หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รัสเซียลดโควตานำเข้าเนื้อหมู 30 %

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 นาย Vladimir Putin นายกรัฐมนตรีรัสเซียประกาศลดโควตาเนื้อสุกรนำเข้าในปี 2555 ลงเหลือประมาณ 350,000 ตัน ในขณะที่ปี 2554 ตัวเลขโควตาเนื้อสุกรนำเข้าอยู่ที่ 500,000 ตัน ตัวเลขโควต้าเนื้อสุกรนำเข้าดังกล่าวสร้างความพอใจให้แก่ตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมเนื้อสุกรของรัสเซีย ซึ่งวางแผนที่จะผลิตเนื้อสุกรให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศภายในปี 2558 นาย Vladimir Putin ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าในปี 2554 รัสเซียจะนำเข้าเนื้อสุกรประมาณ 600-650 ตัน ในขณะที่ผลผลิตเนื้อสุกรทั้งหมดจากฟาร์มในรัสเซียจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.4 ล้านตัน

นาย Sergey Yushin หัวหน้าคณะกรรมการบริหารสมาคมเนื้อสัตว์แห่งชาติคาดการณ์ว่า ในปี 2554 ผลผลิตเนื้อสุกรในรัสเซียจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 2.43-2.45 ล้านตัน และคาดการณ์ว่า ภายในปี 2558 จะเพิ่มผลผลิตเนื้อสุกรให้ได้ที่ 500,000-600,000 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2553

นาย Yushin กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าตลาดเนื้อสุกรภายในประเทศจะอิ่มตัว แต่จะไม่มีการยกเลิกการนำเข้า และการที่ตลาดเนื้อสุกรภายในประเทศอิ่มตัวจะนำไปสู่ราคาเนื้อสุกรที่ลดลงภายใน 2-3 ปีข้างหน้า




ที่มา : Pig Progress

ญี่ปุ่นเผยเตรียมทำลายเนื้อวัวปนเปื้อนกัมมันตรังสีทั้งหมด

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่าเนื้อวัวทั้งหมดที่ตรวจพบว่ามีสารกัมมันตรังสีสูงเกินที่รัฐบาลกำหนดไว้จะต้องถูกทำลาย เนื่องจากมีการเพิ่มการตรวจสอบเนื้อวัวที่ปนเปื้อนจากบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ โดยจะตรวจสอบเนื้อวัวทั้งหมดที่มาจากอีก 3 จังหวัดภายในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จังหวัดอะกิตะ ยามางาตะ และนีงาตะ มาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังมีการสั่งห้ามเคลื่อนย้ายวัวที่เลี้ยงในจังหวัดฟุกุชิมะไปแล้วหนึ่งสัปดาห์ ผลทดสอบของวัวเนื้อ 2 ตัวจากจังหวัดอะกิตะและยามางาตะปรากฎว่าพบสารซีเซียม รัฐบาลเชื่อว่า วั! วจากจังหวัดทั้งสองกินฟางข้าวที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีที่ผลิตจากจังหวัดมิยางิ โดยมีวัวจากจังหวัดนีงาตะจำนวน 111 ตัวที่ถูกเคลื่อนย้ายเพื่อแปรรูปหลังจากที่น่าจะถูกเลี้ยงด้วยฟางปนเปื้อนกัมมันตรังสี

กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นเผยว่า เนื้อวัวทั้งหมดที่พบว่าปนเปื้อนสารซีเซียมสูงเกินมาตรฐานความปลอดภัยของรัฐบาลจะถูกซื้อไปเพื่อทำลาย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และกลุ่มดังกล่าวจะเรียกร้องให้บริษัท TEPCO ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ชดเชยค่าเสียหาย



ที่มา : CNN

สัตว์ปีกในสหรัฐฯ ล้มตาย เหตุคลื่นความร้อน

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 สมาคมไก่แห่งชาติ รัฐวอชิงตัน สหรัฐฯ รายงานว่า คลื่นความร้อนซึ่งกำลังปกคลุมทางตอนกลางของสหรัฐฯ ทำให้สัตว์ปีกล้มตายและน้ำหนักลดอย่างผิดปกติโดยเฉพาะใน Midwest ตอนบน ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่คุ้นเคยกับอุณหภูมิอากาศที่สูงขึ้นถึงเลขสามหลัก นอกจากนี้การผลิตไก่งวงและไข่ยังได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนครั้งนี้ด้วย

หน่วยบริกา! รข่าวสารด้านตลาดสัตว์ปีก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่าไก่เนื้อทั้งหมดในฟาร์มเลี้ยงหลายแห่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจำนวนเกือบ 100,000 ตัวล้มตาย แต่ยังไม่สามารถระบุจำนวนสัตว์ปีกล้มตายที่แน่นอนได้ เนื่องจากมีรายงานการล้มตายเข้ามาเรื่อยๆ ส่วนบริเวณที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากคลื่นความร้อน คือ ฟาร์มเลี้ยงในตอนเหนือซึ่งไม่ค่อยเกิดปรากฎการณ์อุณหภูมิอากาศสูงที่กินเวลานาน และบริเวณที่ระบบระบายอากาศไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ดีนัก

นอกจากนี้ คลื่นความร้อนทำให้สัตว์ปีกกินอาหารน้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักสัตว์ปีกมีชีวิตโดยเฉลี่ยลดลง โรงงานหลายแห่งซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ได้รับผลกระทบรายงานว่ามีจำนวนสัตว์ปีกที่ล้มตายเมื่อมาถึงโรงงานเพิ่มขึ้น โรงงานจึงแก้ปัญหาด้วยการจัดการตารางเวลาการแปรรูปเพื่อลดจำนวนเวลาขนส่งสัตว์ปีก



