หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ พบเชื้อก่อโรคดื้อยาในสุกรปลอดปฏิชีวนะ



นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา พบเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter coli (C. coli) ที่เป็นเชื้อก่อโรคในอาหาร ทั้งในสุกรที่เลี้ยงแบบไม่ใช้สารปฏิชีวนะ และสุกรที่เลี้ยงแบบปกติ โดยพบว่าเชื้อที่อยู่ในสุกรทั้งสองกลุ่มมีลักษณะดื้อยา ทั้งที่เกษตรกรหลายรายหันมาเลี้ยงแบบปลอดปฏิชีวนะเพื่อลดโอกาสที่เชื้อจะเกิดการดื้อยามาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

ทั้งนี้ นักวิจัยกลุ่มดังกล่าวให้ความเห็นว่า หากมีการเลี้ยงแบบปลอดสารปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง ก็มีแนวโน้มจะช่วยลดปัจจัยการคัดเลือกโดยลดสัดส่วนประชากรแบคทีเรียที่มีความต้านทานลง และหวังว่าก! ารเลี้ยงจะทำให้ประชากรที่ดื้อยาค่อยๆ ลดจำนวนลงตามไปด้วย จากเดิมที่การเลี้ยงด้วยสารปฏิชีวนะจะมีเฉพาะเชื้อดื้อยาเท่านั้นที่สามารถอยู่รอดได้



ที่มา : ThePigSite (20 กันยายน 2555)

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รายงานสถานการณ์ไข้หวัดนกระบาดในเวียดนาม



รายงานเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 ผลจากไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 มีการระบาดเพิ่มในพื้นที่ 2 จังหวัดทางตอนเหนือของเวียดนาม รวมเป็น 7 จังหวัดทั้งในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ โดยที่จังหวัดเตวียนกวง (Tuyen Quang) มีการทำลายสัตว์ปีกที่เป็นโรคแล้วกว่า 17,600 ตัว หลังจากมีการรายงานการระบาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555 ที่คอมมูนในเขตการปกครองซองเดวื่อง (Son Duong) และเพิ่มเป็น 9 คอมมูนในเขตดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2555

หน่วยงานสุขภาพสัตว์ท้องที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเรื่องดังกล่าว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดทั้งในระดับเขตการปกครองและคอมมูน รวมทั้งส่งหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกอย่างผิดกฎหมาย ทำลายสัตว์ที่เป็นโรค และระงับการเชือด จำหน่าย หรือขนส่งสัตว์ปีกในพื้นที่ทั้งหมดที่มีการระบาดของไข้หวัดนก

อนึ่ง เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ที่ระบาดในเวียดนามขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ต่างจากสายพันธุ์ A และ B ที่มีการระบาดเมื่อปี 2554 โดยพบว่ามีความสามารถในการก่อโรครุนแรงยิ่งขึ้น




ที่มา : XinhuaNet (17 ก.ย.55)

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ รายงานการค้นพบเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรชนิดใหม่สายพันธุ์ H1N2



นักวิจัยสหรัฐฯ พบว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดสุกรสายพันธุ์ H1N2 ที่เก็บจากตัวอย่างสุกรในเกาหลีใต้เมื่อปี 2552 มีลักษณะเป็นเชื้อก่อโรครุนแรง โดยตัวอย่าง Sw/1204/2009 ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะก่อโรคในเยื่อหุ้มปอดและแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วในสภาพทั่วไปของทางเดินหายใจมนุษย์ และการศึกษาในสัตว์ทดลองจำพวกเฟเร็ต พบว่าทำให้สัตว์ทดลองตาย

