หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไข้หวัดหมูแอฟริกันแพร่ไปยังยุโรป

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ตัวแทนด้านอาหารจากองค์การสหประชาชาติ (UN) กล่าวว่าไข้หวัดสุกรแอฟริกันซึ่งแพร่ระบาดในรัสเซีย และเขตเทือกเขา Caucasus กำลังแพร่ไปยังยุโรป นาย Juan Lubroth หัวหน้าเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ขององค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติกล่าวว่า โรคไข้หวัดสุกรแอฟริกันกำลังจะกลายเป็นประเด็นปัญหาระดับโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งกำลังคุกคามยุโรปอย่างฉับพลันและลุกลามไปยังที่อื่น ประเทศต่างๆ ควรตื่นตัวและเพิ่มการเตรียมรับมือ ประกอบกับการวางแผนฉุกเฉิน

องค์การอาหารและเกษตร (FAO) ระบุว่าโรคไข้หวัดสุกรแอฟริกันซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนได้แพร่เข้าสู่รัฐ Georgia จาก แอฟริกาใต้ในปลายปี 2006 โดยเกิดการแพร่ระบาดผ่านทางท่าเรือทะเลดำในเมือง Poti ซึ่งเป็นที่ทิ้งขยะจากเรือลำหนึ่งและสุกรได้มากินขยะเป็นอาหาร

กลวิธีในการจัดการกับโรคไข้หวัดสุกรแอฟริกันได้แก่ การกักกันโรค ความปลอดภัยในฟาร์มและมาตรการอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการลดความเสี่ยงในการเกิดและการคงอยู่ของโรคให้มากที่สุด




ที่มา : Xinhua

มะกันพบเชื้อโรคในฟาร์มไก่ฟ้า

หน่วยงานการล่าเพื่อเกมกีฬาและการประมงรัฐ Wyoming ได้ทำลายไก่ฟ้าประมาณ 1,200 ตัวที่ฟาร์มนก Downar ใกล้กับเมือง Torringto ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ Wyoming หลังจากพบโรคชนิดหนึ่งในนกซึ่งสามารถแพร่เชื้อมาสู่มนุษย์ได้


หน่วยงานการล่าเพื่อเกมกีฬาและการตกปลากล่าวว่าคนงานพบพยาธิไส้ตันในนกบางตัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสต์ทางสัตวแพทย์ของรัฐ Wyoming ยืนยันว่าพบตัวก่อโรคในนกบางตัวซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคไข้นกแก้ว (Psittacosis) ได้ ซึ่งผู้ที่เป็นไข้นกแก้วจะมีไข้และมีอาการอื่นๆซึ่งคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ตามไม่มีคนงานในฟาร์มนกมีอาการเจ็บป่วยจากโรคดังกล่าว แต่ละปี สหรัฐฯมีการรายงานโรคไข้นกแก้วในมนุษย์น้อยกว่า 50 ราย และในรัฐ Wyoming ไม่มีรายงานการเจ็บป่วยในมนุษย์ ตั้งแต่ปี 2543


ทั้งนี้ นาย Brian Nesvik หัวหน้าหน่วยงานการล่าเพื่อเกมกีฬาและการตกปลากล่าวว่ายังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโรคไข้นกแก้วจะมีผลกระทบต่อการปล่อยไก่ฟ้าในปีนี้หรือไม่




ที่มา : World Poultry

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

E. coli ระบาดหนักที่เมืองเบียร์

ขณะนี้หน่วยงานด้านสาธารณสุขเยอรมนีกำลังหาต้นตอของการแพร่ระบาดเชื้อ E. coli ที่คาดว่าจะเป็นสายพันธุ์ O104 ชนิดที่ก่อให้เกิดอาการตกเลือดในลำไส้ (Enterohaemorrhagic E. coli) ทำให้ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตเป็นผู้หญิง 3 ราย และล้มป่วยอีกหลายร้อยรายซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตด้วยอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (Hemolytic Uremic Syndrome, HUS) การแพร่ระบาดครั้งนี้มีผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและอยู่บริเวณทางตอนเหนือของประเทศ กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าผู้ป่วยในเมือง Frankfort ล้มป่วยจากการทานอาหารร้านเดียวกัน

มีคนเสนอว่าแหล่งที่มาของโรคน่าจะมาจากผักสดที่ใช้ปุ๋ยมูลสั! ตว์แบบน้ำ (liquid manure) ที่อาจปนเปื้อนเชื้อ E. coli และคาดว่าผู้หญิงมีโอกาสได้รับเชื้อจากการปรุงและรับประทานผักสดมากกว่าผู้ชาย

