หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฟาร์มสุกรออสเตรเลีย นำร่อง carbon credit



ฟาร์มสุกรในรัฐนิวเซาธ์เวลส์ที่มีจำนวนปศุสัตว์ถึงประมาณ 22,000 ตัว เป็นฟาร์มสุกรรายแรกในออสเตรเลียได้รับทั้ง "คาร์บอนเครดิต" และประกาศนียบัตรรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยฟาร์มดังกล่าวสามารถจัดการก๊าซมีเทนที่เกิดจากการเลี้ยงสุกรโดยนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรองรับการใช้งานในฟาร์ม ทำให้สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซได้ถึง 15,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 480,000 บาท) ต่อเดือน และยังสามารถขายกระแสไฟฟ้าได้ถึง 5,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 160,000 บาท) ต่อเดือน ถือเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติตามโครงการ Carbon Farming Initiative (CF) ของรัฐบาลกลางออสเตรเลีย

&! nbsp; ระบบการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซมีเทนในโรงเลี้ยงสุกรของ CFI ใช้บ่อหมักชนิดพลาสติกคลุม (Covered Lagoon) และกำจัดก๊าซโดยใช้ผลิตไฟฟ้าและมีการเผาก๊าซส่วนเกินทิ้งเช่นเดียวกับหอกลั่นปิโตรเลียม


ที่มา : PigProgress (31 ต.ค.55)

เสียงเรียกร้องให้แบนการผลิต "ฟัวกราส์" (Foie gra)



เสียงเรียกร้องให้แบนการผลิต "ฟัวกราส์" (Foie gras) หรือตับเป็ดและตับห่านขุนที่เลี้ยงแบบกักขังจนเกิดภาวะไขมันสะสมผิดปกติ กำลังทวีความชัดเจนขึ้นในประเทศผู้ผลิตฟัวกราส์รายใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรปอย่างบัลแกเรีย โดยกลุ่มผู้เรียกร้องทั้งเอ็นจีโอ และสมาชิกสภายุโรป เห็นควรให้หยุดการผลิตฟัวกราส์ที่ถือเป็นการทารุณปศุสัตว์ ทำให้สมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกของบัลแกเรีย แสดงความวิตกกังวลต่ออุตสาหกรรมการผลิตฟัวกราส์ที่มีแรงงานประมาณ 5,000 คน โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันการเลี้ยงเป็ดและห่านเพื่อผลิตฟัวกราส์ไม่ได้ใช้วิธีการกักขังแล้ว ทั้งยังคาดหวังว่าจะไม่มีประกาศห้ามเลี้ยงเพื่อผลิตฟัวกราส์ภายในประเทศ

&n! bsp; ปัจจุบันประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่ยังมีการเลี้ยงเป็ดและห่านเพื่อผลิตฟัวกราส์ มีทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ฮังการี และสเปน



ที่มา : MeatTradeNewsDaily (31 ต.ค.55)

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ISO เตรียมออกมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์


องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) เตรียมร่างมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2556 โดยหน่วยงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ Eurogroup ให้ความเห็นเกี่ยวกับการร่างมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ของ ISO ว่า มาตรฐานดังกล่าวจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ทั่วโลก

ทั้งนี้ องค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์ ได้แก่ Eurogroup, RSPCA, HSI และองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (WSPA) ได้ประชุมหารือเพื่อเตรียมการนำเสนอมุมมองในการกำหนดทางเทคนิคสำหรับมาตรฐานของ ISO โดยหวังว่ามาตรฐานนี้จะช่วยให้มี! ความประสานกันในการปฏิบัติงาน และแสดงเจตจำนงที่จะทำให้ขั้นตอนการตรวจสอบการผลิตและพัฒนามาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างต่อเนื่องนั้น เป็นสื่อกลางเพื่อชักนำให้มาตรฐานและกฎระเบียบทั่วโลกสามารถดำเนินร่วมกันไปได้ด้วยดี รวมทั้งเป็นมาตรฐานสำหรับถือปฏิบัติและใช้เปรียบเทียบสากล
ที่มา : ThePoultrySite (30 ต.ค.55

