หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ไข้หวัดนกระบาดในฮ่องกง

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 กระทรวงเกษตร ประมงและอนุรักษ์ฮ่องกง (AFCD) รายงานว่าพบซากห่านติดเชื้อไข้หวัดนกในหมู่บ้านซามแจ๋งซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฮ่องกง โดยผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าพบเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในซากห่านดังกล่าว

เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบฟาร์มสัตว์ปีกที่อยู่ในรัศมี 3 กิโลเมตรจากบริเวณที่พบซากห่าน ตัวนั้น ผลการตรวจสอบพบว่าไม่มีฟาร์มใดติดเชื้อ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯฮ่องกงจะตรวจสอบฟาร์มและตลาดค้าส่งเพื่อให้มั่นใจว่ามีการนำมาตรการป้องกันโรคไข้หว! ัดนกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ร่วมมือกับกรมอื่นๆในการดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่อไป ตลอดจนกระตุ้นให้เกษตรกรเพิ่มระดับมาตรการป้องกันและมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก



ที่มา : Xinhua News (31/01/55

อียูปรับค่า MRLs ของ dioxins, dioxins-like PCBs และ non dioxin-like PCBs

สหภาพยุโรปปรับปรุงแก้ไขค่า MRLs ของสาร dioxins, dioxins-like PCBs และ non dioxin-like PCBs ในสินค้าอาหาร 13 ประเภท ได้แก่

• เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (วัว แกะ สัตว์ปีก สุกร)
• ตับสัตว์ (วัว แกะ สัตว์ปีก สุกร)
• เนื้อส่วนกล้ามเนื้อของปลาและผลิตภัณฑ์ปล! า (ยกเว้น ปลาไหลที่จับตามธรรมชาติ, ปลาน้ำ
จืดที่จับตามธรรมชาติ ยกเว้นสายพันธุ์ diadromous ที่จับจากน้ำจืด, ตับปลาและผลิตภัณฑ์ตับปลา, น้ำมันจากทะเล)
• เนื้อส่วนกล้ามเนื้อของปลาน้ำจืดที่จับได้ตามธรรมชาติ ยกเว้นสายพันธุ์ diadromous ที่จับจากน้ำจืดและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
• เนื้อส่วนกล้ามเนื้อของปลาไหลที่จับได้ตามธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
• ตับปลาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นน้ำมันจากทะเล
• น้ำมันจากทะเล (fish body oil, fish liver oil และน้ำมันจากทะเลอื่นๆสำหรับมนุษย์บริโภค)
&n! bsp; • นม! ดิบและผล ิตภัณฑ์นม รวมถึงไขมันเนย
• ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ไข่
• ไขมันจากสัตว์ (วัว แกะ สัตว์ปีก สุกร)
• ไขมันผสมจากสัตว์
• น้ำมันพืชและไขมันจากพืช
• อาหารสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
• นอกจากนี้ได้กำหนด congener ของสารไดออกซิน (TEF value) ที่เกี่ยวข้องตามตารางแนบ

&n! bsp; กฎระเบียบใหม่จะมีผลตามกฎหมาย 20 วันหลังจากประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2554) และมีผลปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
http://eurlex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.douri=OJ:L:2011:320:0018:0023:EN:PDF





ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป(31/01/55

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

อินโดเฝ้าระวังไข้หวัดนกช่วงหน้าฝน

ดร. Syukur Iwantoro อธิบดีกรมบริการตรวจสุขภาพปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ออกมาเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดนกในช่วงหน้าฝนนี้

ดร. Syukur Iwantoro กล่าวว่าตั้งแต่วันที่ 1 – 20 มกราคม 2555 มีไข้หวัดนกระบาดในหมู่บ้าน 7 แห่ง ใน 6 จังหวัดของในอินโดนีเซีย ดังนี้ จังหวัดชวากลาง (เกิดการระบาดในหมู่บ้าน 2 แห่ง) จังหวัดชวาตะวันออก จังหวัดเรียว จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก จังหวัดจัมบี และ จังหวัดซูลาเวซีใต้ จากการระบาดทั้งหมดใน 6 จังหวัดทำให้ไก่ 1,073 ตัวตาย โดยจังหวัดที่มีไก่ล้มตายมากท! ี่สุดคือ จังหวัดซูลาเวซีใต้ซึ่งมีไก่ 723 ตัวตาย

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกในกรุงจาการ์ตา 2 ราย โดยผู้ป่วยรายแรกเป็นชายอายุ 23 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2555 และผู้เสียชีวิตรายที่ 2 เป็นเด็กหญิงอายุ 5 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555



ที่มา : World Poultry (30/01/55

เกาหลีใต้ไฟเขียวเนื้อวัวแคนาดา

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555 นาย Stephen Harper นายกรัฐมนตรีแคนาดาประกาศว่า
เกาหลีใต้อนุญาตให้แคนาดาส่งออกเนื้อวัวอายุต่ำกว่า 30 เดือนมายังเกาหลีใต้ได้แล้วหลังจากที่เกาหลีใต้ระงับการนำเข้าเนื้อวัวจากแคนาดาในปี 2546 เนื่องเหตุการณ์โรควัวบ้าระบาดในแคนาดา

การอนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวดังกล่าวคาดว่าจะทำให้ภายในปี 2558 ผู้ผลิตแคนาดามีรายได้ 30 ล้านดอลลาร์แคนาดา หรือ 29.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีทางการค้าระหว่างแคนาดาและเกาหลีใต้ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของแคนาดาด้วย

! ; ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน 2554 แคนาดาได้เจรจากับเกาหลีใต้เพื่อขอให้ยกเลิกการระงับนำเข้าเนื้อวัวในปี 2546 และก่อนหน้านี้ แคนาดาได้ยื่นเรื่องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อขอให้พิจารณาเรื่องเกาหลีใต้ห้ามนำเข้าเนื้อวัว



ที่มา : Xinhua News (30/01/55)

จีนระงับการนำเข้าน้ำมันเรพซีดจากอินเดีย

สมาคมผู้สกัดน้ำมันของอินเดียรายงานว่าจีนระงับการนำเข้าน้ำมันกากเรพซีดจากอินเดียเนื่องจากตรวจพบสารมาลาไคท์กรีน ซึ่งเป็นสีย้อมอันตรายปนเปื้อนในกากเรพซีดที่ส่งมายังจีน จีนจึงลบอินเดียออกจากบัญชีรายชื่อประเทศที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้ารายการนี้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการส่งออกน้ำมันพืชอินเดียอย่างมาก

เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 หน่วยงานเฝ้าระวังของจีนได้แจ้งเตือนผู้ส่งออกอินเดียว่าจีนพบสารมาลาไคท์ กรีนปนเปื้อนในกากเรพซีด อินเดียระบุสาเหตุการปนเปื้อนว่าเกิดจากการใช้สารย้อมดังกล่าวในบรรจุภัณฑ์ อินเดียจึงกระตุ้นให้ผู้! ส่งออกน้ำมันหยุดการใช้สารย้อมดังกล่าวในบรรจุภัณฑ์และเชิญคณะผู้แทนรัฐบาลจีนมาตรวจสอบคุณภาพโรงกลั่นน้ำมันพืชในเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมนี้

ทั้งนี้ นอกจากจีนจะเป็นตลาดน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 4 ของอินเดีย จีนยังซื้อกาก
เรพซีดและกากถั่วเหลืองจำนวนมากจากอินเดีย ส่วนตลาดน้ำมันพืชอื่นๆที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เวียดนาม และเกาหลีใต้




ที่มา : All About Feed (30/01/55)

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคปากและเท้าเปื่อยระบาดในไต้หวัน

องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) รายงานว่าโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ระบาดในสุกรที่ไต้หวัน โดยเจ้าหน้าที่ได้กักสุกรขุนบางส่วนไว้ที่สถานีกักกัน เนื่องจากตรวจพบตุ่มน้ำใสบนตัวสุกรซึ่งถูกขนส่งจากเกาะไต้หวันไปยังเกาะเผิงหู

ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการแห่งชาติพบว่าสุกรเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยชนิด Oอย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้ทำลายสุกรทั้งหมด 239 ตัว ทำความสะอาดและทำให้สถานที่ที่เกี่ยวข้องปลอดเชื้อแล้ว นอกจากนี้ยังตรวจหาการแพร่ระบาดในฟาร์มเลี้ยงสุกรดังกล่าวและฟาร์มเลี้ยงสัตว์เท้ากีบที่อยู่ภายในรัศมี 3 กิโลเมตร ผลการตรวจสอบพบว่าสัตว์มีสุขภา! พดีและไม่ติดโรค

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างสุกรขุนที่ถูกเชือดเพื่อตรวจหาการติดโรคต่อไป



ที่มา : Pig Progress (27/01/55)

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

สิ้นปีดัชนีราคาอาหาร FAO ลดลง แต่ยังคงสูงอยู่

 
                ดัชนีราคาอาหาร (FPI) ขององค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (FAO) ลดลงอย่างมากเนื่องจากราคาธัญพืช น้ำตาลและน้ำมันลดลง แต่โดยเฉลี่ยดัชนีราคาอาหารของปี 2554 ยังคงอยู่ในระดับสูงและเป็นเรื่องยากที่นักวิเคราะห์จะสามารถคาดการณ์แนวโน้มระยะสั้นได้

                ในเดือนธันวาคม FPI ลดลง 5 จุด หรือคิดเป็น 2.4 % จากเดือนพฤศจิกายน FPI ที่สิ้นปีอยู่ที่ 211 จุด ลดลง 27 จุด หรือลดลง 11.3 % จากช่วงที่สูงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554
ปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้ FPI ลดลงได้แก่

            !      • ปริมาณข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด น้ำตาล และน้ำมันพืชเพิ่มมากขึ้น
                 • ความต้องการอาหารลดลงเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในตลาดหลักบางแห่ง
                 • ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ราคาอาหารลดลง

              นอกจากนี้ หลายประเทศในเอเชียสร้างสต็อกธัญพืชสำคัญ เช่น ข้าว ก่อนหน้านี้ในปี 2554 เกิดความวิตกกังวลว่าราคาอาหารอาจพุ่งขึ้นสูงเนื่องจากเกิดภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ปลูกข้าวสาลีในจีนและน้ำท่วมพื้นที่ปลูกข้าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ผลผลิตในพื้นที่เพาะปลูกบริเวณอื่นๆมีปริมาณมากกว่าและสามารถชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

              อย่างไรก็ตาม FPI ของปี 2554 ถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่! มีการจัดทำดัชนีอาหารในปี 2543 และมากกว่าดัชนีในปี 2551 28 จุด ! ซึ่งอยู่ ที่ 200 จุด ในระยะยาว ราคาอาหารโลกจะยังคงสูงถ้าหากไม่มีการลงทุนด้านการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น

 
 
ที่มา : FAO (05/01/55)

คาดปี 55 ราคาสินค้าอาหารสูงขึ้นกว่า 5 %

 
                นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2555 ภาพรวมราคาอาหารทั้งข้าว เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ มีแนวโน้มปรับขึ้นสูงกว่า 5 % เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

                • ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทรงตัวในระดับสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งเพิ่ม และ
คาดว่าราคาน้ำมันดิบโลกในปี 2556 จะสูงกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

                • พืชพลังงานทดแทนมีราคาสูงขึ้น เช่น ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน อ้อย ม! ันสำปะหลัง ส่งผลให้
ต้นทุนอาหารสัตว์ที่ใช้วัตถุดิบพืชเหล่านี้มีต้นทุนสูงขึ้น และกระทบต่อราคาเนื้อสัตว์

                • ผู้ประกอบการสินค้าอาหารไม่สามารนถลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่
ต้องการผลักดันให้สินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้ด้วยการอุดหนุนแทรกแซง เช่น แม้เอกชนจะลดต้นทุนด้วยการทำคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งโดยการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลจำกัดวิธีการนำเข้า ส่งผลให้ต้นทุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังสูง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9 บาท ซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านกิโลกรัมละ 4 – 5 บาท

                • โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีฤดูกาล 2554/2555 ทำให้ราคาปลายข้าวขึ้นถึงกิโลกรัมละ
10 บาท

                • ภัยธรรมชาติทำให้ผลผลิตเสียหายและเกิดโรคระบาดมากขึ้น
 
 
ที่มา : ข่าวกุ้ง (25/01/55)
 

ราคาไข่ไก่ในญี่ปุ่นต่ำสุดในรอบสองปี

 
                หนังสือพิมพ์ Japan Today รายงานว่าชุมนุมสหกรณ์การเกษตรระดับชาติของญี่ปุ่น    (Zen-Noh) ระบุว่าราคาไข่ไก่ในประเทศลดลงต่ำสุดในรอบสองปี เนื่องจากค่าเงินเยนแข็งตัวและเหตุการณ์ราคาไข่ไก่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากไข่ไก่ขาดแคลนหลังจากเกิดวิกฤตการณ์กัมมันตรังสีรั่วไหลที่โรงไฟฟ้าฟูกุชิมะ ทำให้โรงงานแปรรูปอาหารต้องหันมาใช้ไข่ไก่นำเข้าแทนซึ่งมีราคาถูกกว่าเนื่องจากค่าเงินเยนที่แข็งกว่า เป็นผลให้ราคาไข่ไก่ในประเทศลดลง ส่วนราคาไข่ไก่ขนาดกลางจำนวน 12 ฟอง อยู่ที่ 145 เยนซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าในช่วงนี้ของปีที่แล้วที่ 45 เยน และขณะนี้ ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งได้จัดการส่งเสริมการขายไข่ไก่

 
 
ที่มา : The Poultry Site (24/01/55

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

ราคาผลิตผลทางการเกษตรในจีนเพิ่ม 8 สัปดาห์ติดต่อกัน

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2555 กระทรวงพาณิชย์จีนระบุว่าราคาผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้น 8 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสุกร เนื้อแกะ และเนื้อวัวสูงขึ้น 0.8% 0.6 % 0.5 % ตามลำดับ และเนื้อไก่ราคาสูงขึ้น 0.4 % ส่วนราคาน้ำมันสำหรับบริโภคและผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาไข่ลดลง 0.3 % จากสัปดาห์ที่แล้ว

ราคาอาหารคิดเป็น 1 ใน 3 ของการคำนวนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยดัชนีราคาผู้บริโภคลดลง 4.1% ในเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่น้อยที่สุดในรอบ 15 เดือน





ที่มา : The Pig Site ( 19 มกราคม 2555

EU แก้ไขข้อกำหนดการติดฉลากอาหารแช่แข็งที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์

สหภาพยุโรปปรับแก้ Annex II ของระเบียบ Regulation (EC) No 853/2004 ซึ่งเป็นการกำหนดข้อบังคับด้านสุขอนามัยสำหรับอาหารที่ผู้ผลิตสินค้าอาหารต้องปฏิบัติตาม โดยออกระเบียบ Commission Regulation (EU) No 16/2012 of 11 January 2012 เพื่อเพิ่มเติมข้อกำหนดการติดฉลากสินค้าอาหารแช่แข็งที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป สาระสำคัญของระเบียบฉบับนี้ ได้แก่

1. ให้มีการระบุวันที่ครั้งแรกที่มีการแช่แข็ง! สินค้าอาหาร (date of initial freezing) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารสามารถพิจารณาได้ว่า วัตถุดิบดังกล่าวยังคงเหมาะสมสำหรับการบริโภคต่อไปหรือไม่

2. เพิ่มเติมข้อกำหนด Section IV: Requirements applicable to frozen food of animal รายละเอียด ดังนี้

