หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อียิปต์นำเข้าไก่บราซิลเพิ่มขึ้น 235%

เดือนมกราคม 2554 อียิปต์นำเข้าไก่จากบราซิลเพิ่มขึ้น 235% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2553 โดยนำเข้า 8,156 ตัน จากเดิม 2,429 ตัน
ทั้งนี้ในปี 2553 อียิปต์ถือเป็นตลาดส่งออกหลักผู้ส่งออกไก่บราซิล โดยอียิปต์นำเข้าจากบราซิลเพิ่มขึ้นเรื่องจากเกิดการระบาดไข้หวัดนกในประเทศอาหรับ
ขณะที่ บราซิลส่งออกเนื้อไก่ไปยัง ทวีปแอฟริกาในเดือนมกราคม 2554 มีปริมาณ เพิ่มขึ้น 41.8% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 90.8%


ที่มา : World Poultry

สหราชอาณาจักรออกแนวปฏิบัติมาตรฐานความปลอดภัยจากเชื้อ E.coil

หลังจากเหตุการณ์การระบาดของเชื้อ E.coil O157 ที่เกิดขึ้นในสก็อตแลนด์ในปี 2539 ซึ่งมีผู้ป่วยกว่า 400 รายและเสียชีวิต 21 ราย ต่อมาในปี 2548 ได้เกิดการระบาดของเชื้อนี้อีกครั้งในเวลส์ ซึ่งมีผู้ป่วย 157 ราย โดยส่วนมากเป็นเด็ก เนื่องจากไม่มีสุขอนามัยและการจัดการที่เหมาะสม ทำให้สำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (FSA) ได้จัดทำแนวปฏิบัติมาตรฐานความปลอดภัยจากเชื้อ E.coil ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลกับผู้ผลิตเกี่ยวกับขั้นตอนการป้องกันการปนเปื้อนข้ามผลิตภัณฑ์ (Cross-contamination) ของเชื้อ E.coil ในมาตรฐานฉบับนี้ประกอบด้วย
• การกำหนดพื้นที่ในการผลิต การจัดเก็บของวัตถุดิบ! และอาหารสำเร็จรูป
• วิธีใช้อุปกรณ์ เช่น เครื่องบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ เครื่องสไลด์และเครื่องตัดสำหรับอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป
• กำหนดวิธีการทำความสะอาดมือ และไม่อนุญาตให้ใช้น้ำยาล้างมือแทน
• สารฆ่าเชื้อโรคที่ใช้ต้องได้มาตรฐานและถูกใช้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ FSA ระบุว่า มาตรฐานนี้นอกจากจะช่วยป้องกันเชื้อ E.coil แล้ว ยังช่วยควบคุมเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น เช่น Campylobacter และ Salmonella อีกด้วย


ที่มา : Food Safety News

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประชาสัมพันธ์สัมมนา เรื่อง “รู้ทันสถานการณ์หมู-ไก่ ปีกระต่ายทอง”

สัมมนา เรื่อง “รู้ทันสถานการณ์หมู-ไก่ ปีกระต่ายทอง”
4 มีนาคม 2554 ณ หอประชุมกองทัพอากาศ (อาคาร 80 ปี)

วิทยากรผู้บรรยาย “แนวโน้มภาวะตลาด (ทิศทางปศุสัตว์) ปี 2554 ”
คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล
นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย
ประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร
ประธานคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ
กรรมการรองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


เสวนา “รู้ทันสถานการณ์หมู-ไก่ ปีกระต่ายทอง”น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง นายกสัตวแพทยสภา / อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
คุณปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ / หรือผู้แทนจากกรมปศุสัตว์
คุณสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
นพ.อนันต์ ศิริมงคลเกษม นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออก / หรือผู้แทนจากสมาคม
คุณมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่
ศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงศ์นุเวช อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการโดย คุณณัชชารีย์ พัฒนาวงศ์โภคิน ผู้ประกาศข่าว TNN สถานีข่าว 24 ชั่วโมง

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ

ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

“The 3rd International conference on Sustainable Animal Agriculture for Developing Countries (SAADC 2011)” และ การประชุมวิชาการประจำปีทางสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครครั้งที่ 5 (ประจำปี 2554)

โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุม SAADC 2011 กับมหาวิทยาลัยต่างๆ

วันที่ 26– 29 กรกฎาคม 2554

ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.facebook.com/l/7df4aLs5uanhl36NFnuI9JEUr5g/www.saadc2011.com/home.php

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Canadian poultry production - growth predicted

//17 Feb 2011
Canadian agricultural production will continue to experience only moderate growth over the medium term, largely due to increasing competition for export markets and relatively small domestic demand growth, according to a recent Research & Markets Agribusiness report.
The Canadian government is helping the agriculture sector through both investments in production (for beef) and tariffs for imports (poultry). However, beef production is forecast to decline over the medium term, while poultry production will still not run a surplus in 2014/15. Indeed, only corn and soybean show potential for significant growth over the medium term - mainly due to increasing poultry production.

