หน้าเว็บ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฝรั่งเศสยืนยันการระบาดของโรค Brucellosis


ฝรั่งเศสยืนยันการระบาดของโรค Brucellosis ในโคสู่มนุษย์ เนื่องจากการบริโภคชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2555 ซึ่งก่อนหน้านี้ฝรั่งเศสได้ประกาศเป็นเขตปลอดโรคตั้งแต่ปี 2548 ทำให้หน่วยงานรับผิดชอบต้องดำเนินการต้นตอการระบาดสำหรับเชื้อสาเหตุของโรค ซึ่งอาจเกิดจากการระบาดระหว่างฝูง หรือจากสัตว์ป่า

โรค Brucellosis ทำให้เกิดการแท้งติดต่อในโค และสำหรับในมนุษย์นั้น เชื้อสาเหตุ Brucella melitensis อาจมีปฏิกิริยาร่วมกับเชื้ออื่นและให้ผลการวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติของภาวะภูมิ! คุ้มกัน เนื่องจากเชื้อดังกล่าวมีความจำเพาะทางซีรัมวิทยาในระดับต่ำ

ที่มา : TheBeefSite (30 ส.ค.55)

ไต้หวันอาจเปิดโอกาสนำเข้าเนื้อโคที่ใช้ Ractopamine จากแคนาดา-สหรัฐฯ


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไต้หวัน (FDA) เปิดรับข้อคิดเห็นจากภาคเอกชนสำหรับร่างระเบียบการกำหนดค่า MRL ของสาร Ractopamine ในเนื้อโคที่นำเข้าจากสหรัฐฯ และแคนาดา โดยระบุไว้ที่ 10 ppb เท่ากับมาตรฐานของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ พร้อมทั้งระเบียบการติดฉลากแหล่งที่มาของวัตถุดิบบนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเนื้อโค เช่น บะหมี่สำเร็จรูป หรือเนื้อตากแห้ง ส่วนสถานที่ประกอบอาหารจากเนื้อโค เช่น แผงจำหน่ายและร้านอาหาร ให้มีการระบุที่มาของเนื้อที่ใช้เป็นวัตถุดิบอย่างชัดเจน ซึ่ง FDA ได้กำหนดมาตรการลงโทษปรับเป็นเงิน 1000-7000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 31,500-220,500 บาท) สำหรับร้านค้าที่ฝ่! าฝืนระเบียบดังกล่าว

ร่างระเบียบข้างต้นวางแผนประกาศใช้ในช่วงกลางเดือนกันยายน 2555 หากได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน
ที่มา : MeatTradeNewsDaily (30 ส.ค.55)

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทางการสหรัฐฯ เตรียมพิจารณาการติดฉลากเนื้อสัตว์ที่ผ่านการทุบให้นุ่ม



กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้รับหนังสือเสนอการติดฉลากเนื้อที่ผ่านการทุบให้นุ่มจากกลุ่มรณรงค์ด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้ติดฉลากแสดงการปรุงเนื้อสัตว์ดังกล่าวให้ปลอดภัย โดยให้ระบุว่าต้องทำให้สุกที่อุณหภูมิสูงกว่า 160 ฟาเรนไฮต์ (71 องศาเซลเซียส) ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิที่ใช้ในการปรุงเนื้อบด เนื่องจากแบคทีเรียสามารถเข้าแทรกไปยังรอยตัดของชิ้นเนื้อประเภทดังกล่าวได้ง่ายกว่าชิ้นเนื้อปกติ

ทั้งนี้ เนื้อสัตว์ที่ผ่านการทุบให้นุ่ม เป็นสาเหตุหนึ่งของการระบาดของเชื! ้อก่อโรคในอาหาร E. coli สายพันธุ์ O157:H7 ระหว่างช่วงปี 2546-2552



ที่มา : FoodSafetyNews (28 ส.ค.55)

จีนกดดันไทยเปิดตลาดไก่สุก


จากการที่จีนพยายามผลักดันให้ไทยเปิดตลาดไก่ปรุงสุกและไก่แปรรูป นางฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไก่เนื้อของไทยเกรงว่าสินค้าที่จีนต้องการให้ไทยเปิดตลาดจะถูกสวมสิทธิ์เพื่อนำไปส่งออกสู่ตลาดสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของมาตรฐานสินค้าไก่ของไทย และในขณะนี้ 5 สมาคมด้านไก่เนื้อได้ส่งหนังสือคัดค้านไปยังกรมปศุสัตว์แล้ว

