หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

UN เตือน ไข้หวัดนกอาจกลับมาระบาดอีกระลอก


 
                เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2554 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ (FAO) แจ้งเตือนว่าไข้หวัดนกอาจกลับมาระบาดอีกครั้ง เนื่องจากในขณะนี้มีเชื้อไวรัสไข้หวัดนกชนิด H5N1 ซึ่งกลายพันธุ์กำลังระบาดในประเทศต่างๆในเอเชีย และมีความเป็นไปได้ที่จะแพร่เชื้อมาสู่มนุษย์

               ขณะนี้ เชื้อไวรัส H5N1 ซึ่งกลายพันธุ์กำลังแพร่ระบาดในจีนและเวียดนาม วัคซีนชนิดต่างๆ ที่ใช้กับไวรัส H5N1 ในปัจจุบันไม่สามารถใช้ป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์ได้ และ UN กังวลว่าเชื้อไข้หวัดนกที่กลายพันธุ์นี้อาจแพร่ระบาดมายังกัมพูชา ไทย มาเลเซีย คาบสมุทรเกาหลีและญี่ปุ่น

  ! ;             นาย Juan Lubroth หัวหน้าเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ของ FAO กล่าวว่า นกป่าอาจเป็นตัวนำเชื้อไวรัสเข้ามาก็จริง แต่การกระทำของมนุษย์ด้านการผลิตและการซื้อขายสัตว์ปีกนั้นทำให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาด

               อนึ่ง มีการระบาดของไข้หวัดนกมากที่สุดในปี 2549 ก่อนที่จะถูกกำจัดไปจนหมดสิ้นในหลายๆประเทศ
 
 
 
 
ที่มา : Xinhua 

เสฉวนส่งออกเนื้อหมูลดฮวบ 30% แต่ราคาขายพุ่งเป็นประวัติการณ์


 
                ศุลกากรนครเฉิงตู รายงานปริมาณการส่งออกเนื้อหมูของมณฑลเสฉวนตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง กรกฎาคม 2554 อยู่ที่ 9,000 ตัน ลดลงถึง 29.8% แต่ราคาปรับตัวเพิ่มสวนทางสร้างสถิติแพงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงตันละ 3,337 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันกับปี2553ถึง 31.9%

                เจ้าหน้าที่ศุลกากรกล่าวว่า ปริมาณการส่งเนื้อสุกรออกนอกของมณฑลเสฉวนมีปริมาณลดลงนั้น สาเหตุหนึ่งมาจากตลาดต่างประเทศต้องการเนื้อหมูลดลง อาทิ ตลาดฮ่องกงมีความต้องการเนื้อหมูนำเข้าจากมณฑลเสฉวนเหลือเพียง 4,322 ตัน เท่านั้น ซึ่งลดลงกว่า 31.2% ขณะเดียวกันการส่! งออกเนื้อหมูสู่ประเทศคีร์กิซสถานยังลดลงถึง 48.3% เพราะราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวสูง 

                เจ้าหน้าที่ฯยังกล่าวต่ออีกว่า เมื่อครึ่งแรกของปี 2553 เนื้อหมูยังมีราคาต่ำ ส่งผลให้ผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อยขาดทุนหนักและลดการผลิตลงในที่สุด นอกจากนี้ ระยะเวลาการเลี้ยงหมูต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 เดือน ยิ่งส่งผลให้หมูโตไม่ทันบริโภคอีกทั้งมีจำนวนลดลงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดภายประเทศ ส่งผลให้เนื้อหมูขาดตลาด กระทบต่อราคาที่ต้องแพงขึ้นในปี2554 โดยเห็นชัดเจนสุดตั้งแต่เดือนมิถุนายนและ กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา

               ศุลกากร นครเฉิงตู เผยกำไรจากสุกรเป็นต่อตัวที่หน้าด่านในเดือนมิถุนายน 2554 ทะลุตัวละ 600 หยวน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันจากปีก่อนตัวละ 200 หยวน เนื่องจากกระบวนการผลิตเนื้อสุกรชำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป และอื่นๆ มีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่โรงฆ่าสัตว์มีจำนวนลดลง อีกทั้งผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้! ายที่ได้จากสุกรมีราคาที่สูง ล้วนส่งผลต่อราคาบริโภคสุกรที่สูงขึ! ้นในขณะน ี้

 
 
 
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู 
 

จีนจับผู้ลักลอบผลิต-ขายเนื้อใส่สาร Clenbuterol เฉียดพัน


 
                เมื่อไม่นานนี้จีนเกิดกรณีอื้อฉาวเนื้อสุกรปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง clenbuterol ซึ่งเป็นสารปรุงต้องห้ามที่ใส่ในอาหารสุกรเพื่อทำให้ราคาเนื้อสุกรแพงขึ้นสูงขึ้น สืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางการจีนจึงได้จับผู้ต้องหา 989 คนในข้อหาผลิตและจำหน่ายสารดังกล่าว 

                Xu Hu เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงความปลอดภัยของจีนเปิดเผยถึงการจับกุมแก๊งใต้ดินจำหน่ายและและผลิตสารดังกล่าว โดยแก็งค์นี้เกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายสาร clenbuterol ใน 63 เมืองของจีน และเมื่อไม่นานนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดสารดังกล่าว 2.75 ตัน พร้อมทั้งปิดห้อง! ปฏิบัติการผิดกฎหมาย 6 แห่ง โรงผลิต 12 แห่ง โรงงานแปรรูป 19 แห่ง คลังเก็บสินค้า และโรงงานใต้ดินอีก 32 แห่ง

                เนื้อสุกรเป็นเนื้อสัตว์คนจีนนิยมบริโภคมากที่สุด อย่างไรก็ตามกรณีอื้อฉาวเนื้อสุกรปนเปื้อนสาร Clenbuterol ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ได้สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคและรัฐบาลจีน
 



ที่มา : Pig Progress 

จีนจับผู้ลักลอบผลิต-ขายเนื้อใส่สาร Clenbuterol เฉียดพัน


 
                เมื่อไม่นานนี้จีนเกิดกรณีอื้อฉาวเนื้อสุกรปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง clenbuterol ซึ่งเป็นสารปรุงต้องห้ามที่ใส่ในอาหารสุกรเพื่อทำให้ราคาเนื้อสุกรแพงขึ้นสูงขึ้น สืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางการจีนจึงได้จับผู้ต้องหา 989 คนในข้อหาผลิตและจำหน่ายสารดังกล่าว 

                Xu Hu เจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงความปลอดภัยของจีนเปิดเผยถึงการจับกุมแก๊งใต้ดินจำหน่ายและและผลิตสารดังกล่าว โดยแก็งค์นี้เกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายสาร clenbuterol ใน 63 เมืองของจีน และเมื่อไม่นานนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดสารดังกล่าว 2.75 ตัน พร้อมทั้งปิดห้อง! ปฏิบัติการผิดกฎหมาย 6 แห่ง โรงผลิต 12 แห่ง โรงงานแปรรูป 19 แห่ง คลังเก็บสินค้า และโรงงานใต้ดินอีก 32 แห่ง