จากข้อมูลถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 ขณะนี้ยอดผู้ป่วยมีจำนวนเกินกว่า 400 รายแล้ว ซึ่งกว่า 200 ราย มาจากการรายงานจากเมือง Schleswig-Holstein และผู้ที่อยู่ในอาการ HUS มียอดมากกว่า 80 รายซึ่งถือเป็นการแพร่ระบาดที่ไม่ปกติเพราะทำให้มีผู้ป่วยเป็นหลักร้อยภายในเวลาเพียงสองสัปดาห์ ถือเป็นสถิติที่”สูงจนน่าวิตก” เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติการติดเชื้อ E.coli เมื่อปีที่2554 ซึ่งรวมทั้งปีมีการรายงาน 1,000 ครั้ง และส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นวัยรุ่น



ที่มา : Food Safety News

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แอฟริกาใต้ฆ่านกกระจอกเทศนับหมื่น หวังหยุดไข้หวัดนก

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 กระทรวงเกษตรแอฟริกาใต้กล่าวว่า แอฟริกาใต้ได้ฆ่านกกระจอกเทศ จำนวน 10,000 ตัว เพื่อยับยั้งการระบาดของโรคไข้หวัดนกซึ่งทำให้การส่งออกเนื้อนกกระจอกเทศไปยังสหภาพยุโรปต้องหยุดชะงัก แต่ไข้หวัดนกยังคงระบาดต่อไป แอฟริกาใต้ได้หยุดการส่งออกเนื้อนกกระจอกเทศไปยังสหภาพยุโรปเมื่อเดือนเมษายน 2554 หลังจากพบเชื้อไข้หวัดนก H5N2 ในนกทางตะวันตกของจังหวัดเคป


เชื้อไวรัส H5N2 ไม่อันตรายเท่าเชื้อไวรัส H5N1 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยทั่วโลกระหว่างที่เกิดการระบาด แต่H5N2 ได้สร้างความกังวลให้กับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกและเนื้อนกชนิดอื่นๆ


สมาหอการค้าธุรกิจนกกระจอกเทศแอฟริกาใต้กล่าวว่ามูลค่าความเสียหายซึ่งเกิดจากการระงับการส่งออกอยู่ที่ประมาณ 108 ล้านแรนด์ (15.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน




ที่มา : Reuters

ไข้หวัดหมูแอฟริการะบาดถึงคาเมรูน

มีรายงานการแพร่ระบาดของไข้หวัดสุกรแอฟริกา (African Swine Fever, ASF)ในคาเมรูนที่อาจทำให้ต้องสูญเสียประชากรสัตว์กว่า 100,000 ตัว แม้ว่าเมื่อเดือนธันวาคม 2553 คาเมรูนจะเชื่อว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว แต่ปรากฏว่ามีการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ทำให้ต้องทำลายสุกรอีกหลายร้อยตัว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับไข้หวัดสายพันธุ์นี้ และเริ่มเกิดความกังวลว่าโรคดังกล่าวจะแพร่ระบาดไปยังประเทศชาด และ ไนจีเรีย



ที่มา : UPI

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มะกันประกาศลดอุณหภูมิการปรุงเนื้อหมู

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 หน่วยงานบริการตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) ได้ประกาศลดอุณหภูมิการปรุงอาหารที่แนะนำสำหรับเนื้อสุกรเหลือที่ 145 องศา ซึ่งหมายความว่าการปรุงเนื้อสุกรใช้มาตรฐานเดียวกันกับเนื้อวัว เนื้อลูกวัว และเนื้อแกะ

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ยังได้แนะนำให้พักเนื้อสุกรไว้ 3 นาทีหลังจากยกลงมาจากตะแกรงหรือเตาอบ เนื่องจากอุณหภูมิของเนื้อซึ่งคงที่หรือเพิ่มขึ้นในช่วงนั้นจะทำให้เชื้อก่อโรคตาย Dr. James McKean รองผู้อำนวยการศูนย์อุตสาหกรรมสุกร มหาวิทยาลัยรัฐไอโอวา กล่าวว่าอุณหภูมิ 145 องศาสูงกว่าอุณหภูม! ิที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและพยาธิได้

