หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เดนมาร์กปรับปรุงระเบียบการใช้สารปฏิชีวนะและสวัสดิภาพสัตว์


เดนมาร์กกำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการใช้สารปฏิชีวนะในปศุสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์เพื่อเตรียมบังคับใช้ โดยเพิ่มเติมรายละเอียดขั้นตอนการตรวจสอบยืนยันว่ามีการใช้สารปฏิชีวนะเฉพาะในสัตว์ที่ป่วย ซึ่งจะช่วยป้องกันการใช้สารกลุ่มดังกล่าวในขั้นตอนการเลี้ยงปศุสัตว์ได้ สำหรับกฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ ยังได้แก้ไขปรับปรุงเนื้อหาการพิทักษ์สวัสดิภาพสัตว์ทั้งในขั้นตอนการเลี้ยงและขนส่งด้วย

ปัจจุบันเดนมาร์กเป็นผู้นำด้านการบังคับใช้กฎระเบียบด้านสวัสดิภาพสัตว์ รวมไปถึงความตระหนักถึง! ภัยอันตรายจากการใช้สารปฏิชีวนะที่มีต่อมนุษย์
ที่มา : AllAboutFeed (30พ.ย.55)

ฟิลิปปินส์สั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของนิวเซาท์เวลส์ชั่วคราว


หลังจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้ประกาศว่าพบไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง H7 ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้ออกประกาศหมายเลข 33 เพื่อห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกที่มาจากรัฐนิวเซาท์เวลส์เป็นการชั่วคราว ซึ่งได้แก่ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีก ลูกไก่อายุ 1 วัน ไข่ และน้ำเชื้อสัตว์ปีก

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดแบบฟอร์มใบรับรองกักกันสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกของออสเตรเลีย และระงับสินค้าที่กำลังจัดส่งทั้งหมดยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ผ่าน! การปรุงสุกและผ่านเกณฑ์การฆ่าเชื้อโดยความร้อนเท่านั้น


ข่าวย้อนหลังเรื่องประกาศพบไข้หวัดนก H7 ในออสเตรเลีย
ที่มา : ThePoultrySite (30พ.ย.55)

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พบโรคปากเท้าเปื่อยในสุกรเขตต้าเหลียนของจีน

สถาบันสัตวแพทย์แห่งหลานโจว ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ว่ามีการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) ในสุกรที่เลี้ยงในเขตต้าเหลียน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทำให้สุกรตายทั้งหมด 43 ตัว แต่ยังไม่พบต้นเหตุของการระบาดในขณะนี้

จากสาเหตุดังกล่าว ทางการของจีนได้ใช้มาตรการกักกันและควบคุมการเคลื่อนย้ายของปศุสัตว์ภายในประเทศเพื่อควบคุมโรค รวมทั้งให้วัคซีนกับแพะ-แกะ 8,060 ตัว โคนม 6,141 ตัว และสุกร 305 ตัวเพื่อป้องกันการระบาดต่อเนื่องแล้ว
ที่มา : ThePigSite (29พ.ย.55)

เร่งขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนแปรรูปจากพืชไปจีน


กระทรวงควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) เตรียมจัดระเบียบการค้าอาหารสัตว์ประเภทธัญพืช เปลือกข้าวสาลี และประเภทโปรตีนแปรรูปจากพืช ที่ส่งออกไปยังจีน ตามข้อบัญญัติการจัดการดูแลด้านการตรวจสอบและกักกันอาหารสัตว์และวัตถุเจือปนในอาหารสัตว์นำเข้าและส่งออก ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2556

ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะส่งออกสินค้าอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนแปรรูปจากพืชไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ดำเนินการติดต่อเพื่อขอขึ้นทะเบียนกับสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้า! ปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2555 โทร. 02-653-4444 โทรสาร. 02-653-4917 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มเอเชีย 2 กองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มกอช. โทร. 02-561-2277 ต่อ 1304
ที่มา : มกอช. (29พ.ย.55)

ออสเตรเลียพบไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีก


องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) รายงานการพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ก่อโรครุนแรงกลุ่ม H7 ในฟาร์มสัตว์ปีกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นรายงานครั้งแรกของออสเตรเลียในรอบ 15 ปี ทำให้ไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระตายกว่า 5,000 ตัว และมีสัตว์ปีกที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกว่า 50,000 ตัว โดยฟาร์มดังกล่าวพบว่ามีแหล่งน้ำจำนวนมากที่สามารถเป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรคไข้หวัดนก

ขณะนี้ กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ (MAFF) ได้วางมาตรการกักกันต่อฟาร์มสัตว์ปีกดังกล่าวแล้ว โดยกำหนดพื้นที่ในรัศมี 3 กิโลเมตร เป็นเขตกักกัน ! และรัศมี 7 กิโลเมตร เป็นเขตควบคุม ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทางการออสเตรเลียได้กล่าวว่า การระบาดของโรคจะไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภคสัตว์ปีกและไข่แต่อย่างใด
ที่มา : MeatPoultry (29พ.ย.55)

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยอดส่งออกปศุสัตว์มีชีวิตของออสเตรเลียลดลง



ปริมาณการส่งออกปศุสัตว์มีชีวิตของออสเตรเลียลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 โดยมีรายงานปริมาณการส่งออกช่วงเดือนกันยายน 2555 ดังนี้

- โคมีชีวิตส่งออก 66,531 ตัว ลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2554 ถึง 21% ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ได้แก่ อินโดนีเซีย ตุรกี รัสเซีย และจีน

- แกะมีชีวิตส่งออก 130,660 ตัว ลดลงจากช่วงเดียวกันในปี 2554 ถึง 53% ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ได้แก่ กาตาร์ จอร์แดน และตุรกี

- แพะมีชีวิตส่งออกได้เพียง 891 ตัว ซึ่งต่ำสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549 มีประเทศผู้นำเข้าคือ บรูไน และมาเลเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้มาเลเซียเคยเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุด



ที่มา : MeatTradeDaily (27พ.ย.55)

องค์กรความปลอดภัยอาหารสัตว์สหรัฐฯ เรียกร้องห้างค้าปลีกเลิกจำหน่ายขนมไก่อบแห้งจากจีนสำหรับสุนัข



องค์กรด้านความปลอดภัยอาหารสัตว์ของสหรัฐฯ รวมตัวเรียกร้องให้วอลมาร์ท ที่เป็นเครือข่ายค้าปลีกขนาดใหญ่ เลิกวางจำหน่ายขนมสำหรับสัตว์เลี้ยงจากจีน หลังพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของสัตว์เลี้ยงกว่า 360 ตัว และป่วยกว่า 2,200 ตัว ตั้งแต่ปี 2550 ที่พบว่ามีการปนเปื้อนของเมลามีนโดยตั้งใจให้ผลการตรวจปริมาณโปรตีนเพิ่มสูงขึ้น

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ออกประกาศเตือนสำหรับผลิตภัณฑ์ขนมที่ผลิตจากเนื้อไก่อบแห้งจากจีนสำหรับสุนัข และพบว่ามีผลิตภัณฑ์ 3 ยี่ห้อ ที่เป็นสาเหตุของอาการป่วยของสัตว์เลี้ยง แต่ก็ไม่ได้สั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแม้จะพบว่ามีการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการในจีนที่ไม่ได้รับอนุญาต องค์กรด้านความปลอดภัยอาหารสัตว์จึงได้ขอความสมัครใจจากห้างค้าปลีกให้ยกเลิกจำหน่ายสินค้าดังกล่าวแทน

อ่านข่าวย้อนหลังเรื่องประกาศของ FDA ได้ที่นี่
http://www.acfs.go.th/warning/viewEarly.php?id=4035



ที่มา : FoodPoisoningBulletin (24 พ.ย.55)

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พบผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในรัสเซียไขมันสูง-เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


ปัจจุบันชาวรัสเซียเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากที่สุดในโลก ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในประเทศที่ถูกพบว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจากมีปริมาณไขมันที่สูง การบริโภคอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการสะสมปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดอย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและภาวะหัวใจวาย

