หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

บังคลาเทศพบเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีกอีก 31 แห่ง

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 บังคลาเทศได้รายงานต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ว่าพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง (HPAI) ในประเทศอีก 31 แห่ง การระบาดครั้งนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม ถึง 18 เมษายน 2554 ทางภาคกลางของประเทศ โดยมีสัตว์ปีกตาย 26,532 ตัวจากทั้งหมด 180,420 ตัว ส่วนที่เหลืออีก 153,888 ตัวถูกทำลาย



ที่มา : The Poultry Site (28/04/54

จีนระงับการใช้สารปรุงแต่งอาหารเพิ่มเติม

ขณะนี้จีนระงับการใช้สารเติมแต่งอาหาร 151 ชนิดแล้ว โดย 47 ชนิดไม่สามารถรับประทานได้ 22 ชนิดเป็นสารปรุงแต่งอาหารที่ใช้ผิดได้ง่าย 82 ชนิดเป็นสารต้องห้ามในอาหารสัตว์และน้ำดื่มสำหรับสัตว์

คณะกรรมการอาหารปลอดภัยของจีนได้เพิ่มรายชื่อสารเคมีและสารอื่นๆ ในหลายปีที่ผ่านมา แต่ขณะเดียวกันเหตุการณ์อื้อฉาวในด้านอาหารปนเปื้อนก็เพิ่มมากขึ้น เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวจีนหลายร้อยคนป่วยเนื่องจากบริโภคเนื้อสุกรปนเปื้อนสาร clenbuteral และผู้ผลิตบะหมี่ 12 แห่งได้ถูกสั่งให้ระงับการผลิตเนื่องจากใช้หมึก สีย้อม และไขพาราฟินเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ! ยังมีกรณีที่เนื้อสุกร 16 ตัน ถูกดึงออกจากตลาดเนื่องจากปนเปื้อนโซเดียมบอเรต ซึ่งเป็นสารเคมีที่เปลี่ยนเนื้อสุกรราคาถูกให้เข้มขึ้น มีมูลค่ามากขึ้น จนมีลักษณะเหมือนกับเนื้อวัว

เมื่อเดือนมีนาคม 2554 เจ้าหน้าที่จีนจับผู้ต้องหา 12 ราย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับถั่วงอกปนเปื้อน 40 ตัน ซึ่งเกษตรกรในตะวันออกเฉียงเหนือของจีนใช้สารโซเดียมไนเตรท (ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง) ยูเรีย ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนพืช (6-banzaledenine) เพื่อทำให้ถั่วงอกโตเร็ว และดูขาวน่ากิน




ที่มา : Food Safety News (28/04/54)

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

เอาไก่ติดโรค…มาทำ “ไก่ย่าง-ลูกชิ้น-แหนม” ให้เรากิน!!!!

Apr 21st, 2011

เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ร่วมกับฝ่ายปกครองอำเภอปากช่อง บุกทลายโรงงานชำแหละไก่ตายรวม 14 แห่ง ที่ลักลอบนำไก่ที่ตายโดยไม่รู้สาเหตุออกจากฟาร์มเลี้ยง พบซากเหม็นเน่ากว่า 100 ตัน.
เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ พร้อมเจ้าหน้าที่อีกประมาณ 50 นาย ได้บุกเข้าไปตรวจสอบผู้ประกอบการชำแหละไก่ตาย หลายแห่งในพื้นที่บ้านปางอโศกหมู่ 1ต.กลางดง อ.ปากช่อง

เนื่องจากกรมปศุสัตว์ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนทั้งในหมู่บ้านและใกล้เคียง ว่าโรงงานเหล่านี้ลักลอบนำไก่ตายและเน่าเหม็น ที่ประมูลซื้อมาจากฟาร์มเลี้ยงไก่หลายแห่งในเขตภาคกลางและอีสาน จากนั้นได้นำมาชำแหละแยกชิ้นส่วนส่งไปขายให้แม่ค้าร้านอาหารตามสั่งในพื้น ทั่วทั้งภาคอีสาน,ภาคกลาง,ภาคตะวันออก เพื่อนำไปปรุงเป็นอาหารขาย