2.1 กำหนดให้คำว่า “วันที่ผลิต (date of production)” หมายถึง

- วันที่ชำแหละ (date of slaughter) ในกรณีที่เป็นซากสัตว์ทั้งตัว ครึ่งหนึ่ง หรือ เศษหนึ่ง
ส่วนสี่ของซากสัตว์นั้น

- วันที่สัตว์โดนฆ่า (date of killing) ในกรณีที่เป็นสัตว์ป่าที่ได้จากการล่า

- วันที่จับ (date of harvesting or catching) ในกรณีที่เป็นสินค้าประมง

- วันที่แปรรูป ตัดแต่ง บด หรือ ปรุงแต่ง แล้วแต่กรณีสำหรับสินค้าอาหารอื่นใดที่มีแหล่ง
กำเนิดมาจากสัตว์

2.2 ผู้ประกอบการผลิตอาหารจากสินค้าแช่แข็งที่มีแหล่ง! กำเนิดจา กสัตว์จะต้องมีข้อมูลส่งมอบให้แก่หน่วยงานรับผิดชอบได้ตลอดเวลาเมื่อมีการร้องขอ จนกว่าสินค้าจะได้รับการติดฉลากตามกฎระเบียบ Directive 2000/13/EEC หรือจะถูกนำไปใช้เพื่อการแปรรูปต่อ ซึ่งข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ วันที่ผลิต และ วันที่แช่แข็ง (หากวันที่แช่แข็งต่างจากวันที่ผลิต) อนึ่ง ในกรณีของสินค้าอาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบซึ่งมีวันที่ผลิตและวันแช่แข็งแตกต่างกัน ให้ระบุวันที่แรกสุดของการผลิต และ/หรือ การแช่แข็งดังกล่าว

2.3 รูปแบบของการระบุข้อมูลข้างต้นให้อยู่ภายในดุลยพินิจของผู้ส่งมอบสินค้าอาหารแช่แข็ง (supplier) ตราบใดที่สามารถระบุได้ชัดเจนและไม่ส่อไปในทางสองนัย รวมทั้งสามารถให้ผู้ประกอบการที่รับซื้อสินค้าต่อไปนั้นรับทราบข้อมูลดังกล่าวได้ครบถ้วน





ที่มา : มกอช. ( 19 มกราคม 2555

คาดปีนี้อินโดใช้อาหารสัตว์เพิ่มขึ้น

สมาคมอาหารสัตว์อินโดนีเซียคาดว่าในปี 2555 ปริมาณการใช้อาหารสัตว์ในอินโดนีเซียจะอยู่ที่ 12.3 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1.2 ล้านตัน เนื่องจากยังมีขีดความสามารถในการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นได้ ประกอบกับ การเติบโตของเศรษฐกิจ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และ การบริโภคผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น

ในปี 2554 อินโดนีเซียใช้อาหารสัตว์ที่ 11.2 ล้านตัน เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตที่ 6.7% ซึ่งมีปริมาณการใช้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อปี 2553 เกือบ 1 ล้านตัน ซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 9.7 ล้านต! ัน

สัดส่วนการใช้อาหารสัตว์ในอินโดนีเซียเป็นการใช้ ในไก่กระทง 45 % ไก่ไข่ 44 % และพ่อแม่พันธุ์ไก่ 9 % ส่วนที่เหลือเป็นการใช้ในปศุสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ อินโดยังนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ในปริมาณมาก เช่น ในปี 2554 อินโดนีเซียนำเข้าข้าวโพดประมาณ 3 ล้านตัน





ที่มา : All About Feed ( 23 มกราคม 2555 )

พบผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกในเวียดนามและกัมพูชา

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2555 เวียดนามยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกในเวียดนามรายแรกในรอบ 2 ปี ซึ่งเป็นการเสียชีวิตเพียง 1 วันหลังจากพบผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวในกัมพูชา โดยคาดว่าผู้เสียชีวิตทั้งสองรายสัมผัสสัตว์ปีกแต่ไม่มีการแพร่กระจายของโรคดังกล่าวจากมนุษย์สู่มนุษย์ ก่อนหน้านี้มีการรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกในอินโดนีเซีย อียิปต์ และจีน ผู้เสียชีวิตในเวียดนามเป็นชายอายุ 18 ปี เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 หลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 1 วัน ด้วยอาการมีไข้สูงและหายใจลำบาก ผู้เสียชีวิตเป็นคนงานในฟาร์มเลี้ยงเป็ด อย่างไ! รก็ตามได้มีการทำให้ที่พักอาศัยของผู้ตายปลอดเชื้อ และเฝ้าระวังอาการของผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ตาย ไม่มีรายงานว่ามีสัตว์ปีกในฟาร์มที่ผู้เสียชีวิตทำงานและฟาร์มใกล้เคียงล้มป่วยหรือตาย แต่เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์หาเชื้อและฆ่าเชื้อในฟาร์มเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ฟาร์มที่ผู้เสียชีวิตทำงานได้จำหน่ายเป็ดจำนวนมากออกสู่ตลาดแล้ว

ส่วนผู้เสียชีวิตในกัมพูชาเป็นเด็กชายอายุ 2 ขวบ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555 หลังจากมีอาการเจ็บป่วยเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2555 ผู้เชี่ยวชาญรายงานว่าโอกาสที่มนุษย์จะติดเชื้อไวรัสมีน้อย และการติดเชื้อมักเกิดขึ้นกับผู้ที่สัมผัสสัตว์ปีกที่ติดเชื้อโดยตรง นอกจากนี้ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO)ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 341 ราย จากผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกจำนวน 578 ราย นับตั้งแต่ปี 2546 โดย 60 % เป็นผู้เสียชีวิตในเวียดนาม

&! nbsp; &nb! sp; ; กระทรวงสาธารณสุขเวียดนามระบุว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 ไม่พบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดนกในเวียดนาม นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามได้เรียกร้องให้เพิ่มระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกก่อนเทศกาลตรุษจีนซึ่งจะเริ่มในสัปดาห์หน้า




ที่มา : Washington Post ( 23 มกราคม 2555

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

เนื้อแดงแปรรูปอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อน

 
                ผลการวิจัยจากสวีเดนซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน British Journal of Cancer พบว่าการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปในปริมาณมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อนในเพศชาย

                การวิจัยดังกล่าวซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก มูลนิธิโรคมะเร็งแห่งสวีเดนและ สถาบัน Karolinska ระบุว่า การบริโภคเนื้อสัตว์แดงแปรรูป 50 กรัมทุกวัน หรือเท่ากับไส้กรอก 1 ชิ้น หรือเบคอน 2 ชิ้น มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อน 19 % และบริโภคเนื้อแดงแปรรูป 120 กรัมต่อวัน มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน 29 % ในเพศชาย เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้บร! ิโภคเนื้อแดงแปรรูป

                อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกมากเพื่อยืนยันว่าเนื้อสัตว์เป็นปัจจัยหลักที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนหรือไม่

 
 
ที่มา : The Pig Site (18/01/55)

ราคาไข่และเนื้อไก่ในปากีสถานเพิ่ม เหตุอากาศหนาว

 
                ราคาไข่ไก่และเนื้อไก่ในปากีสถานสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการสินค้าดังกล่าวในช่วงหน้าหนาวเพิ่มขึ้น ขณะนี้ราคาค้าปลีกไข่ไก่ 12 ฟองอยู่ที่ 109 รูเปีย ซึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงฤดูร้อน ราคาอยู่ที่ 60 – 65 รูเปีย ส่วนราคาเนื้อไก่อยู่ที่ 156 รูเปีย ซึ่งราคาเมื่อ 2 – 3 สัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 110 -120 รูเปีย

                นอกจากไข่ไก่และเนื้อไก่ ราคาสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันสูงขึ้นเช่นกัน  เช่น อาหาร ได้แก่ มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ ผลไม้ต่างๆ และนม  ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำไม่สามารถซื้อผลไม้แห้งได้ และไข่ไก่เป็นแหล่งอาหา! รเพียงอย่างเดียวที่ให้ความอบอุ่นและให้สารอาหารที่จำเป็นแก่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำได้ ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจับกุมผู้ที่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและกำหนดราคาสินค้าเนื่องจากราคาสินค้ามีมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงฤดูฝน
 