แม้คำแนะนำของแพทย์ทั่วไป จะแนะนำให้บริโภคอาหารให้ได้สัดส่วนพลังงานจากโปรตีนและไขมันที่ 1:1 แต่พบว่าในรัสเซียสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 1:2.5 หรืออาจถึง 1:3 ทั้งมีการระ! บุไว้ในกฎระเบียบแห่งชาติที่ 1:4 และยังพบว่าอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์ของรัสเซียยังยึดถือวิธีการผลิตเดิมของสหภาพโซเวียตที่ไม่มีการจำกัดปริมาณไขมัน แม้จะถูกเตือนถึงอันตรายต่อผู้บริโภคจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในช่วงทศวรรษ 1970-1980 แล้วก็ตาม

อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ในรัสเซียนั้นพยายามลดต้นทุนโดยใช้ส่วนผสมไขมันในปริมาณที่สูง และให้มีอัตราส่วนโปรตีนต่ำที่สุดที่เป็นไปตามข้อกำหนด ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกจากผู้ผลิตบางรายในรัสเซีย มีปริมาณไขมันสูงถึง 25% ในขณะที่มีโปรตีนเพียง 11% ทั้งมีการเติมวัตถุเจือปนอาหารประเภทอิมัลซิฟายเออร์ สีผสมอาหาร และสารแต่งกลิ่นรสในปริมาณที่สูง ล่าสุดพบว่าในรัสเซียมีปริมาณการบริโภคไขมันสุกรเทียบเท่าจากสุกร 25 ล้านตัว ซึ่งมากกว่าจำนวนการผลิตภายในประเทศ
ที่มา : GlobalMeatNews (21 พ.ย.55)

เตือนสุกรในอังกฤษอาจขาดตลาดเหตุผู้เลี้ยงขาดทุน-ส่งราคาเนื้อสุกรปลีกก้าวกระโดด


หน่วยงานดูแลด้านเนื้อสุกรในสหราชอาณาจักร (BPEX) รายงานว่า กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในประเทศกำลังประสบปัญหาราคารับซื้อสุกร ที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตถึงตัวละประมาณ 14 ปอนด์ (ประมาณ 700 บาท) ทำให้มีการประเมินว่าอุตสาหกรรมเลี้ยงสุกรของอังกฤษจะสูญเสียรายได้ถึง 100 ล้านปอนด์ (ประมาณ 4,900 ล้านบาท) ภายใน 6 เดือนข้างหน้า

BPEX ให้ข้อมูลว่า หากผลผลิตสุกรมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในปีหน้าเนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรตัดสินใจเลิกเลี้ยงเพราะปัญหาขา! ดทุนนั้น จะทำให้ราคาจำหน่ายปลีกเนื้อสุกรและเนื้อสุกรแปรรูปเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ดังตัวอย่างในเยอรมนี กรณีมีการผลิตน้อยลงเพียง 4% ต้นทุนรับซื้อต่อกิโลกรัมจะสูงขึ้นถึง 26 เพนนี (ประมาณ 13 บาท) และถ้าปริมาณการผลิตลดลงถึง 8% ราคารับซื้อจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 50 เพนนีต่อกิโลกรัม (ประมาณ 25 บาท) ส่งผลต่อราคาผลิตภัณฑ์สำหรับจำหน่ายปลีก เช่น พอร์คชอปขนาดบรรจุ 4 ชิ้น จะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.40 ปอนด์ (ประมาณ 70 บาท) ต่อแพ็ค และขาหมูขนาดบรรจุ 1 ชิ้น เพิ่มขึ้น 2.50 ปอนด์ (ประมาณ 125 บาท) ต่อแพ็ค การเพิ่มราคารับซื้อสุกรเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้เลี้ยงในขณะนี้ จะช่วยแก้ปัญหาราคาเนื้อสุกรในระยะยาว ซึ่งมีการประเมินว่า หากมีปริมาณการผลิตในสหราชอาณาจักรลดลงเพียง 2% จะทำให้ราคาจำหน่ายเนื้อสุกรเพิ่มสูงถึง 10%

