งระงับการส่งออกสัตว์มีชีวิตไปยังโรงฆ่าสัตว์ 11 แห่งในอินโดนีเซีย จนกว่าจะมีการตรวจสอบเรื่องการปฏิบัติต่อปศุสัตว์ของออสเตรเลีย

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 ไลฟ์คอร์ป ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปศุสัตว์ของออสเตรเลีย ได้มอบบันทึกวิดีโอของกลุ่มรักษ์สัตว์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการทารุณสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์หลายแห่งในอินโดนีเซีย

วิดีโอดังกล่าวซึ่งเผยแพร่โดยสำนักข่าว ABC News แสดงให้เห็นถึงสัตว์ที่ถูกเตะ เฆี่ยนและทุบตี คอที่ถูกเฉือน ลูกตาที่ถลนออกมา และหางขาด
นายลุดวิกกล่าวว่า เขาถึงกับช็อกเมื่อได้ดูวิดีโอ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าการปฏิรูปอุตสาหกรรมปศุสัตว์เพื่อสร้างมาตรฐานสวัสดิการสัตว์ยังไม่ก้าวหน้าหรือรวดเร็วเท่าที่ควร และต้องมีอีกหลายอย่างที่ต้องลงมือทำ

นอกจากนี้ กลุ่มกรีนพีชและหน่วยงานอิสระอีก 2 กลุ่มยังออกมาสนับสนุนความเคลื่อนไหวดังกล่าว โดยเรียกร้องให้มีการสั่งห้ามการส่งออกสัตว์มีชีวิตไปยังอินโดนีเซียในทันที ขณะที่รัฐบาลผสมของออสเตรเลียได้เสนอให้มีการทบทวนอุตสาหกรรมส่งออกปศุสัตว์มีชีวิต
ทั้งนี้ ไลฟ์คอร์ป ได้มอบคลิบวิดีโอดังกล่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมา และทางอุตสาหกรรมได้ประกาศระงับการค้ากับโรงฆ่าสัตว์ที่เลวร้ายที่สุด 3 แห่ง ในขณะเดียวกันก็ได้ส่งทีมฝึกอบรมของผู้เชี่ยวชาญไปยังโรงฆ่าสัตว์ในอินโดนีเซีย




ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

จีนออกระเบียบควบคุมปริมาณสารเมลามีนในอาหารอย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2554 หน่วยงานของจีน 5 แห่งเช่น กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกันออกระเบียบควบคุมปริมาณสารเมลามีนในอาหารอย่างเป็นทางการ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป และยกเลิกระเบียบชั่วคราวควบคุมปริมาณเมลามีนในนม และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งได้รับการร่างขึ้นมาในปี 2551

ประกาศฉบับนี้ได้กำหนดไว้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารสูตรสำหรับทารกจะต้องมีปริมาณสารเมลามีนไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารชนิดอื่นๆ จะต้องมีปริมาณสารเมลามีนไม่เกิน 2.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ถ้าหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีสารเมลามีนเกินกว่าทีกำหนดไว้ จะไม่อนุญาตให้มีการนำออกมาจำหน่าย

สารเมลามีน เป็นสารเคมีที่เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี มีความเป็นพิษน้อย แต่ถ้าหากร่างกายได้รับเข้าไป และมีการสะสมไว้เป็นเวลานาน จะทำให้เป็นอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์ ระบบปัสสาวะ และทำให้ไตวาย ตลอดจนทำให้เกิดมะเร็งกระเพราะปัสสาวะได้

ทั้งนี้ หน่วยงานดังกล่าวได้ระบุว่า สารเมลามีนไม่ใช่วัตถุดิบสำหรับผลิตอาหาร และไม่ใช่วัตถุดิบสำหรับผลิตอาหาร และไม่ใช่สารปรุงแต่งอาหาร จึงห้ามมีการเจือปนลงในอาหารอย่างเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืน จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม สารเมลามีนเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี ใช้สำหรับผลิตพลาสติก สี และภาชนะบรรจุอาหารเป็นต้น และผลวิจัยยืนยันว่า สารเมลามีนนี้มีโอกาสเข้าไปในอาหารได้ โดยมาจากสิ่งแวดล้อม และภาชนะบรรจุอาหาร แต่ว่าปริมาณค่อนข้างต่ำ



ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง

ฟิลิปปินส์รับรองปลอด FMD แล้ว

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 นาย Proceso Alcala รัฐมนตรีเกษตรฟิลิปปินส์เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์สามารถส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์ไปยังประเทศแถบอาเซียนและเอเชียแปซิฟิกได้แล้ว เนื่องจากได้รับการรับรองจากองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ว่าปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD)

นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังปลอดโรคไข้หวัดนกอีกด้วย โดยสินค้าสัตว์ปีกส่วนใหญ่ของฟิลิปปินส์ส่งออกไปยังญี่ปุ่น และขณะนี้ อยู่ระหว่างเจรจาส่งออกสินค้าเนื้อสุกรไปยังสิงคโปร์และมาเลเซีย



ที่มา : Xinhua

เยอรมนีประชุมฉุกเฉินวิกฤติแตงกวาเป็นพิษจากสเปน

รัฐบาลเยอรมนีประชุมวาระฉุกเฉิน หลังจากได้รับรายงานหลายกระแสระบุว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 14 คนและล้มป่วยหลายร้อยคนจากอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อ E.coli ที่พบในแตงกวานำเข้าจากต่างประเทศ

สื่อในเยอรมนีรายงานว่า จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับคำยืนยันว่าเกิดจากอาหารเป็นพิษและสงสัยว่าเกิดจากอาหารเป็นพิษเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 รายแล้ว หลังจากพบการระบาดครั้งแรกที่ภาคเหนือของเยอรมนีเมื่อกว่า 2 สัปดาห์ก่อน ซูเปอร์มาร์เกตจำนวนมากในเยอรมนีนำผักทั้งหมดที่ปลูกในสเปนลงจากชั้นวางจำหน่าย ขณะที่สเปนออกมาปฏิเสธสาเหตุการระบาดเกิดจากแตงกวาที่ปลูกในสเปน และได้เรียกร้องค่าชดเชยจากสหภาพยุโรปที่กรณีนี้กำลังสร้างความเสียหายมหาศาลให้แก่อุตสาหกรรมการเกษตรของสเปน ล่าสุดเบลเยียมสั่งห้ามนำเข้าแตงกวาจากสเปน ขณะที่รัสเซียได้ระงับการนำเข้าแตงกวา มะเขือเทศ และสลัดผักสดจากสเปน และ เยอรมัน และอาจจะต้องระงับการนำเข้าจากประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมดเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลแหล่งกำเนิดการแพร่เชื้อที่แน่นอน

สถาบันศึกษาวิจัยโรคแห่งชาติของเยอรมนีรายงานว่าพบผู้เสียชีวิต 3 คนเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับเชื้อแบคทีเรีย และล่าสุดมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 คนเป็นหญิงวัย 50 ปีและชายวัย 75 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในเมือง Boras สวีเดน ประกาศการเสียชีวิตของผู้ป่วยอายุประมาณ 50 ซึ่งเข้ารับการพยาบาลหลังกลับจากเที่ยวที่เยอรมันเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นผู้ที่เสียชีวิตนอกเขตเยอรมนีรายแรกและเชื่อว่าสาเหตุการเสียชีวิตคือผักปนเปื้อนในเยอรมัน ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตโดยรวมทั้งประเทศเพิ่มเป็นอย่างน้อย 16 คน

ด้านศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของยุโรปในกรุงสตอกโฮล์ม รายงานว่าเกิดการระบาดของเชื้อ E.coli ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลกและครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยได้รับรายงานในเยอรมนี ทำให้รัฐบาลเยอรมนีต้องออกคำเตือนการรับประทานผักสด หลังจากพบร่องรอยแบคทีเรียชนิดนี้ในแตงกวานำเข้าจากสเปนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ยังไม่มั่นใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างฉับพลันซึ่งทำให้ผู้ได้รับเชื้อมีอาการท้องร่วงถ่ายเป็นเลือดและตับได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงซึ่งถึงขั้นเสียชีวิตได้

การระบาดเกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก สวีเดนและเนเธอร์แลนด์ แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับผู้ที่เดินทางไปหรือมาจากเยอรมนีเมื่อไม่นานมานี้ และที่น่าสังเกตคือโดยปกติจะพบกรณีแบบนี้ปีละประมาณ 1,000 ราย แต่ล่าสุดพบ 1,200 รายในเวลาเพียง 10 วัน



ที่มา : สำนักข่าวไทย, AP

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เวียดนามหยุดฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกให้สัตว์ปีกทั่วประเทศ

เวียดนามหยุดฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกให้สัตว์ปีกทั่วประเทศเป็นการชั่วคราว เนื่องจากไวรัสหวัดนก H5N1 สายพันธุ์ใหม่ดื้อวัคซีน

รัฐบาลเวียดนามแถลงการณ์ว่าพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ในปี 2553 จากการตรวจติดตามหลังการฉีดวัคซีน ก่อนหน้านี้เวียดนามเคยวางแผนจะใช้วัคซีนที่นำเข้าจากประเทศจีนเพื่อฉีดยาสัตว์ปีกในปี2554 แต่เชื้อไข้หวัดนกชนิดใหม่ดื้อวัคซีนดังกล่าว