 
ที่มา : The Poultry Site

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ชายอินโดป่วยตาย คาดติดไข้หวัดนก  

                เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 ดร. Dien Emawati , M Kes จากกระทรวงสาธารณสุข อินโดนีเซีย กล่าวว่าพบผู้เสียชีวิต 1 รายในอินโดนีเซียซึ่งคาดว่าอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดนก เนื่องจากผู้เสียชีวิตเสียชีวิต 1 สัปดาห์หลังจากนกพิราบที่เลี้ยงไว้ตาย

                ผู้เสียชีวิตเป็นชายอายุ 23 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล Satya Negara ด้วยอาการมีไข้  คลื่นไส้ และเป็นลม อุณหภูมิร่างกายที่ 39.2 องศาเซลเซียส และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2555 เวลา 22.50 น. ตามเวลาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่เพิ่มเติมว่าผู้เสียชีวิตได้สัมผัสซากนกพิราบที่เลี้ยงไว้ อย่างไรก็ตาม เจ้! าหน้าที่ได้ตรวจและทำลายฝูงนกที่อยู่บริเวณที่พักอาศัยของผู้เสียชีวิตแล้ว นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังให้ยาทามิฟลูเพื่อป้องกันการติดเชื้อแก่สมาชิกครอบครัวของผู้เสียชีวิต และจะเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกอย่างเข้มงวดทั่วกรุงจาการ์ตา

 
 
 
ที่มา : Xinhua News (12/01/55)

พบ FMD ระบาดในจีนอีกครั้ง

 
                เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 ดร. Zhang Zhongqui อธิบดีศูนย์ควบคุมโรคสัตว์ของจีน รายงานต่อองค์การโรค ระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ซึ่งการระบาดเกิดที่เมือง Badong มลฑล Hubei โดยเป็นการระบาดในสุกรเท่านั้น ทำให้สุกรจำนวน 24 ตัวติดโรค จากสุกรทั้งหมด 71 ตัว อย่างไรก็ตามได้มีการทำลายสุกรทั้ง 71 ตัวแล้ว ส่วนสาเหตุของการระบาดยังไม่สามารถระบุได้

 
 
ที่มา : The Pig Site (12/01/5

เมืองเบียร์พบเอนไซม์ ESBL และ แบคทีเรีย MRSA ในเนื้อไก่

 
                นาย Hubert Weiger ประธานมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมเยอรมนี (BUND) กล่าวว่าจากการสุ่มตรวจตัวอย่างเนื้อไก่ 20 ตัวอย่างในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายสินค้าลดราคาในกรุงเบอร์ลิน

                เมืองฮัมบูร์ก โคโลญจน์ เนิร์นแบร์ก และ สตุทท์การ์ท พบว่า 10 ตัวอย่างมี เอนไซมเบตา - แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย (ESBL: Extended Spectrum Beta-lactamase) และ เชื้อสแตฟโลค็อคคัส ออรีอัส ที่ดื้อดานตอยาเมิธิซิลลิน (MRSA: Methicillin resistant Staphylococcus aureus) ปนเปื้อน ซึ่งการปนเปื้อนดังกล่าวเป็นผลมาจากใช้ยาปฏิ! ชีวนะที่มากเกินไปในสัตว์

                มูลนิธิยังตั้งข้อสังเกตว่าการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไปจะทำให้ต้องใช้ยาหลายชนิดในการรักษาสัตว์และมีระยะเวลาในการรักษามากขึ้น การใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไป เช่น ยากลุ่ม cephalosporin การใช้สารปรุงแต่งอาหารสัตว์เพื่อเร่งการโตเจริญเติบโตของสัตว์จะทำให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะมากขึ้น และนอกจากนี้แบคทีเรียดื้อยายังส่งผลร้ายต่อมนุษย์ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กเล็กและสตรีมีครรภ์ และในกรณีที่ร้ายแรง การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอาจทำให้เสียชีวิตได้

                ทั้งนี้ คาดว่าในสหภาพยุโรป มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะกว่า 25,000 รายต่อปี
 
 
 
ที่มา  : The Poultry Site (13/01/55

พบไข้หวัดนก H5N2 ในไต้หวัน

 
                พบไก่ติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงต่ำ ชนิด H5N2 ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกแห่งหนึ่งในไต้หวัน จีน โดยผลการตรวจสอบตัวอย่างซากไก่ เลือด และการสวอปตรวจหาเชื้อ  ยืนยันว่าพบเชื้อ H5N2 ในตัวอย่างดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกออกจากฟาร์มและตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกแห่งนั้น ผลการตรวจสอบพบว่าไม่มีสัตว์ปีกอื่นๆมีอาการ อัตราการตาย หรือการผลิตไข่ที่ผิดปกติ
                 นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกปริเวณไกล้เคียงแต่ไม่พบสิ่งผิดปกติหรืออัตราการตายที่ผิดปกติแต่อย่างใด
 
 
 
ที่มา : The Poultry Site (13/01/55

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

อินโดเริ่มลดการนำเข้าวัวมีชีวิต

 
                เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 Suswono Arsyaf รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรอินโดนีเซียกล่าวว่ารัฐบาลอินโดนีเซียเริ่มลดการนำเข้าวัวมีชีวิตเนื่องจากปริมาณวัวมีชีวิตในประเทศมีเพียงพอต่อความต้องการ
ในปีนี้ รัฐบาลตัดสินใจค่อยๆลดการนำเข้าวัวมีชีวิตลดลงเหลือ 283,000 ตัว ซึ่งเมื่อปีที่แล้วอินโดนีเซียนำเข้าวัวที่ 400,000 ตัว โดยอินโดนีเซียนำเข้าวัวมีชีวิตส่วนใหญ่จากออสเตรเลีย การลดการนำเข้าดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรออสเตรเลียเกิดความวิตก

                Rusman Heriawan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าการผลิตวัวในประเทศเพียงพอต่อเป้าหมายซึ่งตั้งไว้ที่กว่า 14 ล้านตัว ดังนั้น อินโดนีเซียจะใช้ปริมาณการผลิตวัวในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการนำเข้ามีวัตถุประสงค์เพียงชดเชยส่วนที่ขาดเท่านั้น เชื่อว่าอินโดนีเซียมีศักยภาพแต่ในขณะนี้เกษตรกรกำลังประสบปัญหาด้านราคาจำหน่ายวัวที่ถูก นอกจากนี้ การที่อินโดนีเซียเป็นเกาะทำให้ประสบปัญหาด้านการขนส่ง อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯ ระบุว่าจะปรับปรุงคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และคาดว่าเกษตรกรจะสามารถจำหน่ายวัวได! ้ในราคาที่เหมาะสม
 
 
 
ที่มา : Xinhua News  ( 11 มกราคม 2555

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

พ่อค้าปลาไทยโอด เขมรสั่งห้ามปลาน้ำจืดเข้าไทย

 
                เขมรสั่งห้ามปลาน้ำจืดเข้าไทยทั่วประเทศ สั่ง จนท.ตั้งด่านจับแหลก พ่อค้าปลาในตลาดโรงเกลือกว่า 50 รายโอดเดือดร้อนหนักเนื่องจากขาดปลาน้ำจืดส่งทั่วประเทศ