เชื้อไข้หวัดสุกรที่ระบาดในปี 2552 ที่เม็กซิโก ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ H1N1 ที่พบความเกี่ยวข้องทางวิวัฒนาการย้อนหลังไปถึงเชื้อไข้หวัดที่ระบาดเมื่อ 91 ปีก่อน! หน้านั้น (พ.ศ.2461) ซึ่งเป็นการเผยข้อมูลครั้งแรกว่าไข้หวัดสุกรอาจสามารถติดต่อระหว่างมนุษย์และสุกรได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีแนวโน้มของการติดต่อลักษณะดังกล่าวในเชื้อสายพันธุ์ H3N2 และ H2N2 ที่ล้วนเป็นสายพันธุ์ก่อโรครุนแรงด้วย แม้จะยังไม่พบการติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยกันก็ตาม



ที่มา : AusFoodNews (13ก.ย.55)


รายงานสถานการณ์ไข้หวัดนกในเม็กซิโก



หลังจากมีรายงานการระบาดของไข้หวัดนกในเม็กซิโก และมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมานั้น หน่วยงานควบคุมด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และสุขอนามัยอาหาร (Senasica) ของเม็กซิโกได้รายงานว่า มีการทำลายสัตว์ปีกกลุ่มเสี่ยงกว่า 22.3 ล้านตัว ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2555 เพื่อสกัดกั้นการระบาดของไข้หวัดนก และมีการฉีดวัคซีนให้ปศุสัตว์สัตว์ปีกกว่า 140 ล้านตัว นอกจากนี้มีรายงานจากฟาร์มผลิตปศุสัตว์ว่ากำลังเพิ่มปริมาณสัตว์ปีกที่เลี้ยงในอัตรา 4.5 - 5 ล้านตัวต่อเดือน ซึ่งจะสามารถให้ผลผลิตไข่ได้ถึง 2,700 ตันต่อวัน

ไข! ้หวัดนกที่มีรายงานการระบาดในเม็กซิโกปีนี้ เป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ก่อโรครุนแรง H7N3 โดยพบระบาดในฟาร์ม 33 แห่ง เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน และรายงานล่าสุดจาก Senasica ยังไม่พบว่ามีการระบาดของโรคในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้

อ่านข่าวย้อนหลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไข้หวัดนกได้ ที่นี่
http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=07&id=10538



ที่มา : MeatPoultry (13ก.ย.55)

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ฟิลิปปินส์ยกเลิกแบนไก่-เป็ดไทย



กรมการค้าต่างประเทศเผย กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ได้ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกจากไทย ตั้งแต่ช่วงปี 2547 ที่มีการระบาดของไข้หวัดนก โดยคำสั่งยกเลิกการห้ามนำเข้ามีผลตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2555 ซึ่งทางฟิลิปปินส์ได้ให้กรมปศุสัตว์ยื่นหนังสือขอรับการรับรองสถานที่ผลิตแก่กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ก่อนการเริ่มส่งออกอีกครั้ง



ที่มา : ไทยโพสต์ (11ก.ย.55)

โปแลนด์อนุญาตการใช้ถั่วเหลือง GMO เป็นอาหารสัตว์ ในปี 2559




ประธานาธิบดีโปแลนด์ได้ลงนามในกฎหมายอาหารสัตว์ฉบับปรับปรุงที่มีเนื้อหาอนุญาตการใช้ถั่วเหลืองที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ในอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป โดยให้ความเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคม ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของโปแลนด์ให้ความเห็นคัดค้านว่า ผลิตภัณฑ์จากโปแลนด์ควรจะปลอด GMO เนื่องจากมีข้อเท็จจริงที่ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ GMO อาจส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นควรจะมีการติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่ปลอด GMO เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตนเอง

! กระนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของโปแลนด์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์ GMO ว่า หากมีการห้ามใช้วัตถุดิบที่เป็น GMO การผลิตหรือใช้เป็นอาหารสัตว์ทันที จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่ออุตสาหกรรมการผลิตปศุสัตว์ และส่งผลต่อการจ้างงานในประเทศด้วย ส่วนประเด็นการปลูกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปัจจุบันยังไม่มีระเบียบควบคุมอย่างเหมาะสมในโปแลนด์นั้น คณะกรรมาธิการยุโรปได้เตือนกระทรวงเกษตรโปแลนด์ให้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายอย่างเร่งด่วน ก่อนจะมีมาตรการลงโทษจากทางสหภาพฯ