ยังส่งไปขายให้พ่อค้าแม่ค้าไก่ย่างและตามโรงงานทำกุนเชียง แหนมไก่บางแห่งและบางแห่งนำไปบดปนในหมูยอ ส่วนไก่ที่มีสภาพใกล้เน่าเสียโดยมีสีเขียวคร้ำ จะส่งไปขายให้บ่อเลี้ยงปลาดุกและฟาร์มจระเข้ทั่วไปซึ่งพฤติกรรมของโรงงาน เหล่านี้ ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนกว่าแทบทั้งตำบล
เนื่องจากไก่ส่วนใหญ่จะมี กลิ่นเน่าเหม็นกระจายไปทั่วหมู่บ้าน อีกทั้งยังมีผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพ รวมทั้งน้ำชำระล้างซากไก่เน่ าก็ไหลลงคลองสาธารณะจนปูปลาพากันตายลอยเป็นแพ

หลังจากได้รับการร้องเรียนแล้ว ผู้บริหารระดับสูง ของกรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าว เดินทางมาตรวจสอบ และเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจจุดแรกที่บ้านปางอโศก หมู่ 1 ต.กลางดง ซึ่งมีโรงงานชำแหละอยู่บริเวณเดียวกันจำนวน 15 แห่ง พบซากไก่ตายและเน่าเหม็นอัดแน่นอยู่บนรถบรรทุกและบางส่วนทิ้งกระจัดกระจาย เกลื่อนพื้น และบางส่วนกองอยู่กับพื้นที่มีแมลงวันตอมเต็มไปหมดแห่งละเกือบ 10 ตัน รวมจำนวนกว่า100 ตัน โดยทั้งหมด กำลังรอการชำแหละเพื่อส่งไปขายให้ลูกค้าขาประจำ

เมื่อเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบใบอนุญาตค้าซากสัตว์และใบอนุญาตเคลื่อน ย้ายซากสัตว์ เจ้าของโรงงานเหล่านั้น กลับไม่มีมาแสดง เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวเจ้าของและผู้ดูแลโรงงานส่งไปดำเนินคดีที่ สภ.กลางดงอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

มีโรงงานบางแห่ง เมื่อเห็นเจ้าหน้าที่เข้าตรวจโรงงานใกล้เคียงก็พากันปิดโรงงานหลบหนีไป เจ้าหน้าที่จึงพบเพียงซากไก่ตายจำนวนอีกนับ 10 ตัน โดยในขณะเข้าทำการตรวจสอบนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ต้องนำผ้ามาปิดจมูกกันทุกคนเพราะทนกลิ่นเน่าเหม็นไม่ไหว

ซากไก่ตายจำนวนมหาศาลนี้เกิดจากความเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ของเจ้า หน้าที่ฟาร์มบางแห่ง ซึ่งที่จริงแล้ว เมื่อไก่ตายจะต้องตรวจสอบหาสาเหตุแล้วนำซากไปเผาทำลายหรือฝังกลบเพื่อ ป้องกันโรคระบาด แต่กลับนำมาลับลอบขายให้กับโรงงานชำแหละในราคาถูก เมื่อผู้ประกอบการที่เห็นแก่ได้รับมาชำแหละแล้ว ก็ส่งไปขายตามร้านอาหาร โดยไม่คำนึงถึงผู้ที่จะบริโภคว่าจะเกิดอันตรายหรือไม่

ซากสัตว์จำนวนมหาศาลเหล่านี้ จะถูกนำไปทำลายด้วยวีธีฝังกลบเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคสู่คนต่อไป

