หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์แพร่ระบาดไข้หวัดนกในเอเชียช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย. 55



องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รับรายงานสถานการณ์ไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง โดยแผนเฝ้าระวังที่ดำเนินการครอบคลุมทั้งฟาร์มปศุสัตว์ ตลาดค้าสัตว์ปีก ไปจนถึงร้านขายสัตว์เลี้ยง ได้เก็บตัวอย่างซากนกกระติ๊ดขี้หมู (Lonchura punctulata) ที่เป็นนกประจำถิ่นของฮ่องกง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555 และพบว่ามีผลตรวจไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงเป็นบวก ซึ่งได้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังสำหรับฟาร์มไก่ในรัศมี 3 กิโลเมตรจากจุดที่พบซากนกแล้ว

นอกจากนี้รายงานอย่างไม่เป็นทางการ พบว่าในเมืองเดียนเบียนฟูของเวียดนาม มีการระ! บาดของไข้หวัดนก ทำให้ต้องทำลายสัตว์ปีกกว่า 7,000 ตัว ส่วนประเทศอินโดนีเซีย รายงานล่าสุดในเดือนเมษายน 2555 มีอัตราการพบไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงตั้งแต่ 1.4 ถึง 18.1 ต่อ 1,000 หมู่บ้าน โดยพบมากสุดอยู่ในเกาะบาหลี

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.aphca.org/dmdocuments/HPAI_update_120621.pdf

อ่านข่าวย้อนหลังสถานการณ์ได้ที่
http://www.acfs.go.th/news_detail.php?ntype=07&id=10362



ที่มา : มกอช. (29 มิ.ย.55)





วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ คิดค้นวิธียับยั้งแบคทีเรียก่อโรคแทนการใช้สารปฏิชีวนะ


นักวิทยาศาสตร์ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้พัฒนาวิธีการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคแทนการใช้สารปฏิชีวนะ โดยใช้แบคเทอริโอฝาจ หรือไวรัสที่ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งผลิตเอนไซม์ที่สามารถฆ่าแบคทีเรียกลุ่มก่อโรค เช่นเชื้อกลุ่ม Streptococci หรือเชื้อ Staphylococcus aureus ที่ดื้อยา methicillin รวมทั้งสามารถออกแบบแบคเทอริโอฝาจให้สามารถผลิตเอนไซม์ทำลายแบคทีเรียแบบจำเพาะ ซึ่งช่วยลดโอกาสที่จะกระตุ้นการดื้อยาของเชื้อนอกเป้าหมาย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พัฒนาสารควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในอาหารที่สะสมในส่วนลำไส้ข! องปศุสัตว์เช่น Salmonella และ E. coli สายพันธุ์ O157:H7 โดยใช้สารกลุ่ม Chlorate และ nitro compounds
ไปจนถึงงานวิจัยที่มุ่งลดปัญหาโรคติดต่อในฟาร์ม เช่น โรค Coccodiosis และการควบคุมเชื้อ Clostridium
ที่ก่อให้เกิดโรคลำไส้อักเสบในไก่ โดยใช้วิธีร่วมทั้งอาหารเสริม จุลินทรีย์โพรไบโอติก สารสกัดจากพืช และสารที่ผลิตจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.ars.usda.gov/is/AR/archive/may12/animal0512.htm



ที่มา : FoodProductDesign (27มิ.ย.55)

EFSA พบว่าถั่วเหลือง GM ปลอดภัยสำหรับการเพาะปลูก



คณะกรรมการพิจารณาด้าน GMO ของหน่วยงานความปลอดภัยอาหารยุโรป (EFSA) ลงความเห็นว่าถั่วเหลืองตัดต่อพันธุกรรมเพื่อต้านทานสารกำจัดวัชพืช Glyphosate สายพันธุ์ 40-3-2 ของบริษัทมอนซานโต ไม่ส่งผลกระทบหรือมีผลน้อยมากต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองสายพันธุ์ทั่วไป แต่ในส่วนของผลกระทบต่อแมลงผสมเกสร โดยเฉพาะผึ้งตัวเต็มวัย ยังต้องมีการศึกษาทดลองต่อไปเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดในขณะนี้