ที่มา : Meat & Poultry

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผู้ประกอบการฟิลิปปินส์หวั่น เนื้อควายอินเดียอาจปนเปื้อน FMD

ผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อในฟิลิปปินส์แจ้งเตือนว่า เนื้อนำเข้าจากอินเดียอาจปนเปื้อนเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) เนื่องจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้รับรองผู้จัดหารายใหม่จากอินเดีย ซึ่งผู้แปรรูปกล่าวว่าขณะนี้ในอินเดียโรคปากและเท้าเปื่อยกำลังแพร่ระบาด

นาย Felix O. Tiukinoy ประธานสมาคมผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อฟิลิปปินส์ (PAMPI) กล่าวว่า การออกใบอนุญาตให้แก่ผู้จัดหาผลิตภัณฑ์รายใหม่ไม่โปร่งใส PAMPI ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าโรงงานอินเดียแห่งใหม่ที่ได้รับใบอนุญาตไม่ผ่านการตรวจสอบจาก คณะทำงานตรวจสอบของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (! DA Inspection Mission : DAIM) ซึ่งก่อตัวจากกลุ่มสมาชิกของสำนักงานอุตสาหกรรมสัตว์และหน่วยตรวจสอบมาตรฐานเนื้อแห่งชาติ

นอกจากนี้ PAMPI ระบุว่าโรงงานจากอินเดียที่ส่งออกเนื้อกระบือมายังฟิลิปปินส์จะต้องผ่านการตรวจสอบที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน FMD

เมื่อปี 2553 มีเพียงผู้ส่งออกจากอินเดียเพียง 3 รายเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกเนื้อกระบือมายังฟิลิปปินส์ หลังจากที่โรงงานของผู้ส่งออกดังกล่าวได้รับการตรวจสอบจาก DAIM และ PAMPI แล้ว

ทั้งนี้ PAMPI เชื่อว่ามีการผ่อนผันกฎเพื่อให้โรงงานใหม่ได้รับอนุญาต







ที่มา : The Meat Site

เมืองผู้ดีกระตุ้นผู้บริโภคให้มองหาสัญลักษณ์สิงโตอังกฤษบนไข่ไก่

สมาคมอุตสาหกรรมไข่ไก่แห่งสหราชอาณาจักร (BEIC) แจ้งเตือนบริษัทจัดเลี้ยงอาหารให้มองหาสัญลักษณ์สิงโตอังกฤษ (British Lion) บนไข่ไก่ เพื่อลดความเสี่ยงไข่ไก่ปนเปื้อนเชื้อ salmonella หลังจากสำนักงานป้องกันด้านสาธารณสุขอังกฤษ รายงานเรื่องการพบเชื้อ salmonella ปนเปื้อนไข่นำเข้าจากสเปน

ล่าสุด มีผู้ป่วยจากอาการอาหารเป็นพิษซึ่งเกี่ยวข้องกับไข่นำเข้าจากสเปนกว่า100 รายทั่วอังกฤษ เวลส์ และ Isle of Man

ก่อนหน้านี้ BEIC! ได้แจ้งเตือนบริษัทรับจัดเลี้ยงเรื่องไข่นำเข้าจากสเปนและให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการปนเปื้อนเชื้อ salmonella โดยการใช้ไข่ที่ผลิตได้ตามมาตรฐาน British Lion ซึ่งมาตรฐานการผลิตไข่นี้มีการให้วัคซีนไก่เพื่อป้องกันเชื้อ salmonella

ก่อนการระบาดของเชื้อ salmonella ครั้งนี้ มีการระบาดเกิดขึ้นเมื่อปี 2545 ซึ่งเกี่ยวข้องกับไข่ไก่นำเข้าจากสเปน เมื่อปี 2547 เกิดเหตุการณ์อาหารเป็นพิษในร้านกาแฟแห่งหนึ่งใน London ซึ่งร้านกาแฟดังกล่าวใช้ไข่ไก่นำเข้าจากสเปน และเมื่อนำไข่ไก่ดังกล่าวไปทดสอบปรากฏว่าไข่ไก่จำนวนหนึ่งในสามปนเปื้อนเชื้อ salmonella และเมื่อปี 2552 เกิดการระบาดของเชื้อ salmonellมa S. Enteritidis PT 14b NxCpl หลายครั้งในอังกฤษ แต่พบว่าฝูงสัตว์ปีกที่วางไข่ในสหราชอาณาจักรไม่ได้ปนเปื้อนเชื้อดังกล่าว





ที่มา : World Poultry

จีนจับอีกแล้ว ผู้ต้องหามีสารต้องห้าม Clenbuterol

ตำรวจจีนจับกุมผู้ต้องหา 7 ราย และควบคุมตัวศาสตราจารย์อีก 1 ราย เนื่องจากพบว่ามี Clenbuterol ซึ่งเป็นสารต้องห้ามในอาหารสุกรเพื่อใช้เร่งเนื้อแดง การจับกุมเกิดขึ้นหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาต้นกำเนิดของผงเร่งเนื้อแดง ซึ่งการใส่สารดังกล่าวในอาหารสุกรจะทำให้ทำให้สามารถนำสุกรออกมาจำหน่ายในท้องตลาดได้ไวขึ้น