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

อียูรับรองโพรไบโอติกใหม่ในอาหารเสริมไก่ไข่

สหภาพยุโรปให้การรับรองอาหารเสริมที่มีโพรไบโอติกชนิดใหม่เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย Pediococcus acidilactici ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการทำงานของทางเดินอาหาร นอกจากนี้ แบคทีเรียดังกล่าวทำงานโดยแข่งขันกับแบคทีเรียชนิดอื่นๆ แต่ไม่รวมถึงแบคทีเรียประจำถิ่น (flora) เช่น streptococcus, salmonella และ E coli โดยแบคทีเรียใหม่นี้จะช่วยป้องกันทางเดินอาหารจากการถูกทำลายและเพิ่มความยาวของวิลไล (villi) ในลำไส้ ทำให้ช่วยเพิ่มความสามารถในการย่อยและดูดซึมอาหาร อีกทั้งยังมีการผลิตกรดแลกติก ทำให้ pH ของลำไส้ต่ำลง ช่วยลดโอกาสในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดอื่นๆ

&nb! sp; แบคทีเรียใหม่นี้จะช่วยลดความต้องการอาหารสัตว์ลง 1.32 กิโลกรัมต่อตัวต่อปี ช่วยเพิ่มผลผลิตไข่ให้มีน้ำหนักดีและมีความแข็งแรงของเปลือกไข่ และทำให้ไก่แข็งแรง ขนดีขึ้น ลดอัตราการตาย





ที่มา : World Poultry

ญี่ปุ่น วอน อย.ลดมาตรฐานคุมเข้มอาหาร

วันที่ 26 เมษายน 2554 นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวภายหลังเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเข้าพบว่า ทางญี่ปุ่นได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารโดยเฉพาะการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซึ่งพบว่าปัจจุบันสถานการณ์การปนเปื้อนดีขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นทางญี่ปุ่นจึงอยากให้ไทยผ่อนปรนมาตรการนำเข้าอาหารจากญี่ปุ่นจาก 12 เมืองที่จะต้องมีผลวิเคราะห์รับรองมาพร้อมกับการนำเข้าด้วย ตนได้ชี้แจงว่าไปขอเวลาสังเกตการณ์อักสักระยะแต่คงไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเมื่อใด หากสถานการณ์การปนเปื้อนดีขึ้นอาจจะมีการปรับลดจังหวัดที่ต้องคุมเข้มลง แต่ตอนน! ี้ต้องคงมาตรการต่อไป เพราะมาตรฐานการปนเปื้อนของประเทศไทยกับญี่ปุ่นก็ไม่ตรงกัน อย่างสารไอโอดีน 131 ประเทศไทยใช้มาตรฐานขององค์การมาตรฐานอาหารสากล (โคเด็กซ์) คือต้องตรวจพบไม่เกิน 100 เบ็กเคอเรลต่อ กก. ในขณะที่ค่ามาตรฐานญี่ปุ่นต้องไม่เกิน 2 , 000 เบ็กเคอเรลต่อ กก. อย่างไรก็ตามจากการพูดคุยทางญี่ปุ่นก็เข้าใจมาตรการของประเทศไทย และจะเดินทางไปยังเวียดนามเพื่อชี้แจงเรื่องนี้ต่อไป หลังจากก่อนหน้านี้ไปสิงคโปร์มาแล้ว




ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

FMD ระบาดโสมแดง

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 เกาหลีเหลือรายงานการเกิดโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) ต่อองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) โดยเป็นการเกิด FMD ครั้งล่าสุดซึ่งทำให้มีวัวและสุกรเป็นโรค FMD 298 ตัว และในจำนวนนี้ตาย 141 ตัว ทางเกาหลีเหนือได้กักกันพื้นที่เกิดโรคดังกล่าวใน 4 จังหวัดแล้วเพื่อยับยังการแพร่ระบาดของโรคนี้


ที่มา : Yonhap (26/04/54

อียูขยายช่วงเวลาอนุญาตใช้สารเคมี 12 ชนิด

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า สหภาพยุโรปได้ประกาศกฎระเบียบว่าด้วยการเพิ่มและถอนรายชื่อยาที่อนุญาตให้ใช้เป็นสารประกอบในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช โดยสรุปดังนี้

