หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คาดจีนนำเข้าเนื้อสุกรกว่า 1 ล้านตันปี 55

การนำเข้าสัตว์ปีกไปยังจีนปี 2555 คาดการณ์กันว่าจะมีปริมาณใกล้เคียงกับปี 2554 ที่ปริมาณ 1 – 1.1 ล้านตัน

Ma Chaung รองประธานสมาคมเกษตรสัตว์จีน (CAAA) เปิดเผยว่าภาคเนื้อสุกรของจีนมีกำลังผลิตลดลง โดยปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในครัวเรือนลดลงมากกว่าการทำฟาร์มสุกรเป็นอาชีพ อย่างไรก็ตามผลผลิตทั้งหมดไม่ได้ลดลงมากนัก โดยปริมาณนำเข้าในไตรมาส 4 ของปี 2554 มากกว่าในปี 2553
ในเรื่องของโรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ (PRRS) และโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) Ma Chaung กล่าวว่าไม่กังวลและคาดว่าจะไม่ระบาดเหมือนที่ Rabobank ระบุในรายงานล่าสุด อ! ีกทั้งจีนยังได้เริ่มโครงการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคทั้งสองชนิดแล้ว


ที่มา : Pig Progress (30/11/54

การผลิตเนื้อสัตว์ปีกรัสเซียโตเพิ่ม 8.6 %  

                กระทรวงเกษตรรัสเซียคาดการณ์ว่าการผลิตสัตว์ปีกในรัสเซียเพิ่มขึ้นเกือบ 50 % ในช่วงปี 2551 – 2554

                สำนักงานสถิติแห่งชาติรัสเซีย (Rosstat) รายงานว่า ในเดือนมกราคม – ตุลาคม 2554 รัสเซียผลิตเนื้อสัตว์ปีก 2.8 ล้านตัน  หรือมากกว่า ผลผลิตปี 2553 ในช่วงเดียวกัน ซึ่งมีผลการผลิตที่ 2.4 ล้านตัน ที่ 8.4 % และขณะนี้ผลผลิตเนื้อสัตว์ปีกเพียงพอต่อความต้องการในประเทศที่ 85 % และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกมายังตลาดรัสเซียลดลงอย่างต่อเนื่องที่ 4 – 5 % ต่อปี ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าอัตราการเติบโตของการผลิตสัตว์ปีกในช่วงเดียวกันน่! าจะเพิ่มจาก 4 % เป็น 6 %

                เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย Viktor Zubkov รองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งกล่าวว่า จากการเติบโตของอุตสาหกรรมสัตว์ปีก รัสเซียจะสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในด้านเนื้อสัตว์ปีก โดยผลผลิตสัตว์ปีกภายในประเทศจะเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศในปี 2557

                นอกจากนี้ สมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกแห่งชาติ (Rosptitsesoyuz) คาดการณ์ว่า การส่งออกสัตว์ปีกรัสเซียอาจเพิ่มขึ้น 6 เท่าเมื่อสิ้นปี 2554 เป็น 90,000 ตัน
 
 
 
ที่มา : World Poultry (29/11/54

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฟิลิปปินส์เตรียมตัวส่งออกเนื้อหมูไปเกาหลีใต้

หลังจากการเจรจาส่งออกสัตว์ปีกไปยังเกาหลีใต้ซึ่งจะเริ่มในไตรมาสแรกของปี 2555 ประสบความสำเร็จ รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังเตรียมพร้อมเพื่อขอส่งออกเนื้อสุกรไปยังเกาหลีใต้

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ต้องการให้กระทรวงเกษตรเกาหลีใต้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบคุณภาพเนื้อสุกรในฟิลิปปินส์ โดยฟิลิปปินส์ได้พยายามเข้าถึงตลาดเนื้อสัตว์สดเกาหลีใต้ตั้งแต่ก่อนที่ฟิลิปปินส์จะได้รับการรับรองว่าปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยโดยไม่ต้องให้วัคซีน

ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ GMA News ระบุว่ากระทรว! งเกษตรฟิลิปปินส์อนุญาตให้เกาหลีใต้ส่งออกปาปิก้าหรือพริกหวานบดมายังฟิลิปปินส์ในไตรมาสแรกของปี 2555

