หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นักวิจัยสหรัฐพบ Salmonella แฝงต่อมน้ำเหลืองโคขุน



นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเทกซัส ศึกษาการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella ซึ่งเป็นแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารที่สำคัญในผลิตภัณฑ์โคขุน พบว่านอกจากจะมีเชื้อบางซีโรไทป์ที่ดื้อยาแล้ว ยังพบว่าการตรวจการปนเปื้อนเชื้อในซากโคขุนนั้น พบเชื้อ Salmonella ได้ยากกว่าการตรวจสอบตัวอย่างในคอกขุนขั้นสุดท้ายอีกด้วย ทั้งเชื้อบางซีโรไทป์ยังเป็นกลุ่มที่พบมากในผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อบดที่พบการปนเปื้อนทั้งจากกระบวนการผลิตและขั้นตอนระหว่างการผลิต ได้แก่ซีโรไทป์ Montevideo และ Anatum ซึ่งเมื่อทำการวิจัยเพิ่มเติม ก็ได้ผลว่ามีต่อมน้ำเหลืองหลายบริเวณของซากโคที่สามารถเป็นที่อาศัยหลบซ่อนของเชื้อ Salmonella เป็นอย่างดี

! ตัวแทนกลุ่มนักวิจัยดังกล่าวให้ความเห็นว่า อาจป้องกันการติดเชื้อรูปแบบดังกล่าวในต่อมน้ำเหลืองโดยให้อาหารผสมสารเสริมชีวนะ แต่อย่างไรก็ดี การตรวจสอบทั้งก่อนและหลังการเชือด ไปจนถึงการปฏิบัติต่อผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้ป้องกันอันตรายจากโรคทางเดินอาหารได้ดียิ่งขึ้นศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ http://www.amiexpo.com/session_pdf/pdf_314_1.pdfTheMeatSite


วันที่ : 1/06/55



ออสเตรเลียขอไทยเลิกโควตานำเข้าชีส-เนื้อวัว


จากผลการประชุมคณะทำงานร่วมด้านการเกษตร ไทย-ออสเตรเลีย (Joint Working Group on Agriculture – JQG on AG) ณ เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ทางออสเตรเลียขอให้ไทยยกเลิกและปรับเพิ่มปริมาณโควตาของสินค้าปกป้องพิเศษบางรายการ ได้แก่ ชีส และเนื้อวัว ซึ่งภายใต้ TAFTA ไทยจะมีระยะเวลาปรับตัวสำหรับสินค้าในมาตรการดังกล่าว 23 รายการ จนถึงปี 2558 และ 2560

อนึ่ง ภาพรวมการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยและออสเตรเลีย มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่าการค้า 20,643 ล้านบาทในปี 2547 เพิ่มเป็น 42! ,657 ล้านบาทในปี 2554 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด




ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (31/05/55)


วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สหรัฐพบโรค IHN ระบาดในฟาร์มแซลมอน



สหรัฐฯ พบการระบาดของโรค Infectious Hematopoietic Necrosis (IHN) เป็นครั้งแรกในมลรัฐวอชิงตัน โรค IHN ที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส และพบในปลาตระกูลแซลมอนและเทราต์ มีรายงานยืนยันการตรวจพบในพื้นที่มลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ก่อนจะแพร่กระจายมาทางตอนใต้ลงสู่มลรัฐวอชิงตันของสหรัฐฯ โดยบริษัท American Gold Seafoods ในเมืองโรเชสเตอร์ ที่มีการเพาะเลี้ยงแซลมอนกว่า 120 กระชัง ยืนยันการติดเชื้อ IHN ภายในกระชังปลาแซลมอนของบริษัท หลังจากพบว่าปลาที่เลี้ยงมีอัตราการตายสูงผิดปกติเมื่อเดือนเมษายน
ปัจจุบันหน่วยงานด้านสัตว์น้ำและสัตว์ป่าของมลรัฐวอชิงตันกำลังทำงานอย่างเร่งด่วนเพื่อจำกัดพื้นที่แพร่ระบาด โดยเฉพาะการติดต่อไปสู่ฟาร์มเพาะเลี้ยงทั่วประเทศ



ที่มา : The Fish Site (30/05/55)

