หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เวียดนามคุมไข้หวัดนกได้แล้ว



เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม(MARD) คาดว่าเวียดนามสามารถควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกซึ่งได้แพร่ระบาดในเวียดนามเมื่อช่วง 2- 3 วันที่ผ่านมาได้แล้ว

กระทรวงฯสั่งให้กลุ่มเจ้าหน้าที่ 7 กลุ่มตรวจสอบการป้องกันการระบาดโรคในฟื้นที่เป้าหมายและช่วยประชาชนในพื้นที่ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯได้เตือนให้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันอย่างเข้มงวด แม้ว่าไข้หวัดนกมีทีท่าว่าจะหยุดแพร่ระบาดเพื่อป้องกันการกลับมาระบาดอีกครั้ง

&nb! sp; ในขณะนี้ มีเมือง และจังหวัดต่างๆ 11 แห่งในเวียดนามทางเหนือและเขตภาคกลางกำลังเผชิญกับการระบาดของไข้หวัดนก



ที่มา : Xinhua News (29/02/55)

เกษตรกรเลี้ยงหมูไต้หวันเตรียมประท้วงการนำเข้าเนื้อวัว จากสหรัฐ


กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไต้หวันวางแผนประท้วงรัฐบาลเรื่องการนำเข้าเนื้อวัวที่ใช้สาร ractopamine ในการเลี้ยงจากสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประท้วงราว 20,000 คนบริเวณหน้ากระทรวงเกษตรไต้หวัน (COA) แม้ว่ารัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจว่าไต้หวันจะอนุญาตการนำเข้าเนื้อวัวดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะผ่อนผันการห้ามใช้สารดังกล่าวและอนุญาตให้จำหน่ายเนื้อสัตว์ปนเปื้อน ractopamine ได้หรือไม่ เนื่องจากไต้หวันกำลังถูกสหรัฐฯกดดัน ซึ่งหมายความว่า ไต้หวันอาจยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อน ractopamine จากสหรัฐฯ และอนุญาตการนำเข้าเนื้อสุกรปนเปื้อนสารดังกล่าว

! ทั้งนี้ การผ่อนผันการนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนสาร ractopamine จากสหรัฐฯ เป็นประเด็นที่ทำให้การกรอบการเจรจาการค้าและลงทุนระหว่างไต้หวัน และสหรัฐฯ (TIFA) ต้องหยุดชะงัก

อนึ่ง ไต้หวัน จีน สหภาพยุโรป และกว่าอีก 100 ประเทศห้ามใช้ ractopamine ส่วนสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆอีก 20 ประเทศอนุญาตให้ใช้สารนี้ในอาหารเลี้ยงสัตว์



ที่มา : Pig Progress (28/02/55)

ไข้หวัดนกกระทบอุตสาหกรรมนกกระจอกเทศในอัฟริกาใต้



การระบาดไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง ชนิด H5N2 ในอัฟริกาใต้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตเนื้อนกกระจอกเทศในประเทศ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ฆ่านกกระจอกเทศประมาณ 41,000 ตัว

การระบาดของไข้หวัดนก H5N2 เป็นครั้งแรกในจังหวัด Western Cape เมื่อเดือนเมษายน และแม้ว่าไข้หวัดนก H5N2 จะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่สามารถกลายพันธุ์และแพร่ระบาดในสัตว์ปีกได้ เจ้าหน้าที่ได้ระงับการส่งออกผลิตภัณฑ์นกกระจอกเทศแล้วและห้ามการนำสินค้าเข้าเก็บจนกว่าจะมีการประกาศว่าพื้นที่ทั้งหมดปลอดเชื้อ และคาดการณ์ว่าอุ! ตสาหกรรมนี้ต้องสูญเสียรายได้กว่า 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

ทั้งนี้ อัฟริกาใต้เป็นประเทศผู้นำด้านการทำฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศของโลก โดยส่งออกผลิตภัณฑ์นกกระจอกเทศ 90 % จากปริมาณที่ผลิตได้ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี



ที่มา : World Poultry (28/02/55

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไต้หวันกำหนดค่า MRLs ของสาร Enrofloxacin Kanamycin และ Oxolinic



เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555 ไต้หวันแจ้งเวียนต่อประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เรื่องการเสนอกำหนดค่า MRLs ของสาร Enrofloxacin, Kanamycin และ Oxolinic acid ในสินค้านำเข้าต่อไปนี้

• Enrofloxacin ในกล้ามเนื้อและไขมันสัตว์ปีก ที่ 0.1 ppm
ในตับสัตว์ปีก ที่ 0.2 ppm
&nb! sp; ในไตสัตว์ปีก ที่ 0.3 ppm

• Kanamycin ในกล้ามเนื้อและไขมันวัว, แกะ สุกร และไก่ ที่ 0.1 ppm
ในตับวัว แกะ สุกร และไก่ ที่ 0.6 ppm
ในไตวัว แกะ สุกร และไก่ ที่ 2.5 ppm
ในนมวัว และแกะ ที่ 0.15 ppm

• Oxolinic acid ในกล้ามเนื้อปลารวมหนังที่ 0.05 ppm
! ; ในกล้ามเนื้อกุ้งที่ 0.05
&n! bsp;&nbs p; ในกล้ามเนื้อวัว สุกร และ ไก่ ที่ 0.1 ppm
ในตับและไตวัว สุกร และไก่ที่ 0.15 ppm
ในไขมันวัว สุกร และไก่ที่ 0.05 ppm
ในไข่ไก่ที่ 0.05 ppm

ทั้งนี้ เปิดรับฟังความคิดเห็นถึงวันที่ 6 มีนาคม 2555
หากมีข้อคิดเห็นกรุณาแจ้ง spsthailand@gmail.com

ออสซี่กังวลอาหารนำเข้าผิดกฎหมายจากเกาหลีใต้



ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนมจากเกาหลีใต้ที่นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมายในออสเตรเลีย ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ถึงธันวาคม 2553 มีปริมาณมากกว่า 100 ตัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ออสเตรเลียกังวลเกี่ยวกับการนำเข้าดังกล่าว เนื่องจากเกาหลีใต้ยังมีโรคปากและเท้าเปื่อยระบาดอยู่ ตัวอย่างสินค้าที่นำเข้าผิดกฎหมาย ได้แก่ ติ่มซำ ไอศกรีม และเนื้อดิบ ซึ่งนำเข้ามาในเมลเบิร์น ซิดนีย์และบริสเบนตั้งแต่ธันวาคม 2552 จนถึงก่อนวันคริสต์มาสในปี 2553

การค้นพบปัญหาการนำเข้าอาหารผิดกฎหมายจากเกาหลีใต้มีขึ้นจากการทอนสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งไม่สามารถพบได้ว่าจริงๆแ! ล้วปัญหานี้มีมาก่อนหน้านี้นานเท่าไหร่แล้ว สินค้าที่นำเข้าอย่างผิดกฎหมายได้การกระจายอย่างกว้างขวางไปทั่วร้านค้าปลีกกว่า 300 แห่ง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจนว่าสินค้านำเข้าผิดกฎหมายทั้งหมดได้ถูกตรวจสอบทั้งหมดแล้วหรือยังและปริมาณเท่าไหร่ที่บริโภคไปแล้ว แต่อย่างน้อยก็คาดว่าได้ค้นพบสินค้านำเข้าอย่างผิดกฎหมายเป็นส่วนใหญ่แล้ว




ที่มา : Australian Food news (27/02/55

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อียูและสหรัฐฯลงนามเห็นชอบสินค้าออแกนิกส์



เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 สหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐฯ ลงนามเห็นชอบผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์ที่ได้รับการรับรองในอียูหรือสหรัฐฯให้สามารถวางจำหน่ายได้ทั้งในอียูและสหรัฐฯโดยมีผลตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการที่ต้องการจำหน่ายสินค้าในยุโรปและสหรัฐฯจะต้องได้รับใบรับรองจากทั้งสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ซึ่งก่อให้เกิดภาระด้านค่าธรรมเนียม การตรวจสอบ และการขอเอกสารเป็นสองเท่า

ก่อนหน้าที่จะมีการลงนาม อียูและสหรัฐฯ ได้เข้ามาตรวจสอบความสอดคล้องของกฎระเบียบ มาตรการด้านการควบคุมคุณภาพ ข้อกำหนดด้านการขอใบรับรอง และการติดฉ! ลาก แม้ว่าจะมีข้อแตกต่างระหว่างสหรัฐฯและอียูเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากสหรัฐฯอนุญาตให้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดลุกล้ำ (โรคยอดแห้งตาย) ในแอปเปิ้ลและลูกแพร์ออแกนิกส์เท่านั้น ส่วนอียูอนุญาตให้ใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาสัตว์ติดเชื้อเท่านั้น สำหรับการค้าผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์ตามการลงนามครั้งนี้ จะต้องมีการรับรองว่าจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์จะต้องมีใบรับรองการส่งออกผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์แนบมาด้วย ซึ่งใบรับรองจะแสดงสถานที่ผลิต หน่วยงานที่รับรองผลิตภัณฑ์ว่าไม่มีสารและขึ้นตอนการผลิตต้องห้าม รับรองว่าผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด และอำนวยความสะดวกด้านการตรวจสอบย้อนกลับได้ นอกจากนี้สหรัฐฯและอียูจะหารือและทบทวนข้อกำหนดของแต่ละฝ่ายเป็นระยะเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของการลงนามครั้งนี้หรือไม่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์ในสหรัฐฯและอียูมีมูลค่ารวมกันประมาณ 400,000 ล้านยูโร และมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกๆปี

&n! bsp; ทั้! งนี้ การ ลงนามเห็นชอบครั้งนี้ครอบคลุมเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกและได้รับการรับรองในสหรัฐฯหรือสหภาพยุโรปเท่านั้น



ที่มา : ALL About Feed (20/02/55)

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เวียดนามถล่มราคามันเส้นไทยทีละ 10 เหรียญ



ราคามันเส้นจากประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะต่ำกว่า 240 เหรียญ/ตัน จากสาเหตุหลัก 2 ประการคือ

1) จีนซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ ประกาศใช้มาตรการเข้มงวดในเรื่องของฝุ่น ณ ท่าเรือปลายทางด้วยการกำหนดให้มันเส้นที่ขนส่งจากไทยจะต้องถูกขนถ่ายออกจากท่าเรือทันทีโดยไม่อนุญาตให้เทกองสินค้าไว้ที่ท่าเรือ โดยมาตรการดังกล่าวถูกใช้ที่ท่าเรือหลิน หยวน กัง ทางภาคเหนือ ซึ่งมันเส้นไทยถึงร้อยละ 50 ถูกขนถ่ายผ่านท่าเรือแห่งนี้และเมื่อมันเส้นไม่สามารถพักสินค้าไว้ที่ท่าเรือเท่ากับเป็นการตัดดีมานด์ลง ส่งผลให้ผู้นำเข้าใช้เป็นข้ออ้างเรียกร้องให้ไทยส่งมันเส้นที่ใช้แ! รงคนสับ เพื่อขจัดปัญหาเรื่องฝุ่น

2) เวียดนามประกาศดัมพ์ราคาขายมันเส้นแข่งกับไทย โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งเป็นช่วงที่มันเส้นเวียดนามออกสู่ตลาดมากที่สุด ยกตัวอย่าง ราคามันเส้นไทยเสนอขาย 240 เหรียญ/ตัน จะถูกมันเส้นเวียดนามดัมพ์ราคาลงมาทันที 10 เหรียญ เหลือ 230 เหรียญ/ตัน ทั้งหมดนี้จึงเป็นสัญญาณให้กระทรวงพาณิชย์ออกมาตรการชะลอการขุดมันออกสู่ตลาดในช่วงนี้



