หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ยูเครนประกาศห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจาก 7 เขตการปกครองของจีน


หน่วยงานบริการทางสัตวแพทย์และความปลอดภัยทางชีวภาพของยูเครน แถลงเกี่ยวกับประกาศห้ามนำเข้าสัตว์ปีกจาก 7 เขตการปกครองของจีน ได้แก่ มณฑลกานซู มณฑลเหลียวหนิง มณฑลยูนนาน เขตปกครองตนเองธิเบต เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และเกาะไต้หวัน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง (HPAI - Highly Pathogenic Avian Influenza) ในพื้นที่ดังกล่าว



ที่มา : Kyivpost/ThePoultrySite
(18 ก.ค.55

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผู้ป่วยจากเชื้อ Salmonella ในสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 144 ราย



ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐฯ รายงานผู้ป่วยเพิ่มเติม 21 ราย ในมลรัฐแอริโซนา เมน แมสซาชูเซทส์ มิชิแกน นอร์ธแคโรไลนา โอไฮโอ เพนซิลวาเนีย เทนเนสซี และเวอร์จิเนีย ซึ่งสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ Salmonella สามสายพันธุ์ รวมจำนวนผู้ป่วยทั่วสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 22 มิถุนายน 2555 เป็น 144 ราย ในจำนวนดังกล่าวมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างชัดเจน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการสาธารณสุขให้สัมภาษณ์กรณีการระบาดของ Salmonella ดังกล่าวว่า มีผู้ป่วยจำนวน 82 คน ที่ผ่านการสัมผัสไก่และเป็ดมีชีวิต และ 53 คนที่มีบันทึกการซื้อขายลูกไก่และลูกเป็ดจากฟาร์มเพาะเลี้ยงแห่งหนึ่งในโอไฮโอ



ที่มา : MeatPoultry (13 ก.ค.55)

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คลื่นความร้อนสหรัฐฯ ส่งราคาถั่วเหลืองเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์



พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนกว่า 38 องศาเซลเซียสเป็นวงกว้าง ส่งราคาถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เท่ากับช่วงปี 2550-2551 ที่เกิดวิกฤติการณ์อาหาร ตลาดโภคภัณฑ์ CBOT เมืองชิคาโก คาดราคาถั่วเหลืองเดือนกรกฎาคม 2555 แตะระดับ 475 ดอลลาร์สหรัฐ/2000 ปอนด์ (16.72 บาท/กิโลกรัม)

สภาพอากาศดังกล่าวยังส่งผลถึงราคาซื้อขายล่วงหน้าของข้าวโพดในช่วงเดือนธันวาคมจะพุ่งสูงขึ้นถึง 37% จากสามสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 7.13 ดอลลาร์สหรัฐ/บุชเชล (8.98 บ! าท/กิโลกรัม) ทำให้ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมปศุสัตว์ทั้งไก่และสุกรจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การแข่งขันราคาผลผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดยังส่งผลถึงราคาข้าวสาลีตลาด CBOT ที่ขยับตัวตาม โดยมีราคาเพิ่มสูงขึ้น 5.2% มาอยู่ที่ 8.225 ดอลลาร์สหรัฐ/บุชเชล (10.36 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งเป็นราคาสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ซึ่งในขณะนั้นได้รับผลกระทบจากการห้ามส่งออกธัญพืชของรัสเซีย




ที่มา : AllAboutFeed (10 ก.ค.55)

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายงานผลการทบทวน EFSA ยืนยันสุกร-โคโคลนนิ่งปลอดภัยสำหรับบริโภค


หน่วยงานความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (EFSA) รายงานผลการศึกษาทบทวนยืนยันความปลอดภัยในการบริโภคปศุสัตว์ที่ได้จากการทำโคลนนิ่ง ซึ่งเป็นรายงานฉบับต่อเนื่องจากผลการประเมินในปี 2552 และ 2553 ยืนยันงานวิจัยย้อนหลังถึงความปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ทั้งเนื้อและนมจากสุกรและโคโคลนนิ่ง ว่าไม่มีความแตกต่างจากปศุสัตว์ปกติ

