หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

อังกฤษมุ่งหาต้นกำเนิดเชื้อ Campylobacter ด้วยอณูชีววิทยา


หน่วยงานมาตรฐานอาหารของสหราชอาณาจักร (FSA) กำลังสรรหาผู้ยื่นซองประมูลโครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา (Molecular-based technique) ในการตรวจสอบต้นกำเนิดของเชื้อ Campylobacter ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาหารเป็นพิษ

โครงการจัดการความเสี่ยงของเชื้อ Campylobacter ถูกบรรจุในแผนกลยุทธ์ว่าด้วยโรคที่มากับอาหารระหว่างปี 2553-2558 ซึ่งมีเป้าหมายหลักที่จะลดจำนวนผู้ป่วยในสหราชอาณาจักร โดยทาง FSA พบว่าเนื้อไก่เป็นแหล่งอาศัยของโรคที่สำคัญ และจำต้องเตรียมมาตรการรองรับในทุกขั้นตอนการผลิต การเก็บตัวอย่างอาหารท! ั่วประเทศอังกฤษเพื่อนำมาวิเคราะห์ทางอณูชีววิทยา จะช่วยให้ FSA สามารถทราบแหล่งต้นกำเนิดและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อได้ทันท่วงที



ที่มา : CommodityUK ( 26 เมษายน 2555 )

ราคาอาหารโลกพุ่งทะยานต่อเนื่อง



ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก สภาพอากาศที่แปรปรวน และความต้องการในทวีปเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้นไม่หยุด ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสถานการณ์ราคาอาหาร ซึ่งจากรายงานของธนาคารโลกพบว่า ดัชนีราคาเพิ่มสูงขึ้นถึง 8% ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงมีนาคม 2555 ซึ่งต่ำกว่าค่าสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพียง 6%

ราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวได้แก่ ธัญพืช เพิ่ม 4%, ข้าวสาลี เพิ่ม 6%, ข้าวโพด เพิ่ม 9% และน้ำมันถั่วเหลือง เพิ่ม 7% ส่วนข้าว ลดลง 6% แต่เมื่อเทียบกับราคาเดือนกุมภาพันธ์ 2554 พบว่าราคาข้าวสาลีลดลง 18%, ข้าวโพดและน้ำมันถั่วเหลืองล! ดลง 4% และ 6% ตามลำดับ ส่วนข้าวเพิ่มขึ้น 5% โดยธนาคารโลกยืนยันที่จะติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิดต่อไป


ที่มา : FoodBusinessNEWS ( 26 เมษายน 2555 )

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

สหรัฐพบโคนมติดเชื้อวัวบ้าในแคลิฟอร์เนีย



USDA และ APHIS ประกาศเมื่อวันที่ 24 เมษายน ว่าตรวจพบโรควัวบ้า (BSE) ระบาดในโคนมที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย นับเป็นครั้งที่ 4 ตั้งแต่ตรวจพบในสหรัฐเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ที่มลรัฐวอชิงตัน

การตรวจวิเคราะห์ให้ผลเป็นโรควัวบ้าชนิด atypical ซึ่งผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับการให้อาหารเลี้ยงสัตว์ และไม่ติดต่อผ่านทางน้ำนม ทั้งนี้ มาตรฐานจัดการด้านอาหารสัตว์และการควบคุมโรคของ USDA ทำให้ในปี 2554 มีรายงานพบโคที่เป็น BSE เพียง 29 ครั้งทั่วโลก ลดลง 99% จาก 37,311 ครั้งในปี 2535

!

ที่มา : MeatPoultry ( 25 เมษายน 2555

สหรัฐฯ ยกระดับมาตรฐานควบคุมสารตกค้างในเนื้อสัตว์



กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) ยกมาตรฐานตรวจสอบสารตกค้างในเนื้อสัตว์ เพื่อยับยั้งการรับซื้อสัตว์ที่ใช้ยาที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือสารตกค้าง รวมทั้งเพิ่มมาตรการตรวจสอบผู้ผลิตที่มีประวัติตรวจพบสารตกค้างให้เข้มงวดขึ้น ซึ่งทาง FSIS ประเมินว่า เฉพาะเนื้อไก่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ทำให้จำนวนผู้ป่วยจากเชื้อ Compylobacter และ Salmonella ลดลง 5,000 ราย และ 20,000 รายต่อปีตามลำดับ และทาง FSIS ยังเพิ่มการระงับผลผลิตที่ปนเปื้อนเชื้อ E.coli 6 สายพันธุ์ที่ผลิต Shiga toxin ด้วย FSIS จะประกาศแนวทางปฏิบัติในวันนี้ที่เว็บไซต์
http://www.fsis.usda.gov/Regulations_&_Policies
และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 มิถุนายน 2555 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.fsis.usda.gov/News_&_Events/NR_042312_01/index.asp



ที่มา : USDA ( 25 เมษายน 2555 )

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

สหภาพยุโรปปรับปรุงบัญชีรายชื่อสัตว์และสินค้าที่ต้องผ่านการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้าก่อนการส่งเข้าไปวางจำหน่าย