ทั้งนี้หลายประเทศในยุโรปกำลังประสบปัญหาในการผลิตสุกรจากต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้เลี้ยงลดปริมาณการเลี้ยงลงเพื่อจำกัดปัญหาการขาดทุน เช่น ในอิตาลี ที่ลดลงถึง 13% และโปแลน! ด์ที่ลดลง 9.6%
ที่มา : GlobalMeatNews (21พ.ย.55)

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จีนก้าวเป็นผู้นำของโลกในการบริโภคถั่วเหลือง


จีนก้าวสู่การเป็นผู้นำการใช้ประโยชน์ถั่วเหลืองของโลกแทนสหภาพยุโรป เนื่องด้วยการเพิ่มประชากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางซึ่งเป็นผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อ ก่อให้เกิดการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ปีกและสุกรที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้ง GDP ที่บ่งชี้การขยายขนาดเศรษฐกิจของจีนที่ปีนี้ คาดว่าจะสูงถึง 7.8% ทำให้จีนต้องเพิ่มการใช้ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 30% ของปริมาณการใช้ทั่วโลก โดยคาดว่าอินเดีย ซึ่งในขณะนี้มีทิศทางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับจีน จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้ใช้ประโยชน์ถั่วเหลืองรายสำคัญอีกประเทศหนึ่งในอนาคต

&! nbsp; ในปี 2556 คาดว่าจีนจะมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองถึง 64.2 ล้านตัน และมีการใช้ประโยชน์กากถั่วเหลืองกว่า 50 ล้านตัน โดยเฉพาะการนำเข้าจากสหรัฐฯ นั้น จีนนำเข้าถั่วเหลืองถึงกว่า 50% ของผลผลิตในประเทศดังกล่าว
ที่มา : TheFishSite (19 พ.ย.55)

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์ไวรัส Schmallenberg ในสหภาพยุโรป


เชื้อไวรัส Schmallenberg (SBV) ที่ก่อให้เกิดอาการไข้ ท้องร่วง หรือปริมาณนมลดลงในปศุสัตว์เต็มวัย และภาวะแท้งคุกคามในวัว แพะ และแกะที่ตั้งท้อง ถูกพบเป็นครั้งแรกในเยอรมนีเมื่อปลายปี 2554 โดยมีแมลงตัวเล็กๆ เช่น ยุง เป็นพาหะนำโรค และมีการตรวจพบเชื้อ SBV ในปศุสัตว์กว่า 1,000 ตัว ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันและรักษา และอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยการระบาด กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรค และพัฒนาวัคซีน

ล่าสุด ฟาร์มปศุสัตว์ทางตอนเหนือของแคว้นสกอตแลนด์ของสหราชอาณาจักร มีการตรวจพบเชื้อ ! SBV ในแกะตัวผู้ ซึ่งทำให้มีการสั่งตรวจสัตว์ชนิดอื่นในฟาร์มเดียวกันเพื่อหาเชื้อดังกล่าว แม้ทางการสกอตแลนด์จะคาดการณ์ว่าการระบาดจะไม่รุนแรงเหมือนช่วงฤดูใบไม้ผลิ (เมษายน-มิถุนายน 2555) เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงอากาศหนาว ทำให้เชื้อไม่สามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็ว รวมทั้งการที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) และองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ให้ข้อคิดเห็นว่าโรคดังกล่าวจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ แต่ก็ต้องมีการระมัดระวังการค้าน้ำเชื้อ ตัวอ่อนและสัตว์ที่มีชีวิต ที่อาจทำให้มีการแพร่กระจายของไวรัสในวงกว้าง
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป (15 พฤศจิกายน 2555)

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มาเลเซียเตรียมเปิดดำเนินการ "สวนเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรครบวงจร"