อย่างไรก็ตาม เนื้อบดจะต้องปรุงให้สุกที่อุณหภูมิ 160 องศา และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจะต้องปรุงให้สุกที่อุณหภูมิ 165 องศา และจำเป็นจะต้องใช้เทอโมมิเตอร์แบบดิจิตอลวัดอุณหภูมิโดยวางลงในส่วนที่หนาที่สุดของเนื้อสัตว์ เพื่อให้มั่นใจว่า เนื้อสุกดี




ที่มา : ABC News

พาณิชย์เข้มงวดนำเข้า-ส่งออกยา เภสัชเคมีภัณฑ์ฯและสารเคมี 16 รายการ

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้มีมาตรการควบคุมการนำเข้า ยา เภสัชเคมีภัณฑ์ฯ รวม 16 รายการ เป็นสินค้าที่จะต้องขออนุญาตก่อนนำสินค้าเข้ามาในไทยด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น สารเคลนบิวตารอล (Clenbuterol)และ สารอัลบิวเตอรอล (Albuterol) หรือ สารซัลบิวตามอล (Salbutamol) ที่ใช้เป็นสารเร่งเนื้อแดงในสุกร มีประกาศควบคุมนำเข้าเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเนื้อสุกรในประเทศ รวมถึงเภสัชเคมีภัณฑ์ที่อาจกลายเป็นสารตกค้างในสินค้าอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภค เช่น กุ้ง ไก่ ฯลฯ ประเภทไนโตรฟูแรน (Nitrofurans) และ คลอแรมฟินิคอล (Chloramphenicol) ที่ปร! ะเทศคู่ค้าหลักของไทย เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มีความเข้มงวดในการตรวจสอบ และอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกอาหารจากไทยไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลกในอนาคตได้ รวมถึงเคมีภัณฑ์และสารเคมีบางชนิด เช่น สารกาเฟอีน (Caffeine) และ สารโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต (Potassium Permanganate) เป็นสินค้าจะต้องขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเช่นกัน




ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

พาณิชย์เบรกสบู่ขึ้น-ตรึงราคาไก่ 2 เดือน

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ประกอบการสบู่และน้ำมันหล่อลื่น ได้ยื่นหนังสือมาที่กรมการค้าภายใน เพื่อขอปรับขึ้นราคาสินค้าตามวัตถุดิบและตามต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งกรมขอให้ชะลอปรับขึ้นราคาออกไปก่อน เนื่องจากมีผู้ประกอบการขอปรับราคาเพียงรายเดียว จึงไม่เป็นเหตุอันควรอนุมัติให้ปรับขึ้นราคา

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่าได้เชิญกลุ่มผู้เลี้ยงไก่เนื้อมาหารือสถานการณ์ผลผลิตและราคาเนื้อไก่ซึ่งมีราคาสูง เพื่อหาทางบรรเทาภาระแก่ˆผู้บริโภค โดยขอความร่วมมือให้ตรึงราค! าเนื้อไก่ออกไปอีกระยะหนึ่ง แต่จะตรึงราคาในระดับเท่าใดนั้นต้องศึกษาต้นทุนอย่างละเอียดอีกครั้ง รวมทั้งจัดทำราคาขายปลีกแนะนำเนื้อไก่แต่ละชนิดในแต่ละพื้นที่

ด้านนายวีระพงศ์ ปัญจวัฒนกุล นายกสมาคมไก่เนื้อแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมดูแลได้เฉพาะราคาไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มที่ควบคุมได้เท่านั้น โดยจะให้ความร่วมมือในการตรึงราคาไก่ มีชีวิตออกไปอีก 1-2 เดือน ที่กิโลกรัมละไม่เกิน 55 บาท ขณะที่ต้นทุนผู้เลี้ยงอยู่ที่กิโลกรัมละ 48-49 บาท แต่หากรัฐบาลจะขอให้ชะลอการส่งออกเนื้อไก่ชั่วคราวเหมือนในกรณีสุกรและไข่ไก่ คงไม่สามารถทำได้ เพราะจะกระทบต่อตลาดการส่งออกไก่ของไทย




ที่มา : ข่าวสด

FAO วางแผนกำจัด FMD ในแอฟริกาใต้

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2554 องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กล่าวว่า FAO ได้เปิดตัวโครงการซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยในแอฟริกาใต้ให้หมดไปในปี 2020 ภายใต้แผนโครงการดังกล่าว เจ้าของประมาณ 70 % ของปศุสัตว์ที่เสี่ยงต่อการติดโรคดังกล่าวทั้งหมดใน Bolivia, Colombia, Ecuador และ Peru จะได้รับการสนับสนุนจาก FAO

ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วยการรณรงค์ให้ข้อมูล และหากจำเป็นอาจตามด้วยบริการทางสัตวแพทย์เพื่อให้เกิดความยั่งยืน



ที่มา : XINHUA NEWS (24/05/54)

รัสเซียหวังเลิกนำเข้าเนื้อหมูภายในปี 2563

ถึงแม้การบริโภคเนื้อสุกรในรัสเซียจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยในปี 2553 บริโภคสูงถึง 22 กิโลกรัมต่อคน แต่อัตราการนำเข้าเนื้อสุกรผลิตจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โดยในปี 2551 เนื้อสุกรนำเข้ามีส่วนแบ่งตลาด 32.1% และในปี 2553 ลดลงมาอยู่ที่ 25% กระทรวงเกษตรรัสเซียและสมาพันธ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ได้พัฒนาโครงการเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสุกร โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะเป็นผลสำเร็จปี 2563 เพื่อให้สามารถผลิตเนื้อสุกรรองรับความต้องการของตลาดในประเทศได้ นักวิเคราะห์พยากรณ์ว่าในปี 2555 รัสเซียจะสามารถผลิตสุกรได้ 23.3 ล้านตัว



ที่มา : Agrosauz, AgroPerspectiva
(24/05/54

ญี่ปุ่นทำลายสัตว์นับพันตัวบริเวณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จะสั่งทำลายสัตว์บริเวณรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะในรัศมี 20 กิโลเมตร เกษตรกรท้องถิ่นถูกบังคับให้อพยพตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2554 หลังเกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิทำให้ระบบหล่อเย็นของโรงงานนิวเคลียร์ขัดข้อง เป็นผลให้สัตว์ต่างๆ ถูกทอดทิ้งไว้ อาทิ วัว 3,400 ตัว สุกร 31,500 และไก่ 630,000 ตัว ซึ่งพบว่ามีปศุสัตว์รอดตาย ได้แก่ วัว 1,300 ตัว และสุกรประมาณ 200 ตัว ส่วนไก่ตายหมด



ที่มา : Meat Poultry และ Poultry site

ผู้ผลิตสัตว์ปีกนิการากัวเมินลดราคาสัตว์ปีก

นาย Orlando Solórzano รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ประเทศนิการากัว กล่าวว่า ผู้ผลิตสัตว์ปีก ในนิการากัว ปฏิเสธแผนการลดราคาสัตว์ปีกผ่านทางการลดภาษีศุลกากรขาเข้าซึ่งเป็นความคิดที่เสนอโดยรัฐบาลสหรัฐฯในปลายเดือนเมษายน

อย่างไรก็ตาม นาย Alfonso Valerio ประธานสมาพันธ์ผู้ผลิตสัตว์ปีกขนาดกลางและขนาดย่อมของนิการากัว ต้องการให้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ประกอบการสัตว์ปีก เพื่อหลีกเลี่ยงการนำเข้าจากต่างประเทศ และกล่าวเพิ่มเติมว่า การนำเข้าสัตว์ปีกจำนวนมากไม่ใช่การแก้ไขปัญหาเพราะต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะ อาหารสั! ตว์ในตลาดโลกมีวัตถุดิบในการผลิตสูง




ที่มา : World Poultry

อิสราเอลพบปากเท้าเปื่อยระลอกใหม่

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รับรายงานจากอิสราเอลถึงการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยในปศุสัตว์และแกะ 3 แห่ง ในเมือง Hafazon โดยมีสัตว์ที่เสี่ยงติดเชื้อ 2,562 ตัว แต่ยังไม่พบสัตว์ตายและยังไม่ได้ทำลายสัตว์




ที่มา : The Cattle Site (23/05/54)

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พ่อค้าจีนหัวหมอให้ไก่กินแป้งแบเรียมเพื่อเพิ่มน้ำหนัก

ผู้ค้าในนครเทศบาลฉงชิ่งให้ไก่เกือบ 1,000 ตัว กินแบเรียมซัลเฟตเพื่อเพิ่มน้ำหนัก ฝ่ายบริหารท้องถิ่นด้านอุตสาหกรรมและการค้า สำนักงานความปลอดภัยสาธารณะร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดักจับการขนย้ายไก่ที่นครเทศบาลเมืองฉงชิ่ง ซึ่งมาจากมลฑล Guizhou ซึ่งผลพบว่ามีแบเรียมซัลเฟตในไก่