ผู้ที่ถูกจับกุมบางรายมาจากบริษัทผสมอาหารเลี้ยงสัตว์ ใยข้อหาจัดหาสารดังกล่าว ขณะที่ศาตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Zhejiang ถูกควบคุมตัวเนื่องจากพบว่ามีอาหารสัตว์ที่มีส่วนประกอบของ Phenylethanolamine A ซึ่งเป็นสารรูปแ! บบใหม่ของ Clenbuterol นอกจากนี้ยังพบว่าพ่อค้าอาหารสัตว์ครอบครองสารดังกล่าวอีกด้วย

ในปี 2553 กระทรวงเกษตรจีนห้ามใช้สาร Phenylethanolamine A ในอาหารหรือน้ำสำหรับเลี้ยงสัตว์ การจับกุมเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์อื้อฉาวสาร Clenbuterol ในจีนเมื่อต้นปี 2554 ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ทำให้เป็นมะเร็ง และเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทั้งนี้ผู้ต้องหาให้การในชั้นศาลว่ายังไม่มีผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากสารดังกล่าวและยังไม่มีรายงานการล้มป่วยจากเนื้อที่ปนเปื้อนสารดังกล่าว โดย Liu Xiang, Xi Zhongjie, Xiao Bing, Chen Yuwei และ Liu Honglin ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสาร Clenbuterol ถูกฟ้องร้องในคดีเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของสาธารณชนด้วยการใช้วิธีที่เป็นอันตราย




ที่มา : Pig Progress

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริษัทมะกันเรียกคืนเนื้อวัว

บริษัทเนื้อสัตว์ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐฯ ได้เรียกคืนเนื้อวัวไม่ทราบจำนวนที่อาจมีกระดูกและไขสันหลังติดอยู่ ซึ่งผิดกฎหมายของรัฐบาลกลางที่กำหนดให้ต้องเลาะออกจากเนื้อวัวที่มาจากวัวอายุเกิน 30 เดือนเนื่องจากเป็นชิ้นส่วนที่เสี่ยงมีเชื้อวัวบ้า (BSE)

ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวได้เรียกคืนสินค้าหลังหน่วยตรวจสอบเนื้อสัตว์ของกระทรวงเกษตรของรัฐโอไฮโอพบปัญหาระหว่างการตรวจสอบประจำวันของเนื้อ ขณะนี้ยังไม่มีการรายงานการล้มป่วยที่เกิดจากการบริโภคเนื้อของบริษัทดังกล่าว กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) และหน่วยงานตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารสหรัฐฯ (FSIS) พิจารณาว่าความเสี่ยงจากเ! นื้อวัวดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ

บริษัทดังกล่าวเรียกคืนเนื้อวัวที่ผลิตตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม – 5 กรกฎาคม 2554ที่ให้จำหน่ายได้ถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 โดยมีหมายเลขทะเบียนสถานประกอบการ Est. 80




ที่มา : Food Safety News

งานวิจัยเผยซากสัตว์ปีกไอร์แลนด์ปนเปื้อนเชื้อ Campylobacter 98%

สัตว์ปีกถือเป็นแหล่งปนเปื้อนเชื้อ Campylobacter ที่สำคัญ และอาจเป็นพาหะสำคัญในการส่งผ่านเชื้อมายังมนุษย์อีกด้วย จากการศึกษาวิจัยภายในสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ไอร์แลนด์พบเชื้อ Campylobacter ในไก่กระทง 83.1% ขณะที่พบเชื้อในซากสัตว์ปีก 98.%

คณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของสำนักงานความปลอดภัยด้านอาหารไอร์แลนด์ (FSAI) ได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับแผนงานการควบคุมเชื้อ Campylobacter ในการผลิตเนื้อสัตว์ปีกและสายการเชือดสัตว์ปีก โดยเสนอลำดับมาตรการต่างๆ ที่เกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูป และผู้จำหน่ายควรปฏิบัติ เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อ ! Campylobacter ที่เป็นอันตรายนี้ในสัตว์ปีก

รายงานของคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของ FSAI ระบุว่า ชาวยุโรปที่ปรุงอาหารจากเนื้อไก่เหล่านี้เป็นโรค campylobacteriosis ราว 30% และได้แนะนำให้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ปีกพัฒนาและปฏิบัติตามกฎระเบียบการปฏิบัติที่กำหนดไว้อย่างสมัครใจ โดยควรสอดคล้องกับมาตรการควบคุมที่แนะนำในรายงาน มีรายละเอียดคำแนะนำดังนี้

• ปรับปรุงสุขอนามัยของฟาร์มและจำกัดการเข้ามาของแหล่งปนเปื้อน

• จัดทำแผนงานการตรวจติดตามอย่างสมัครใจในฟาร์ม และโรงเชือด เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรและผู้แปรรูปตื่นตัว เมื่อมีการควบคุมเพิ่มเติม และเพื่อให้มาตรการควบคุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

! ; • เนื้อไก่ดิบถ! ูกบรรจุใ นบรรจุภัณฑ์ที่ไม่รั่ว

• คำแนะนำการจัดการและการปรุงอาหารที่ปลอดภัย ควรมองเห็นได้ชัดบนฉลากหรือแผงขายเนื้อ

• การติดฉลากบนเนื้อสัตว์ปีกทั้งตัวควรแนะนำผู้บริโภคว่าซากสัตว์นี้พร้อมปรุงและควรมีการจัดการที่ปลอดภัย เช่น ควรหลีกเลี่ยงการล้างซากสัตว์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายการปนเปื้อนบริเวณห้องครัว