ที่มา : AllAboutFeed (19 ก.ย.55)

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

Ongoing HPAI in Vietnam, 2152 birds destroyed

Ongoing HPAI in Vietnam, 2152 birds destroyed

 

//10 Sep 2012
Three new outbreaks in Vietnam of the highly pathogenic avian influenza H5N1 were reported to the World Organisation for Animal Health. Two outbreaks took place in villages in the north of the country and one outbreak was in the south.
The three outbreaks were all localised to villages, and the source of the epidemic is as yet unknown.
The HPAI epidemic in Vietnam was first reported to the OIE in 2006, and the country’s struggle to eradicate the disease is now in its 6th year.
Dr Nam Hoang Van, Director General of Vietnam’s Department of Animal Health, of the Ministry of Agriculture and Rural Development, reported that in total 2152 birds were destroyed, and that standard quarantine measures were being carried out.
Source: OIE

ออสเตรเลียเตรียมยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตเนื้อสุกร



ออสเตรเลียเตรียมยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสุกร โดยหน่วยงานความร่วมมือในการวิจัยด้านการผลิตสุกรของออสเตรเลีย และหน่วยงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ RSPCA ของออสเตรเลีย ได้เตรียมใช้ดัชนีชี้วัดสวัสดิภาพสัตว์ในโครงการวิจัยของหน่วยงานฯ ตามรายละเอียดต่อไปนี้

- แผลของซาก ซึ่งสามารถใช้ประเมินลักษณะการเลี้ยงที่อาจเป็นการทรมานสุกร
- ปริมาณคอร์ติซอลในน้ำลาย ที่สามารถใช้ประเมิน! ภาวะเครียดของสุกรได้ดีกว่าในพลาสมาของเลือด
- สมรรถภาพของร่างกาย สำหรับใช้ประเมินสุขภาพและลักษณะทางกายภาพของสุกร
- ความถี่ของพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้ประเมินความเข้ากันได้ภายในฝูง และการปรับตัวของสุกร

ทั้งนี้จะมีการบันทึกพฤติกรรมของสัตว์โดยใช้วีดิโอ และข้อมูลดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาการเลี้ยงและต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรของออสเตรเลีย โดยเริ่มใช้ใน 2 โครงการนำร่อง ได้แก่ โครงการเลี้ยงแม่สุกรแบบไม่ขังกรงรวมทั้งการจัดการลูกสุกร และโครงการจัดการสุขภาพในฝูงสุกร




ที่มา : MeatTradeNewsDaily (10 ก.ย.55)


วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

จีนเปิดไฟเขียวท่าเรือเทียนจินพร้อมนำเข้ามันสำปะหลังจากไทย





ตลาดการค้าสินค้าเกษตรกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ปินไห่ของจีน กับสำนักงานการค้ามันสำปะหลังแห้งล่วงหน้าของไทย ได้เซ็นสัญญาว่าด้วยการนำเข้ามันสำปะหลังแห้งจากไทย โดยจีนพร้อมเปิดช่องทางนำเข้ามันสำปะหลังแห้งจากไทยผ่านด่านตงเจียง นครเทียนจิน จากก่อนหน้านี้ที่มันสำปะหลังจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนเข้าสู่จีนผ่านด่านชิงเต่า ฉินฮ๋วงต่าว เซี่ยงไฮ้ ซึ่งนครเทียนจินเป็นท่าเรือสำคัญในทางตอนเหนือ รวมทั้งเป็นศูนย์กระจายสินค้าหลักสู่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงปักกิ่ง และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแป้งและการผลิตบะหมี่ของมณฑลหูเป่ย ที่ล่าสุดมียอดการใช้มั! นสำปะหลังถึงราว 8 แสนตัน ในขณะที่นำเข้าจากไทยได้เพียง 5-6 หมื่นตันต่อปี จึงถือเป็นช่องทางการค้าที่สำคัญแห่งใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตมันสำปะหลังของไทย

ทั้งนี้ แผนการพัฒนาประจำปี 2554-2559 ของจีนได้กำหนดมันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอันดับแรก และเป็นสินค้าสำคัญในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทนของจีน จากการที่มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเอทานอล ความต้องการมันสำปะหลังของตลาดจีนจึงมีแนวโน้มขยายตัวมากในอนาคต




ที่มา : ThaiBizChina (7 ก.ย.55)

ออสเตรเลียพัฒนาวัคซีน โรคไข้สามวันในโค


บริษัทเอกชนในออสเตรเลียกำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาโรคไข้สามวันในโคให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถรักษาได้โดยให้วัคซีนเพียงครั้งเดียว โดยก่อนหน้านี้เคยมีการทดลองใช้ตั้งแต่ปี 2523 และค่อนข้างได้ผลดี ซึ่งปัจจุบันโรคดังกล่าวมีรายงานการระบาดที่เพิ่มขึ้นทั้งในออสเตรเลียและทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

โรคไข้สามวัน ไข้ขาแข็ง หรือ Bovine Ephemeral Fever มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Arbovirus พบติดต่อในโคทุกช่วงอายุ ยกเว้นลูกโคอายุต่ำกว่า 6 เดือน มักไม่แสดงอาการ และพบมากในโคนมที่เลี้ยงในเขตร้อน-กึ่งร้อน โดยมีพาหะคือแมลง โคที่เป็นโรคจะเกิดอาการผิดปกติในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข! ้อต่อ ทำให้มีอาการเฉื่อยชา เคลื่อนไหวลำบาก และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนอื่นจนเสียชีวิตได้



ที่มา : TheCattleSite (7ก.ย.55)


วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

นักวิจัยสหรัฐฯ คิดค้นตัวตรวจจับเอทิลีนใช้งานร่วมกับ RFID หวังลดขยะวัตถุดิบอาหาร


นักวิจัยสหรัฐฯ คิดค้นตัวตรวจจับก๊าซเอทิลีนที่สามารถส่งข้อมูลไปยังชิพ RFID ที่สามารถรายงานปริมาณก๊าซเอทิลีน ซึ่งก๊าซดังกล่าวผลิตจากผักและผลไม้ที่กำลังสุกในปริมาณ 0.1-1 ppm และสามารถตรวจพบแม้มีเพียง 0.5 ppm ให้แก่อุปกรณ์อ่านค่าแบบมือถือ ทั้งยังมีต้นทุนเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ชุดของตัวตรวจจับที่ผลิตจากท่อคาร์บอนนาโนที่มีส่วนผสมของทองแดงและชิพ RFID และมีการเติมเม็ดโพลีสไตรีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจับก๊าซเอทิลีนอีกด้วย

หลักการตรว! จวัดปริมาณก๊าซเอทิลีนของอุปกรณ์ดังกล่าวทำได้โดย เมื่อมีก๊าซเอทิลีน ก๊าซดังกล่าวจะไปจับกับทองแดงที่ผสมในท่อคาร์บอนนาโน และทำให้กระแสอิเล็กตรอนภายในเคลื่อนตัวได้ช้าลง ทำให้สามารถคำนวณปริมาณก๊าซเอทิลีนที่เกิดจากผลิตผลได้ ซึ่งจะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมและผู้ผลิตขั้นทุติยภูมิสามารถทราบได้ว่าวัตถุดิบของตนสุกเกินไป หรือยังไม่สุกเพียงพอสำหรับขั้นตอนการผลิต และต้องมีกระบวนการรักษาสภาพ เช่น การแช่เย็น หรือการบ่มผลผลิตเป็นพิเศษหรือไม่ ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวจะผลิตตัวต้นแบบเพื่อให้ผู้ประกอบการทดลองใช้ในช่วงปี 2556 และคาดว่าจะสามารถเดินสายการผลิตจริงได้ภายใน 6 เดือน เพื่อประเมินช่วงอุณหภูมิ และความชื้นที่ทำงานได้ รวมทั้งทดสอบความสามารถในการตรวจจับของอุปกรณ์