สหภาพยุโรปได้มีการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรของสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ต้องผ่านการตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้าก่อนส่งไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ให้มีความชัดเจนในการแยกประเภทมากขึ้นโดยแต่เดิมเป็นตัวเลข 4 หลัก ปัจจุบันใช้เป็นด้วยเลข 6 หลัก หรือ 8 หลัก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้มีผลทำให้ต้องปรับปรุงบัญชีรายชื่อของสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าวให้มีความเป็นปัจจุบัน และเพื่อทดแทนบัญชีรายชื่อเดิมที่ไม่ได้มีการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2550 และยังเป็นการยกเลิกภาคผนวก 1 ของกฎระเบียบเดิม Decision 2007/275/EC ทั้งนี้ระเบียบดังกล่าวได้ประกาศลงใน EU official journal เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 และมีผ! ลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2012:021:0001:0029:EN:PDF



ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป (27/03/55

จีนเข้มสินค้ารังนกหลังพบสารตกค้างในรังนกนำเข้าจากมาเลเซีย



สืบเนื่องจากจีนตรวจพบสาร nitrite จากรังนกที่นำเข้าจากมาเลเซียที่ด่านกวางตุ้งและเซี๊ยะเหมิน รวม 63 กิโลกรัม จึงได้มีการออกประกาศเพิ่มรังนก (ยกเว้นรังนกกระป๋อง)ในรายการสินค้าต้องห้ามประเภทสัตว์ พืช และของที่ต้องรับการตรวจอื่นๆ โดยการถือติดตัวเข้ามาของนักท่องเที่ยวและการนำเข้าทางพัสดุภัณฑ์มาในสาธารณรัฐประชาชนจีน และขณะนี้กำลังสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตและส่งออกรังนกของประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย จึงคาดว่าจีนกำลังเตรียมออกมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

หากสมาคมหรือบริษัทใดที่เกี่ยวข้องและมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกรุณาแจ้ง มกอช.ได้ที่ 0 2561 2277 ต่อ 1338



ที่มา : มกอช. (27/03/55)

ฟาร์มสุกรเวียดนามโอด เหตุพบสารต้องห้ามฉุดราคาดิ่งเหว



ฟาร์มสุกรในจังหวัดด่องไน เวียดนาม ซึ่งผลิตสุกรได้ประมาณ 4,000 ตัวต่อวัน ได้รับผลกระทบจากการพบสารต้องห้ามในเนื้อสุกร ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตในนครโฮจิมินห์ลดลงจาก 52,000 ด่ง (ประมาณ 80 บาท) เหลือเพียง 42,000 ด่ง (ประมาณ 65 บาท) ต่อกิโลกรัม เนื่องจากผู้บริโภคไม่มั่นใจในคุณภาพการผลิต

สารต้องห้ามกลุ่มที่ตรวจพบใน 33 ตัวอย่างจาก 12 ฟาร์มสุกรในเขตเวียดนามใต้ ได้แก่เขตถ่งยัต และเขตตรังบอม ของนครโฮจิมินห์ คือ สารกลุ่มเบตาอโกนิสต์ ซึ่งเป็นสารเร่งเนื้อแดงและการเจริญเติบโตของสุกร โดยประเมินว่า เกษตรกรทั่วประเทศจะเสียรา! ยได้ประมาณ 500,000 ล้านด่ง (ประมาณ 750 ล้านบาท)



ที่มา : PigProgress (23/04/55)

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

มาเลเซียเตรียมเปิดระบบสืบค้นข้อมูลสินค้าฮาลาล



ระบบสืบค้นข้อมูลการนำเข้าสินค้าฮาลาล Halal Verified Engine (HVE) พัฒนาโดย DagangAsia Net และได้รับความร่วมมือจาก Department of Islamic Development Malaysia (Jakim) ซึ่งจะเปิดทดสอบระบบในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตสามารถสืบค้นข้อมูลสินค้ากว่า 3,000 ชนิด ที่ได้จดทะเบียนกับ Jakim

นอกจากนี้ Dagang ยังพัฒนาฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ฮาลาลของแอฟริกาใต้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเปิดตัวออกสู่ตลาดสินค้าฮาลาลโลกด้วย



ที่มา : HalalFocus (20/04/55

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

CP เปิดตัวสู่ตลาดออสเตรเลีย

เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทอาหารของไทย ได้วางแผนลงทุนด้วยงบประมาณกว่า 100 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 3,000 ล้านบาท) เพื่อเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมอาหารของออสเตรเลีย โดยการเปิดสำนักงานในเมืองเมลเบิร์น เพื่อรับซื้อผลผลิตพืชไร่และเนื้อสัตว์ รวมทั้งตั้งฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาแซลมอน รวมถึงวางแผนการตั้งโรงงานอาหารสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายในตลาดออสเตรเลียภายใน 3-5 ปีนี้ ปัจจุบันเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจครบวงจรของเอเชีย มีการเปิดตลาดอุตสาหกรรมอาหารในประเทศต่างๆ รวมทั้งจีน สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที! ่ http://www.meattradenewsdaily.co.uk/news/180412/australia___cp_food_group_open_in_melbourne.aspx ที่มา : MeatTradeNEWSDaily (18/04/55)

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

EU ปฏิรูปนโยบายประมงร่วมในอุตสาหกรรมและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