ที่มา : World Poultry

อินเดียไฟแดงเนื้อหมูพม่า หวั่นเชื้อหูหมูสีฟ้า

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 รัฐบาลรัฐมีโซรามในอินเดียยืนยันว่ารัฐบาลกลางมีคำสั่งให้ระงับการนำเข้าเนื้อสุกรจากพม่าเป็นเวลา 2 เดือนเพื่อป้องกันเชื้อโรคหูสุกรสีฟ้า (PRRSV) ซึ่งขณะนี้กำลังแพร่ระบาดในพม่า โดยการระงับการนำเข้าเนื้อสุกรจากพม่ามีระยะเวลาตั้งแต่ 14 กรกฎาคม ถึง 14 กันยายน 2554 นอกจากนี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 รัฐมณีปุระระงับการนำเข้าเนื้อสุกรจากพม่าเช่นกัน

ข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวงเศรษฐกิจและพาณิชย์พม่าระบุว่า รัฐมิโซรัมนำเข้าเนื้อสุกรจากพม่าจำนวน 338,522กิโลกรัมตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 ถึงเดือนมีนา! คม 2553 คิดเป็นมูลค่า 489.72 ล้านจ๊าด (669,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ)

ทั้งนี้มีรายงานการระบาดของเชื้อสุกรหูสีฟ้าครั้งแรกในพม่าที่รัฐมันดาเลย์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 และแพร่เชื้อไปสู่สุกรในฟาร์มขนาดใหญ่และฟาร์มขนาดเล็ก ทำให้มีสุกรตายนับพันตัวในรัฐมันดาเลย์




ที่มา : The Pig Site

ไก่งวงยูเครนตาย 25,000 ตัว เหตุอาหารปนเปื้อนสารพิษ

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 ไก่งวงจำนวน 25,000 ตัวในฟาร์มหลายแห่งในเขต Donetsk ยูเครน ล้มตาย โดยผลการตรวจสอบเบื้องต้นคาดว่าสาเหตุเกิดจากอาหารสัตว์ปนเปื้อนสารพิษ ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรพบว่า อาหารสัตว์ที่ใช้ในฟาร์มหลายแห่งในเขต Donetsk มีสารพิษอันตราย 2 ชนิดปนเปื้อนในปริมาณสูงมาก โดยปริมาณสารพิษที่พบเกินปริมาณที่อนุญาต 3.5 เท่า

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสารพิษที่พบจัดอยู่ในสารพิษกลุ่มใด ในเบื้องต้นคาดว่าสารพิษดังกล่าวสะสมในตับของไก่งวง แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ยูเครนตัดสินใจทำลายไก่งวงที่ตายทั้งหมดแล้ว
&nbs! p;เหตุการณ์นี้ทำให้อุตสาหกรรมการเกษตรในเขต Donetsk ต้องหยุดชะงัก อาหารสัตว์ที่ปนเปื้อนสารพิษทั้งหมดผลิตในโรงงานอาหารสัตว์ Izyum ในเขต Kharkiv ซึ่งโรงงานแห่งนี้ผลิตอาหารสัตว์ให้แก่ฟาร์มส่วนใหญ่ในยูเครน

ขณะนี้หน่วยงานบริการทางสัตวแพทย์กำลังตรวจสอบผลิตภัณฑ์และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์ของฟาร์มในเขต Donetsk โดยเฉพาะอาหารสัตว์ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก

ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าไม่ควรตำหนิโรงงานผลิตอาหารสัตว์ Izyum แต่อาจตำหนิฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกโดยให้เหตุผลว่า อาหารสัตว์อาจปนเปื้อนเชื้อราที่เป็นพิษ หรือภาชนะใส่อาหารสัตว์ในฟาร์มไม่สะอาด




ที่มา : World Poultry

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ออสซี่ไฟเขียวส่งออกวัวไปอินโด

นายโจ ลุดวิจ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของรัฐบาลกลางออสเตรเลียอนุญาตให้ส่งออกปศุสัตว์มีชีวิตไปยังอินโดนีเซียได้อีกครั้ง โดยออสเตรเลียระงับการส่งออกเป็นเวลา 1 เดือนหลังจากรายการ Four Courners ช่อง ABC เผยแพร่ภาพการเชือดปศุสัตว์อย่างทารุณในโรงเชือดสัตว์ของอินโดนีเซีย

นายลุดวิจเปิดเผยว่าผู้ส่งออกปศุสัตว์สามารถของอนุญาตส่งออกได้เมื่อปศุสัตว์ที่ส่งออกเหล่านั้นได้รับการติดตั้งระบบการติดตามแล้ว การตัดสินใจอนุญาตให้ส่งออกปศุสัตว์ไปยังอินโดนีเซียอีกครั้งเกิดขึ้น เนื่องจากปศุสัตว์มีชีวิตที่จะส่งออกไปอินโดนีเซียถูกทิ้งไว้ตามพื้นที่ทางเหนือของออสเตรเลีย! ทำให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์ออสเตรเลียได้รับความเสียหายเป็นมูลค่า 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

อย่างไรก็ตามกลุ่มเรียกร้องสวัสดิภาพสัตว์ของออสเตรเลียรู้สึกตกใจกับคำตัดสินดังกล่าว โดยเปิดเผยว่าตั้งแต่เกิดการระงับการนำเข้าปัจจุบันก็ยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และโรงเชือดในอินโดนีเซียก็ยังไม่ได้รับการตรวจสอบซ้ำจากเจ้าหน้าที่ออสเตรเลีย

ขณะที่กลุ่มผู้ส่งออกปศุสัตว์ออสเตรเลียยอมรับการตัดสินใจ โดยกล่าวว่า จะยังคงไม่ส่งออกในปริมาณเดิมไปอีกนานและจะส่งออกไปอินโดนีเซียอีกครั้ง ก็ต่อเมื่อมีการรับรองสวัสดิภาพของปศุสัตว์ออสเตรเลียตลอดห่วงโซ่การผลิตทั้งหมดตามข้อกำหนดใหม่