ที่มา : FoodProductionDaily (6 ก.ย.55)

ญี่ปุ่นเตรียมผ่อนปรนมาตรการนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯญี่ปุ่นเตรียมผ่อนปรนมาตรการนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ




ญี่ปุ่นเตรียมผ่อนปรนมาตรการนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ โดยผู้เชี่ยวชาญได้เห็นด้วยกับการที่จะอนุญาตให้นำเข้าเนื้อที่ผลิตจากโคอายุ 30 เดือนขึ้นไป ซึ่งนอกจากสหรัฐฯ ก็จะผ่อนปรนให้แก่แคนาดา ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ด้วย และจะประกาศร่างเพื่อรับข้อคิดเห็นจากสาธารณชนประมาณปลายปี 2555 หรือต้นปี 2556

ญี่ปุ่นห้ามนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2546 จากสาเหตุของโรควัวบ้า (BSE) และเริ่มผ่อนปรนให้นำเข้าเนื้อถอดกระดูกที่ผลิตจากโคอายุต่ำกว่า 21 เดือนเมื่อเดือนธันวาคมปี 2548 ก่อนสั่งห้ามนำเข้าอีกครั้งใน 6 สัปดาห์! ถัดมา หลังพบชิ้นส่วนกระดูกปนเปื้อนในเนื้อลูกวัวที่มาจากมลรัฐนิวยอร์ก



ที่มา : MeatPoultry (6 ก.ย.55)

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

กฎระเบียบการกล่าวอ้างทางสุขภาพฉบับใหม่ของออสเตรเลียใกล้แล้วเสร็จ


หน่วยงานมาตรฐานอาหารออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (FSANZ) เตรียมพร้อมประกาศใช้กฎระเบียบการอ้างทางสุขภาพฉบับใหม่ หลังจากผ่านการร่างหลายครั้ง เพื่อให้มีความสมดุลของมาตรฐานการกล่าวอ้างทางสุขภาพสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเนื้อหาที่ปรับปรุงหรือมีการเพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้

- การกล่าวอ้างทางสุขภาพสำหรับปริมาณสารอาหาร
- การกล่าวอ้างทางสุขภาพระด! ับสูง ที่ต้องมีการตรวจสอบยืนยันผลต่อโรคหรือดัชนีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ (biomarker) ก่อนรับรอง
- การระบุความน่าเชื่อถือของวิธีการวิเคราะห์สารอาหาร
- การยืนยันตนเองสำหรับการอ้างทางสุขภาพ เพื่อเปิดโอกาสให้แก่อาหารนวัตกรรม
- การระบุข้อมูลยืนยันทางวิทยาศาสตร์สำหรับประกอบการใช้คำกล่าวอ้างทางสุขภาพ
- การกล่าวอ้างทางสุขภาพว่าอาหารมีคุณสมบัติในการบำบัดโรค เช่น อาหารในกลุ่มโพรไบโอติก หรือมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ

ทั้งนี้ กฎระเบียบการกล่าวอ้างทางสุขภาพฉบับใหม่ที่! มาจากร่าง P293 ดังกล่าว จะประกาศใช้ภายใต้ชื่อ Food Standard 1.! 2.7 - Nu trition, Health and Related Claims และ FSANZ จะประกาศใน Gazettal เมื่อเสร็จสิ้นการแก้ไขประเด็นต่างๆ ข้างต้นเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีผลบังคับใช้ในรัฐและอาณาเขตปกครองของออสเตรเลีย
ที่มา : AusFoodNews (4 ก.ย.55)