สหภาพยุโรปวางแผนปรับปรุงนโยบายประมงร่วมในด้านสำคัญต่อไปนี้

- การนำระบบใบอนุญาต (licenses) มาใช้เพิ่มขึ้น และกระตุ้นให้กระบวนการออกใบอนุญาตมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น
- การนำเครื่องมือติดฉลาก (labeling) มาใช้สื่อสารข้อมูลจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค เพื่อทำให้ผู้บริโภครับทราบว่า สินค้าสัตว์น้ำของ EU มีความสด สะอาด และมีมาตรฐานในการผลิตสูง รวมทั้งเน้นให้ผู้บริโภคทำความเข้าใจข้อมูลบนฉลากได! ้ง่ายและชัดเจน เช่น ประเภทสินค้า แหล่งกำเนิดของสินค้า
- สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มาจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบอินทรีย์ (organic aquaculture products)

นอกจากนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของ EU ยังมุ่งเน้นวิสัยทัศน์อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระยะยาวไปยังประเด็นของการผลิตอย่างยั่งยืน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้สอดคล้องความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งควบคุมกระบวนการให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ เช่น การบริหารจัดการวัฏจักรของสิ่งมีชีวิต (biological lifecycle) หรือการเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนและดูดซับสารอาหาร (nutrient conversion and assimilation)โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งกำหนดมาตรฐานในด้านสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้การผลิตสามารถดำเนินภายใต้กรอบของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการบริหารจัดการที่ดี ทำให้อุตสาห! กรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดำเนินไปอย่างเหมาะสมต่อทั้งภาคธุรกิจ แก่! ผู้บริโภ ค และสภาพแวดล้อมโดยอาศัยการวางนโยบายเพื่อตอบสนองประเด็นดังกล่าว ไปจนถึงวิถีชีวิตชุมชนแหล่งน้ำที่จะสามารถอยู่ร่วมกับภาคการผลิตได้อย่างเกื้อกูล

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.fao.org/docrep/014/ba0132e/ba0132e.pdf


ที่มา : มกอช. (17/04/55)

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

อียูเปิดให้นำเข้าไก่สดจากไทยได้แล้วตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕

จากผลการประชุมในเช้าวันที่ ๓ เม.ย. ๕๕ ของคณะกรรมการยุโรปด้านห่วงโซ่อาหารและสุขภาพสัตว์ (EU Standing Committee on the Food Chain and Animal Health) ประเทศสมาชิก EU มีมติที่จะไม่ต่ออายุห้ามนำเข้าไก่สดจากไทย (จากที่ไทยเคยถูกโดนระงับการส่งออกจาก EU ด้วยโรคไข้หวัดนก แล้วมาตั้งแต่วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๗) ทั้งนี้ คาดว่า EU จะประกาศเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นทางการตามยกร่าง Decision และ Regulation ใน EU Official Journal ในช่วงเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ นี้ โดยจะให้มีผลให้ไทยสามารถส่งไก่สดไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรปได้อีกคร! ั้งตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ที่มา : ThaiEurope (11/04/55)

อินเดียคุมเข้มสารปฏิชีวนะในสัตว์ที่ใช้บริโภค

อินเดียออกกฎหมายควบคุมสารปฏิชีวนะตกค้างในสัตว์ที่ใช้บริโภค ตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้บางส่วนตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยทางกระทรวงสาธารณสุขของอินเดียแถลงว่า ข้อกำหนดดังกล่าวบังคับให้ต้องมีระยะทิ้งช่วงของสารปฏิชีวนะก่อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารสำหรับผลิตภัณฑ์ไข่และนมต้องไม่ต่ำกว่า 7 วัน และสำหรับผลิตภัณฑ์เนื้อ รวมถึงไขมันและเครื่องในสัตว์ต้องไม่ต่ำกว่า 28 วัน นอกจากนี้ในผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเลยังต้องมีการติดฉลากเพิ่มเติมเพื่อแสดงปริมาณสารปฏิชีวนะตกค้าง กฎหมายควบคุมดังกล่าวจะช่วยให้อาหารมีความปลอดภัยมา! กขึ้น รวมถึงลดปัจจัยเสี่ยงที่ผู้บริโภคอาหารกลุ่มดังกล่าวแล้วจะเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ อินเดียได้รับความร่วมมือจากสหภาพยุโรปในการตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว ที่มา : FoodNavigator (11/04/55)

ยุโรปเข้มงวดการติดฉลาก Organic Food

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 นี้ อาหารอินทรีย์ (Organic Food) ที่บรรจุพร้อมจำหน่ายจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ต้องปฏิบัติตามมาตรการติดฉลากอย่างเคร่งครัด โดยสหภาพยุโรปจะใช้มาตรการที่เข้มงวดกับสินค้าที่ก่อนหน้านี้อนุญาตให้วางจำหน่ายในระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ทั้งนี้ สหภาพยุโรปได้ออกประกาศมาตรการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2553 ที่มา : TheCattleSite (11/04/55)

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

เอนไซม์ชนิดใหม่ เพื่ออาหารฮาลาลและโคเชอร์


บริษัท Biocatalysts ผลิตเอนไซม์ชนิดใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล (อิสลาม) และโคเชอร์ (ยิว) โดยเป็นเอนไซม์กลุ่ม lipase ในชื่อทางการค้า Lipomod 957MDP มีคุณสมบัติในการย่อยลิพิดและโปรตีน ใช้แทน pancreatin ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ได้จากสัตว์ (ตับอ่อนของสุกร) ทีมงานวิจัยให้ความเห็นว่า การพัฒนาเอนไซม์ดังกล่าวเพื่อใช้แทนเอนไซม์จากสัตว์ จะมีความสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตและส่งออกอาหารเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานฮาลาลและโคเชอร์ ซึ่งมีมูลค่าในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี (ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลมีมูลค่าประมาณ 2.77 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ)