การตัดสินใจของภาครัฐต่อการเปิดตลาดดังกล่าว จะมีผลต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยหลายรายการ เช่นชมพู่ทับทิมจันทร์ที่เคยมีการพิจารณาสั่งห้ามน! ำเข้าก่อนหน้านี้ ทั้งล่าสุดยังมีการอ้างว่าพบสารตะกั่วตกค้างในมันสำปะหลังของไทยเกิน 0.2 ppm และจีนอาจจะนำเรื่องนี้มาใช้เป็นเหตุผลต่อรองและกดดันไทยให้เปิดตลาดไก่ดังกล่าว ซึ่งไทยคงไม่สามารถเปิดตลาดได้เพราะจะส่งผลเสียต่อเกษตรกร ที่ปัจจุบันกำลังได้รับผลกระทบจากผลผลิตล้นตลาด และต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น



ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (28 ส.ค.55)

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อินโดนีเซียยกเลิกห้ามนำเข้าเนื้อกระดูกป่นจากสหรัฐ




ภายหลังจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสัตว์ และทบทวนความปลอดภัยจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านโรควัวบ้า (BSE) อินโดนีเซียได้ประกาศมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

G/SPS/N/IDN/50/Add.1 ยกเลิกห้ามนำเข้าเนื้อกระดูกป่นจากสหรัฐฯ แต่ยังคงให้มีการประเมินความเสี่ยงเชิงลึกในส่วนของการนำเข้าซาก กระดูก และเจลาตินในกระดูก เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2555


ที่มา : มกอช. (27 ส.ค.55)


วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ข้าวฟ่าง: เป้าหมายใหม่พืชพลังงานผลิตเอธานอล


รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังเตรียมพิจารณาให้ข้าวฟ่างที่ปัจจุบันใช้เป็นอาหารสัตว์ ระบุเป็นพืชพลังงานสำหรับผลิตเอธานอล ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพมีทางเลือกวัตถุดิบเพิ่มเติม ทั้งยังรักษาสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกจนถึงเมื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงยานพาหนะที่ลดลงกว่าการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอื่นๆ และจะทำให้สหรัฐฯ บรรลุเป้าหมายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากแหล่งพลังงานที่ปลูกทดแทนได้ 36,000 ล้านแกลลอน (ประมาณ 140,000 ล้านลิตร) ต่อปี ภายในปี 2565

ปัจจุบันสหรัฐฯ ใช้เชื้อเ! พลิงชีวภาพจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ เอธานอลซึ่งผลิตจากอ้อยทั้งที่นำเข้าจากบราซิล เชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศ น้ำมันดีเซลผสมน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น แต่จากปัญหาภัยแล้งทั่วสหรัฐที่ส่งผลให้ราคาข้าวโพดและพืชอาหารอื่นเพิ่มสูงขึ้น ข้าวฟ่างที่ไม่ได้ใช้ในการผลิตอาหารและอาหารสัตว์เป็นหลักจึงถูกจับตามองว่าจะเข้ามาแทนที่ กระนั้นหลายฝ่ายก็ยังตั้งคำถามถึงแรงจูงใจที่ผู้ประกอบการจะดำเนินการผลิตเอธานอลจากข้าวฟ่างว่าจะมีมากน้อยเพียงใด



ที่มา : AllAboutFeed (23 ส.ค.55)

เวียดนาม-พม่า คุมเข้มนำเข้าอาหาร


เวียดนามเตรียมตรวจเข้มสินค้านำเข้าประเภทผลไม้สด พืช และผลิตภัณฑ์จากพืช ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2555 โดยผลิตภัณฑ์พืชที่มีแหล่งกำเนิดสินค้าใหม่ซึ่งนำเข้าเวียดนามเป็นครั้งแรก หรือมีความเสี่ยงของโรคหรือปนเปื้อนสารเคมี จะต้องถูกตรวจสอบก่อนนำเข้า เนื่องจากก่อนหน้านี้พบว่าสินค้าผักและผลไม้สดจากจีน 3 ตัวอย่าง มีปริมาณสารตกค้างเกินค่ากำหนด โดย 2 ใน 3 มีสารไดฟีโนโคนาโซลตกค้างสูงกว่ามาตรฐานถึง 3-5 เท่า ทั้งใบตรวจกักกันโรคของเวียดนามที่ใช้อยู่เดิมก็ไม่ได้ระบุครอบคลุมการตรวจสารตกค้างหรือสารเคมีอื่นๆ