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อังกฤษเรียกร้องต้านปลูกข้าวสาลี GMO



กลุ่มผู้ต่อต้านพืชตัดแต่งพันธุกรรม (GMO) กว่า 200 คน รวมตัวประท้วงการผลิตข้าวสาลี GMO ใกล้กับศูนย์วิจัยเกษตรกรรมทางตอนเหนือของกรุงลอนดอน เจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องควบคุมสถานการณ์อย่างเข้มงวด หวั่นผู้ประท้วงเข้าทำลายผลิตผลดังกล่าว

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ต่อต้านได้ร้องเรียนว่าการปลูกข้าวสาลีตัดแต่งพันธุกรรมดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งผลเสียต่ออุตสาหกรรมการเกษตรของอังกฤษทั้งหมด



ที่มา : ASTV (29/05/55)

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความคืบหน้ามาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งของภาครัฐ


ราคากุ้งขาวแวนนาไมขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ตกลงมาอยู่ที่ 108 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทั้งอินโดนีเซีย เวียดนาม และจีน (ข้อมูลจากการสำรวจราคากุ้งปากบ่อของแต่ละประเทศ) ทำให้กรมการค้าภายในต้องระดมภาครัฐและเอกชนเพื่อหารือในการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว

การให้ความช่วยเหลือเรื่องราคากุ้งขาวจำเป็นต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันมิให้ราคาตกต่ำลงไปในอีกในช่วงพฤษภาคม-สิงหาคม ที่จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งผู้เลี้ยงกุ้ง อุตสาหกร! รมและการส่งออก แม้ทางกรมการค้าภายในจะพยายามจัดกิจกรรมรณรงค์การบริโภคกุ้งเป็นมาตรการเร่งด่วนในงานจำหน่ายสินค้าธงฟ้า 2-4 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการของภาครัฐแต่อย่างใด




ที่มา : วารสารข่าวกุ้ง ปีที่ 24 ฉบับที่ 285 เดือนเมษายน 2555
(24/05/55)

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

“อ.ส.ค. - เอฟเอโอ” บูมนมไทยเร่งยอดบริโภคเกิน 14 ลิตร/คน



นายนภดล ตันติวิเชียร รองผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า ในฐานะรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายนมไทย-เดนมาร์ค ช่วงครึ่งปีหลังได้ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (The Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ใช้ช่วงดีเดย์วันดื่มนมโลก 1 มิถุนายนของทุกปี กระตุ้นตลาดคนไทยหันมาเสริมสร้างสุขภาพและเพิ่มความต้องการบริโภคนมเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้ได้สารอาหาร วิตามิน และแคลเซียมธรรมชาติของยมโคสดครบทุกส่วน อีกทั้งยังสามารถตอบสนองได้ทั้งกลุ่ม วัยเด็ก คนรุ่นหนุ่มสาว ผู้สูงวัย เนื่องจากผลการวิจัยทั้งนมสดแท้ นมหวาน นมเปรี้ยว 100% ! เปรียบเทียบคุณค่าสารอาหาร จะได้ทั้งแคลเซียม วิตามินเอ รวมถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางทันตกรรมต่างๆ ด้วย

นายทฤษฎี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลแลองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ร่วมมือกันรณรงค์ผู้บริโภคคนไทยหันมาดื่มนมให้มีปริมาณใกล้เคียงค่าเฉลี่ยตลาดทั่วโลก จากปัจจุบันที่ไทยเป็นผู้ผลิตน้ำนมดิบได้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กลับมีผู้บริโภคดื่มนมเฉลี่ยเพียง 14 ลิตร/คน/ปี แตกต่างจากผู้บริโภคแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉลี่ย 60 ลิตร/คน/ปี ซึ่งต่างกันเกือบ 5 เท่า และทั่วโลกบริโภคเฉลี่ย 103.9 ลิตร/คน/ปี ต่างันเกือบ 7 เท่า ดังนั้น ในวันที่ 1 มิถุนายน จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมวันดื่มนมโลกขึ้น ช่วงเช้าบริเวณตึกสันติไมตรี และช่วงบ่ายบริเวณกิจกรรมดิจิตอลเกตเวย์ สยามแสควร์ เปิดให้ผู้บริโภคทุกกลุ่ม เข้าร่วมชมการสาธิตทำไอศกรีมและอาหารจากนมรูปแบบต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากนมหลายชนิด ดื่มและชิมฟรี