การพัฒนา Lip! omod ให้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ pancreatin ทำโดยวิธีการศึกษากรดไขมันที่เป็นผลผลิตจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของจุลินทรีย์ เพื่อหาส่วนผสมของผลผลิตเอนไซม์ที่ได้รสชาติเช่นเดียวกับ pancreatin โดยวิธีการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัส (sensory analysis) ซึ่งประสบความสำเร็จในระยะเวลา 2 ปี โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมี flavour profile ตรงกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ pancreatin ทุกประการ ปัจจุบันอุตสาหกรรมเอนไซม์ซึ่งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปครอบครองส่วนแบ่งประมาณ 55% มีการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณว่าในปี 2017 จะสามารถผลิตได้ถึง 2.6 ล้านตัน

สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.foodnavigator.com/Financial-Industry/Biocatalysts-enzyme-taps-into-new-andgrowingHalalKoshercheesemarketutm_source=copyright&utm_medium=OnSite! &utm_campaign=copyright



ที่มา : HalalFocus/ FoodNavigator (05/04/55)

ฟิลิปปินส์สร้างระบบติดฉลากลายพิมพ์ดีเอ็นเอระบุพันธุกรรมปลา


กรมวิชาการเกษตรฟิลิปปินส์กำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับการบันทึกลายพิมพ์ดีเอ็นเอของผลิตภัณฑ์ปลา (dioxyribonucleic acid (DNA) fingerprinting) เพื่อนำไปสร้างระบบติดฉลากลายพิมพ์ดีเอ็นเอระบุชนิด/สายพันธุ์ปลาก่อนที่จะจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

สถาบันวิจัยและพัฒนาประมงแห่งชาติ (National Research and Development Institute - NFRDI) กล่าวว่า ลายพิมพ์ดีเอ็นเอมีความสำคัญในด้านความปลอดภัยอาหารและสร้างความมั่นใจแก่ตลาดโลกว่าด้วยการตรวจสอบที่มาของผลิตภัณฑ์ประมง ทั้งนี้ ถ้าปราศจากการระบุสายพันธุ์ปลาอย่างถูกต้อง เช่น ระบบติดฉลาก การ! ระบุสายพันธุ์ปลาผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากปลาร่วมสกุล (Genus) ในหลายวงศ์ (Family) มีชนิด (Species) และสายพันธุ์ (Species) ที่ลักษณะคล้ายกันมาก ทำให้ผู้บริโภคต้องเสียเงินด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้

Mr. Benedict A. Maralit และนักวิจัยร่วมอีก 5 ท่าน แถลงในการสัมมนาวิชาการ Bureau of Agricultural Research (BAR) National Research Symposium (NRS) ว่า การบันทึกลายพิมพ์ดีเอ็นเอผลิตภัณฑ์ประมงสามารถแยกปลาสายพันธุ์ใกล้กัน ที่บอกความแตกต่างได้ยาก โดยเฉพาะปลาขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งเพื่อนำมาตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนั้น Dr. Mudjekeewis D. Santos นักวิจัยอาวุโสของห้องปฏิบัติการลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (NFRDI Genetic Fingerprinting Laboratory - GFL) ยังกล่าวอีกว่าลายพิมพ์ดีเอ็นเอสามารถระบุผลิตภัณฑ์แปรรูปหรือตัดแต่ง เช่น เนื้อปลาแล่ ที่รับประทานในร้านอาหารว่าเป็นปลาตรงชนิดที่สั่งหรือไม่

&nb! sp; ฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้ผลิตปลารายใหญ่เป็นอันดับ 6 ขอ! งโลก เป็ นอันดับ 9 ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเป็นอันดับ 3 ในการผลิตพืชน้ำ หลักๆ ได้แก่ สาหร่ายทะเล



ที่มา : TheFishSite (05/04/55)

รายงานสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศจีน



มีการตรวจพบการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในฟาร์มเพาะเลี้ยงเหอหนิง เขตหงถ่า เมืองยู่ซี มณฑลยูนนาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. พื้นที่เกิดโรค ฟาร์มเพาะเลี้ยงเหอหนิง เขตหงถ่า เมืองยู่ซี มณฑลยูนนาน
2. วันที่ได้รับการยืนยันการตรวจพบ วันที่ 30 มีนาคม 2555
3. จำนวนสัตว์ที่ล้มตาย 2 ตัว จำนวนสัตว์ที่ถูกทำลาย 35,018 ตัว
! 4. ลักษณะการตรวจโรค
ห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโรคไข้หวัดนกแห่งชาติ สังกัดสถาบันสัตวแพทย์ นครฮาร์บิน (Harbin Institute of Animals Husbandry) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตร สาธารณรัฐประชาชนจีน (Chinese Academy of Agrucultural Sciences, CAAS)
วิธีการตรวจสอบ Virus Isolation, Hemagglutination inhibition และ RT-PCR
ตัวเชื้อโรค เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1
5. มาตรการควบคุม
รัฐบาลท้องถิ่นได้ออกมาตรการหลายประการ ตามคำสั่งมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ กักกัน ฆ่าเชื้อ
เร่งกำจัดสัตว์ที่เป็นพาหะ รวมทั้งดำเนินการแบบ Harmless treatment เพื่อให้สามารถป้องกันการแพร่ระบาดไปยังสัตว์ในบร! ิเวณดังกล่าว