ทั้งวิธีการผสมเทียมหลอดแก้ว (In vitro fertilization - IVF) และวิธีการถ่ายฝากนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย (Somatic Cell Nuclear Transfer - SCNT) เป็นวิธีที่ใช้สำหรับทำโคล! นนิ่งปศุสัตว์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ประเด็นปัญหาหนึ่งว่า SCNT ยังมีการสูญเสียตัวอ่อนในอัตราสูงทั้งระยะปริกำเนิด (ช่วงอายุครรภ์ก่อนคลอดถึงหลังคลอด) ระยะวัยอ่อน ไปจนถึงการแท้ง ซึ่งอัตราผลิตตัวอ่อนสำเร็จมีเพียง 6-15% ในโค และ 6% ในสุกรเท่านั้น ในขณะที่ IVFได้ผลถึงประมาณ 45-60%

ดาวน์โหลดรายงานผลการทบทวนของ EFSA : http://www.efsa.europa.eu/en/efsajournal/doc/2794.pdf



ที่มา : FoodNavigato (9 ก.ค.55)

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อียูอาจตัดสิทธิจีเอสพีไทย



สหภาพยุโรป (อียู) มีแนวโน้มเตรียมตัดสิทธิจีเอสพีสินค้า 57 รายการของไทยที่มีส่วนแบ่งตลาดเกินระดับที่กำหนด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ กล้วยไม้ มะละกอ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูป อาหารสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง อาหารสัตว์ แป้ง ยางรถจักรยานยนต์ ผ้าผืน เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยสินค้าทั้งหมดมีมูลค่าการส่งออกไปยุโรปเฉลี่ย 3 ปี 2552-2554 มูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท) ด้วยเหตุผลรายได้ต่อหัวของไทยเกินเกณฑ์ที่อียูกำหนด 3,700 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 130,000 บาท) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของอียูในการให้สิทธิจีเอสพีนั้น ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์เตรียมการเจรจาเพื่อคงสิทธิจีเอสพีของไทย และจะส่งเจ้าห! น้าที่เดินทางไปชี้แจงที่อียูช่วงปลายกรกฎาคมนี้

คาดว่าการตัดสิทธิจีเอสพีของอียูจะมีผลทางปฏิบัติในเดือนมกราคม 2557 สำหรับผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูปที่จะได้รับผลกระทบต้องเสียภาษีจากอัตราเดิม 7% สูงขึ้นเป็นถึง 20% ซึ่งอาจเสียเปรียบคู่แข่งเช่น เวียดนาม มาเลเซีย ผู้ประกอบการไทยบางรายได้เตรียมรับมือโดยเตรียมใช้ฐานการส่งออกจากเวียดนาม และมาเลเซียทดแทน ทั้งเสนอการดำเนินการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ โดยเฉพาะการเปิดเจรจาเอฟทีเอกับอียู ซึ่งเคยเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลของมาเลเซีย



ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (6 ก.ค.55)

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เม็กซิโกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไข้หวัดนก


รัฐบาลเม็กซิโกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไข้หวัดนกเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 หลังพบสัตว์ปีกติดเชื้อกว่า 1.7 ล้านตัว ซึ่งถูกทำลายหรือตายไปกว่าครึ่งภายหลังจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ยืนยันสถานการณ์ระบาดของโรค ซึ่งรัฐบาลเม็กซิโกได้เตรียมพร้อมในการกักกันปศุสัตว์ ทำลายปศุสัตว์ที่เป็นโรคหรือกลุ่มเสี่ยง ให้วัคซีน และทำลายผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนเชื้อ

เชื้อไข้หวัดนกที่พบระบาดตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2555 นี้เป็นสายพันธุ์ H7N3 ซึ่งสามารถติดต่อจากสัตว์ปีกไปยังมนุษย์ได้ แต่ยังไม่พบรายงานว่าสามารถติดต่อระห! ว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ไวรัสไข้หวัดนก H7N3 ถือเป็นไวรัสในกลุ่มไข้หวัดใหญ่ เช่นเดียวกับไวรัสไข้หวัดนก H5N1 และไวรัสไข้หวัดสุกร H1N1 เม็กซิโกได้จับตาเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องจากเหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้หวัดสุกรในปี 2552 ซึ่งไวรัส H1N1 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกและเป็นสาเหตุคร่าชีวิตผู้คนกว่า 17,000 ราย



ที่มา : Hindustantimes (5 ก.ค.55)




วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มสิทธิสัตว์เรียกร้องให้สหรัฐฯ ห้ามนำเข้าแซลมอนเลี้ยงจากสกอตแลนด์