                เนื้อสุกรเป็นเนื้อสัตว์คนจีนนิยมบริโภคมากที่สุด อย่างไรก็ตามกรณีอื้อฉาวเนื้อสุกรปนเปื้อนสาร Clenbuterol ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ได้สร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคและรัฐบาลจีน
 



ที่มา : Pig Progress 

คาซัคสถานลดพึ่งพานำเข้าสัตว์ปีก


 
                นาย Rabiga Tokseitova อธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรคาซัคสถานกล่าวว่า รัฐบาลคาซัคสถานกำลังเตรียมขั้นตอนการสนับสนุนอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศ โดยคาดว่า คาซัคสถานจะสามารถลดปริมาณนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า ทุกปี อุตสาหกรรมสัตว์ปีกคาซัคสถานสามารถเพิ่มผลผลิต และปัจจุบันนี้ สัดส่วนการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกลดลงอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าโดยเนื้อสัตว์ปีกในตลาดประมาณ 56 % เป็นสินค้านำเข้า

                รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมสัตว์ปีกโดยการตั้งกองทุนเมล็ดพืชอาหารสัตว์ประมาณ  300000 ตัน และทุกปีๆได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินก! ู้จากธนาคารสำหรับการซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการทำฟาร์มสัตว์ปีก ซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดหาทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ผลิต

                นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ปฏิบัติตามนโยบายลดโควตานำเข้าเนื้อสัตว์ปีกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่มายังคาซัคสถาน เมื่อปี 2552 คาซัคสถานนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ ที่ 147,000 ตัน และเมื่อปี 2553 คาซัคสถานได้ลดโควตานำเข้าเหลือ 110,000 ตัน
 
 
 
ที่มา : World Poultry 

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไข่ไก่จากเนเธอร์แลนด์ปนเปื้อนไดออกซิน



หน่วยงานความปลอดภัยอาหารและผู้บริโภคแห่งใหม่ของเนเธอร์แลนด์ (nVWA) รายงานว่า ไข่ไก่ซึ่งปนเปื้อนไดออกซิน ผลิตในเนเธอร์แลนด์ถูกส่งออกไปยังเบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก โดยไข่เหล่านี้ฟาร์มอินทรีย์แห่งหนึ่งในประเทศ ถูกส่งไปบรรจุหีบห่อในเบลเยี่ยมและส่งต่อไปยังห้างสรรพสินค้าในเบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และโรงงานผลิตไข่ในเบลเยี่ยม

เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนว่าไข่ไก่ปนเปื้อนไดออกซินดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไข่ และได้แจ้งเตือนผู้ประกอบการไม่ให้ใช้ไข่ดังกล่าวจนกว่าการวิเคราะห์จะเสร็จสิ้! น แต่ขณะนี้ ยังไม่ทราบสาเหตุการปนเปื้อน และยังไม่สามารถระบุได้ว่าการตรวจสอบจะเสร็จสิ้นเมื่อใด แม้ว่าหน่วยงานคาดว่า มีไข่ไก่ที่ปนเปื้อนจากฟาร์มเพียงแห่งเดียวเท่านั้นก็ตาม และนอกจากนี้ ยังไม่สามารถยืนยันจำนวนไข่ไก่ปนเปื้อนสารดังกล่าวที่แน่นอนได้

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เนเธอร์แลนด์ได้แจ้งเตือนผ่านระบบ RASFF ว่าไข่ไก่ปนเปื้อนไดออกซินที่ระดับ 2.07 pg WHO TEQ/กรัม และ polychlorobifenyls ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายไดออกซินปนเปื้อนที่ระดับ 12.31 pg WHO TEQ/กรัม

อนึ่ง ขณะนี้ มีการนำไข่ไก่ที่ปนเปื้อนออกจากตลาดและบริษัทที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ไข่ที่ผลิตจากไข่ไก่ดังกล่าวได้รับแจ้งเตือนไม่ให้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจนกว่าผลการตรวจสอบจะยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ดังกล่าวไม่มีปริมาณได! ออกซินปนเปื้อนเกินมาตรฐาน




ที่มา : Food Production Daily

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รัสเซียไฟแดงเนื้อสัตว์ปีกจากบริษัทบราซิล 2 แห่ง



หน่วยงานเฝ้าระวังด้านสัตวแพทย์และสุขอนามัยพืชรัสเซีย (Rosselkhoznadzor) ระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากบริษัทบราซิล 2 แห่ง คือ บริษัท Libra Terminais SA และ Diplomata S/A Industrial e Comercial เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าวไม่ปลอดภัย โดยเจ้าหน้าที่ตรวจพบการเชื้อ listeria ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ปีกของบริษัท Libra Terminais SA และพบเชื้อ Salmonella ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ปีกของบริษัท Diplomata S/A Industrial e Comercial

ก่อนหน้านี้ Rosselkhoznadzor ได้แจ้งเตือนบริษัทบราซิลหลายแห่งให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในตลาดรัสเซีย และยังแจ้งเตือนว่าจะระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกชั่วคราวจากบริษัทบราซิลแห่งอื่นๆอีก ถ้าผู้ผลิตยังละเลยในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสหภาพศุลกากร (Customs Union)

จนถึงปัจจุบัน รัสเซียระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อจากบริษัทบราซิลจำนวนทั้งหมด 129 บริษัท



ที่มา : World Poultry


วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ออสเตรเลียเตือนเกษตรกรให้ระวังโรคหวัดหน้าบวมในสัตว์ปีก



ดร. James Harris สัตวแพทย์เกาะแทสมาเนีย ออสเตรเลีย และประธานสมาคมสัตวแพทย์สัตว์ปีก เตือนผู้เลี้ยงสัตว์ปีก เช่น เกษตรกร และผู้เลี้ยงสัตว์ปีกไว้ดูเล่น ให้ระวังโรคหวัดหน้าบวม (infectious coryza) ซึ่งในขณะนี้กำลังแพร่ระบาดในไก่ในเกาะแทสมาเนียมากผิดปกติ

Dr James Harris ได้ให้คำแนะนำว่า ถ้านำสัตว์ปีกมาเลี้ยง ควรขังเดี่ยวเพื่อกักกันโรคและสังเกตอาการ เป็นเวลา
30 วัน หรือในกรณีที่นำสัตว์ปีกไปแสดง ให้กักกันโรคสัตว์ปีกนั้นเป็นเวลา 30 วัน เช่นเดียวกัน

โรคหวัดหน้าบวมซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจมักพบในสัตว์ปีกภายในประเทศ เป็นโรคที่มีอันตรายถึงตายและสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว



ที่มา : The Poultry Site

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไต้หวันพบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯ


 
                เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุขไต้หวัน (DOH) แจ้งว่า ตรวจพบยา ractopamine ซี่งเป็นสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯอีกครั้ง จากสถิติข้อมูลของ DOH ระบุว่า จนถึงปัจจุบันมีการพบเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐ 1.9 % ปนเปื้อน ractompamine ซึ่งเป็นยาที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตอาหารที่ได้จากสัตว์ใน 24 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และบราซิล แต่มีการห้ามใช้ยาดังกล่าวในสหภาพยุโรป จีน และไต้หวัน

               Focus Taiwan รายงานว่าตรวจพบยา ractompamine ซึ่งลดการสังเคราะห์ไขมันและเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน ในสามตัวอย่างของผ! ลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการพิธีศุลกากร (customs clearance) ในไต้หวัน เจ้าหน้าที่องค์การอาหารและยาไต้หวันจึงสั่งให้ส่งสินค้าดังกล่าวกลับคืนสหรัฐฯหรือนำไปทำลาย

                กระทรวงการคลังกล่าวว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 มีเนื้อวัวถอดกระดูกกว่า 5 ล้านปอนด์และเนื้อวัวติดกระดูก กว่า 250,000 ปอนด์จากสหรัฐฯ ผ่านการตรวจสอบของศุลกากร แต่ไต้หวันได้ระงับการนำเข้าเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯกว่า 100,000 ปอนด์ เนื่องจากพบยา ractopamine ตกค้างในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
 


 
ที่มา : Food Safety News 

ไต้หวันพบสารเร่งเนื้อแดงในเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯ


 
                เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุขไต้หวัน (DOH) แจ้งว่า ตรวจพบยา ractopamine ซี่งเป็นสารเร่งเนื้อแดงปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯอีกครั้ง จากสถิติข้อมูลของ DOH ระบุว่า จนถึงปัจจุบันมีการพบเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐ 1.9 % ปนเปื้อน ractompamine ซึ่งเป็นยาที่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตอาหารที่ได้จากสัตว์ใน 24 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ แคนาดา และบราซิล แต่มีการห้ามใช้ยาดังกล่าวในสหภาพยุโรป จีน และไต้หวัน

               Focus Taiwan รายงานว่าตรวจพบยา ractompamine ซึ่งลดการสังเคราะห์ไขมันและเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน ในสามตัวอย่างของผ! ลิตภัณฑ์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการพิธีศุลกากร (customs clearance) ในไต้หวัน เจ้าหน้าที่องค์การอาหารและยาไต้หวันจึงสั่งให้ส่งสินค้าดังกล่าวกลับคืนสหรัฐฯหรือนำไปทำลาย

                กระทรวงการคลังกล่าวว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 มีเนื้อวัวถอดกระดูกกว่า 5 ล้านปอนด์และเนื้อวัวติดกระดูก กว่า 250,000 ปอนด์จากสหรัฐฯ ผ่านการตรวจสอบของศุลกากร แต่ไต้หวันได้ระงับการนำเข้าเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐฯกว่า 100,000 ปอนด์ เนื่องจากพบยา ractopamine ตกค้างในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
 


 
ที่มา : Food Safety News 
 

พบอีกแล้ว โรค ASF ระบาดในรัสเซีย


 
                เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2554 พบสุกร 30 ตัวตายในฟาร์มสุกรแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน Darivka Rodionovo ในเขต Rostov จากการนำอวัยวะส่วนที่มีพยาธิของสุกรเสียชีวิตไปวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ของภูมิภาค Rostov ปรากฎผลว่าพบโรคไข้สุกรแอฟริกัน (ASF) ในอวัยวะเหล่านั้น โดยฟาร์มดังกล่าวมีสุกร 6,500 ตัว ซึ่งหน่วยงานสัตวแพทย์ท้องถิ่นอยู่ในระหว่างป้องกันไม่ให้โรคดังกล่าวแพร่ระบาดไปมากกว่านี้

               ทั้งนี้เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2554 รองนายกรัฐมนตรี Viktor Zubkov กล่าวว่าโรค ASF ได้ระบาดในพื้นที่ตอนใต้ของรัสเซียและแพร่วงกว้างไปยังพื้นที่ตอนกลางและตะวันตกเฉีย! งเหนือ ขณะที่ก่อนหน้านี้รัสเซียก็เกิดการระบาดของโรค ASF ในภูมิภาค Krasnodar ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยพบการระบาดของโรคดังกล่าว 5 ครั้งนับตั้งแต่ต้นปี 2554 เป็นต้นมา
 


 
ที่มา : Pig Progress 
 

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จีนพบไนไตรท์ปนเปื้อนmรังนกนำเข้าจากมาเลย์


 
                เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2554 หน่วยงานบริหารด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์จังหวัดซีเจียงแจ้งว่า จากการตรวจสอบรังนกสีแดง (blood-red cubilose) นำเข้าจากมาเลเซียของผู้ค้าจำนวน 491 รายในจังหวัดซีเจียงพบว่า มีไนไตรท์ปนเปื้อนรังนกสีแดงโดยเฉลี่ยที่ 4,400 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัม เกินกว่ามาตรฐานซึ่งกำหนดไว้ที่ 70 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัม และระดับการปนเปื้อนไนไตรท์ที่มากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เช่น เป็นสารก่อมะเร็ง

               รังนกสีแดงเป็นอาหารประเภทหายาก เป็นที่นิยมบริโภคในจีนและมีราคาแพงเนื่องจากความเชื่อว่าดีต่อสุขภาพ โดยรังนกสีแดงส่วนใหญ่ซึ่งมีจำหน่ายในตลาดท้! องถิ่นของซีเจียงนำเข้าจากมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกรังนกรายใหญ่

                อนึ่ง ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น Sin Chew Daily ระบุว่ารังนกสีแดงที่จำหน่ายในตลาดท้องถิ่นเป็นของปลอม


 
 
ที่มา : Xinhua  
 

จีนป้องกันหมูที่กินเศษอาหารเข้าสู่ตลาด


 
                สถาบันตรวจสอบสุขภาพสัตว์ปักกิ่งรายงานว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2554 สถาบันฯสามารถสกัดสุกรที่กินเศษอาหารไม่ให้เข้าสู่ตลาดได้กว่า 15,000 ตัว ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของรัฐบาลเพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนโรงเชือดสัตว์ผิดกฎหมาย

                สถาบันตรวจสอบสุขภาพสัตว์ปักกิ่ง กล่าวเพิ่มเติมว่าพบการฟาร์มสัตว์เลี้ยงสุกรจำนวน 157 แห่งในเขตชานเมืองของกรุงปักกิ่งได้แก่เขต Tongzhou, Shunyi และ Fangshan ที่นำเศษอาหารเปียกและแห้งนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับสุกรเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเกษตรกรจะรวบรวมเศษอาหารจากโรงแรม ภัตตาคาร โรงอาหา! ร อย่างไรก็ตามฝ่ายกักกันสัตว์จะฆ่าและฝังกลบสุกรติดเชื่อที่พบระหว่างการตรวจการกักกันโรค เนื่องจากสุกรที่กินเศษอาหารมีแนวโร้มที่จะเป็นพาหะของโรคต่างๆ เช่นโรคปากและเท้าเปื่อย