รายชื่อสารเคมี
ประโยชน์

1. fenazaquin
กำจัดไร

2. sintofen
ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

3. dithianon
กำจัดเชื้อรา

4. flutriafol
กำจัดเชื้อรา

5. lime sulphur
กำจัดเชื้อรา

6. azadirachtin
กำจัดแมลง

7. diclofob
กำจัดวัชพืช

8. hexythiazox
กำจัดไร

9. aluminium sulphate
กำจัดแบคทีเรีย

10. bromadiolone
กำจัดสัตว์ฟันแทะ

11. pencycuron
กำจัดเชื้อรา

12. carbetamide
กำจัดวัชพืช


ซึ่งจะขยายเวลาการอนุญาตให้ใช้สารเหล่านี้ ครอบคลุมตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 ถึง 31 พฤษภาคม 2564 นอกจากนี้ ยังได้ประกาศถอนรายชื่อสาร dichlobenil ออกจากภาคผนวกที่ 1 ของกฎระเบียบ Council directive 91/414/FFC โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2554 เป็นตันไป

ที่มา : มกอช. (26/04/54)

กรมปศุสัตว์ตรวจฟาร์มไก่

กรมปศุสัตว์เข้าตรวจสอบฟาร์มไก่หลังพบเชื้อไวรัสโรคหลอดลมอักเสบในไก่สายพันธุ์ ใหม่ ต้นเหตุทำให้ไข่ไก่ลดลง พร้อมยืนยันสามารถควบคุมโรคได้แล้ว และสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่าเดือนมิถุนายนจากที่คาดการณ์ไว้

นางสาวฉวีวรรณ วิริยะภาค รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าตรวจสอบฟาร์มไก่ไข่ ธวัชชัยฟาร์ม และฟาร์มไก่เนื้อบริษัทจินฮงฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มไก่เนื้อที่อำเภอสามชุกและอำเภอศรีประจัน จังหวัดสุพรรณบุรี โดยได้วางมาตรการควบคุมโรคหลังกรมปศุสัตว์ตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสหลอดลม อักเสบสายพันธุ์คิวเอ็กซ์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ระบาดในไก่ไข่ทำให้มีผลผลิตลดลงมาก จนส่งผลกระทบต่อไข่ไก่ทั้งระบบ แต่ยืนยันว่ากรมปศุสัตว์สามารถควบคุมโรคได้ พร้อมเร่งผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสชนิดนี้เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกร พร้อมขอความร่วมมือในการเปลี่ยนวิธีให้วัคซีนไก่ จากเดิมที่วิธีการสเปรย์มาเป็นวิธีหยอดที่ตาและจมูก ซึ่งสามารถคุ้มโรคได้มากกว่าและให้ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อเป็นกรณีพิเศษแบะฟาร์ม ไก่ที่พบเชื้อดังกล่าว ได้สั่งทำลายไปแล้วและที่เข้ามาตรวจสอบวันนี้ไม่พบสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด
ขณะที่นายธวัชชัย ปานนาค เจ้าของธวัชชัยฟาร์ม กล่าวว่าในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้แม่ไก่ออกไข่ลดลง นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาดูแลต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
ปัจจุบันมีการนำเข้าพันธุ์ไก่มาแล้ว1แสน5หมื่นตัว เพื่อนำมาผลิตแม่ไก่สาวได้38ล้านตัวแล้จึงมั่นใจว่าสถานการณ์ไก่ไข่จะกลับ เข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่าเดือนมิถุนายนที่คาดการณ์ไว้และในอนาคตจะมีการ ทยอยนำเข้าพันธุ์ไก่จนถึง 7 แสนตัวซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาไข่ไก่ขาดแคลนอีกแน่นอน

สามารถดูวิดีโอได้ที่ http://news.voicetv.co.th/business/9041.html

มะกันออกกฎการขนส่งสัตว์ปีกข้ามรัฐ

สำนักงานบริการตรวจสอบและความปลอดภัยอาหารของสหรัฐฯ (FSIS) ประกาศกฎระเบียบสุดท้ายเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าสัตว์ปีกข้ามรัฐ เพื่อให้โรงงานเล็กๆ ที่ได้รับการตรวจสอบในระดับรัฐ สามารถขนส่งเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกข้ามรัฐได้โดยการเข้าร่วมโครงการความร่วมมือด้านการขนส่งสินค้าข้ามรัฐ ซึ่งจะเลือกผู้ประกอบการที่สามารถขนส่งสินค้าเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกทางเรือได้ และอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA)