ที่มา : มกอช. (23/02/55)

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บริษัทค้าปลาแซลมอนขยายกิจการ เพื่อเพิ่มผลกำไร



บริษัทค้าปลาแซลมอนของสกอตแลนด์ รายงานผลกำไรประจำปี 2011 ว่า ราคาปลาแซลมอนได้ลดต่ำลงจนน่าตกใจ บริษัทในสกอตแลนด์จึงขยายกิจการเพื่อให้มีความสมดุลกับราคาที่ผันผวน

บริษัท Scottish Salmon Company (SSC) รายงานว่าหลังจากที่สูญเสียกำไรเนื่องจากราคาปลาแซลมอนลดต่ำลง ได้ขยายกิจการเพื่อเพิ่มผลกำไรอีกครั้ง ส่วนหนึ่งของการขยายกิจการโดยรวมเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยสร้างผลกำไรประจำปีให้เพิ่มขึ้น ปริมาณการผลิตที่มีเสถียรภาพจะทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัท และลดความเ! สี่ยงเกี่ยวกับความผันผวนของราคาปลาแซลมอน ซึ่งเป้าหมายของบริษัทในปี 2016 คือการเพิ่มการผลิตเป็น 40,000 ตัน จากปริมาณการผลิตในปัจจุบัน 24,000 ตัน

SSC มีเป้าหมายที่จะเปิดฟาร์มใหม่อีก 10 ฟาร์ม ซึ่งจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาห้าปี มีความเป็นไปได้มากที่จะตั้งฟาร์มใหม่ในเวสต์โคสต์, ไฮแลนด์และเกาะสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทในปัจจุบัน นอกจากนี้ ฟาร์มปลาแซลมอนใหม่จะใช้มาตรฐาน Food RSPCA เพื่อตอบสนองเกณฑ์นี้ด้วย การขยายตัวยังจะเป็นประโยชน์ต่อประชากรในละแวกนั้นเนื่องจากคาดว่าจะมีการสร้างงานใหม่กว่า 100 งาน



ที่มา : The Fish site (21/02/55)

ราคาวัวอินโดสูงขึ้น 20 %



ราคาวัวมีชีวิตในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 20 % นับตั้งแต่รัฐบาลอินโดนีเซียระงับการนำเข้าวัวมีชีวิตจากออสเตรเลีย โดยในเดือนธันวาคม จำนวนวัวมีชีวิตนำเข้าลดลงเหลือ 280,000 ตัว จากเดิมซึ่งมีการนำเข้าที่ 520,000 ตัว นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียยังลดโควต้าเนื้อวัวนำเข้า

ภาคอุตสาหกรรมผลิตวัวในออสเตรเลียต่างคาดหวังให้ผู้บริโภคในอินโดนีเซียออกมาแสดงความไม่พอใจต่อราคาเนื้อวัวในประเทศที่เพิ่มขึ้น


ที่มา : The Cattle Site (21/02/55)

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เกาหลีใต้นำเข้าข้าวโพดเพิ่ม

 
                สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า เกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดรายใหญ่อันดับ 3      ของโลก อาจนำเข้าข้าวโพดเพิ่มขึ้น 4.9 % เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตสุกรฟื้นตัวหลังจากที่เกาหลีใต้ต้องฆ่าสุกร 3.32 ล้านตัว หรือ 34% ของจำนวนสุกร และวัวควาย 151,000 ตัว หรือ 4.5 %      ของจำนวนทั้งหมดในประเทศทั้งหมด ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2553 – เดือนเมษายน 2554 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD)