 
 
ที่มา : All About Feed  
 

เวียดนามไฟเขียวปศุสัตว์แคนาดา  


                เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2554 รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและเกษตรแคนาดา เปิดเผยว่า เวียดนามยกเลิกการห้ามนำเข้าแม่พันธุ์วัว ควาย แกะ แพะมีชีวิตจากแคนาดา  หลังห้ามนำเข้าจากแคนาดามาเป็นระยะเวลา 8 ปี หรือตั้งแต่ปี 2546 เนื่องจากการระบาดของโรควัวบ้าในแคนาดา

               ทั้งนี้เมื่อปลายปี 2553  เวียดนามอนุญาตนำเข้าเนื้อวัวแคนาดา ในขณะที่จีนอนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวจากแคนาดาเมื่อปลายปี 53 เช่นกัน แต่ยังไม่ได้เริ่มมีการขนส่งเพื่อการค้า และเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เกาหลีใต้ ระบุว่า จะนำเข้าเนื้อวัวแคนาดาอีกครั้งก่อนปลายปี 54
 
 


ที่มา : Reuters Canada  
 
 

ไทยกำลังจะได้รับสถานะปลอดโรคนิวคาสเซิล


 
                ไทยกำลังจะแจ้งองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เพื่อขอให้ปรับสถานะให้ไทยปลอดโรคนิวคาสเซิลในสัตว์ปีก

                เจ้าหน้าจากกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า ในปี 2554 ไทยเคยได้รับการรับรองจาก OIE ว่าปลอดโรคดังกล่าว แต่มีการรายงานข่าวในช่วงนี้ถึงการเกิดโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคนิวคาสเซิล อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่าไก่บางส่วนมีอาการหลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจไม่ได้เกิดจากโรคนิวคาสเซิล

                ปัจจุบันไทยสามารถควบคุมโรคนิวคาสเซิลได้แล้ว อย่างไรก็ดีได้กระตุ้นให้ให้เกษตรกรรี! บฉีดวัคซีนให้ไก่ทุก 1-7 วัน 21 วัน และทุก 3 เดือนตาม และสามารถฉีดวัคซีนติดต่อกัน 2 ปีได้อีกทางเลือกหนึ่ง และทาง OIE จะรับรองสถานะปลอดโรคดังกล่าวก็ต่อเมื่อไม่พบการระบาดเป็นเวลา 5 ปี
 
 
 
 
 
ที่มา : World Poultry 

งานวิจัยเมืองทิวลิปชี้ การทำลายสัตว์ปีกป้องกันไข้นกดีกว่าฉีดวัคซีน


 
                สถาบัน LEI และ Central Veterinary Institute ของศูนย์วิจัยและมหาวิทยาลัย Wageningen ในเนเธอร์แลนด์ ออกผลวิจัยเกี่ยวกับการทำลายและฉีดวัคซีนในสัตว์ปีกเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนกในรัศมี 1-3 กิโลเมตรจากจุดที่ระบาด ได้ข้อสรุปว่าการทำลายสัตว์ปีกสามารถป้องกันไข้หวัดนกได้ดีกว่าการฉีดวัคซีน โดยการทำลายสัตว์ในฟาร์มที่มีสัตว์ปีกติดเชื้อเป็นไข้หวัดนกจะมีระยะเวลาระบาดที่สั้นกว่า ขณะที่การฉีดวัคซีนสัตว์ปีกถึงแม้ว่าจะช่วยลดจำนวนฟาร์มสัตว์ปีกที่แพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกได้จริงและต้นทุนต่ำกว่า แต่มีระยะเวลาระบาดนานกว่า

                อย่าง! ไรก็ดี ยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปที่ทำลายสัตว์ปีกในฟาร์มติดเชื้ออาจไม่เพียงพอต่อการควบคุมการระยาดในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของสัตว์ปีกน้อย

                ทั้งนี้ สาธารณชนยอมรับการป้องกันด้วยการทำลายด้วยการทำลายน้อยลงและเรียกร้องมาตรการป้องกันแบบอื่นเช่นการฉีดวัคซีน
 




ที่มา : LEI 

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นสพ.อลงกรณ์ มหรรณพ ฝากประชาสัมพันธุ์ช่วยสุนัข จังหวัดนครพนม

นสพ.อลงกรณ์ มหรรณพ ฝากประชาสัมพันธ์ขอเชิญชวนผู้ที่รักสัตว์ทั้งหลาย ร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือสุนัขที่รอดพ้นจากการถูกนำไปขายต่างประเทศที่จังหวัดนครพนม ได้ที่บัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาโลตัสนครพนม บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 666-009-7947 ชื่อบัญชีกองทุนช่วยเหลือสุนัขนครพนม ถ้ายังไงรบกวนฝาก share ต่อๆกันไปเยอะๆนะคะ เพื่อจะได้ช่วยให้สุนัขที่น่าสงสารเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาได้บ้างค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หมูไต้หวันได้รับสารเร่งเนื้อแดงมีจำนวนเกินกว่าที่คาดไว้ถึง 5 เท่า



สภาการเกษตร (COA) ในไทเป เกาะไต้หวัน กล่าวว่า ในขณะนี้ COA เชื่อว่าสุกรที่ได้รับสารเร่งเนื้อแดงซึ่งเป็นยาต้องห้ามมีจำนวนมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

นาย Hsu Tien-lai อธิบดีสำนักงานกักกันและตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ (BAPHIQ) เปิดเผยข้อมูลการจับกุมกลุ่มอาชญากรกลุ่มหนึ่งซึ่งจำหน่ายสารเร่งเนื้อแดง โดยคาดการณ์ว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ถึงเดือนมิถุนายน 2554 จะมีสุกรที่ได้รับสารเร่งเนื้อแดงจำนวน 750,000 ตัว ซึ่งมากกว่าจำนวนที่ COA ได้สุ่มตรวจในช่วงเดียวกันถึง 5 เท่า เมื่อคำนวณจากผลกำไรที่กลุ่มอาชญากรได้! รับพบว่ามีจำนวนถึง 50 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (1.22 ล้านยูโร)

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมกลุ่มอาชญากรซึ่งมีสมาชิกจำนวน 5 ราย ซึ่งได้ลักลอบนำเข้าสารกลุ่ม beta-agonist เพื่อผลิตยา ractopamine และได้จำหน่ายยาดังกล่าวให้แก่ฟาร์มเลี้ยงสุกรบนเกาะไต้หวัน