คณะกรรมการพิจารณาฯ ให้ความเห็นว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการเพาะปลูกถั่วเหลือง 40-3-2 อาจจะขึ้นอยู่กับการใช้สารกำจัดว! ัชพืช Glyphosate ซึ่งมี 4 ประการคือ ลดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงกลุ่มวัชพืชรอบบริเวณ การที่วัชพืชเกิดการดื้อยา และการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในดิน ดังนั้นต้องมีการควบคุมการใช้ Glyphosate เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้



ที่มา : AllAboutFeed (27 มิ.ย.55)

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อียูปรับปรุงรายชื่อสารเสริมโภชนาการอาหารสัตว์ใหม่


คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศรายชื่อสารเสริมโภชนาการอาหารสัตว์ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 145 ซึ่งมีการปรับปรุงการอนุญาตตามรายชื่อที่ระบุภายใต้มาตรา 17 ของกฎระเบียบ Regulation (EC) No 1831/2003 ว่าด้วยสารเสริมโภชนาการอาหารสัตว์

ศึกษากฎระเบียบ Regulation (EC) No 1831/2003 ได้ที่
http://irmm.jrc.ec.europa.eu/SiteCollectionDocuments/EC-1831-2003.pdf

ดาวน์โหลดรายชื่อที่ม! ีการปรับปรุงได้ที่
http://ec.europa.eu/food/food/animalnutrition/feedadditives/comm_register_feed_additives_1831-03.pdf


ที่มา : PigProgress (26/06/55)

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ร่างแนวทางปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมของสัตว์ GM ในอียู



หน่วยงานความปลอดภัยอาหารของยุโรป (EFSA) เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแนวทางการประเมินความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Risk Assessment; ERA) ของสัตว์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (GM) โดยมุ่งเน้นที่ปลา แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนก ซึ่งในอนาคตการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มดังกล่าว จะต้องมีข้อมูลการวิเคราะห์และขั้นตอนการทำ ERA ประกอบเป็นหลักฐานในการดำเนินการขออนุญาตจำหน่าย

EFSA กำหนดวันสิ้นสุดการรับฟังความคิดเห็นวันที่ 31 สิงหาคมนี้

&nb! sp; ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
http://www.efsa.europa.eu/en/press/news/120621.htm
http://www.efsa.europa.eu/en/consultations/call/120621.htm



ที่มา : มกอช. (25/06/55)

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สหรัฐฯ ผลิตสารต้านพิษที่สามารถเข้าจับหลายเป้าหมายสำเร็จ



นักวิจัยสหรัฐฯ ค้นพบวิธีการสร้างสารต้านพิษ (antitoxin) ที่มีคุณสมบัติดียิ่งขึ้น โดยนอกจากจะทำให้สารพิษจากเชื้อโรคเช่น Clostridium botulinum (สาเหตุโรคโบทูลิสม์) หรือ E. coli ที่ผลิต Shiga toxin เช่น Strain O157:H7 เสื่อมสภาพแล้ว ยังมีคุณสมบัติช่วยกำจัดสารพิษดังกล่าวออกจากร่างกายอีกด้วย

การผลิตสารต้านพิษดังกล่าวทำได้ด้วยวิธีผลิตแอนติบอดีที่ออกแบบให้เข้าจับโมเลกุลสารพิษในหลายตำแหน่ง อีกทั้งยังสามารถจับได้หลายชนิดโดยใช้แอนติบอดีเดี่ยวในลักษณะเช่นเดียวกับโครงสร้างสายร้อยลูกปัด (bead on a string) ที่สำ! คัญคือสามารถผลิตได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำ รวมทั้งคงทนต่อการเก็บรักษาเป็นระยะเวลานาน


ที่มา : FoodSafetyNEWS (21มิ.ย.55)

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นักวิจัยรัสเซียชี้ GM-feed อาจกระทบระบบสืบพันธุ์สัตว์



ผลการวิจัยของรัสเซียพบว่าสัตว์ที่กินอาหารผสมถั่วเหลืองป่นที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (GM) มีการเจริญเติบโตและพัฒนาระบบอวัยวะช้ากว่าปกติ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้อัตราส่วนเกิดลูกตัวเมียเพิ่มขึ้น และยังลดจำนวนลูกต่อครอก ไปจนถึงผลระยะยาวต่อการอุ้มท้องลูกครอกถัดไปถั่วเหลืองป่นที่ใช้ในการวิจัย ปัจจุบันมีการอนุญาตให้ปลูกในรัสเซีย ทั้งยังมีการใช้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ รัสเซียกำลังพิจารณากฎหมายใหม่ "On Veterinary" ซึ่งมีการเสนอให้บรรจุการห้ามปลูกพืช GM รวมทั้งห้ามใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ในกฎหมายดังกล่าวด้วย