EFSA ชี้ ไนอะซินปลอดภัยสำหรับใช้ในอาหารสัตว์


คณะกรรมการพิจารณาสารเจือปน ผลิตภัณฑ์ และสารเคมีที่ใช้ในอาหารสัตว์ (FEEDAP) ของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ได้พิจารณาข้อคิดเห็นด้านความปลอดภัยและการใช้สารกลุ่มไนอะซิน ได้แก่ nicotinic acid และ nicotinamide เพื่อใช้เป็นสารเจือปนอาหารสำหรับสัตว์ทุกชนิด

สารกลุ่มดังกล่าวเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ NAD และ NADP รวมทั้งมีความสำคัญต่อการทำงานของไมโตคอนเดรีย และการย่อยสลายสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และกรดอะมิโน และเห็นว่าสารกลุ่มดังกล่าวมีความปลอดภัยในการใช้กับอาหารสัตว์ โดยพบว่า! สามารถในปริมาณกว่า 10 เท่า ของที่ใช้ผสมอาหารสัตว์ แต่ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ยังไม่มีผลยืนยันความปลอดภัยในการใช้กับอาหารมนุษย์
ที่มา : AllAboutFeed (30ต.ค.55)

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ผู้เลี้ยงสุกร-ไก่ไข่ขอนำเข้าข้าวโพดลาว 5 หมื่นตันผู้เลี้ยงสุกร-ไก่ไข่ขอนำเข้าข้าวโพดลาว 5 หมื่นตัน




กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในจังหวัดนครปฐม และราชบุรี ร่วมกับกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทำหนังสือถึงองค์การคลังสินค้า (อคส.) ขอให้นำเข้าข้าวโพดจากลาว ในช่วงเดือนธันวาคม 2555 ถึงมกราคม 2556 ซึ่งมีราคาต่ำกว่าในประเทศประมาณ 20-30% จำนวน 5 หมื่นตัน มาจำหน่ายกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์ดังกล่าว เนื่องจากปัญหาวิกฤติราคาอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดราคาเพิ่มสูงถึง 40% และวัตถุดิบยังใกล้หมดเนื่องจากอยู่ในช่วงหมดฤดูกาลผลิต ทำให้ผู้ผลิตประสบภาวะขาดทุนอย่างรุนแรงจนต้องเทขายสุกร ส่งผลให้ราคาสุกรเป็นในนครปฐม และราชบุรี ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตถึงกิโลกรัมละ 10 บาท




ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ (24 ต.ค.55)



ภาคเอกชนอินโดนีเซียเล็งเห็นความสำคัญด้านสวัสดิภาพสัตว์ในโรงเชือด




องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (WSPA ได้ลงนามในความร่วมมือกับสัตวแพทยสมาคมแห่งอินโดนีเซีย (IVMA) ด้านการยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในโรงเชือด เป็นระยะเวลา 3 ปี ณ นครยอกจาการ์ตา (Yogyakarta) โดยเตรียมจัดตั้งโครงการอบรมการพัฒนาระบบเชือดสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมในปี 2556

WSPA ได้เริ่มดำเนินงานร่วมกับ IVMA เมื่อปี 2554 ภายหลังจากมีบันทึกวีดิโอการเชือดโคที่นำเข้าจากออสเตรเลียด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม ทั้งขั้นตอนการขนย้ายและรอเชือดก็เป็นไปอย่างทารุณต่อปศุสัตว์ และเมื่อลงพื้นที่ตรวจสอบก็พบว่าการเชือดโคที่เลี้ยงในประเทศก็มีลักษณะไม่แตกต่างกัน ประธาน IVMA กล่าวว่า สวัสดิภาพสัตว์จัดเป็นหนึ่งในจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์ และการปฏิบัติงานร่วมกับ WSPA นี้ จะช่วยให้ IVMA มีช่องทางเรียกร้องให้ปรับปรุงกฎหมายและมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ภายในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น




ที่มา : GlobalMeatNews (24 ต.ค.55)

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ ขยายอนุญาตเพิ่มเติม 5 รัฐ ผสมข้าวโพดปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน


ตามที่ มกอช. ได้นำเสนอข่าวการอนุญาตให้ผสมข้าวโพดปนเปื้อนอะฟลาทอกซินเกินมาตรฐานในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2555 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ขยายเขตพื้นที่การอนุญาตให้สามารถผสมข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ppb (ส่วนในพันล้านส่วน) แต่ไม่เกิน 500 ppb กับวัตถุดิบข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินต่ำเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เพิ่มเติมใน 5 รัฐ ได้แก่รัฐอิลลินอยส์ อินเดียนา แคนซัส เนบราสกา และโอกลาโฮมา จากเดิมที่อนุญาตเฉพาะในพื้นที่รัฐไอโอวา