ในขณะเดียวกัน จากปัญหาการพบน้ำมันประกอบ! อาหารที่เป็นอันตรายเข้าทางชายแดนพม่า ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของพม่า (FDA) ได้เตรียมควบคุมคุณภาพสินค้าอาหารในการนำเข้าบริเวณชายแดน โดยมาตรการใหม่จะครอบคลุมสินค้าอาหารที่หมดอายุ สินค้าอาหารคุณภาพต่ำ และสีเคมีผสมอาหารที่เป็นอันตราย ทั้งนี้ FDA ได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อตั้งศูนย์ตรวจสอบสินค้าบริเวณชายแดนจีน-พม่า จนถึงเขตแดนไทย-จีน จำนวน 11 จุด



ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ (23 ส.ค.55)

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยร้องคงภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง


กระทรวงพาณิชย์เตรียมพิจารณาต่อเวลาการคงภาษีนำเข้าถั่วเหลืองที่ 2% เป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังตลาดโลกประสบปัญหาราคาธัญพืชเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเหตุภัยแล้งในปีนี้ ซึ่งมีแนวโน้มส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับราคาอาหารสัตว์ และเนื้อสัตว์ ทำให้ราคาข้าวโพดเพิ่มสูงขึ้น 20% และถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้นถึง 25% โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองนั้นถือเป็นต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ถึง 50%

ทั้งนี้ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้เรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาคงภาษีนำเข้าถั่วเหลื! องอย่างถาวร เนื่องจากไทยไม่สามารถผลิตถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองได้เพียงพอต่อความต้องการในการผลิตอาหารสัตว์



ที่มา : AllAboutFeed (23 ส.ค.55)

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ เผยแพร่แนวทางปฏิบัติเพื่อผลิตไข่ปลอดภัย


สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ได้เผยแพร่แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตไข่ไก่ เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการผลิตที่ถูกต้อง และส่งเสริมการใช้กฎระเบียบการผลิตไข่ไก่ของสหรัฐฯ ที่ประกาศเมื่อปี 2552 โดยกฎระเบียบดังกล่าวริเริ่มบังคับใช้ในผู้ผลิตที่มีจำนวนไก่ไข่มากกว่า 50,000 ตัว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 และเพิ่งมีผลบังคับใช้ครอบคลุมถึงผู้ผลิตขนาดกลางที่มีไก่ไข่ 3,000-50,000 ตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา

เป้าหมายของ FDA ที่ออกแนวทางปฏิบัติดังกล่าว เพื่อหยุดยั้งการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella ent! eritidis (SE) ตั้งแต่เพิ่มคำแนะนำในการปฏิบัติตามระเบียบที่ถูกต้อง ในการเก็บรักษาและขนส่งไข่ไก่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 45 ฟาเรนไฮต์ (ต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส) รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ผลิตไข่ไก่หันมาผลิตในโรงเรือนระบบปิดเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนเชื้อ ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตไข่ไก่ให้ความเห็นว่า มาตรการหยุดยั้ง SE ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตที่เลี้ยงไก่แบบปล่อยอิสระ

ขณะนี้ FDA กำลังอยู่ในขั้นตอนการประเมินประสิทธิภาพวิธีการใหม่สำหรับตรวจเชื้อ SE และเตรียมให้ภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้การตรวจพบเชื้อทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถแจ้งผู้ผลิตเพื่อจัดการหรือเรียกคืนสินค้าอย่างทันท่วงที



ที่มา : FoodSafetyNews (21 ส.ค.55)

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

น้ำตาลโลกพุ่งดันรายได้ปีนี้ 1.9 แสนล้าน



สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เผยประมาณการรายได้ฤดูกาลผลิต 2554/2555 เพิ่มเป็น 193,000 ล้านบาท สูงกว่าฤดูกาลก่อนถึง 13,000 ล้านบาท ด้วยเหตุราคาน้ำตาลจำหน่ายล่วงหน้า และปริมาณการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น