เนื่องจากรัฐบาลมีแผนการส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์และเนื้อไก่ไปยังต่างประเทศ รัฐบาลจึงต้องทำให้มั่นใจว่ามีการปรับปรุงโรงเชือดให้ได้คุณภาพระดับ AAA นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ต้องการส่งออกเนื้อสุกรไปยังสิงคโปร์ มาเลเซียและตะวันออกกลาง


ที่มา : The Pig Site (28/11/54

เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อหมูกว่า 2 เท่าในปี 2554

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 กระทรวงอาหาร เกษตร ป่าไม้ และประมง เกาหลีใต้รายงานว่า เมื่อถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อสุกรกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553

เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อสุกร 329,743 เมื่อถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 เพิ่มขึ้น 117 % จาก 151,889 ต้น ในช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่า จาก 41,888 ตัน เป็น 129,975 ในช่วงเดียวกัน ซึ่งคิดเป็น 39.4 % ของการนำเข้าเนื้อสุกรทั้งหมด นอกจากนี้ ในช่วงเดียวกัน เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อวัวเพิ่มขึ้น 253,132 ต้น หรื! อเพิ่มขึ้น 20.3 % จากช่วงเดียวกันของปี 2553

เกาหลีใต้นำเข้าเนื้อสุกรและเนื้อเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากผลผลิตภายในประเทศลดลงโดยมีสาเหตุจากการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย เพื่อควบคุมการระบาดของโรคในเดือนพฤศจิกายน ปี 2553 เกาหลีใต้จึงต้องกำจัดปศุสัตว์กว่า 3 ล้านตัว ซึ่งปศุสัตว์ส่วนใหญ่ที่ถูกกำจัดเป็นสุกรและวัว



ที่มา : Xinhua News (28/11/54

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สถานการณ์ไข้หวัดนกในอียิปต์และอินโดนีเซีย

สถานการณ์ไข้หวัดนกในอียิปต์เกิดขึ้น 5 ครั้งใน 4 เขตผู้ว่าราชการได้แก่ เบเฮรา ฟายุม การ์เบียและกิซา โดยในเมืองเบเฮราเกิดการระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกซึ่งมีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 แล้ว ขณะที่การระบาดอีก 4 ครั้งพบในสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ในสวนหลังบ้านหรือบนหลังคาและยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

ขณะที่สถานการณ์ไข้หวัดนกในอินโดนีเซีย หน่วยงานผู้ดูแลด้านไข้หวัดนกระบุว่าเดือนกันยายน 2554 จังหวัดบาหลีเป็นเมืองที่เกิดการระบาดของไข้หวัดนกในหลายหมู่บ้านมากที่สุด ตามมาด้วยซูลา! เวซีกลาง ซูลาเวซีตะวันตก กาลีมันตันตะวันตก และซูลาเวซีใต้ โดยในเดือนตุลาคม 2554 ไข้หวัดนกทำให้มีผู้เสียชีวิตในบาหลี 3 ราย อยู่ในครอบครัวเดียวกัน ประกอบด้วยหญิงวัย 29 ปีผู้เป็นแม่ และเด็กหญิงวัย 9 ปี และเด็กชายวัย 10 ปี โดยพบสัตว์ปีกที่เลี้ยงในครัวเรือนเสียชีวิตก่อนที่ผู้หญิงและเด็กล้มป่วย

นอกจากนี้ยังมีการรายงานการระบาดของไข้หวัดนกในหมู่บ้าน 2 แห่งในจังหวัดนูซาเต็งการาตะวันออก และเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 มีการรายงานว่าพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกใน 3 แขวงของจังหวัดซูลาเวซีใต้ ทำให้มีสัตว์ปีกเสียชีวิต 14,000 ตัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลสรุปสถานการณ์ไข้หวัดนกล่าสุดของ FAO ยังระบุการพบการระบาดของไข้หวัดนกในเวียดนามและอิหร่านซึ่งก่อนหน้านี้มีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลก (W! TO) ด้านสุขอนามัยสัตว์และ และจากข้อมูลในตารางในรายงานของ FAO ร! ะบุว่าใน ปี 2554 มีการระบาดไข้หวัดนกใน 14 ประเทศ

ไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย บังกลาเทศ อินเดีย และอียิปต์




ที่มา : World Poultry ( 23 พฤศจิกายน 2554

ช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ เนื้อหมูและไก่อาจขาดแคลนและราคาสูงในฟิลิปปินส์