ขณะที่นายฮัตตา ราชาสา รัฐมนตรีประสานงานเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียจะนำเข้าปศุสัตว์มีชีวิตจำนวน 180,000 ตัวจากออสเตรเลียในไตรมาส 3 ปี โดยรัฐมนตรีอินโดน! ีเซียได้ออกแถลงการณ์ดังกล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับนายเควิน รั! ดด์ รัฐม นตรีกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลีย

การนำเข้าครั้งนี้จะเป็นการนำเข้าปศุสัตว์ล็อตแรกจากออสเตรเลีย นับตั้งแต่ที่ออสเตรเลียได้ยกเลิกคำสั่งระงับการส่งออกปศุสัตว์ไปยังอินโดนีเซียในสัปดาห์แล้ว

นายฮัตตา กล่าวว่า อินโดนีเซียจะปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงานของโรงฆ่าสัตว์ในประเทศ "เราจะยกระดับมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และจะติดตามสอดส่องดูแลว่ามีการดำเนินการตามมาตรฐานหรือไม่"


ที่มา : Australian Food News –Voice TV

ออสซี่ไฟเขียวส่งออกวัวไปอินโด

นายโจ ลุดวิจ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของรัฐบาลกลางออสเตรเลียอนุญาตให้ส่งออกปศุสัตว์มีชีวิตไปยังอินโดนีเซียได้อีกครั้ง โดยออสเตรเลียระงับการส่งออกเป็นเวลา 1 เดือนหลังจากรายการ Four Courners ช่อง ABC เผยแพร่ภาพการเชือดปศุสัตว์อย่างทารุณในโรงเชือดสัตว์ของอินโดนีเซีย

นายลุดวิจเปิดเผยว่าผู้ส่งออกปศุสัตว์สามารถของอนุญาตส่งออกได้เมื่อปศุสัตว์ที่ส่งออกเหล่านั้นได้รับการติดตั้งระบบการติดตามแล้ว การตัดสินใจอนุญาตให้ส่งออกปศุสัตว์ไปยังอินโดนีเซียอีกครั้งเกิดขึ้น เนื่องจากปศุสัตว์มีชีวิตที่จะส่งออกไปอินโดนีเซียถูกทิ้งไว้ตามพื้นที่ทางเหนือของออสเตรเลีย! ทำให้อุตสาหกรรมปศุสัตว์ออสเตรเลียได้รับความเสียหายเป็นมูลค่า 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

อย่างไรก็ตามกลุ่มเรียกร้องสวัสดิภาพสัตว์ของออสเตรเลียรู้สึกตกใจกับคำตัดสินดังกล่าว โดยเปิดเผยว่าตั้งแต่เกิดการระงับการนำเข้าปัจจุบันก็ยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และโรงเชือดในอินโดนีเซียก็ยังไม่ได้รับการตรวจสอบซ้ำจากเจ้าหน้าที่ออสเตรเลีย

ขณะที่กลุ่มผู้ส่งออกปศุสัตว์ออสเตรเลียยอมรับการตัดสินใจ โดยกล่าวว่า จะยังคงไม่ส่งออกในปริมาณเดิมไปอีกนานและจะส่งออกไปอินโดนีเซียอีกครั้ง ก็ต่อเมื่อมีการรับรองสวัสดิภาพของปศุสัตว์ออสเตรเลียตลอดห่วงโซ่การผลิตทั้งหมดตามข้อกำหนดใหม่

ขณะที่นายฮัตตา ราชาสา รัฐมนตรีประสานงานเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียจะนำเข้าปศุสัตว์มีชีวิตจำนวน 180,000 ตัวจากออสเตรเลียในไตรมาส 3 ปี โดยรัฐมนตรีอินโดน! ีเซียได้ออกแถลงการณ์ดังกล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับนายเควิน รั! ดด์ รัฐม นตรีกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลีย

การนำเข้าครั้งนี้จะเป็นการนำเข้าปศุสัตว์ล็อตแรกจากออสเตรเลีย นับตั้งแต่ที่ออสเตรเลียได้ยกเลิกคำสั่งระงับการส่งออกปศุสัตว์ไปยังอินโดนีเซียในสัปดาห์แล้ว

นายฮัตตา กล่าวว่า อินโดนีเซียจะปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงานของโรงฆ่าสัตว์ในประเทศ "เราจะยกระดับมาตรฐานโรงฆ่าสัตว์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และจะติดตามสอดส่องดูแลว่ามีการดำเนินการตามมาตรฐานหรือไม่"


ที่มา : Australian Food News –Voice TV

ญี่ปุ่นแก้ไขค่า MRL สารเคมีทางการเกษตร และยาที่ใช้กับสัตว์

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) ได้จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร ครั้งที่ 150 สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. แก้ไขค่า MRL สารเคมีทางการเกษตรและยาที่ใช้กับสัตว์ 5 ชนิด ได้แก่

1.1 Ethychlozate (สารเร่งการเจริญเติบโต) มีความเข้มงวดต่อสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของไทยหลายชนิด ได้แก่ ข้าว หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว กล้วย ม! ะม่วง รายละเอียดดังตารางหน้า 5-7

1.2 Oxyflurfen (สารกำจัดวัชพืช) สินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องของไทย ได้แก่ ข้าวและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ รายละเอียดดังตารางหน้า 8-9

1.3 Pymetrozine (สารกำจัดแมลง) สินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องของไทย ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว กล้วย มะม่วง รายละเอียดดังตารางหน้า 10-12