ทั้งนี้ อ! าหารสัตว์ที่ผสมภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวห้ามใช้ในการเลี้ยงโคนม และต้องผ่านการตรวจสอบให้ค่าปนเปื้อนอะฟลาทอกซินเป็นไปตามมาตรฐานของ Compliance Policy Guides (CPG) Sec. 683.100 ว่าด้วยปริมาณอะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์ ในทุกขั้นตอนการผลิต ทั้งต้องมีใบรับรองประกอบการเคลื่อนย้ายที่แสดงว่ามีการผสมข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินสูงกว่า 20 ppb ปริมาณอะฟลาทอกซินในผลผลิตแต่ละขั้นตอน และระบุชนิดของปศุสัตว์ที่สามารถเลี้ยงด้วยอาหารผสมดังกล่าวได้

ศึกษา Compliance Policy Guide (CPG) Sec 683.100 http://www.fda.gov/ICECI/ComplianceManuals/CompliancePolicyGuidanceManual/ucm074703.htm




ที่มา : มกอช. (22 ต.ค.55)

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แคนาดาจะบังคับใช้ระเบียบการนำเข้าสัตว์น้ำจากสหรัฐฯ ที่ปรับปรุงใหม่ธันวาคมนี้



หน่วยงานตรวจสอบอาหารแคนาดา (CFIA) เตรียมพร้อมดำเนินการตามระเบียบด้านสุขภาพสัตว์ (Health of Animal Regulations; C.R.C., c.296) ที่ปรับปรุงใหม่ สำหรับการออกเอกสารรับรองการนำเข้าสัตว์น้ำจากสหรัฐฯ เข้าสู่แคนาดา ในวันที่ 10 ธันวาคม 2555 โดยต้องมีใบอนุญาตประกอบการนำเข้าสินค้าจากหน่วยงาน CFIA และใบรับรองสุขภาพสัตว์จากหน่วยงาน APHIS ของสหรัฐฯ ทุกครั้ง ทั้งนี้ ใบรับรองสุขภาพสัตว์ 2 ฉบับ จะจัดทำแล้วเสร็จประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2555 โดย CFIA จะประกาศอีกครั้งบนเว็บไซต์


&! nbsp; สำหรับรายชื่อสัตว์น้ำและโรคสัตว์น้ำควบคุมของแคนาดา สามารถศึกษาได้ที่
http://www.inspection.gc.ca/animals/aquatic-animals/diseases/susceptiblespecies/eng/1327162574928/1327162766981

ศึกษากฎระเบียบ Health of Animal Regulations c.296 ได้ที่นี่
http://laws-lois.justice.gc.ca/PDF/C.R.C.,_c._! 296.pdf



ที่มา : มกอช. (22 ต.ค.55)

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ เตือนยาสัตว์น้ำที่จำหน่ายในท้องตลาดอาจไม่ได้ผ่านการรับรอง


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้แจ้งเวียนต่ออุตสาหกรรมสัตว์น้ำให้ตระหนักถึงการใช้ยาสัตว์น้ำที่วางจำหน่ายในท้องตลาด เนื่องจาก USFDA ต้องทดสอบคุณสมบัติของยาสัตว์ "ทุกผลิตภัณฑ์" อย่างละเอียด ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อสารออกฤทธิ์ตรงกับชื่อสามัญของยาที่ผ่านการรับรอง อาจยังไม่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่าย เช่น ยาสัตว์น้ำที่มีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มฟอร์มาลิน มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจาก USFDA เพียง 4 ผลิตภัณฑ์ คือ Formalin-F, Formacide-B, Paracide-F และ Parasite-S เป็นต้น