ผู้แปรรูปเนื้อสัตว์ออกมาแจ้งเตือนว่า ฟิลิปปินส์อาจขาดแคลนเนื้อสุกรและเนื้อไก่ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส และราคาสินค้าดังกล่าวอาจมีราคาสูงในช่วงเทศกาลปีใหม่ และกล่าวโทษกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ว่าไม่ออกใบอนุญาตนำเข้าให้เพียงพอ

นาย Francisco Buencamino ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้แปรรูปเนื้อสัตว์ และนาย Jesus Cham ประธานสมาคมผู้นำเข้าและผู้ค้าเนื้อสัตว์ระบุว่ากระทรวงฯ ไม่ได้ออกใบอนุญาตนำเข้าเนื้อสุกรและไก่ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 แม้ว่าการกระทำของกร! ะทรวงฯ จะช่วยเพิ่มราคาของสินค้าในประเทศ แต่จะส่งผลกระทบต่อผู้แปรรูปเนื้อสัตว์ เช่น แฮม ไส้กรอก ซึ่งมักได้รับความนิยมบริโภคในช่วงกาลเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าว

นอกจากนี้ นาย Jesus กล่าวว่าหากต้องแย่งซื้อสินค้าเนื้อหมูและไก่จากเกษตรกรในท้องถิ่นกับผู้บริโภค จะทำให้ราคาเนื้อหมูและไก่พุ่งสูงขึ้น นาย Francisco จึงเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรทบทวนการตัดสินใจอีกครั้งและเรียกร้องให้รัฐบาลไม่ควรคุ้มครองเกษตรกรเพียงฝ่ายเดียว หากแต่ต้องคุ้มครองผู้บริโภคด้วย




ที่มา : The Pig Site (23 พฤศจิกายน 2554

จับตา...ข้อพิพาทฉลาก Cool สหรัฐฯ

องค์การการค้าโลก (WTO) ตัดสินว่า ฉลาก Cool ไม่สอดคล้องกับข้อบังคับทางการค้าของ WTO

WTO ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนจากแคนาดาเรื่องข้อกำหนดของฉลาก Cool ของสหรัฐ ซึ่งบังคับให้ระบุแหล่งกำเนิดที่มาของสินค้า โดยพระราชบัญญัติ Food Conservation and Energy สหรัฐฯ บังคับให้ติดฉลาก Cool บน เนื้อวัว เนื้อสุกร เนื้อไก่ เนื้อแกะ เนื้อแพะ และสินค้าที่เน่าเสียได้ที่จำหน่ายโดยผู้ค้าปลีกในสหรัฐฯ

WTO ระบุว่าข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการแบ่งแยกสินค้าปศุสัตว์จากต่างประเทศ WTO พบว่า มีการเลือกปฏิบัติต่อสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโกต่างจากสินค้าจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังพบว่าข้อกำหนดดังกล่าวยังสร้างอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ผู้แปรรูปสินค้าปศุสัตว์แคนาดาต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

สหรัฐฯ ออกกฎหมายฉลาก Cool เป็นการชั่วคราวเมื่อเดือนกันยายน 2551 และบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2552

ขณะนี้ สหรัฐฯ จะต้องเปลี่ยนแปลงมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับข้อบังคับทางการค้าของ WTO แต่อย่างไรก็ตาม หากสหรัฐฯได้รับการอุทธรณ์ สหรัฐฯจะสามารถขยายเวลาการเปลี่ยนแปลงได้





ที่มา : Australian Food News ( 24 พฤศจิกายน 2554

ผู้ผลิตไก่ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กังวลต่อการนำเข้าไก่จากบราซิล

ผู้ผลิตไก่ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้แสดงความวิตกต่อการนำเข้าไก่จำนวนมากจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากบราซิล เนื่องจากธุรกิจของผู้ผลิตในประเทศได้รับผลกระทบ

การนำเข้าไก่จากต่างประเทศส่งผลกระทบต่อผลกำไรของผู้ผลิตภายในประเทศ ทำให้กลุ่มผู้ผลิตและอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งรวมตัวกันเพื่อฟ้องผู้นำเข้าบราซิลในคดีทุ่มตลาด โดยกล่าวหาว่าบราซิลจำหน่ายไก่ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในราคาที่ต่ำว่าในบราซิล ส่วนบราซิลเชื่อว่าฝ่ายตนทำถูกต้องและเตรียมนำเรื่องนี้เข้าสู่องค์การการค้าโลก (WTO) สมาพันธ์สัตว์ปีกบราซิล (Ubabef) อ้างว่าการกล่าวว่าบราซิลทุ่มตลาดเป็นเรื่องการเมืองและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กำลังปกป้องผู้ผลิตในประเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพและจะทำให้ประชาชนนับล้านเสียประโยชน์ในการบริโภคโปรตีนที่มีราคาถูก

ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตสัตว์ปีกสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ระบุว่า ในปี 2543 การนำเข้าไก่จากบราซิลอยู่ที่ 11,198 ตัน ส่วนปี 2553 นำเข้าที่ 193,896 ตัน โดยเป็นการนำเข้าจากบราซิล 73 % รองลงมาคืออาร์เจนตินา 10.3% และแคนาดา 7.1 %

ด้าน Ubabef ระบุว่า การนำเข้าไก่ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในทศวรรษที่ผ่านมาไม่เคยเกิน 20 % ของไก่ที่ผลิตได้ทั้งหมดในประเทศ นาย Adriano Zerbini ผู้จัดการฝ่ายการตลาดความสัมพันธ์กล่าวว่า ส่วนแบ่งการตลาดของบราซิลในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ไม่สูงมาก และบราซิลไม่ต้องการให้ผู้ผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบแต่อย่างใด และถ้ามีการจำหน่ายไก่ที่นำเข้าจากบราซิลในราคาถูกมากแล้วเหตุใดบราซิลจึงไม่มีส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่านี้

ขณะนี้ คณะกรรมการบริหารการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กำลังตรวจสอบว่าบราซิลทุ่มตลาดหรือไม่ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบนานนับปี แต่อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายสามารถยื่นเรื่องต่อ WTO ได้ในกรณีที่ไม่พอใจการตรวจสอบดังกล่าว




ที่มา : World Poultry ( 24 พฤศจิกายน 2554 )

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นักวิทย์ยูเอ็นเตือน โรค CBSDอาจกลายเป็นโรคระบาดในอัฟริกา

 
                นักวิทยาศาสตร์องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แจ้งเตือนว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Cassava Brown Streak Disease : CBSD ในอัฟริกาตะวันออกเป็นบริเวณกว้างเป็นเรื่องเร่งด่วนและเรียกร้องให้จัดหากองทุนสำหรับการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากโรค CBSD อาจกลายเป็นโรคระบาดได้

               มันสำปะหลังเป็นพืชที่สำคัญในอัฟริกาเนื่องจากเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีคุณภาพต่ำและต้องการน้ำน้อย อย่างไรก็ตาม มันสำปะหลังสายพันธุ์ที่แจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในอัฟริกาไม่สามารถต้านทานโรคนี้ได้

     &n! bsp;          นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โรค CBSD กำลังจะกลายเป็นโรคระบาด โรคดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรกใน
อูกานดาในปี 2549 หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็พบโรคนี้ใน สาธารณรัฐบุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นครั้งแรก

               นาย Mike Robson เจ้าหน้าที่ผลิตและปกป้องพืชจาก FAO กล่าวว่า ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าไวรัสแพร่ระบาดไปยังที่ใดบ้างเนื่องจากระบบติดตามคุณภาพต่ำ และปัญหาสำคัญคือเกษตรกรอาจคิดว่าพืชมีสุขภาพดีจนกระทั่งการเก็บเกี่ยว เนื่องจากโรคจะแสดงอาการที่รากพืชเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีที่จะช่วยลดผลกระทบจากโรคดังกล่าวได้ โดยควบคุมการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของมันสำปะหลังที่ติดเชื้อเพื่อไม่ให้ไวรัสแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆได้ และหากเกษตรกรคาดว่ามันสำปะหลังติดเชื้อ ให้รีบเก็บเกี่ยวแต่เนิ่นๆ แม้ว่ารากมันสำปะหลังจะมีขนาดเล็กแต่จะได้รับผลกระทบจากไวรัสดังกล่าวน้อยกว่า

            &nb! sp;  ขณะนี้ สถาบันการเกษตรเขตร้อนนานาชาติกำลังพัฒนาม! ันสำปะหล ัง 8 สายพันธุ์ให้สามารถต้านทานโรค CBSD และคาดหวังว่ามันสำปะหลังสายพันธุ์เหล่านี้จะแพร่หลายได้ภายใน 2 ปี
 
 
 
ที่มา : BBC (22/11/54

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เวียดนามเริ่มโครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตฯปศุสัตว์ในประเทศ