! &n bsp; ข้อความในรายงานที่กล่าวมาข้างต้น ทางจีนได้รายงานไปยัง World Organization for Animal Health (OIE) แล้ว



ที่มา : มกอช. (10/04/55)

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

จีนแจงผลกำไรการผลิตสุกรลดลงในปี 2554

บริษัท Yurun Food ที่เป็นผู้ผลิตสุกรรายใหญ่ของจีน รายงานผลประกอบการในปี ค.ศ.2011 มีรายได้ 32,315 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ.2010 ร้อยละ 50.5 แต่ผลกำไรลดลงร้อยละ 10.1 เหลือเพียง 2,785 ล้านดอลล่าร์ฮ่องกง สาเหตุจากทางบริษัทไม่สามารถผลักภาระต้นทุนในการผลิตสุกรที่สูงขึ้นมากไปยังผู้บริโภคได้ อีกทั้งประสบปัญหาจากการเพิ่มขึ้นของโรงเชือดและโรงงานแปรรูปเนื้อสุกรรายย่อยจำนวนมาก ทำให้คู่ค้าไม่มั่นใจในมาตรฐานการผลิต ถึงกระนั้นทางบริษัทได้วางแผนระยะยาวเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค ทั้งมาตรฐานและปริมาณเพื่อจะรองรับความต้องการเนื้อสุกรในตลาดจีน โดยมีเป้าหมายการผลิตจะต้อง! ทำให้ได้ 70 ล้านตัวต่อปี คิดเป็นเนื้อสุกรแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรประมาณ 6 แสนตันต่อปี อนึ่ง ปัจจุบันประเทศจีนมีประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน คิดเป็น 20% ของประชากรโลก โดยมีอัตราการเพิ่มของประชากรประมาณร้อยละ 1.7 ต่อปี ส่วนอินเดียอยู่ที่ 2.8 และมีแนวโน้มที่จะขึ้นอันดับ 1 ประชากรโลกภายในปี 2040 ที่มา : MeatTradeNEWSDaily (3/04/55)

ผลกระทบต่อการเกิดโรคในแหล่งน้ำและอาหารจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศในสหภาพยุโรป

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ได้จัดทำรายงานผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภูมิอากาศและสภาพอากาศต่อการเกิดโรคในอาหารและแหล่งน้ำ ซึ่งพบว่าในระยะสิบปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณฝนในประเทศทางตอนเหนือและลดลงในประเทศทางตอนใต้ และยังมีผลทำให้เกิดสภาวะอากาศรุนแรงได้แก่ ความแห้งแล้ง, คลื่นความร้อนที่แผ่ตัวในบริเวณกว้าง และการเกิดอุทกภัย ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การวางแผนด้านการสาธารณสุขเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงระยะยาวจึงต้องทวีความสำคัญขึ้นมา เนื่องจากเชื้อโรคทั้งสองแหล่งดังกล่าวไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภา! พภูมิอากาศเป็นอย่างมาก สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ecdc.europa.eu/en/publications/Publications/Forms/ECDC_DispForm.aspx?ID=848 ที่มา : ECDC (3/04/55

ออสเตรเลียตั้งกองทุนพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์

ออสเตรเลียก่อตั้งโครงการรับรองกระบวนการผลิต มูลค่า 5 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่ส่งออกสัตว์มีชีวิตดำเนินการตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์ของ OIE ตลอดกระบวนการผลิตโดยเปิดให้ลงทะเบียนในโครงการดังกล่าวจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2556 มาตรฐานว่าด้วยการส่งออกปศุสัตว์ของออสเตรเลียฉบับล่าสุดเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ปัจจุบันประเทศที่เป็นตลาดหลักของสัตว์มีชีวิตนำเข้าจากออสเตรเลีย ได้แก่ อินโดนีเซีย อิสราเอล มาเลเซีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก และจีน ซึ่งอินโดนีเซียเคยถูกระงับการส่งออกชั่วคราวตั้งแ! ต่วันที่ 7 มิถุนายน 2554 เนื่องจากมีกลุ่มผู้รณรงค์สวัสดิภาพสัตว์ร้องเรียนโรงเชือดที่ไม่ปฏิบัติตามปฏิญญาสากล ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงต่อต้านมาตรฐานกระบวนการผลิตดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงออสเตรเลีย (DAFF Website) ที่มา : MeatTradeNEWSDaily (3/04/55)

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

จีนยกระดับข้อบังคับสารเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในอาหาร



กระทรวงสาธารณสุขจีนปรับปรุงข้อบังคับสารเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในอาหาร สารในกลุ่มดังกล่าวรวมไปถึงไมโครนิวเทรียนท์ (Micronutrients) เช่น วิตามิน เกลือแร่ เป็นต้น โดยมีประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการดูดซึมธาตุอาหารและเพิ่มภูมิต้านทานโรค ข้อบังคับฉบับเดิม พ.ศ.2537 จะถูกยกเลิกและให้ข้อบังคับใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 แทน ซึ่งจะทำให้มาตรฐานสินค้าเกษตรเป็นไปตามกฎหมายความปลอดภัยอาหารของจีนมากยิ่งขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจะมีบทบาทในการกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมและสมาคมของผู้ผลิตตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามข้อบังคับที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าว