มาเลเซียเตรียมเปิดดำเนินการ "สวนเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรครบวงจร" แห่งแรกของโลก เพื่อผลิตกุ้งมังกรในเชิงพาณิชย์ ที่เมือง Semporna ของรัฐซาบาห์ เกาะบอร์เนียว ในปี 2557 โดยตั้งเป้าผลิตกุ้งมังกร spiny lobster พันธุ์ท้องถิ่น ให้ได้ 40 ล้านปอนด์ (ประมาณ 18,000 ตัน) ในปี 2572

สวนอุตสาหกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือของรัฐบาลมาเลเซีย กับบริษัทที่ดำเนินกิจการด้านอาหารทะเล และเครือข่ายร้านอาหารขนาดใหญ่ จะทำให้เกิดการจ้างงานรายได้สูงมากกว่า 14,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2565 โดยใช้งบประมาณกว่า 2 พันล้านริงกิต (ประมาณ 20,000 ล้านบาท) ในการก่อสร้าง



ที่มา : TheFishSite (7พ.ย.55)

เตือน! ทูน่ากระป๋องจากไทยไม่ผ่านมาตรฐานนำเข้ายุโรป




ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น นอร์เวย์ โปแลนด์ ฟินแลนด์ และสหราชอาณาจักร ได้แจ้งผ่านระบบการแจ้งเตือนสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป (Rapid Alert for Food and Feed System: RASFF) กว่า 17 ครั้ง ในรอบ 8 เดือนของปี 2555 ว่าผลิตภัณฑ์ทูน่ากระป๋องจากไทยไม่ผ่านมาตรฐานการนำเข้า ทั้งจากปัญหาการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไม่เพียงพอ และปัญหาปนเปื้อนฮิสตามีน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ถูกตีกลับหรือทำลายเป็นจำนวนมาก

ล่าสุด สมาคมอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ Anfaco-Cecopesca ของสเปน ได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปดำเนินการตรวจสอบโรงงานในประเทศไทย และถอดถอนรายชื่อโรงงานที่ผลิตสินค้าไม่ผ่านมาตรฐานดังกล่าว รวมทั้งให้ความเห็นว่า การควบคุมมาตรฐานการผลิตตามหลักการ HACCP ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้

ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกทูน่ากระป๋องอันดับหนึ่ง โดยครอบครองส่วนแบ่งถึง 30% ของการผลิตทั่วโลก มีปริมาณการผลิตถึงปีละกว่า 400,000 เมตริกตัน



ที่มา : SeafoodSource (7พ.ย.55)

EU เตรียมบังคับใช้ระเบียบห้ามขังเดี่ยวแม่สุกรรับปีใหม่ 2556



กฎระเบียบห้ามการเลี้ยงแม่สุกรในคอกขังเดี่ยวของสหภาพยุโรป Directive 2008/120/EC จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป โดยในขณะนี้มีรายงานว่าประเทศสมาชิกได้ตอบรับพร้อมปฏิบัติตามแล้ว 18 ประเทศ เช่น เดนมาร์ก ที่รายงานมีผู้เลี้ยงประมาณ 85% ที่เลี้ยงแม่สุกรตั้งท้องแบบกลุ่ม และผู้เลี้ยงสุกรทั้งหมดจะพร้อมปรับระบบการเลี้ยงได้ทันกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ทั้งนี้ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรของเดนมาร์กได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปไม่ผ่อนปรนการบังคับใช้กฎหมายสำหรับประเทศที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าวได้

&nb! sp; ศึกษากฎระเบียบ Directive 2008/120/EC ได้ที่

http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2009:047:0005:0013:EN:PDF


ที่มา : ThePigSite (7พ.ย.55)