สำหรับเกษตรกร ราคาอ้อยขั้นปลายฤดูกาลผลิตจะอยู่ที่ตันละ 1,065 บาท ที่ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. และคาดว่าชาวไร่จะได้ราคาอ้อยขั้นปลายสูงกว่าตันละ 1,200 บาท เนื่องจากมีความหวานสูงกว่า 12 ซี.ซี.เอส ทั้งจะได้เงินค่าอ้อยอีกตันละ 154 บาท จากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายอีกด้วย

! ; ตลาดส่งออกน้ำตาลไทย 90% เป็นการส่งออกภายในทวีปเอเชีย โดยขายในอาเซียนถึง 40% ทั้งไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติยูโรโซน และปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ต่างจำกัดการนำเข้าอยู่แล้ว ทำให้มีสัดส่วนส่งออกเพียงภูมิภาคละ 0.5% โดย สอน. เตรียมขยายการส่งออกในอาเซียนเพื่อรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเตรียมติดตามให้อินโดนีเซียลดภาษีนำเข้าจาก 38% เหลือ 5% ตามข้อตกลงกับอาเซียน รวมทั้งขยายตลาดแอฟริกาที่มีแนวโน้มขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ และตะวันออกกลางที่มีกำลังซื้อในประเทศสูง



ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (20 ส.ค.55)


สหราชอาณาจักรเตรียมพิจารณารับรอง “สารต้านความหิว”สหราชอาณาจักรเตรียมพิจารณารับรอง “สารต้านความหิว”




“สารต้านความหิว” กำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณารับรองจากสำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (FSA) ให้สามารถเติมในผลิตภัณฑ์นม รวมไปถึงโยเกิร์ตได้ โดย “สารต้านความหิว” หรือสารกลุ่มเมธิลเซลลูโลส เคยมีการรับรองให้ใช้เป็นสารลดแรงตึงผิว สารเพิ่มความหนืด และสารให้ความคงตัว โดยพบว่าเมื่อเติมเมธิลเซลลูโลสจะทำให้สารละลายมีความเหนียวข้นเช่นเดียวกับการเติมเจลาติน แต่ยังไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มใยอาหาร

ขณะนี้คณะกรรมการที่ปรึกษาอาหารนวัตกรรมและกระบวนการ (ACNFP) ของ FSA ได้รับรองความปลอดภัยของเมธิลเซลลูโลส ในการผส! มผลิตภัณฑ์ประเภท ไอศกรีม เครื่องดื่มนมปรุงแต่ง ขนมที่มีส่วนผสมของนม โยเกิร์ต และโยเกิร์ตพร้อมดื่ม แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและทารก และเตรียมศึกษาต่อเนื่องสำหรับกระบวนการย่อยเมธิลเซลลูโลส รวมทั้งคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความอิ่มเพิ่มเติม

ACNFP กำลังเปิดรับความคิดเห็นต่อร่างผลการพิจารณาสารเมธิลเซลลูโลส และจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการพร้อมผลวิเคราะห์การใช้เมธิลเซลลูโลสในอาหาร




ที่มา : FoodNavigator (20 ส.ค.55)



วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กสิกรไทยแนะจับตาธุรกิจอาหารสัตว์ครึ่งหลังปี 55 เผชิญปัจจัยเสี่ยงราคาวัตถุดิบ

 


altบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ "ธุรกิจอาหารสัตว์ครึ่งหลังปี 2555 บริโภคและส่งออกอาเซียนยังเติบโต แต่ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงด้านราคาวัตถุดิบ" ระบุว่า

ปัจจุบันธุรกิจอาหารสัตว์ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศและการขยายของภาคปศุสัตว์ขนาดใหญ่แบบเข้มข้นขึ้น ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ การเติบโตอย่างรวดเร็วของสาขา Fast Food/Food Chain รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่ขยายช่องทางไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น นอกจากนี้แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ตลอดจนความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ในกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวและพำนักในประเทศไทย ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการบริโภคเนื้อสัตว์ให้เพิ่มขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ตลาดอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนนับเป็นอีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญในปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา เวียดนาม นอกจากนี้ธุรกิจอาหารสัตว์ของไทยยังขยายฐานการลงทุนไปยังประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจก็มีปัจจัยเสี่ยงในหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาด้านปริมาณและราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่บางปีผลผลิตข้าวโพดลดลง เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ทนแล้งและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน ส่งผลให้ผลผลิตในบางปีไม่เพียงพอ ต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านราคาต้นทุนวัตถุดิบที่มีความผันผวนซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ

ธุรกิจอาหารสัตว์ของไทยเป็นการผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศเป็นหลักถึงร้อยละ 94 โดยสัดส่วนปริมาณอาหารสัตว์ใช้ไปในไก่เนื้อและไก่ไข่เป็นหลักถึงร้อยละ 53 และสัดส่วนวัตถุดิบหลักได้แก่ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ข้าวและมันสำปะหลังถึงร้อยละ 60 โดยวัตถุดิบได้มาจากทั้งผลผลิตภายในประเทศและบางส่วนได้จากการทำการเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract farming) เนื่องจากบางปีไทยผลิตวัตถุดิบได้ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ซึ่งสถานการณ์อาหารสัตว์ของไทยในช่วงต้นปี 2555 พบว่าปริมาณความต้องการอาหารสัตว์สำเร็จรูปช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 18.3 เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปรับระบบเลี้ยงสัตว์ที่ดีขึ้น ลดความสูญเสียจากปัญหาโรคระบาดในสัตว์ ทำให้ประชากรสัตว์เพิ่มขึ้น และแนวโน้มความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งในและต่างประเทศที่ขยายตัว ส่งผลต่อการเติบโตของความต้องการอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี 2555 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความต้องการใช้อาหารสัตว์ขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยความต้องการอาหารสัตว์มีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีรองรับอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งออกสินค้าปศุสัตว์สำคัญ เช่น ผลิตภัณฑ์ไก่ ยังมีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามอาจได้รับแรงกดดันด้านราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบรายใหญ่ ซึ่งถ้าทิศทางราคาวัตถุดิบสูงขึ้นไม่ยาวนาน และหากไม่มีปัจจัยใดที่มากระทบต่อภาพรวมของธุรกิจอาหารสัตว์อย่างรุนแรง ก็คาดว่าธุรกิจอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลังยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงประมาณการว่าความต้องการใช้อาหารสัตว์ในปี 2555 อาจมีปริมาณ 15.0-15.5 ล้านตัน ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.0-8.0 และมากกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2548-2554 ที่ร้อยละ 5.4 โดยเป็นการใช้วัตถุดิบหลักคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอาหารสัตว์ที่ใช้เป็นการใช้ไปในไก่เนื้อและไก่ไข่เป็นหลัก โดยมีปัจจัยหนุนที่สำคัญในช่วงครึ่งปีหลัง ดังนี้
 การขยายตัวเพิ่มขึ้นของภาคปศุสัตว์ จากการวางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน มีกระบวนการควบคุมและเฝ้าระวังโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งราคาเนื้อสัตว์ที่อยู่ในเกณฑ์ดี เพื่อรองรับความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นจากทุกกลุ่มอายุ (โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ทั้งหญิงและชายบริโภคเนื้อสัตว์มากกว่าคนในต่างจังหวัด) และความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ในกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวและพำนักในประเทศไทย
 จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการเพิ่มขึ้นของรายได้ เนื่องจากอาหารเป็นสิ่งจำเป็นของผู้บริโภคทุกคน ดังนั้น จำนวนประชากรจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงโอกาสของปริมาณผู้บริโภค ตลอดจนรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคยังแสดงถึงความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าบริโภคที่เพิ่มขึ้นด้วย
 การเติบโตอย่างรวดเร็วของสาขา Fast Food/Food Chain รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่ขยายช่องทางไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น จากไลฟสไตล์ของผู้บริโภคยุคใหม่ และการขยายของวิถีชีวิตความเป็นเมืองมากขึ้นเน้นความสะดวกสบาย ทันสมัย โดยมีการนำเนื้อสัตว์มาขายในห้างสรรพสินค้ามากขึ้น แต่อาจมีราคาแพงกว่าตลาดสดเล็กน้อย แต่เน้นเนื้อสัตว์อนามัยมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องใส่ใจเรื่องคุณภาพอาหารสัตว์มากขึ้น เช่น อาหารสัตว์ premium เพื่อให้ได้สุขภาพสัตว์เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล
 การชะลอการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูป โดยรัฐบาลได้ออกประกาศราคาจำหน่ายปลีกแนะนำอาหารปรุงสำเร็จ ในร้านอาหารธงฟ้า/ร้านอาหารทั่วไป/ศูนย์อาหารในอาคารสำนักงาน/ศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้า เพื่อดูแลค่าครองชีพของผู้บริโภค (เนื่องจากเนื้อสัตว์และอาหารสัตว์เป็นสินค้าควบคุมจากกระทรวงพาณิชย์) ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลัง ที่คาดว่าจะทำให้ผู้บริโภคยังคงมีความสามารถในการบริโภคเนื้อสัตว์อย่างต่อเนื่อง
 เทศกาลสำคัญๆในช่วงครึ่งปีหลัง จะกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ เช่น เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่จะมีการบริโภคอาหารเพื่อเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก ส่งผลต่อผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ต้องเร่งการผลิตเนื้อสัตว์เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวด้วย
 แนวโน้มการส่งออกเนื้อสัตว์ที่ขยายตัว จากการที่สหภาพยุโรป หรือ EU ยกเลิกห้ามนำเข้าไก่สดของไทย และเนื้อไก่มีแนวโน้มเติบโตตามการรุกขยายตลาดส่งออกของผู้ประกอบการรายใหญ่ ตลอดจนไทยยังมีโอกาสส่งออกเนื้อไก่ในเม็กซิโกเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกทางตอนใต้ของเม็กซิโก ทางการจึงสั่งฆ่าไก่แล้วกว่า 8 ล้านตัว และรัสเซียมีแนวโน้มการนำเข้าไก่จากไทยมากขึ้น จากการที่รัสเซียรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตภัณฑ์ไก่จากไทยในช่วงเดือนเมษายน 2555 อาจส่งผลต่อความต้องการใช้อาหารสัตว์ไทยที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ในไทยเน้นผลิตและจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากไทยมีโรงงานอาหารสัตว์เอง แต่ระยะหลังมีการส่งออกมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายการเพาะเลี้ยง ที่ทั้งป้อนตลาดบริโภคในประเทศที่ประชาชนมีรายได้ดีขึ้น และการทำการเกษตรแบบพันธสัญญา (contract farming) ที่นักลงทุนต่างชาติรวมทั้งไทย มีแนวโน้มเข้าไปลงทุนในประเทศอาเซียนมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกอาหารสัตว์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของการผลิตทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนค่อนข้างน้อย โดยตลาดการส่งออกอาหารสัตว์ของไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์รายย่อย ในขณะที่ผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ในอาเซียนส่วนใหญ่ จะมีธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ของตนเองควบคู่ไปด้วย ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่ออกไปลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอาเซียนส่วนใหญ่ก็มีธุรกิจผลิตอาหารสัตว์นี้ด้วยเช่นกัน โดยรายได้ในต่างประเทศของธุรกิจอาหารสัตว์ไทย ส่วนใหญ่มาจากการออกไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตในต่างประเทศ ซึ่งโดยมากแล้วมักเป็นการผลิตเพื่อป้อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องของกลุ่มบริษัทตนเองในลักษณะธุรกิจการเกษตรแบบครบวงจร (โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงงานแปรรูป)
ปัจจุบันการส่งออกอาหารสัตว์เน้นตลาดส่งออกในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งตลาดอาเซียนคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 74.7 ของมูลค่าตลาดอาหารสัตว์ทั้งหมดของไทยในปี 2554 โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 พบว่า มีมูลค่าส่งออกอาหารสัตว์ไปยังกลุ่มอาเซียนสูงถึง 93.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 จากช่วงเดียวกันในปี 2554 ที่มีมูลค่า 72.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลที่ผ่านมาในช่วงปี 2545-2554 มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์ไปยังอาเซียนมีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 13.9 ต่อปี โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV อันประกอบด้วยประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 18.8 ต่อปี โดยมีปัจจัยบวกคือ กลุ่มประเทศในอาเซียนมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น ตลอดจนมีการขยายการเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ ทำให้ความต้องการอาหารสัตว์ขยายตัว และส่งผลต่อการค้าและการลงทุนในธุรกิจอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ตลาดอาเซียนจึงเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกอาหารสัตว์ในปัจจุบัน


อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาหารสัตว์มีวัตถุดิบที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรเป็นสำคัญ และผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสัตว์ในประเทศไทยขยายฐานการผลิตโดยหันไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ตลอดจนการเพาะเลี้ยงภาคปศุสัตว์แบบครบวงจรในแถบอาเซียนมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเหล่านั้น และเป็นการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อรองรับอุปสงค์อาหารสัตว์ที่จะเกิดเพิ่มขึ้นจากการเปิดเสรีการค้า-การลงทุนในอาเซียนในปี 2558 และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัจจัยลบต่างๆ ภายในประเทศที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ของไทย ซึ่งประเทศไทยยังมีศักยภาพในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตธุรกิจอาหารสัตว์ไทยจะเน้นเข้าไปลงทุนในต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงขึ้น ปัจจุบันจากการวิเคราะห์สัดส่วนรายได้ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสัตว์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พบว่า โครงสร้างรายได้มาจากรายได้จากบริษัทลูกในต่างประเทศประมาณร้อยละ 25
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าประเทศในอาเซียนที่มีความน่าสนใจในการลงทุนโดดเด่นที่สุด คือ กัมพูชา เพราะมีการขยายการเลี้ยงสัตว์อย่างมากเนื่องจากนโยบายต้องการลดการนำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ และเป็นโอกาสที่ไทยสามารถทำตลาดปศุสัตว์จากความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ เนื่องจากฟาร์มปศุสัตว์ในกัมพูชาเป็นแบบครัวเรือนไม่ใช่ฟาร์มขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รองมาคือเวียดนาม เนื่องจากอุปสงค์เนื้อสัตว์สูงโดยเฉพาะในเนื้อสุกร และขณะเดียวกันลาวก็มีแหล่งวัตถุดิบจำนวนมาก
สำหรับทิศทางการส่งออกอาหารสัตว์ในตลาดอาเซียน ยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยบวกในแต่ละประเทศของกลุ่มอาเซียน เช่น
 พม่า : แรงจูงใจด้านค่าจ้างแรงงาน และความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติ จึงเป็นตลาดที่ไทยมีโอกาสลงทุนสร้างโรงงานอาหารสัตว์และฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจร เนื่องจากมีแรงงานและวัตถุดิบรองรับ และการพัฒนาภาคปศุสัตว์ยังไม่ดีเท่าที่ควร
 มาเลเซีย : แนวโน้มความเป็นเมืองสูง พฤติกรรมการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น
 อินโดนีเซีย : จำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และเศรษฐกิจมีการเติบโตสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 การส่งออกอาหารสัตว์ยังคงขยายตัว โดยเน้นไปทางตลาดอาเซียนเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้มีอุปสงค์เนื้อสัตว์รองรับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ธุรกิจอาหารสัตว์เติบโตค่อนข้างดี แม้เผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โรคระบาดในสัตว์ ตลอดจนวิกฤติพลังงาน ทั้งนี้ คาดว่าตลอดทั้งปี 2555 มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์จะขยายตัวร้อยละ 15-20 หรือคิดเป็นมูลค่า 250-270 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในด้านการลงทุน คาดว่าผู้ประกอบการไทยรายใหญ่มีแผนที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น เช่น แผนในการตั้งโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ในประเทศกัมพูชา พม่า ลาว อินโดนีเซีย เป็นต้น
แม้ว่าสัญญาณการเติบโตของธุรกิจอาหารสัตว์ยังคงมีแนวโน้มที่ดี และมีแผนการลงทุนของผู้ประกอบการในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการควรระวังปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อความต้องการใช้อาหารสัตว์ และจะส่งผลต่อภาพรวมในการเติบโตของธุรกิจอาหารสัตว์ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวัง และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ มีดังนี้

ไทยยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์บางประเภท เนื่องจากไทยผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง ซึ่งถ้าหากไทยประสบปัญหาด้านการส่งมอบผลผลิตทางการเกษตรจากการทำการเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract Farming) กับประเทศคู่ค้าแล้ว อาจส่งผลต่อการผลิตและการส่งออกอาหารสัตว์ไทย
ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีความผันผวนขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ อันจะส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการอาหารสัตว์และราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้น เช่น การเกิดวิกฤติภัยแล้งในสหรัฐฯ อาจส่งผลต่อราคาข้าวโพดและถั่วเหลืองซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักของอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 โดยปัจจุบันราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 และราคาถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกถั่วเหลืองและข้าวโพดรายใหญ่ของโลก

แนวโน้มการแข่งขันที่สูงขึ้น จากการที่มีบริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เช่น เวียดนาม มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ของจีนอยู่มาก และการเกิดกลุ่มชนใหม่จากการย้ายถิ่นของแรงงานในอาเซียน เช่น การเพิ่มขึ้นของผู้บริหารสัญชาติสิงคโปร์ในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
การแย่งชิงทรัพยากรวัตถุดิบ มีการแย่งชิงพื้นที่และผลผลิตระหว่างภาคอาหารและพลังงาน จากแนวโน้มการนำมันสำปะหลังไปผลิตเอทาทอลมากขึ้น
โรคระบาดสัตว์ เช่น ไข้หวัดนก (Bird Flu) ,โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD), โรคไข้หวัดสุกร(PRRS) โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (PED) เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องอาศัยเทคโนโลยีในการทำฟาร์มให้มีมาตรฐานมากขึ้น เช่น ระบบปิด
กฎหมายในแต่ละประเทศ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การปฎิบัติต่อคนต่างชาติ และนโยบายในแต่ละประเทศ เช่น พม่า ไม่ต้องการให้ผลิตสินค้าแล้วส่งออก แต่ให้ผลิตแล้วขายในประเทศ ตลอดจนความไม่พร้อมด้านสาธารณูปโภค เช่น ระบบโลจิสติกส์ ไฟฟ้า-น้ำประปา
กล่าวโดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากไม่มีปัจจัยใดที่มากระทบต่อภาพรวมของธุรกิจอาหารสัตว์อย่างรุนแรง หรืออยู่ภายใต้ความสามารถในการบริหารจัดการทางด้านราคาวัตถุดิบของผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ ก็เชื่อว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลังยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยหนุนทางด้านความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่จะช่วยหนุนความต้องการใช้อาหารสัตว์ในปี 2555 คาดว่าปริมาณ 15.0-15.5 ล้านตัน ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.0-8.0 และมากกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 2548-2554 ที่ร้อยละ 5.4 โดยเป็นการใช้วัตถุดิบหลักคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอาหารสัตว์ที่ใช้เป็นการใช้ไปในไก่เนื้อและไก่ไข่เป็นหลัก
สำหรับด้านการส่งออกอาหารสัตว์ในช่วงครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์ยังคงขยายตัว โดยเน้นไปทางตลาดอาเซียนเป็นหลักโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้มีอุปสงค์เนื้อสัตว์รองรับอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าตลอดทั้งปี 2555 มูลค่าการส่งออกอาหารสัตว์จะขยายตัวร้อยละ 15-20 หรือคิดเป็นมูลค่า 250-270 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในด้านการลงทุน คาดว่าผู้ประกอบการไทยรายใหญ่มีแผนที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น
ประเด็นที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์ในระยะต่อไป
 ความต้องการบริโภคอาหารที่หลากหลาย ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ เน้นความสะดวก ทันสมัย จะหนุนการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น  ตลอดจนประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การขยายความเป็นเมือง
 ในระยะยาววัตถุดิบมีแนวโน้มตึงตัวและราคาสูงขึ้น
 การแย่งชิงพื้นที่และผลผลิตระหว่างภาคอาหารและพลังงาน
 ปัญหาโลกร้อนและความแปรปรวนของสภาพอาหาร จะส่งผลให้อุปทานผลผลิตมีความผันผวน
 R&D และการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรและการผลิต มีผลต่อการแข่งขันในธุรกิจ
 ยังต้องติดตามประเด็น EU GSP และ NTMs ต่างๆ เช่น สุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และแรงงาน

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อูกันดาคิดสูตรอาหารเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่โค


อาหารสูตรเพิ่มน้ำนมแม่โค คิดค้นจากมหาวิทยาลัย Makerere ในอูกันดา โดยได้รับเงินทุนในการวิจัยจากกองทุนสนับสนุนของธนาคารโลก ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งอูกันดา ในสูตรอาหารมีการใช้วัตถุดิบหลักได้แก่ กากน้ำตาล ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล ผลการทดลองใช้อาหารดังกล่าวพบว่า เมื่อให้แม่โคบริโภคอย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ถึง 30% โดยมีการยืนยันรับรองผลเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ในขณะนี้อาหารสูตรเพิ่มน้ำนมดังกล่าวที่มีต้นทุนเพียง 4 ดอลลาร์สหรัฐ (125 บาท) ต่อปริมาณ 5 กิโลกรัม ได้กระจายสู่เกษตรกร! ทั่วประเทศอูกันดาแล้ว
ที่มา : AllAboutFeed (15 สิงหาคม 2555 )