ที่มา : AllAboutFeed (20มิ.ย.55)


บริโภคเนื้อสัตว์ออแกนิค (organic meats) อาจเพิ่มความเสี่ยงโรค Toxoplasmosis


ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงวารสาร Clinical Infectious Disease วันที่ 22 พฤษภาคม 2555 พบว่า สุกรและแกะที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระ มีแนวโน้มความเสี่ยงของโรค Toxoplasmosis เพิ่มขึ้น เนื่องจากสัตว์ดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะกินอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อ หรือนกและสัตว์ป่าที่มีเชื้อระยะติดต่อ (oocysts) นอกจากนี้ในการล่าสัตว์ เช่น กวาง ก็มีความเสี่ยงที่จะพบเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii สาเหตุของโรคนี้เช่นกัน การได้รับเชื้อดังกล่าวก่อให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบเฉียบพลัน ทั้งยังอาจเกิดความผิดพลาดในการวินิจฉัย เนื่องจากอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เป็นไข้ ที่คล้ายกับเป็นไข้หวัด ทั้งเชื้อโรคยังสามารถเข้าสู่ระบ! บรกและทารกในครรภ์มารดา ซึ่งทำให้เกิดการแท้งหรือทำลายระบบประสาท ผู้ที่ได้รับเชื้อ Toxoplasma บางรายที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยจากโรค Toxoplasmosis ประมาณ 4,000 ราย และเสียชีวิตถึง 300 รายกระทรวงเกษตรของสหรัฐ (USDA) ให้คำแนะนำในการปรุงเนื้อสัตว์เพื่อให้ปลอดภัยดังนี้- ชิ้นเนื้อสัตว์ตัดแต่ง (สุกร แกะ และโค) ปรุงที่อุณหภูมิขั้นต่ำ 145 องศาฟาเรนไฮต์ (63 องศาเซลเซียส) คงที่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 นาที- เนื้อสัตว์บด ปรุงที่อุณหภูมิขั้นต่ำ 160 องศาฟาเรนไฮต์ (71 องศาเซลเซียส)- เนื้อสัตว์ปีก ปรุงที่อุณหภูมิขั้นต่ำ 165 องศาฟาเรนไฮต์ (73 องศาเซลเซียส)

นอกจากนี้การแช่แข็งเนื้อสัตว์ (ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส) เป็นระยะเวลาหลายวัน จะช่วยลดปริมาณ oocyst ได้เป็นอย่างมาก อีกทั้ง USDA แนะนำว่า เพื่อลดความเสี่ยงของโรค Toxoplasmosis หรือการป่วยจากอาหาร ควรล้างมือทุกครั้งหลังใช้ห้องน้ำ ก่อนและหลังประกอบอาหาร และไม่ควรล้างเนื้อสัตว์ก่อนปรุงอาหารทั้งนี้อาหารที่มีความเสี่ยงสูงที่จะพบเชื้อ Toxoplasma ได้แก่ เนื้อสัตว์บด เนื้อแกะทั้งดิบและสุก นมแพะที่ยังไม่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ เนื้อสัตว์ที่ได้จากการล่า ไปจนถึงเนื้อสัตว์จำพวกหอยที่ยังไม่ได้ปรุงสุก

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
http://cid.oxfordjournals.org/content/early/2012/05/21/cid.cis508.abstract
http://www.cdc.gov/parasites/toxoplasmosis/gen_info/faqs.html



ที่มา : FoodPoisoningBulletin (20มิ.ย.55)