                วันนี้ (9 ม.ค.) ที่ตลาดปลารัตนธรรม และตลาดปลารุ่งทวีพร ในตลาดโรงเกลือ ตลาดการค้าชายแดน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ได้เกิดความปั่นป่วนอย่างหนักเนื่องจากมีพ่อค้า แม่ค้าปลาชาวไทยกว่า 100 ราย มารอซื้อปลาน้ำจืดจากฝั่งกัมพูชาที่ส่งเข้ามาขายในตลาดทั้ง 2 แห่ง แต่ไม่มีปลาน้ำจืดจากฝั่งกัมพูชาเข้ามา ทำให้พ่อค้า แม่ค้า สอบถามจาก จนท.ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสระแก้ว และ ด่านศุลกากรอรัญประเทศ ซึ่ง จน! ท.ทั้งสองหน่วยงานไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนแก่พ่อค้า แม่ค้าปลาชาวไทยได้ ต่อมา พ.ต.ท.เบญจพล รอดสวาสดิ์ รอง ผกก.ตม.จว.สระแก้ว และ ร.อ.อภินันท์ สงครามชัย ผบ.ร้อย ทพ. 1206 ฉก.กรม.ทพ. 12 กกล.บูรพา ได้ตรวจสอบไปยังฝั่งกัมพูชา ซึ่ง ร.ต.อ.ตึ๊บ ยาดี รอง หน.ชุด ตม.ปอยเปต ของกัมพูชา ได้เปิดเผยว่ารัฐบาลกัมพูชาโดยสมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้สั่งการให้กรมประมงของกัมพูชาสั่งห้ามส่งออกปลาน้ำจืดจากกัมพูชาเข้าประเทศไทย โดยมีผลในทุกด่านชายแดนทั่วประเทศกัมพูชา โดยเริ่มจากวันที่ 9 มกราคม 2555 และมี จนท.ประมงจังหวัดบันเตียเมียนเจย มาตั้งด่านสกัดจับการนำปลาน้ำจืดจากเขมรเข้าไทยอย่างเข้มงวดบริเวณวงเวียน ปอยเปต ฝั่งประเทศกัมพูชา ซึ่ง จนท.ประมง กัมพูชา สามารถจับกุมชาวเขมรที่จะนำปลาน้ำจืดเข้ามาส่งฝั่งไทยไว้แล้วกว่า 30 ราย   

                ร.ต.อ.ตึ๊บ ยาดี เปิดเผยอีกว่าจากมาตรการเข้มงวดดังกล่าวทางรัฐบาลกัมพูชา ต้องการให้ พ่อค้า แม่ค้าชาวเขมรที่นำปลาน้ำจืดจากทะเลสาบโตนเลงสาบมาขึ้นทะเบียนและทำใบอนุ! ญาตให้ถูกต้องเนื่องจากที่ผ่านมาการนำปลาน้ำจืดจากฝั่งกัมพูชาส่ง! เข้ามาขา ยในประเทศไทย ไม่ได้ขออนุญาตทำการค้าแต่อย่างใด และขณะนี้ปลาน้ำจืดในทะเลสาบก็เหลือน้อยจึงทำให้กัมพูชาต้องเข้มงวดการส่งปลาน้ำจืดออกนอกประเทศ โดยได้ประกาศมาก่อนหน้านี้แล้ว 2-3 วัน และเริ่มตรวจจับในวันนี้เป็นวันแรก

                นางจา(นามสมมุติ) แม่ค้าปลาน้ำจืด ชาวเขมรเปิดเผยว่าขณะนี้มีชาวเขมรที่ค้าขายปลาน้ำจืดกว่า 100 ราย ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะ จนท.ประมงกัมพูชา ตั้งด่านจับทุกรายที่จะนำปลาน้ำจืดเข้าไทย และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ทางการกัมพูชาจะอนุญาต และมีข่าวลือออกมาว่ารัฐบาลกัมพูชาจะสั่งห้ามนำปลาน้ำจืดเข้าไทยประมาณ 6 เดือน

                ด้านพ่อค้าปลาชาวไทยในตลาดรัตนธรรมกล่าวว่าการสั่งห้ามปลาน้ำจืดเข้าไทยของรัฐบาลกัมพูชาในครั้งนี้จะทำให้ชาวไทยเดือดร้อนกันถ้วนหน้าเนื่องจากตลาดปลาน้ำจืดตลาดที่ใหญ่ที่สุดคือตลาดปลาในตลาดโรงเกลือ ทุกวันนี้ไทยสั่งปลาน้ำจืดจากกัมพูชาเข้ามาวันละประมาณ 50-80 ตัน โดยจะมีพ่อค้า แม่ค้าช! าวไทยมารับไปส่งขายในหลายจังหวัดเช่น สิงห์บุรี,อ่างทอง,สุโขทัย และ กทม. ส่วนปลาที่ไทยสั่งเข้ามาประกอบด้วยปลาช่อน,ปลากด,ปลาเนื้ออ่อน,ปลาม้า,ปลา หลด,ปลากราย,ปลาฉลาด,ปลาไหล,ปลาคัง และ ฯลฯ
 
 
 
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  (10 มกราคม 2555)
 

โรคไข้หมูแอฟริกัน ระบาดในรัสเซีย 2 แห่ง

 
                หน่วยงานเฝ้าระวังด้านสัตวแพทย์และสุขอนามัยพืชรัสเซีย (Rosselkhoznadzor) รายงานว่า ตั้งแต่ต้นปี 2555 รัสเซียพบการระบาดของ โรคไข้สุกรแอฟริกัน (ASF) 2 แห่ง โดยการระบาดแห่งแรกเกิดขึ้นที่ฟาร์มเลี้ยงสุกรแห่งหนึ่งในเขต Kochubeevsky  ดินแดน Stavropol  ส่วนการระบาดแห่งที่สองเป็นการระบาดในฝูงหมูป่าในแคว้น Astrakhan ซึ่งอยู่ใกล้กับพรมแดนของคาซักสถาน

                 การระบาดในฟาร์มเลี้ยงสุกรทำให้สุกรจำนวน 32 ตัวล้มตาย แต่เจ้าหน้าที่ได้กักกันสุกรในหลายเขตและตรวจฟาร์มเลี้ยงสุกรอย่างใกล้ชิด  และในวันที่ 2 มกราคม 2555 Rosselkhoznadzor ยืนยัน! ว่ามีการระบาดของโรค ASF ในฝูงหมูป่าในแคว้น Astrakhan

                 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงเกษตรระบุสาเหตุการระบาดของโรค ASF ว่าเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ การจัดการอาหารเหลือโดยไม่ถูกสุขอนามัยและการแพร่ระบาดของไวรัสในฝูงหมูป่า  นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมว่าสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจจะช่วยขัดขวางการแพร่กระจายของไวรัส แต่ในฤดูใบไม้ผลิที่มาถึงเจ้าหน้าที่จะบันทึกการระบาดของโรค ASF ตลอดเวลา 
 
 
ที่มา : Pig Progress ( 10  มกราคม 2555

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ฮ่องกงเพิ่มโควต้าขายไก่มีชีวิตตั้งแต่ 12 มกรา 55

 
                ดร. York Chow รัฐมนตรีกระทรวงอาหารและสาธารณสุขฮ่องกงวางแผนเพิ่มโควต้าการจำหน่ายไก่มีชีวิต เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เกษตรกรในท้องถิ่นจำหน่ายไก่ในสต็อกให้หมดหลังจากห้ามจำหน่ายไก่มีชีวิตเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 เพื่อป้องกันไข้หวัดนกระบาด   
         
                ในวันที่ 12 มกราคม 2555และในกรณีที่ไม่มีความเสี่ยงการระบาดของไข้หวัดนก ฮ่องกงจะผ่อนปรนโควต้าการจำหน่ายไก่มีชีวิตต่อวันโดยอนุญาตให้จำหน่ายไก่มีชีวิตได้มากกว่า 7,000 ตัวต่อว! ัน ซึ่งแต่เดิมฮ่องกงกำหนดโควต้าไว้ที่ 7,000 ตัว แต่ปริมาณการจำหน่ายไก่มีชีวิตก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคด้วย