ที่มา : Xinhuanet (3/04/55)

ความผิดพลาดในการตรวจสอบสารเร่งเนื้อของไต้หวัน



จากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขของไต้หวันรายงานก่อนหน้านี้ว่าพบสารเร่งเนื้อกลุ่ม ractopamine, zilpaterol ในตัวอย่างเนื้อที่นำเข้าจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งสารดังกล่าวไม่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในทั้งสามประเทศ ทางกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (DAFF) ของออสเตรเลียได้แถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวว่า ทางไต้หวันไม่สามารถยืนยันแหล่งผลิตของเนื้อที่ตรวจพบสารเร่งดังกล่าวได้ และทางหน่วยงานก็ไม่ได้รับการแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการจากไต้หวันแต่อย่างใด

Mr.Dan Coup จากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตเนื้อของนิวซีแลนด! ์ ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวว่า ทางไต้หวันอาจดำเนินการตรวจสอบผิดพลาด หรือมีการปนเปื้อนข้ามตัวอย่างที่ใช้ตรวจสอบ รวมทั้งสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดก็อาจมีการติดฉลากผิด, มีการปนกันของผลิตภัณฑ์จากหลายแหล่ง เช่น ในการผลิตเนื้อบด หรืออาจเกิดการปนเปื้อนระหว่างเนื้อจากแต่ละแหล่งในขั้นตอนการตัดแต่งชิ้นส่วน ที่สำคัญ การสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนื้อนำเข้า มักมีการตรวจสอบในแหล่งจำหน่ายมากกว่าที่จะเป็นด่านศุลกากรหรือท่าเทียบสินค้าอีกด้วย ทำให้ยากที่จะเชื่อมั่นได้ว่าการตรวจสอบนั้นมีความถูกต้อง

ตัวแทนจาก DAFF ชี้แจงว่า หน่วยงานตรวจสอบส่วนกลางได้มีการตรวจสอบสารตกค้างทั้งในกลุ่ม ractopamine, zilpaterol และกลุ่มอื่นๆ โดยตั้งแต่ปี ค.ศ.2003 (พ.ศ.2546) เฉพาะในกลุ่ม ractopamine และอนุพันธ์ มีการตรวจสอบไปแล้วกว่า 300 ตัวอย่างต่อปี และไม่เคยตรวจพบสารตกค้างสองชนิดดังกล่าวนี้ Mr.Coup เสริมว่าในประเทศนิวซีแลนด์ก็ไม่พบสารตกค้างดังกล่าวเช่นกัน

&! nbsp; คณะรัฐมนตรีของไต้หวันได้สั! ่งการเพื ่อเตรียมรับมือกับปัญหาความปลอดภัยทางอาหารดังกล่าวแล้ว โดยนายกรัฐมนตรี เฉิน ชุง กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มีนาคม มีมติให้ทางการดำเนินการตรวจสอบในกระบวนการผลิตอาหารอย่างเข้มงวดนับจากนี้ไป

Ms.Rachel Williams จากบริษัทความปลอดภัยทางอาหารของออสเตรเลีย AnYi ให้สัมภาษณ์ทาง FoodNavigator เกี่ยวกับประเด็นการปนเปื้อนดังกล่าวว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตเนื้อทั้งสองประเทศในระยะยาวแต่อย่างใด แต่จะดำเนินการให้ความรู้เกษตรกรและเจ้าของฟาร์มให้เลือกใช้สารเคมีที่ทราบที่มาอย่างชัดแจ้ง รวมไปถึงการตรวจสอบตัวอย่างในโรงเชือด ก่อนที่จะไปถึงประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อเหล่านั้น และอาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับปริมาณสารตกค้างในอาหารของทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย




ที่มา : FoodNavigator-Asia (02/04/55)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Schmallenberg และเชื้อ Campylobacter ในฟาร์มปศุสัตว์อียู


ปัจจุบันฟาร์มปศุสัตว์ทางตอนเหนือของยุโรปกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Schmallenberg (SBV) ทั้งในฟาร์มเลี้ยงวัว แกะ และแพะ ในประเทศอิตาลี ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร และปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อ Campylobacter ในสัตว์ปีก อียูกำลังเร่งติดตามพัฒนาการการแพร่ระบาดของโรคและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้สามารถประเมินสถานการณ์

ปัจจุบันฟาร์มปศุสัตว์ทางตอนเหนือของยุโรปกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เชื้อไวรัส Schmall! enberg ถูกตรวจพบครั้งแรกในประเทศเยอรมนีเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ และได้แพร่กระจายสู่ฟาร์มในหลายประเทศ โดยมีแมลงตัวเล็กๆ (เช่น ยุง) เป็นพาหะนำโรค สัตว์ที่ได้รับเชื้อจะแสดงอาการของโรค คือ มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในสัตว์ตัวเต็มวัย (ปริมาณนมลดลง เป็นไข้หรือเกิดภาวะท้องร่วง) แต่สำหรับแม่วัว แพะและแกะที่ตั้งท้องจะเกิดภาวะแท้งคุกคาม และลูกสัตว์ที่ เกิดใหม่จะมีลักษณะผิดปกติ ปัจจุบันมีการตรวจพบเชื้อไวรัส SBV ในปศุสัตว์กว่า ๑,๐๐๐ ตัวและ ยังไม่มีวัคซีนรักษาสัตว์ที่ติดเชื้อ รวมทั้งยังไม่มีการทดสอบใดๆที่จะสามารถบ่งชี้ว่าสัตว์ได้รับเชื้อแล้ว