นาย Tang Chuan เจ้าหน้าฝ่ายบริหารท้องถิ่นด้านอุตสาหกรรมและการค้าที่กล่าวว่า ผู้บริโภคในท้องถิ่นแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่าพบสารบางอย่างในทางเดินอาหารไก่สดซึ่งผู้บริโภคซื้อไก่มีชีวิตมาจากตลาดในท้องถิ่นและเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

&nbs! p; ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2554 เจ้าหน้าที่จึงได้ตรวจตราตลาดซื้อขายไก่หลายแห่งเพื่อเก็บตัวอย่างตรวจสอบ จากตัวอย่างที่ได้พบว่าลำไส้ไก่มีแบเรียมซัลเฟตเป็นจำนวนมาก และพบแมกนีเซียม ปริมาณ 110 มิลลิกรัม และ แบเรียม 1.1 มิลลิกรัมในไก่ต่อน้ำหนักไก่หนึ่งกิโลกรัม

เมื่อวันที่ 6 เมษายน เจ้าหน้าที่ได้สั่งหยุดรถบรรทุก 2 คัน ซึ่งขนไก่ต้องสงสัย เนื่องจากพบว่าไก่อ้วนผิดปกติและให้คนขับรถส่งไก่ให้ตรวจสอบ เจ้าของไก่สารภาพว่าไก่แต่ละตัวกินแป้งแบเรียม 300 -400 กรัม ไก่ดังกล่าวถูกซื้อมาจากเมือง Zunyi ใน มลฑล Guizhou เจ้าหน้าที่ตำรวจได้อายัดไก่และจะดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้ต่อไป




ที่มา : The Poultry Site (12/05/54)

เกาหลีใต้ยังไม่พ้น ปากเท้าเปื่อย

เมื่อปลายเดือนเมษายน 2554 มีการพบและยืนยันการแพร่ระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยที่ฟาร์ม 2 แห่งที่เมือง Yeongcheong จังหวัด Gyeongsang เกาหลีใต้ แต่อัตราการตายของสัตว์ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำโดยพบสัตว์ 2,800 ตัวมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ แต่ทั้งนี้มีสัตว์ตาย 21 ตัว การระบาดครั้งนี้ทำให้แผนการกำจัดโรคปากเท้าเปื่อยที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ยังไม่เป็นผลสำเร็จ

แผนการกำจัดโรคปากเท้าเปื่อยดังกล่าว ทำให้เกาหลีใต้เสียเงินไปสูญเสียเงินไปในการทำลายสัตว์กว่า 2.5 ล้านตัว คิดเป็นจำนวนเงินมากกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

! หลังจากไม่พบการระบาดตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ เกาหลีใต้ประกาศสถานการณ์การแพร่ระบาดอยู่ที่ระดับเกือบต่ำสุด (yellow) จนกระทั่งวันที่ 16 เมษายน 2554 พบการแพร่ระบาดอีกรอบของโรคปากเท้าเปื่อย ถึงแม้อัตราการเสียชีวิตจะอยู่ที่ 0.75% แต่การระบาดครั้งนี้เป็นสิ่งชี้ให้เห็นว่ายังมีการระบาดของเชื้อดังกล่าวอยู่ในเกาหลีใต้




ที่มา : ISID

ไข้หวัดนก HPAI ระบาดในแอฟริกาใต้

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์แอฟริกาใต้แจ้งต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดครั้งใหม่ของไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง(HPAI) ชนิด H5N2 ในฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศ 4 แห่ง ในเมือง Oudtshoorn จังหวัด Western Cape ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ถึง 4 เมษายน 2554 พบนกกระจอกเทศติดเชื้อ 50 ตัว จากจำนวน 2,414 ตัว จากการตรวจเป็นประจำ โดยการตรวจทางน้ำเหลือง (serology) พบการติดเชื้อ แต่ตรวจทาง PCR ไม่พบการติดเชื้อ ผลการวินิจฉัยโรคยืนยันหลังจากติดตามผลด้วยการตรวจทาง PCR หลายครั้งเท่านั้น แอฟริกาใต้รายงานการระบาดโดยยึดผลทางการตรวจทาง PCR เท่านั้น ในขั้นแรก ไม่พบอาก! ารของโรคหรือการตาย แต่ยืนยันว่ามีการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก HPAI ชนิด H5N2



ที่มา : The Poultry Site

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พบดีเอ็นเอเนื้อหมูในผลิตภัณฑ์ฮาลาล