 
                เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามเปิดเผยโครงการเพิ่มขีดความสามารถและความปลอดภัยอาหารของอุตสาหกรรมปศุสัตว์

                โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านปศุสัตว์และความปลอดภัยอาหารแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ผลิตปศุสัตว์ระดับครัวเรือน

                ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการผลิตปศุสัตว์ การแปรรูปและการตลาด ตลอดจนปรับปรุงความปล! อดภัยอาหารในห่วงโซ่อุปทานปศุสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อสัตว์ ในเขตที่ได้รับการคัดเลือก

                โครงการดังกล่าวซึ่งมีระยะเวลาจนถึงเดือนธันวาคม 2558 ประกอบด้วย 2  ส่วน ดังนี้
                   • ส่วนแรก เน้นการยกระดับการผลิตปศุสัตว์ในระดับครัวเรือนและการบูรณาการตลาด
                   • ส่วนที่สอง เน้นการบริหาร ติดตาม และประเมินโครงการ

               โครงการนี้จะนำการจัดการทางสุขาภิบาลและสุขภาพสัตว์ที่ดี (GAHP) มาปรับใช้ในฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์ ในเขตที่มีการเพาะพันธุ์สัตว์มาก จัดตั้งโรงงานกำจัดของเสียเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงตลาดอาหารสด 40 แห่ง โรงเชือด 10 แห่งในเขตที่ได้รับการคัดเลือกในเมืองโฮจิมินห์เ! พื่อปรับปรุงความปลอดภัยอาหาร นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งระบบติดตา! มสินค้าอ าหารและควบคุมคุณภาพตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มเพาะพันธุ์ โรงเชือด จนถึงการบริโภค
 
 
ที่มา : VN Agency (21/11/54)

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฝรั่งเศสวางแผนลดใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ 25 % ภายใน 5 ปี

กระทรวงเกษตรฝรั่งเศสประกาศแผนลดความเสี่ยงการดื้อยาปฏิชีวนะในสัตว์ โดยมีเป้าหมายลดการใช้

ยาปฏิชีวนะให้ได้ 25 % ภายใน 5 ปี ผ่านการเน้นพัฒนาการแพทย์ทางเลือก
ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2542 กระทรวงเกษตรฝรั่งเศสเริ่มติดตามการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ และปี 2549 สหภาพยุโรปห้ามการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับใช้เป็นสารเร่งโตในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังระบุให้สัตวแพทย์ต้องใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างเหมาะสม และระหว่างปี 2550 – 2553 ตัวเลขจากฝรั่งเศสชี้ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะลดลง 12.1 %

&! nbsp; แผนการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาสัตว์และรักษาประสิทธิภาพการรักษา ในระยาว เนื่องจากยาปฏิชีวนะเป็นยาเฉพาะ และมีความสำคัญต่อสุขภาพสัตว์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเริ่มคิดว่าเหตุใดต้องใช้และมีวิธีใช้ยาอย่างไร

กระทรวงเกษตรได้ตั้งเป้าหมายไว้ 5 ประการ ดังนี้
• ส่งเสริมการปฏิบัติที่ดีและเพิ่มความตระหนักเรื่องความเสี่ยงด้านการดื้อยาปฏิชีวนะ และรักษาประสิทธิภาพการใช้ยาปฏิชีวนะ
• พัฒนาทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ
• เพิ่มระดับการบริหารในทางปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยง
&nb! sp; ! ; & nbsp; • เพิ่มระดับการติดตามการใช้และการดื้อยาปฏิชีวนะ
• ส่งเสริมการวิจัยในสหภาพยุโรปและโครงการระดับนานาชาติ


ที่มา : The Fish Site (21/11/54)

พบซากนกในสลัดเมืองผู้ดี

นาย Paul Streeter ชาวเมือง Somerset ในหมู่บ้าน Weare สหราชอาณาจักรซื้อสลัดร็อกเกตจากห้าง Tesco สาขา Burnham-on-Sea เมื่อวันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2554 และแฟนสาวของนาย Streeter เป็นผู้พบซากนกเน่าเปื่อยเป็นโครงกระดูกในสลัดดังกล่าวขณะที่กำลังเตรียมอาหาร ขณะที่ทาง Tesco กล่าวว่าจะทำการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยทางห้างกำลังติดต่อกับลูกค้ารายดังกล่าวและทำการขอโทษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ที่มา : BBC(21/11/54)