อย่างไรก็ดี ทางศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหภาพยุโรป (European Centre of Disease Prevention and Control : ECDC) ได้ทำการประเมินความเสี่ยงของโรคและให้ข้อสรุปว่า “ความเสี่ยงที่เชื้อไวรัส SBV จะมีผลต่อสุขภาพมนุษย์ไม่น่าจะเกิดขึ้น” ส่วนองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ก็ได้ออกมายืนยันว่า “เชื้อไวรัส SBV ไม่น่ามีอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์” อีกทั้งยังชี้แจงเพ! ิ่มเติมว่าเชื้อไวรัส SBV จะหมุนเวียนอยู่ในกระแสเลือดของสัตว์เพ! ียงระยะเ วลาสั้นๆ และจะมีการส่งผ่านโรคไปยังสัตว์ตัวอื่นๆผ่านยุง เห็บหรือแมลงตัวเล็กๆที่กัดสัตว์เท่านั้น (เช่นเดียวกับการแพร่กระจายโรค bluetongue)

สำหรับสิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการเกี่ยวกับในเรื่องนี้ คือ มุ่งทำการวิจัยและเก็บข้อมูล ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะช่วยพัฒนาหาวิธีที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคระบาดดังกล่าว ส่วนเกษตรกรต้องรีบแจ้งรายงานต่อเจ้าหน้าที่หรือสัตว์แพทย์ทันทีหากพบการตายหรือความผิดปกติในสัตว์ เกิดใหม่ นอกจากนี้ ต้องระมัดระวังการค้าน้ำเชื้อ ตัวอ่อนและสัตว์ที่มีชีวิต ซึ่งอาจทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสขยายวงกว้างขึ้น แต่สำหรับการค้าเนื้อสัตว์และนม องค์การสุขภาพสัตว์โลก ประเมินว่าไม่น่ามีความเสี่ยง

ปัจจุบัน สหภาพยุโรปประสบปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อ Campylobacter ในสัตว์ปีก หากผู้บริโภครับประทานเนื้อไก่ที่ไม่สุกเพียงพออาจได้รับเชื้อดังกล่าวผ่านทางการบริโภคได้ โดยจะก่อ ให้เกิดอาหารท้อง! ร่วงและอาเจียน โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร มีสินค้าอาหารที่ติดเชื้อ Campylobacter ส่งผลกระทบให้แก่เศรษฐกิจของ UK เป็นมูลค่าถึง ๗๒๓ ล้านยูโรต่อปี

เชื้อ Campylobacter พบมากในสัตว์ปีก หากสัตว์อาจไม่แสดงอาการป่วยใดๆ เชื้อสามารถถ่ายทอดสู่สัตว์ปีกด้วยกันทางน้ำและอาหาร ขณะนี้ Biotechnology and Biological Sciences Research Council ร่วมกับบริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์ปีก Aviagen UK ได้อนุมัติวงเงิน ๑.๖ ล้านยูโร ให้กับ Roslin Institute, Edinburgh เพื่อทำการวิจัยคิดค้นสัตว์ปีกที่สามารถทนต่อเชื้อ Campylobacter (Campylobacter-resistant chicken) เพื่อจำกัดวงระบาดของเชื้อมิให้ติดต่อกันได้ระหว่างสัตว์ปีก

ปัจจุบันใน EU เชื้อไวรัส Schmallenberg ยังเป็นโรคที่ยังไม่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทางการ เมื่อมีการตรวจพบเชื้อนี้เกิดขึ้น (not a notifiable disease) อย่างไรก็ดี เกษตรกรเพียงต้องรายงานไปยังสัตวแทพย์ของตนเมื่อพบว่ามีปัญห! าเกิดขึ้น อาทิ สัตว์ตายหรือพิการเมื่อแรกเกิด ซึ่งหลังจากนั้น ท! างสัตวแพ ทย์ก็จะติดต่อห้องปฎิบัติการท้องถิ่นของตนอีกทีหนึ่ง

ดังนั้น จากปัญหาการระบาดที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้ ส่งผลให้ประเด็นดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกัน ภายใน EU ว่า ควรให้มีการขึ้นบัญชีเชื้อไวรัส Schmallenberg ให้เป็นโรคที่ต้องมีการแจ้งต่อทางการ (notifiable disease) อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร UK ยังคงไม่เห็นด้วยที่จะต้อง ให้มีความจำเป็นในการขึ้นบัญชีไวรัส Schmallenberg นี้ตามที่กลุ่มเกษตรกรเรียกร้องอยู่ในขณะนี้ หากกลับเสนอให้มีการมุ่งเน้นการวิจัยและการคิดค้นวัคซีนเพื่อต่อสู้กับไวรัสดังกล่าวแทน