องค์การอิสลามเพื่อการพัฒนา (JAKIM) พบร่องรอยดีเอ็นเอหมูในผลิตภัณฑ์เนื้อของบริษัท Lucky Food Processing ส่งผลให้ใบรับรองฮาลาลถูกเพิกถอนและมีผลในทันที

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2554 JAKIM มีมติให้ถอนใบรับรองฮาลาลของมาเลเซียที่ออกให้แก่บริษัท Lucky Food Processing Sdn Bhd หมายเลขลำดับที่ 010949-010966 และมีผลในทันทีเนื่องจากพบดีเอ็นเอเนื้อหมูในผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าว

ดังนั้น ผู้ที่มีใบรับรองฮาลาลหรือผู้สมัครใบรับรองฮาลาลรา! ยใหม่ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยบริษัท Lucky Food Processing Sdn Bhd จะต้องปฎิบัติดังนี้

1. เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่นที่มีใบรับรองฮาลาล
2. แสดงใบเสร็จการซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่
3. ผ่านกระบวนการ samak

ทั้งนี้ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าผลิตภัณฑ์ใดที่ปนเปื้อนดีเอ็นเอเนื้อหมู จากบัญชีรายชื่อ ฮาลาลของ JAKIM บริษัท Lucky Food มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฮาลาลกว่า 120 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งขึ้นทะเบียนฮาลาลกับมาเลเซียแต่เพียงที่เดียว



ที่มา : Halal Focus

มะกันเรียกคืนสะโพกหมู

บริษัท Smithfield Foods เรียกคืนสะโพกหมูรส Portobello Mushroom ปริมาณ 216,238 ปอนด์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางส่วนอาจปนเปื้อนสารก่อภูมิแพ้ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลาก

หน่วยงานบริการตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) ประกาศว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวซึ่งผลิตโดย Smithfield Packing Company ใน Clinton, North Carolina และ Tar Heel, North Carolina ใช้ส่วนผสมที่ประกอบด้วย สารก่อภูมิแพ้ คือ เวย์ (จากนม) ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลาก ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวบรรจุในหีบห่อแยก ซึ่งมีหลายขนาด

! ไม่นานนี้บริษัทได้ปรับปรุงสูตรของผลิตภัณฑ์อีกครั้ง ระหว่างการตรวจสอบการติดฉลากภายใน
พบว่าฉลากผงปรุงรส Portobello ไม่ตรงกับรายชื่อส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย




ที่มา : The Meat Site

เมืองกิมจิเตรียมใช้ระบบการอนุญาตปศุสัตว์ปีหน้า

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 เกาหลีใต้ประกาศเตรียมใช้ระบบอนุญาตปศุสัตว์ในปี 2555 เพื่อให้สามารถควบคุมภาคปศุสัตว์ท้องถิ่นได้ดีขึ้น เนื่องจากพบการระบาดของโรคสัตว์บ่อยครั้ง

กระทรวงอาหาร เกษตร ป่าไม้และประมง เกาหลีใต้ ระบุว่า แผนการพัฒนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์ยังเรียกร้องให้เกษตรกรแต่ละรายมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการป้องกันการแพร่ระบาด และการลงโทษในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎการป้องกันที่ตั้งไว้ เกษตรกรจะต้องรับผิดชอบการจ้างและการป้องกันการปนเปื้อนของคนงานต่างชาติที่เข้ามาดูแลสัตว์ และหากท! ิ้งมูลสัตว์อย่างผิดกฎหมาย อาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้

บริษัทฟาร์มขนาดใหญ่จะต้องได้รับการอนุญาตภายในปี 2555 โดยระบบดังกล่าวจะขยายการบังคับใช้ไปยังฟาร์มขนาดเล็ก ซึ่งเลี้ยงปศุสัตว์ สุกร ไก่ และเป็ดภายในปี 2558 ส่วนฟาร์มที่เกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์สัตว์และการฟักไข่ควรได้รับใบอนุญาตในปีหน้า โดยไม่คำนึงถึงปริมาณสัตว์ที่เลี้ยงไว้

ปัจจุบันเกาหลีใต้มีบริษัทฟาร์มประมาณ 8,600 แห่ง คิดเป็น 4.4% ของผู้เลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศ ซึ่งบริษัทฟาร์มเหล่านี้เลี้ยงวัวมากกว่า 100 ตัว สุกรอย่างน้อย 2,000 ตัว และไก่กับเป็ด 10,000-50,000 ตัว ส่วนฟาร์มขนาดเล็กมีประมาณ 81,000 แห่ง