ทั้งนี้เกิดการการแพร่ระบาดเชื้อไข้หวัดนกชนิดใหม่ในจังหวัดทางเหนือ จังหวัดติดทะเลในภาคกลางและในบริเวณที่ราบสูงตอนกลาง ในขณะที่ยังเกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์เดิมในจังหวัดทางใต้

เวียดนามพบการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก H5N1 เป็นครั้งแรกในปี 2546 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกรงว่าโรคดังกล่าวอาจกลายพันธุ์เป็นชนิดที่สามารถระบาดจากคนสู่คนได้ โดยเชื่อว่าการติดเชื้อไขหวัดนก H5N1 ในคนเกือบทั้งหมดมากจากสัตว์ปีกสู่คน

ในปี 2554 ไม่พบการเกิดไข้หวัดนกในมนุษย์แต่พบการระบาดในเป็ดและไก่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ




ที่มา : World Poultry

พบไข้หวัดนกที่เนเธอร์แลนด์

กระทรวงเศรษฐกิจเกษตรและนวัตกรรมเกษตรเนเธอร์แลนด์ ได้รับรายงานการระบาดไข้หวัดนกสายพันธ์ H7ไม่ทราบสายพันธุ์ย่อย ในบริเวณเมือง Kapelle จังหวัด Zeeland ทางเนเธอร์แลนด์ได้ปฏิบัติตามกฎของสหภาพยุโรป โดยกำจัดไก่ 127,500 ตัวทันทีและประกาศระงับการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ไข่ มูล ครอก และอาหารสัตว์ในรัศมี 1 กิโลเมตร กระทรวงคาดว่านกที่อยู่ในธรรมชาติเป็นแหล่งแพร่เชื้อ



ที่มา : World Poultry

รัสเซียเตรียมยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกธัญพืช

นายวลาดิมีร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีของรัสเซียเปิดเผยว่ารัสเซียจะยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกธัญพืช ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป เนื่องจากเห็นว่าสต็อกสำรองในประเทศมีปริมาณมากพอ หลังจากบังคับใช้กฎนี้มาตั้งแต่กลางปี 2553 เนื่องจากปัญหาภัยแล้งคุกคาม ซึ่งการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวจะช่วยเพิ่มอุปทานในตลาดโลก

นายวิคเตอร์ ซุปคอฟ รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียกล่าวว่าเกษตรกรมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นถึง 10% และยอดสต๊อกได้เพิ่มสูงกว่า 6 ล้านตันในปีนี้และกระทรวงเกษตรของรัสเซียคาดว่า ผลผลิตธัญพืชของประเทศอาจอยู่ที่ 85-90 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ 60.9 ล้านตันในปีก่อน

ด้านกระทรวงเกษตรของสหรัฐคาดว่ารัสเซียอาจส่งออกข้าวสาลีจำนวน 10 ล้านตัน ในช่วง 12 เดือนหน้าไปจนถึงเดือนกรกฎาคมปีหน้าเมื่อเทียบกับ 4 ล้านตันในปีปัจจุบันแต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณดังกล่าวยังต่ำกว่าระดับ 18.6 ล้านตันที่รัสเซียส่งออกในปีก่อนเป็นอย่างมาก ส่วนการส่งออกข้าวโพดจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านตัน จาก 25,000 ตัน ในขณะที่สต็อกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเพียง 800,000 ตัน จาก 300,000 ตัน

นายอเล็กซานเดอร์ คอร์บุท รองประธานสหภาพธัญพืชของรัสเซียซึ่งเป็นกลุ่มล๊อบบี้ด้านการส่งออกธัญพืชรายใหญ่ที่สุด กล่าวว่า รัสเซียมีปริมาณข้าวสาลีสำหรับส่งออกจำนวน 4 ล้านตัน จากภาคใต้ของประเทศแม้ว่าเกือบครึ่งหนึ่งจะมีคุณภาพไม่ดีพอสำหรับการส่งออก ในขณะที่ท่าเรือของรัสเซียสามารถให้บริการส่งออกได้ราว 3.5 ล้านตันต่อเดือน

นอกจากนี้นายคอร์บุทกล่าวเสริมว่าการกลับมาส่งออกอีกครั้งของรัสเซียอาจทำให้ราคาข้าวสาลีในตลาดโลกลดลง 5-7% ในขณะที่ราคาในประเทศอาจเพิ่มขึ้น 15-20%

ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์ ระบุว่าการระงับส่งออกธัญพืชของรัสเซียซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตข้าวสาลีรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก มีส่วนกระตุ้นให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นอย่างมากเมื่อปีที่แล้ว
อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลในโลกอาหรับและแอฟริกาเหนือ