กา! รตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์ยาสัตว์ของ USFDA ต้องมีข้อมูลประกอบการขออนุญาตจากทางผู้ผลิตยาดังนี้
- ระบุรับรองความปลอดภัยและชนิดของสัตว์ที่ใช้ได้ และสำหรับผลิตภัณฑ์จากปลาสำหรับมนุษย์บริโภค ต้องมีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยในการบริโภคอาหารซึ่งผลิตจากปลาที่ใช้ยาชนิดดังกล่าว
- ขั้นตอนการผลิตยาต้องสามารถรักษาลักษณะจำเพาะ ฤทธิ์ยา คุณภาพ และความบริสุทธิ์ของตัวยาดังกล่าว
- ฉลากกำกับผลิตภัณฑ์ยาต้องมีข้อมูลที่เป็นจริงและสมบูรณ์

ทั้งนี้ ยาที่ผ่านการอนุญาตให้วางจำหน่าย จะยังมีการติดตามตรวจสอบจากทาง USFDA ในด้านต่อไปนี้
&! nbsp; - ความปลอดภัยและประสิ! ทธิภาพขอ งยา หากมีข้อทักท้วงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าวหลังจากการอนุญาต
- กระบวนการผลิต เพื่อยืนยันคุณภาพและการรักษาความสม่ำเสมอในขั้นตอนการผลิต
- การติดฉลาก เพื่อยืนยันความเป็นจริงและความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ระบุอย่างต่อเนื่อง

การยื่นขอตรวจสอบรับรองผลิตภัณฑ์ยาสัตว์ ปัจจุบันมีการขออนุญาต 2 ประเภท คือ
1. NADA (New Animal Drug Application)
2. ANADA (Abbreviated New Animal Drug Application) สำหรับยาสัตว์สามัญ




ที่มา : มกอช. (19 ต.ค.55)

พบไข้หวัดนกระบาดในเนปาล-นิวคาสเซิลในโรมาเนีย



องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รายงานสถานการณ์โรคระบาดในสัตว์ปีกตามรายละเอียดดังนี้

- 14 ตุลาคม 2555: รายงานยืนยันการพบโรคไข้หวัดนกในฟาร์มสัตว์ปีกเขต Sanepa-2 ของเนปาล เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 ทำให้มีสัตว์ปีกที่ป่วย 2,500 ตัว และตายทั้งหมด โดย OIE Reference Laboratory ยืนยันผลการตรวจว่าเป็นสายพันธุ์รุนแรง H5N1

- 12 ตุลาคม 2555: รายงานยืนยันการพบโรคนิวคาสเซิลใน! เขต Zarnesti ของโรมาเนีย โดยมีจำนวนสัตว์ปีกที่เสี่ยงต่อการติดต่อของโรค 533 ตัว พบอาการป่วย 216 ตัว ตาย 212 ตัว และถูกทำลายจำนวน 105 ตัว



ที่มา : ThePoultrySite (18 ต.ค.55)

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ออสซี่เตรียมขยายตลาดค้าเนื้อจิงโจ้



รัฐควีนสแลนด์และวิคตอเรียของออสเตรเลีย ตั้งเป้าผลิตเนื้อจิงโจ้เพิ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในและนอกประเทศ โดยผู้ผลิตรายหนึ่งในรัฐควีนสแลนด์เตรียมเปิดโรงงานแปรรูปเนื้อจิงโจ้อีกครั้ง หลังปิดโรงงานไปเมื่อปี 2548 เนื่องจากมีปัญหาการส่งออก และตั้งเป้าวางจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ เช่น รัสเซีย ที่เคยเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าสำคัญ

สำหรับรัฐวิคตอเรีย เป็นรัฐเดียวที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ผลิตหรือแปรรูปเนื้อจิงโจ้ ด้วยเหตุผลความปลอดภัยอาหาร เนื่องจากมีรายงานการล่าจิงโจ้และเชือดนอกโรงงานที่ถูกสุขอนามัย ทำให้ปัจจุบันเนื้อจิงโจ้ที่จำ! หน่ายมาจากการผลิตของรัฐอื่น ซึ่งทางการกล่าวว่า หากมีการแก้ไขกฎหมายของรัฐจะไม่ส่งผลต่อจำนวนจิงโจ้ในธรรมชาติ แต่จะทำให้เนื้อจิงโจ้ที่มาจากฟาร์มเลี้ยงและเชือดอย่างถูกสุขอนามัยเท่านั้นที่สามารถวางจำหน่ายได้




ที่มา : AusFoodNews (16 ต.ค.55)

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เม็กซิโกประกาศปลอดโรคหัวเหลืองในกุ้ง