กลุ่มสิทธิสัตว์ GAAIA และ SOSF เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ ระงับการนำเข้าแซลมอนเลี้ยงจากสกอตแลนด์ และยังขอให้ร้านค้าปลีกระงับการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่พบว่ากระบวนการเลี้ยงเป็นอันตรายต่อแมวน้ำ

ทั้งสองกลุ่มที่ต่อต้านให้เหตุผลว่า จากการสำรวจของรัฐบาลสกอตแลนด์ในปี 2554 พบว่าฟาร์มแซลมอนกว่า 80% ไม่มีการขึงตาข่ายป้องกันสัตว์ผู้ล่า (anti predator nets) แต่ใช้วิธีการฆ่าแมวน้ำที่บุกรุกพื้นที่เลี้ยงปลาแทน ทั้งนี้ได้เรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐบังคับใช้กฎหมายห้ามนำเข้า และคาดหวังให้รัฐบาลสหรัฐ! ฯ ผลักดันให้มีการติดตั้งตาข่ายดักแมวน้ำ และอยากให้ทั้งผู้บริโภค ผู้จำหน่าย และร้านอาหารยกเลิกการสั่งซื้อแซลมอนจากบริษัทที่สนับสนุนการฆ่าแมวน้ำอีกด้วย



ที่มา : TheFishSite (4 ก.ค.55)

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ พัฒนาสารประกอบอินทรีย์ฆ่าเชื้อก่อโรค



นักวิจัยจากหน่วยงานวิจัยด้านการเกษตร (ARS) กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้พัฒนาสารประกอบอินทรีย์ที่มีส่วนผสมของคลอเรตและสารประกอบไนโตร ที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อก่อโรคแทนสารปฏิชีวนะในอนาคต ซึ่งสามารถกำจัดได้ทั้ง Salmonella และ E. coli สายพันธุ์ O157:H7 ที่มีการผลิตสารพิษ Shiga Toxin

เชื้อ Salmonella ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร ซึ่งสหรัฐฯ ต้องสูญเสียงบประมาณรักษาผู้ป่วยกว่า 1.3 ล้านราย ถึงปีละ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.7 หมื่นล้านบาท) นอกจากนี้ทั้ง Salmonella และ E. coli ยังทำให้เกิดการสูญเสียปศุ! สัตว์จากโรคลำไส้ในสัตว์วัยอ่อนทั้งสุกรและโค

งานวิจัยก่อนหน้านี้ได้เคยแสดงให้เห็นผลของสารประกอบคลอเรต ซึ่งเมื่อผสมในน้ำดื่มหรืออาหารให้แก่โค พบว่าช่วยลดปริมาณเชื้อ E. coli และยังพบว่าสามารถลดเชื้อ Salmonella ในไก่งวงและไก่เนื้ออีกด้วย ซึ่งการศึกษาต่อเนื่องพบว่า เมื่อผสมสารประกอบไนโตรจะทำให้ประสิทธิภาพของคลอเรตดีขึ้น 10 ถึง 100 เท่า นักวิจัยสรุปประโยชน์ของสารประกอบดังกล่าวว่า จะสามารถใช้แทนสารปฏิชีวนะเพื่อควบคุมโรคทางเดินอาหารในสัตว์วัยอ่อนได้เป็นอย่างดี


ที่มา : ThePigSite (3 ก.ค.55)


สหรัฐฯ เตรียมเพิ่มชนิดสารตกค้างที่ต้องตรวจสอบในผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์



เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 หน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) ประกาศเพิ่มรายชื่อสารตกค้างที่ต้องตรวจสอบในผลิตภัณฑ์เนื้อ เนื้อสัตว์ปีก และไข่ โดยจะใช้วิธีการตรวจสอบที่พัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะสามารถตรวจสอบสารกำจัดวัชพืช 55 ชนิด สารปฏิชีวนะ 9 ชนิด โลหะหนัก และสารเคมีอื่นๆ อีกกว่า 50 ชนิด ในตัวอย่างเดียวได้ จากเดิมที่ต้องใช้ตัวอย่างถึง 300 ตัวอย่างจากปศุสัตว์ 300 ตัว