The report predicts an 11% growth in poultry production to 2014/15 equalling 1.34 million tonnes. This will come from consumption increases due to the perceived healthier nature of poultry, along with greater export opportunities, which have been rising in recent years. Canada will likely remain a net poultry importer over the medium term, with a quota system currently in place to manage those imports.

Source: Research & Markets

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เวียดนามเตรียมขยายการผลิตสินค้าประมง

เวียดนามคาดผลจากการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมให้การส่งออกอาหารทะเลของเวียดนามมีความหลากหลายของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ในปี 2554 นี้จะสามารถส่งออกหมึกกระดอง หมึก และหอยเพิ่มขึ้น
ในปี 2553 เวียดนามส่งออกหอยมีปริมาณมากถึง 120,000 ตัน และคิดเป็นมูลค่า 489 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็น 9.7% ของปริมาณการส่งออกอาหารทะเลเวียดนามทั้งหมด ซึ่งจำนวน 100,000 ตันเป็นหอยสด
อนึ่งเวียดนามวางแผนที่จะขยายการส่งออกไปที่ตะวันออกกลาง ซึ่งขณะนี้เวียดนามได้ส่งออกหมึกกระดอง ปลาหมึก และหอยไปตลาดต่างประเทศมากกว่า 80 แห่ง แม้ว่าจะเผชิญกับการกีดกันทางการค้าต่างๆ เช่น มาตรการความปลอดภัยอาหารที่เข้มงวด และระเบียบด้านสุขอนามัย
&nbs! p; ทั้งนี้ในการส่งออกอาหารทะเลเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป เวียดนามต้องผ่านข้อกำหนดทางเทคนิคของ British Retail Consortium มาตรฐาน ISO 22000 และ HACCP ขณะนี้ผู้ประกอบการเวียดนามประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารทะเลสด สมาคมผู้ส่งออกอาหารทะเลและผู้ผลิตเวียดนาม(VASEP) จึงเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขให้ขั้นตอนการนำเข้าง่ายขึ้น และลดภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารสดจาก 10-20% เหลือ 0%


ที่มา : The Fish Site

FAO ร่วมมือ 3 โครงการรับมือภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

"เกษตร"จับมือ FAO ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ 3 โครงการ รับมือกับผลกระทบจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง การพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และวิเคราะห์สารพิษตกค้าง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดพิธีลงนามเอกสารโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับ FAO โดยมี นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย กรมประมง กรมวิชาการเกษตร และสำนักเศรษฐกิจการเกษตร และนายแมน โฮ โซ (Mr. Man Ho So) ผู้แทนจาก FAO ร่วมลงนามในเอกสารโครงการดังกล่าว
นับเป็นครั้งแรกที่จะมีการลงนามในเอกสารโครงกา! รความร่วมมือระหว่างไทยกับ FAO ถึง 3 โครงการพร้อมกัน ในวงเงินรวม 633,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 19 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นผู้ดำเนินงานโครงการ ดังนี้
1. โครงการ “Policy support to climate change adaptation in the agricultural sectors in Thailand” โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตร รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ผลและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น วงเงินงบประมาณ 171,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 5 ล้าน 1 แสนบาท
2.โครงการ “Aquaculture information management system in Thailand” โดยกรมประมง มีวัตถุประสงค์เพ! ื่อปรับปรุงระบบการจัดการข้อมูลด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รวมถึง! การใช้ระ บบการจัดการข้อมูลด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในการพัฒนาอย่างยั่งยืน วงเงินงบประมาณ 212,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6 ล้าน 3 แสนบาท
3. โครงการ “Enhancement of Laboratory Capacity on Food Safety in Primary Production” โดยกรมวิชาการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระเบียบวิธีในการวิเคราะห์สารพิษตกค้างต่างๆ ทั้งแบบฉับพลันในห้องทดลองส่วนกลางและภูมิภาค รวมถึงการใช้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 และการทดสอบทางเคมี ภายในระยะเวลา 2 ปี วงเงินงบประมาณ 250,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 7 ล้าน 5 แสนบาท



ที่มา : เนชั่นทันข่าว