                การห้ามจำหน่ายไก่มีชีวิตมีระยะเวลา 21 วันหลังจากพบไก่ตายด้วยเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 ในตลาดขยายส่งปศุสัตว์แห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 และหลังจากที่มีการห้ามจำหน่ายไก่มีชีวิต ทำให้มีไก่ 450,000 ตัวเหลือในฟาร์มท้องถิ่น ถ้าจำหน่ายไก่ 14,000 – 20,000 ตัวต่อวัน จะต้องใช้เวลาประมาณ 20 วันจึงจะจำหน่ายได้หมด ซึ่งไม่สามารถจำหน่ายได้หมดจนกว่าจะถึงวันตรุจจีน และถ้าจำหน่ายช้าออกไปอีก ไก่จะโตขึ้น ทำให้พื้นที่ในฟาร์มแคบลงส่งผลให้สภาพฟาร์มเลี้ยงไก่แย่ลง

                นอกจากนี้ ดร. Chow ไม่ต้องการให้ภาคอุตสาหกรรมผลักดันไก่มีชีวิตเข้าสู่ตลาดค้าส่งอย่างไม่จำกัดทันทีที่อนุญาตให้จำหน่ายได้ เนื่องจากจะทำให้สต็อกไก่มีชีวิตเกิดปัญหาอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต
ทั้งนี้ กระทรว! งเกษตร ประมงและการอนุรักษ์ได้สุ่มตรวจตัวอย่างนับพันหลังจากพบไก! ่ติดเชื้ อไข้หวัดนก แต่ไม่พบว่ามีไก่ติดเชื้อไวรัสเพิ่มเติม
 
 
 
ที่มา : The Meat Site (9/01/55

อินโดลดโควต้านำเข้าวัวจากออสเตรเลีย

 
                 ในไตรมาสแรกของปี 2555 อินโดนีเซียอนุญาตให้นำเข้าวัวจากออสเตรเลีย 60,000 ตัว
โดยออสเตรเลียส่งวัวมีชีวิตมายังอินโดนีเซียรอบแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 ซึ่งจำนวนวัวที่อนุญาตให้นำเข้ามายังอินโดนีเซียลดลงราว 40,000 ตัวในเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต่างผิดหวังต่อตัวเลขการอนุญาตนำเข้าวัวเนื่องจากมีจำนวนน้อยกว่าที่คาดไว้

                ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2554 อินโดนีเซียประกาศว่าจะลดปริมาณการอนุญาตนำเข้าวัวจากออสเตรเลียเพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้

          &nbs! p;     เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 รัฐบาลออสเตรเลียเลื่อนการส่งออกวัวมีชีวิตไปยังอินโดนีเซียออกไปเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากพบว่าวัวถูกเชือดอย่างทารุณในโรงฆ่าสัตว์ในอินโดนีเซีย

 

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เกาหลีใต้เร่งหาสาเหตุการตายของเป็ด 110 ตัว หวั่นไข้หวัดนก

 
                เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 กระทรวงอาหาร เกษตร ป่าไม้ และประมงเกาหลีใต้รายงานว่าเกาหลีใต้กำลังเร่งดำเนินการตรวจสอบสาเหตุการล้มตายของเป็ด 110 ตัวในฟาร์มแห่งหนึ่งในเมืองอิชอนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็ดเหล่านั้นแสดงอาการของโรคไข้หวัดนกก่อนล้มตาย ส่วนผลการตรวจสอบคาดว่าจะทราบในวันที่ 7 มกราคม 2555

                ในเดือนกันยายนปี 2554 เกาหลีใต้ได้รับสถานะปลอดโรคไข้หวัดนกคืนอีกครั้งจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เนื่องจากไม่พบการระบาดของไข้หวัดนกหลังจากที่มีการระบาดครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2554

   !             การระบาดของไข้หวัดนกในเดือนธันวาคม 2553 และพฤษภาคม 2554 ทำให้เกาหลีใต้ต้องฆ่าสัตว์ปีกจำนวนกว่า 6.27 ล้านตัว

 
 

BEIC ส่งหนังสือร้องเรียนรัฐบาลสหราชอาณาจักร เหตุไม่ห้ามการผลิตไข่ไก่ในกรงตับ

 
                สมาคมอุตสาหกรรมไข่ไก่อังกฤษ (BEIC) มีหนังสือไปยังกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหารและชนบท (DEFRA) แห่งสหราชอาณาจักรเพื่อขอให้กระทรวงฯอธิบายสาเหตุที่กระทรวงฯ ไม่บังคับใช้กฎระเบียบของสหภาพยุโรปซึ่งห้ามผลิตไข่ไก่โดยการเลี้ยงไก่ในกรงตับ และกฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 โดยการกระทำดังกล่าวถือเป็นการตรวจสอบทางกฎหมายขั้นแรก

                นาย Andrew Parker ประธาน BEIC กล่าวว่าผู้ผลิตไข่ไก่ของสหราชอาณาจักรได้ลงทุนเป็นเงินจำนวนมากเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับทางกฎหมายของ EU และปรับปรุงสวัสดิภาพสัตว! ์ ดังนั้น จึงต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลโดยป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากผู้ผลิตต่างประเทศที่ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบของ EU  โดยสมาคมเรียกร้องให้รัฐบาลตรวจเช็คไข่ไก่ ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยไข่ไก่นำเข้าก่อนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะเข้ามายังท่าเรือ ศูนย์บรรจุหีบห่อ โรงงานแปรรูป คลังสินค้านำเข้า ร้านค้าส่งในสหราชอาณาจักร หากไม่ดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคต้องบริโภคไข่ไก่ที่มาจากไก่เลี้ยงในกรงตับซึ่งผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในสหราชอาณาจักรและอาจทำให้มีผู้ตกงานนับพันคน 

              ด้านเกษตรกรสหราชอาณาจักรกล่าวว่าเกษตรกรในประเทศอาจสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ประเทศสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และก่อนช่วงเทศกาลคริสมาสต์ เกษตรกรได้เรียกร้องให้รัฐบาลห้ามการจำหน่ายไข่ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงไก่ในกรงตับภายในประเทศ 

                นาย Jim Paice รัฐมนตรีกระทรวงฯให้เหตุผลว่าเนื่อ! งจากปัญหาความยุ่งยากด้านกฎหมายและการเงินทำให้การบังคับใช้กฎระเ! บียบดังก ล่าวเป็นเรื่องยาก รัฐบาลจึงขอความร่วมมือกับผู้ผลิต แปรรูปไข่ และผู้ผลิตอาหาร ผู้ให้บริการอาหารและผู้ค้าปลีกด้วยความสมัครใจในการไม่จำหน่ายหรือใช้ไข่ไก่ที่ได้จากไก่เลี้ยงในกรงตับ ดังนั้น ผู้ผลิตที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ EU จะประสบปัญหาในการทำธุรกิจในสหราชอาณาจักร

                อย่างไรก็ตาม BEIC กล่าวว่าประเทศสมาชิกทั้ง 13 ประเทศมีเวลานานพอที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบของ EU แต่กลับเพิกเฉย นอกจากนี้ อุตสาหกรรมไข่ไก่สหราชอาณาจักรได้ใช้เงินจำนวน 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการปรับปรุงสวัสดิภาพของไก่ จึงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ที่ประเทศสมาชิกที่หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายกลับได้รับผลประโยชน์

 
 
ที่มา : Just Food (06/01/55

ฮ่องกงไฟแดงนำเข้าสัตว์ปีกและไข่จากจีน หลังพบผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดนกในจีน

 
                 ศูนย์ความปลอดภัยอาหารฮ่องกงรายงานว่าฮ่องกงยังคงระงับการนำเข้าสัตว์ปีกมีชีวิต
แช่เย็น แช่แข็งและไข่จากจีนเป็นเวลา 21 วัน หลังจากพบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกในเมือง
เซินเจิ้น 

                 ฮ่องกงระงับการนำเข้าสินค้าดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 โดยระงับการนำเข้าสินค้าดังกล่าวที่มาจากภายในระยะทาง 13 กิโลเมตรจากที่อยู่อาศัยของผู้เสียชีวิตในเมืองเซินเจิ้น 