เมื่อคำนวณจากผลกำไรที่กลุ่มอาชญากรได้รับ BAPHIQ คาดการณ์ว่าจะมีการจำหน่ายอาหารสัตว์ซึ่งปนเปื้อนยาดังกล่าวจำนวน 75,000 ตัน และถ้าสุกร 1 ตัวได้รับอาหารปริมาณ 100 กิโลกรัมเป็นเวลา 1 เดือนก่อนถูกเชือด ต้องมีสุกรจำนวน 750, 000 ตัวได้รับยาดังกล่าว

แต่เดิม BAPHIQ ตรวจพบสารตกค้างของยา ractopamine ในสุกรเพียง 147,500 ตัวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม นาย Hsu กล่าวว่า BAPHIQ จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้! กระทำผิดดังกล่าวต่อไป





ที่มา : All About Feed (9สิงหาคม2554)

ไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูงระบาดในฟาร์มนกกระจอกเทศ 9 แห่งในแอฟริกาใต้



เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ได้รายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง (HPAI) H5N2 ในฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศอีก 9 แห่ง ซึ่งฟาร์มทั้งหมดตั้งอยู่ในจังหวัด Western Cape

รายงานระบุว่า การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูงเริ่มเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ถึง 6 กรกฎาคม 2554 มีนกกระจอกเทศทั้งหมดจำนวน 4, 238 ตัวได้รับผลกระทบ นกกระจอกเทศจำนวน 1,706 แสดงอาการของโรค ขณะที่นกกระจอกเทศ 14 ตัวถูกทำลายและ 1,186 ตัวถูกเชือด



ที่มา : The Poultry Site (9สิงหาคม2554

มะกันเรียกคืนไส้แฮมเบอร์เกอร์เนื้อวัว เหตุปนเปื้อนโลหะ



เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 หน่วยงานบริการตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) ประกาศว่า บริษัท AdvancePierre Foods, Inc. ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐไอโอวา สหรัฐฯ เรียกคืนไส้แฮมเบอร์เกอร์เนื้อวัวพร้อมรับประทานประมาณ 10, 668 ปอนด์ เนื่องจากอาจปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอม

ผลิตภัณฑ์ซึ่งถูกเรียกคืนผลิตเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2554 และมีวางจำหน่ายที่ร้าน H-E-B ในเมือง San Antonio รัฐ Texas บรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนาด 12 ปอนด์ ภายในประกอบด้วยถุงขนาด 24 ออนซ์ 8 ใบ ยี่ห้อ H-E-B ไส้แฮมเบอร์เกอร์เนื้อวัวไม่ติดมัน ในเครื่องหมายการตรวจสอบของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) มีรหัสสินค้าของ H-E-B คือ 100538 และ รหัสสถานประกอบการ คือ 2568

การเรียกคืนเกิดขึ้นหลังจากผู้บริโภครายหนึ่ง สังเกตเห็นเศษโลหะบนผิวไส้แฮมเบอร์เกอร์เนื้อวัวพร้อมรับประทานดังกล่าว คาดว่าสาเหตุเกิดจากปัญหาด้านเครื่องมือการผลิต โดยผิวโลหะของเครื่องทำรอยไหม้

ร้อนเกินไปทำให้เศษโลหะปริมาณเล็กน้อยหลุดร่อนติดลงบนพื้นผิวผลิตภัณฑ์ ขณะนี้ FSIS ยังไม่ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคและรายงานการเจ็บป่วยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว FSIS ยังได้แนะนำให้ผู้บริโภคไม่ให้ใช้ไมโครเวฟอุ่นผลิตภัณฑ์ดังกล่าว





ที่มา : USDA (9สิงหาคม2554

มะกันหวั่นหอยนางรมปนเปื้อน



กรมสุขภาพประจำรัฐวอชิงตันเปิดเผยว่า มีการระบาดของเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ทำให้มีผู้ป่วยราว 22 ราย จากการบริโภคหอยนางรมปนเปื้อนเชื้อดังกล่าว ในย่าน Puget Sound และชายฝั่งวอชิงตัน

เชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของแปซิฟิกแบคทีเรียชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่น และน้ำลด

&nb! sp; โรค Vibriosis จะแสดงอาการ หลังบริโภคหอยปนเปื้อนเชื้อเป็นเวลา 12-24 ชม. โดยจะมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดท้อง ปวดหัว อาเจียน เป็นไข้ แต่อาการเหล่านี้จะทุเลาลงในระยะเวลา 2-7 วัน แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเป็นโรคตับอาจมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้





ที่มา : Food Safety News (9สิงหาคม2554)


รัสเซียไฟแดงเนื้อสัตว์ผู้ส่งออกมะกัน



หน่วยงานสัตวแพทย์ของรัสเซียระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตวปีกของบริษัทเอกชนสหรัฐฯ แห่งหนึ่งเนื่องจากการระบาดของเชื้อ Salmonella

จากของมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) พบว่ามีผู้ติดเชื้อจาก Salmonella 76 รายใน 26 รัฐ ของสหรัฐฯ และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย



ที่มา : World Poultry (9สิงหาคม2554)

รัสเซียไฟแดงเนื้อสัตว์ผู้ส่งออกมะกัน



หน่วยงานสัตวแพทย์ของรัสเซียระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตวปีกของบริษัทเอกชนสหรัฐฯ แห่งหนึ่งเนื่องจากการระบาดของเชื้อ Salmonella

จากของมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) พบว่ามีผู้ติดเชื้อจาก Salmonella 76 รายใน 26 รัฐ ของสหรัฐฯ และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย



ที่มา : World Poultry (9สิงหาคม2554)

หมูป่าเมืองน้ำหอมตายตามชายฝั่ง ตายปริศนา



เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2554 พบหมูป่าจำนวน 36 ตัวใกล้เมือง Morieux นอนตายตามชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ขณะนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้

นักสิ่งแวดล้อมระบุว่า ก๊าซพิษ Hydrogen sulfide ที่ถูกปล่อยจากสาหร่ายที่เน่าเปื่อยนั้นเป็นพิษต่อหมูป่าในเขตการปกครอง Cotes d'Armor ของแคว้น Brittany สาหร่ายจำนวนมากตามแนวชายฝั่งฝรั่งเศสอาจเกิดขึ้นจากสารไนเตรทซึ่งถูกปล่อยจากการใช้ปุ๋ยในการทำเกษตรกรรมอย่างหนัก

อย่างไรก็ตาม ผลชันสูตรซากหมูป่า 6 ตัวได้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันมาก เนื่องจากในหมูป่าตัวหนึ่งไม่พบร่องรอยของก๊าซดังกล่าวเลย จึงทำให้ไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่ชัดได้

ทั้งนี้ชายหาดใกล้เมือง Morieux ดังกล่าวที่พบหมูนอนตายมากที่สุดนั้น ถูกปิดห้ามสาธารณชนเข้า




ที่มา : World Poultry (9สิงหาคม2554)

หมูป่าเมืองน้ำหอมตายตามชายฝั่ง ตายปริศนา



เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2554 พบหมูป่าจำนวน 36 ตัวใกล้เมือง Morieux นอนตายตามชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ขณะนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้