การอนุญาตให้ขนส่งสินค้าข้ามรัฐได้นี้ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาชนบท ตลอดจนเพิ่มงาน และเพิ่มภาษีท้องถิ่น ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง และช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภั! ยของอาหาร

รัฐที่เข้าร่วมโครงการและผู้ประกอบการที่เข้ารับการตรวจสอบ (state-inspected establishments) จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานของหน่วยงานกลาง ภายใต้ the Federal Meat Inspection Act (FMIA) และ the Poultry Products Inspection Act (PPIA) ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะได้รับบริการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบของรัฐนั้น ซึ่งได้รับการอบรมเกี่ยวกับข้อกำหนดของกฎหมาย FMIA และ PPIA



ที่มา : World Poultry(25/04/54)

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

จีนไฟเขียว ‘หมู-ไข่’เมืองเบียร์

จีนอนุญาตให้สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรและไข่ได้ที่ผลิตหลังวันที่ 14 มีนาคม 2554 โดยผลิตภัณฑ์เหล่านั้นต้องถูกต้องตามกฎหมายของจีน การอนุญาตบังคับใช้ทันที
ก่อนหน้านี้จีนระงับนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรและไข่เยอรมนีเนื่องจากพบสารไดออกซินในสุกรและสัตว์ปีกเมื่อต้นปี 2554


ที่มา : Reuters (21/04/54)

เวียดนามพบการระบาดไข้หวัดนก HPAI

เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 องค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ได้รายงานการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง (HPAI) ในเวียดนาม 7 แห่ง ซึ่งมีนกตายทั้งหมด 1,155 ตัว และมีนกที่ติดเชื้อและถูกทำลายเรียบร้อยแล้ว 5,509 ตัว

ที่มา : The Poultry Site (21/04/54)

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

ปี 53 ปีทองไก่เดนมาร์กพบเชื้อซัลโมเนลลาเป็น 0

ในปี 2553 สำนักงานจัดการสาธารณสุขสัตว์และอาหารได้ทำการทดสอบตัวอย่างเนื้อไก่ที่มาจากเดนมาร์กและทดสอบแบบสุ่มเนื้อไก่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ปรากฎว่าไม่พบเชื้อซัลโมเนลลาในตัวอย่างเนื้อไก่ของเดนมาร์ก และพบเชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อไก่นำเข้าเพียง 10% และพบเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในไก่เดนมาร์กและไก่นำเข้าลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปีแล้ว



ที่มา : The Poultry Site (20/04/54)

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

ไต้หวันพบเชื้อไข้หวัดนก

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2554 ไต้หวันได้รายงานการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก (H5N2) สายพันธุ์รุนแรงต่ำที่เมือง Chiayi ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศ โดยฟาร์มสัตว์ปีกที่มีการระบาดของเชื้อ H5N2 นี้อยู่ในชุมชน Sikou
Wong Yo-chu อธิบดีศูนย์ควบคุมโรคสัตว์ไต้หวันกล่าวว่า ได้พบเชื้อนี้ในฟาร์มดังกล่าวระหว่างการตรวจเช็คประจำวัน และขณะนี้ได้ดำเนินการควบคุมและฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ศูนย์ฯ ยังได้ออกมาตรการห้ามการเคลื่อนย้ายไก่พ่อพันธุ์กว่า 5,000 ตัวของฟาร์มนี้เพื่อหยุดการแพร่ระบาด พร้อมทั้งเฝ้าระวังการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ในฟาร์มใกล้เคียง