                 นอกจากนี! ้กระทรวงเกษตร ประมงและอนุรักษ์กำลังดำเนินการหาสาเหตุการตายเพิ่มเติมของนกนางนวลขอบปีกขาว 2 ตัวในเมืองตืนมูนและเกาะลันเตา ฮ่องกงซึ่งผลการตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก

                 ทั้งนี้ 2 สัปดาห์หลังตรวจพบไวรัส H5N1 ในซากไก่ตัวหนึ่งในตลาดค้าส่ง ฮ่องกงได้ฆ่าสัตว์ปีกจำนวน 19,451 ตัว ในจำนวนนี้เป็นไก่กว่า 15,000 ตัว
 
 
ที่มา : World Poultry (06/01/55

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

จีนบรรเทาความวิตกหลังไข้หวัดนก

เจ้าหน้าที่สาธารสุขจีน พยายามควบคุมความวิตกกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก หลังจากมีผู้เสียชีวิตในมณฑลเซินเจิ้น เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ผู้เสียชีวิตคือนาย เฉิน อายุ 39 ปี พนักงานขับรถโดยสาร โดยนายเฉิน เป็นผู้เสียชีวิตรายแรกจากไวรัสไข้หวัดนก ในช่วง 18 เดือน เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค กล่าวว่าเชื้อไวรัสไม่สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ตั้งแต่เกิดการระบาดของไข้หวัดนกในปี 2546 ประชาชนกว่า 500 คนทั่วโลกติดเชื้อ และ 60 % เสียชีวิต

เมื่อเร็วๆนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเตือนกลุ่มนักวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ! และ สหรัฐฯ ที่กล่าวว่าสามารถดัดแปลงสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดนกให้สามารถแพร่กระจายสู่มนุษย์ และทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งผลวิจัยดังกล่าวอาจส่งผลเสี่ยงร้ายแรง จนต้องมีการควบคุมอย่างรัดกุม นอกจากนี้ หน่วยงานความมั่นคงแห่งสหรัฐฯได้ขอให้ยกเลิกงานวิจัยชิ้นนี้ เนื่องจากอาจมีการนำข้อมูลที่ได้ตีพิมพ์ไปใช้สำหรับการผลิตอาวุธชีวภาพร้ายแรงเพื่อใช้ในการก่อการร้าย

การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดนั้นเป็นที่สนใจจากประชาชนส่วนใหญ่อย่างแพร่หลายในทวีปเอเชียโดยเฉพาะเกาะฮ่องกง ส่วนจีนมีอัตราความเสี่ยงสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลกเนื่องจากประชากรที่หนาแน่น และการเลี้ยงไก่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โดยจากรายงานของแหล่งข่าวในพื้นที่ พบว่านายเฉินซึ่งอาศัยอยู่ในมณฑลเซินเจิ้นซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาะฮ่องกง เสียชีวิตด้วยอาการอวัยวะภายในล้มเหลว หลังจากเข้ารักษาอาการป่วยจากการติดเชื้อไวรัสในโรงพยาบาลโดยที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้มีการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะในช่วงหนึ่งเดือนก่อนมีอาการป่วย แต่มีรายงานว่าพบผู้เสียชีวิตมา! ออกกำลังกายในเขตอนุรักป่าไม้ซึ่งมีนกป่าอพยพจำนวนมาก

&nb! sp; ; ศูนย์ป้องกันสาธารณสุขฮ่องกง กล่าวว่าไวรัสที่พบนั้น คล้ายคลึงกับเชื้อที่พบในนกป่า จากการตรวจสอบตัวอย่างเชื้อ พบว่าสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส อะแมนตาดีน

เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมาทางการฮ่องกงฆ่าไก่ กว่า 17,000 ตัวในตลาดค้าส่งสัตว์ปีกหลังจากพบเชื้อไข้หวัดนก พร้อมระงับการนำเข้าไก่จากจีนเป็นเวลา 21 วัน เพื่อควบคุมการแพร่เชื้อ ในเดือนธันวาคมมีการฆ่าไก้นับพันใน มณฑลเซินเจิ้น หลังจากตรวจพบเชื้อ H5N1 ในไก่ 3 ตัว



ที่มา : The Irish Times (05/01/55)

มาเลย์เฝ้าระวังไข้หวัดนก หลังมีผู้เสียชีวิต 1 รายในจีน

นาย Datuk Seri Liow Tiong Lai รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียออกมาแจ้งเตือนประชาชนชาวมาเลเซียให้เฝ้าระวังไข้หวัดนกหรือ H5N1 แต่ไม่ควรตื่นตระหนก โดยแนะนำให้ประชาชนชาวมาเลเซียหลีกเลี่ยงการเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงไก่และพบแพทย์ทันทีที่เป็นหวัดหรือมีไข้ นอกจากนี้กระทรวงฯจะดำเนินการตรวจวัดอุณหภูมิของผู้โดยสารในทุกสนามบิน โดยเฉพาะผู้โดยสารที่เดินทางกลับจากจีน ฮ่องกง เวียดนาม และอินโดนีเซีย หากผู้โดยสารมีอุณหภูมิร่างกายสูงจะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลเพื่อกักตัว แต่ในขณะนี้ยังไม่มีผู้โดยสารรายใดถูกกักตัว และยังไม่มีรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกในมาเลเซีย

&nbs! p; รัฐมนตรีกระทรวงฯออกมาแจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังไข้หวัดนกหลังจากนายเฉิน ชาวจีนอายุ 39 ปี เสียชีวิตจากไข้หวัดนก เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ในเมืองเซินเจิ้น ซึ่งมีพรมแดนติดกับฮ่องกง ก่อนหน้านี้ฮ่องกงได้กำจัดไก่นับพันตัวหลังจากไก่ 3 ตัว ติดเชื้อ H5N1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน

หน่วยงานสาธารณสุขของเมือง รายงานว่าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 นายเฉินมีไข้และหลังจากนั้น 4 วันจึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและตรวจพบว่ามีอาการปอดปวมขั้นรุนแรง นอกจากนี้ ผู้เสียชีวิตไม่ได้สัมผัสไก่ก่อนที่จะป่วยและไม่ได้เดินทางออกจากเมืองนี้


ที่มา : The Star Online (05/01/55

อินเดียขยายเวลาไฟแดงสินค้านมจากจีนออกไปอีก 6 เดือน

คณะกรรมการการค้าต่างประเทศของอินเดีย (DGFT) ระบุว่าอินเดียขยายเวลาระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากจีนออกไปอย่างน้อยจนถึงเดือนมิถุนายน 2555

ก่อนหน้านี้ การระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากจีนมีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 24 ธันวาคม 2554 แต่อินเดียขยายระยะเวลาดังกล่าวไปจนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2555 โดยการระงับการนำเข้านี้ครอบคลุมนมและผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีนมหรือธาตุน้ำนมเป็นส่วนประกอบ เช่น ช็อกโกแล็ตและขนมหวาน นอกจากนี้ แหล่งข่าวในภาคอุตสาหกรรมนมอินเดียคาดว่าการระงับการนำเข้าจะดำเนินต่อไปหากยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยใน! ภาคอุตสาหกรรมนมจีนหลงเหลืออยู่

เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงควบคุมคุณภาพและตรวจสอบกักกันโรค (AQSIQ) ของ จีนรายงานว่าผลิตภัณฑ์นมของบริษัท Mengniu ปนเปื้อนอะฟาท็อกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในตับ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปนเปื้อนอะฟาท็อกซินชนิดเอ็ม 1 ที่ 1.2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 0.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตามบริษัทได้ทำลายและระบุสาเหตุการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าวว่าเกิดจากการให้อาหารสัตว์ที่หมดอายุแก่วัว