นอกจากนี้ทาง FSIS ยังเตรียมเพิ่มจำนวนการสุ่มเก็บตัวอย่างจากสัตว์ในโรงเชือด จากปัจจุบันสุ่มเพียง 300 ตัวอย่างต่! อปีในสัตว์ 1 ชนิด เพิ่มเป็น 800 ตัวอย่าง ซึ่งหากพบตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนสารตกค้างเกินค่าที่กำหนด ทาง FSIS จะแจ้งต่อไปยัง USFDA เพื่อทบทวนแนวปฏิบัติทางผู้ผลิตที่ส่งสัตว์หรือสัตว์ปีกให้โรงเชือด และ FSIS อาจแจ้งให้โรงเชือดเพิ่มการตรวจสอบและการทบทวน

ประกาศนี้จะเผยแพร่ใน Federal Register ประมาณวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 และหลักเกณฑ์การตรวจสอบแบบใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังประกาศใน Federal Register




ที่มา : MeatPoultry (3 ก.ค.55)

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กรมปศุสัตว์จับมือ FAO-OIE เล็ง 2563 ปากเท้าเปื่อยสูญพันธุ์



งานประชุม "FAO/OIE Global Conference on FMD Control ครั้งที่ 2" ที่จัดขึ้น ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี เมื่อวันที่ 27-29 มิถุนายน 2555 มีการเปิดเผยข้อมูลจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ว่าตั้งเป้าที่จะกำจัดโรคปากเท้าเปื่อยให้หมดไปภายในปี 2563 โดยถือว่าเป็นเป้าหมายร่วมกันของทุกประเทศ สำหรับประเทศไทยมีภาคตะวันออกที่สามารถควบคุมให้ปลอดโรคมาได้เป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว ซึ่งกรมปศุสัตว์จะยื่นเรื่องให้ OIE ตรวจสอบรับรองเป็นพื้นที่ปลอดโรคระบาดภายในเดือนพฤศจิกายน คาดว่าภายในปี 2556 จะตรวจประเมินเสร็จและสามารถประกาศรับรองได้

! นอกจากนี้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ OIE ยังได้เปิดเผยกลยุทธ์ควบคุม FMD ระดับโลก

ตามรายละเอียดดังนี้
http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=07&id=10514




ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ (3 ก.ค.55)

สมาคมกุ้งไทยชี้ปัญหาจีเอสพีของอียูส่งผลวิกฤติภาคส่งออก


นายกสมาคมกุ้งไทยให้สัมภาษณ์กรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้ประกาศปรับเปลี่ยนเกณฑ์การให้สิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี) ทำให้สินค้ากุ้งได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีใหม่ว่า กุ้งดิบต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 12% จากเดิม 4.2% ส่วนกุ้งสุกและกุ้งปรุงแต่งจะต้องเสียภาษีในอัตรา 20% จากเดิม 7% ในขณะที่มาเลเซียที่เป็นคู่แข่งสำคัญได้ทำเอฟทีเอกับอียูแล้ว ส่วนเวียดนาม อินเดีย จีน อินโดนีเซีย แม้ไม่ได้ทำเอฟทีเอแต่ก็มีอัตราภาษีที่ได้เปรียบกว่าไทย ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องหาแนวทางช่วยเหลือเจรจาเรื่องจีเอสพีเพื่อให้ไทยไม่ต้องถูกเรียกเก็บอัตราสูงสุดเพียงประเทศเดียว หรือเจรจาขอเอฟทีเอกับอียูโดยเร็ว

! ; แนวโน้มจากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้การส่งออกกุ้งของไทยไปอียู ลดลงจาก 20-25% ของการส่งออกทั้งหมด เหลือเพียงไม่ถึง 5% และจะส่งผลกระทบต่อทั้งเกษตรกรและแรงงาน-ผู้เกี่ยวข้องในระบบกว่า 2 ล้านคนอีกด้วย ซึ่งในขณะนี้เฉพาะสถานการณ์นำเข้าลดลงของสหรัฐฯ ทำให้กุ้งไทยมียอดส่งออกไปยังตลาดสหรัฐลดลงถึง 25% เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเดือน ม.ค.-เม.ย. ของปีนี้กับปี 2554 แล้ว

ทั้งนี้ ในปี 2540 เคยมีเหตุการณ์ตัดสิทธิจีเอสพีของไทย ซึ่งทำให้ไทยเสียตลาดส่งออกกุ้งให้กับประเทศคู่แข่ง และปริมาณการส่งออกลดลงเหลือไม่กี่ร้อยตันจากที่เคยส่งออกได้ 30,000 ตัน


ที่มา : ฐานเศรษฐกิจออนไลน์ (3 ก.ค.55)