หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมอาหารสัตว์เพิ่ม 3 ชนิด



คณะกรรมาธิการยุโรป ได้ประกาศอนุญาตการใช้สารเสริมในอาหารสัตว์ (Feed Additive) เพิ่มเติม 3 ชนิด ได้แก่

- Propionibacterium acidipropionici (CNCM MA 26/4U) และ Zinc Chloride Hydroxide Monohydrate สามารถใช้เป็น Feed Additive สำหรับอาหารสัตว์ทุกชนิด ได้จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565

- Lactobacillus plantarum สายพันธุ์ที่กำหนด สามารถใช้เป็น Feed Additive สำหรับอาหารสัตว์ทุกชนิด ได้จนถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2565

&! nbsp; โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ข้อกำหนด และปริมาณการใช้แต่สัตว์แต่ละชนิดได้ที่

- Propionibacterium acidipropionici :
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:297:0015:0017:EN:PDF

- Zinc Chloride Hydroxide Monohydrate :
! ; http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:297:0018:0019:EN:PDF

- Lactobacillus plantarum :
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:314:0015:0022:EN:PDF



ที่มา : มกอช./สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ( 6 ธันวาคม 2555 )

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เตือนส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารมีไข่ไปอียู


รายงานจากระบบการแจ้งเตือนสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ (Rapid Alert for Food and Feed System: RASFF) ของสหภาพยุโรป แจ้งว่ามีการตรวจพบผลิตภัณฑ์อาหารจากไทยที่มีส่วนผสมของไข่ แต่ไม่ได้ระบุลงในฉลากส่วนผสม รวมทั้งแสดงคำเตือนสารก่อภูมิแพ้ตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ทำให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและดำเนินการ Re-export สินค้า

เพื่อเป็นการลดความสูญเสียทั้งโอกาสทางการค้าและค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงการติดฉลากระบุส่วนประกอบให้ชัดเจน โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ 14 ชนิดของสหภาพยุโรป ได้แก่

&! nbsp; 1. ธัญพืชที่มีกลูเตน (ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต spelt kamut และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งพืชลูกผสม)
2. ครัสเตเชียน (กุ้ง ปู และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในกลุ่มดังกล่าว) และผลิตภัณฑ์
3. ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไข่
4. ปลา และผลิตภัณฑ์จากปลา รวมทั้งเจลาติน
5. ถั่วลิสง และผลิตภัณฑ์
6. ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์
7. นม และผลิตภัณฑ์ยกเว้นเวย์โปรตีนที่ใช้ผลิตแอลกอ! ฮอล์ และแลคติทอล
! &n bsp; 8. นัท (ให้ระบุชนิดของนัทที่ใช้ในส่วนประกอบ) เช่น อัลมอนด์ ฮาเซลนัท วอลนัท พีแคน บราซิลนัท พิสตาชิโอ มะคาเดเมีย ยกเว้นนัทที่ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ และเอทิลแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากพืชอื่นๆ
9. เซเลรี และผลิตภัณฑ์
10. มัสตาร์ด และผลิตภัณฑ์ (รวมทั้งเมล็ด)
11. เมล็ดงา และผลิตภัณฑ์
12. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และซัลไฟต์ ที่มีความเข้มข้นเทียบเท่าซัลไฟต์มากกว่า 10 ppm
13. พืชตระกูล ลูพิน (Lupin) และผลิตภัณฑ์
&nbs! p; 14. มอลลัสก์ (ปลาหมึก หอย และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในกลุ่มดังกล่าว) และผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อยู่ในรายชื่อผู้ผลิตหรือแปรรูปไข่ที่สามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ หากผู้ประกอบการต้องการใช้ส่วนผสมของไข่ในผลิตภัณฑ์ จะต้องใช้วัตถุดิบหรือไข่แปรรูปจากประเทศตามรายชื่อที่สหภาพยุโรปกำหนด และต้องดำเนินการขอใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) ที่ระบุไว้ใน Commission Implementing Regulation (EU) No 468/2012 ก่อนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ตามแบบฟอร์มในเอกสาร
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:144:0001:0014:EN:PDF


ที่มา : มกอช./สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ (4 ธันวาคม 2555)