1.4 Clavulanic acid (สารยับยั้งเอนไซม์ beta-lactamase) เป็นสารที่ห้ามใช้ในญี่ปุ่น ห้ามตกค้างในอาหารทุกรายการ ยกเว้นรายการอาหารที่ปรากฎในตารางหน้า 13

1.5 Prifinium (anticonvulsant for the bovine gastrointestinal a! nd urinary tracts) รายละเอียดดังตารางหน้า 14

&nb! sp; ; กรณีไม่ได้ระบุ MRL Draft ให้ใช้ระดับ 0.01 ppm. (uniform limit) ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถแสดงความเห็นต่อร่างดังกล่าวไปยัง MHLW ได้จนถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2554 หากพ้นกำหนดให้ส่งความเห็นไปทาง enquiry point in accordance with the WTO/SPS agreement ต่อไป หรือส่งมาทาง spsthailand@gmail.com หรือ sps@acfs.go.th

2. พิจารณากำหนดมาตรฐานเนื้อสัตว์สำหรับบริโภคดิบ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน 2554 มีชาวญี่ปุ่นป่วยเป็นจ! ำนวน 169 ราย และเสียชีวิต 4 ราย จากอาหารเป็นพิษ เนื่องจากบริโภคเนื้อโคดิบที่ไม่ได้แปรรูปอย่างถูกสุขอนามัย ดังนั้น MHLW จึงพิจารณากำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มาตรฐานเนื้อโคสำหรับการบริโภคดิบ มาตรฐานการแปรรูป การเก็บรักษา ข้อกำหนดด้านสถานที่ปรุงอาหาร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ คุณสมบัติของผู้ปรุงอาหาร โดยกำหนดที่จะประกาศบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถส่งข้อคิดเห็นไปยัง MHLW โดยตรง จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 หากพ้นกำหนดนี้สามารถแสดงความเห็นผ่านทาง enquiry point in accordance with the WTO/SPS agreement ต่อไป หรือส่งมาทาง spsthailand@gmail.com หรือ sps@acfs.go.th

จีนเข้มงวดเชื้อ IHHNV ในกุ้งกุลาดำ

เนื่องจากมีการตรวจพบเชื้อ Infectious Hypodermal and Hematopoietic Necrosis Virus Disease (IHHNV) ในกุ้งกุลาดำของไทย 4 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม 2554 จีนจึงขอให้กุ้งกุลาดำที่ส่งออกจากไทย ต้องรายงานผลการตรวจสอบเชื้อ IHHNV ในใบรับรองสุขอนามัยด้วย ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป และกุ้งต้องมาจากฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ขึ้นทะเบียนจากทางการ



ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง

นักวิจัยชี้ ไข่แดงมีกรดอะมิโนต้านอนูมูลอิสระ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ได้แก่ Jianping Wu, Andreas Chieber นักศึกษาบัณฑิตศึกษา Chamila Nimalaratne และ research associate Daise Lopes-Lutz ในแคนาดาระบุว่านอกจากไข่จะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่แล้ว เมื่อเร็วๆนี้ก็ยังค้นพบสารในไข่แดงที่สามารถต้านอนุมูลอิสระ โดยทดลองจากไข่ที่ได้จากแม่ไก่ที่เลี้ยงด้วยตัวอย่างอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวสาลีหรือข้าวโพด ซึ่งพบว่ามีกรดอะมิโน 2 ชนิดในไข่แดง ได้แก่ Tryptophan และ Tyrosine ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงเกือบถึง 2 เท่าของในแอปเปิ้ล และสูงถึงครึ่งเท่าเมื่อเทียบกับการบริโภคแครนเบอร์รี่ 25 กรัม

! อย่างไรก็ตามหากไข่ผ่านการทอดหรือต้ม สารต้านอนุมูลอิสระจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง หากเข้าไมโครเวฟจะมากกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อย

นอกจากนี้ในผลงานวิจัยก่อนหน้านี้ Wu ยังพบว่าโปรตีนจากไข่ถูกเปลี่ยนเป็นเปปไทด์โดยเอนไซม์ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เปปไทด์นี้ทำหน้าที่เหมือน ACE Inhibitor ซึ่งเป็นยาสั่งจ่ายโดยแพทย์เพื่อลดความดันเลือดสูง โดยถือว่าการค้นพบดังกล่าวตรงข้ามกับมุมมองแต่เดิมที่เชื่อว่าการบริโภคไข่จะเพิ่มคอเลสเตอรอลทำให้ความดันเลือดสูง นอกจากนี้ Wu ยังเชื่อว่าเปปไทด์ที่สร้างจากโปรตีนไข่มีสารต้านอนุมูลอิสระด้วย และคาดว่าผลลัพท์ในการทำวิจัยขั้นต่อไป น่าจะแสดงให้เห็นว่าไข่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าที่ทราบในปัจจุบัน

ทั้งนี้ทีมนักวิจัยของ Wu จะทดลองเพื่อหาสารต้านอนุมูลอิสระในไข่ แคโรทีนอยด์ ไข่แดงและเปปไทด์ต่อไป





ที่มา : World Poultry

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาหารสัตว์จีนปนเปื้อนเมลามีน

เจ้าหน้าที่จีนจับกุมเกษตรกรบางรายที่ให้อาหารสัตว์ปนเปื้อนแก่สุกร โดยนาย Tang นายหน้า ซื้ออาหารสัตว์ปนเปื้อนเมลามีนราว 7 ตันจากมณฑลเหอเป่ย ทางตอนเหนือของจีน และจำหน่ายอาหารสัตว์ดังกล่าวให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในมณฑลฉงชิ่งและเฉิงตู ปริมาณเมลามีนที่ปนเปื้อนนั้นมากกว่าที่กฎหมายกำหนดถึง 500 เท่า