พบแบคทีเรียกลายพันธุ์ดื้อยาปฏิชีวนะในอินเดีย

ค้นพบแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ในอินเดีย ต้านยาปฏิชีวนะได้เกือบทุกชนิด หวั่นแพร่กระจายระดับโลก
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2554 ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟ ตีพิมพ์การค้นพบแบคทีเรียกลายพันธุ์ในนิตยสาร "The Lancet Infectious Diseases" โดยระบุว่า พบแบคทีเรียกลายพันธุ์ในน้ำประปาในกรุงนิวเดลี นอกเหนือไปจากบริเวณโรงพยาบาลที่เป็นต้นกำเนิดสายพันธุ์ ซึ่งแบคทีเรียที่มียีนพันธุกรรมสายเอ็นดีเอ็ม-1 (นิวเดลี เมทัลโล-เบตา-แลกตาเมส 1) สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านยาปฏิชีวนะได้เกือบทุกชนิด
ทีมวิจัยกล่าวว่า ตอนแรกพบการติดเชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์เฉพาะในผู้ป่วยที่พักฟื้นในโรงพยาบาลอินเดียมาก่อนเท่านั้น แต่ในภายหลังพบผู้ป่วยจากเชื้อดังกล่าว ทั้งที่ไม่เคยเข้าพักฟื้นในโรงพยาบาลมาก่อน
จากการเก็บตัวอย่างรอบกรุงนิวเดลีพบว่า มีแบคทีเรียกลายพันธุ์ในน้ำประปา 4% และในแอ่งน้ำข้างทาง 30% จากตัวอย่างทั้งหมด และค้นพบแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ 11 สายพันธุ์ที่มียีนเอ็นดีเอ็ม-1 ซึ่งสามารถทำให้เป็นโรคอหิวาต์หรือบิด
ศาสตราจารย์ทิม วอลช์ หัวหน้าทีมวิจัย จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟ กล่าวว่า ผลการวิจัยเป็นที่น่ากังวลมาก เพราะพบสายพันธุ์ใหม่ทั้งในน้ำสำหรับดื่ม ซักล้างและทำอาหาร รวมไปถึงสระว่ายน้ำ
รายงานจากสหประชาติเมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่า 650 ล้านคน ไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะใช้ หรือแม้กระทั่งน้ำสะอาด ทีมวิจัยระบุว่า ภูมิประเทศเขตเมืองร้อนซึ่งมีน้ำท่วมเป็นประจำเป็นภูมิประเทศที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของยีนเอ็นดีเอ็ม-1
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบว่ามีชาวอังกฤษและยุโรปบางรายได้รับเชื้อสายพันธุ์ใหม่เอ็นดีเอ็ม-1 แม้จะไม่ได้เข้าโรงพยาบาลขณะมาเยือนอินเดีย
ทีมวิจัยยังเสนอความช่วยเหลือแก่องค์การอนามัยโลกและเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขของเอเชียเพื่อแก้ปัญหา

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

อินเดียห้ามนำเข้าอาหารญี่ปุ่นทั้งหมด

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2554 อินเดียได้ประกาศมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าอาหารญี่ปุ่นทั้งหมดทันที เนื่องจากเกรงว่าจะปนเปื้อนสารรังสีกัมมัตภาพรังสี โดยการห้ามครั้งนี้อาจจะมีระยะเวลา 3 เดือน หรือจนกว่าสารกัมมันตภาพรังสีอันตรายจะอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งอินเดียให้เหตุผลว่า สารกัมมันตภาพรังสีที่กระจายในพื้นที่การระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจแพร่กระจายและเกิดการปนเปื้อนของสารในอาหารที่ผลิตจากญี่ปุ่นได้ ก่อนหน้านี้ จีน ไต้หวัน และสหรัฐฯ ได้ห้ามนำเข้าอาหารที่ผลิตจากพื้นที่เกิดระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่อินเดียเป็นประเทศแรกที่ห้ามนำเข้าอาหารญี่ปุ่นทั้งหมด

&n! bsp; ทั้งนี้สำนักงานมาตรฐานและความปลอดภัยอาหารอินเดีย (FSSAI) จะดำเนินการทบทวนมาตรการนี้ในทุกสัปดาห์