ออสเตรเลียตั้งกองทุนวิจัยเฮนดราไวรัส


ออสเตรเลียเพิ่มการสนับสนุนงบประมาณกองทุนวิจัยเฮนดราไวรัสอีก 2 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 65 ล้านบาท) ในอีก 6 โครงการใหม่เพื่อศึกษาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส การหาวิธีป้องกันการติดเชื้อ และวิธีตรวจสอบเชื้อไวรัสที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้งบประมาณกองทุนวิจัยดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 9 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 290 ล้านบาท) ด้วยซึ่งเป็นกองทุนร่วมระหว่างรัฐบาลกลาง รัฐบาลของรัฐควีนสแลนด์และนิวเซาธ์เวลส์ ที่ริเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งทั้ง 6 โครงการ จะมีระยะเวลา 3 ปีเฮนดราไวรัสเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งพบครั้งแรกในม้าที่รัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย โดยมนุษย์สามารถติดเชื้อจากกา! รสัมผัสในช่วงม้าป่วย อีกทั้งเกิดภาวะสมองอักเสบต่อเนื่อง ทั้งพบว่าค้างคาวผลไม้ในสกุล Pteropus เป็นแหล่งรังโรคอีกด้วย


ที่มา : Beefcentral (20มิ.ย.55)


วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาสวัสดิภาพสัตว์กับการคัดทิ้งโคที่เป็นวัณโรค


 
                วัณโรคในโค (bovine tuberculosis) กำลังเป็นปัญหาทั้งในด้านเศรษฐกิจและสวัสดิภาพสัตว์ เนื่องจากหากฟาร์มที่มีปัญหาการทำลายปศุสัตว์ที่เป็นโรค ไม่ต้องการซื้อโคมาทดแทน แต่ใช้การผสมพันธุ์เพื่อผลิตลูกโคทดแทน ซึ่งอาจจะได้จำนวนไม่เพียงพอและไม่ทันต่อความต้องการ

                จากเหตุผลด้านการลดอัตราการคัดทิ้ง และรักษาปริมาณการผลิตให้คงที่ ทำให้ปศุสัตว์ที่ควรจะถูกคัดทิ้งจากปัญหา เช่น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เต้านมอักเสบ หรืออาการป่วยอื่นๆ ยังคงอยู่
 
 
ที่มา : TheDairySite (18มิ.ย.55)

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

APHIS ออกใบอนุญาตแบบมีเงื่อนไขสำหรับวัคซีน FMD



สำนักงานตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์สหรัฐฯ (APHIS) ออกใบอนุญาตแบบมีเงื่อนไขสำหรับวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ให้กับบริษัท GenVec Inc. เป็นรายแรก เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยจะอนุญาตให้ผลิตใช้ได้ เมื่อมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของโรค FMD ในโค-กระบือ

วัคซีนดังกล่าวผลิตโดยใช้เทคโนโลยี Adenovector ซึ่งเป็นการใช้ไวรัสประเภท Adenovirus ในการนำยีนผลิตโปรตีนต่อต้านเชื้อเข้าสู่สิ่งมีชีวิตเป้าหมาย ทำให้ไม่ต้องใช้เชื้อก่อโรคทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายเพื่อการสร้างภูมิคุ้มกัน



ที่มา : MeatPoultry (15 มิถุนายน 2555)

พบไข้หวัดนกระบาดในกัมพูชาและบังกลาเทศ



บังกลาเทศ: พบไข้หวัดนกในฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ 21 จาก 85 ฟาร์ม ทำให้ต้องทำลายปศุสัตว์ 46,000 ตัว ในช่วงก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน เพื่อจัดทำแผนการฉีดวัคซีน ทั้งนี้บังกลาเทศมีคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาแห่งชาติตั้งแต่ปี 2552 เพื่อประเมินและหาแนวทางการป้องกันและกำจัดโรคไข้หวัดนกในประเทศ

กัมพูชา: องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รับรายงานเ! มื่อวันที่ 27 พฤษภาคม และยืนยันการรายงานในวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ว่ามีการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง (HPAI) ซึ่งได้รายงานสัตว์เป็นโรค 564 ตัวจาก 1,304 ตัวที่เข้าข่ายเสี่ยง โดยบางตัวพบว่าติดเชื้อกลุ่ม HPAI และทั้งหมดตายลง ส่วนที่เหลือ 740 ตัวถูกกำจัดในภายหลังเพื่อป้องกันการระบาด หลังจากเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม มีเด็กหญิงอายุ 13 ปี ที่เสียชีวิตและได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคไข้หวัดนก




ที่มา : Guif-times and the Poultry Site (15 มิถุนายน 2555)

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อังกฤษเตรียมทบทวนเรื่องการเชือดตามวิธีการทางศาสนาแบบ non-stun