สำนักงานเลขานุการด้านการเกษตร ปศุสัตว์ พัฒนาชนบท ประมง และอาหาร (Sagarpa) ได้ประกาศใน Official Gazette of the Federation ว่าเม็กซิโกเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้งปลอดโรคหัวเหลือง (Yellowhead Disease) ซึ่งจะทำให้เม็กซิโกมีศักยภาพในการแข่งขันสูงขึ้นทั้งตลาดกุ้งภายในประเทศและต่างประเทศ

โรคหัวเหลืองในกุ้งเกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้กุ้งตายอย่างรวดเร็ว โดยกุ้งที่เป็นโรคจะมีส่วนอกเป็นสีเหลือง และลำตัวซีดกว่าปกติ
ที่มา : FIS (12 ต.ค.55)

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ไต้หวันพบ Ractopamine ในผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรนำเข้าจากสหรัฐฯ


ไต้หวันตรวจพบผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ปนเปื้อนสาร Ractopamine โดยพบในลูกชิ้นหมูที่ปริมาณ 0.4 ppb และยังพบสารปฏิชีวนะคลอแรมเฟนิคอลในเบอร์เกอร์หมูที่ 9.3 ppb ซึ่งสารทั้งสองชนิดนั้นไต้หวันไม่อนุญาตให้ใช้ในการเลี้ยงสุกร แม้จะอนุญาตให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เนื้อโคนำเข้าจากสหรัฐฯ ก็ตาม

ที่มา : PigProgress (9 ต.ค.55)

สหรัฐฯ เตรียมขยายการตรวจสอบ E. coli ที่ผลิต Shiga-toxin ในเนื้อบด


หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) วางแผนที่จะขยายการตรวจสอบเชื้อ E. coli สายพันธุ์ที่ผลิตสารพิษ Shiga toxin (STEC) อีก 6 สายพันธุ์ นอกเหนือไปจากสายพันธุ์ O157:H7 ในผลิตภัณฑ์เนื้อโคบด เพิ่มเติมจากที่ตรวจสอบในเนื้อโคตัดแต่งจากโรงเชือดเท่านั้น

ทั้งนี้ ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งแมรีแลนด์ชี้ว่า อัตราการปนเปื้อน E. coli สายพันธุ์ STEC ที่ไม่ใช่ O157:H7 อยู่ระหว่าง 2.4-30% ซึ่งทาง FSIS อาจขยายการตรวจสอบไปยังเนื้อที่ตัดแต่งด้วยมีด และเนื้อจากส่วนกะโ! หลกและแก้มของโคในอนาคต


อ่านข่าวย้อนหลังการตรวจสอบ STEC เพิ่มเติม 6 ซีโรไทป์ได้ ที่นี่
http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=07&id=10435
ที่มา : FoodSafetyNews (9 ต.ค.55)

เนื้อสุกรติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกัน เขย่าขวัญตลาดซื้อขายรัสเซีย

!
หน่วยงานตรวจสอบทางสัตวแพทย์และสุขอนามัยรัสเซีย (Rosselkhoznadzor) ตรวจพบเบคอนที่จำหน่ายในงานแสดงสินค้าเกษตร เมืองทอสโน เขตเลนินกราดของรัสเซีย ระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2555 ปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์สุกรแอฟริกัน (African Swine Fever - ASF) ซึ่ง Rosselkhoznadzor ได้แจ้งเตือนผู้บริโภคไม่ควรนำเบคอนดิบไปใช้เป็นอาหารสัตว์ รวมทั้งเตือนให้ทำการฆ่าเชื้อก่อนทิ้งเศษอาหารดังกล่าว

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อ ASF Rosselkhoznadzor แนะนำให้เจ้าของฟาร์มในเขตเลนินกราดติดต่อหน่วย! งานบริการทางสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพสุกรในฟาร์ม และป้องกันสุกรจากการสัมผัสกับสัตว์อื่น ซึ่งโรค ASF แม้จะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่มนุษย์อาจเป็นพาหะนำโรคเมื่อสัมผัสสัตว์ที่ป่วยได้ พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ฆ่าเชื้อในคอก เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ชุดทำงาน และพื้นที่ภายในฟาร์ม