ที่มา : BBC News

จีนระงับนำเข้าสัตว์ปีกจากเนเธอร์แลนด์ป้องกันหวัดนก

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 สำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรค (AQSIQ) ของจีนได้รายงานการระบาดของเชื้อไข้หวัดนก H7N1 ณ เมืองซีแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ส่งผลให้จีนออกมาตรการระงับการนำเข้าสัตว์ปีกจากเมืองดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2554

ทั้งนี้ สัตว์ปีกหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีกที่ส่งมาทางไปรษณีย์หรือนักท่องเที่ยวนำมาด้วย จะถูกส่งกลับหรือทำลาย และหากผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากประเทศในสหภาพยุโรป ไม่ว่าจะทางเรือ เครื่องบิน หรือรถไฟ ที่จะหยุดหรือส่งผ่านที่จีน จะต้องถูกปิดผนึกมา




ที่มา : Xinhua

ฟิลิปปินส์ยกเลิกห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกเยอรมัน

กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (DA) ระบุ ฟิลิปปินส์ได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกเยอรมัน หลังจากที่ได้สั่งระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เนื่องมาจากการปนเปื้อนสารไดออกซิน

การยกเลิกการห้ามครั้งนี้เป็นผลมาจากสหภาพยุโรปได้ให้การรับรองต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์ว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกเยอรมันปราศจากการปนเปื้อนสารไดออกซินแล้ว

อนึ่ง เมื่อบริโภคสารไดออกซินเข้าไปในร่างกายจะทำให้เกิดปัญหาด้านการเจริญเติบโตและการสื! บพันธุ์ที่รุนแรง การทำลายระบบภูมิคุ้มกัน มะเร็ง และการทำหน้าที่ผิดปกติฮอร์โมน




ที่มา : The Poultry Site

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

กนศ.คงบัญชีสงวนเกษตร 3 สาขา เปิดเสรีตามแผนอาเซียน

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้ขยายเวลาการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้แผนการไปสู่เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ใน 3 สาขา คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำไม้จากป่าปลูก และกิจการเพาะขยาย หรือปรับปรุงพันธุ์พืช

ตามเงื่อนไขการเปิดเสรีการลงทุนสาขาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรภายใต้แผน AEC ภาคการเกษตรต้องดำเนินการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่ผูกพันในรายการข้อสงวนเป็นการชั่วคราว (TEL) ภายใต้ความตกลง ASEAN Investment Area (AIA)

&nb! sp; ทั้งนี้ ในส่วนของกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช สศก. ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทั้งภาครัฐ เอกชน เกษตรกร และ NGOs ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางการเปิดเสรีการลงทุน ในระยะแรก ที่ควรเปิดไปแล้วตั้งแต่ปี 2553 ได้ข้อสรุปว่า จะเปิดเสรีเฉพาะการเพาะขยายและปรับปรุงเมล็ดพันธุ์หัวหอมใหญ่ เพราะเห็นว่าการเปิดเสรีการลงุทนในสาขาย่อยดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อภาคเกษตร เนื่องจากการผลิตยังเป็นไปอย่างจำกัด ในทางตรงกันข้าม การเปิดเสรีน่าจะเป็นโอกาสที่ไทยได้เรียนรู้เทคโนโลยีขั้นสูงจากนักลงทุนต่างชาติ

อีกทั้งควรเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของทุนต่างชาติจาก 49% เป็น 51% ของทุนจดทะเบียน และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎหมายที่มี ซึ่งข้อเสนอการเปิดเสรีระยะแรกดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม กนศ.แล้ว และอยู่ระหว่างการนำเสนอ เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไป

! ; ในส่วนของการเปิดเสรีการลงทุนสาขาเพาะขยายและปรับป! รุงพันธุ ์พืช สศก.ได้พิจารณาขอยืนยันท่าทีว่าควรสงวนการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาดังกล่าว เนื่องจากไทยยังไม่พร้อมเพราะเป็นสาขาที่ไทยไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ และเป็นสาขาที่ใช้เงินลงทุนสูง หากเปิดเสรีอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรในระยะยาว แต่ในกรณีหัวหอมใหญ่ ไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ ดังนั้น หากจะเปิดเสรีให้มีการขยายปรับปรุงพันธุ์ได้ก็เป็นประโยชน์ในแง่ของเทคโนโลยีด้านการเกษตรกรและในภาพรวม



ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

พบโรคปากและเท้าเปื่อยในสุกรไต้หวัน

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554 องค์การโรคระบาดสัตว์ระบาดระหว่างประเทศ (OIE) ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ไต้หวันว่าพบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ในฟาร์มสุกรของเมือง Siaying จังหวัด T’ai-Nan ซึ่งพบสุกรที่คาดว่าจะติดโรค FMD ทั้งหมด 119 ตัว โดย 30 ตัวจากทั้งหมดได้รับยืนยันว่าติดโรคนี้ถูกทำลายเรียบร้อยแล้ว

เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ไต้หวันรายงานว่า พบสุกรเท้าเปื่อย 15 ตัวระหว่างการตรวจประจำวันก่อนนำไปที่ตลาดประมูลของจังหวัด Tainan จึงได้ตรวจสอบย้อนกลับไปที่ฟาร์มดังกล่าว

! ; ทั้งนี้ได้มีมาตรการความมั่นคงทางชีวภาพในฟาร์มดังกล่าว เช่น ควบคุมการเคลื่อนย้าย ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค นอกจากนี้ยังมีการเฝ้าระวังฟาร์มสุกรทั้งหมด 62 แห่ง ฟาร์มปศุสัตว์ 5 แห่ง และฟาร์มแพะ 2 แห่งในรัศมี 3 กิโลเมตรห่างจากฟาร์มที่ติดโรค FMD



ที่มา : The Pig Site

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

บังคลาเทศพบอาหารสัตว์ปนเปื้อน

กระทรวงสิ่งแวดล้อมบังคลาเทศ (DoE) ระบุว่า พบอาหารสัตว์ปีกปนเปื้อนกว่า 16 ตัน ซึ่งอาหารสัตว์ปีกดังกล่าวปนเปื้อนสารที่ใช้ฟอกหนัง (Tannery) และผู้จัดการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ปีกดังกล่าวได้ถูกจับกุมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว




ที่มา : All About Feed

หวัดนกระบาดอิเหนา

มีการรายงานว่าพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในทุกเขตของจังหวัด Bengkuluอินโดนีเซีย ขณะนี้ไก่ราว 2,000 ตัวติดเชื้อไข้หวัดนก และ 1,881 ตัวตายจากโรคดังกล่าวแล้ว โดยเขตและเมือง 7 แห่งในจังหวัดดังกล่าวได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่เตือนภัยไข้หวัดนกได้แก่ Bengkulu, Seluma, Lebong, Bengkulu Tengah, Kepahiang, Kaur และ Rejang Lebong เขตที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือ Seluma ซึ่งมีไก่ตาย 1,175 ตัว อย่างไรก็ตามยังไม่พบรายงานการติดเชื้อไข้หวัดนกสู่คน

อนึ่ง ก่อนหน้านี้พบเด็ก 2 คนที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนกในเมือง Padang จังหวัด West Sumatra ซึ่งมีอากาโรคดังกล่าว เช่น ไข้ขึ้นสูง โดยเด็ก! ทั้ง 2 รายเข้ารักษาที่โรงพยาบาลตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทีมแพทย์ได้นำตัวอย่างเลือดไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการในกรุง Jakartar ว่าผู้ป่วยทั้งสองรายป่วยจากเชื้อไข้หวัดนกที่มาจากอาหารหรือไม่ และเมื่อเดือนมกราคม 2554 พบการระบาดของไข้หวัดนกในไก่ของหมู่บ้าน Mugirejo ในเขต Samarinda จังหวัด East Kalimantan