นักสิ่งแวดล้อมระบุว่า ก๊าซพิษ Hydrogen sulfide ที่ถูกปล่อยจากสาหร่ายที่เน่าเปื่อยนั้นเป็นพิษต่อหมูป่าในเขตการปกครอง Cotes d'Armor ของแคว้น Brittany สาหร่ายจำนวนมากตามแนวชายฝั่งฝรั่งเศสอาจเกิดขึ้นจากสารไนเตรทซึ่งถูกปล่อยจากการใช้ปุ๋ยในการทำเกษตรกรรมอย่างหนัก

อย่างไรก็ตาม ผลชันสูตรซากหมูป่า 6 ตัวได้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันมาก เนื่องจากในหมูป่าตัวหนึ่งไม่พบร่องรอยของก๊าซดังกล่าวเลย จึงทำให้ไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่ชัดได้

ทั้งนี้ชายหาดใกล้เมือง Morieux ดังกล่าวที่พบหมูนอนตายมากที่สุดนั้น ถูกปิดห้ามสาธารณชนเข้า




ที่มา : World Poultry (9สิงหาคม2554)

หมูป่าเมืองน้ำหอมตายตามชายฝั่ง ตายปริศนา



เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2554 พบหมูป่าจำนวน 36 ตัวใกล้เมือง Morieux นอนตายตามชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ขณะนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้

นักสิ่งแวดล้อมระบุว่า ก๊าซพิษ Hydrogen sulfide ที่ถูกปล่อยจากสาหร่ายที่เน่าเปื่อยนั้นเป็นพิษต่อหมูป่าในเขตการปกครอง Cotes d'Armor ของแคว้น Brittany สาหร่ายจำนวนมากตามแนวชายฝั่งฝรั่งเศสอาจเกิดขึ้นจากสารไนเตรทซึ่งถูกปล่อยจากการใช้ปุ๋ยในการทำเกษตรกรรมอย่างหนัก

อย่างไรก็ตาม ผลชันสูตรซากหมูป่า 6 ตัวได้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันมาก เนื่องจากในหมูป่าตัวหนึ่งไม่พบร่องรอยของก๊าซดังกล่าวเลย จึงทำให้ไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่ชัดได้

ทั้งนี้ชายหาดใกล้เมือง Morieux ดังกล่าวที่พบหมูนอนตายมากที่สุดนั้น ถูกปิดห้ามสาธารณชนเข้า




ที่มา : World Poultry (9สิงหาคม2554)

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

EFSA เผยความเสี่ยงจากการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่เป็นอาหาร

จากการศึกษาของคณะกรรมการ BIOHAZ Panel ของสำนักงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA) ทำให้เกิดการเรียกร้องให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่ผลิตเป็นอาหารในสหภาพยุโรป โดยระบุว่า การใช้ยาปฎิชีวนะในสัตว์ที่เป็นอาหาร ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ เนื่องจากมีสายพันธุ์แบคทีเรียดื้อยาเพิ่มขึ้น ทางเลือกหนึ่งคือการลดการใช้หรือเลิกใช้ cephalosporins ในการผลิตอาหารสัตว์

EFSA ระบุว่า การดื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้ในคน และยาที่ใช้การรักษาการติดเชื้อเกิดขึ้น เนื่องจากแบคทีเรียพัฒนากระบวนการ ซึ่งจะลดประสิทธิภาพของยาเหล่าน! ั้น

ในการประเมินความเสี่ยงของ BIOHAZ พบว่า แม้ว่าแบคทีเรียจะต่างชนิดกัน เช่น E.coli, Salmonella แต่สามารถผลิตเอนไซม์ 2 ชนิด ได้แก่ extended-spectrum beta-lactamases (ESBL) และ AmpC beta-lactamases (AmpC) ซึ่งจะทำให้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillins, cephalosporins เสื่อมประสิทธิภาพ

ตั้งแต่ปี 2543 พบเชื้อ E.coli และ Salmonella ที่ผลิตเอนไซม์ ESBL/AmpC ในอาหารและสัตว์มากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในไก่มีชีวิต และเนื้อไก่ ไข่ และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกอื่นๆ

BIOHAZ วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด การวิวัฒนาการ และการแพร่กระจายของแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์ ESBL/AmpC สรุปได้ว่า การใช้ยาปฏิชีวนะทั่วไป (ไม่เฉพาะ cephalosporins) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของสายพันธุ์แบคทีเรียที่ดื้อ! ยาปฏิชีวนะเหล่านี้




ที่มา : The Pig Site

มะกันลดภาษีเอดีนำเข้ากุ้งไทย

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554 นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ออกประกาศทบทวนอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) ประจำปีครั้งที่ 5 แก่สินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทย โดยได้ลดภาษีเอดีจากเดิมที่มีอัตรา 1.11-4.39% เหลือ 0.41-0.73% ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกกุ้งของไทยไปสหรัฐฯ เพราะการที่สหรัฐฯ ปรับลดอัตราเอดีไม่ถึง 1% เป็นอัตราที่ต่ำกว่าคู่แข่งของไทย โดยเฉพาะอินเดียที่ถูกเรียกเก็บถึง 1.36-2.31%

ทั้งนี้ ไทยยังต้องรอว่า ผลการทบทวนอัตราเอดีของประเทศที่เหลือ เช่น จีน และเวียดนาม หากอัตราอากรเอดีในภาพรวมยังสูง! กว่าไทย ก็จะทำให้การส่งออกกุ้งไทยมีโอกาสและได้เปรียบในตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

ผลอัตราเอดีกุ้งที่ออกมาในครั้งนี้ เป็นอัตราที่ต่ำกว่าการทบทวนในครั้งที่ผ่านๆ มา ซึ่งเป็นความสำเร็จของผู้ส่งออกไทย ที่สามารถและชี้แจงให้สหรัฐฯ เห็นว่า ปัจจุบันนี้ไทยไม่มีการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งในสหรัฐฯ แล้ว และไทยหวังว่า ในการพิจารณาทบทวนครั้งต่อไป สหรัฐฯ จะยกเลิกการใช้มาตรการเอดีกับสินค้ากุ้งไทยในที่สุด

สำหรับการส่งออกสินค้ากุ้งแช่แข็งและแปรรูปของไทยในช่วง 6 เดือนของปี 54 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 1,447 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.1% โดยตลาดส่งออกสำคัญอยู่ที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งผลจากการที่อัตราอากรเอดีลดลง ก็จะยิ่งทำให้สินค้ากุ้งไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น และจะทำให้ปริมาณการส่งออกเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย






ที่มา : เดลินิวส์

ชาวกิมจิซื้อเนื้อหมูน้อยลง เหตุราคาพุ่งจาก FMD

โรคปากเท้าเปื่อยที่ระบาดในเกาหลีใต้ส่งผลให้ราคาเนื้อสุกรแพงขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับปี 2553ทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆที่มีราคาถูกกว่า