! ระบบอนุญาตนี้! เป็นผลมา จากการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ทำให้ต้องทำลายสุกรและวัวรวม 3.47 ล้านตัว คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านวอน อีกทั้งการใช้วัคซีนเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนระบบการอนุญาตนี้ขั้นร้ายแรง จะต้องเสียค่าปรับมากถึง 30 ล้านวอน หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี





ที่มา : Yonhap News

เหยื่อ 4 รายเสียชีวิตจากเชื้อ E.coli ในอาหารที่ญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 มีผู้เสียชีวิตจากการรับประทานอาหารประเภทเนื้อดิบของร้านอาหารแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากการรับประทานอาหารของร้านแห่งนี้เพิ่มขึ้นเป็น 4 รายแล้ว ในขณะที่ล้มป่วยอีก 70 ราย

ผู้เสียชีวิตรายล่าสุดติดเชื้อ E.coli O-111 เช่นเดียวกับรายที่ผ่านมา จากการไปรับประทานอาหารกับครอบครัวร่วมกับผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมด้วย ทั้งสองได้ทานอาหารประเภทเนื้อดิบ (Yukhoe) ของร้านอาหารของ Foods Forus Co. ในเมืองคานาซาวา

! ; เด็กอายุ 6 ขวบเสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา เนื่องจากอาหารประเภทเดียวกันที่ร้านเดียวกันนี้ และอีกรายเสียชีวิตเมื่ออาทิตย์ก่อนจากการรับประทานอาหารของร้านเดียวกันที่สาขาอื่น ในขณะที่หนึ่งในผู้ป่วย 70 รายได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ E.coli O-111 และอยู่ในอาการขั้นรุนแรง

บริษัทกล่าวว่าทางบริษัทประสปความล้มเหลวในการตรวจสุขอนามัยของเนื้อดิบที่จัดจำหน่ายโดยบริษัทในโตเกียวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ทางบริษัทจะถูกสืบสวนทางอาญาต่อไป



ที่มา : Jiji Press

FMD ระบาดครั้งใหม่ในบอตสวานา

Dr. Kgoseitsile Phillemon-Motsu อธิบดีกรมบริการสัตวแพทย์ กระทรวงเกษตร บอตสวานา รายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) บริเวณหนึ่งในสองเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยโดยไม่ใช้วัคซีน ซึ่งประกอบด้วยเขต 3c, 4a, 4b, 5, 6, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 และเขต18

การระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยซึ่งเกิดขึ้นในเขต 6 อยู่ทางตะวันออกของประเทศซึ่งเป็นเขตชุมชนตรงบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศทางตะวันออก บริเวณดังกล่าวมีวัวประมาณ 200,000 ตัว สัตว์เล็! กในฟาร์มจำนวน 40,000 ตัว และสุกรน้อยกว่า 1,000 ตัว

วัวทั้งหมดที่อยู่ในเขตจำกัดบริเวณนี้จะได้รับวัคซีนและการฆ่าภายใต้การควบคุมจะเริ่มใน 30 วัน หลังจากการสังเกตการทางคลินิกกรณีสุดท้าย




ที่มา : The Cattle Site

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สถาณการณ์โรคสัตว์ในต่างประเทศ

อิเหนาพบไข้หวัดนกอีกแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และสุขภาพสัตว์ของจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก ระบุว่า ไก่บ้านราว 20,000 ตัว ที่เลี้ยงในฟาร์มอย่างเข้มงวด ซึ่งไม่ใช่เลี้ยงในฟาร์มหลังบ้าน บริเวณเขตกูไตการ์ตานการาตายเนื่องจากไข้หวัดนก

ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่จึงทำลายไก่บ้าน 800 ตัว บริเวณใกล้เคียงพื้นที่นั้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายจากเชื้อดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่าเหตุการณ์ระบาดของเชื้อดังกล่าวในเขตกูไตการ์ตานการา อาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกมีชีวิตจากบริเวณเมืองบาลิก์ปาปันและซามารินดา ซึ่งพบการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกก่อ! นหน้านี้ไม่นานนัก

• FMDระบาดในอิสราเอล เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์อิสราเอลแจ้ง Immediate Notification เรื่องการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) 2 แห่งใน Hazafon ต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) โดยโคที่ได้รับผลกระทบคือลูกโคขุนอายุ 9-12 เดือน และโคเนื้อ โคทั้งหมด 770 ตัวมีแนวโน้มที่จะติดโรคFMDและโคจำนวน 41 ตัวจากจำนวนทั้งหมดติดโรคดังกล่าว ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานการตายและการทำลายสัตว์ ส่วนสาเหตุการระบาดของโรคยังไม่แน่ชัด