อ่านข่าวย้อนหลังเรื่องการระบาดของโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน ได้ที่นี่
http://www.acfs.go.th/news_detaiphp?ntype=07&id=10637
ที่มา : PigProgress (9 ต.ค.55)

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ร่างปรับปรุงระเบียบสวัสดิภาพสัตว์ใหม่เมืองผู้ดี อาจขัดฮาลาล-โคเชอร์


กระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหารและกิจการชนบท (DEFRA) ของสหราชอาณาจักร ได้ออกรายงานของที่ปรึกษาเกี่ยวกับร่างปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อคุ้มครองกระบวนการผลิตอาหารตามวิธีการของฮาลาลและโคเชอร์ โดยจะมีการปรับปรุงข้อกำหนดเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ในการเชือด ซึ่งเปิดรับข้อคิดเห็นจนถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2555

เนื้อหาส่วนที่กำลังเป็นประเด็นในกลุ่มสังคมมุสลิมและยิวคือ DEFRA จะปรับเปลี่ยนนิยามการ "เชือดโดยวิธีการทางศาสนา" ให้มีความหมายครอบคลุมการทำให้สลบโดยสัตว์ยังสามารถฟื้นได้ อีกทั้งมีโอ! กาสสูงที่จะห้ามการเชือดโดยไม่ทำให้สลบ โดยองค์กร ANSA และ MUSE กำลังร่วมหาจุดยืนในการแสดงข้อคิดเห็นเพื่อปกป้องสิทธิของชาวมุสลิมและยิว


ผู้สนใจสามารถศึกษารายงานดังกล่าวได้ที่
http://www.defra.gov.uk/consult/files/animal-welfare-killing-condoc-120912.pdf



ที่มา : MeatTradeNewsDaily/HalalFocus
(5 ต.ค.55)

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ เพิ่มค่าปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในอาหารสัตว์ชั่วคราว


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้อนุญาตเป็นการชั่วคราวให้สามารถนำข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ppb (ส่วนในพันล้านส่วน) มาผสมกับข้าวโพดที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินต่ำหรือตรวจไม่พบ ในการผลิตอาหารสัตว์ โดยต้องตรวจสอบปริมาณอะฟลาทอกซินหลังจากผสมก่อนการวางจำหน่าย

ทั้งนี้ ปริมาณอะฟลาทอกซินที่อนุญาตในข้าวโพดที่ใช้เป็นส่วนผสมนั้น ต้องไม่เกิน 300 ppb และใช้ได้เฉพาะกับสัตว์ปีกขุน สุกรพ่อแม่พันธุ์ สุกรขุนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์ โคพ่อแม่พันธุ์ และโคขุน เท่านั้น



ที่มา : ThePoultrySite (4 ต.ค.55)

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สหภาพยุโรปส่งออกเนื้อโคลดลง 41%



ปริมาณการส่งออกเนื้อโคของสหภาพยุโรประหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2555 มีปริมาณ 113,856 ตัน ลดลงถึง 41% เมื่อเปรียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 โดยพบว่าปริมาณการส่งออกไปยังรัสเซียลดลงถึง 34% และตุรกีลดลง 71% เหลือเพียง 28,006 และ 25,683 ตัน ตามลำดับ จากก่อนหน้านี้ในปี 2554 สามารถส่งออกเนื้อโคได้ปริมาณมาก เนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินยูโร และต่างประเทศที่มีความต้องการเนื้อโคจากสหภาพยุโรป

แนวโน้มการผลิตเนื้อโคในสหภาพยุโรปตลอดปี 2555 จะลดลงถึง 4% และจากผลของปริมาณการนำเข้าที่ลดลงด้วยนั้น จะทำให้ไม่สามารถรองรับปริมาณการบริโภคภายในภูมิภาค แม้ปริมาณส่งออกจะลดลงแล้วก็ตาม



ที่มา : MeatTradeNewsDaily (4 ต.ค.55)

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เยอรมนีออกกฎระเบียบใหม่ด้านสารปฏิชีวนะในสัตว์