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

EU รับรองข้าวโพด GM MIR162


คณะกรรมาธิการยุโรปได้รับรองข้าวโพดตัดต่อพันธุกรรมสายพันธ์ MIR162 จากบริษัท Syngenta ให้สามารถใช้เป็นอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ รวมทั้งสามารถนำเข้าและแปรรูปได้ในพื้นที่ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2555 หลังจากที่บริษัท Syngenta เจ้าของสายพันธุ์ได้ยื่นเอกสารต่อหน่วยงานกำกับดูแลของเยอรมนีตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553
การอนุญาตดังกล่าวจะเป็นการเปิดช่องทางให้สหรัฐฯ สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด เช่น กากข้าวโพดที่เหลือจากการผลิตเอทานอล (DDGS) และโปรตีนข้าวโพดสำหรับผลิตอาหารสัตว์ (CGF) เข้าไปยังสหภาพยุโรปได้ โดยเฉพาะในประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่เช่น ไอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์
วัตถุดิบโปรตีนสูงเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งในช่วงที่ราคาซื้อขายเพิ่มขึ้นสูง และเกิดวิกฤติขาดแคลนผลผลิตพืชไร่ โดยคาดว่าข้าวโพดที่จะเริ่มปลูกในสหรัฐฯ ประมาณเดือนมีนาคมปี 2556 จะพร้อมเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้ในช่วงเดือนกันยายนของปีเดียวกัน
ที่มา : AllAboutFeed (6พ.ย.55)

ญี่่ปุ่นอาจผ่อนปรนข้อบังคับตรวจสอบเนื้อโคสำหรับควบคุมโรควัวบ้า


กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) อยู่ระหว่างการพิจารณาผ่อนปรนกฎระเบียบข้อบังคับสำหรับการตรวจสอบเนื้อโคในประเทศเพื่อควบคุมมิให้เกิดโรควัวบ้า (BSE) เนื่องจากญี่ปุ่นมีระดับความปลอดภัยของการระบาดโรคดังกล่าวสูง จากการที่รัฐบาลไม่อนุญาตให้ใช้อาหารสัตว์ที่ผลิตจากเนื้อและกระดูกสัตว์ตั้งแต่ปี 2543 และยังไม่พบการระบาดในประเทศนับตั้งแต่ปี 2552 ทั้งการตรวจสอบที่เข้มงวดของหน่วยงานในท้องถิ่นยังต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง MHLW จึงได้ให้ Food Safety Commission ประเมินความเสี่ยงกรณีมีการผ่อนปรนกฎระเบียบดังกล่าว

&! nbsp; ก่อนหน้านี้ในเดือนกันยายน 2555 MHLW ได้ขอให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ปรับสถานะความเสี่ยง BSE ของญี่ปุ่จากระดับ Controlled Risk เป็น Negligible Risk และล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2555 MHLW ได้ผ่อนปรนการตรวจสอบ BSE ในเนื้อโคอายุมากกว่า 31 เดือน จากเดิมกำหนดที่ 21 เดือน และเตรียมพิจารณาผ่อนปรนสำหรับการตรวจสอบเนื้อจากสหภาพยุโรปที่มาจากโคอายุมากกว่า 72 เดือน
ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว
(6พ.ย.55)

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รัสเซียอาจผลิตอาหารสัตว์ถึง 40 ล้านตัน ในปี 2563





สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ของรัสเซีย ได้กล่าวถึงทิศทางอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ว่า ปัจจุบันรัสเซียมีอัตราการเพิ่มปริมาณการผลิตอาหารสัตว์ถึงปีละ 1.2-1.3 ล้านตัน หรือประมาณ 9-10% ของปริมาณการผลิตรายปีที่ 17.8 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ต่อเนื่องจนถึง 30 ล้านตันในปี 2558 และ 40 ล้านตันในปี 2563 โดยในขณะนี้รัสเซียมีความต้องการอาหารสัตว์ที่ประมาณ 22-23 ล้านตันต่อปี

อนึ่ง ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุประเทศไทยมีความต้องการใช้อาหารสัตว์ในปี 2555 ที่ 15.0-15.5 ล้านตัน ขยายตัวประมาณ 6.0-8.0% ต่อปี โดยใช้วัตถุดิบหลักคือข้าวโพด ซึ่งปัจจุบันราคาซื้อขายยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤติภัยแล้ง โดยมีราคาสูงกว่าช่วงต้นปีประมาณ 20%



ที่มา : AllAboutFeed/KasikornResearch
(2 พ.ย.55)