สหราชอาณาจักรเตรียมทบทวนเรื่องการเชือดตามวิธีการทางศาสนาโดยไม่ใช้กระแสไฟฟ้าทำให้สลบ เนื่องจากกฎระเบียบการเชือดปศุสัตว์ของสหภาพยุโรปที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2556 ระบุในหัวข้อสวัสดิภาพสัตว์ว่าอนุญาตให้ใช้กระบวนการตามความเชื่อทางศาสนาในการเชือดได้

รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรสหราชอาณาจักรกล่าวว่า สหราชอาณาจักรสนับสนุนการทำให้สลบด้วยไฟฟ้าก่อนเชือด ด้วยคำนึงถึงการลดความเจ็บปวดและทรมานของสัตว์ แต่ก็เคารพสิทธิสำหรับผู้ที่ประสงค์จะรับประทานเนื้อสัตว์ซึ่งได้จัดเตรียมในลักษณะที่สะท้อนความเชื่อทางศาสนาของพวกเขา แ! ละจะยังอนุญาตให้ใช้การเชือดตามวิธีทางศาสนา และยอมรับว่ายังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างมาก ทั้งมีความเข้าใจผิดของประชาชนอย่างกว้างขวางว่าการเชือดตามวิธีการทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบฮาลาลต้องเป็นการเชือดโดยไม่ทำให้สลบด้วยไฟฟ้าเท่านั้น สหราชอาณาจักรมีจุดยืนว่าจะไม่เข้าไปกำหนดนิยามหรือคำจำกัดความว่าอะไรคือการเชือดแบบฮาลาล หรือการเชือดแบบโคเชอร์ อันเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรับผิดชอบทางศาสนาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ แต่จะพิจารณาข้อเรียกร้องที่ยอมรับได้ และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับ

ปัจจุบัน สัตว์ที่ถูกเชือดโดยไม่ทำให้สลบด้วยไฟฟ้า ในแพะ โค และแกะ มีประมาณ 3% ส่วนไก่มีประมาณ 4%


ที่มา : HalalFocus (13มิ.ย.55)


จีนรายงานไข้หวัดนกระบาดในมณฑลกานซู


กระทรวงเกษตรจีนรายงานเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2555 ว่า พบไก่ 6,200 ตัว ของฟาร์มในหมู่บ้านของเมืองลั่วหยาง เขตจิงไถ่ มณฑลกานซูทางตะวันตกเฉียงเหนือ แสดงอาการต้องสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก และตายลง 260 ตัว

ห้องปฏิบัติการไข้หวัดนกของจีนยืนยันผลการตรวจตัวอย่างที่เก็บจากฟาร์ม ว่าเป็นไข้หวัดนกชนิดสายพันธุ์รุนแรง H5N1 ทำให้หน่วยงานท้องถิ่นต้องดำเนินการปิดกั้นพื้นที่และฆ่าเชื้อ โดยทำลายไก่ในฟาร์มจำนวน 18,460 ตัว และได้ส่งทีมปฏิบัติการเพื่อให้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค


ที่มา : XinhuaNet (13มิ.ย.55)


วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผลตรวจโรค FMD ในฟาร์มสุกรไต้หวันผิดพลาด


ไต้หวันรายงานผลตรวจไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) ในสุกรต้องสงสัย แต่ต่อมาภายหลังมีการรับรองผลการตรวจทางคลินิกว่าเป็นปกติ กล่าวคือไม่เป็นโรคองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้เข้าตรวจสอบและพบว่ามีผลแอนติบอดี NSP เป็นบวกในฝูงสุกร 900 ตัว ซึ่งการตรวจสุกรที่มีผลการตรวจทางคลินิกปกติ ด้วยวิธีการตรวจซีรัมและการเพาะเชื้อจาก throat swab (การเก็บตัวอย่างโดยใช้ไม้ป้ายลำคอ) ในห้องปฏิบัติการของทางการไต้หวันก็ยืนยันผลบวก แต่เมื่อทดสอบการแยกเชื้อไวรัสและทำ RT-PCR กลับไม่พบผลที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ โดยการตรวจดังกล่าวใช้ชุด FMD ELISA kit เพื่อตรวจเชื้อซีโรไทป์ O