ก่อนหน้านี้ ในปี 2551 อินเดียเคยระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากจีนเนื่องจากเหตุการณ์นมผงปนเปื้อนเมลานินซึ่งส่งผลทำให้มีเด็กเจ็บป่วยกว่า 300,000 ราย และมีเด็กทารกเสียชีวิตจำนวน 12 ราย


ที่มา : Food Navigator (05/01/55)

อินโดเก็บภาษีศุลกากรวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่ม 5 %

กระทรวงการคลังอินโดนีเซียประกาศว่าอินโดนีเซียจะเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าเพิ่ม 5 % สำหรับสินค้า 23 รายการที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555

นาย Sudirman FX ประธานกรรมการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์อินโดนีเซีย กล่าวว่าการเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้น 0 -5 % ส่งผลให้ราคาอาหารสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่าราคาอาหารสัตว์ปีกจะเพิ่มขึ้น 10 % ดังนั้นราคาเนื้อสัตว์ปีกและไข่จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

! นาย Sudirman FX เห็นด้วยกับการเก็บภาษีศุลกากรข้าวโพดเพิ่ม 5 % เนื่องจากเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรในประเทศ แต่วัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ เช่น กากเรพซีด อาหารถั่วเหลือง และดีดีจีเอส หรือ กากข้าวโพดที่เหลือจากอุตสหกรรมโรงงานการผลิตเอทานอล เป็นวัตถุดิบที่ไม่ได้ผลิตในประเทศ ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บภาษีเพิ่ม 5 % เพราะไม่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรในประเทศ

ทั้งนี้ ในปี 2553 อินโดนีเซียนำเข้าดีดีจีเอส 200,000 ตัน ในปี 2554 อินโดนีเซียนำเข้าดีดีจีเอส 300,000 ตัน และคาดว่าในปี 2555 จะนำเข้ามากขึ้น ดังนั้นการเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าเพิ่มจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์แน่นอน



ที่มา : World Poultry (05/01/55

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

ไข้หวัดนกระบาดในบังกลาเทศอีกครั้ง 4 ฟาร์มภายในเดือนเดียว

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 เจ้าหน้าที่รายงานว่าพบไข้หวัดนกชนิดสายพันธุ์รุนแรง หรือ H5N1 ระบาดในฟาร์มแห่งหนึ่งในเขต Meherpur ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุง Dhaka แต่ได้ทำลายไก่แล้วจำนวน 1,803 ตัว และไข่ 994 ฟองเมื่อคืนวันที่ 26 ธันวาคม 2554

การระบาดของโรคไข้หวัดนกครั้งนี้นับเป็นการระบาดครั้งที่ 4 ในบังกลาเทศนับตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน ก่อนหน้าการระบาดครั้งล่าสุด บังกลาเทศทำลายไก่จำนวน 14,000 ตัวและไข่ 50,000 ฟองในฟาร์ม 3 แห่ง นับตั้งแต่การกลับมาระบาดในเดือนพฤศจิกายน ไข้หวัดนกได้ระบาดไปยังเขตอื่นๆ 4 เขต เช่น Man! ikganj ตอนกลาง และ Rajbarbi ทางตอนใต้ และประมาณ 1 สัปดาห์ก่อน พบการระบาดของไข้หวัดนกที่ฟาร์มแห่งหนึ่งในเขต Bagerhat ทางตอนใต้

เจ้าหน้าที่จากกระทรวงประมงและปศุสัตว์กล่าวว่าไม่คาดคิดว่าจะมีการระบาดครั้งใหญ่ของโรคไข้หวัดนกในช่วงเวลานี้ แต่ก็ไม่ควรละเลยความเป็นไปได้ของการกลับมาระบาดครั้งใหญ่ของไข้หวัดนกในฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากไข้หวัดนกมักระบาดมากในช่วงฤดูนี้

กระทรวงฯได้สั่งให้เจ้าหน้าที่กระตุ้นให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันนับตั้งแต่พบการระบาดของโรค นอกจากนี้ยังได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามฆ่า ทำลาย กำจัดและการทำให้ปลอดเชื้ออย่างเหมาะสมทันทีหลังพบการระบาด

บังกลาเทศเป็นประเทศที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง (HP! AI) เนื่องจากมีมาตรการชีวอนามัยที่ไม่เพียงพอ มีการเลี้ยงไก่และ! เป็ดรวมก ัน การจำหน่ายนกมีชีวิตและการติดตามการระบาดของโรคอย่างไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2551 พบการติดเชื้อในมนุษย์เป็นครั้งแรกในบังกลาเทศ โดยผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 16 เดือน



ที่มา : Xinhua News (04/01/55

อินโดยังคงต้องเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดนก

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2554 Rita Kusriastuti ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมโรคระบาดสัตว์ กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียกล่าวว่าอินโดนีเซียยังคงต้องเฝ้าระวังการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง หรือ H5N1 ต่อไป แม้ว่าการติดเชื้อของโรคดังกล่าวลดลงก็ตาม เนื่องจากการเลี้ยงไก่ในระดับครัวเรือนซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของประชากรในประเทศมีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก

ตัวเลขการติดเชื้อที่ลดลงไม่ได้หมายความว่าการระบาดจะสิ้นสุดลง ดังนั้นอินโดนีเซียจึงต้องเฝ้าระวังไข้หวัดนกและประกาศว่าอินโดนีเซียยังคงเป็นศูนย์กลางการระบาด เนื่องจากในขณ! ะนี้ยังไม่มีระบบจัดการที่ดีสำหรับการเลี้ยงไก่ในระดับครัวเรือน

ผู้ผลิตไก่ในระดับอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นำมาตรการทางสุขอนามัยมาปรับใช้ เช่น การทำให้เล้าไก่ปลอดเชื้อ และการรักษาอนามัยส่วนบุคคลหลังจากสัมผัสไก่ แต่การเลี้ยงไก่ในระดับครัวเรือนมักรักษาสุขอนามัยได้ไม่เพียงพอ เช่น การทำให้เล้าไก่ปลอดเชื้ออย่างไม่เพียงพอ หรือตั้งเล้าไก่ไว้ใกล้ที่อยู่อาศัยของมนุษย์มากเกินไป ซึ่งเป็นการทำให้มนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเป็นเรื่องยากในการห้ามเลี้ยงไก่ในระดับครัวเรือนเนื่องจากประชากรทั่วประเทศต้องพึ่งพาไก่ที่เลี้ยงเองเป็นแหล่งอาหาร
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WTO) ระบุว่าตั้งแต่ปี 2546 – 2554 ทั่วโลกมีการระบาดของไข้หวัดนก 566 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตจำนวน 332 ราย และเฉพาะอินโดนีเซียประเทศเดียวในช่วงดังกล่าวมีการระบาดของไข้หวัดนกจำนวน 179 ครั้งซึ่งเป็นการระบาดใน 13 จังหวัด ทำให้มีผู้เสียชีว! ิต 147 ราย

&n! bsp;&nbs p; ในปี 2546 อินโดนีเซียพบการติดเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์เป็นครั้งแรก และในปี 2548 พบการติดเชื้อของไข้หวัดนกครั้งแรกในมนุษย์ การติดเชื้อในมนุษย์ดังกล่าวทำให้เกิดการลงนามในความตกลงการควบคุมการระบาดของไข้หวัดนกระหว่าง อินโดนีเซีย สหรัฐฯ สิงคโปร์ ในเมืองปูซาน เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเตรียมพร้อมในการรับมือการระบาดของไข้หวัดนกในภูมิภาค ความตกลงดังกล่าวมีระยะเวลา 4 ปีซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554

ในปีนี้ อินโดนีเซียพบผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดนกครั้งแรกในเดือนตุลาคม โดยผู้เสียชีวิตเป็นเด็ก 2 รายจากบังกลี นับจนถึงปัจจุบันนี้ มีการยืนยันพบการติดเชื้อไข้หวัดนกในมนุษย์เพียง 9 ราย




ที่มา : The Jakarta Post (04/01/55