อินโดยึดไก่ลักลอบนำเข้าจากมาเลย์

เมื่อเร็วๆนี้ หน่วยงานด้านปศุสัตว์และสุขภาพสัตว์ประจำจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกของอินโดนีเซียได้เข้ายึดซากไก่แช่แข็ง 290 ตันที่ลักลอบนำเข้าจากมาเลเซียไปยังเมืองปนตีอานักซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดกาลีมันตันตะวันตกและเมืองกุบุรายา โดยซากไก่ดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างทดสอบให้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซากไก่เหล่านี้ไม่มีใบรับรองสุขภาพสัตว์จึงทำให้ความปลอดภัยยังเป็นข้อกังขาอยู่

Bambang Mulyantono ประธานของสมาคมธุรกิจการเกษตรสัตว์ปีกประจำจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก กล่าวว่าซากไก่ที่ลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมายจากมาเลเซีย! สร้างความเสียหายให้แก่การค้าสัตว์ปีกในจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก และเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นอกจากนี้ก็มีการลักลอบนำเข้าไข่และซากเป็ดจากมาเลเซียอีกด้วย โดยการลักลอบขนเข้ามาส่วนใหญ่มาจากประตูชายแดนระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย



ที่มา : World Poultry (21/11/54)

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พบเชื้อไข้หวัดนกระบาดในฟาร์มไก่ที่บังกลาเทศ

 
                หนังสือพิมพ์ Daily Star รายงานว่าพบเชื้อไข้หวัดนกระบาดที่ฟาร์มเลี้ยงไก่แห่งหนึ่งในจังหวัด Rajbari บังกลาเทศ โดยได้ทำลายไก่กว่า 11,000 ตัวและไข่กว่า 43,000 ฟองหลังจากตรวจพบเชื้อไข้หวัดนกในฟาร์ม ปฏิบัติการป้องกันการแพร่ระบาดนี้เริ่มเมื่อวันที่ 14 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 

                เจ้าของฟาร์มรายงานว่าว่าพบไก่หลายตัวล้มตายจึงรายงานให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ท้องถิ่นทราบ หลังจากนั้นได้ส่งซากไก่ไปยังห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่เมืองดากาเพื่อตรวจสอบ ผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าพบเชื้อไข้หวัดนก 

  ! ;              เจ้าหน้าที่กล่าวว่า โอกาสที่เชื้อไข้หวัดนกจะแพร่ระบาดไปยังฟาร์มใกล้เคียงมีน้อยมากเนื่องจากได้มีการใช้มาตรการป้องกันที่จำเป็นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแล้ว
 
ที่มา : Newkerala(17/11/54

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไทยส่งออกไก่ไม่หวั่นน้ำท่วม

สมาคมผู้ส่งผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยระบุว่า การเกิดอุทกภัยในไทยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไก่ โดยมีคำสั่งซื้อไก่ล่วงหน้าไปจนถึงไตรมาส 3 ของปี 2555 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจากต่างประเทศกังวลถึงความล่าช้าของระบบโลจิสติกส์และการขนส่ง โดยคำสั่งซื้อไก่ส่วนมากมาจากญี่ปุ่นและประเทศในสหภาพยุโรปซึ่งทั้งสองเป็นผู้นำเข้าไก่รายใหญ่ที่สุดของไทย
ทั้งนี้คาดว่ายอดส่งออกไก่ไทยจะไม่ลดลง โดยไทยเตรียมจะส่งออกเนื้อไก่ไม่ต่ำกว่า 450,000 ตัน เพิ่มขึ้น 6.3% เมื่อเทียบกับปี 2553



ที่มา : World Poultry (15/11/54

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ออสเตรเลียแจ้งค่า MRLsสารเคมีทางสัตวศาสตร์และทางการเกษตร

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 ออสเตรเลียแจ้งเวียนต่อประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เรื่องร่าง Australia New Zealand Food Standards Code โดยกำหนดค่า MRLs สำหรับสารเคมีที่ใช้ทางสัตวศาสตร์แลทางการเกษตรต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบแห่งชาติที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพในการใช้สารเคมีต่างๆ เปิดรับฟังข้อคิดเห็นถึงวนที่ 17 พฤศจิกายน 2554 และคาดว่ามีผลบังคับใช้ก่อนธันวาคม 2554

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.apvma.gov.au/publications/gazette/2011/18/gazette_2011_09_13_page_22.pdf


ที่มา : มกอช.