                นาย Kim Chi Young ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อของสมาคมอาหารสัตว์เกาหลีคาดการณ์ว่าเกาหลีใต้จะนำเข้าข้าวโพ! ดมากถึง 6 ล้านตันในปีนี้ ซึ่งในปี 2553 เกาหลีใต้นำเข้าข้าวโพด 5.72    ล้านตัน ในปี 2554 นอกจากนี้คาดว่าจำนวนสุกรในประเทศอาจเพิ่มขึ้นเป็น 9 ล้านตัวภายใน           เดือนกันยายน ส่งผลให้ความต้องการข้าวโพดและข้าวสาลีเพิ่มขึ้น ส่วนการนำเข้าข้าวสาลีอาจเพิ่มขึ้น 2.5 ล้านตันปีนี้ 

                ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปริมาณอาหารสัตว์ของประเทศฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์และเกาหลีใต้จะเข้าข้าวโพดจากอัฟริกาใต้และอเมริกาใต้แทนข้าวโพดจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ สมาคมการค้านานาชาติแห่งเกาหลีรายงานว่าการนำเข้าข้าวโพดจากอัฟริกาใต้เพิ่ม 800,000 ตัน ขณะที่นำเข้าจากสหรัฐฯลดลง 4.84 ล้านตัน หรือลดลง 19 %

 
 
ที่มา : All About Feed (15/02/55

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จับตา...สถานการณ์สหรัฐฯ กดดันไต้หวันให้ยกเลิกไฟแดงเนื้อวัวปนเปื้อน ractopamine จากสหรัฐฯ

 
                สหรัฐฯกดดันรัฐบาลไต้หวันให้อนุญาตนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯที่มีสาร ractopamine ปนเปื้อนได้ หลังจากเนื้อวัวสหรัฐฯถูกไต้หวันปฏิเสธการนำเข้าเนื่องจากตรวจพบสาร ractopamine ในเนื้อวัว เมื่อปี 2553 จึงทำให้มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลไต้หวันอาจยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อน ractopamine จากสหรัฐ

                คาดการณ์ว่าไต้หวันอาจบังคับใช้มาตรฐานสาร ractopamine ตกค้างในผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรในประเทศและนำเข้าคนละฉบับ  และไต้หวันอาจยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อน ractopamineจากสหรัฐและอนุญาตให้นำ! เข้าเนื้อหมูปนเปื้อนสารดังกล่าว ซึ่งญี่ปุ่นอนุญาตการนำเข้าในลักษณะนี้เช่นกัน

                จากการที่ไต้หวันห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนสาร ractopamine จากสหรัฐฯเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้การเจรจากรอบความตกลงทางการค้าและลงทุนระหว่างไต้หวันและสหรัฐฯ(TIFA) ต้องเลื่อนออกไป

               ทั้งนี้ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ไต้หวันเริ่มห้ามใช้และไม่อนุญาตไม่ให้มีสาร ractopamine ตกค้าง  ในผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรและตั้งแต่นั้นมาเกษตรกรเลี้ยงสุกรของไต้หวันได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของรัฐบาลซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภค จนทำให้มีการปฏิบัติจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน
 
 
 
 
ที่มา :  Pig Progress (14/02/55)