&nbs! p; การตรวจสอบและเฝ้าระวังเพิ่มเติมในฟาร์มสุกรจำนวน 76 แห่ง ฟาร์มโคนม 27 แห่ง ฟาร์มกวาง 1 แห่ง และฟาร์มแพะ 16 แห่ง ในรัศมี 3 กิโลเมตรจากฟาร์มสุกรที่เก็บตัวอย่างเริ่มต้น ไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นการติดเชื้อแต่อย่างใด



ที่มา : PigProgress (12 มิ.ย.55)


อิตาลีพบการระบาดของโรคนิวคาสเซิล




องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รับรายงานเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2555 เรื่องการระบาดของโรคนิวคาสเซิลในเมือง Marche อิตาลี โดยในนกพิราบทั้งฝูง 180 ตัว พบนกที่เป็นโรค 10 ตัว โดยในจำนวนนี้มีนกตายด้วย และยังไม่มีการทำลายฝูงนกนี้ ซึ่งจากกรณีดังกล่าว อิตาลียังไม่ถูกถอดรายชื่อจากประเทศปลอดโรคนิวคาสเซิล เนื่องจากนกพิราบไม่ได้จัดอยู่ในคำนิยามสัตว์ปีกของ OIE

ที่มา : ThePoultrySite (12 มิ.ย.55)

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ศาลสหรัฐสั่งห้ามใช้สารปฏิชีวนะในอาหารสัตว์


ศาลมลรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สั่งกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐ (FDA) ในการควบคุมการใช้สารปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการดื้อยา ซึ่งกว่า 80% ของสารปฏิชีวนะที่นำเข้าสหรัฐ ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์แบบหนาแน่นเพื่อเพิ่มอัตราแลกเนื้อของสัตว์

ก่อนหน้านี้ ในเดือนเมษายน ศาลนิวยอร์กได้เคยสั่ง FDA ห้ามใช้เพนนิซิลินและเตตราซัยคลินเพื่อจุดประสงค์อื่นนอกจากเป็นยาเพื่อผสมอาหารสัตว์แล้ว ถึงแม้อุตสาหกรรมปศุสัตว์จะสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานก็ตาม


ที่มา : ThePigSite (7 มิ.ย.55)



อย. เตรียมออกประกาศแก้ไขนิยาม “นมโค” และการแสดงฉลาก


อย. เผยนโยบายสงเสริมการดื่มนม มุงเนนประโยชนของผูบริโภคใหไดรับคุณคาทางอาหาร สูงสุด โดยจะมีการแกไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 265) พ.ศ. 2545 เรื่อง นมโค ใหมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เนื่องในวันดื่มนมโลก 1 มิ.ย. 2555 นพ. พิพัฒน ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปดเผยวา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีนโยบายที่จะแกไขประกาศกระทรวง สาธารณสุข (ฉบับที่ 265) พ.ศ. 2545 เรื่อง นมโค โดย อย. จะปรับแกไขนิยาม “น้ํานมโค (นมสด)” และ “นมโค” โดย น้ํานมที่รีดจากแมโค 100% ซึ่งผลิตดวยกรรมวิธีพาสเจอรไรส ใหเรียกวา “น้ํานมโคสด หรือ นมโคสด หรือนมสด” พรอมทั้งแสดงวัน เดือน ป ที่ผลิต และ วัน เดือน ป ที่ หมดอายุ ซึ่งอายุการเก็บรักษาน้ํานมโคสดพาสเจอรไรสกําหนดไมเกิน 10 วัน เพื่อใหผูบริโภค ตรวจสอบได และไดรับประโยชนจากการบริโภคนมสูงสุด เนื่องจาก อย. ตรวจพบวา มีผูผลิต บางรายแสดงวัน เดือน ป ที่หมดอายุเกินระยะเวลา 10 วัน หรือแสดงวันหมดอายุยาวนานขึ้น เพอื่ ประโยชนทางการคา หรืออาจใชกรรมวิธีการผลิตอื่นที่ไมใชพาสเจอรไรส ทําใหคุณคาทาง โภชนาการลดลง สําหรับนมโคที่ผานกรรมวิธีอื่น หรือผสมนมผงเพื่อปรับคุณภาพใหเรียกวา “น้ํานมโค หรือ นมโค” โดยจะตองแสดงรอยละของน้ํานมโค หรือนมผงที่สูตรสวนประกอบของ ฉลากผลิตภัณฑ ทั้งนี้ อย. จะเสนอคณะกรรมการอาหารและคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งประกอบดวย ผูเชี่ยวชาญ/ผูทรงคุณวุฒิดานนม เพื่อรวมกันใหความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกลาวตอไป คาดวาจะแลวเสร็จภายใน ส.ค 55 นี้
เลขาธิการฯ กลาวในตอนทายวา อย. เชื่อมั่นวาหลังจากประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใชแลว ผูบริโภคจะไดรับประโยชนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังชวยสงเสริมนมโคสดที่มาจากฟารมของเกษตรกร ภายในประเทศ ทั้งนี้ หากประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใชแลว อย. จะแจงใหทราบโดยทั่วกัน เลขาธิการฯ กลาวในที่สดุ