จากผลสำรวจของสถาบันเศรษฐกิจท้องถิ่นของเกาหลีใต้ที่สำรวจผู้บริโภคจำนวน 750 คน สรุปได้ว่า 80% ของกลุ่มตัวอย่างเริ่มซื้อเนื้อสัตว์ทางเลือกอื่นๆ โดยซื้อเนื้อสัตว์ต่อไปนี้ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย

• เนื้อไก่
&! nbsp; • เนื้อวัวเกาหลีใต้
• เป็ด
• เนื้อวัวนำเข้า
• เนื้อสุกร




ที่มา : Pig Progress

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มะกันเตรียมเพิ่มอียูในบัญชีประเทศปลอดนิวคาสเซิล

สำนักงานตรวจสอบสุขภาพอนามัยสัตว์และพืชประจำสหรัฐฯ (APHIS) กำลังเสนอที่จะปรับปรุงกฎระเบียบการนำเข้าสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์โดยยอมรับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศเป็นภูมิภาคการค้าสัตว์ปีกสหภาพยุโรปซึ่งกำหนดโดย APHIS และให้ภูมิภาคดังกล่าวบรรจุอยู่ในรายชื่อภูมิภาคที่ APHIS พิจารณาว่าปลอดโรคนิวคาสเซิล

นอกจากนี้ APHIS ยังกำหนดว่าภูมิภาคดังกล่าวมีมาตรฐานที่สมควรได้รับพิจารณาว่าปลอดโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง (HPAI) อีกทั้งยังเสนอที่จะออกข้อกำหนดการนำเข้านกและสัตว์ปีกมีชีวิตเช่นไข่ฟัก เนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจ! ากภูมิภาคดังกล่าวและจะปรับปรุงความหมายและนิยามของศัพท์ในกลุ่มโรคสัตว์ปีกให้เป็นปัจจุบัน

APHIS กำลังดำเนิน 3 ขั้นตอนด้านการประเมินความเสี่ยงในด้านที่ APHIS ตัดสินใจแล้วว่าภูมิภาคดังกล่าวที่ได้รับเสนอเป็นไปตามข้อกำหนดของ APHIS ซึ่งสมควรได้รับพิจารณาว่าปลอดโรคนิวคาสเซิลและไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรง โดยขั้นตอนดังกล่าวจะอำนวยความสะดวกให้แก่การนำเข้านกและสัตว์ปีกมีชีวิต เนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ที่มาจากภูมิภาคดังกล่าว พร้อมทั้งยังเป็นการป้องกันเชื้อโรคดังกล่าวไม่ให้แพร่ระบาดในสหรัฐฯ

ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวตีพิมพ์ใน Federal Register เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 โดยเปิดให้แสดงข้อคิดเห็นถึงวันที่ 19 กันยายน 2554




ที่มา : World Poultry

เวียดนามส่งออกกุ้งไปญี่ปุ่นลดลง

เป็นเวลาหลายปีที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปเป็นตลาดรายใหญ่ที่นำเข้ากุ้งจากเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ในช่วง 6 เดือนแรกของปีเวียดนามส่งออกกุ้งไปญี่ปุ่นลดลง

ในปี 2553 เวียดนามมีแนวโน้มส่งออกกุ้งสูงขึ้น โดยส่งออกกุ้งไปสหรัฐฯ และญี่ปุ่นถึง 1.474 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 70% ของมูลค่าการส่งออกกุ้งเวียดนามทั้งหมด (2.106 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ในปี 2554 เวียดนามเสียตำแหน่งผู้ส่งออกกุ้งไปญี่ปุ่นอันดับหนึ่งให้แก่ไทย โดยเวียดนามส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย! ่างมากในช่วงสามเดือนแรก และต่อมาส่งออกลดลงติดต่อกัน 3 เดือน เช่น ปริมาณลดลง 17.7% และมูลค่าลดลง 14.7%ในเดือนเมษายน 2554 ปริมาณลดลง 31.8% และมูลค่าลดลง 3.4% ในเดือนพฤษภาคม และปริมาณลดลง 19.1% และมูลค่าลดลง 12.2% ในเดือนมิถุนายน ผู้ประกอบการกุ้งและผู้ส่งออกกุ้งเวียดนามกำลังเผชิญการขาดแคลนวัตถุดิบเนื่องจากโรคระบาด




ที่มา : FIS

เชื้อ Salmonella ระบาดอีกระลอกในสหรัฐฯ คาดเนื้อไก่งวงบดเป็นเหตุ

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศ และ หน่วยงานบริการตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) สืบหาสาเหตุของการระบาดของเชื้อ Salmonella Heidelberg ซึ่งทำให้ในขณะนี้มีผู้ป่วยจำนวน 77 รายใน 26 รัฐ และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คาดว่าสาเหตุเกิดจากการบริโภคเนื้อไก่งวงบด เนื่องจากข้อมูลของผู้ป่วยจำนวน 25 ราย จากผู้ป่วยจำนวน 51 ราย ระบุว่าได้บริโภคเนื้อไก่งวงบด FSIS จึงได้แจ้งเตือนผู้บริโภคให้ปรุงเนื้อไก่งวงบดให้สุกดี ระมัดระวังการส่งต่อเนื้อไก่งวงบด การปนเปื้อนข้ามผลิตภัณฑ์และให้ปรุงเนื้อสัตว์ปีกทุกชนิดให้สุกด้วยอุณหภูมิที่ 165 องศาฟาเรนไฮต์

! ; เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐบาลกลางกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ใช้วิธีแยกชิ้นส่วน DNA ของเชื้อ Salmonella ด้วยวิธี Pulse Field Gel Electrophoresis (PFGE) ในการตรวจหาสาเหตุประกอบกับข้อมูลจาก PulseNet ระบบเครือข่ายแห่งชาติ ห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์สาธารณสุขท้องถิ่นและส่วนกลางซึ่งตรวจหาสาเหตุโรคติดเชื้อจากอาหาร

ผลการเพาะเชื้อจากตัวอย่างเนื้อไก่งวงบดซึ่งซื้อมาจากร้านค้าปลีก 4 ร้านระหว่างวันที่ 7 มีนาคม และ 27 มิถุนายน 2554 พบเชื้อ Salmonella Heidelberg ข้อมูลเบื้องต้นระบุว่า 3 ใน 4 ของตัวอย่างชิ้นเนื้อผลิตจากแหล่งผลิตเดียวกัน ส่วนแหล่งผลิตตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ 4 กำลังอยู่ในระหว่างการสืบสวน

มีรายงานการเจ็บป่วยจากเชื้อดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 1 สิงหาคม 2554 โดยผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่! ต่ำกว่า 1 ปี จนถึง 88 ปี ซึ่งมีค่าอายุมัธยฐานที่ 23 ปี 4! 8 % ของผ ู้ป่วยเป็นเพศหญิง ข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวน 58 รายระบุว่า มีผู้ป่วย 22 รายรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย




ที่มา : Food Safety News

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มะกันเรียกคืนเนื้อวัวถอดกระดูกแช่แข็ง

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 หน่วยงานบริการตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) รายงานว่าบริษัทแห่งหนึ่งในเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐฯ เรียกคืนเนื้อวัวถอดกระดูกแช่แข็งจำนวน 6,240 ปอนด์ ซึ่งนำเข้าจากฮอนดูรัส เนื่องจากอาจปนเปื้อนยาสัตว์ Ivermecin ซึ่งเป็นยากำจัดพยาธิในสัตว์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานการเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากเนื้อวัวดังกล่าว การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ครั้งนี้จัดอยู่ในกลุ่มการเรียกคืนแบบ Class II ซึ่งจัดเป็นการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสส่งผลเสียต่อสุขภาพได้น้อย

FSIS กล่าวว่า เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 FSIS ตรวจพบการปนเปื้อน! ยาสัตว์ในเนื้อวัวดังกล่าวระหว่างการสุ่มตรวจตัวอย่างเป็นประจำในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของเนื้อวัวที่บริษัท Empacadora C&D ฮอนดูรัส ล็อตการผลิตซึ่งพบการปนเปื้อนยาสัตว์ดังกล่าวถูกปฏิเสธการนำเข้าในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จากฮอนดูรัสแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของ FSIS ฝ่ายต่างประเทศในภายหลังว่า มีเนื้อวัวเพิ่มเติมจากแหล่งผลิตเดียวกันได้ถูกส่งมายังสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้แล้ว

เนื้อวัวถอดกระดูกซึ่งถูกเรียกคืนมีจำหน่ายใน บรรจุภัณฑ์กระดาษแข็งขนาด 60 ปอนด์ ยี่ห้อ C&D รหัสล็อต 60 146-11 A หรือ 60 146-11 B และวันที่แปรรูปคือวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ถูกส่งไปยังผู้แปรรูปในรัฐฟลอริดาและอิลลินอยส์




ที่มา : Food Safety News

รัสเซียส่งออกธัญพืชพุ่ง 30%

Yelena Skrynnik รัฐมนตรีเกษตรของรัสเซียกว่าว่ารัสเซียส่งออกธัญพืชกว่า 1.5 ล้านเมทริกตันตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับปี 2553 โดยมีผู้นำเข้าธัญพืชส่วนรายใหญ่คือตุรกี อียิปต์ อะเซอร์ไบจัน อิสราเอล และสหภาพยุโรป นอกจากนี้รัสเซียยังส่งออกธัญพืชไปช่วยเหลือประเทศต่างๆด้วยได้แก่ นิการากัว และเกาหลีเหนือ

ในปี 2554 รัสเซียส่งออกแป้งทำอาหารถึง 600,000 ตันซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 3 เท่า ซึ่งการส่งออกแป้งทำอาหารไม่ได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียห้ามการส่งออกธัญพืชถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เนื่องจากรัสเซียเผชิญความแห้งแล้งรุนแรงท! ี่สุดในรอบ 50 ปี




ที่มา : มกอช.

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รัสเซียนำเข้าวัตถุดิบอาหารและการเกษตรเพิ่มขึ้น 29.4 % ในครึ่งปีแรกของปี 54

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียนำเข้าวัตถุดิบอาหารและการเกษตรมูลค่า 18.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 29.4 % ในครึ่งแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปี 2553

รัสเซียนำเข้าเนื้อโค สัตว์ปีก เนย ชา น้ำมันดอกทานตะวัน โกโก้ เครื่องดื่มและอาหารหลักอื่นๆเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 ขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์อื่นๆเช่น ปลา นมข้น น้ำตาลและบุหรี่ลดลง
การนำเข้าอาหารซึ่งคิดเป็น 15.9 %ของการนำเข้าทั้งหมด ลดลง 2.4 % ในปี 2554

ในขณะเดียวกัน การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารลดลง 36.9% เหลือ 2,656.1 ล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553




ที่มา : Xinhua News

กิมจิไฟแดงยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ผสมชั่วคราว

ในปี 2546 กระทรวงเกษตร อาหาร ป่าไม้ และประมงของเกาหลีใต้ (MIFAFF) ประกาศนโยบายที่จะเริ่มต้นทยอยยกเลิกใช้การใส่ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ผสมที่จำหน่ายในท้องตลาดไปจนกว่าจะมีการใช้มาตรการทางสัตวแพทย์ สาเหตุในการยกเลิกการใส่ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์เนื่องจากต้องการลดการใช้ผิดและลดการดื้อยาปฏิชีวนะในมนุษย์

กระบวนการทยอยยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวินะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2548 ซึ่งมีการลดจำนวนชนิดยาปฏิชีวนะที่ใช้ในอาหารสัตว์ผสมในทางการค้าจาก 53 เหลือ 25 ชนิด และลดเหลือ 18 ชนิดในเดื! อนมกราคม 2552 และยกเลิกที่เหลือทั้งหมดภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2554

คาดว่ามาตรการทางสัตวแพทย์จะมีผลบังคับใช้เร็วที่สุดภายในปลายปี 2012 ซึ่งจะอนุญาตให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ได้อีกครั้ง ในขณะเดียวกัน MIFAFF ก็กำลังดำเนินการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในช่วงเปลี่ยนผ่านเช่นการให้ความรู้และข้อมูลแก่ผู้เลี้ยงปศุสัตว์และโรงผลิตอาหารสัตว์ การพัฒนาสารป้องกันโรคพร้อมตัวใหม่กับคู่มือการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมการปฏิรูปการเกษตรและการปรับปรุงเทคนิคการเลี้ยงสัตว์เพื่อลดการเกิดโรค และการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์โดยผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากยาปฏิชีวนะและมาจากธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลสำคัญบางประการต้องทราบคือ

1.) ยังสามารถใส่ยาปฏิชีวนะได้ในอาหารสัตว์และน้ำในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ได้ หากมีมาตรการสัตวแพทย์เกิดขึ้นหลังจากนั้น โรงงานผลิตอาหารสัตว์จะต้องใส่ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ตามอัตราส่วนที่แนะนำโดยสัตวแพทย์

2.) คาดว่าจะไม่กระทบต่อความต้องการอาหารสัตว์ผสมซึ่งส่วนใหญ่เป็นธัญพืชที่ผลิตจากสหรัฐฯ

3.) ยังคงมีการกำหนดปริมาณสารตกค้างยาสัตว์ของเกาหลีใต้ต่อไป เนื่องจากยังมีการใช้อาหารสัตว์ผสมในอุตสาหกรรมปศุสัตว์เกาหลีใต้

4.) นโยบายดังกล่าวไม่มีผลกับสัตว์ที่ใช้ผลิตเนื้อสัตว์นำเข้า หรืออีกนัยหนึ่งคือไม่มีผลต่อเนื้อสัตว์ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ




ที่มา : The World Poultry