กระทรวงการกีฬาจีนห้ามนักกีฬากินเนื้อหมู หวั่นปนเปื้อนสาร clenbuterol

 
                กระทรวงการกีฬาของจีน ห้ามนักกีฬาที่จะเตรียมตัวไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 30  ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รับประทานเนื้อสุกรเนื่องจากตรวจพบผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรสำหรับนักกีฬาปนเปื้อนสาร clenbuterol หรือ สารเร่งเนื้อแดง ซึ่งเป็นสารกระตุ้นต้องห้ามในการแข่งขันกีฬา เนื่องจากก่อนหน้านี้ นาย Alberto Contador เจ้าของแชมป์ Tour de France ถูกห้ามแข่งขันปั่นจักรยาน Tour de France เนื่องจากตรวจพบสาร clenbuterol ปนเปื้อนในตัวอย่างปัสสาวะ นาย Alberto Contador อ้างว่าการตรวจพบสารดังกล่าวเกิดจากการที่ตนรับประทานเนื้อสัตว์ปนเปื้อนสาร clenbuterol และองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping! Agency:  WADA) ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่สาร clenbuterol ตกค้างปริมาณเล็กน้อยในตัวอย่างปัสสาวะของนักกีฬาอาจเกิดจากการที่นักกีฬารับประทานอาหารปนเปื้อนสารดังกล่าว แต่ต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตามศาลอนุญาโตตุลาการด้านกีฬาไม่เชื่อคำกล่าวอ้างของนาย Alberto Contador นอกจากนี้ เมื่อปี 2553 Tong Wen นักกีฬายูโดของจีนก็ถูกห้ามแข่งขันกีฬาเป็นเวลา 2 ปีเช่นกัน เนื่องจากตรวจพบสาร clenbuterol  โดย Tong Wen  อ้างว่าตนรับประทานเนื้อสุกรที่มีสารดังกล่าวปนเปื้อน

                จีนตรวจพบพบสาร clenbuterol ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเป็นจำนวนมากเนื่องจากเกษตรกรนิยมใช้สารดังกล่าวเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและทำให้เนื้อมีไขมันน้อย แม้ว่ารัฐบาลจีนจะห้ามใช้สารดังกล่าวก็ตาม

                ทั้งนี้ เมื่อรับประทานอาหารที่มีสาร clenbuterol ปนเปื้อนจะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้  และใจสั่น
 
 
ที่มา : Food Production Daily (10/02/55)

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ออสเตรเลียยึดไก่กระทง 700,000 ตัว เหตุขาดสวัสดิภาพสัตว์

ในสัปดาห์นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ รัฐวิคตอเรีย ออสเตรเลีย (DPI) รายงานว่า กระทรวงฯ ยึดไก่กระทงกว่า 700,000 ตัวในฟาร์มไก่กระทง 6 แห่งในกิพสแลนด์ตะวันตก รัฐวิคตอเรียเหนือ และ วิคตอเรียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งไก่ทั้งหมดเป็นของบริษัท Tip-Top Poultry

กระทรวงฯ ระบุว่าไก่ถูกยึดเนื่องจากปัญหาการให้อาหารสัตว์ สาเหตุเชื่อว่าเกิดจากบริษัทกำลังประสบปัญหาด้านการเงินจึงไม่สามารถซื้ออาหารสัตว์ได้อย่างเพียงพอ ดร. Hugh Millar กรรมการบริหารฝ่ายความมั่นคงทางชีวภาพระบุว่ากระทรวงฯได้ติดต่อให้บริษัทอื่นเข้า! มาดูแลไก่ที่ถูกยึดเรียบร้อยแล้ว ในขณะนี้ ไก่ได้รับอาหารและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ซึ่งในท้ายที่สุดไก่จะถูกแปรรูปเพื่อจำหน่ายเมื่อไก่มีขนาดและมีสภาพที่เหมาะสม ดร. Hugh เพิ่มเติมว่าไก่ที่ถูกยึดไม่ได้ติดโรคและการยึดในครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในฝูงไก่เมื่อไม่นานนี้แต่อย่างใด



ที่มา : Aus Food News (08/02/55)

พบโรคปากและเท้าเปื่อยระบาดในไต้หวัน

องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) รายงานว่าพบสุกรในฟาร์มในฟาร์ม 2 แห่ง ซึ่งใกล้กับหมู่เกาะจินเหมินแสดงอาการของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) เนื่องจากมีตุ่มน้ำใส และผลการทดสอบตัวอย่างจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติยืนยันว่าสุกรติดโรคปากและเท้าเปื่อยชนิด O