สหรัฐพบเทคนิคใหม่สำหรับตรวจเชื้อไวรัสของไก่



กลุ่มวิจัยโรคจากเชื้อไวรัสเฉพาะถิ่นของไก่ สังกัดกระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) เผยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตรวจสอบพันธุกรรมแบบเมตาจีโนมิกส์ ซึ่งจะสามารถแยกรหัสพันธุกรรมของกลุ่มเชื้อที่ก่อโรคร่วมกัน และทำให้ค้นพบไวรัสชนิดใหม่ที่อาจมีศักยภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอีกด้วย

เชื้อไวรัสกลุ่มไมโครฝาจที่ค้นพบใหม่ในชื่อ phiCA82 มีแนวโน้มในการใช้ประโยชน์เพื่อควบคุมแบคทีเรียสายพันธุ์ก่อโรคที่ดื้อยา ทีมนักวิจัยค้นพบไวรัสดังกล่าวหลังจากตรวจตัวอย่างฝูงไก่ที่เป็นโรคติดเชื้อในลำไส้ และยังพบเชื้อในกลุ่ม astrovirus reovirus และ rota! virus รวมไปถึงอาร์เอ็นเอไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Picomaviridae นอกจากนี้ในการตรวจสอบเชื้อก่อโรคในไก่งวง ยังพบไวรัสในกลุ่ม picobirnavirus และ calicivirus ที่เกี่ยวข้องกับโรคลำไส้ในมนุษย์อีกด้วย และทีมนักวิจัยยังคิดค้นขั้นตอนตรวจสอบผล PCR ที่มีความไว (sensitivity) สูง และใช้ตรวจสอบไวรัสในกลุ่มสัตว์ปีกโดยเฉพาะอีกด้วย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2991317/
http://www.asas.org/takingstock/?p=3567
&! nbsp;&nb sp; http://www.ars.usda.gov


ที่มา : AllAboutFeed ( 6 มิ.ย.55)

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เกาหลีใต้เตรียมประกาศใช้ระเบียบการติดฉลากสถานที่ผลิตเนื้อหมู-ไก่



เกาหลีใต้เตรียมบังคับใช้ระเบียบการติดฉลากสถานที่ผลิตสำหรับเนื้อสุกรและไก่ในวันที่ 4 มิถุนายน 2555 จากเดิมที่บังคับใช้เฉพาะกับข้าวและเนื้อโค ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม สำหรับร้านอาหารขนาดเล็กกว่า 33 ตารางเมตร จะถูกควบคุมตรวจสอบอย่างเข้มงวดเป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่วนร้านขนาดกลาง พื้นที่ต่ำกว่า 100 ตารางเมตร จะถูกควบคุมเข้มงวดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผู้จงใจติดฉลากเพื่อสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้บริโภค มีโทษสูงสุดจำคุก 3 ปี หรือปรับเป็นเงิน 30 ล้านวอน (ประมาณ 700,000 บาท) นอกจากนี้การติดฉลากที่รายละเอียดไม่สมบูรณ์จะมีโทษปรับสูงถึง 10 ล้านวอน (240,000 บาท) อีกด้วยทั้งนี้ระเบียบดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้! ครอบคลุมขั้นตอนการแปรรูป, บรรจุ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สู่ร้านอาหาร ซึ่งจะต้องระบุชนิดของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และแหล่งผลิตในใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการดำเนินการ และยังมีข้อเพิ่มเติมสำหรับผลิตภัณฑ์ผักดองกิมจิ ซึ่งภัตตาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่มากกว่า 100 ตารางเมตร ต้องระบุที่มาของกิมจิที่ใช้เป็นเครื่องเคียงด้วย



ที่มา : ThePoultrySite (05/06/55)