เยอรมนีประกาศกฎระเบียบใหม่ด้านการใช้สารปฏิชีวนะในสัตว์ โดยมีเป้าหมายลดการใช้ยาสัตว์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ภายใต้ความร่วมมือของทั้งหน่วยงานกำกับดูแลส่วนกลางและหน่วยงานของแต่ละรัฐ ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลเมื่อใช้สารปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ และข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังฐานข้อมูลแห่งชาติที่เข้าถึงได้จากหน่วยงานกำกับดูแลทุกระดับ เพื่อประเมินความถี่การใช้สารปฏิชีวนะระหว่างผู้ประกอบการกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้เลี้ยงสัตว์จะต้องพร้อมเข้ารับการตรวจสอบและปฏิบัติตามมาตรการควบคุมทั้งจากสัตวแพทย์และหน่วยงานกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง



ที่มา : ThePigSite (3 ก.ย.55)

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กระทรวงพาณิชย์กร้าว สั่งชะลอขึ้นราคาอาหารสัตว์

 


กรมการค้าภายใน ดิ􀃊นแก้ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์แพง หลังผลผลิตสหรัฐฯ เสียหายหนักจากภัย

แล้ง พร้อมสั􀃉งชะลอปรับขึ􀃊นราคาอาหารสัตว์

นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิ ดเผยว่า ได้หารือกับผู้ผลิตอาหารสัตว์

เพื􀃉อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต้นทุนอาหารสัตว์ปรับขึ􀃊นราคา โดยเฉพาะข้าวโพดเลี􀃊ยงสัตว์ และถั􀃉วเหลือง

ในตลาดโลกที􀃉ราคาสูงขึ􀃊นมาก เพราะผลผลิตส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ แหล่งผลิตสำคัญเสียหายจากภาวะภัย

แล้ง เบื􀃊องต้นได้ให้เอกชนไปรวบรวมความต้องการใช้ข้าวโพดเลี􀃊ยงสัตว์เสนอมา เพื􀃉อนำเข้าจากประเทศ

เพื􀃉อนบ้านในราคาตํ􀃉า มาใช้ในอุตสาหกรรม ชดเชยต้นทุนกากถั􀃉วเหลืองที􀃉ปรับตัวสูงขึ􀃊น เชื􀃉อว่าจะช่วยลด

ต้นทุน และชะลอการปรับขึ􀃊นราคาอาหารสัตว์ได้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ขณะนี􀃊ยังไม่มีการปรับขึ􀃊นราคา

อาหารสัตว์ในประเทศแน่นอน

รัฐบาลปล่อยราคาไข่ไก่ตกตํ􀃉านานกว่า 9 เดือน เกษตรกรเตรียมบุกทำเนียบ 2 ต.ค.นี􀃊

รัฐบาลปล่อยราคาไข่ไก่ตกตํ่านานกว่า

9 เดือน เกษตรกรเตรียมบุกทำเนียบ 2 ..นี􀃊

เกษตรกรเลี􀃊ยงไก่

1,000 คน เตรียมบุกทำเนียบยื􀃉นหนังสือถึงนายกฯ 2 ..นี􀃊 แก้ปัญหาราคาไข่

ตกตํ􀃉านานกว่า

9 เดือนแล้ว พร้อมวอนช่วยพยุงราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มฟองละ 2.80 บาท

นายชัยพร สีถัน ตัวแทนชมรมผู้เลีย􀃊 งไก่ไข่รายย่อย


เปิ ดเผยว่า ในวันอังคารที􀃉 2 ตุลาคม 2555 นี􀃊

ทางกลุ่มตัวแทนเกษตรกรประมาณ

1,000 คน จะเดินทางมายื􀃉นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ที􀃉ทำเนียบ

รัฐบาล เพื􀃉อเรียกร้องให้ช่วยแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกตํ􀃉า ซึ􀃉งในขณะนี􀃊 ขายขาดทุนและได้รับผลกระทบมา

เป็นเวลานานกว่า

9 เดือนแล้ว โดยในเบื􀃊องต้น ต้องการให้รัฐบาลพยุงราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มไว้ที􀃉ฟองละ

2.80

บาท ซึ􀃉งเป็นราคาที􀃉สูงกว่าต้นทุนของเกษตรกรเพียงเล็กน้อย ฟองละ 20 สตางค์ (ต้นทุน 2.60 บาท)

และต้องการให้ช่วยเหลือด้านต้นทุนอาหารสัตว์ เพราะยังไม่สามารถแก้ไขด้วยการปลดแม่พันธุ์ไก่ได้

เพราะยังเป็นไก่สาว