• โรคนิวคาสเซิลระบาดในกาน่า เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์แจ้ง Immediate Notification ลงวันที่ 28 เมษายน 2554 ต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เรื่องพบโรคนิวคาสเซิลระบาดในนกในเขต Greater Accra เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2554 โดยระบุว่าพบ นกอายุ 7 สัปดาห์ตายเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิด ภายใน 2-3 วัน โดยคิดเป็น 95 % คือ 7,610 ตัว จาก 8,160 ตัว ซึ่งสาเหตุของโรคระบาดครั้งนี้คาดว่าเกิดจากการจัดการที่ผิดพลาด



ที่มา : World Poultry, The Cattle Site และ The Poultry Site

‘เนื้อหมูปนเปื้อน’ หัวข้อล่าสุดในความปลอดภัยด้านอาหารของจีน

เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีคนป่วยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ปนเปื้อนสารสเตอรอยด์ที่ใช้เลี้ยงสุกร โดยมีผู้ป่วยหลายร้อยรายในเดือนมีนาคมและอีก 286 คนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งพบภายหลังว่าได้บริโภคเนื้อสุกรที่ปนเปื้อนสาร Ractopamine สารสเตอรอยด์ที่คล้ายคลึงกับ Clenbuterol

สาร Clenbuterol เป็นสารสเตอรอยด์ที่ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อและสลายไขมัน สารดังกล่าวนี้ได้ถูกใช้ในการเลี้ยงสุกรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เพื่อเร่งโต และเร่งผลผลิต จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 สารดังกล่าวถูกระงับการใช้เนื่องจากพบผลข้างเคียงจากการบริโภคสารดังกล่าวเช่น! อาการเวียนหัว ปวดหัว มือสั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงสูงมาก

รัฐบาลจีนยอมรับหลังเหตุการณ์อาหารปนเปื้อนเมลามีนว่า ตอนนี้การตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของอาหารในจีนยังไม่ดีพอ ในขณะที่มีผู้ผลิตหลายรายพยายามใช้วิธีต่างๆเพื่อเพิ่มผลผลิต ทางรัฐบาลจีนมีความพร้อมที่จะสืบหาและลงโทษบุคคลเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม ประเทศต่างๆมีวิธีการป้องกันก่อนที่ประชากรของตนจะได้รับผลกระทบจากการบริโภค เช่น นักกีฬาชาวเยอรมีได้รับการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ขณะพักอาศัยในประเทศจีนเพื่อป้องกันการได้รับสารปนเปื้อนโดยไม่ได้ตั้งใจ




ที่มา : Npr (06/05/54)

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เกาหลีใต้เตรียมจะยกเว้นภาษีนำเข้าเนื้อไก่

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเกาหลีใต้กล่าวว่า เกาหลีใต้จะยกเว้นภาษีนำเข้าเนื้อไก่ในปีนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการบรรเทาราคาที่พุ่งขึ้นสูงเนื่องจากการฆ่าปศุสัตว์จำนวนมากในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคสัตว์

นอกจากนี้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังยังกล่าวเพิ่มเติมว่า จะบรรจุรายการสินค้าอื่นๆอีก 8 ชนิด ได้แก่ นมวัว ชีส ช็อกโกแล็ต และลูกเกด เพิ่มในบัญชีสินค้านำเข้าที่ได้รับการยกเว้นหรือลดภาษีชั่วคราวในปีนี้




ที่มา : Yonhap News Agency (04/05/54)

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จีนอ่วม FMD ระบาด

เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2554จีนรายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ ระหว่างประเทศ (OIE) ว่าเกิดโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) ในปศุสัตว์ แกะ แพะ และสุกร โดยมีปศุสัตว์จำนวน 252 ตัวที่เสี่ยงติดโรคดังกล่าว ในจำนวนนี้พบแล้วว่าเป็นโรค 87 ตัว และตาย 12 ตัว ในขณะที่ 240 ตัวที่เหลือถูกทำลายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่พบสุกร 421 ตัวเสี่ยงติดโรคดังกล่าว และพบว่าเป็นโรค 4 ตัว และตาย 2 ตัว ที่เหลืออีก 419 ตัวถูกทำลายแล้วเช่นกัน




ที่มา : Meat Trade News Daily (28/04/54