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้ทำลายสุกรทั้ง 530 ตัว ทำความสะอาดและกำจัดเชื้อในฟาร์มทั้ง 2 แห่งเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบฟาร์มเสี้ยงสัตว์เท้ากีบที่อยู่ภายในรัศมี 3 กิโลเมตรของฟาร์มเลี้ยงสุกรดังกล่าว

&nbs! p; ทั้งนี้ กรมข้อมูลสุขภาพสัตว์ของ OIE เพิ่มเติมว่าการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยครั้งนี้นับเป็นการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยชนิด O (SEA topotype) เป็นครั้งแรก



ที่มา : Pig Progress (08/02/55

สหรัฐฯกดดันไต้หวัน อนุญาตนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อน ractopamine จากสหรัฐฯ

สหรัฐฯ กดดันฝ่ายบริหารของไต้หวันให้ยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนสาร ractopamine หรือสารเร่งเนื้อแดงจากสหรัฐฯ เนื่องจากไต้หวันห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์และการผลิตเนื้อสัตว์ในประเทศที่ปนเปื้อนสารดังกล่าว โดยพรรคฝ่ายค้านออกมาต่อต้านการยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนสาร ractopamine โดยระบุว่าการอนุญาตนำเข้าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค ด้านฝ่ายรัฐบาลกล่าวว่าแม้รัฐบาลกังวลต่อผลกระทบด้านการส่งออกเนื้อวัวของสหรัฐฯ แต่ไม่ว่าจะยกเลิกการห้ามนำเข้าหรือไม่นั้น รัฐบาลจะศึกษาประเด็นนี้อย่างระมัดระวังก่อนที่จะตัดสินใจ เนื่องจากการอนุญาตนำเข้าเนื้อวัวปนเปื้อนสาร ractopamine เกี่ยวข้องกับปัญหาสาธ! ารณสุข ความปลอดภัยอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและสหรัฐฯ โดยรัฐสภาไต้หวันจะหารือเรื่องนี้ในการประชุมครั้งแรกในสัปดาห์นี้

ไต้หวันเป็นตลาดส่งออกเนื้อวัวและเนื้อสุกรใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ไต้หวันเริ่มตรวจการปนเปื้อนสาร ractopamine ในเนื้อวัวจากสหรัฐฯเมื่อเดือนมกราคม 2554 และพบการพบสารดังกล่าวปนเปื้อนที่ 2.4 – 4.07 ppb ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ที่ 30 ppb และ มาตรฐานสากลที่10 ppb แต่เจ้าหน้าที่ไต้หวันได้นำเนื้อวัวดังกล่าวออกจากชั้นวางจำหน่ายเนื่องจากกังวลว่าจะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

ในต้นเดือนมิถุนายน 2554 ไต้หวันปฏิเสธการนำเข้าเนื้อวัวแช่แข็งจากสหรัฐฯเกือบ 100 ตันหลังจากตรวจพบการปนเปื้อน ractopamine ที่ 1.5 ppb หลังจากนั้น 10 วัน ร้าน Burger King ในไต้หวันระงับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเบคอนชั่วคราวหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขไต้หวันตรวจพบผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรจากสหรั! ฐฯปนเปื้อน ractopamine จึงยึดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก่อนที่จะวางจำหน! ่ายในตลา ด นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กระทรวงฯระบุว่าพบสารดังกล่าวในผลิตภัณฑ์เบคอนปรุงสุกที่ 3 ppb

ประเด็นการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อวัวปนเปื้อนสาร ractopamine กระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและไต้หวัน นโยบายการห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปนเปื้อนสาร ractopamine เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ทั้ง 2 ประเทศเลื่อนการเจรจากรอบการตกลงทางการค้าและการลงทุน (TIFA) โดยสหรัฐฯ ยืนยันว่านโยบายดังกล่าวของไต้หวันไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์




ที่มา : Food Safety News และ Focus Taiwan (08/02/55)