เกษตรกรกล่าวว่า พวกเขาหยุดใช้อาหารสัตว์ปนเปื้อนแล้วตั้งแต่พบว่าสุกรมีอาการป่วย แต่ยังมีความกังวลว่า อาจมีสุกรที่ปนเปื้อนเมลามีนเข้ามาในอุปทานอาหารของประเทศ



ที่มา : The Pig Site

เกาหลีใต้ยื่นคำขาด ปศุสัตว์ต้องมีใบรับรองวัคซีนถึงจะขายได้

เกษตรกรเกาหลีใต้ผู้เลี้ยงสุกร แพะ วัว กระบือต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนโรคปากเท้าเปื่อยจึงจะสามารถจำหน่ายในท้องตลาดได้ ในกรณีที่ไม่มีใบรับรองการฉีดวัคซีนจะไม่อนุญาตให้เกษตรกรเคลื่อนย้ายปศุสัตว์ไปยังโรงเชือด หากฝ่าฝืนอาจมีโทษปรับถึง 5 ล้านวอน (4,702.34 ดอลลาร์สหรัฐ)


ที่มา : เกาหลีใต้

สภาล่างเมืองกังหันลมผ่านกฎห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ก่อนทำให้สลบ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเนเธอร์แลนด์ลงมติให้ความเห็นชอบกฎหมายห้ามฆ่าสัตว์ก่อนทำให้สลบ โดยไม่ยกเว้นเหตุผลทางศาสนาที่ต้องฆ่าสัตว์ขณะมีสติครบถ้วน โดยอ้างเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ว่า สัตว์ที่ถูกฆ่าขณะไม่มีสติจะทรมานน้อยกว่าสัตว์ที่ถูกฆ่าขณะมีสติครบถ้วน

Dr. Michel Courat เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายของกลุ่มยูโรเพื่อสัตว์ กล่าวว่า การออกกฎหมายนี้ของเนเธอร์แลนด์นับเป็นก้าวสำคัญของการเคลื่อนไหวด้านสวัสดิภาพสัตว์ และเป็นแรงกระตุ้นให้อีก 26 ชาติในสหภาพยุโรปปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตามกลุ่มทางศาสนาอาจได้รับการยกเว้นหากสามารถพิสูจน์ได้ว! ่า วิธีการฆ่าสัตว์ของกลุ่มตนเองจะไม่ทำให้สัตว์ทรมานมากกว่าวิธีการทำให้สลบก่อนฆ่า

ขณะนี้สมาพันธ์ของโรงฆ่าสัตว์ที่ไม่ได้ทำให้สลบก่อนฆ่า (Association of Non Stun Abattoirs, ANSA) ได้แสดงความวิตกกังวลถึงการตัดสินใจของสภาล่างเนเธอร์แลนด์ ที่จะห้ามฆ่าสัตว์ตามหลักศาสนายิวและอิสลาม

นาย Mohammed Saleem โฆษกของ ANSA กล่าวว่า การออกกฎหมายดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำให้นานาชาติเข้าใจยุโรปผิด โดยเฉพาะชาวมุสลิม อาจทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวตะวันตกและชาวมุสลิม นอกจากนี้วิธีการฆ่าโดยไม่ทำให้สัตว์สลบตามหลักศาสนานี้ พิสูจน์ว่ามีมนุษยธรรมที่สุด โดยระบุว่า มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าวิธีตามหลักศาสนานี้จะทำให้สัตว์เจ็บปวดและเครียดน้อยกว่า อาทิ ผลงานของ Dr.Stuart Rosen แห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลในลอนดอน เมื่อปี 2547 เรื่อง “Physiological Insights into Shechita” ที่ระบุว่า การฆ่า! สัตว์ตามหลักศาสนายิว (Shechitah) ไม่ทำให้สัตว์เจ็บปวด และมีมนุ! ษยธรรม&n bsp;

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่บ่งบอกว่า วิธีการทำให้สัตว์สลบ เป็นการทำให้สัตว์ทรมานเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น การออกกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการพิจารณาด้วยเหตุผลทางการเมืองและความรู้สึก มากกว่าเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ANSA จึงเรียกร้องให้ตระหนักถึงหลักฐานต่างๆ ก่อนจะดำเนินการด้านกฎหมายนี้ต่อไปจนสิ้นสุด





ที่มา : The Meat Site และ Halal Focus

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตลาดสัตว์ปีกอินเดียเข้มแข็ง ผลผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศในอินเดีย (Icra) ระบุว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในอินเดียมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นไปอีก 10 ปี เนื่องจากอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในอินเดียกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยที่ชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม เช่น ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่ดี (GDP) อำนาจการซื้อที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลง และการขยายตัวของเมือง

ตลาดสัตว์ปีกอินเดียมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเนื้อไก่และไข่สำหรับบริโภคในตลาดไม่ต่ำกว่า 95% ภาคอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอินเดี! ยเริ่มเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนมาเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์แบบเต็มตัวตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายที่ประสบความสำเร็จในการผันตัวมาทำฟาร์มสัตว์ปีกขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของอินเดีย และทางตะวันตกของแคว้นมหาราษฏร์ เช่น รัฐหรยาณา รัฐปัญจาบยังคงผลิตสัตว์ยังคงผลิตสัตว์ปีกได้น้อย ขณะที่รัฐเบงกอลตะวันตกมีการทำฟาร์มสัตว์ปีกเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ เนื่องจากรัฐดังกล่าวมีรายได้หลักจากเกษตรกรรม