ที่มา : นสพ. ประชาชาติธุรกิจ 24-27 พฤษภาคม 2555 หน้า 5
(23/05/55)



วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

EU ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่สดจากไทยอย่างเป็นทางการ


เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 สหภาพยุโรปมีมติยกเลิกการระงับนำเข้าไก่สดจากไทย โดยจะต้องประกาศเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นทางการใน EU Official Journal ก่อน เพื่อให้มีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 นั้น บัดนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ลงประกาศกฎระเบียบ 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ใน EU Official Journal เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2555 แล้ว ดังนี้

1. Commission Implementing Decision of Decision 2012/248/EU of 7 May 2012 amending Decision 2005/692/EC 2005/734/EC, 2007/25/EC and 2009/494/EC as regards avian influenza ระบุ! ว่า EU จะยกเลิกการระงับการนำเข้าไก่ดิบจากไทยเนื่องจากการระบาดไข้หวัดนก

รายละเอียดhttp://eurlex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.douriOJ:L:2012:123:0042:0043:EN:PDF

2. Commission Implementing Regulation (EU) No 393/2012 of 7 May 2012 amending Annex I to Regulation (EC) No 798/2008 as regards the entry for Thailand in the lists of Third countries or parts thereof from which poultry and poultry products may be imported into and transit through the Union ซึ่ง EU ได้ประกาศชื่อประเทศไทยกลับเข้าสู่ positive list ของรายชื่อประเทศที่สาม ซึ่งสามารถส่งออกไก่ดิบไปยังสหภาพยุโรปได้อีกครั้งหนึ่งแล้ว

รายละเอียด
http://eurLex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.douri=OJ:L:2012:123:0027:0029:EN:PDF



ที่มา : มกอช. (22/05/2011)

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ร้านค้าในสหรัฐเรียกร้องยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสุกร

องค์การส่งเสริมมนุษยธรรมของสหรัฐ(HSUS)และเครือข่ายร้านอาหารขนาดใหญ่Denny’sวางแผนรณรงค์ให้ประชาชนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุกรจากฟาร์มที่ไม่แยกขังแม่สุกรตั้งท้องในกรงที่มีพื้นที่จำกัดจากที่เคยตั้งเป้าหมายซื้อไข่ไก่เฉพาะจากฟาร์มเลี้ยงปล่อยอิสระตั้งแต่ปี2551เพื่อป้อนเข้าสู่เครือข่ายภัตตาคารกว่า1,650แห่งมาแล้ว ปัจจุบันDenny’sร่วมกับเครือข่ายร้านอาหารขนาดใหญ่ได้แก่BurgerKing,McDonald’s,Compass GroupและBon Appetit Management Companyรณรงค์ให้ซื้อผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มีมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ชัดเจน ซึ่งมีแรงกระเพื่อมในวงกว้าง ล่าสุดSmithfield Foods,Hormel Foods และCargillเปิดเผยว่าจะยกเลิกการใช้กรงขังเดี่ยวแบบจำกัดพื้นที่ดังกล่าวเร็วๆ นี้ ที่มา : MeatPoultry วันที่ 15 พฤษภาคม 2555

แคนาดายกมาตรฐานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสู่เกษตรอินทรีย์

แคนาดาเตรียมประกาศห้ามใช้สารปฏิชีวนะ,สารกำจัดวัชพืชและผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเด็ดขาดยกเว้นสารกำจัดปรสิตบางชนิดที่อนุญาตให้ใช้ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดจากสัตวแพทย์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดทั้งนี้กฎใหม่ยังรวมไปถึงกระบวนการทำความสะอาดพื้นที่เพาะเลี้ยง ทั้งวิธีการและอุปกรณ์อีกด้วย กฎดังกล่าวจะช่วยให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในความปลอดภัยของสินค้ามากขึ้นทั้งเพิ่มมาตรฐานและศักยภาพในการส่งออกสู่ตลาดโลก ป้องกันการก่อมลภาวะ เพิ่มคุณภาพผลผลิต และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ที่มา : The Fish Site วันที่ 15 พฤษภาคม 2555