สิ่งที่อียูกำลังเร่งดำเนินการในปัจจุบัน คือ ติดตามพัฒนาการการแพร่ระบาดของโรค และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้สามารถประเมินสถานการณ์ ทำความเข้าใจโรคและ จัดการกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น, ทำการศึกษาวิจั! ยการระบาดของโรค, กำหนดมาตรการป้องกัน และควบคุมโรค รวมทั้งพัฒนาหาวัคซีนป้องกันโรคซึ่งอาจต้องใช้เวลานานถึง ๑๘ เดือนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ ในระหว่าง นี้เกษตรกรก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการดูแลจัดการฟาร์ม (โดยเฉพาะช่วงที่สัตว์ตั้งท้อง และในฤดูร้อน ที่แมลงพาหะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว) รวมไปถึงควรนำมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (bio- security measures) มาใช้เพื่อป้องกันโรคเช่นเดียวกับเมื่อเกิดโรคระบาดสัตว์ประเภทอื่นๆ

ปัญหาโรคสัตว์ที่อุบัติขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจะเป็นโรค Bluetongue และเชื้อไวรัส Schmellenberg และเชื้อ Campylobacter ในทวีปยุโรป, โรคไข้หวัดนกในทวีปเอเชีย แสดงให้เห็น ว่านานาประเทศควรเตรียมพร้อมรับมือกับโรคภัยใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเพิ่มการลงทุนในมาตรการป้องกันและควบคุมโรค, เสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยเกี่ยวกับโรคระบาดให้ดีขึ้น, เพิ่มความแข็งแกร่งของมาตรการติดตามและควบคุมโรค, จัดตั้งหรือเสริมสร้างบทบาทของหน่วยงาน Veterinary Public Hea! lth (VPH) ซึ่งจะทำหน้าที่ประสานการทำงานระหว่าง ๒ ภาค ได้แก่ ภา! คเกษตรกร รมและภาคสาธารณสุข รวมไปถึงการอบรมบุคคลากรเพื่อทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพคนและสุขภาพสัตว์ในยามที่มีปัญหาโรคระบาดสัตว์เกิดขึ้น



ที่มา : ThaiEurope (ต้นฉบับภาษาไทย)
(02/04/55)

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

บราซิลห้ามนำเข้าสารพันธุกรรมจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง

วันที่ 12 มีนาคม 2555 บราซิลได้ออกมาตรการฉุกเฉินประกาศห้ามนำเข้าสารพันธุกรรมจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง (genetic material) จากประเทศที่พบเชื้อไวรัส Schmallenberg virus (โรคใหม่ ปี 2555) เข้ามายังบราซิล มาตรการถูกกระตุ้นโดยมีสาเหตุจากการหมุนเวียนของเชื้อไวรัส Schmallenberg virus ในสหภาพยุโรป ในความจริงการศึกษาที่ตีพิมพ์จนถึงวันนี้ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนความเป็นไปได้ที่จะถ่ายทอดเชื้อมายังนำเชื้อ และตัวอ่อนของสัตว์เคี้ยวเอื้ยง และยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมที่จะลดความเสี่ยงต่อเชื้อดังกล่าวได้ โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ก.พ.55 ที่มา : มกอช. (2/04/55)

รัสเซียห้ามนำเข้าโปรตีนอาหารสัตว์ที่ใช้สัตว์เป็นวัตถุดิบ

วันนี้ 26 มีนาคม รัสเซียประกาศห้ามนำเข้าโปรตีนอาหารสัตว์ที่ใช้สัตว์เป็นวัตถุดิบจากทุกประเทศในสหภาพยุโรป เหตุผลของการห้ามนำเข้าเพื่อให้เกิดการสอดคล้องระหว่างกฎระเบียบของรัสเซียและกฎระเบียบระหว่างประเทศ รวมทั้งการคำนึงถึงการตรวจสอบ DNA ของสัตว์เคี้ยวเอื้องจากอาหารสัตว์นำเข้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรค BSE ในอาณาเขตของประเทศรัสเซีย ข้อกำหนดดังกล่าวจะบังคับใช้กับโปรตีนแปรรูปจากสัตว์ที่นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ แต่ไม่ได้บังคับใช้กับโปรตีนอาหารที่ได้มาจากปลาแปรรูป ผลิตภัสิณฑ์นำเข้าทั้งหมดที่ได้รับ! อนุญาติก่อนหน้านี้โดย Rosselkhoznadzor เพื่อนำเข้าไปยังรัสเซียจะถูกยกเลิก ส่วนอาหารสัตว์ทั้งหมดที่ส่งไปยังรัสเซียก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2555 จะรับตามปกติ อาหารสัตว์เลี้ยง (Petfood) กฎระเบียบสำหรับการนำเข้าโปรตีนจากสัตว์สำหรับเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงจะไม่เปลี่ยนแปลง นาย Sergei Dankvert ผู้อำนวยการของ Rosselkhoznadzor ยังชี้ให้เห็นว่าเสบียงอาหารปลาจะถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ Rosselkhoznadzor ได้ตรวจพบหลายกรณีที่อาหาถูกผสมด้วยเนื้อและกระดูกป่นจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง ไวรัส Schmallenberg สัปดาห์ที่ผ่านมา Rosselkhoznadzor ยังได้ห้ามการซื้อสุกรสด โคกระบือ แกะและแพะ จากสหภาพยุโรป การออกมาตรการดังกล่าวเนื่องมาจากการระบาดของเชื้อไวรัส Schmallenberg จำนวนมากในประเทศสหภาพยุโรป และการแพร่กระจายของโรคไวรัสอื่นๆ เช่น bluetongue ไวรัสทั้งสองชนิดนี้เป็นอันตรายอย่างมากต่อปศุสัตว์ ! ที่มา : All About Feed (2/04/55)