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ภาคอุตสาหกรรมสัตว์ปีกอินเดียขยายตัวเพิ่มขี้นปีละ 8-10% และเพิ่มขึ้นปีละ 15% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Icra คาดการณ์ว่าความต้องเนื้อไก่ที่ผลิตในอินเดียจะเพิ่มขึ้น 15-18% และความต้องการไข่สำหรับบริโภคจะเพิ่มขึ้น 5-7% ในระยะกลางไปจนถึงระยะยาว





ที่มา : World Poultry

ฮ่องกงไฟเขียว ‘เนื้อ-ไข่’ยุ่น หลังไข้หวัดนกคลี่คลาย

ศูนย์ความปลอดภัยอาหารของฮ่องกง (CFS) ประกาศว่าอนุญาตให้นำเข้าเนื้อสัตว์และไข่จากญี่ปุ่นยกเว้นจังหวัดฟุกุชิมะ อิบาระกิ โทชิกิ กุมมะ และชิบะ

CFS ระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์และไข่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 หลังจากไข้หวัดนกชนิด H5 ระบาดในจังหวัดมิยาซากิ และเกาะคิวชู

โฆษกของ CFS เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นมีการดำเนินมาตรการควบคุมโรคไข้หวัดนกในจังหวัดมิยาซากิ อีกทั้งยังไม่มีการรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกเพิ่มเติม CFS จึงตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้าเนื้อ! สัตว์และไข่ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ยังคงห้ามนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกและไข่ที่ผลิตในจังหวัดฟุกุชิมะ อิบาระกิ โทชิกิ กุนมะ และชิบะเนื่องจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในจังหวัดฟุกุชิมะ




ที่มา : World Poultry

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เวียดนามสลด FMDระบาด สัตว์ดับ 45,000 ตัว

จากข้อมูลล่าสุดของกรมสุขภาพสัตว์ของเวียดนาม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2554 ระบุว่ามีจังหวัดในเวียดนามที่ได้รับผลกระทบจากโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ทั้งหมด 39 จังหวัด ขณะที่มีสุกรล้มตายด้วยโรคดังกล่าวหรือได้ถูกทำลายรวม 37,760 ตัว นอกจากนี้ยังมีกระบือ 5,000 ตัว วัว 938 ตัวและแพะ 329 ตัวที่ตายจากโรคเดียวกันนี้

Hoang Van Nam อธิบดีกรมสุขภาพสัตว์สังกัดกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนามระบุว่าผู้เลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ไม่จัดการแหล่งระบาดของโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ทั้งยังไม่ทำลายปศุสัตว์ที่ติดโรคตามคำสั่ง จึงทำให้โรคดังกล่าวระบา! ดรวดเร็วมากในขณะนี้

ทางกรมสุขภาพสัตว์ได้กระตุ้นให้จังหวัดต่างๆออกโครงการป้องกันโรค FMD เพื่อจัดการฉีดวัคซีนในปี 2554 และผลักดันการใช้วัคซีนที่ถูกชนิด เนื่องจากมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ เวียดนามตั้งเป้าที่จะควบคุมโรค FMD ให้ได้ภายในปี 2558 และขณะนี้กำลังเฝ้าสังเกตการณ์สถานะของโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิด








ที่มา : Pig Progress

ไทยห้ามส่งออกหมูไปประเทศเพื่อนบ้าน หวังลดราคาค้าปลีก

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ คาดว่า ราคาเนื้อสุกรจะลดลงเร็วๆนี้ หลังจากระงับการส่งออกสุกรไปประเทศเพื่อนบ้านในสัปดาห์นี้

กรมการค้าภายในจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการระงับการส่งออกสุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หลังพบว่ามีการส่งสุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นเนื่องจากจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าภายในประเทศ

ไทยควบคุมราคาสุกรหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 70 บาท ขณะที่ราคาในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในเวียดนาม และ ก! ัมพูชา อยู่ที่ กิโลกรัมละ 80-90 บาท

เมื่อวันที 29 มิถุนายน 2554 นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายระงับการส่งออกเนื้อสุกรอย่างเข้มงวดเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศ ผู้ลักลอบขนย้ายสุกรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงจะถูกปรับไม่เกิน 100,000 บาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรมการค้าภายในร่วมกับ กรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์จะตรวจตราการขนย้ายสุกรในจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่าจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรามีการขนย้ายสุกรไปยังพื้นที่อื่นๆ ผิดปกติ และเพิ่มเติมว่า หลังจากจากควบคุมการส่งออกสุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้าน คาดว่าราคาสุกรภายในประเทศจะลดลง ทั้งนี้พบว่าการขนส่งสุกรตามแนวชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้านพุ่งสูงขึ้นจากสุกร 200-300 ตัวเป็น กว่า1,000 ตัว ต่อเดือนโดยเฉลี่ย โดยตามปกติ การส่งออกคิดเป็นสัดส่วนเพียง 3! - 4 % ของการผลิตของสุกรทั้งหมดจำนวน 12 ล้านตัวต่อปี ราคาเนื้อส! ุกรค้าปล ีกแนะนำที่กรมการค้าภายในกำหนดไว้ไม่เกิน 130 บาทต่อกิโลกรัม แต่มีการจำหน่ายเนื้อสุกรค้าปลีกในตลาดที่ 135 บาทหรือสูงกว่า ต่อกิโลกรัม





ที่มา : The Pig Site