ที่มา : Voice TV และสำนักข่าวแห่งชาติ

สถานการณ์อาหารปนเปื้อน E.coli ในยุโรป

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2554 มีการเรียกคืนแตงกวาซึ่งคาดว่าจะปนเปื้อนเชื้อ E.coli จากร้านค้าในออสเตรียและสาธารณรัฐเชคเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคดังกล่าวซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย และทำให้มีผู้ป่วยนับร้อยรายทั่วยุโรป

เจ้าหน้าที่จากสาธารณรัฐเชคกล่าวว่าแตงกวาอินทรีย์ 120 ผล กำลังถูกเก็บออกจากชั้นจำหน่ายสินค้าขณะที่เจ้าหน้าที่ออสเตรียประกาศว่า แตงกวา มะเขือเทศ และมะเขือม่วงจำนวนเล็กน้อยกำลังถูกเรียกคืนจากร้านค้าจำนวน 33 ร้าน

หน่วยงานสุขภาพและความปลอดภัยอาหารของออสเตรียได้รับแจ้งระบบเตือนภัยจากสหภาพยุโรปที่ระบุว่า บริษัทเยอรมนีสองแห่งได้เรียกคืนและห้ามจำหน่ายแตงกวา มะเขือเทศและมะเขือม่วงอย่างเร่งด่วน ซึ่งสินค้าดังกล่าวได้ถูกขนส่งไปยังร้านค้าในออสเตรีย และหน่วยงานสุขภาพและความปลอดภัยของออสเตรียกล่าวว่า สินค้าดังกล่าวบางส่วนอาจถูกจำหน่ายแล้วและกระตุ้นให้ผู้บริโภคทิ้งสินค้าเหล่านั้น โดยหน่วยงานตรวจสอบอาหารและการเกษตรของสาธารณรัฐเชคกล่าวว่าแตงกวาที่ปนเปื้อนถูกส่งมายังฮังการีและลักเซมเบิร์ก แต่ยังไม่มีรายงานการเจ็บป่วยจากทั้งสองประเทศ

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2554 ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อ E.coli ในเยอรมัน เพิ่มขึ้นเป็น 10 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งอย่างน้อย 467 ราย ในทางตอนเหนือของเมือง Hamburg เพียงแห่งเดียว มีอาการติดเชื้อในลำไส้ ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการกลุ่มเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (HUS) จำนวน 91 ราย นาย Cornelia Pruefer-Storcks เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของเมือง Hamburg กล่าวกับ DAPD สำนักข่าวเยอรมนีว่า อาการ HUS เป็นอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อ E.coli และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก ตามข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคาดว่า ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2554
ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยประมาณ 1,000 ราย ป่วยด้วยอาการติดเชื้อในลำไส้

นาย Fabian Fusseisโฆษกประจำกระทรวงสาธารณสุขของออสเตรียกล่าวว่า
พบนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันสองคนติดเชื้อ enterohaemorrhagic E.coli หรือ EHEC แต่ไม่มีอาการHUS แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการติดเชื้อดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อ E.coli ในเยอรมนีหรือไม่

เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพของสวีเดนกล่าวว่า มีรายงานการติดเชื้อ 36 รายในสวีเดนและในจำนวนนี้มี 13 รายที่มีอาการ HUS ในเดนมาร์ก มีผู้ติดเชื้อ 11 ราย ซึ่ง 5 รายมีอาการ HUS

ด้านหน่วยงานปกป้องสุขภาพของสหราชอาณาจักรกล่าวว่าจนถึงขณะนี้อังกฤษพบผู้ติดเชื้อชาวเยอรมนี 3 ราย ซึ่ง 2 รายมีอาการ HUS ซึ่งหน่วยงานมาตรฐานอาหารกล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดๆยืนยันว่าแตงกวาอินทรีย์ซึ่งติดเชื้อได้ถูกกระจายสินค้ามายังสหราชอาณาจักร แต่จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

เจ้าหน้าที่ในสวิตเซอร์แลนด์ได้จดบันทึกผู้ที่ติดเชื้อ enterohaemorrhagic E.coli รายหนึ่ง เป็นผู้หญิงที่กลับมาจากการท่องเที่ยวในเยอมัน ซึ่งผู้ป่วยได้รับประทานบุฟเฟ่สลัดจากที่นั่น

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2554 Frederic Vincent โฆษกจากสหภาพยุโรปกล่าวว่า โรงกระจกในสเปนซึ่งถูกระบุว่าเป็นแหล่งของแตงกวาที่ปนเปื้อนเชื้อ E.coli ได้หยุดกิจกรรมแล้ว น้ำและดินถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ว่าโรงกระจกทั้งสองแห่งเป็นสาเหตุของปัญหาหรือสาเหตุการปนเปื้อนเชื้อเกิดขึ้นจากที่อื่น ส่วนผลการทดสอบคาดว่าจะทราบได้ในวันที่ 31 พฤษภาคม หรือ 1 มิถุนายน 2554





ที่มา : MSNBC News