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กษ.ปลื้มยอดส่งออกหมูตลาดยุ่น



จากปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะของญี่ปุ่น ทำให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าไทยจะสามารถส่งออกได้เพิ่มจาก 800 ตัน เป็น 2,000 ในปีนี้ อย่างไรก็ดี ไทยยังต้องเฝ้าระวังเรื่องโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) รวมทั้ง PRRS และ PED ที่จัดเป็นสามมหันตภัยของผู้ส่งออกเนื้อสุกร ถึงกระนั้น รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความเห็นว่า ไทยควรให้ความสำคัญในการส่งออกสุกรทั้งผลิตภัณฑ์เนื้อต้มสุกและแปรรูป เนื่องจากมีจุดแข็งและความได้เปรียบเหนือประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการวางแผนระบบ Compartment ที่ควรเร่งดำเนินการเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อตลาดนานาประเทศ



ที่มา : บ้านเมือง (15/05/55)

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความคืบหน้าสถานการณ์โรควัวบ้าในสหรัฐ

กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้ออกมาตรการกักกันฟาร์มโคนม 2 แห่ง ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย โดยฟาร์มหนึ่งเป็นแหล่งตรวจพบเชื้อ Bovine Spongiform Encephalopathy (BSE) สาเหตุของโรควัวบ้า และมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับอีกฟาร์มที่อยู่ภายใต้มาตรการนี้ ซึ่งพบว่าแม่โคดังกล่าวเคยแท้ง 1 ครั้ง และให้กำเนิดลูกโคอีก 1 ตัว ที่ได้ดำเนินการการุณยฆาตและพบว่าไม่มีการติดเชื้อ และนอกจากตรวจสอบสถานที่เลี้ยงโคนม USDA ยังเข้าตรวจสอบสถานที่ผลิตอาหารสัตว์เพื่อความปลอดภัยอีกด้วย &nbs! p; อนึ่ง สหรัฐได้สั่งห้ามจำหน่ายส่วนสมองและส่วนสันหลังที่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ BSE สู่มนุษย์ ตั้งแต่ปี 2547 ที่มา : AllAboutFeed (11/05/55)

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ออสเตรเลียเปิดรับข้อเสนอในการให้สุนัขเลี้ยงเข้าพื้นที่จำหน่ายอาหารนอกอาคาร


องค์กรมาตรฐานอาหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FSANZ) กำลังพิจารณาเปิดรับข้อเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบอนุญาตให้สุนัขเลี้ยงสามารถเข้าสู่บริเวณจำหน่ายอาหารในพื้นที่นอกอาคารได้ เนื่องจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงพบว่า โอกาสที่จะมนุษย์จะติดโรคที่เกิดจากอาหารผ่านสุนัขเลี้ยงมีน้อยจนไม่น่าเป็นกังวล และแม้จะประกาศอนุญาตเป็นทางการแล้ว ผู้ประกอบการแต่ละแห่งยังคงสามารถตัดสินใจได้ว่าจะอนุญาตให้สุนัขเลี้ยงเข้าในพื้นที่ของตนหรือไม่



ที่มา : FSANZ

ออสเตรเลียออกระเบียบการติดฉลากระบุประเทศผู้ผลิตบนฉลากเนื้อสัตว์ที่ไม่อยู่ในบรรจุภัณฑ์



องค์กรมาตรฐานอาหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (FSANZ) ยืนยันให้ออกกฎระเบียบการติดฉลากที่ต้องระบุประเทศผู้ผลิตเนื้อสัตว์ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้อยู่ในบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากพบปัญหาการไม่ระบุรายละเอียดสถานที่ผลิตสำหรับเนื้อสัตว์นำเข้ามาตั้งแต่ปี 2553 แม้ในปัจจุบันเนื้อสัตว์นำเข้าจะเป็นเพียง 0.5% ของปริมาณการบริโภคในประเทศก็ตาม ทั้งนี้เพื่อตอกย้ำความมั่นใจตลอดกระบวนการขนส่งจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภค



ที่มา : FSANZ ( 3-05-55 )